ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยArabella Perry ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
เรื่อง ปัญหาและผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ปัญหาและผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม วิชา วิทยาศาสตร์ชีวภาพ 2 (ว30120) กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ผู้สอน นางสาวธีริศรา แสงมั่ง
2
ปัญหาและผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
ปัญหาและผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ปัญหาสิ่งแวดล้อม แนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
3
ปัญหาสิ่งแวดล้อม (Environment pollution)
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม การเพิ่มจำนวนประชากร: ความต้องการในการใช้ทรัพยากรในการดำรงชีวิตที่มากขึ้น โดยขาดการวางแผนการจัดการ การขยายตัวของเมืองหรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์: การเกษตรและอุตสาหกรรมที่มีมากขึ้น ก่อให้ระบบนิเวศเกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งยังขาดการวางแผนการใช้พื้นที่หรือการวางผังเมืองที่มีประสิทธิภาพ
4
ปัญหาสิ่งแวดล้อม (Environment pollution)
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่: เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เช่น ปุ๋ยเคมี สารกำจัดแมลงและวัชพืช และเครื่องจักรกลที่ปล่อยไอเสีย การขาดความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม: ขาดความตระหนักถึงความรับผิดชอบ ช่น ทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ และการใช้สารกำจัดศัตรูพืชเกินความจำเป็น
5
มนุษย์ต้องการการพัฒนาคุณภาพชีวิต
พัฒนา (development) คือ การเปลี่ยนแปลงที่มีการกระทำให้เกิดขึ้นหรือมีการวางแผนกำหนดทิศทางไว้ล่วงหน้า และต้องเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น รวมถึงการเพิ่มความพึงพอใจและเพิ่มความสุขของประชาชนด้วย การพัฒนาแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาทางเศรษฐกิจ: การพัฒนาด้านการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก การแลกเปลี่ยน การลงทุนเพื่อทำให้ประชาชนไม่ยากจน (2) การพัฒนาทางสังคม: การพัฒนาด้านจิตใจ แบบแผน พฤติกรรม รวมตลอดทั้งความสัมพันธ์ของคนในสังคมเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ในสังคม (3) การพัฒนาทางการเมือง: การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สร้างกระบวนการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย และประชาชนในประเทศมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมาย ความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรกลายเป็นการสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากขาดการวางแผนที่รอบคอบ
6
“มลภาวะ หรือ มลพิษ (pollution)” (environment pollution)
ของเสียจากกิจกรรมที่ขาดการจัดการถูกปล่อยออกสู่สภาพแวดล้อม “มลภาวะ หรือ มลพิษ (pollution)” ” ปัญหาสิ่งแวดล้อม (environment pollution)
7
ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากร (Environment pollution)
มลพิษทางน้ำ มลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศ มลพิษทางดิน การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้
8
มลพิษทางน้ำ (Water pollution)
9
