ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การจัดทำแผนพัฒนา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้า
2
ความหมายของแผน แผนเป็นผลผลิตของการวางแผน
การวางแผนเป็นกระบวนการตัดสินใจไว้ล่วงหน้าในการเลือกทางเลือก โดยทั่วไปจะเป็นการตอบคำถามต่อไปนี้ จะทำอะไร (What) ทำไมจึงต้องทำ (Why) ใครบ้างเป็นผู้ทำ (Who) กระทำเมื่อใด (When) จะกระทำที่ใดบ้าง (Where) จะกระทำกันอย่างไร (How)
3
แผน(plan) กระบวนการวางแผน - ปัญหา - หาสาเหตุ - หาข้อมูล
- วิเคราะห์ทางเลือก (SWOT) - เลือกทางเลือก - กำหนดเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมาย และยุทธศาสตร์การ พัฒนา - ขออนุมัติ - นำไปสู่ปฏิบัติ -ประเมิน แผน(plan)
4
ความสำคัญของการวางแผน
เป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่สำคัญ กำหนดทิศทางขององค์กร ช่วยให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานมองไปในอนาคต และเห็นโอกาสที่จะกระทำให้สำเร็จตามความมุ่งหมาย เป็นการตัดสินใจที่มีเหตุผล เพราะใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณา เป็นพาหนะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ เป็นตัวนำในการพัฒนา
5
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะใช้แผนพัฒนาเป็นเครื่องมือ ในการบริหารงาน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะใช้แผนพัฒนาเป็นเครื่องมือ ในการบริหารงาน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
6
เงื่อนไขทางกฎหมาย พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. ๒๕๔๒ - มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของตนและมีอำนาจออกกฎกระทรวงและระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
7
เงื่อนไขทางกฎหมาย พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ ให้เทศบาล เมืองพัทยา และอบต.มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ (๑) จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง (ทั้งหมด ๓๑ ข้อ)
8
เงื่อนไขทางกฎหมาย พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๖ ให้ อบจ.มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ (๑) จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ทั้งหมด ๒๙ ข้อ)
9
เงื่อนไขทางกฎหมาย แผนกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๖.๑.๕ การถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อปท. กำหนดไว้ ๖ ด้าน โดย พิจารณาจากอำนาจหน้าที่ของ อปท. และองค์ประกอบอื่นๆ ๑. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ๒. ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ๓. ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย ๔. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พณิชยกรรม และการท่องเที่ยว ๕. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ๖. ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
10
เงื่อนไขทางกฎหมาย แผนกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๖.๖.๔ การปรับปรุงระบบการวางแผน ฯลฯ (๒) อปท.ต้องมีอิสระในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของตนเองในระยะยาว เพื่อให้ทราบทิศทางและความต้องการค่าใช้จ่ายในอนาคต และต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด รวมทั้งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศโดยรวม
11
เงื่อนไขทางกฎหมาย แผนกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๖.๖.๔ การปรับปรุงระบบการวางแผน ฯลฯ (๓) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ให้ประชาชนและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ การติดตามประเมินผล การพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้กระบวนการวางแผนของท้องถิ่นสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่
12
เงื่อนไขทางกฎหมาย แผนกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๖.๖.๔ การปรับปรุงระบบการวางแผน ฯลฯ (๔) เพื่อให้การวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระยะยาวถูกนำไปปฏิบัติได้จริงแผนพัฒนาระยะยาวดังกล่าว จำเป็นต้องจัดทำแผนงบประมาณระยะ ๓ ปี ที่ยึดผลสำเร็จของงานเป้าหมายของการทำงาน และมีลักษณะการจัดทำที่มีความต่อเนื่องในลักษณะที่เป็นแผนก้าวหน้าเพื่อสร้างความมั่นใจในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนานั้น ในทุกๆ ระยะ ๓ ปี
13
สรุปสาระสำคัญ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย
การจัดทำแผนพัฒนาองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548
14
การวางแผนพัฒนาท้องถิ่น
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ * มีผลบังคับใช้เมื่อ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๘ ๑. เป็นการกำหนดเฉพาะการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ๒. แผนพัฒนาท้องถิ่นมี 2 ประเภท (๑) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (๒) แผนพัฒนาสามปี
15
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน
ความเชื่อมโยงของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนาสามปี วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน ยุทธศาสตร์การพัฒนา แนวทางการพัฒนา แนวทางการพัฒนา แนวทางการพัฒนา โครงการ โครงการ โครงการ กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม
16
การวางแผนพัฒนาท้องถิ่น
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ ๓. องค์กรจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นมี 2 องค์กร (๑) คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น (๒) คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนา ท้องถิ่น ๔. การจัดทำแผนพัฒนาต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ทุกระดับ มีการบูรณาการ คำนึงถึง ความเร่งด่วน และสถานะทางการคลังของท้องถิ่น
17
