งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและ ประโยชน์ส่วนรวมตามกฎหมาย ป.ป.ช.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและ ประโยชน์ส่วนรวมตามกฎหมาย ป.ป.ช."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและ ประโยชน์ส่วนรวมตามกฎหมาย ป.ป.ช.
นายพิเศษ นาคะพันธุ์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.

2 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 100 และมาตรา 101 ได้กำหนดห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินกิจการดังต่อไปนี้ (1) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงาน ของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของ รัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี (2) เป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เข้าเป็น คู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ใน ฐานะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือ ดำเนินคดี

3 (3) รับสัมปทานหรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว (4) เข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงานหรือลูกจ้างในธุรกิจของเอกชนซึ่งอยู่ภายใต้การ กำกับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ ของรัฐผู้นั้นสังกัดอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งโดยสภาพของผลประโยชน์ของธุรกิจของเอกชนนั้นอาจขัดหรือ แย้งต่อประโยชน์ส่วนรวม หรือประโยชน์ทางราชการ หรือกระทบต่อ ความมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น

4 บทบัญญัติดังกล่าวให้นำมาใช้บังคับกับคู่สมรสของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และให้ถือว่าการดำเนินกิจการของคู่สมรสดังกล่าวเป็นการดำเนินกิจการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงให้นำมาใช้บังคับการดำเนินกิจการของผู้ที่พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้วยังไม่ถึง 2 ปีโดยอนุโลม และหากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ มาตรา 122 ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีประกาศลงวันที่ 15 ก.พ. 44 และ 6 มี.ค. 55 กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามความในบทบัญญัติดังกล่าว คือ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้บริหารท้องถิ่น และรองผู้บริหารท้องถิ่น

5 ข้อกำหนด/กฎระเบียบเพื่อป้องกันการมีผลประโยชน์ทับซ้อน
ควรพิจารณาให้ครอบคลุมประเด็นต่างๆ เหล่านี้ด้วย การเปิดเผยแหล่งที่มาของรายได้/การดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในบริษัททั้งที่แสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไร ให้มีการแจ้งผลประโยชน์ทางด้านการเงิน (การลงทุนต่างๆ การถือหุ้น รวมถึงการลงทุนของเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งได้กระทำไปในนามของผู้อื่น) การแจ้งหรือเปิดเผยการขัดกันของผลประโยชน์ในทันทีเมื่อเกิดขึ้น การให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องแจ้งข้อมูลการลงทุนของตนอย่างสม่ำเสมอ ข้อจำกัดในการทำงานหลังจากพ้นตำแหน่งของเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำทุจริต

6 ข้อกำหนด/กฎระเบียบเพื่อป้องกันการมีผลประโยชน์ทับซ้อน (ต่อ)
การทำงานอื่นของเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องได้รับการอนุญาตจากหัวหน้าหน่วยงานก่อนที่จะรับงานอื่นที่มีค่าตอบแทนได้ ในกรณีที่งานอื่นเป็นงานที่ไม่มีค่าตอบแทนการรับงานดังกล่าวจะต้องไม่ก่อให้เกิดการขัดกันของผลประโยชน์ ข้อจำกัดในการทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสที่พ้นจากตำแหน่งแล้ว เพื่อป้องกันกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐขณะอยู่ในตำแหน่งเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ภาคเอกชนโดยหวังว่าจะได้ทำงานในภาคเอกชนนั้น ๆ หลังจากพ้นตำแหน่งหน้าที่ กำหนดแนวทางการปฏิบัติให้แก่เจ้าหน้าที่เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่มี ผลประโยชน์ทับซ้อน

