งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คำทับศัพท์ / คำศัพท์บัญญัติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คำทับศัพท์ / คำศัพท์บัญญัติ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คำทับศัพท์ / คำศัพท์บัญญัติ
“คำศัพท์” ที่รับเข้ามาเป็นคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาการและเทคโนโลยี การที่เรารับมาแล้วเข้าใจได้ง่ายที่สุดคือการ “ทับศัพท์” แต่ส่วนอื่นก็มีอีกเป็นจำนวนมากที่ใช้เป็น “ศัพท์บัญญัติ”

2 การทับศัพท์ การทับศัพท์ หรือ การปริวรรต คือ การถอดอักษร หรือแปลงข้อความจากระบบการเขียนหรือภาษาหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งอย่างมีหลักการ เพื่อให้สามารถเขียนคำในภาษาต่างประเทศด้วยภาษาและอักษรในภาษานั้น ๆ ได้สะดวก เช่น การทับศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมัน มาเป็นอักษรไทยเพื่อใช้ในภาษาไทย หรือการทับศัพท์ภาษาไทย ไปเป็นอักษรโรมันเพื่อใช้ในภาษาอังกฤษ เป็นต้น ส่วนมากใช้กับวิสามานยนาม อาทิ ชื่อบุคคล สถานที่ หรือชื่อเฉพาะที่ไม่สามารถแปลความหมายเป็นภาษาอื่นได้โดยสะดวก

3 การสร้างคำทับศัพท์ หลักเกณฑ์การสร้างคำทับศัพท์(ราชบัณทิตยสถาน 2535)
๑. การทับศัพท์ให้ถอดอักษรในภาษาเดิมพอควรแก่การแสดงที่มาของรูปศัพท์นั้นๆ และให้เขียนในรูปที่อ่านได้สะดวก ๒. การวางหลักเกณฑ์ได้แยกกำหนดหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษา ต่างๆ แต่ละภาษาออกไปเพื่อให้ง่ายขึ้น ๓. คำทับศัพท์ที่ใช้กันมานานจนถือเป็นคำไทย และปรากฏในพจนานุกรมแล้ว ให้ใช้ต่อไปตามเดิม เช่น ช็อกโกแลต เชิ้ต ก๊าซ แก๊ส

4 การสร้างคำทับศัพท์ หลักเกณฑ์การสร้างคำทับศัพท์(ราชบัณทิตยสถาน 2535)
๔. คำวิสามานยนามที่ใช้กันมานานแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิม เช่น Victoria = วิกตอเรีย Louis = หลุยส์ New york = นิวยอร์ก ๕. ศัพท์วิชาการซึ่งใช้เฉพาะกลุ่ม ไม่ใช่ศัพท์ทั่วไป อาจเพิ่มหลักเกณฑ์ขึ้นตามความจำเป็น

5 หลักการสร้างคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
ราชบัณทิตยสถาน 2535 ได้ให้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษไว้ดังนี้ ๑. สระ ให้ถอดตามการออกเสียงในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ โดยเทียบเสียงสระภาษาไทยตามตารางเทียบเสียงสระภาษาอังก ๒. พยัญชนะ ให้ถอดพยัญชนะภาษาไทยตามหลักเกณฑ์ในตารางเทียบพยัญชนะภาษาอังกฤษ ๓. การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต ได้แก่ ๑) พยัญชนะตัวที่ไม่ออกเสียงในภาษาไทย ให้ใส่เครื่องหมาย ทัณฑฆาตกำกับ เช่น Form = ฟอร์ม party = ปาร์ตี้ ๒) คำหรือพยางค์ที่ตัวสะกดมีพยัญชนะตามมาหลายตัว ให้ใส่ เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะที่ไม่ออกเสียงตัว สุดท้ายแต่เพียงแห่งเดียว เช่น Kilohertz = กิโลเฮิรตซ์

6 หลักการสร้างคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
ราชบัณทิตยสถาน 2535 ได้ให้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษไว้ดังนี้ ๓. การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต ได้แก่ ๓) คำหรือพยางค์ที่มีพยัญชนะไม่ออกเสียงอยู่หน้าตัวสะกดที่ ยังมีพยัญชนะตามหลังมาอีก ให้ตัดพยัญชนะที่อยู่หน้าตัวสะกดออกใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวาสุดท้าย เช่น World = เวิลด์ first = เฟิร์สต์ ๔)การใช้ไม้ไต่คู้ ควรใช้ในกรณีต่อไปนี้ ๔.๑ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นความแตกต่างจากคำไทย เช่น Shock=ช็อก log=ล็อก ๔.๒ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านแยกพยางค์ได้ถูกต้อง

7 หลักการสร้างคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
ราชบัณทิตยสถาน 2535 ได้ให้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษไว้ดังนี้ ๔. การใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ การเขียนคำทับศัพท์ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ ยกเว้นในกรณีที่คำนั้นมีเสียงซ้ำกับคำไทยจนทำให้เกิดความสับสน อาจใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ Cake-เค้ก Coke- โค้ก rugby-รักบี้

