งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ
อ.วชิระ หล่อประดิษฐ์ ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

2 วัตถุประสงค์ของการนำเสนอ
เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนการนำเสนอที่ดี ทราบถึงเทคนิคในการพูดอย่างมืออาชีพ เข้าใจหลัก และแนวทางในการสร้างเพาเวอร์พอยน์ที่มีความน่าสนใจ

3 เนื้อหาที่จะกล่าวถึง
10 เทคนิคในการพูดอย่างมืออาชีพ ศิลปะการพูดในที่ชุมชน ขั้นตอนในการดำเนินเรื่อง ปัจจัยเพื่อสนับสนุนการพูดอย่างมืออาชีพ การเตรียม PowerPoint เพื่อประกอบการนำเสนออย่างมืออาชีพ

4 10 เทคนิคในการพูดอย่างมืออาชีพ
ผู้พูดต้องเตรียมความพร้อมเสมอ เตรียมเนื้อหาล่วงหน้า เตรียมเอกสารประกอบ เตรียมสภาพร่างกายให้สมบูรณ์ วิเคราะห์กลุ่มผู้ฟัง รู้ว่าต้องพูดให้ใครฟัง ความรู้พื้นฐานของผู้ฟัง จะใช้วิธีการพูดอย่างไร

5 10 เทคนิคในการพูดอย่างมืออาชีพ
สร้างความคุ้นเคยกับสถานที่และอุปกรณ์ ไปถึงสถานที่ก่อนเวลา หัดใช้อุปกรณ์ก่อนการนำเสนอ สร้างความเป็นกันเองกับผู้ฟัง ทักทายผู้ฟังก่อนที่จะขึ้นพูด ทำให้ลดความตื่นเต้นลงได้มาก มีอารมณ์ขัน ต้องหาเรื่องขำขันติดตัวไว้บ้าง เพื่อลดความเครียด เรื่องขำขันต้องไม่ลามก

6 10 เทคนิคในการพูดอย่างมืออาชีพ
สังเกตปฏิกิริยาของผู้ฟัง กวาดสายตาเพื่อดูความสนใจของผู้ฟัง เตรียมการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศในการพูด อย่าท่องจำ หรือใช้วิธีการอ่านให้คนฟัง ควรมีการเปิดโอกาสให้มีผู้ถามบ้าง ต้องทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่จะนำเสนอให้ดีก่อน ลืมความผิดพลาดไปเสีย หากเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการพูด ให้ลืมไปเสีย เมื่อพูดจบจึงนำข้อผิดพลาดมาแก้ไขในโอกาสต่อไป

7 10 เทคนิคในการพูดอย่างมืออาชีพ
อย่าแสดงอาการ หรือคำพูดที่ดูหมิ่นคนฟัง ไม่ควรแสดงท่าทีว่าตัวเองเก่งกว่า รู้มากกว่า ยิ่งใหญ่กว่าผู้ฟัง ไม่ควรกระทำการใดๆให้หมดความน่าเชื่อถือ จินตนาการถึงความสำเร็จในการพูด นึกภาพเสมอว่า การนำเสนอครั้งนี้สำเร็จอย่างงดงาม ควรสร้างกำลังใจให้กับตัวเองเสมอ

8 ศิลปะการพูดในที่ชุมชน
ผู้พูด ต้องใช้ภาษา ท่าทาง บุคลิกภาพ การถ่ายทอดความนึกคิดให้แก่ผู้ฟัง ให้เข้าใจง่าย รวดเร็ว ชัดเจน เนื้อหา ควรพูดในเรื่องที่ตนเองถนัด ต้องเข้าใจเนื้อหาอย่างละเอียด โดยมี เกณฑ์ คือ คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป

9 ศิลปะการพูดในที่ชุมชน
ผู้ฟัง ต้องทำการวิเคราะห์ผู้ฟังโดยวิเคราะห์จาก อายุ เพศ ศาสนา ความเชื่อ ฐานะ และอาชีพ การศึกษา ความสนใจ สถานที่ เวลา และโอกาส

