ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยNicholas Hodges ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
พัฒนาการทางการพยาบาล มโนทัศน์หลักและทฤษฎีทางการพยาบาล
พัฒนาการทางการพยาบาล มโนทัศน์หลักและทฤษฎีทางการพยาบาล โดย อ.ดร.สุจิตรา อู่รัตนมณี (RN,Ph.D)
2
ความหมายของการพยาบาล
การพยาบาล หมายความว่า การกระทําต่อมนุษย์เกี่ยวกับ การดูแลและการช่วยเหลือ เมื่อเจ็บป่วย การฟื้นฟูสภาพ การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้งการช่วยเหลือแพทย์กระทําการรักษาโรค ทั้งนี้โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการพยาบาล (พรบ. วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 2528)
3
พัฒนาการทางการพยาบาล
ระยะการปฏิบัติการ สมัยมิสไนติงเกล(สงครามไครเมีย) เป็นระยะที่เน้นการดูแลเพื่อให้เกิดความสุขสบาย ดูแลสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมในการดูแลผู้ป่วย การดูแลใช้หลักเกณ์ที่กำหนดขึ้นจากประสบการณ์ที่กำหนดขึ้นมาและปฏิบัติตามกันมา ระยะการศึกษาและการบริหาร เป็นระยะที่ถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับขอบเขตทางการพยาบาล มีการก่อตั้งโรงเรียนทางการพยาบาลมีการพัฒนาการเรียนการสอนทางการพยาบาล
4
พัฒนาการทางการพยาบาล
ระยะของการวิจัย เป็นระยะที่พยาบาลพยายามพัฒนางานวิจัยเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลมีการพัฒนาก่อตั้งวารสารวิจัยทางการพยาบาลขึ้นในปี 1952 ระยะทฤษฎี เป็นระยะที่มีการคิดค้นแนวคิดทางการพยาบาลและมีการนำวิจัยมาใช้เพื่อตรวจสอบและรองรับทฤษฎีเพื่อหาองค์ความรู้และแก่นแท้ทางการพยาบาล
5
พัฒนาการทางการพยาบาล
ระยะปรัชญา เป็นระยะที่พยาบาลซึ่งเป็นนักคิดทฤษฎีทางการพยาบาลพยายามหาคำตอบในการค้นหาความจริง เพื่อให้สอดคล้องกับฐานความเชื่อในการนำมาพัฒนางานวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้ทางการพยาบาล ระยะบูรณาการ เป็นระยะของการอภิปรายความคิดเพื่อพัฒนาวิชาชีพในประเด็นต่างๆ ทั้งในเรื่องโครงสร้างวิชาชีพ การศึกษาทางการพยาบาล ทฤษฎีทางการพยาบาล การตรวจสอบทฤษฎี ความคิดริเริ่มในการดูแลผู้ป่วยจากพยาบาลในฝ่ายปฏิบัติการเป็นต้น
6
พัฒนาการทางการพยาบาล
ระยะสหสาขาวิชา ระยะที่พยาบาลมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การพัฒนาการทำงานร่วมกันกับสหสาขาวิชาชีพ ระยะแห่งการสร้างองค์ความรู้ใหม่ร่วมกับสาขาวิชาชีพอื่นๆ ระยะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นระยะที่พยาบาบมีการใช้เครื่องมือเข้ามามีบทบาททางการพยาบาล อาทิ เครื่องมือทางการแพทย์ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการบันทึกทางการพยาบาลเป็นต้น
7
Metaparadigm of nursing
มโนมติหลักทางการพยาบาล บุคคล สิ่งแวดล้อม การพยาบาล สุขภาพ
8
บุคคล (person) บุคคล หมายถึง คน กลุ่มคน ครอบครัว ชุมชน ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลหรือผู้ที่ได้รับการพยาบาล (ปาหนัน พิชยภิญโญ, 2556)
9
สิ่งแวดล้อม (environment)
ปัจจัยด้านกายภาพ เคมี และชีววิทยาที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การเจริญเติบโต และพัฒนาการของมนุษย์ หรืออาจหมายถึงบุคคล สถานพยาบาล สังคม เศรษกิจและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของบุคคล (ปาหนัน พิชยภิญโญ, 2556)
10
สุขภาพ (Health) สุขภาพหมายถึง กระบวนการมีชีวิตหรือ สิ้นสุดของมนุษย์หรือสุขภาวะซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ได้รับการพยาบาลหรือพยาบาลเป็นผู้ตัดสิน (ปาหนัน พิชยภิญโญ, 2556)
11
