ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ISY3103 ธุรกิจสารสนเทศ
2
คำอธิบายรายวิชา การดำเนินธุรกิจและการเริ่มต้นธุรกิจสารสนเทศ ผู้ประกอบการธุรกิจสารสนเทศ นักสารสนเทศอิสระ ผู้ให้คำปรึกษาสารสนเทศ ธุรกิจการดำเนินการวิจัย และจัดหาสารสนเทศ นายหน้าค้าสารสนเทศ และผู้ให้บริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ Business and starting an information business; Business Entrepreneurs. Independent information professional or information consultant; Researching information for clients business; Information broker; Fee-based information services.
3
เนื้อหาที่ต้องรู้ การดำเนินธุรกิจและการเริ่มต้นธุรกิจสารสนเทศ
ผู้ประกอบการธุรกิจสารสนเทศ นักสารสนเทศอิสระ ผู้ให้คำปรึกษาสารสนเทศ ธุรกิจการดำเนินการวิจัย และจัดหาสารสนเทศ นายหน้าค้าสารสนเทศ ผู้ให้บริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์
4
มาเรียน 10 % งานกิจกรรม 30 % สอบกลางภาค 30 % สอบปลายภาค 30 %
เกณฑ์การเก็บคะแนน มาเรียน 10 % งานกิจกรรม 30 % สอบกลางภาค 30 % สอบปลายภาค 30 %
6
สัปดาห์ที่ 1 ความหมายของธุรกิจ
ธุรกิจ คืออะไร กิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่ง ผลกำไร ถูกกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม
7
การทำธุรกิจ ต้องมี 4 M + IT
Man Money Material Method Information Time
8
ประเภทของธุรกิจ เจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัท จำกัด บริษัท จำกัด (มหาชน)
9
กิจกรรมทางธุรกิจ เป็นผู้ผลิต ซื้อมาขายไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก
จ้างผลิต รับจ้างผลิต ซื้อมาขายไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก ธุรกิจบริการ (รับจ้างต่าง ๆ )
10
ลูกค้า สำหรับงานธุรกิจ
ลูกค้า สำหรับงานธุรกิจ ลูกค้า คือผู้จ่ายเงินหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจ จริยธรรมสำหรับการประกอบธุรกิจ
11
สัปดาห์ที่ 2 การดำเนินการธุรกิจ
การตลาดกับธุรกิจ ที่มา
12
การตลาด การตลาด คือ การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ในธุรกิจที่ทำให้เกิดการนำสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค หรือผู้ใช้บริการนั้น ๆ โดยได้รับความพอใจ ขณะเดียวกันก็บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ
13
ความหมายและความสำคัญของการตลาด
การตลาดได้รับการนิยามหลายความหมายด้วยกัน ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างบางนิยาม ดังนี้ สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอมริกาได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “การตลาด” หรือ “Marketing” ไว้ดังนี้ “Marketing is the performance of business activities that direct the flow of goals and services from producer the consumer or user in order to satisfy customers and accomplish the company’s objectives.” การตลาด คือ การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ในธุรกิจที่มีให้เกิดการนำสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค หรือผู้ใช้บริการนั้น ๆ โดยได้รับความพอใจ ขณะเดียวกันก็บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ จากคำจำกัดความดังกล่าว จะเห็นได้ว่ากิจกรรมที่กระทำนั้นเป็นเรื่องของธุรกิจที่ต้อง มีการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งไม่ใช่การให้กันเปล่า ๆ โดยเฉพาะจะมีการเคลื่อนไหวของสินค้าหรือบริการ มีการเปลี่ยนมือจากผู้ผลิตโดยถือว่าเป็นผู้ขายให้กับผู้บริโภค หรือผู้ใช้สินค้าหรือบริการในฐานะเป็นผู้ซื้อสินค้า
14
Professor Philip Kotler ได้ให้ความหมายของคำว่า “การตลาด” ไว้ว่า