การบูรณาการ เป็นการผสมผสานการพัฒนาในพื้นที่โดยกระบวนการประสานความร่วมมือของภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องในด้านแผนงาน แผนเงิน บุคลากร และการปฏิบัติตามแผนร่วมกันในพื้นที่เป้าหมายหรือกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดตามภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบของภาคีการพัฒนา เพื่อนำไปสู่ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาที่วางไว้
18
การวางแผนพัฒนาท้องถิ่น
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ ๕. การอนุมัติและประกาศใช้แผนพัฒนาท้องถิ่นเป็น อำนาจของผู้บริหารท้องถิ่น ๖. ใช้แผนพัฒนาสามปีเป็นกรอบในการจัดทำงบประมาณ ๗. กำหนดให้มีแผนการดำเนินการ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมการปฏิบัติงาน
19
การวางแผนพัฒนาท้องถิ่น
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ ๘. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ๙. กำหนดให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผล แผนพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้หลักประเมินตนเอง
20
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำและประสาน แผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้เป็นปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
21
1.ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548” ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2548 และ ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2546
22
2.เป็นการกำหนดแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
ในระเบียบนี้ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง ยกเว้นกรุงเทพมหานคร “สภาท้องถิ่น” หมายความว่า สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สภาเทศบาล สภาเมืองพัทยา สภาองค์การบริหารส่วนตำบล สภาองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
23
“ผู้บริหารท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง “สมาชิกสภาท้องถิ่น” หมายความว่า สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาเมืองพัทยา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
24
3.แผนพัฒนาและองค์กรจัดทำแผนพัฒนา
“แผนพัฒนา” หมายความรวมถึงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนา สามปี “แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา” หมายความว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดยุทธศาสตร์ และแนวทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งแสดงถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาในอนาคต โดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด อำเภอ ตำบล “แผนพัฒนาสามปี” หมายความว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา อันมีลักษณะเป็นการกำหนดรายละเอียดแผนงาน โครงการพัฒนาที่จัดทำขึ้นสำหรับปีงบประมาณแต่ละปี ซึ่งมีความต่อเนื่องและเป็นแผนก้าวหน้าครอบคลุมระยะเวลาสามปีโดยมีการทบทวนเพื่อปรับปรุงเป็นประจำทุกปี
25
องค์กรจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 1
องค์กรจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น 2.คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น 1. “คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น”หมายความว่า คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด คณะกรรมการพัฒนาเทศบาล คณะกรรมการพัฒนาเมืองพัทยา คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลและคณะกรรมการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
26
คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย
1.นายก อปท. เป็นประธาน 2.รองนายก อปท.ทุกคน เป็นกรรมการ 3.สมาชิกสภาท้องถิ่น 3 คน (สภาท้องถิ่นคัดเลือก) เป็นกรรมการ 4.ผุ้ทรงคุณวุฒิ 3คน (นายก อปท. คัดเลือก) เป็นกรรมการ 5.ผู้แทนภาคราชการ/รัฐวิสาหกิจไม่น้อยกว่า 3 คน(นายก อปท.คัดเลือก) เป็นกรรมการ 6.ผุ้แทนประชาคม 3-6 คน(ประชาคมคัดเลือก) เป็นกรรมการ 7.ปลัด อปท. เป็นกรรมการและเลขานุการ 8.หัวหน้าส่วนการบริหารที่มีหน้าที่จัดทำแผน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
27
ข้อ ๘ ให้ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย
(๑) ผู้บริหารท้องถิ่น (๒) รองนายก อปท. (๓) สมาชิกสภาท้องถิ่น (๔) ผู้ทรงคุณวุฒิ (๕) ผู้แทนภาคราชการและ หรือรัฐวิสาหกิจ (๖) ผู้แทนประชาคมท้องถิ่น (๗) ปลัด อปท. (๘) หัวหน้าส่วนการบริหาร ที่มีหน้าที่จัดทำแผน ประธานฯกรรมการ กรรมการ กรรมการ/เลขาฯ ผู้ช่วย เลขาฯ ๑ คน ทุกคน ๓ คน ไม่น้อยกว่า ๓ คน ๓-๖ คน (ไม่น้อยกว่า ๑๖ คน) โดยตำแหน่ง คัดเลือกกันเอง ผู้บริหารคัดเลือก คราวละ ๒ ปี และอาจ ได้รับ การ คัดเลือก อีกได้
28
คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น (ไม่น้อยกว่า ๑๖ คน) ผู้บริหารท้องถิ่น
รองนายก อปท.ทุกคน ผู้แทนภาคราชการ และหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่น้อยกว่า ๓ คน ผู้ทรงคุณวุฒิ ๓ คน สมาชิกสภาท้องถิ่น ๓ คน ผู้แทนประชาคมท้องถิ่น ๓ - ๖ คน ปลัด อปท. หัวหน้าส่วนการบริหารที่มีหน้าที่ จัดทำแผน
29
ข้อ ๑๐ คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่
๑. กำหนดแนวทางการพัฒนา โดยพิจารณาจาก (๑.๑) อำนาจหน้าที่ของ อปท. (๑.๒) ภารกิจถ่ายโอน (๑.๓) ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ กลุ่มจังหวัด และจังหวัด (๑.๔) กรอบนโยบาย ทิศทาง แนวทางการพัฒนาของ อปท.ใน เขตจังหวัด (๑.๕) นโยบายของผู้บริหาร อปท. (๑.๖) แผนชุมชน
30
ข้อ ๑๐ คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ (ต่อ)
๒. ร่วมจัดทำร่างแผนพัฒนา เสนอแนะแนวทางพัฒนาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำร่างแผนพัฒนา ในการจัดทำร่างแผนพัฒนา ให้เทศบาล เมืองพัทยา และอบต. นำปัญหาความต้องการจากแผนชุมชนที่เกินศักยภาพของชุมชนที่จะดำเนินการเองได้มาพิจารณาไว้ในแผนพัฒนา หากเกินศักยภาพของเทศบาล เมืองพัทยา และอบต. ให้เสนอปัญหา ความต้องการไปยัง อบจ. และให้ อบจ.นำมาพิจารณาบรรจุไว้ในแผนพัฒนาของ อบจ. ตามอำนาจหน้าที่
31
ข้อ ๑๐ คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ (ต่อ)
