ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยศิริวรรณ สมิท ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายลักษณะบัญชีเดินสะพัดและกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน
บทนำ หลักพื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายลักษณะบัญชีเดินสะพัดและกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน กฎหมายลักษณะบัญชีเดินสะพัดและกฎหมายลักษณะตั๋วเงินจัดว่าเป็นกฎหมายพาณิชย์ที่ค่อนข้างมีความสลับซับซ้อนกว่ากฎหมายพาณิชย์ลักษณะอื่นๆ อยู่หลายส่วนด้วยกัน การทำความเข้าใจของผู้เริ่มต้นศึกษาจึงควรทราบถึงหักพื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายลักษณะดังกล่าวที่สำคัญๆ บางประการเสียก่อน ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้สามารถทำความเข้าใจบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้สะดวกขึ้น โดยสามารถจำแนกสาระสำคัญพื้นฐานที่ควรทราบได้ดังต่อไปนี้
2
ความสำคัญของกฎหมายลักษณะบัญชีเดินสะพัดและกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน
การประกอบธุรกรรม ระหว่างบุคคลทางธุรกิจใดๆ ก็ตาม คู่สัญญาทางธุรกิจอาจมีข้อตกลงยอมให้นำระบบ “บัญชีเดินสะพัด” และระบบ “ตั๋วเงิน” เข้ามามีบทบาทบังคับใช้ระหว่างคู่สัญญาในทางธุรกิจได้ เช่น นายดำต้องการเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการประกอบธุรกิจร้านขายวัสดุก่อสร้างของตน จึงไปติดต่อขอกู้ยืมเงินจากทางธนาคาร ในกรณีเช่นนี้ ธนาคารอาจแนะนำให้นายดำทำสัญญาการกู้เบิกเงินเกินบัญชีกับทางธนาคาร ทั้งนี้ เนื่องจากสัญญาการกู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด อันจะทำให้ธนาคารมีสิทธิเอาดอกเบี้ยทบกับเงินต้นแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบกันนั้นได้ตามกฎหมาย หรือนายแดงเปิดร้านซ่อมรถยนต์นายแดงต้องการซื้ออะไหล่รถยนต์จากนายดำพ่อค้าอะไหล่รถยนต์มูลค่า 500,000 บาท
3
ความสำคัญของกฎหมายลักษณะบัญชีเดินสะพัดและกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน (ต่อ)
จะเห็นว่า นายแดงย่อมไม่สะดวกที่จะนำธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์จำนวน 500,000 บาท นำไปชำระหนี้ค่าอะไหล่รถยนต์ กรณีเช่นนี้ นายแดงอาจใช้วิธีการออกเช็คซึ่งเป็นตั๋วเงินประเภทหนึ่งชำระค่าสินค้าดังกล่าวแทนเงินสด เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ จึงสรุปได้ว่า ทั้งระบบ “บัญชีเดินสะพัด” และระบบ “ตั๋วเงิน” นั้นเข้ามามีบทบาททางธุรกิจได้ตลอดเวลา การทำความเข้าใจสาระสำคัญของกฎหมายลักษณะดังกล่าวจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้ศึกษาวิชานี้สามารถนำความรู้จากการศึกษาไปประกอบอาชีพในเชิงปฏิบัติได้ เมื่อถึงคราวต้องเข้าทำงานในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หรือ ประกอบธุรกิจส่วนตัวและรวมตลอดถึงกรณีศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้นด้วย
4