น้ำเสีย และน้ำทิ้ง น้ำเสีย คือ น้ำที่มีสารใด ๆ หรือสิ่งปฏิกูลที่ไม่พึงปรารถนาปนอยู่ การปนเปื้อนของสิ่งสกปรกเหล่านี้จะทำให้คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจนอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ สิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในน้ำเสีย ได้แก่ น้ำมัน ไขมัน ผงซักฟอก สบู่ ยาฆ่าแมลง สารอินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเหม็นและเชื้อโรคต่าง ๆ น้ำทิ้ง คือ น้ำเสียที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมที่จะระบายลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม และให้หมายความรวมถึงน้ำเสียจากการใช้น้ำของคนงาน รวมทั้งจากกิจกรรมอื่นในโรงงานอุตสาหกรรม
10
การตรวจวัดคุณภาพน้ำ DO (Dissolved Oxygen) คือ ปริมาณ O2 ที่ละลายอยู่ในน้ำ บ่งชี้ความเหมาะสมในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ BOD (Biochemical Oxygen Demand) เป็นปริมาณ O2 ที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ น้ำที่มีคุณภาพดี ควรมีค่าบีโอดี ไม่เกิน 6 มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้าค่าบีโอดีสูงมากแสดงว่าน้ำนั้นเน่ามาก แหล่งน้ำที่มีค่าบีโอดีสูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตรจะจัดเป็นน้ำเน่าหรือน้ำเสีย แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (Total Coliform Bacteria: TCB) กลุ่มแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ใหญ่อาศัยอยู่ในลำไส้มนุษย์หรือสัตว์ การตรวจแบคทีเรียชนิดนี้ในแหล่งน้ำจะแสดงถึงความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนหรือแพร่กระจายของเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร
11
มาตรฐานคุณภาพน้ำ มาตรฐานของน้ำที่มีคุณภาพดี น้ำเน่าเสีย
มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งโรงงานอุตสาหกรรม มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำตามธรรมชาติ DO 5 - 8 mg/l หรือ ppm ต่ำกว่า 3 ppm - 2 - 6 mg/l BOD สูงกว่า 100 mg/l ไม่เกิน mg/l แล้วแต่ประเภทอุตสาหกรรม 1.5 – 4 mg/l TCB 0 MPN/100 ml 5,000 – 20,000 MPN/100 ml
12
มลพิษทางน้ำ (Water pollution)
สิ่งเจือปนในน้ำมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามแหล่งกำเนิดมลพิษ ได้แก่ 1. โรงงานอุตสาหกรรม 2. อาคารบ้านเรือน และชุมชน 3. การเกษตร 4. น้ำเสียจากที่กำจัดขยะมูลฝอย 5. น้ำเสียในธรรมชาติ 6. จากแหล่งอื่น ๆ
13
น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม
น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำเสียจากกระบวนการผลิต เช่น การล้างวัตถุดิบ การหล่อเย็น การทำความสะอาดเครื่องจักร โรงงานผลิตสารเคมี น้ำทิ้งก็จะมีสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรด-ด่าง โรงงานผลิตอาหารสัตว์ น้ำทิ้งก็จะมีสิ่งเจือปนในรูปของเศษอาหารสัตว์ กากถั่ว รำข้าว และเศษกระดูกป่น กรณีศึกษา: ปี 2559 ความเข้มข้นของแอมโมเนียอิสระสูง ผลจากการรั่วไหลของน้ำกากส่าจากโรงงานราชบุรีเอทานอล ทำให้เป็นพิษต่อปลากระเบนราหูและสัตว์น้ำอื่น ๆ โดยเฉพาะสภาวะไร้อากาศใต้ท้องน้ำ
14
น้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือนและชุมชน
ชุมชนที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ทุกครัวเรือนจะปล่อยน้ำทิ้งลงสู่รางระบายน้ำสาธารณะ และน้ำทิ้งเหล่านั้นจะไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติต่อไป ลักษณะของน้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือนและชุมชนจะเป็นแบบที่สามารถย่อยสลายได้โดยวิธีการทางชีววิทยา การทิ้งขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงสู่แม่น้ำลำคลองโดยตรง
15
น้ำทิ้งจากการเกษตร ได้แก่
การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ กระบวนการเพาะปลูกมักมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีป้องกัน กำจัดศัตรูพืชและสัตว์ ทำให้สารเคมีแพร่กระจายสู่แหล่งน้ำ น้ำเสียจากที่กำจัดขยะมูลฝอย เมื่อฝนตกลงมา จะชะน้ำเสียของสารอินทรีย์ที่บูดเน่าดังกล่าวไหลปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำผิวดินและซึมลงสู่น้ำใต้ดิน
16
น้ำเสียในธรรมชาติ การสะพรั่งของแพลงตอนแล้วตายลงพร้อม ๆ กัน เกิดจากภาวการณ์ขาดออกซิเจนในแหล่งน้ำและเกิดการเน่าเสียเอง จากการย่อยซากแพลงตอนทำให้ออกซิเจนหมดไป จากแหล่งอื่น ๆ เช่น การคมนาคมขนส่งทางน้ำ การรั่วไหลของน้ำมันลงไปในน้ำ คราบน้ำมันที่ลอยบนผิวน้ำจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและทำให้ออกซิเจนละลายน้ำได้ลดลง การทำเหมืองแร่ ที่ทำให้น้ำมีตะกอนขุ่นข้นและมีแร่ธาตุบางอย่างปะปนในน้ำในกระบวนการล้างแร่ กรณีศึกษา: ปี 2541 บริษัท ตะกั่ว คอนเซนเตรทส์ ประเทศไทย จำกัด ปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนสารตะกั่วลงสู่ลำห้วยคลิตี้ ทำให้ชาวบ้านเจ็บป่วยเรื้อรังและไม่สามารถใช้สอยลำห้วยได้
17
การป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษทางน้ำ
ดำเนินการป้องกันและแก้ไขอย่างเป็นระบบทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำ จากต้นน้ำถึงปากแม่น้ำโดยมีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา ควบคุมภาวะมลพิษจากแหล่งกำเนิดประเภทต่าง ๆ โดยการควบคุมน้ำทิ้งให้เป็นไปตามมาตรฐาน การลดภาวะมลพิษจากแหล่งกำเนิด ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีสะอาด และนำของเสียไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ควบคุมการใช้ที่ดินที่ใกล้แหล่งน้ำ ใช้มาตรการให้ผู้ก่อมลพิษต้องเป็นผู้จ่ายค่าบำบัด: การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียจากชุมชน
18
การป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษทางน้ำ
ส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมและสนับสนุนการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ปรับปรุงกฎหมายและเข้มงวดกับมาตรการที่ให้ภาคอุตสาหกรรมและกิจกรรมพาณิชยกรรมนำน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียรวม ก่อนปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้แทนชุมชน ประชาคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะมลพิษทางน้ำ กำหนดให้มีการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน โดยต้องสามารถรวบรวมน้ำเสียเข้าสู่ระบบได้ไม่น้อยกว่า 70% ของน้ำเสียที่เกิดขึ้น
19
มลพิษทางเสียง (Noise pollution)
มลพิษทางเสียง (noise pollution) หมายถึง เสียงที่ก่อเกิดความรําคาญและเกินขีดความสามารถที่โสตประสาทจะรับได้ โดยเสียงมีหน่วยเป็น เดซิเบล (เอ) (Decibel A: dBA) แหล่งกําเนิดเสียง 1. เสียงจากธรรมชาติ ได้แก่ ฟ้าร้อง ลมพัด เสียงภูเขาไฟระเบิด 2. เสียงจากสัตว์ จะก่อให้เกิดความรําคาญ เช่น สุนัขเห่าหอน สุนัขกัดกัน 3. เสียงที่เกิดจากมนุษย์ เป็นเสียงจากกิจกรรมต่าง ๆ เสียงจากสถานประกอบการต่าง ๆ และเสียงจากยานพาหนะ
20
สาเหตุของมลพิษทางเสียง
สํานักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (2540) ได้กำหนดระดับเสียงโดยทั่วไป เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 70 เดซิเบล (เอ) และสูงสุดไม่เกิน 115 เดซิเบล (เอ) เสียงที่ดังเกินความจําเป็นจนก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของคนมาจากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ การคมนาคม โรงงานอุตสาหกรรม ครัวเรือนและชุมชน เสียงรบกวนที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ
21
สาเหตุของมลพิษทางเสียง