7 ความหมายของการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามคำวินิจฉัยของศาล
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2551 วันที่ 9 กรกฎาคม 2551 บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 269 มีเจตนารมณ์ให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ต้องแจ้งความประสงค์ในการรับประโยชน์จากการเป็นหุ้นส่วนหรือการเป็นผู้ถือหุ้นต่อประธาน ป.ป.ช. เพื่อป้องกันไม่ให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อผลประโยชน์ของสาธารณะกับการประกอบธุรกิจส่วนตนและครอบครัว อันเป็นการควบคุมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมาตรา 269 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ให้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้แจ้ง และความในวรรคสามที่ให้นำบทบัญญัติมาตรานี้มาใช้บังคับกับคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะนั้น หมายถึงบทบัญญัติในเรื่องการเป็นหุ้นส่วนหรือการเป็นผู้ถือหุ้นที่อยู่ในเกณฑ์ที่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีต้องแจ้งความประสงค์รับประโยชน์ต่อประธาน ป.ป.ช. เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงหน้าที่ในการแจ้งความประสงค์ด้วย เพราะกฎหมายมิได้ควบคุมคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เนื่องจากไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

8 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 10/2551 วันที่ 22 กรกฎาคม 2551
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 เป็นบทบัญญัติที่มีเจตนารมณ์ป้องกันมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทยมีการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในการตรากฎหมาย รวมทั้งควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีหรือฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา โดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 265 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติข้อห้ามไว้อย่างชัดเจนว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น... และไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ...

9 มีปัญหาต้องพิจารณาต่อไปว่า ข้อยกเว้นในกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภารับหรือดำรงตำแหน่งกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งในการบริหารราชการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 วรรคสอง มีความหมายและขอบเขตอย่างไรนั้น เห็นว่าเมื่อคำนึงถึงหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตยตามมาตรา 3 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญ ประกอบกับเมื่อพิจารณาถึงถ้อยคำของข้อยกเว้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 265 วรรคสองของรัฐธรรมนูญที่มาก่อนหน้า กล่าวคือ ยกเว้นการรับหรือดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ซึ่งเป็นการดำรงตำแหน่งในราชการฝ่ายนิติบัญญัติโดยแท้แล้ว ก็ควรจะแปลความคำว่า “ราชการแผ่นดิน” ในมาตรา 265 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องหรือสอดรับกับจุดประสงค์ของถ้อยคำในตัวบทบัญญัติที่มาก่อนว่า ราชการแผ่นดินในที่นี้หมายถึงราชการบริหารในฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้การปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารไปดำรงตำแหน่งในฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายตุลาการ หรือในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ทำให้ผู้ควบคุมและผู้ถูกควบคุมเป็นบุคคลคนเดียวกัน

10 อันจะทำให้เป็นการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เว้นแต่จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ซึ่งหากได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีแล้ว จึงได้รับการยกเว้น ให้ไปดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารในการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารได้ ดังนั้น จึงเห็นว่าการแต่งตั้งให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นสมาชิกของฝ่ายนิติบัญญัติเป็นกรรมการในหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบหรือกำกับดูแลของฝ่ายนิติบัญญัติเป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์แห่งการบริหารราชการของฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งมิได้เป็นการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ในตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่ จึงอยู่ในความหมายและขอบเขตของการเป็นกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งได้รับการยกเว้นให้กระทำได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ มาตรา 265 วรรคสอง

11 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 12 – 13/2551 วันที่ 9 กันยายน 2551
พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 ซึ่งบัญญัติ ห้ามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นลูกจ้างของบุคคลใดเพื่อให้การ ปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นไปโดยชอบ ป้องกัน มิให้เกิดการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์อันจะก่อให้เกิด สถานการณ์ขาดจริยธรรมซึ่งยากต่อการตัดสินใจ ทำให้ต้องเลือก อย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์สาธารณะ เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งคำนึงถึงประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ สาธารณะ การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับการใช้อำนาจใน ตำแหน่งหน้าที่จึงขัดกันในลักษณะที่ประโยชน์ส่วนตัวจะได้มาจากการ เสียไปซึ่งประโยชน์สาธารณะ