ลักษณะพิเศษของบัญชีเดินสะพัดและตั๋วเงิน
บัญชีเดินสะพัด และ “ตั๋วเงิน” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีลักษณะพิเศษ ตรงที่ในส่วนที่ว่าด้วย “หลักการทำบัญชีเดินสะพัด” จะมีความแตกต่างกับ “หลักการทำบัญชีธรรมดา” และในส่วนของ “ตั๋วเงิน” เองนั้น การจะมีสภาพบังคับใช้ทางกฎหมายของ “ตั๋วเงิน” ก็มีวิธีปฏิบัติ บางประการ อันแตกต่างไปจากวิธีปฏิบัติตามหลักทั่วไปไม่เหมือนดังเช่นกฎหมายพาณิชย์ลักษณะอื่นๆ ดังนี้
5
ลักษณะพิเศษเฉพาะของบัญชีเดินสะพัด
ลักษณะพิเศษเฉพาะของ “บัญชีเดินสะพัด” คือ บัญชีเดินสะพัดเป็นสัญญาซึ่งก่อให้เกิดภาระหนี้ ต่อกันระหว่างคู่สัญญาได้ แต่ถ้าเป็น “บัญชีธรรมดา” จะเห็นว่า บัญชีธรรมดาย่อมไม่ก่อให้เกิดภาระหนี้ แก่ผู้ใดทั้งสิ้น ข้อสำคัญ คือ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำ “บัญชีเดินสะพัด” (Current Account) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้มีการกำหนดถึงสิ่งที่คู่สัญญาต้องพึงปฏิบัติเอาไว้ด้วย เช่น ต้องมีการจัดทำบัญชีหนี้, ต้องให้มีการหักทอนบัญชีเป็นคราวๆ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ การจัดทำ “บัญชีธรรมดา” แล้วตามหลัก “การทำบัญชี” (Bookkeeping) คงมีลักษณะเป็นการ ทำบันทึกทางบัญชีเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ เท่านั้น เช่น บัญชีรายรับ - รายจ่าย ในแต่ละวัน เป็นต้น
6
ลักษณะพิเศษเฉพาะของบัญชีเดินสะพัด (ต่อ)
ตัวอย่าง นายดำใช้กระดาษ ๑ แผ่นตีเส้นแบ่งครึ่งกึ่งกลางหน้ากระดาษโดยกำหนดให้ ฝั่งซ้ายเป็นช่องรายรับและกำหนดให้ฝั่งขวาเป็นช่องรายจ่าย ลักษณะแบบนี้อาจเรียกว่า “บัญชี รายรับ - รายจ่าย” ซึ่งจะเห็นว่า กระดาษ ๑ แผ่นดังกล่าวคงมีลักษณะเป็นเพียง “การทำบัญชีธรรมดา” เท่านั้น ตัวอย่าง นายดำกับนายแดงใช้กระดาษ ๑ แผ่นโดยตีเส้นแบ่งครึ่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ กำหนดให้ฝั่งซ้ายเป็นช่องบันทึกหนี้เงินที่นายดำก่อขึ้นต่อนายแดงและให้ฝั่งขวาเป็นช่องบันทึกหนี้ เงินที่นายแดงก่อขึ้นต่อนายดำโดยทั้งนายดำและนายแดงมีข้อตกลงด้วยกันว่า ทุกวันที่ ๕ ของเดือน ให้นำหนี้เงินของแต่ละฝ่ายนั้นมาหักกลบลบกันคงเหลืออยู่จำนวนเท่าใดก็ให้ฝ่ายที่ยังมีหนี้เงินคงค้าง อยู่นั้นชำระจำนวนส่วนที่เหลือทั้งหมดให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง ลักษณะแบบนี้เรียกว่า “บัญชีเดินสะพัด” สำหรับกระดาษ ๑ แผ่นดังกล่าวนั้นถือว่าเป็น “บัญชีหนี้” ตามองค์ประกอบที่ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์กำหนดเอาไว้
7
ลักษณะพิเศษเฉพาะของตั๋วเงิน