8 หลักการสร้างคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
ราชบัณทิตยสถาน 2535 ได้ให้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษไว้ดังนี้ ๕. พยัญชนะซ้อน คำที่มีพยัญชนะซ้อนเป็นตัวสะกด ถ้าเป็นศัพท์ ทั่วไปให้ตัดออกตัวหนึ่ง เช่น hostess=โฮสเตส football- ฟุตบอล แต่ถ้าเป็นคำศัพท์วิชาการหรือคำวิสามานยนามให้เก็บไว้ทั้ง ๒ ตัว โดยใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้ที่ตัวท้าย เช่น Cliff=คลิฟฟ์ James watt - เจมส์ วัตต์

9 หลักการสร้างคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
ราชบัณทิตยสถาน 2535 ได้ให้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษไว้ดังนี้ ๖. คำที่ตัวสะกดของพยางค์หน้าออกเสียงเป็นพยัญชนะต้นของ พยางค์ต่อไปด้วย ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้ ๖.๑ ถ้าสระของพยางค์หน้าเป็นเสียงสระอะ เมื่อทับศัพท์ให้ เพิ่มพยัญชนะซ้ำอีก ๑ ตัว เช่น couple-คัปเปิล

10 หลักการสร้างคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
ราชบัณทิตยสถาน 2535 ได้ให้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษไว้ดังนี้ ๗. คำประสมที่มีเครื่องหมายยัติภังค์ ให้ทับศัพท์โดยเขียนติดต่อกันไป เช่น x-rays เอกซเรย์ ยกเว้นคำวิสามานยนาม cobalt-60 โคบอลต์-60

11 หลักการสร้างคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
ราชบัณทิตยสถาน 2535 ได้ให้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษไว้ดังนี้ ๘. คำประสมซึ่งในภาษาอังกฤษเขียนแยกกัน เมื่อทับศัพท์ให้เขียน ติดกันไป ไม่ต้องแยกคำตามภาษาเดิม calcium carbonate แคลเซียมคาร์บอเนต ๙. คำคุณศัพท์ที่มาจากคำนาม ซึ่งมีปัญหาว่าจะทับศัพท์ในรูป คำนามหรือคำคุณศัพท์ให้พิจารณาหลักเกณฑ์ ถ้าคำคุณศัพท์นั้นมีความหมายเหมือนคำนาม หรือความหมายว่า “เป็นของ” “เป็นเรื่องของ” คำนามนั้นให้ทับศัพท์ในรูปคำนาม Electronic charge ประจุอิเล็กตรอน

12 หลักการสร้างคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
ราชบัณทิตยสถาน 2535 ได้ให้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษไว้ดังนี้ ๑๐. คำคุณศัพท์ที่มาจากชื่อบุคคล ให้ทับศัพท์ตามชื่อของบุคคลนั้นโดยใช้คำประกอบ ของ แบบ ระบบ แล้วแต่ความหมาย Napierian logarithm ลอการิทึมแบบเนเปียร์ ๑๑. คำคุณศัพท์เกี่ยวกับชนชาติต่างๆ ให้ทับศัพท์ในรูปคำนามที่เป็นชื่อประเทศ Japanese people คนญี่ปุ่น

13 หลักการสร้างคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
ราชบัณทิตยสถาน 2535 ได้ให้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษไว้ดังนี้ ๑๒. การวางตำแหน่งคำคุณศัพท์ในคำทับศัพท์ ให้ถือหลักเกณฑ์ วางคำคุณศัพท์หลังคำนาม cosmic ray รังสีคอสมิก ๑๓. คำย่อ ใช้เขียนชื่อตัวอักษรนั้นๆ ลงในภาษาไทย ให้เขียนโดยไม่ต้องใส่จุด ไม่เว้นช่องไฟ BBC บีบีซี FBI เอฟบีไอ DDT ดีดี

14 หลักการสร้างคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
ราชบัณทิตยสถาน 2535 ได้ให้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษไว้ดังนี้ ๑๔. คำทับศัพท์ที่ผูกขึ้นจากตัวย่อ ให้เขียนตามเสียงที่ออก ไม่ใส่จุด USIS ยูซิส UNESCO ยูเนสโก ASEAN อาเซียน ๑๕. ตัวย่อชื่อบุคคล ให้เขียนโดยใส่จุดและเว้นช่องไฟระหว่างชื่อกับนามสกุล D.N. Jame ดี.เอ็น.เจมส์

15 หลักการสร้างคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
ราชบัณทิตยสถาน 2535 ได้ให้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษไว้ดังนี้ ๑๖. คำที่มีหลายพยางค์ มีการตัดพยางค์ให้เหลือน้อยลง โดยมากจะใช้ในภาษาพูดไม่ใช่ภาษาราชการ Air conditioner แอร์

16 ความหมายของศัพท์บัญญัติ
คือคำศัพท์ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนเอกสารของทางราชการ และการเรียนการสอน ผู้ออกศัพท์บัญญัติในปัจจุบันคือราชบัณฑิตยสถาน ศัพท์บัญญัติจะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ แพทย์ศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเชื่อมพลังงาน ประชากรศาสตร์ พฤกษศาสตร์ ปรัชญา ประกันภัย วรรณกรรม ปรับอากาศ สัทศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปะ เทคโนโลยีสารสนเทศ ยานยนต์ ทันตแพทยศาสตร์ ธรณีวิทยา คณิตศาสตร์

