งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

SOP RIHES-DDD การควบคุมการแพร่เชื้อวัณโรค (Tuberculosis Infection control Version 2.0, 20 June 2016 Daralak T. 31 Mar 2017.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "SOP RIHES-DDD การควบคุมการแพร่เชื้อวัณโรค (Tuberculosis Infection control Version 2.0, 20 June 2016 Daralak T. 31 Mar 2017."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 SOP RIHES-DDD การควบคุมการแพร่เชื้อวัณโรค (Tuberculosis Infection control
Version 2.0, 20 June 2016 Daralak T. 31 Mar 2017

2 จุดประสงค์ ( Purpose) และ ขอบเขตการใช้งาน ( Applies for)
เพื่อให้จนท. ของโครงการวิจัยในสถาบันฯ (Health Care Worker-HCW) ที่ต้องสัมผัสผู้ป่วยสงสัย หรือ ยืนยันว่าเป็นวัณโรค ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเพื่อป้องกันการเป็นวัณโรคและป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคของอส.ที่ป่วยหรือมีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

3 วิธีดำเนินการ (Procedures)
สถานที่ (Facility level Measurers) การบริหารจัดการ (Administrative controls) การควบคุมสิ่งแวดล้อม (Environmental controls) อุปกรณ์และการป้องกัน (Personal protective equipment -PPE)

4 วิธีดำเนินการ (Procedures)
สถานที่ (Facility level Measures) Administrative controls Environmental controls Personal protective equipment (PPE)

5 ตู้เก็บเสมหะ (Biosafety Cabinet For Respiratory Disease) ใช้ในการเก็บเสมหะของผู้ที่สงสัย/เป็นวัณโรคหรือโรคติดเชื้อในระบบหายใจ -อยู่ในบริเวณส่วนรอตรวจ หน้าห้องตรวจ 4 -เป็นระบบปิด และมีระบบฆ่าเชื้อด้วยแสง Ultra Violet ทั้งก่อนและหลังการใช้งาน

6 ห้องตรวจ 4 คลินิกรักษ์สุขภาพ (Respiratory Infection Treatment Room)
-มีการควบคุมระบบความดันอากาศเป็น Negative pressure -มีระบบการระบายอากาศแยกจากระบบส่วนกลาง -มีระบบทำความสะอาดอากาศก่อนปล่อยออกภายนอก ร่วมกับมีเครื่องฟอกอากาศ HEPA filter -มีการตรวจสอบการจัดวางตำแหน่งอุปกรณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ส่วนรอตรวจ ( waiting area) เป็นสถานที่โล่ง มีอากาศถ่ายเท ซึ่งจัดทำเป็นสวนหย่อมหน้าห้องตรวจ 4

7

8 วิธีดำเนินการ (Procedures)
Facility level Measures การบริหารจัดการ (Administrative controls) Environmental controls Personal protective equipment (PPE)

9 หากบุคคลใดทั้งจนท. และ อส
หากบุคคลใดทั้งจนท. และ อส. มีอาการไอ จาม ให้ใช้หน้ากากอนามัย ( Surgical Mask) ซึ่งจัดเตรียมไว้ในคลินิกวิจัยทุกคลินิก 2. ให้จนท. ประจำจุดแรกที่พบอส. ซักประวัติเบื้องต้นเพื่อคัดกรองวัณโรค ประกอบด้วยอาการ ไอเรื้อรัง 2 สัปดาห์ขึ้นไป ไอเป็นเลือด อาการไข้ เหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำหนักลด เบื่ออาหาร หากพบ 2 อาการขึ้นไป แนะนำให้อส.ใส่หน้ากากอนามัยชนิด surgical mask และ แยกอส. เข้าห้องตรวจ 4 คลินิกรักษ์สุขภาพ (โทร 36058) หมายเหตุ หากอส. รายดังกล่าวเป็นอส.ที่พบในคลินิกหรือโครงการวิจัยอื่นของสถาบันฯ ที่ไม่ได้ใช้คลินิกรักษ์สุขภาพ ในการตรวจอส ขอให้จนท.ในคลินิกที่พบอส.หรือผู้ป่วยดังกล่าว โทร (คลินิกรักษ์สุขภาพ) เพื่อให้จนท.ประจำคลินิกรักษ์สุขภาพได้จัดเตรียมห้องตรวจ 4 เพื่อรอรับการมาใช้บริการของคลินิก/โครงการนั้นๆ ต่อไป