“Marketing is human activity directed at satisfying needs and wants through exchange processes.” จากความหมายนี้ จะเห็นได้ว่า ความหมายของการตลาดยังคงไม่ได้เปลี่ยนแปลง ไปจากความหมายแรก สิ่งที่ถูกนำมากล่าวถึง ยังคงเน้นถึงกิจกรรมหรือการกระทำอันจะก่อให้เกิดการตอบสนองต่อความต้องการใด ๆ ของบุคคลให้เกิดความสำนึกพึงพอใจ โดยการกระทำนั้นๆ เกิดขึ้น ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยน
15
สัปดาห์ที่ 3 ผู้ประกอบการธุรกิจ
สัปดาห์ที่ 3 ผู้ประกอบการธุรกิจ ประเภทของธุรกิจ เจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัท จำกัด บริษัท จำกัด (มหาชน) ที่มา
16
กิจกรรมทางธุรกิจ เป็นผู้ผลิต ซื้อมาขายไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก
จ้างผลิต รับจ้างผลิต ซื้อมาขายไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่พัก โรงแรม ธุรกิจบริการ (รับจ้างต่าง ๆ )
17
สัปดาห์ที่ 4 นักสารสนเทศอิสระ
ที่มา
18
สัปดาห์ที่ 5 นักสารสนเทศอิสระ
ที่มา
19
สัปดาห์ที่ 6 ผู้ให้คำปรึกษาสารสนเทศ
สัปดาห์ที่ 6 ผู้ให้คำปรึกษาสารสนเทศ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (สบทร.) (Government Information Technology Services: GITS) เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางในการจัดทำและให้บริการด้านเครือข่ายตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ เป็นโครงการที่สืบเนื่องมาจากการศึกษาวิจัยเชิงนโยบายโดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National Information Technology Committee:NITC) ซึ่งได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network: GINet) จากนั้น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ได้พิจารณาผลการศึกษาของ TDRI ประกอบกับการศึกษาเพิ่มเติม และได้จัดทำเป็นแผนการดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐเสนอต่อ NITC เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2540 ซึ่ง NITC เห็นชอบกับการจัดทำโครงการในรูปแบบการจัดตั้งสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ เพื่อพัฒนาเครือข่าย GINet และดำเนินกิจกรรมอื่นที่สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ
20
สัปดาห์ที่ 7 ผู้ให้คำปรึกษาสารสนเทศ
สัปดาห์ที่ 7 ผู้ให้คำปรึกษาสารสนเทศ อาชีพที่ปรึกษาทางธุรกิจ คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเข้าใจว่าอาชีพนี้แท้จริงแล้วทำอะไร และมักจะมองผ่านไปเนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับตัวเอง หรือเกี่ยวแต่ยังเลือกที่จะทำ หรือดำเนินการแบบเดิมๆ แม้ว่าจะอธิบายอย่างไร หลายคนก็ไม่เข้าใจอยู่ดี เอาเป็นว่า อาชีพที่ปรึกษาทางธุรกิจ สามารถเรียกอย่างเป็นทางการได้ว่า Business Consultant ซึ่งจะดำเนินการดังต่อไปนี้ ความสามารถในการคิดเชิงภาพรวม ความสามารถในการคิดเห็นในรูปแบบเชิงกลยุทธ์ ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุมีผล งานที่ปรึกษามีลักษณะเฉพาะหน้า ที่มา
21
สัปดาห์ที่ 8 สอบกลางภาค
22
สัปดาห์ที่ 9 ธุรกิจดำเนินการวิจัย
การวิจัย คือ “การแสวงหาความรู้ ข้อเท็จจริงอย่างมีระบบและแบบแผน เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเกิดประโยชน์แก่มนุษย์ โดยอาศัยวิธีการที่เป็นที่ยอมรับในแต่ละสาขา” (จริยา เสถบุตร,2526:4) ความหมายตามของราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง การค้นคว้าหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา การวิจัยเป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อพิสูจน์หรือหาคำตอบหรือหาข้อเท็จจริงอะไรบางอย่าง ที่อาจจะยังไม่มีการค้นพบในเรื่องนั้นมาก่อนหรืออาจจะมีการค้นพบมาแล้ว การวิจัย คือ กระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่เชื่อถือได้ โดยมีลักษณะดังนี้ 1. เป็นกระบวนการที่มีระบบ แบบแผน 2. มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนและชัดเจน 3. ดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างรอบคอบ ไม่ลำเอียง 4. มีหลักเหตุผล 5. - ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญ และมีระบบ - มีเหตุผล และมีเป้าหมาย - ต้องมีเครื่องมือ เทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูล ที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ - การรวบรวมข้อมูลใหม่ จะต้องได้ความรู้ใหม่ - มุ่งหาข้อเท็จจริง เพื่อใช้อธิบาย พัฒนา หรือใช้พยากรณ์ แก้ไขปัญหา - อาศัยความพยายาม ซื่อสัตย์ กล้าหาญ และใช้เวลาในการติดตามผลอย่างละเอียด
23
สัปดาห์ที่ 10 ธุรกิจดำเนินการวิจัย
สัปดาห์ที่ 10 ธุรกิจดำเนินการวิจัย ที่มา
24
สัปดาห์ที่ 11 การจัดหาสารสนเทศ
การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ แนวคิดและหลักการ 1. การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึงกระบวนการดำเนินงานทางเทคนิควิชาชีพสารสนเทศศาสตร์ในหลาย ๆ รูปแบบ หลายขั้นตอนต่อเนื่องกัน เพื่อให้ศูนย์สารสนเทศได้มาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศที่ 1.1 เหมาะสมตามหลักวิชา 1.2 ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ และ 1.3 ได้มาอย่างรวดเร็วที่สุดตามระบบงาน 2. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีความเหมาะสมตามหลักวิชา ได้มาโดยผ่านการประเมินคุณค่าอย่างเข้มข้นของนักพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำ การชี้นำ หรือการวิจารณ์ทรัพยากรสารสนเทศทั้งการสัมผัสจับต้องโดยตรง หรือผ่านเครื่องมือช่วยในการเลือกทั้งเครื่องมือหลักและเครื่องมือเสริม 3. ขั้นตอนเชื่อมต่อระหว่างการประเมินคุณค่ากับการจัดหา ก็คือการตัดสินใจเลือกทรัพยากรสารสนเทศแต่ละชิ้นนั้นให้ได้4. การจัดหาหรือการดำเนินงาน
25
สัปดาห์ที่ 12 การจัดหาสารสนเทศ
เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศ แบ่งได้เป็น 4 วิธี คือ การซื้อ การได้เปล่า การแลกเปลี่ยน การผลิตขึ้นเอง
26
สัปดาห์ที่ 13 นายหน้าค้าสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศ (information resources) มีผู้ให้ความหมายไว้ เช่น หมายถึง วัสดุรูปแบบต่างๆ ที่บันทึกสารสนเทศไว้ โดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ ภาพ และเสียง (การศึกษาค้นคว้าและการเขียนรายงาน, 2540, หน้า 17) นงนารถ ชัยรัตน์ (2542, หน้า 1) ให้ความหมายไว้ หมายถึง วัสดุที่บันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ที่เป็นเหตุการณ์ ความคิด และประสบการณ์ของมนุษย์ โดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ ภาพ รหัส และอื่นๆ ที่สื่อสารได้ ตลอดทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดี-รอม ซึ่งห้องสมุดคัดเลือกและจัดหามาไว้ให้บริการ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ทรัพยากรสารสนเทศ คือ วัสดุที่บันทึกสารสนเทศไว้เพื่อ การเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ทั้งวัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มา
27
สัปดาห์ที่ 14 นายหน้าค้าสารสนเทศ
สัปดาห์ที่ 14 นายหน้าค้าสารสนเทศ ทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการในสถาบันบริการสารสนเทศ โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ - วัสดุตีพิมพ์ (printed materials) - วัสดุไม่ตีพิมพ์ (non-printed materials) - วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ (electronic materials) ที่มา
28
สัปดาห์ที่ 15 ผู้ให้บริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์