10 ศิลปะการพูดในที่ชุมชน
ภาษาและน้ำเสียง ไม่จำเป็นต้องใช้ศัพท์แปลกๆ ในการนำเสนอ ใช้ถ้อยคำที่มีความหมายชัดเจนตามหลักภาษาไทย น้ำเสียงควรนุ่มนวลชวนฟัง ควรใส่คำว่า “นะครับ/นะคะ” ท้ายประโยค เพื่อแสดงถึงความเคารพ แต่ไม่ควร เยอะเกินไป ท่าทางและใบหน้า ใช้สีหน้าในการแสดงความรู้สึกให้ผู้ฟังรับรู้ ใช้มือประกอบการพูดให้ดูเป็นธรรมชาติ

11 ศิลปะการพูดในที่ชุมชน
บุคลิกภาพและความมั่นใจ แต่งกายให้เหมาะสมกับบุคลิก สุภาพและเรียบร้อย สายตา สบตาผู้ฟังบ้างเป็นครั้งคราว ไม่ควรใช้วิธีจ้องตา เพราะเป็นการแสดงออกที่เสียมารยาท เดินและยืน อย่าปล่อยตัวจนเกินงาม แต่ไม่ควรเกร็งจนเครียด ยืนให้สง่า หลังไม่โก่ง ไม่กระมิดกระเมี้ยนเหนียมอาย

12 ขั้นตอนในการดำเนินเรื่อง
ขั้นที่ 1 ดึงความสนใจของผู้ฟังทันที ขั้นที่ 2 ทำให้ผู้ฟังเกิดความต้องการจะฟัง ขั้นที่ 3 ทำให้ผู้ฟังเกิดความพอใจ ขั้นที่ 4 ยกตัวอย่างข้อเท็จจริงให้ เห็นภาพ ขั้นที่ 5 เรียกร้องให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง

13 ปัจจัยเพื่อสนับสนุนการพูดอย่างมืออาชีพ
จริงใจ ท่านต้องมั่นใจว่าคำพูดทุกคำของท่านออกมาจากความจริงใจ ไร้อารมณ์ ท่านต้องตัดอารมณ์โกรธ โมโห สงบสติพิจารณาเหตุผล ชมก่อน การเริ่มต้นด้วยการชมจะช่วยลดแรงกระทบให้น้อยลง ค่อยตำหนิ เมื่อท่านเปิดหัวใจเขาได้ เขาก็พร้อมที่จะฟังคำตำหนิจากท่านแต่ไม่ใช่ ประเภทขวานผ่าซาก พิศดู ขณะที่ท่านกำลังพูดอยู่กับเขาปฏิกิริยาของเขาเป็นอย่างไร ปูทาง ค่อย ๆ พูด ค่อย ๆ จา การพูดแล้วทำให้คนฟังทำตามที่เราต้องการถือว่าเป็น สุดยอดของคำพูด สร้างสัมพันธ์ ก่อสร้างสัมพันธ์ขึ้นมาก่อนเมื่อเริ่มต้นด้วยดีสิ่งดีก็จะตามมา

14 ข้อผิดพลาดของการออกแบบและใช้งานเพาเวอร์พอยท์ที่พบเจอกันได้บ่อยๆ
ทำเพาเวอร์พอยท์มาเป็นอย่างดี แต่เมื่อจะใช้จริงกลับเปิดโปรแกรม ไม่ได้หรือเปิดได้แต่แสดงผลไม่เหมือนที่ออกแบบไว้ การจัดเรียงลำดับสไลด์ที่ไม่ดี ทำให้ผู้ฟังรวมทั้งผู้ใช้เองสับสน การใช้ขนาดและสีของตัวอักษรและพื้นหลังที่ไม่เหมาะสม ทำให้อ่าน ยากหรือมองเห็นไม่ ชัดเจน ดูแล้วเข้าใจยาก เพราะมีข้อมูลหรือตัวอักษรมากเกินไปใน 1 สไลด์ การใช้การแสดงผลพิเศษ (Effect) ที่มากเกินไป ทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือ และน่ารำคาญ