๓. พิจารณาร่างแผนพัฒนาและร่างแผนการดำเนินงาน ๔. ให้ความเห็นร่างข้อกำหนดขอบข่ายและรายละเอียดของงานตามข้อ ๑๙ (๒) ๕. พิจารณาให้ข้อคิดเห็นการติดตามประเมินผล ๖. แต่งตั้งที่ปรึกษา, คณะอนุกรรมการ, คณะทำงาน ๗. ในกรณี อบต. ให้คณะกรรมการพัฒนา อบต.มีหน้าที่ประสานกับประชาคมหมู่บ้านในการรวบรวม วิเคราะห์ปัญหา ความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นและจัดทำเป็นโครงการหรือกิจกรรมเพื่อประกอบในการจัดทำแผนฯแผน
32
2. “คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนา” หมายความว่า คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาเมืองพัทยา คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารตำบลและคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
33
คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย
1.ปลัด อปท. เป็นประธาน 2.หัวหน้าส่วนการบริหารของ อปท. เป็นกรรมการ 3.ผู้แทนประชาคม 3 คน(ประชาคมคัดเลือก) เป็นกรรมการ 4.หัวหน้าส่วนการบริหารที่มีหน้าที่จัดทำแผน เป็นกรรมการและเลขานุการ 5.เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
34
ข้อ ๙ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำ
แผนพัฒนาท้องถิ่น (๑) ปลัด อปท. (๒) หัวหน้าส่วนการบริหารของ อปท. (๓) ผู้แทนประชาคมท้องถิ่น (๔) หัวหน้าส่วนการบริหารที่มี หน้าที่จัดทำแผน (๕) จนท.วผ.หรือพนักงานส่วน ท้องถิ่น ประธานฯกรรมการ กรรมการ กรรมการ/เลขาฯ ผู้ช่วยเลขาฯ ๑ คน ทุกคน ๓ คน โดยตำแหน่ง คัดเลือกกันเอง คราว ๒ ปี และอาจได้รับการ คัดเลือกอีกได้ ผู้บริหารแต่งตั้ง
35
ปลัด อปท. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
(ไม่น้อยกว่า ๗ คน) ปลัด อปท. หัวหน้าส่วนการบริหารของ อปท. ทุกคน ผู้แทนประชาคมท้องถิ่น ๓ คน หัวหน้าส่วนการบริหารที่มีหน้าที่จัดทำแผน จนท.วผ.หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
36
ข้อ ๑๑ หน้าที่คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 สภาพทั่วไป+ข้อมูลพื้นฐานของ อปท. บทที่ 3 การวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนา ท้องถิ่น บทที่ 4 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมาย เพื่อการพัฒนา บทที่ 5 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา บทที่ 6 การนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ไปสู่การปฏิบัติและการติดตาม ประเมินผล (๑) จัดทำร่างแผนพัฒนาให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นกำหนด (๒) จัดทำร่างแผนการดำเนินงาน (๓) จัดทำร่างข้อกำหนดขอบข่ายและรายละเอียดของงานตามข้อ ๑๙(๑) แผนพัฒนาสามปี ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 สภาพทั่วไป + ข้อมูลพื้นฐาน ส่วนที่ 3 ผลการพัฒนาท้องถิ่นที่ผ่านมา ส่วนที่ 4 ยุทธศาสตร์และแนวทางการ พัฒนาในช่วงสามปี ส่วนที่ 5 บัญชีโครงการพัฒนา ส่วนที่ 6 การนำแผนพัฒนาสามปีไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล
37
หน้าที่ของคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
จัดทำร่างแผนพัฒนาให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นกำหนด จัดทำร่างแผนการดำเนินงานและจัดทำร่างข้อกำหนดขอบข่ายและรายละเอียดของงานที่จะมอบหมายให้หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกดำเนินการ เพื่อเสนอคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
38
ระเบียบฯนี้ได้ลดขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาให้สั้น และกระชับโดยตัดขั้นตอนการให้ความเห็นชอบของ คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นออก และ กำหนดให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจอนุมัติแผนพัฒนา แทนสภาท้องถิ่นซึ่งเป็นไปตามหลักการของกฎหมายที่ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของ ประชาชนแผนพัฒนาจึงควรเป็นเครื่องมือของฝ่าย บริหารในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
39
ขั้นตอนการจัดทำและประสานแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.1คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัด จัดทำกรอบ ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท. ในเขตจังหวัดโดยเชิญผู้บริหารท้องถิ่น ทุกแห่งในเขตจังหวัดเพื่อร่วมกันกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ แล้วจัดส่ง กรอบยุทธศาสตร์ให้ อปท. และคณะกรรมการประสานแผนพัฒนา ท้องถิ่นระดับอำเภอ (ขั้นตอนนี้ดำเนินการภายในเดือนมีนาคม) 4.2ประชุมประชาคมท้องถิ่น โดยคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น (ขั้นตอนนี้ดำเนินการช่วงเดือน มกราคม-เมษายน) 4.3จัดทำร่างแผนพัฒนา โดยคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น(ขั้นตอนนี้ดำเนินการช่วงเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน) 4.4เสนอคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นพิจารณา(ขั้นตอนนี้ดำเนินการช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม)
40
4. 5ผู้บริหารท้องถิ่นอนุมัติและประกาศใช้ (กรณี อบต
4.5ผู้บริหารท้องถิ่นอนุมัติและประกาศใช้ (กรณี อบต. ให้เสนอขอรับความเห็นชอบจากสภา อบต.ก่อนแล้วผู้บริหารจึงพิจารณาอนุมัติและประกาศใช้ เป็นไปตามกฎหมายจัดตั้ง อบต. ที่กำหนดให้สมาชิกสภา อบต. มีอำนาจในการให้ความเห็นชอบแผนพัฒนา)ซึ่งเมื่อเสร็จขั้นตอนนี้เทศบาล/อบต.ส่งแผนที่ประกาศใช้แล้วให้คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาระดับอำเภอ ส่วน อบจ. ส่งให้คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาระดับจังหวัด (ภายในเดือนมิถุนายน) 4.6คณะกรรมการประสานแผนระดับอำเภอ พิจารณากลั่นกรองแผนพัฒนาสามปีของเทศบาล อบต. ว่าสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ฯหรือไม่และเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัดรวมทั้งจัดทำบัญชีโครงการที่เกินศักยภาพของเทศบาลและ อบต.เสนอต่อคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัด(ดำเนินการภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแผนพัฒนาจากผู้บริหารท้องถิ่น)
41
4.7 คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัดจะพิจารณาให้ความเห็นแผนพัฒนาของ อปท.