กฎหมายลักษณะตั๋วเงินได้มีการกำหนดถึงวิธีปฏิบัติอันเป็นเงื่อนไขพิเศษเฉพาะแยกออกมา ต่างหากจากหลักกฎหมายพาณิชย์ลักษณะอื่นๆ บางประการ เช่น ถ้าบุคคลใดเขียนตัวอักษรไม่ได้ แต่จะต้องทำกิจการซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้นด้วย ปกติเมื่อพิจารณาจาก ป.พ.พ.บรรพ ๑ หลักทั่วไป ลักษณะ ๑ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป จะเห็นว่า ลายพิมพ์นิ้วมือที่ทำลงในเอกสาร แทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้สองคนแล้วย่อมถือเสมอกับลงลายมือ ชื่อบุคคลนั้นได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๙ วรรคสอง แต่ถ้าเป็นเรื่องของตั๋วเงินแล้ว สำหรับลายพิมพ์นิ้วมือ แม้ว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็หาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไม่ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๙๐๐ วรรคสอง ตัวอย่าง นายดำเขียนหนังสือไม่ได้ แต่นายดำได้เข้าทำสัญญากู้ยืมเงินจากนายแดง ๕๐๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ ในช่อง “ผู้ยืม” ของสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว นายดำพิมพ์ลายนิ้วมือแทนการ ลงลายมือชื่อโดยมีนายขาวและนายเขียวเป็นพยานลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนี้ ย่อมถือว่ามีหลักฐาน แห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๓ แล้ว๓
8
ลักษณะพิเศษเฉพาะของตั๋วเงิน (ต่อ)
ตัวอย่าง นายขาวออกเช็ค ๑ ฉบับ ระบุชื่อนายเขียวเป็นผู้รับเงินโดยขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ออกและส่งมอบเช็คนั้นให้แก่นายเขียว ภาษากฎหมายลักษณะตั๋วเงินจะเรียกเช็คฉบับดังกล่าวนี้ว่า “เช็คระบุชื่อผู้รับเงิน” และเรียกนายเขียวว่า “ผู้ทรง” อันมี หลักสำคัญ คือ ถ้านายเขียวประสงค์จะ โอนเช็คฉบับดังกล่าวนั้นให้แก่ผู้อื่น นายเขียวจะต้องทำตามวิธีปฏิบัติเฉพาะของกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน โดยนายเขียวจะต้องมีการ “สลักหลัง” และ “ส่งมอบ” ประเด็น คือ นายเขียวเขียนหนังสือไม่ได้ นายเขียวจึงพิมพ์ลายนิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อ โดยมีนายดำและนายแดงเป็นพยานลงลายมือชื่อไว้ในเช็คฉบับดังกล่าว โดยนายเขียวมีเจตนาให้การ พิมพ์ลายนิ้วมือของตนนั้นเป็นการ “สลักหลัง” ในกรณีเช่นนี้ จะเห็นได้ว่า การ “สลักหลัง” ตั๋วเงิน ที่ถูกต้องนั้นจะต้องกระทำโดยการ “ลงลายมือชื่อของผู้สลักหลัง” เป็นสำคัญ ตามตัวอย่างนี้ การที่ นายเขียวพิมพ์ลายนิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อ แม้จะมีนายดำและนายแดงเป็นพยานลงลายมือชื่อ ก็ไม่ถือว่าเป็นการ “สลักหลัง” เนื่องจากป.พ.พ.มาตรา ๙๐๐ วรรคสองไม่รับรองให้วิธีการดังกล่าว เป็นการลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั่นเอง
9
ความสัมพันธ์ระหว่าง “มูลแห่งหนี้”กับ“สัญญาบัญชีเดินสะพัด”และ“ตั๋วเงิน”