การพยาบาล (Nursing) การพยาบาล หมายถึง การกระทำที่เกิดจากพยาบาล ศาสตร์และศิลป์ทางการพยาบาล
12
บทบาทของพยาบาล 4 มิติ 1. การส่งเสริมสุขภาพ
เป็นบทบาทในการดูแลบุคคลที่ยังไม่เจ็บป่วยอยู่ในสภาวะปกติ-สุขภาพดี พยาบาลมีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพตามวัย และตามเพศให้มีความเหมาะสมเพื่อส่งเสรอมให้บุคคลมีสุขภาวะดี
13
บทบาทของพยาบาล 4 มิติ 2. การป้องกันโรค
พยาบาลจะแสดงบทบาทครอบคลุมการป้องกันทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม โดยแบ่งระดับดังนี้ 2.1 การป้องกันระดับที่ 1 (primary prevention) เป็นการป้องกันในระดับต้น ในบุคคลที่สุขภาพดีแต่มีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ
14
บทบาทของพยาบาล 4 มิติ 2. การป้องกันโรค (ต่อ)
2.2 การป้องกันระดับที่ 2 (secondary prevention) เป็นการป้องกันในระดับที่สอง เช่น การคัดกรองผู้ป่วยในกลุ่มที่ยังไม่มีอาการ เพื่อให้สามารถให้การรักษาได้ทันท่วงที 2.3 การป้องกันระดับที่ 3 (tertiary prevention) เป็นการป้องกันในระดับสูง เพื่อให้การดูแลและเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในผู้ป่วยที่เจ็บป่วยและรับการรักษาในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล
15
บทบาทของพยาบาล 4 มิติ 3. การดูแลรักษา
เป็นบทบาทการดูแลเมื่อบุคคลคนหนึ่งต้องเปลี่ยนสถานภาพจากที่สุขภาพดี หรือ สุขภาพปกติมาสู่การเจ็บป่วย เป็นบทบาทที่ทำได้ทั้งบทบาทอิสระ และบทบาทกึ่งอิสระในการช่วยเหลือสหสาขาวิชาในการรักษาผู้ป่วยให้ฟื้นหายจากโรคหรือการเจ็บป่วย 4. การฟื้นฟูสภาพ เป็นบทบาทการดูแลเมื่อบุคคลอยู่ในช่วงเวลาการฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังการเพื่อการรักษาและดำรงไว้ในส่วนที่เสื่อมหรือเสียไปแล้วให้คงอยู่ในสภาพเดิม
16
การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Care)
“สุขภาวะองค์รวม”เป็นสภาวะ ที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ภายในขององค์ประกอบ ของคนทั้งคน ได้แก่ กาย จิต และจิตวิญญาณโดยไม่ แยกจากกันและปฏิสัมพันธ์ของคนกับสิ่งแวดล้อม ภายนอกทั้งทางกายภาพและทางสังคมอย่าง เหมาะสมลงตัว มีความสอดคล้องกับคุณค่าและ เป้าหมายชีวิตของบุคคล (อุไร หัถกิจ และ วารีรัตน์ ถาน้อย, 2555) อ้างอิง(ศรีพรรณ กันธวัง, 2014)
17
ทฤษฎีการพยาบาล ทฤษฎีการพยาบาล คือ โครงสร้างทางความคิดที่ มองปรากฏการณ์ทางการพยาบาลอย่างเป็นระบบโดยมี เป้าหมายเพื่อพรรณนา อธิบาย ทำนาย หรือควบคุม ปรากฏการณ์ทางการพยาบาล แต่ละทฤษฎีจะต้องประกอบด้วย ข้อตกลงเบื้องต้น หรือ มโนทัศน์มากกว่าสองมโนทัศน์ ระดับของทฤษฎีการพยาบาล ออกเป็น 3 ระดับ 1. ทฤษฎีการพยาบาลระดับกว้าง (grand nursing theory) 2. ทฤษฎีการพยาบาลระดับกลาง (middle range nursing theory) 3. ทฤษฎีการ พยาบาลระดับการปฏิบัติหรือทฤษฎีระดับสถานการณ์ที่ เฉพาะเจาะจง(practice or situation-specific nursing theory อ้างอิง(ศรีพรรณ กันธวัง, 2014)
18
เกณฑ์การแบ่งระดับของทฤษฎีการพยาบาล
เกณฑ์สำคัญในการแยก ทฤษฎีการพยาบาลระดับกลางออกจากทฤษฎีการ พยาบาลระดับกว้าง และทฤษฎีการพยาบาลระดับการ ได้แก่ 1. ขอบเขตของทฤษฎี(scope) 2. ระดับความเป็นนามธรรมของทฤษฎี(level of abstract) 3. ความสามารถในการทดสอบของทฤษฎี(test ability) อ้างอิง(ศรีพรรณ กันธวัง, 2014)
19
ความสำคัญของทฤษฎีแต่ละระดับ