ว่าสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ฯหรือไม่และให้ อบจ. นำโครงการจากบัญชีโครงการที่เกินศักยภาพของเทศบาลและ อบต.ไปพิจารณาเพื่อบรรจุไว้ในแผนพัฒนาของ อบจ. ตามอำนาจหน้าที่ นอกจากนี้ยังต้องพิจารณานำโครงการที่เกินศักยภาพของ อบจ.หรือเป็นโครงการที่มีความจำเป็นแต่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ อบจ. และสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ฯ รวบรวมจัดทำเป็นบัญชีโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจาก กบจ. (ดำเนินการภายใน 30วันนับแต่วันที่ได้รับแผนพัฒนาจากคณะกรรมการประสานแผนระดับอำเภอหรือ อบจ.)
42
4.8 ถ้าคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัดมีความเห็นว่าแผนพัฒนาของ อปท. ใดไม่สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ฯ อาจดำเนินการได้ 2 กรณี 1) ถ้า อปท. เห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัดก็ให้ดำเนินการปรับปรุงแผนพัฒนาท้องถิ่น 2) ถ้า อปท. ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัดก็ให้ชี้แจงเหตุผลให้คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัดทราบ
43
คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ ประกอบด้วย
1.ผู้บริหารท้องถิ่นที่ได้รับคัดเลือก เป็นประธาน 2. ผู้บริหารท้องถิ่นในเขตอำเภอทุกคน เป็นกรรมการ 3.สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตอำเภอทุกคน เป็นกรรมการ 4.ท้องถิ่นอำเภอ เป็นกรรมการ 5.ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอทุกคน เป็นกรรมการ 6.ข้าราชการ อบจ. ที่ นายก อบจ. มอบหมาย เป็นกรรมการ 7.ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประธานกรรมการฯคัดเลือก เป็นกรรมการและเลขานุการ
44
หน้าที่ของคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ
1.พิจารณากลั่นกรองแผนพัฒนาสามปีของเทศบาล อบต. ว่าสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ฯหรือไม่และเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัด 2.จัดทำบัญชีโครงการที่เกินศักยภาพของเทศบาลและ อบต.เสนอต่อคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัด
45
คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัด ประกอบด้วย
1.นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นประธาน 2.ประธานคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอทุกอำเภอ เป็นกรรมการ 3.เลขานุการคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอทุกอำเภอ 4.หัวหน้าสำนักงานจังหวัด เป็นกรรมการ 5.ท้องถิ่นจังหวัด เป็นกรรมการ 6.ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ 7. หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัด เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
46
หน้าที่ของคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัด
1.พิจารณาให้ความเห็นแผนพัฒนาของ อปท. ว่าสอดคล้องกับกรอบ ยุทธศาสตร์ฯหรือไม่ 2.ให้อบจ.นำโครงการจากบัญชีโครงการที่เกินศักยภาพของเทศบาลและ อบต.ไปพิจารณาเพื่อบรรจุไว้ในแผนพัฒนาของ อบจ. ตามอำนาจหน้าที่ 3.พิจารณานำโครงการที่เกินศักยภาพของ อบจ. หรือเป็นโครงการที่มีความจำเป็นแต่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ อบจ. และสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ฯ รวบรวมจัดทำเป็นบัญชีโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.)
47
แผนภูมิที่ 1 : แนวคิดการเชื่อมโยงแผนชุมชนสู่แผนพัฒนาจังหวัดผ่านกลไกระดับอำเภอ
กลไกระดับชาติ (ก.น.จ.) นโยบาย/ทิศทางการพัฒนาระดับชาติ เศรษฐกิจ สังคม ค.มั่นคง บริหารฯ ทรัพยากรฯ โครงการที่ อปท. สนับสนุนตาม ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด (งบท้องถิ่น) โครงการที่เสนอขอ งปม. จังหวัด โครงการที่เสนอขอ งปม. จากส่วนราชการ 1 2 3 แผนพัฒนาจังหวัด แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีของจังหวัด กลไกระดับจังหวัด (ก.บ.จ.) กรอบยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัด จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ร่างแผนพัฒนาจังหวัด ต.ค. – ธ.ค. 1 ต.ค. – ธ.ค. 6 แผนพัฒนา (อบจ.) (พ.ค. – มิ.ย.) นโยบายและงบประมาณ กระบวนการกลั่นกรองแผน/ปัญหาความต้องการของประชาชนจากอำเภอ เศรษฐกิจ สังคม ค.มั่นคง บริหารฯ ทรัพยากรฯ 5 มิ.ย. – ก.ย. 1 โครงการที่เสนอขอ งปม. จากส่วนราชการ (Function) 2 โครงการที่เสนอขอ งปม. จังหวัด โครงการที่ อปท. สนับสนุนตาม ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด (งบท้องถิ่น) 3 บูรณาการโครงการ ของ อปท.ในระดับอำเภอ (พ.ค.) กลไกระดับอำเภอ (ก.บ.อ.) แนวทางการ พัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาอำเภอ สอดคล้องแผนพัฒนาจังหวัด (ผลผลิต 5 ด้าน) เม.ย. – พ.ค. 4 เวทีประสานแผนการพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ -โครงการเรียงตามลำดับความสำคัญ -งบประมาณ/แหล่งที่มาดำเนินการ -จำแนกตามผลผลิต 5 ด้าน กม. กลไกระดับชุมชน (ก.ม.) ชุมชน แผนพัฒนา (เทศบาล/อบต.) กระบวน การชุมชน แผนชุมชน ปัญหาความต้องการ ทบทวนแผนชุมชน เม.ย. – มิ.ย. พ.ย. – ธ.ค. 2 3 ม.ค. – มี.ค. สอดคล้องกับแผนพัฒนา จว./ ระดับชาติ 1 ดำเนินการเอง 1 สอดคล้องกับปัญหา/ความต้องการของชุมชน 2 ร่วมกับหน่วยงานอื่น 2 สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของ อปท. 3 ให้คนอื่นดำเนินการ 3 4 สอดคล้องกับนโยบายผู้บริหารท้องถิ่น