การคมนาคม มีการใช้รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์ รถบรรทุก และเครื่องบิน เพิ่มมากขึ้น ทําให้ระดับเสียงเพิ่มมากขึ้น สํานักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (2558) ได้กำหนดระดับเสียงอันเกิดจากเครื่องยนต์ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ จักรยานยนต์ในสภาพปกติ ไม่เกิน 85 เดซิเบล (เอ) เมื่อวัดระดับเสียงด้วยเครื่องวัดเสียงในระยะห่าง 7.5 เมตร โดยรอบ รถจักรยานยนต์/สามล้อเครื่อง 35 เดซิเบล (เอ) รถยนต์ เดซิเบล (เอ)
22
ระดับเสียงยานพาหะนะ รถบรรทุก 95 - 120 เดซิเบล (เอ)
รถไฟวิ่งห่าง 100 ฟุต 60 เดซิเบล (เอ) เครื่องบิน มีระดับเสียง เดซิเบล (เอ)
23
สาเหตุของมลพิษทางเสียง
2. โรงงานอุตสาหกรรม เป็นเสียงที่เกิดจากการทํางานของเครื่องจักรขนาดต่าง ๆ ซึ่งทําให้ เกิดระดับเสียงแตกต่างกันไปตั้งแต่ 60 เดซิเบล จนถึง 120 เดซิเบล แล้วแต่ขนาดแรงมาของเครื่องจักร วัสดุที่ใช้ทําฝาหรือเพดานโรงงาน รวมทั้งสภาพแวดล้อมของโรงงานด้วย
24
สาเหตุของมลพิษทางเสียง
3. จากครัวเรือน เป็นเสียงที่เกิดจากเครื่องมือ เครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น เครื่องตัดหญ้า เครื่องดูดฝุ่น เครื่องขัดพื้น วิทยุ และโทรทัศน์ ทําให้เกิดระดับเสียงประมาณ เดซิเบล (เอ) 4. เสียงรบกวนที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ การโฆษณา ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และเสียงทะเลาะ วิวาทต่าง ๆ
25
ผลกระทบของมลพิษทางเสียง
ข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก สําหรับระดับเสียงที่ปลอดภัยให้ไม่เกิน 85 เดซิเบล (เอ) เมื่อสัมผัสวันละ 8 ชั่วโมง อันตรายที่เกิดจากมลพิษของเสียง ถ้าให้สัมผัสวันละหลาย ๆ ชั่วโมงเป็นเวลา นาน ๆ ก็จะก่อให้เกิดอันตรายที่พอจะจําแนกได้ดังนี้ คือ 1. ผลต่อจิตใจ 2. ผลต่อร่างกาย 3. ผลต่อการทำงาน 4. ผลต่อการสื่อสาร 5. เกิดความเสียหายต่อวัตถุ
26
ผลกระทบของมลพิษทางเสียง
1. ผลต่อจิตใจ - ก่อให้เกิดอาการหงุดหงิด รําคาญใจ ประสาทเครียด - ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ - ก่อให้เกิดการคลุ้มคลั่ง เสียสมาธิ 2. ผลต่อร่างกาย - ทําให้หัวใจเต้นแรง อัตราการหายใจเปลี่ยนแปลง - ทําให้เกิดกรดในกระเพาะมากกว่าปกติ เป็นโรคแผลในกระเพาะและโรคกระเพาะอาหาร - ทําให้ความดันโลหิตสูง - ทําให้กล้ามเนื้อกระตุก เกิดอาการเหนื่อยหอบและแพ้ - ทําให้นอนไม่หลับ - ทําให้ประสาทหูเสื่อม อาจทําให้หูพิการ หูตึง หูหนวก
27
ผลกระทบของมลพิษทางเสียง
3. ผลต่อการทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพของการทํางานลดลง การติดต่อประสานงานล่าช้า บางครั้งเกิดการผิดพลาดทําให้งานเสีย หรืออาจทําให้เกิดอุบัติเหตุได้ 4. ผลต่อการสื่อสาร เสียงดังกว่าปกติอาจรบกวนต่อการสื่อสาร การรับสัญญาณ และการรับคำสั่งต่าง ๆ อันอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ 5. เกิดความเสียหายต่อวัตถุ เสียงที่มีระดับสูง เช่น เสียงจากเครื่องบินชนิดเร็วกว่าเสียง ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน ทำให้อากาศมีความดันสูงขึ้น วัตถุหรือสิ่งก่อสร้างบางชนิด เช่น กําแพง ฝาผนัง หลังคาและหน้าต่างสั่นไหวได้ หน้าต่างกระจกถูกทําลายได้
28
การตรวจวัดระดับเสียง
29
องค์ประกอบของอากาศ (Atmosphere)
มลพิษทางอากาศ (Air pollution) องค์ประกอบของอากาศ (Atmosphere) จากภาพ เราถือว่าเป็นอากาศบริสุทธิ์ แต่เมื่อใดก็ตามที่ส่วนประกอบของอากาศเปลี่ยนแปลงไปมีปริมาณ ของฝุ่นละออง ก๊าซ กลิ่น หมอกควัน ไอ ไอน้ำ เขม่าและกัมมันตภาพรังสีอยู่ในบรรยากาศมากเกินไป เราเรียกสภาวะดังกล่าวว่า อากาศเสีย หรือมลพิษทางอากาศ
30