10 3. การดูแลอส.หรือผู้ป่วยที่สงสัย/ยืนยันว่าเป็นวัณโรคหรือวัณโรคดื้อยา หรือโรคติดเชื้อในระบบหายใจ ให้ดำเนินการดูแลแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop service) ณ. ห้องตรวจ 4 คลินิกรักษ์สุขภาพ และจัดหาผ้าปิดปากและจมูกให้ผู้ป่วยสวมและให้กระดาษทิชชูแก่ผู้ป่วยเพื่อใช้ปิดปากและจมูกเวลาไอจาม ส่วนจนท.ผู้ปฏิบัติงานให้ใช้หน้ากากอนามัยชนิด N95 วัณโรคดื้อยา ได้แก่ -ผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษามาก่อน -ผู้ป่วยที่ล้มเหลวต่อการรักษาด้วยสูตรยารักษาซ้ำ -ผู้ป่วยที่ล้มเหลวต่อการรักษาด้วยสูตรยาพื้นฐานแล้ว พบว่าเดือนที่ 5 ยังพบเชื้อในเสมหะ -ผู้ป่วยที่กลับเป็นซ้ำ (relapse) -ผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำหลังขาดยา -ผู้ป่วยรายใหม่ที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย MDR-TB -ผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความชุกของ MDR-TB สูง -ผู้ป่วยที่มีโรคร่วม มีบางการศึกษาที่พบว่าผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี พบ MDR-TB สูงขึ้น

11 4.. การวินิจฉัย หรือการตรวจต่างๆ ที่มีผลให้เกิดการฟุ้งกระจายของเชื้อวัณโรค ให้ดำเนินการในห้องตรวจ 4 คลินิกรักษ์สุขภาพ หากต้องมีการเก็บเสมหะที่คลินิก ให้จนท.ให้คำแนะนำวิธีการเก็บเสมหะอย่างถูกวิธี และเก็บเสมหะในตู้เก็บเสมหะที่จัดเตรียมไว้ ซึ่งตั้งอยู่อยู่ในบริเวณส่วนรอตรวจ หน้าห้องตรวจ 4 คลินิกรักษ์สุขภาพ 5. หากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อออกจากห้องแยก ให้ผู้ป่วยสวมผ้าปิดปากและจมูก (surgical mask) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคสู่หน่วยงานอื่น 6. จัดอบรมและ/หรือส่งเสริมให้ความรู้กับบุคลากรเกี่ยวกับวัณโรค รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อ

12

13

14 วิธีดำเนินการ (Procedures)
Facility level Measures Administrative controls การควบคุมสิ่งแวดล้อม (Environmental controls) Personal protective equipment (PPE)

15 มีการเปิดระบบทำลายเชื้อโรคด้วยรังสี Ultraviolet โดยจนท
มีการเปิดระบบทำลายเชื้อโรคด้วยรังสี Ultraviolet โดยจนท.เปิด UV lamp ทุกวันหยุดราชการ วันละ 2 ชั่วโมง เวลา20-22 น. มีการตรวจสอบความพร้อมของตู้เก็บเสมหะ โดยจนท.เปิดสวิทช์ทดสอบการทำงานของตู้ เดือนละ 1 ครั้ง และทุกครั้งก่อนมีการใช้งาน ก่อนรับอส/ผู้ป่วยที่สงสัยหรือยืนยันว่าเป็นวัณโรคหรือโรคติดเชื้อในระบบหายใจ เข้าห้องตรวจ 4 ให้จนท.เปิดระบบการระบายอากาศและกรองเชื้อโรคเตรียมไว้ และภายหลังการใช้ให้ใช้สเปรย์ฆ่าเชื้อที่เตรียมไว้ในห้องตรวจ 4 ฉีดฆ่าเชื้อ รอนาน 1 ชัวโมงก่อนเปิดใช้ในครั้งต่อไป จนท.ล้างมือด้วยน้ำยาล้างมือหรือแอลกอฮอล์ทุกครั้งภายหลังเสร็จสิ้นหัตถการ จัดเตรียมแอลกอฮอล์ลำหรับอส.ทำความสะอาดมือไว้ในคลินิก