48
ข้อ 5 ของระเบียบฯนี้ กำหนดให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ได้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยกเว้นหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามระเบียบนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในเขตจังหวัด แล้วรายงานกระทรวงมหาดไทยทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ยกเว้นหรือผ่อนผัน
49
ข้อ ๑๒ การประชุมของคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนฯ คณะกรรมการติดตามและประเมินผล - ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม - ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ ทั้งหมด แล้วแต่กรณีจึงจะเป็นองค์ประชุม - การวินิจฉัยชี้ขาด ให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
50
ขั้นตอนที่ ๑: การกำหนดแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น
ข้อ ๑๖ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มีขั้นตอน ดำเนินการ ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑: การกำหนดแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินการโดย : คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น แนวทางปฏิบัติ : (๑) คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นจัดประชุมประชาคมท้องถิ่น (๒) ประเมินสถานภาพของท้องถิ่นในปัจจุบัน
51
ขั้นตอนที่ ๒ : จัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
ขั้นตอนที่ ๒ : จัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ดำเนินการโดย : คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น แนวทางปฏิบัติ : (๑) รวบรวมข้อมูลพื้นฐานและแนวทางการพัฒนา (๒) จัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (๓) เสนอร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาต่อ คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อให้พิจารณา
52
เค้าโครงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
บทที่ ๑ บทนำ บทที่ ๒ สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บทที่ ๓ การวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาท้องถิ่น บทที่ ๔ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา บทที่ ๕ ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา บทที่ ๖ การนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่การปฏิบัติและการติดตาม ประเมินผล
53
บทที่ ๑ บทนำ ๑.๑ ลักษณะของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
๑.๒ วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ๑.๓ ขั้นตอนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ๑.๔ ประโยชน์ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
54
บทที่ ๒ สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น
บทที่ ๒ สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ๒.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้ง อาณาเขต เขตการปกครอง ประชากร การศึกษา สาธารณสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ๒.๒ ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น ได้แก่ โครงสร้างและ กระบวนการบริหารงานบุคคล งบประมาณ และเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ๒.๓ สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นในระยะที่ผ่านมา
55
บทที่ ๓ การวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาท้องถิ่น
๓.๑ หลักและแนวคิดในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ - นโยบายของรัฐบาล/แผนการบริหารราชการแผ่นดิน - ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด/อำเภอ - นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น - แผนชุมชน/ปัญหาความต้องการของประชาชน ๓.๒ ปัจจัยและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนา ด้วยเทคนิค SWOT Analysis
56
บทที่ ๔ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
๔.๑ วิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่น ๔.๒ พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น
57
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (Goals)
๔.๓ จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (Goals) ตัวชี้วัด (KPIs) ข้อมูลพื้นฐาน (Baseline Data) เป้าหมาย ปี ปี ....
58
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
บทที่ ๕ ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา ยุทธศาสตร์การพัฒนา แนวทางการพัฒนา หน่วยงานที่รับผิดชอบ
59
บทที่ ๖ การนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ และการติดตามประเมินผล
๖.๑ องค์กรที่รับผิดชอบในการติดตามประเมินผล ๖.๒ วิธีการในการติดตามและประเมินผล ๖.๓ ห้วงระยะเวลาในการติดตามประเมินผล
60
ขั้นตอนที่ ๓ : การพิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