1. ทฤษฎีการพยาบาลระดับกว้าง (grand nursing theory) ทำให้ได้รู้ขอบเขตของวิชาชีพ 2. ทฤษฎีการพยาบาลระดับกลาง (middle range nursing theory) ช่วยให้การปฏิบัติการพยาบาลมี ประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยอธิบายปรากฏการณ์ทางการ พยาบาล ให้แนวทางในการประเมินปรากฏการณ์ การกำหนด เป้าหมายและกิจกรรมการพยาบาล รวมทั้งแนวทางการ ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล 3. ทฤษฎีการ พยาบาลระดับการปฏิบัติหรือทฤษฎีระดับสถานการณ์ที่ เฉพาะเจาะจง(practice or situation-specific nursing theory ให้ความรู้เกี่ยววิธีการปฏิบัติการพยาบาลซึ่งก็คือวิธีการ บำบัดทางการพยาบาล (nursing interventions) ที่ เฉพาะเจาะจงกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
20
ทฤษฎีการพยาบาลระดับกว้าง (grand nursing theory)
1) ขอบเขตกว้าง 2) มีความเป็นนามธรรมสูง 3) นี้มีเป้าหมายที่แสดงถึงมุมมองหรือกระบวน ทัศน์ที่ช่วยให้เข้าใจถึงมโนทัศน์และหลักการสำคัญในมุม มองทางการพยาบาล 4) เป็นทฤษฎีที่บอกขอบเขตของวิชาชีพการพยาบาล 5) มีข้อจำกัดเรื่องการทดสอบ ความเชื่อมโยงระหว่างมโนทัศน์ไม่ชัดเจน ไม่มีตัวชี้วัดที่สังเกตได้ จึงนำไปทำวิจัยได้จำกัด อ้างอิง(ศรีพรรณ กันธวัง, 2014)
21
ตัวอย่างทฤษฎีระดับกว้าง
ทฤษฎีของโรเจอร์ (Rogers, 1970) ทฤษฎีทฤษฎี กระบวนการปฏิสัมพันธ์และทฤษฎีความสำ เร็จตามจุดมุ่งหมาย ของคิง (King, 1981) ทฤษฎีของระบบของนิวแมน (Neuman, 1982) อ้างอิง(ศรีพรรณ กันธวัง, 2014)
22
ทฤษฎีการพยาบาลระดับกลาง (middle range nursing theory)
1) มีขอบเขตที่เฉพาะเจาะจงกว่าทฤษฎีการพยาบาลระดับกว้างเน้นการอธิบายปรากฏการณ์ 2) มีความเป็นรูปธรรมในระดับที่สามารถนำไปใช้ในการวิจัยได้คือทดสอบได้ 3) ให้แนวทางในการปฏิบัติ การพยาบาลที่เฉพาะเจาะจงที่ใช้ได้กับผู้รับบริการหลาย กลุ่มและหลายสถานการณ์ 4) ที่มีจำนวนมโนทัศน์ไม่มากแต่ชัดเจน และมีขอบเขตจำกัดซึ่งช่วยให้สามารถทดสอบทฤษฎีได้ (ทำวิจัยเพื่อพัฒนาได้) และให้แนวทางการใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลที่เฉพาะเจาะจงหรือชัดเจนขึ้น อ้างอิง(ศรีพรรณ กันธวัง, 2014)
23
ตัวอย่างทฤษฎีระดับกลาง
ทฤษฎีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย (Uncertainty in Illness Theory) ของมิเชล (Mishel, 1988) ทฤษฎี ความสุขสบาย (Theory of Comfort) ของโกลคาบา (Kolcaba, 2001) ทฤษฎีอาการไม่พึงประสงค์ (Theory of Unpleasant Symptoms) ของเลนซ์ พิวฮ์ มิลลิแกน ซุปป์ และกิ๊ฟท์ (Lenz, Pugh, Milligan, Suppe, & Gift, 1997) อ้างอิง(ศรีพรรณ กันธวัง, 2014)
24
ทฤษฎีการ พยาบาลระดับการปฏิบัติหรือทฤษฎีระดับสถานการณ์ที่ เฉพาะเจาะจง(practice or situation-specific nursing theory เป็นทฤษฎีที่เน้นปรากฏการณ์ทางการ พยาบาลที่เฉพาะเจาะจงที่สะท้อนถึงการปฏิบัติทาง คลินิกและจำกัดเฉพาะกลุ่มผู้รับบริการกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ในบริบทหนึ่ง ตัวอย่าง ทฤษฎีเกี่ยวกับการให้นมมารดา ประสบการณ์การหมดประจำ เดือนของผู้หญิงอมริกันเชื้อสายเอเชีย และรูปแบบการ ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในเด็กวัยรุ่น อ้างอิง(ศรีพรรณ กันธวัง, 2014)
25
อ้างอิง ปาหนัน พิชยภิญโญ (2556). ทฤษฎีทางการพยาบาล ความเป็นมาและพัฒนาการ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 27(2) ศรีพรรณ กันธวัง (2557). ระดับของทฤษฎีการพยาบาล. พยาบาลสาร.41(3) ศรีพรรณ กันธวัง (2557). ทฤษฎีการพยาบาลระดับกลาง. พยาบาลสาร.41(4) อุไร หัถกิจ และ วารีรัตน์ ถาน้อย (2555). การพยาบาลองค์รวมและการดูแลสุขภาพแบบผสมผสาน: การบูรณาการแนวคิดสู่การจัดการศึกษาพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล ปีที่ 27 ฉบับพิเศษ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.