หลักทั่วไป มีอยู่ว่า การเกิดหนี้ขึ้นระหว่างบุคคลนั้นต้องอิงกับตัว “มูลแห่งหนี้” เสมอ ซึ่งในเรื่อง “มูลแห่งหนี้” นั้นมีความหมายอย่างเดียวกันกับคำว่า “บ่อเกิดแห่งหนี้” อันได้แก่ ๔ ๑. นิติกรรมสัญญา ๒. ละเมิด ๓. จัดการงานนอกสั่ง ๔. ลาภมิควรได้ ๕. บทบัญญัติของกฎหมาย ประเด็นสำคัญ เนื่องจาก “มูลแห่งหนี้” เป็นตัวทำหน้าที่ให้เกิดอำนาจบังคับชำระหนี้ ตามกฎหมายแก่ผู้เป็น “เจ้าหนี้” ดังที่ ป.พ.พ.มาตรา ๑๙๔ บัญญัติว่า “ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้....” ประกอบกับ ป.พ.พ.มาตรา ๒๑๓ วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า “ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ ก็ได้....” ด้วยเหตุนี้ ผู้ศึกษาวิชานี้จึงควรพิจารณาให้ได้เสียก่อนตั้งแต่เริ่มแรกว่า (ก) “บัญชีเดินสะพัด” เป็น “มูลแห่งหนี้” ได้หรือไม่ และ (ข) “ตั๋วเงิน” เป็น “มูลแห่งหนี้” ได้หรือไม่ โดยแยกพิจารณา สาระสำคัญได้ดังนี้
10
สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นมูลแห่งหนี้ได้
เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับหลักกฎหมายเรื่องหนี้แล้ว จะพบว่า “บัญชีเดินสะพัด” ย่อมเป็น มูลแห่งหนี้อันเป็นเหตุให้เกิดสิทธิเรียกร้องขึ้นระหว่างบุคคลได้โดยจัดอยู่ในประเภท “นิติกรรมสัญญา” ทั้งนี้ ก็จะมี “วัตถุแห่งหนี้” (Subject of Obligation) ที่สำคัญๆ เช่น การส่งมอบทรัพย์สิน อันได้แก่ “เงินส่วนที่ผิดกันอยู่” ที่เกิดขึ้นภายหลังตัดทอนบัญชีหนี้เสร็จและรวมถึงดอกเบี้ยจาก “เงินส่วนที่ผิดกันอยู่” ด้วย เป็นต้น ตัวอย่าง นายดำกับนายแดงตกลงทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกัน เมื่อถึงเวลาตัดทอน บัญชีหนี้ตามที่กำหนดเอาไว้แล้วปรากฏว่าหลังจากตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมด นายดำมีหนี้เงินส่วนที่ ผิดกันอยู่ซึ่งจะต้องชำระให้แก่นายแดง ๑๐,๐๐๐ บาท ดังนี้ นายแดงย่อมอยู่ในฐานะ “เจ้าหนี้” อันมีสิทธิเรียกร้องให้นายดำในฐานะ “ลูกหนี้” ชำระเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ดังกล่าวพร้อมด้วยดอกเบี้ย นับแต่วันที่หักทอนบัญชีหนี้เสร็จเป็นต้นไป
11
ตั๋วเงินเป็นมูลแห่งหนี้ไม่ได้
เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับหลักกฎหมายเรื่องหนี้แล้ว จะพบว่า การที่ตั๋วเงินจะมีสภาพบังคับใช้ ตามกฎหมายได้นั้น ข้อเท็จจริงต้องปรากฏขึ้นเสียก่อนว่า ตั๋วเงินฉบับนั้นได้ออกโดยอาศัย “มูลแห่งหนี้” ตามกฎหมายประกอบอยู่ด้วยเสมอ เช่น การออกตั๋วเงินโดยอาศัยมูลแห่งหนี้อันเกิดจากนิติกรรม สัญญา หรือการออกตั๋วเงินโดยอาศัยมูลแห่งหนี้อันเกิดจากการทำละเมิด เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากว่าลำพัง ตัวตั๋วเงินแต่เพียงอย่างเดียวย่อมไม่อาจเป็นมูลแห่งหนี้ได้ หลักการดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นข้อสำคัญที่สุด ประการหนึ่งในการทำความเข้าใจกฎหมายลักษณะตั๋วเงินเพราะตั๋วเงินที่ออกโดยไม่มีมูลหนี้นั้นย่อมบังคับ ให้ชำระเงินไม่ได้๕ กล่าวคือ ตั๋วเงินมิใช่บ่อเกิดแห่งหนี้ ตั๋วเงินคงเป็นแต่เพียงเครื่องมือยืนยันความมีอยู่ ของมูลแห่งหนี้ตามกฎหมายที่อยู่ในรูปแบบของหนังสือตราสารซึ่งมีกฎหมายรับรอง คุ้มครอง บังคับ ตามสิทธิของบุคคลที่มีส่วนได้เสียเท่านั้น
12
ตั๋วเงินเป็นมูลแห่งหนี้ไม่ได้ (ต่อ)