ดำเนินการโดย : คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น แนวทางปฏิบัติ : - ตรวจพิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาให้เกิดความรอบคอบ - เสนอร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นต่อผู้บริหารท้องถิ่น ขั้นตอนที่ ๔ : การพิจารณาอนุมัติและประกาศใช้ ดำเนินการโดย : ผู้บริหารท้องถิ่น แนวทางปฏิบัติ : - พิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อให้ถูกต้อง รอบคอบและสมบูรณ์ - อนุมัติและประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา กรณี อบต. ให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาต่อสภา อบต เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนแล้วผู้บริหารท้องถิ่นจึงพิจารณาอนุมัติและประกาศใช้
61
สรุปขั้นตอนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
แจ้งแนวทางการพัฒนา+รับทราบปัญหา ความต้องการ คกก. พัฒนาท้องถิ่น+ประชาคมท้องถิ่น จัดทำร่าง คกก. สนับสนุนฯ พิจารณา คกก. พัฒนาท้องถิ่น กรณี อบจ. เทศบาล/ เมืองพัทยา กรณี อบต. สภา อบต.พิจารณาเห็นชอบ ผู้บริหารท้องถิ่นอนุมัติ ประกาศใช้ ผู้บริหารท้องถิ่นอนุมัติ ประกาศใช้
62
การทบทวน/ปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
ทบทวนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทบทวนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อปท.ควรมีการทบทวนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงนโยบาย/แนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นสาระสำคัญต่อยุทธศาสตร์การพัฒนา หรืออาจกำหนดให้มีการทบทวนทุกช่วงครึ่งแผนหรือตามความเหมาะสม
63
ข้อ ๑๗ การจัดทำแผนพัฒนาสามปีและห้วงเวลาดำเนินการ ขั้นตอนที่ ๑ : กำหนดประเด็นการพัฒนา เนินการโดย : คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น แนวทางปฏิบัติ : - คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นจัดประชุมประชาคมท้องถิ่น - กำหนดประเด็นการพัฒนาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแนวทาง การพัฒนาภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น
64
ขั้นตอนที่ ๒ : การจัดทำร่างแผนพัฒนาสามปี ดำเนินการโดย : คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
แนวทางปฏิบัติ : (๑) รวบรวมข้อมูลพื้นฐานและประเด็นการพัฒนาที่คณะกรรมการพัฒนา ท้องถิ่นกำหนด (๒) จัดทำร่างแผนพัฒนาสามปี (๓) เสนอร่างแผนพัฒนาสามปีต่อคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
65
เค้าโครงสร้างแผนพัฒนาสามปี
ส่วนที่ ๑ บทนำ ส่วนที่ ๒ สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนที่ ๓ สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นในปีที่ผ่านมา ส่วนที่ ๔ ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี ส่วนที่ ๕ บัญชีโครงการพัฒนา ส่วนที่ ๖ การนำแผนพัฒนาสามปีไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล
66
เค้าโครงสร้างแผนพัฒนาสามปี
ส่วนที่ ๑ บทนำ ๑.๑ ลักษณะของแผนพัฒนาสามปี ๑.๒ วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ๑.๓ ขั้นตอนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ๑.๔ ประโยชน์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี
67
เค้าโครงสร้างแผนพัฒนาสามปี
ส่วนที่ ๒ สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้ง อาณาเขต เขตการปกครอง ประชากร การศึกษา สาธารณสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ๒.๒ ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น ได้แก่ โครงสร้างและ กระบวนการบริหารงานบุคคล งบประมาณ และเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ๒.๓ สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นในระยะที่ผ่านมา
68
เค้าโครงสร้างแผนพัฒนาสามปี
ส่วนที่ ๓ สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นในปีที่ผ่านมา ๓.๑ สรุปสถานการณ์การพัฒนา (ด้วยเทคนิค SWOT Analysis) ๓.๒ การประเมินผลการนำแผนพัฒนาไปปฏิบัติในเชิงปริมาณ ๓.๓ การประเมินประสิทธิผลของแผนพัฒนาในเชิงคุณภาพ
69
เค้าโครงสร้างแผนพัฒนาสามปี
ส่วนที่ ๔ ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี ๔.๑ วิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่น ๔.๒ ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในช่วง ๓ ปี ๔.๓ กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัด ๔.๔ ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ๔.๕ ยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอ ๔.๖ นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น
70
๕.๑ บัญชีสรุปโครงการ/กิจกรรมการพัฒนา
ส่วนที่ ๕ บัญชีโครงการพัฒนา ๕.๑ บัญชีสรุปโครงการ/กิจกรรมการพัฒนา ยุทธศาสตร์/ แนวทางการพัฒนา ปี ..... ปี รวม 3 ปี จำนวนโครงการ งบประมาณ (บาท) ๕.๒ รายละเอียดโครงการและกิจกรรม ลำดับ ที่ โครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย (ผลผลิตของ โครงการฯ) งบประมาณและที่มา ผลลัพธ์ที่คาด ว่าจะได้รับ หน่วยงาน รับผิดชอบ ปี .... (บาท)
71
เค้าโครงสร้างแผนพัฒนาสามปี
ส่วนที่ ๖ การนำแผนพัฒนาสามปีไปสู่การปฏิบัติและการติดตาม ประเมินผล ๖.๑ องค์กรที่รับผิดชอบในการติดตามประเมินผล ๖.๒ วิธีการในการติดตามและประเมินผล ๖.๓ ห้วงระยะเวลาในการติดตามประเมินผล