มลพิษทางอากาศ (Air pollution)
31
แหล่งกำเนิดสารมลพิษทางอากาศ
แหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สำหรับแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่สำคัญของประเทศไทย แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. ยานพาหนะ 2. โรงงานอุตสาหกรรม แหล่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ 1. ภูเขาไฟ 2. ไฟป่า 3. การเน่าเปื่อยและการหมักสารอินทรีย์หรือสาร อนินทรีย์ 4. จุลินทรีย์ต่าง ๆ
32
แหล่งกำเนิดสารมลพิษทางอากาศที่มนุษย์สร้างขึ้น
1. ยานพาหนะ การจราจรที่ติดขัดทำให้รถเคลื่อนตัวได้ด้วยความเร็วต่ำ การหยุดและออกตัวบ่อยครั้ง ทำให้น้ำมันถูกเผาผลาญมากขึ้น เกิดการสันดาปของน้ำมันเชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์ และมีการระบายสารมลพิษทางท่อไอเสียในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น สารมลพิษในบรรยากาศที่เกิดจากการคมนาคมขนส่ง ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide : CO) ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) เช่น ไนตริกออกไซด์ (NO) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) สารประกอบไฮโดรคาร์บอน เช่น มีเทน (CH4) ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สารตะกั่ว (Pb)
33
แหล่งกำเนิดสารมลพิษทางอากาศที่มนุษย์สร้างขึ้น
2. โรงงานอุตสาหกรรม มลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิดอุตสาหกรรม เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในบรรยากาศและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน โดยทั่วไปหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ เชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมมีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง ได้แก่ ถ่านหิน (coal) เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซ LPG
34
Hb สามารถจับกับ CO ได้ดีกว่า O2 ถึง 200 เท่า
Carbon monoxide ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide : CO) เป็นก๊าซที่ไม่มีสีรสและกลิ่นเบากว่าอากาศทั่วไปเล็กน้อย เมื่อหายใจเข้าไป CO จะรวมตัวฮีโมโกลบิน (Haemoglobin) ในเม็ดเลือดแดงได้มากกว่าออกซิเจน เกิดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน (Carboxyhaemoglobin : CoHb) ซึ่งลดความสามารถของเลือดในการเป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ Hb สามารถจับกับ CO ได้ดีกว่า O2 ถึง 200 เท่า
35
Oxides of Nitrogen ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (Oxides of Nitrogen : NOx) โดยเฉพาะไนตริกออกไซด์ (NO) และไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้แก่ ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ภูเขาไฟระเบิดปฏิกิริยาของจุลินทรีย์ในดิน และเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาผลาญเชื้อเพลิง การอุตสาหกรรม การทำกรดไนตริก กรดกำมะถัน การชุบโลหะและการทำวัตถุระเบิด เป็นต้น
36
Oxides of Nitrogen ไนตริกออกไซด์ (NO) เป็นก๊าซ ไม่มีสีไมมีกลิ่น ละลายน้ำได้บ้างเล็กน้อย การเกิดก๊าซ NO มีอุณหภูมิเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด ดังนั้น รถยนต์และอุตสาหกรรมจึงเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดก๊าซนี้ NO จะเปลี่ยนเป็นไนโตรเจนออกไซด์ (NO2) ได้ เมื่อทำปฏิกิริยากับโอโซน (O3) ในทางตรงกันข้าม แสงแดดทำให้ NO2 แตกตัวทำปฏิกิริยาย้อนกลับ NO + O3 ---> NO2 + O ไนโตรเจนไดออกไซด์ ( NO2 ) เป็นก๊าซสีน้ำตาลมีกลิ่นฉุน มีฤทธิ์ในการกัดกร่อน ทำให้พืชลดอัตราการสังเคราะห์แสง สามารถทำปฏิกิริยากับไอน้ำในอากาศ ทำให้เกิดกรดไนตริก (HNO3) มีฤทธิ์กัดกร่อน ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจโดยสามารถทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวมได้
