ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยLili Jónás ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การผลิตก๊าซชีวภาพที่เตรียมจากทะลายปาล์มที่ผ่านการปรับสภาพ
School of Renewable Energy (SCORE) Maejo University ChIANG mai, Thailand การผลิตก๊าซชีวภาพที่เตรียมจากทะลายปาล์มที่ผ่านการปรับสภาพ กับมูลสุกรโดยการหมักแบบไร้อากาศ Biogas Production from Treated Oil Palm Empty Fruit Bunch with Pig Manure by Anaerobic Co-digestion จุฑาภรณ์ ชนะถาวร โทรศัพท์ โทรสาร * Objectives Results ผลการทดลองการปรับสภาพทะลายปาล์มด้วยสารละลาย NaOH ส่งผลให้เกิดการเพิ่มปริมาณของเซลลูโลส และลดลงของปริมาณองค์ประกอบของลิกนิน และเฮมิเซลลูโลส พบว่าการปรับสภาพทะลายปาล์มที่ความเข้มข้น 7% (น้ำหนัก/น้ำหนัก) ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 24 ชั่วโมง พบว่าเป็นสภาวะที่เหมาะสมที่สุด ในการลดปริมาณองค์ประกอบลิกนินภายในเส้นใยทะลายปาล์ม และจากการสังเกตลักษณะพื้นผิวเส้นใยด้วยเครื่องมือ SEM สามารถเห็นการพองตัวของเส้นใยทะลายปาล์ม และลักษณะรูพรุนหลังจากการใช้สารละลาย NaOH ในการปรับสภาพของทะลายปาล์ม แสดงดังรูปที่ 2 และ 3 ปริมาณมากที่สุดของการใช้ซ้ำของสารละลาย NaOH ที่ 4 ครั้ง ซึ่งการใช้ซ้ำของสารละลาย NaOH ส่งผลต่อการปรับปรุงสภาพพื้นผิวของทะลายปาล์มหลังการปรับสภาพ 1. ศึกษาการปรับสภาพทะลายปาล์มด้วยวิธีทางเคมี โดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ที่ความเข้มข้นต่างๆ และศึกษาประสิทธิภาพการใช้ซ้ำของสารเคมีหลังการปรับสภาพ 2. เพื่อศึกษาปัจจัย และสภาวะที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพในถังหมักร่วม สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือน Methods a b c d ทะลายปาล์ม ปรับสภาพทะลายปาล์มด้วย NaOH ระบบหมักแบบแบทซ์ 20 mL รูปที่ 2 เส้นใยปาล์ม ที่ไม่ผ่านการปรับสภาพ (a) (b) ผ่านการปรับสภาพด้วยน้ำ (b) 5% NaOH (c) และ 10% NaOH (d) โดยน้ำหนัก a b c รูปที่ 3 SEM แสดงลักษณะพื้นผิวของทะลายปาล์มหลังจากการปรับสภาพโดยการใช้ซ้ำที่ 1 (a), 3 (b), และ 5 (c) ครั้งของสารละลาย NaOH จากการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพ พบว่าทะลายปาล์มที่ผ่านการปรับสภาพด้วยสารละลาย NaOH ที่ความเข้มข้น 7% โดยน้ำหนัก สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพได้ พิจารณาจากปริมาณก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้จากการทดลองในระบบแบทช์เพิ่มขึ้นจาก 2.10 ลิตร/วัน เป็น 4.21 ลิตร สัดส่วนระหว่างมูลสุกรและทะลายปาล์มที่ 50:50 ปริมาณ TS 20% ดังรูปที่ 4 และจาการศึกษา TS จะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งทั้งหมดขึ้นอยู่กับปริมาณอัตราส่วนของมูลสุกรกับทะลายปาล์ม กล่าวคือ ประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งทั้งหมดจะแปรผันตรงกับอัตราส่วนของทะลายปาล์มในวัตถุดิบ รูปที่ 1 แผนผังการทดลอง งานวิจัยนี้ศึกษาการผลิตก๊าซชีวภาพโดยใช้กระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ภายใต้สภาวะไร้อากาศ ด้วยระบบการหมักร่วมระหว่างทะลายปาล์มกับมูลสุกรโดยทำการศึกษาปัจจัยต่างๆ เช่น การปรับสภาพทะลายปาล์มโดยใช้สารเคมี ชนิดโซเดียม ไฮดรอกไซด์ (NaOH) ที่ความเข้มข้น 3 – 10% โดยน้ำหนัก และศึกษาการนำสารเคมีหลังการปรับสภาพมาใช้ใหม่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณก๊าซชีวภาพและผลได้ของก๊าซมีเทน โดยทำการทดลองในถังหมักแบบแบทช์ (Batch) ขนาด 20 ลิตร เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสม ผลการทดลองที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการศึกษาวิจัยและเป็นแนวทางในการพัฒนาไปสู่การประยุกต์ใช้สำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพในระดับครัวเรือนต่อไป รูปที่ 4 แสดงผลของอัตราส่วนของมูลสุกรและทะลายปาล์มในวัตถุดิบ ที่ TS 20% มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อพัฒนาพลังงานรองรับวิกฤตการณ์พลังงานของประเทศ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.