72
โครงการที่จะต้องบรรจุไว้ในแผนพัฒนาสามปี
อย่างน้อยประกอบด้วย ๑. โครงการที่ อปท.ดำเนินการเอง ๒. โครงการที่ อปท.อุดหนุนหน่วยงานอื่น ๓. โครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น สำหรับโครงการที่เกินศักยภาพของ อปท. ให้แยกไว้เป็นภาคผนวก ภายใต้ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง โครงการในปีแรกของแผนพัฒนาสามปี ซึ่งจะต้องนำไปจัดทำงบประมาณ จะต้องแสดงรายละเอียดของเป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) ให้ชัดเจน และคำนึงถึงสถานะทางการคลังของท้องถิ่นด้วย
73
ขั้นตอนที่ ๓ : การพิจารณาร่างแผนพัฒนาสามปี
ดำเนินการโดย : คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น แนวทางปฏิบัติ : - ตรวจพิจารณาร่างแผนพัฒนาสามปีให้เกิดความรอบคอบ - เสนอร่างแผนพัฒนาสามปีต่อผู้บริหารท้องถิ่น ขั้นตอนที่ ๔ : การพิจารณาอนุมัติและประกาศใช้ ดำเนินการโดย : ผู้บริหารท้องถิ่น แนวทางปฏิบัติ : - พิจารณาร่างแผนพัฒนาสามปีเพื่อให้ถูกต้อง รอบคอบและสมบูรณ์ - อนุมัติและประกาศใช้แผนพัฒนาสามปี กรณี อบต. ให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอร่างแผนพัฒนาสามปีต่อสภา อบต. เพื่อให้ความ เห็นชอบก่อนแล้วผู้บริหารท้องถิ่นจึงพิจารณาอนุมัติและประกาศใช้
74
สรุปขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาสามปี
คกก. พัฒนาท้องถิ่น+ประชาคมฯ + ส่วนราชการ ① กำหนดประเด็นการพัฒนา ม.ค.-ก.พ. ② จัดทำร่าง มี.ค.-เม.ย. คกก. สนับสนุนฯ ③ พิจารณา เม.ย.- พ.ค. คกก. พัฒนาท้องถิ่น กรณี อบต. กรณี อบจ. เทศบาล/ เมืองพัทยา ④ สภา อบต.พิจารณาเห็นชอบ พ.ค. – มิ.ย. ⑤ อนุมัติ ประกาศใช้ ④ อนุมัติ ประกาศใช้ ผู้บริหารท้องถิ่น
75
แนวทางการเสนอร่างแผนพัฒนาท้องถิ่นต่อสภา อบต. หนังสือ มท. ที่ มท ๐๘๑๐
แนวทางการเสนอร่างแผนพัฒนาท้องถิ่นต่อสภา อบต. หนังสือ มท. ที่ มท ๐๘๑๐.๒/ว ๓๒๘๘ ลว. ๑๙ ก.ย. ๒๕๔๙ นายก อบต.ในฐานะผู้บริหารท้องถิ่น เสนอร่างแผนพัฒนาต่อ สภา อบต. เพื่อให้ความเห็นชอบ แล้วผู้บริหารท้องถิ่นจึงพิจารณาอนุมัติและประกาศใช้แผนพัฒนา อบต. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ความเห็นชอบร่างแผนพัฒนา อบต. เพื่อให้อบต.ใช้เป็นแนวทางในการบริหารกิจการของ อบต. หากร่างแผนพัฒนา อบต. มีข้อบกพร่อง ก็ให้ส่งร่างแผนพัฒนา อบต.พร้อมเหตุผลคืนให้นายก อบต. ในฐานะผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อทบทวน แล้วเสนอให้สภา อบต.ให้ความเห็นชอบ เพื่ออบต.จะได้ใช้เป็นแนวทางในการบริหารกิจการของ อบต.
76
ข้อ ๑๘ แผนพัฒนาสามปีให้จัดทำและทบทวนให้แล้วเสร็จภายในเดือน มิ. ย
ข้อ ๑๘ แผนพัฒนาสามปีให้จัดทำและทบทวนให้แล้วเสร็จภายในเดือน มิ.ย. ก่อนงบประมาณประจำปี ผวจ.มีอำนาจขยายการจัดทำแผนพัฒนาสามปีแล้วรายงาน มท. กรณีเทศบาล ผวจ.อาจมอบอำนาจให้ นอภ. เมื่อมีการขยายเวลาให้แจ้งจังหวัดเพื่อรายงาน มท.ทราบ กรณี อบต. เป็นอำนาจของ นอภ. แล้วแจ้งจังหวัดเพื่อรายงาน มท.ทราบ
77
ข้อ ๒๐ ให้หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกที่จัดทำหรือร่วมจัดทำ
ข้อ ๑๙ อปท.อาจมอบหมายให้หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกจัดทำหรือร่วมจัดทำร่างแผนพัฒนาได้ ดังนี้ คณะกรรมการสนับสนุนร่างข้อกำหนดขอบข่ายฯ คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นพิจารณาร่างของกำหนดขอบข่ายฯ ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติ ข้อ ๒๐ ให้หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกที่จัดทำหรือร่วมจัดทำ ร่างแผนพัฒนาดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการจัดทำร่าง แผนพัฒนาตามระเบียบนี้
78
หมวด ๔ การแก้ไข การเพิ่มเติมหรือการเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนา
ข้อ ๒๑ การแก้ไขแผนพัฒนา เป็นอำนาจของผู้บริหารท้องถิ่น ข้อ ๒๒ การเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนาสามปี (๑) คกก.สนับสนุนฯ จัดทำร่างฯ พร้อมเหตุผลและความจำเป็น (๒) คกก.พัฒนาท้องถิ่นพิจารณาฯ (๓) ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติร่างฯ (กรณี อบต. เสนอร่างต่อสภาฯ ให้ความเห็นชอบก่อน เสนอผู้บริหารฯ จึงพิจารณาอนุมัติและประกาศใช้)
79
ข้อ ๒๓ การเปลี่ยนแปลงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
(๑) คกก.สนับสนุนฯ จัดทำร่างฯ พร้อมเหตุผลและความจำเป็น (๒) คกก.พัฒนาท้องถิ่นพิจารณาร่างฯ (๓) ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติร่างฯ (กรณี อบต. เสนอร่างต่อสภาฯ ให้ความเห็นชอบก่อน เสนอผู้บริหารฯ จึงพิจารณาอนุมัติและประกาศใช้)
80
หมวด ๕ การนำแผนพัฒนาไปปฏิบัติ
ข้อ ๒๔ ผู้บริหารท้องถิ่นประกาศใช้แผนพัฒนาที่อนุมัติ และนำไป ปฏิบัติ รวมทั้งแจ้งสภาท้องถิ่น กบจ. อบจ. อำเภอ หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง และประกาศภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ประกาศใช้ และปิด ประกาศไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน ข้อ ๒๕ เป็นกรอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม วางแนวทางเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของโครงการ
81