สัปดาห์ที่ 15 ผู้ให้บริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ สถาบันบริการสารสนเทศ จากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการและเทคโนโลยี ทำให้มีการผลิตสารสนเทศออกมาเผยแพร่อย่างมากและรวดเร็ว การที่สังคมมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นทำให้มนุษย์มีความต้องการสารสนเทศมากขึ้นเป็นทวีคูณเช่นเดียวกัน และเนื่องจากมนุษย์แต่ละคน ไม่อาจรวบรวมหรือจัดเก็บสารสนเทศทุกชิ้นที่ผลิตขึ้นมาได้ทั้งหมด แต่ทว่ายังมีความต้องการในการใช้ ดังนั้น จำเป็นต้องมีผู้ที่ทำหน้าที่จัดหา รวบรวม จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศกับมนุษย์แต่ละคน เพื่อสนองความต้องการด้านการใช้สารสนเทศ จึงทำให้เกิดสถาบันบริการสารสนเทศขึ้น สถาบันบริการสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้ แต่เนื่องจากวิวัฒนาการของสังคม การพัฒนาของศาสตร์ต่างๆ ความแตกต่างของสารสนเทศ ผู้ใช้ และความต้องการของผู้ใช้ จึงเกิดสถาบันบริการสารสนเทศหลากหลายรูปแบบ เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูล ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ หน่วยงานจดหมายเหตุ สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งสถาบันบริการสารสนเทศรูปแบบต่างๆ นี้ มีวัตถุประสงค์หลักเหมือนกัน แต่จะมีหน้าที่แตกต่างกันอยู่บ้างในด้านสาขาวิชาที่ให้บริการ ประเภททรัพยากรสารสนเทศ และประเภทของการให้บริการ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับประเภทของผู้ใช้บริการ โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดของสถาบันบริการสารสนเทศที่สำคัญๆ พอสังเขป ดังนี้ ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูล ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ หน่วยงานจดหมายเหตุ สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ ที่มา
29
สัปดาห์ที่ 16 ผู้ให้บริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์
สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศโดยคิดค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. บริษัทค้าสารสนเทศ (information company) คือ บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการจัดดำเนินการ วิเคราะห์ สื่อสาร และให้บริการสารสนเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ 2. นายหน้าค้าสารสนเทศ (Information broker) คือ บุคคลหรือองค์กรที่ทำธุรกิจบริการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล ประเมินค่า และเผยแพร่สารสนเทศตามความต้องการของลูกค้าโดยใช้แหล่งทรัพยากรทั้งหมดที่สามารถหาได้ (เอกสารการสอนชุดวิชาสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น, 2535, หน้า 152) 3. ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายฐานข้อมูล หมายถึง ผู้ที่ผลิตและสะสมข้อมูลในรูปแบบที่สามารถอ่านได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ฐานข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลอาจผลิตโดยหน่วยงานทางการค้า หน่วยงานของรัฐบาล สมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพ ฯลฯ สามารถให้บริการได้ทั้งระบบออนไลน์ (online system) และระบบออฟไลน์ (offline system) ซึ่งระบบออนไลน์ คือ ระบบที่ผู้ใช้ติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อค้นคืนสารสนเทศจากฐานข้อมูล โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ โทรสาร ผู้ผลิตฐานข้อมูลได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบันทึกจัดเก็บข้อมูลและสร้างฐานข้อมูล ส่วนระบบออฟไลน์ คือ ระบบการประมวลผลที่ทำขึ้นโดยใช้อุปกรณ์ไร้สาย เช่น จัดทำเป็นแถบแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสง วัสดุย่อส่วน ซีดี-รอม เป็นต้น ที่มา
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.