ตัวอย่าง นายดำซื้อโทรศัพท์มือถือจากนายแดงผู้ประกอบการค้าโทรศัพท์มือถือโดย ปรากฏว่านายดำชำระหนี้ค่าโทรศัพท์มือถือดังกล่าวด้วยการออกเช็คผู้ถือและส่งมอบให้แก่นายแดง วิเคราะห์ (๑) มูลแห่งหนี้ตามตัวอย่างนี้ คือ สัญญาซื้อขายโทรศัพท์มือถือ (๒)การที่นายดำชำระหนี้ค่าโทรศัพท์มือถือดังกล่าวด้วยการออกเช็คผู้ถือและส่งมอบ ให้แก่นายแดงเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ด้วยออกตั๋วเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๒๑ วรรคสาม๖ ซึ่งหนี้จะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อนายแดงนำเช็คผู้ถือดังกล่าวยื่นแก่ธนาคารและ ธนาคารใช้เงินตามเช็คผู้ถือนั้นให้แก่นายแดงแล้ว สรุป สัญญาซื้อขายโทรศัพท์มือถือเป็น “มูลแห่งหนี้” ส่วนเช็คผู้ถือดังกล่าวเป็นเพียง เครื่องมือในการชำระหนี้ของนายดำที่กระทำต่อนายแดงเท่านั้น ข้อสังเกต ในทางปฏิบัติ ถ้าหลังจากนายแดงนำเช็คผู้ถือดังกล่าวยื่นแก่ธนาคารแล้วปรากฏว่า ธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คผู้ถือนั้น เนื่องจากไม่มีเงินในบัญชีพอจะจ่ายตามเช็คผู้ถือ ในกรณีเช่นนี้
13
ตั๋วเงินเป็นมูลแห่งหนี้ไม่ได้ (ต่อ)
(ก) นายแดงอาจร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้นายดำรับผิดในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คผู้ถือซึ่ง ออกโดยมีมูลแห่งหนี้ คือ สัญญาซื้อขายโทรศัพท์มือถือ ทั้งนี้ นายแดงจะต้องเป็นโจทก์และทำ “คำฟ้อง” ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑(๓) เสนอต่อศาลที่นายดำมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือศาลที่มูลคดีเกิด เช่นศาลที่สถานที่ที่เช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน๗ หรือศาลที่ที่ออกเช็ค๘ หรือศาลที่สถานที่ทำสัญญาซื้อขาย โทรศัพท์มือถือดังกล่าวอยู่ในเขตศาล๙ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๔(๑) (ข) นายแดงอาจร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้นายดำรับผิดตามมูลแห่งหนี้ คือ สัญญาซื้อขาย โทรศัพท์มือถือโดยตรง โดยนำเช็คผู้ถือดังกล่าวอ้างอิงเป็นพยานเอกสาร ทั้งนี้ นายแดงจะต้องเป็นโจทก์ และทำ “คำฟ้อง” ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑(๓) เสนอต่อศาลที่นายดำมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือศาลที่มูลคดีเกิด เช่น ศาลที่สถานที่ทำสัญญาซื้อขายโทรศัพท์มือถือดังกล่าวอยู่ในเขตศาล๑๐ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๔(๑) ทั้งนี้ ไม่ว่านายแดงจะใช้วิธีตาม (ก) หรือ (ข) คงแล้วแต่รูปคดีของนายแดงที่เสนอคดีของตน ต่อศาล อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตที่น่าสนใจอยู่ ๒ ประการ คือ
14
ตั๋วเงินเป็นมูลแห่งหนี้ไม่ได้ (ต่อ)