17 ศัพท์บัญญัติ คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานมีหลักสำคัญในการบัญญัติศัพท์อยู่ ๓ ประการ ได้แก่ ๑. คิดคำขึ้นใหม่ ๒. แปลศัพท์ ๓. ทับศัพท์

18 คิดคำขึ้นใหม่ การคิดคำขึ้นมาใหม่ ให้พิจารณาหาคำไทยที่มีความหมายตรงกับศัพท์เดิมให้ได้ ถ้าหาไม่ได้ให้ใช้หลักการประสมคำ อาจใช้คำบาลี สันสกฤต Dean - คณบดี heredity – พันธุกรรม bank- ธนาคาร

19 แปลศัพท์ การแปลศัพท์ใช้วิธีการแปลศัพท์แบบ “ตรงตัว” และแบบ “ตีความ”
Express way ทางด่วน cold start (เริ่มเย็น) การเริ่มเดินเครื่อง

20 ทับศัพท์ ในกรณีที่ไม่สามารถบัญญัติศัพท์ตาม ข้อ ๑ - ๒ ได้ ให้ใช้คำภาษาต่างประเทศนั้นในแบบทับศัพท์ไปก่อนโดยปรับเสียงของคำให้เข้ากับระบบเสียงภาษาไทย atom อะตอม card การ์ด doctor ดอกเตอร์

21 ยกตัวอย่างศัพท์บัญญัติ
๑. แฟลต , อพาร์ตเมนต์ = ห้องชุด ๒. คอมพิวเตอร์ = คณิตกรณ์ ๓. ดีวีดี = แผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิตัล ๔. ปริ้นเตอร์ = เครื่องพิมพ์ ๕. อินฟีนีตี้ = อนันต์ ๖. ซิมการ์ด = บัตรระบุผู้เช่า ๗. ซิม = มอดูลระบุผู้เช่า ๘. จอยสติ๊ก = ก้านควบคุม ๙. ซีพียู = หน่วยประมวลผลกลาง ๑๐. คีย์บอร์ด = แผงแป้นอักขระ

22 ยกตัวอย่างศัพท์บัญญัติ
๑๑. แผ่นดิสก์ = จานบันทึก ๑๒. จั๊กจั่น = แม่ม่ายลองไน , กระพี้นางนวล ๑๓. แรม(RAM) = หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม ๑๔. รอม(ROM) = หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว ๑๕. ฮาร์ดดิสก์ = จานบันทึกแบบแข็ง ๑๖.Disk Drive = หน่วยขับจาน , หน่วยขับจานบันทึก , หน่วยขับแผ่นบันทึก ๑๗.เคส(CASE) = วิศวกรรมระบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ๑๘.Scanner = เครื่องกราดตรวจ ๑๙.ล็อตเตอรี่ = สลากกินแบ่งรัฐบาล ๒๐.รถเมล์ = รถโดยสารประจำทาง

23 คำศัพท์เฉพาะกลุ่ม ภาษาอังกฤษได้เข้ามาในวงการต่างๆ เป็นจำนวนมาก ราชบัณฑิตยสถานได้ตีพิมพ์ศัพท์บัญญัติหลายสาขา “พจนานุกรมศัพท์” ศัพท์บัญญัติแม้จะแพร่หลายออกไปสมควร แต่ก็ยังไม่ใช่ศัพท์ที่คนทั่วไปรู้จักและใช้กัน ศัพท์บัญญัติบางคำที่ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้ใช้ เพราะอาจเข้าใจยากหรือออกเสียงยาก คำยืมทับศัพท์ภาษาอังกฤษจึงมีอยู่เป็นจำนวนมากในการพูดจาสื่อสารกัน

24 ศัพทเฉพาะกลุ่ม *** ศัพท์เด็กแนว เช่น...   เฟค (Fake) - การสร้างจินตนาการ/การหลอกตัวเอง      หรู ไฮ - ดูดีมีฐานะ   มีองค์ - ใช้เรียกเพื่อนชายที่เป็นเกย์   ด๋อย - เชยๆ เสี่ยวๆ   ชิลๆ - ง่ายๆ สบายๆ   สวยเป๋อ - ผู้หญิงสวยแต่ซุ่มซ่าม   เพียวเค็ม - คนที่งกมากๆ   ชีเลส - ดี้   ฮีเลส - ทอม   สะแอ๋ง - ชอบสอดเรื่องชาวบ้าน  

25 มอบหมายงาน เพื่อทบทวนเนื้อหา
 ให้นักเรียนรวบรวมคำทัพศัพท์ – คำศัพท์บัญญัติ คำศัพท์เฉพาะกลุ่ม ที่ใช้ในวงการต่างๆ จากตำราวิชาการ นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ มาอย่างละ ๕ คำ

26 ควรตั้งใจศึกษาเล่าเรียน


ดาวน์โหลด ppt คำทับศัพท์ / คำศัพท์บัญญัติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google