ข้อ ๒๖ การจัดทำแผนการดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ ๑ : การจัดทำร่างแผนการดำเนินงาน ดำเนินการโดย : คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น แนวทางปฏิบัติ : แจ้งหน่วยงาน/เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ จัดทำรายละเอียดโครงการฯ ขั้นตอนที่ ๒ : การพิจารณาร่างแผนการดำเนินงาน ดำเนินการโดย : คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น แนวทางปฏิบัติ : พิจารณาร่างแผนการดำเนินงานเพื่อให้ถูกต้อง รอบคอบและสมบูรณ์ ขั้นตอนที่ ๓ : การประกาศใช้แผนการดำเนินงาน ดำเนินการโดย : ผู้บริหารท้องถิ่นประกาศเป็นแผนการดำเนินงาน
82
เค้าโครงแผนการดำเนินงาน
ส่วนที่ ๑ บทนำ ส่วนที่ ๒ บัญชีโครงการ/กิจกรรม
83
เค้าโครงแผนการดำเนินงาน
ส่วนที่ ๑ - บทนำ - วัตถุประสงค์ของแผนการดำเนินงาน - ขั้นตอนการจัดทำแผนการดำเนินงาน - ประโยชน์ของแผนการดำเนินงาน
84
เค้าโครงแผนการดำเนินงาน
ส่วนที่ ๒ บัญชีโครงการ/กิจกรรม ๒.๑ บัญชีสรุปจำนวนโครงการและงบประมาณ ยุทธศาสตร์/แนวทางการพัฒนา จำนวนโครงการที่ดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละของโครงการทั้งหมด จำนวนงบประมาณ คิดเป็นร้อยละของงบประมาณทั้งหมด หน่วยดำเนินการ ๑. ยุทธศาสตร์ ๑.๑ แนวทาง ๑.๒ แนวทาง รวม
85
เค้าโครงแผนการดำเนินงาน รายละเอียดของโครงการ/กิจกรรม
๒.๒ โครงการ/กิจกรรมการ/งบประมาณ ๑) ยุทธศาสตร์ด้าน ๑.๑) แนวทางการพัฒนา ลำ ดับที่ โครงการ/กิจกรรม รายละเอียดของโครงการ/กิจกรรม งบ ประมาณ สถานที่ดำเนิน การ หน่วยดำเนินการ พ.ศ. .... ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
86
โครงการและกิจกรรมที่บรรจุในแผนการดำเนินงาน
โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุนและการพัฒนา โครงการ/กิจกรรมของหน่วยงานต่างๆ ที่ดำเนินการในพื้นที่ของ อปท. โครงการอื่นๆ ที่เห็นว่าจะเกิดประโยชน์ในการประสานการดำเนินงานในพื้นที่
87
ข้อ ๒๗ แผนการดำเนินงานให้จัดทำเสร็จภายในเดือนธันวาคม
ของปีงบประมาณนั้น หรือภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ตั้ง งบประมาณดำเนินการหรือได้รับแจ้งแผนงาน/โครงการจาก หน่วยราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ฯลฯ ที่ต้องดำเนินการใน พื้นที่ของ อปท.ในปีงบประมาณนั้น การขยายการจัดทำและการแก้ไขแผนการดำเนินงานเป็น อำนาจของผู้บริหารท้องถิ่น
88
สรุปขั้นตอนการจัดทำแผนการดำเนินงาน
คกก.สนับสนุน จัดทำร่างฯ คกก. พัฒนาท้องถิ่น พิจารณาร่าง ผู้บริหารท้องถิ่น ประกาศใช้ ปิดประกาศภายใน ๑๕ วัน/ประกาศไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
89
เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาแล้วเสร็จ ให้ส่งแผนพัฒนาที่ประกาศใช้แล้วให้คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ องค์การบริหารส่วนจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และให้ประกาศให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน
90
5. คณะกรรมการติดตามและประเมินผล แผนพัฒนาท้องถิ่น 5
5. คณะกรรมการติดตามและประเมินผล แผนพัฒนาท้องถิ่น องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ 5.2 อำนาจหน้าที่
91
5.1คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย
1.สมาชิกสภาท้องถิ่นที่สภาท้องถิ่นคัดเลือกจำนวน 3 คน 2.ผู้แทนประชาคมท้องถิ่นที่ประชาคมท้องถิ่นคัดเลือกจำนวน 2คน 3.ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือกจำนวน 2คน 4.หัวหน้าส่วนการบริหารที่คัดเลือกกันเองจำนวน 2คน 5.ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือกจำนวน 2คน โดยให้คณะกรรมการเลือกกรรมการหนึ่งคนทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการ และกรรมการอีกหนึ่งคนทำหน้าที่เลขานุการของคณะกรรมการ * คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปีและอาจได้รับการคัดเลือกอีกได้ *
92
ข้อ ๒๙ คณะกรรมการติดตามและประเมินผล
มีอำนาจหน้าที่ (๑) กำหนดแนวทาง วิธีการติดตามและประเมินผล (๒) ดำเนินการติดตามและประเมินผล (๓) รายงานผลต่อผู้บริหาร /ผู้บริหารเสนอสภาท้องถิ่น คกก.พัฒนาท้องถิ่น และประกาศให้ประชาชนทราบ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ภายในเดือน ธ.ค.ของทุกปี (๔) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือ การปฏิบัติงานตามที่เห็นสมควร
93
ข้อ ๓๐ อปท. อาจมอบอำนาจให้หน่วยงานหรือบุคคลภายนอก ดำเนินการหรือร่วมดำเนินการติดตามและประเมินผลได้ มีขั้นตอนดังนี้ คกก.ติดตามและประเมินผลจัดทำร่างข้อกำหนด ขอบข่ายฯ ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติ หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกฯ ร่วมดำเนินการติดตามประเมินผล หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกฯ รายงานผลการติดตามฯ ต่อคณะกรรมการติดตามและประเมินผล เพื่อประเมินผลการรายงานผล เสนอต่อผู้บริหารท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอผลการติดตามฯ ต่อสภาท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น และประกาศผลการติดตามฯ ให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน
94
ข้อ ๓๑ มท. อาจจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการ
ดำเนินงานตามแผนพัฒนาของ อปท.ได้ตามความเหมาะสม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.