ประการที่ ๑. ในกรณีนายแดงใช้วิธีตาม (ก) อันเป็นการตั้งรูปคดีเรื่อง ตั๋วเงิน จะเห็นว่า การทำ “คำฟ้อง” ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑(๓) เสนอต่อศาล ตัว “คำฟ้อง” ดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๗๒ วรรคสอง ที่บัญญัติว่า “คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของ โจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น” ซึ่งคำฟ้องคดีตั๋วเงินการบรรยาย คำฟ้องจะประกอบด้วยสาระสำคัญหลักๆ เช่น ข้อ ๑. สถานะความเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย ของโจทก์ ข้อ ๒. เหตุการณ์ที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ ข้อ ๓. เหตุการณ์ภายหลังจากที่ ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์มีการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้อย่างไร โจทก์เสียหายอย่างไร ข้อ ๔. จำนวนเงินที่โจทก์ต้องการให้จำเลยชำระหนี้ (พร้อมด้วยดอกเบี้ย) และคำขอท้ายฟ้อง๑๓ เป็นต้น
15
ตั๋วเงินเป็นมูลแห่งหนี้ไม่ได้ (ต่อ)
ประการที่ ๒. เนื่องจากการดำเนินคดีแพ่งนั้นต้องคำนึงถึงบทบัญญัติเรื่องอายุความ สิทธิเรียกร้องด้วยดั่งจะเห็นได้จาก ป.พ.พ.มาตรา ๑๙๓/๙ ที่บัญญัติว่า “สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ” ตามตัวอย่างนี้ จะเห็นว่า ถ้านายแดงใช้สิทธิเรียกร้องในฐานะผู้ทรงเช็คฟ้องนายดำผู้สั่งจ่ายเช็คตาม (ก) นายแดงต้องคำนึงถึงกำหนดอายุความ ๑ ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๑๐๐๒ แต่ถ้านายแดงใช้สิทธิเรียกร้อง ในฐานะผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบตาม (ข) นายแดงต้องคำนึงถึงกำหนดอายุความ ๒ ป ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๑๙๓/๓๔ (๑)
16
ข้อสังเกตเพิ่มเติม : ประเด็นอายุความ
ในการดำเนินคดีแพ่งปัญหาเรื่องสิทธิเรียกร้องขาดอายุความหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่มิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวข้องด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หากคู่ความฝ่ายใดมิอ้างเรื่องอายุความเอาไว้ด้วยเช่น ในกรณีโจทย์ (เจ้าหนี้) มิได้อ้างเรื่องอายุความเอาไว้ในคำฟ้องของตน แม้ศาลที่พิจารณาคดีเรื่องนั้นจะพบว่าคดีโจทย์ขาดอายุความก็ตาม ศาลก็ไม่อาจยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาได้เองเพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 ที่บัญญัติว่า “...ห้ามมิให้พิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง...” หรือในกรณีที่จำเลย(ลูกหนี้) มิได้อ้างเรื่องอายุความไว้ในคำให้การของตน ศาลก็อาจจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้เพราะต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/29 ที่บัญญัติว่า “เมื่อไม่ได้ยกอายุขึ้นเป็นคู่ต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้” ซึ่งจะเห็นว่า ป.พ.พ มาตรา 193/29 ดังกล่าวนี้ มีผลบังคับใช้แก่กรณีลูกหนี้จงใจไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับเจ้าหนี้รวมทั้งกรณีลูกหนี้พลั้งเผลอไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นคู่ต่อสู้เจ้าหนี้ด้วย
17
บทบาทสำคัญของตั๋วเงินที่มีต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพอื่นและลักษณะอื่น