15 ทำเพาเวอร์พอยท์มาเป็นอย่างดี แต่เมื่อจะใช้จริงกลับเปิดโปรแกรมไม่ได้หรือเปิดได้แต่แสดงผลไม่เหมือนที่ออกแบบไว้

16 การจัดเรียงลำดับสไลด์ที่ไม่ดี ทำให้ผู้ฟังรวมทั้งผู้ใช้เองสับสน
ควรใช้ประมาณ 1-2 สไลด์ต่อนาที แต่ในบางจังหวะอาจใช้มากหรือน้อยกว่านั้นได้ จัดทำสไลด์ตามลำดับของเนื้อหาหรือการบรรยาย ไม่สลับไปสลับมา เพื่อเป็นการป้องกันการสับสน ควรใส่หัวข้อเรื่องทุกสไลด์ และใส่หมายเลขสไลด์เพื่อ ช่วยให้ผู้ฟังอ้างอิงได้ ชื่อเรื่อง ชื่อของผู้นำเสนอและข้อมูลเพื่อติดต่อ ประโยชน์ที่จะได้รับ หรือวัตถุประสงค์ หัวข้อในการนำเสนอ เนื้อหา 1 เนื้อหา 2 เนื้อหา 3 การสรุป หรือทบทวน “Question?” หรือ “ช่วงถาม-ตอบ”

17 ตัวอย่างการกำหนดหัวข้อ

18 ตัวอย่างพื้นหลัง และตัวอักษร

19 ตัวอย่างพื้นหลัง และตัวอักษร

20 ตัวอย่างการสรุปใจความสำคัญ

21 ตัวอย่างการเน้นข้อความ

22 ตัวอย่างการแสดงทีละรายการ

23 สรุปเนื้อหา 10 เทคนิคในการพูดอย่างมืออาชีพ
ผู้พูดต้องเตรียมความพร้อมเสมอ วิเคราะห์กลุ่มผู้ฟัง สร้างความคุ้นเคยกับสถานที่และอุปกรณ์ สร้างความเป็นกันเองกับผู้ฟัง มีอารมณ์ขัน สังเกตปฏิกิริยาของผู้ฟัง อย่าท่องจำ หรือใช้วิธีการอ่านให้คนฟัง ลืมความผิดพลาดไปเสีย อย่าแสดงอาการ หรือคำพูดที่ดูหมิ่นคนฟัง จินตนาการถึงความสำเร็จในการพูด

24 สรุปเนื้อหา (ต่อ) ขั้นตอนในการดำเนินเรื่อง
ขั้นที่ 1 ดึงความสนใจของผู้ฟังทันที ขั้นที่ 2 ทำให้ผู้ฟังเกิดความต้องการจะฟัง ขั้นที่ 3 ทำให้ผู้ฟังเกิดความพอใจ ขั้นที่ 4 ยกตัวอย่างข้อเท็จจริงให้ เห็นภาพ ขั้นที่ 5 เรียกร้องให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง

25 สรุปเนื้อหา (ต่อ) ข้อผิดพลาดของการออกแบบและใช้งานเพาเวอร์พอยท์ที่พบ เจอกันได้บ่อยๆ ทำเพาเวอร์พอยท์มาเป็นอย่างดี แต่เมื่อจะใช้จริงกลับเปิดโปรแกรมไม่ได้หรือ เปิดได้แต่แสดงผลไม่เหมือนที่ออกแบบไว้ การจัดเรียงลำดับสไลด์ที่ไม่ดี ทำให้ผู้ฟังรวมทั้งผู้ใช้เองสับสน การใช้ขนาดและสีของตัวอักษรและพื้นหลังที่ไม่เหมาะสม ทำให้อ่านยากหรือ มองเห็นไม่ ชัดเจน ดูแล้วเข้าใจยาก เพราะมีข้อมูลหรือตัวอักษรมากเกินไปใน 1 สไลด์ การใช้การแสดงผลพิเศษ (Effect) ที่มากเกินไป ทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือ และน่า รำคาญ

26 Questions & Answers


ดาวน์โหลด ppt เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google