37
Sulfurdioxide SO2+ 1/2O2 ------> SO3 + H2O ------> H2SO4
การสันดาปเชื้อเพลิง เพื่อใช้พลังงานในการดำรงชีพของมนุษย์ ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรม ทำให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และอนุภาคมลสาร กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็เป็นแหล่งกำเนิดของมลพิษทั้งสองเช่นกัน ก๊าซซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ และละอองกรดกำมะถัน ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เช่นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง SO2+ 1/2O2 ------> SO3 + H2O > H2SO4 ตัวเร่ง
38
Sulfurdioxide SO3 + H2O ---> H2SO4
SO2 ทำให้น้ำฝนที่ตกลงมามีสภาพความเป็นกรดมากขึ้น เรียกว่า ฝนกรด (acid rain) หรือกลายเป็น กรดซัลฟิวริก (H2SO4) ซึ่งจะทำลายระบบนิเวศป่าไม้ แหล่งน้ำ สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ รวมถึงการกัดกร่อนอาคารและโบราณสถานอีก 2SO2 + 2H2O + O2 ---> H2SO4 SO3 + H2O > H2SO4
41
ฝุ่นละออง ฝุ่นละออง (Suspended Particulate Matter : SPM) ฝุ่นละอองที่แขวนลอย อยู่ในอากาศได้นานจะเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 10 ไมครอน) ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กพอที่จะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่างและถุงลมปอดของมนุษย์ได้ เป็นผลให้เกิดโรคทางเดินหายใจโรคปอดต่าง
44
การตรวจวัดฝุ่นละอองในอากาศ
หน้ากากป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก
45
Chlorofluoro carbons ก๊าช CFCs หรือ Chlorofluoro carbons คือก๊าซที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา ไม่ได้เกิดขึ้นในอากาศตามธรรมชาติ CFCs คือมลพิษในอากาศที่เป็นเคมี เมื่อก๊าซเหล่านี้ขึ้นไปถึงชั้นโอโซนสูงในบรรยากาศของเราจะทำลายโอโซนนั้น เมื่อ CFCs เข้าสู่บรรยากาศ จะทำลายออกซิเจนที่ก่อให้เกิดชั้นโอโซน ทำให้บรรยากาศชั้นโอโซนถูกทำลายและลดลง จนรังสีอัลตราไวโอเลตจะสามารถส่งมาถึงพื้นโลกได้โดยผ่านช่องต่าง ๆ ในชั้นโอโซน
46
Chlorofluoro carbons หลายปีที่ผ่านมาเราใช้ CFCs ในกระป๋องสเปรย์เพื่อสูบเอาของเหลวออกมาในรูปของละอองหรือหมอกบาง ๆ ก๊าซนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อของเหลวที่อยู่ในกระป๋องแต่อย่างใด มีหลายประเทศรวมทั้งสหรัฐฯ ที่ไม่ใช้ CFCs ในกระป๋องสเปรย์อีกแล้ว และมีหลายประเทศที่กำลังจะเลิกใช้ นอกจากนี้ CFCs ยังมีแหล่งที่มาอื่น ๆ อีก ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อชั้นโอโซน เช่น อุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ
47
ควันดำและควันขาว ควันดำ คือ อนุภาคของถ่านหรือคาร์บอนเป็นผงเขม่าเล็ก ๆ ที่เหลือจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นส่วนใหญ่ ผลกระทบจากควันดำ ได้แก่ บดบังการมองเห็นและเกิดความสกปรก สามารถเข้าสู่ปอดโดยการหายใจเข้าไป และสะสมในถุงลมปอดเป็นสารทำให้เกิดโรคมะเร็ง หรือเป็นตัวนำสารให้เกิดโรคมะเร็งปอดและทำให้หลอดลมอักเสบได้ ควันขาว เกิดจากเครื่องยนต์ที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างดี โดยเฉพาะรถจักยานยนต์เก่า ควันขาว คือ สารไฮโดรคาร์บอนหรือน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังไม่ถูกเผาไหม้ แล้วถูกปล่อยออกมาทางท่อไอเสีย สารไฮโดรคาร์บอน เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะเกิดปฏิกิริยา สร้างก๊าซโอโซนอันเป็นพิษภัยแรงขึ้น