16 วิธีดำเนินการ (Procedures)
Facility level Measures Administrative controls Environmental controls อุปกรณ์และการป้องกัน (Personal protective equipment -PPE)

17 มีการจัดเตรียมและตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ได้แก่ หน้ากากอนามัยชนิด surgical mask หน้ากาก N95 ถุงมือใช้แล้วทิ้ง ตลอดจน น้ำยาล้างมือและหรือแอลกอฮอล์ทำความสะอาด ให้พร้อมใช้อยู่เสมอ ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของคลินิก ห้องตรวจ 4 และ ตู้เก็บเสมหะให้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา จัดให้มีการตรวจสุขภาพจนท.สถาบันฯ ทุก 2 ปี ซึ่งมีการตรวจและซักประวัติเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค ตลอดจนมีการส่งตรวจเอกซเรย์ทรวงอก (CXR) ตามความเหมาะสม สำหรับจนท.กลุ่มเสี่ยงที่ต้องดูแลหรือสัมผัสกับผู้ป่วยหรือสิ่งส่งตรวจของอสทีหรือผู้ป่วยสงสัยหรือยืนยันว่าเป็นวัณโรค แพทย์ให้มีการชักประวัติคัดกรองปีละ 1 ครั้ง และส่งตรวจเอกซเรย์ทรวงอก (CXR) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเห็นของแพทย์ แพทย์พิจารณาให้การตรวจเพิ่มติมในกรณีจนท.มีอาการน่าสงสัยเป็นวัณโรคหรือโรคติดเชื้อในระบบหายใจ และหากตรวจพบจนท.ป่วยเป็นวัณโรค ต้องดำเนินการประสานงานและส่งต่อตามระบบการรักษาพื่อให้จนท.ดังกล่าวได้รับการรักษาตามความเหมาะสม ร่วมกับทำการตรวจสอบและคัดกรองจนท.อื่นซึ่งทำงานใกล้ชิดกับจนท.คนดังกล่าวและส่งต่อเพื่อรับยาป้องกันวัณโรคหากจำเป็น

18 สำหรับจนท.โครงการวิจัยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค รวมถึงเจ้าหน้ารายใหม่ จัดให้มีการตรวจ PPD test และCXR ก่อนเริ่มโครงการ หากผลการตรวจเป็น Negative ให้ตรวจ PPD test ซ้ำทุก 2 ปี ถ้าในครั้งต่อมาตรวจพบว่าจนท.ติดเชื้อวัณโรคแฝง (ผลการตรวจเป็นบวก, CXR ปกติ) จะทำการส่งพบ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษาการติดเชื้อแฝง สำหรับจนท.โครงการวิจัยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคหรือทำโครงการเกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อในระบบ ทางเดินหายใจ จัดให้มีการทำ Fit test อย่างน้อยปีละครั้ง ส่วนจนท.ใหม่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคหรือทำโครงการเกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหาย ให้ทำ Fit test ก่อนให้การดูแลผู้ป่วยหรือก่อนเริ่มทำงานในโครงการ RIHES PPD test yr2015 : total 43 Positive 6 (14%), Neg 37 ( 86%)

19 การอบรมวิธีปฏิบัติงาน (Training)
จนท.จะต้องได้รับการอบรมและฝึกฝนวิธีปฏิบัติงานนี้ ก่อนที่จะเริ่มโครงการใหม่ จนท.จะต้องพิจารณาปรับปรุงวิธีการปฏิบัตินี้ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของโครงการเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จนท.จะได้รับ SOP ที่จะต้องปฏิบัติตาม การอบรมและฝึกฝนวิธีปฏิบัติงานนี้จะต้องมีการจดบันทึกและตรวจสอบได้ จนท.ที่เข้ามารับผิดชอบงานใหม่จะต้องผ่านการอบรมและฝึกฝนวิธีปฏิบัติงานนี้ภายใน 60 วันนับจากวันที่รับหน้าที่ หากมีการแก้ไขและรับรองวิธีปฏิบัติงานนี้ จะต้องทำการฝึกอบรมวิธีการปฏิบัติงานวิธีใหม่แก่จนท.ภายใน 60 วัน

20 Thank You Kumagaya ,Saitama


ดาวน์โหลด ppt SOP RIHES-DDD การควบคุมการแพร่เชื้อวัณโรค (Tuberculosis Infection control Version 2.0, 20 June 2016 Daralak T. 31 Mar 2017.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google