12 ข้อเท็จจริงได้ความจากการไต่สวนผู้ถูกร้องว่า หลังจากผู้ถูกร้องเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ผู้ถูกร้องยังคงเป็นพิธีกรในรายการ “ชิมไป บ่นไป” และ “ยกโขยง 6 โมงเช้า” ให้แก่ บริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด เมื่อพิเคราะห์ถึงลักษณะกิจการงานที่ บริษัทได้กระทำร่วมกันกับผู้ถูกร้องมาโดยตลอดเป็นเวลาหลายปี โดยบริษัท ทำเพื่อมุ่งค้าหากำไร มิใช่เพื่อการกุศลสาธารณะ และผู้ถูกร้องก็ได้รับค่าตอบแทนอย่างสมฐานะและภารกิจ เมื่อได้กระทำในระหว่างที่ผู้ถูกร้องดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีจึงเป็นการกระทำและนิติสัมพันธ์ที่อยู่ในขอบข่ายที่ มาตรา 267 ประสงค์จะป้องปรามเพื่อมิให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนกับภาคธุรกิจเอกชนแล้ว

13 คำพิพากษาศาลฎีกาคดีหมายเลขแดงที่ อม. 1/2550 วันที่ 17 กันยายน 2551
คำพิพากษาศาลฎีกาคดีหมายเลขแดงที่ อม. 1/2550 วันที่ 17 กันยายน 2551 เห็นว่า บทบัญญัติมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ มีเจตนารมณ์เพื่อป้องปรามการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้แสวงหาประโยชน์จากหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบของตน เพราะการปฏิบัติหน้าที่หรือวินิจฉัยสั่งการหรืออำนาจที่ตนมีอยู่เหนือหน่วยงานของรัฐ อาจส่งผลกระทบหรือมีอิทธิพลต่อการใช้ดุลพินิจหรือการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในหน่วยงานของรัฐนั้นๆ อันจะก่อให้เกิดการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของตนกับผลประโยชน์ของรัฐ หรือก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ของตนได้

14 ทั้งเมื่อพิเคราะห์ถึงว่าผู้เข้าประมูลซื้อที่ดินแข่งกับจำเลยที่ 2 ทั้งสองรายเป็นบริษัทประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ ต่างก็รู้ว่ากำลังเสนอราคาประมูลแข่งกับภริยานายกรัฐมนตรี น่าเชื่อว่าผู้เข้าประมูลซื้อทั้งสองรายย่อมต้องรู้ว่าไม่สมควรที่จะชนะการประมูลในครั้งนี้ ผลการประมูลจึงออกมาว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้เสนอราคาสูงสุด ดังนั้นจึงเป็นที่เห็นได้ว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไม่สามารถขายที่ดินตามฟ้องทั้งสี่แปลงโดยการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ทำให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูไม่ได้รับประโยชน์จากการขายที่ดินทั้งสี่แปลงได้เท่าที่ควร กรณีจึงเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมโดยชัดแจ้ง การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูดังกล่าว เป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนบุคคลขัดแย้งกับผลประโยชน์ส่วนรวมซึ่งต้องห้ามมิให้กระทำตามมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542

15 ซึ่งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ มีเจตนารมณ์สำคัญในการห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้โอกาสจากการมีอำนาจในตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากหน่วยงานของรัฐที่ตนกำกับ ดูแล หรือควบคุม อันอาจจะทำให้เกิดการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของตนกับผลประโยชน์ของรัฐ โดยเมื่อพิจารณาบทบัญญัติมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แล้วจะเห็นได้ว่า เป็นบทบัญญัติห้ามเด็ดขาดมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 100 (1) ถึง (4) โดยบทบัญญัติดังกล่าวให้ถือว่าการกระทำของคู่สมรสเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง

16


ดาวน์โหลด ppt การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและ ประโยชน์ส่วนรวมตามกฎหมาย ป.ป.ช.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google