48
10 km 50 km 85 km km More than 500 km
49
บทบาทของก๊าซโอโซน ก๊าซโอโซน (O3) มีคุณสมบัติเป็นก๊าซเรือนกระจกดูดกลืนรังสีอินฟราเรดทำให้บรรยากาศมีอุณหภูมิสูง และดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต O3 มี 2 บทบาท พระเอก เมื่ออยู่ในชั้น Stratosphere ผู้ร้าย เมื่ออยู่ในชั้น Troposphere
50
โอโซนในชั้นบรรยากาศโลก
โอโซนในชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere Ozone) เกิดจากการเผาไหม้มวลชีวภาพ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเครื่องยนต์ เครื่องจักร และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปะปนอยู่ในหมอกควัน โอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere Ozone) ในธรรมชาติโอโซนที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวมีเพียง 10% โอโซนส่วนใหญ่ในชั้นสตราโตสเฟียร์รวมตัวเป็นชั้นบางๆ ที่ระยะสูงประมาณ 20 – 30 กิโลเมตร ทำหน้าที่กรองรังสีอุลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ออกไป 99% ก่อนถึงพื้นโลก หากร่างกายมนุษย์ได้รับรังสีนี้มากเกินไป จะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ส่วนจุลินทรีย์ขนาดเล็ก เช่น แบคทีเรีย จะถูกฆ่าตาย
51
นักเรียนคิดเห็นอย่างไรกับคำพูดที่ว่า “ออกไปสูดโอโซนให้สบายปอด”
กิจกรรมตอบคำถาม นักเรียนคิดเห็นอย่างไรกับคำพูดที่ว่า “ออกไปสูดโอโซนให้สบายปอด” 1 2 3 O3 ระดับความเข้มข้น 0.25 ppm ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อตา จมูก และทำลายเนื้อเยื่อปอด
52
มลพิษทางดิน (Soil Pollution)
มลพิษทางดิน คือ ดินที่เสื่อมค่าไปจากเดิมและหรือมีสารมลพิษเกินขีดจำกัดจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพและพลานามัย ตลอดจนการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม มลพิษทางดิน แยกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. สภาพธรรมชาติ 2. การกระทำของมนุษย์
53
มลพิษทางดิน สภาพธรรมชาติ ได้แก่
สภาพที่เกิดตามธรรมชาติของบริเวณนั้น ๆ เช่น บริเวณที่มีเกลือในดินมาก หรือบริเวณที่ดินมีความหนาแน่นน้อย เป็นต้น ทำให้ดินบริเวณนั้นไม่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช ปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น พายุน้ำท่วมก็ทำให้ ดินทรายถูกพัดพาไปได้สิ่งปฏิกูลที่มีชีวิต ซึ่งได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในดินหรือถูก ใส่ในดินทำให้ดินเสียได้โดยอาจเป็นตัวก่อโรคหรือก่อความกระทบกระเทือนต่อ ความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต การกระทำของมนุษย์ ส่วนมากมักเกิดเนื่องจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มุ่งแต่จะดัดแปลง ธรรมชาติเพื่อหวังผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่เกิดขึ้นภายหลัง
54
ตัวอย่างมลพิษทางดินการกระทำของมนุษย์
การใช้สารเคมีและสารกัมมันตรังสี ได้แก่ ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช สารเคมีกลุ่ม chlorinated hydrocarbon และ chlorinated phenoxy บางชนิดคงทนในดินได้ดี แบคทีเรียทำลายได้ยาก ยาปราบวัชพืชบางชนิด เช่น ยาฆ่าแมลงประเภทดีดีที และดีลดริน ทนทานต่อการถูกทำลายในดินมาก จึงสะสมเพิ่มปริมาณในห่วงโซ่ สารเคมีจากโรงงานหรือสถานวิจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาเคมี หรือโลหะที่เป็นเศษที่เหลือทิ้งหลังจากแยกเอาสิ่งที่ต้องการออกแล้ว เช่น โรงงานถลุงโลหะต่าง ๆ หรือโรงงานแยกแร่ สารกัมมันตรังสีต่าง ๆ เช่น กัมมันตรังสีจากการทดลองระเบิดปรมาณู จากของเสียที่ทิ้งจากโรงงานและสถานวิจัยที่ใช้กัมมันตรังสี ซึ่งมากับฝุ่น สารเคมีเหล่านี้บางชนิดเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตโดยตรง บางชนิดเปลี่ยนสภาวะของดินทำให้ดินเป็นกรด-ด่าง พืชจึงไม่เจริญเติบโต
55
ตัวอย่างมลพิษทางดินการกระทำของมนุษย์
การใส่ปุ๋ย การสะสมของสารเคมีโดย เฉพาะอย่างยิ่งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม การสะสมนี้อาจถึงขั้นเป็นพิษได้ ปุ๋ยบางชนิดที่นิยมใช้กันมาก เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต จะถูกแบคทีเรียในดินย่อยสลายในปฏิกิริยารีดักชันได้ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบการหายใจของรากพืช ทำให้ดูดแร่ธาตุต่าง ๆ ได้น้อยลง น้ำชลประทาน น้ำที่มีตะกอนเกลือ และสารเคมีอื่น ๆ ปะปนมาด้วย เพราะน้ำไหลผ่านบริเวณต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณที่ดินอยู่ในสภาพที่ถูกกัดกร่อนได้ง่าย บริเวณที่มีเกลือมากและมีการใช้ยาปราบศัตรูพืช น้ำก็จะยิ่งทำให้ดินที่ได้รับสารพิษมากขึ้น เมื่อทดน้ำชลประทานเข้าไร่นา น้ำจะไหลซึมลงสู่เบื้องล่างละลายเอาเกลือซึ่งสะสมในดินชั้นล่างขึ้นมาปะปนในดินชั้นบน เมื่อน้ำที่ขังที่ผิวดินด้านบนระเหยแห่งไป ก็จะเหลือส่วนที่เป็นเกลือสะสมอยู่ที่ส่วนของผิวดิน
56
ตัวอย่างมลพิษทางดินการกระทำของมนุษย์
การทิ้งขยะมูลฝอยและของเสียต่าง ๆ ลงในดิน ขยะส่วนใหญ่จะสลายตัวให้สารประกอบอินทรีย์และอนินทรีย์ แต่มีขยะบางชนิดที่สลายตัวยาก เช่น วัสดุที่ทำด้วยผ้าฝ้าย หนัง พลาสติก โลหะ ขยะประเภทนี้ถ้าทำลายโดยการเผาจะเหลือเกลือ โดยเฉพาะเกลือไนเตรตสะสมอยู่เป็นจํานวนมาก แล้วละลายไปตามน้ำ โรงงานที่มีโลหะหนักปะปน โลหะหนักที่สำคัญ ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท และแคดเมียม จะทำให้ดินเกิดสภาพเป็นพิษ เป็นอันตรายต่อพืชและผู้บริโภค ของเสียจากสัตว์ การเสื่อมคุณภาพของดินเนื่องจากสิ่งขับถ่ายของสัตว์ที่นำมากองทับถมไว้ ทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายได้เป็นอนุมูลไนเตรต และอนุมูลไนไตรต์ ถ้าอนุมูลดังกล่าวนี้สะสมอยู่มาก ในดินบริเวณนั้นจะเกิดเป็นพิษได้
57
ตัวอย่างมลพิษทางดินการกระทำของมนุษย์
การเพาะปลูก ดินที่ใช้ในการเพาะปลูกเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่คำนึงถึงการบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้แร่ธาตุในดินถูกใช้หมดไป จนในที่สุดไม่อาจปลูกพืชได้อีก การถางป่า ทำให้ดินปราศจากพืชปกคลุม หรือไม่มีรากของพืชยึดเหนี่ยว เกิดการสูญเสียหน้าดินและเกิดการพังทลายได้ง่าย ในที่สุดบริเวณนั้นจะกลายเป็นที่แห้งแล้ง เมื่อมีฝนตกก็จะเกิดพายุอย่างรุนแรงและมีน้ำท่วมฉับพลันได้
58
การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้
ป่าไม้ในหลายท้องถิ่นในปัจจุบันลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วซึ่งมีสาเหตุหลายประการ ดังนี้ การเพิ่มจำนวนของประชากร ทำให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อสร้างที่อยู่อาศัย การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัย เพื่อทำเฟอร์นิเจอร์และเพื่อประโยชน์ด้านธุรกิจ เช่น การทำสนามกอล์ฟ รีสอร์ท การสร้างสาธารณูปโภค เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม ไฟป่า มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง อากาศแห้งและร้อนจัด ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากธรรมชาติและมนุษย์ การทำเหมืองแร่ แหล่งแร่ที่พบมีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นต้องเปิดหน้าดินก่อนจึงทำให้ป่าไม้ถูกทำลาย ทำถนนเป็นเส้นทางขนย้ายแร่
62
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.