แม้ตั๋วเงินไม่อาจเป็น “มูลแห่งหนี้” ได้ตามกฎหมาย แต่ตั๋วเงินก็เข้าไปมีบทบาทสำคัญต่อ ป.พ.พ. บรรพอื่นและลักษณะอื่นดังนี้ ตั๋วเงินกับ ป.พ.พ.บรรพ 2 หนี้ เมื่อพิจารณาหลักกฎหมายตาม ป.พ.พ.บรรพ 2 หนี้ หมวด 5 ความระงับหนี้ ส่วนที่ 1 การชำระหนี้ตามาตรา 321 วรรคสามและส่วนที่ 5 หนี้เกลื่อนกลืนกันตามมาตรา 353 จะพบว่า ตั๋วเงินเข้าไปมีบทบาทให้หนี้ระงับสิ้นไปดังต่อไปนี้ 4.1.1 ป.พ.พ.บรรพ 2 หมวด 5 ความระงับหนี้ ส่วนที่ 1 การชำระหนี้ หลัก ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคสาม เป็นกรณีที่ลูกหนี้ใช้วิธีชำระด้วยวิธีการ ออกตั๋วเงิน หรือ โอนตั๋วเงิน หรือ สลักหลังตั๋วเงิน (รวมถึงใบประทวนสินค้าด้วย)
18
บทบาทสำคัญของตั๋วเงินที่มีต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพอื่นและลักษณะอื่น
ผลทางกฎหมาย คือหนี้นั้นจะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินหรือใบประทวนสินค้าได้ใช้เงินแล้ว ตัวอย่าง นายดำกู้ยืมเงินจากนายแดงจำนวนหนึ่งเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระนายดำออกตั๋วเงิน คือเช็คผู้ถือ๑ฉบับพร้อมกับกรอกตัวเลขจำนวนหนี้เงินที่ต้องชำระและส่งมอบเช็คผู้ถือนั้นให้แก่ นายแดงดังนี้เมื่อนายแดงนำเช็คผู้ถือฉบับดังกล่าวไปให้ธนาคารตามเช็คจ่ายเงินถ้าปรากฏว่าธนาคาร จ่ายเงินให้แก่นายแดงครบถ้วน ผลทางกฎหมาย คือหนี้กู้ยืมเงินระหว่างนายดำผู้กู้กับนายแดงผู้ให้กู้ ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไปตามป.พ.พ.มาตรา ๓๒๑ วรรคสาม ข้อสังเกต การชำระหนี้ด้วยตั๋วเงินตามป.พ.พ.มาตรา๓๒๑วรรคสามนี้จะเห็นได้ว่า ไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๔๙ ตัวอย่าง นายดำออกตั๋วเงินคือเช็ค๑ฉบับเพื่อชำระค่าแชร์ให้แก่นายแดงแต่ปรากฏว่า เมื่อเช็คถึงกำหนดชำระธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คเนื่องจากเงินในบัญชีไม่พอจ่าย
19
บทบาทสำคัญของตั๋วเงินที่มีต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพอื่นและลักษณะอื่น
ปัญหา คือหนี้ตามสัญญาแชร์ระหว่างนายดำกับนายแดงระงับสิ้นไปแล้วหรือไม่ คำตอบ หนี้ตามสัญญาแชร์ระหว่างนายดำกับนายแดงนั้นยังไม่ระงับสิ้นไปเพราะถือว่า การออกเช็คเพื่อชำระค่าแชร์ดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ โดยเป็นการชำระหนี้ด้วยตั๋วเงินตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๒๑ วรรคสามเท่านั้นมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๔๙ ด้วยเหตุนี้“หนี้เดิม”คือ “หนี้ค่าแชร์” จะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อนายแดง ได้รับใช้เงินตามเช็คนั้นแล้วทั้งนี้ตามที่ป.พ.พ.มาตรา ๓๒๑ วรรคสาม บัญญัติว่า“ท่านว่าหนี้นั้น จะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงิน....ได้ใช้เงินแล้ว” เมื่อข้อเท็จจริงตามตัวอย่างนี้นายแดงยังมิได้รับเงิน ตามเช็คเพราะธนาคารปฏิเสธการใช้เงินเนื่องจากเงินในบัญชีไม่พอจ่ายดังนี้นายแดงย่อมมีสิทธิ เรียกร้องให้นายดำชำระหนี้ค่าแชร์ดังกล่าวได้๑๔ ข้อสังเกต สำหรับ“ใบประทวนสินค้า”จัดเป็นตราสารเปลี่ยนมือชนิดหนึ่งอันมีลักษณะ ทำนองเดียวกันกับตั๋วเงินกล่าวคือผู้ที่จะออกใบประทวนสินค้าได้แก่นายคลังสินค้าโดยจะออกให้แก่ ผู้ฝากสินค้าเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญาเก็บของในคลังสินค้าซึ่ง“ใบประทวนสินค้า” ดังกล่าวนี้อาจนำมาสลักหลังจำนำสินค้าที่ฝากไว้โดยเพียงแต่ส่งมอบตัว“ใบประทวนสินค้า”ให้แก่ ผู้รับจำนำเอาไว้โดยไม่จำต้องส่งมอบสินค้าก็ได้
20
บทบาทสำคัญของตั๋วเงินที่มีต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพอื่นและลักษณะอื่น
ป.พ.พ.บรรพ ๒ หมวด ๕ ความระงับหนี้ ส่วนที่ ๕ หนี้เกลื่อนกลืนกัน หลัก ป.พ.พ.มาตรา ๓๕๓ เป็นกรณีหนี้เกลื่อนกลืนกันโดยมีสาระสำคัญคือ (๑) ถ้าสิทธิและความรับผิดในหนี้รายใด (๒) ตกอยู่แก่บุคคลคนเดียวกัน ผลทางกฎหมาย หนี้รายนั้นเป็นอันระงับสิ้นไป ข้อยกเว้น เว้นแต่ (ก)เมื่อหนี้นั้นตกไปอยู่ในบังคับแห่งสิทธิของบุคคลภายนอก หรือ (ข) เมื่อสลักหลักตั๋วเงินกลับคืนตามความในมาตรา ๙๑๗ วรรค ๓ สำหรับหลักหนี้เกลื่อนกลืนกันนั้นมีอยู่ว่าเมื่อใดก็ตามที่สถานะความเป็น “เจ้าหนี้” และสถานะความเป็น“ลูกหนี้” ตกอยู่ที่บุคคลคนเดียวกันเสียแล้วหนี้เป็นอันระงับสิ้นไป ข้อสำคัญ คือ การเข้าสู่ระบบหนี้เกลื่อนกลืนกันตามป.พ.พ.มาตรา๓๕๓นอกจากจะทำให้หนี้ประธานเป็นระงับสิ้นไป แล้วยังทำให้การประกันทั้งหลายเช่นค้ำประกัน จำนอง จำนำซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมระงับไปด้วย๑๖
21
บทบาทสำคัญของตั๋วเงินที่มีต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพอื่นและลักษณะอื่น
ตัวอย่าง นายดำบุตรของนายเขียวกู้ยืมเงินจากนายเขียวไปจำนวนหนึ่งครั้นเมื่อหนี้ ถึงกำหนดชำระนายเขียวตายเสียก่อนที่จะรับชำระหนี้จากนายดำจะเห็นว่าถ้านายดำเป็นทายาทโดยธรรม ในฐานะผู้สืบสันดานเพียงผู้เดียวของนายเขียวตามป.พ.พ.มาตรา๑๖๒๙(๑)นายดำย่อมเป็นผู้รับมรดก ของนายเขียวแต่เพียงผู้เดียวดังนี้“สิทธิในการรับชำระหนี้ของนายเขียวที่มีต่อนายดำ” ได้ตกอยู่กับ “นายดำผู้มีหน้าที่ในการชำระหนี้ให้แก่นายเขียว” อันเป็นบุคคลคนเดียวกันตามนัยป.พ.พ. มาตรา๓๕๓แล้ว ผลทางกฎหมาย คือหนี้กู้ยืมระหว่างนายดำกับนายเขียวเป็นอันระงับสิ้นไปเพราะ เหตุหนี้เกลื่อนกลืนกัน ตัวอย่าง นายดำบุตรของนายเขียวกู้ยืมเงินจากนายเขียวไปจำนวน๕๐๐,๐๐๐บาทและ ต่อมานายเขียวได้โอนสิทธิเรียกในหนี้ดังกล่าวให้แก่นายขาวบุคคลภายนอกเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ นายเขียวตายดังนี้จะเห็นว่าแม้นายดำจะเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะผู้สืบสันดานเพียงผู้เดียวของ นายเขียวตามป.พ.พ.มาตรา๑๖๒๙(๑)และเป็นผู้รับมรดกของนายเขียวแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่“สิทธิในการรับชำระหนี้ของนายเขียวที่มีต่อนายดำนั้นได้ตกอยู่กับนายขาวบุคคลภายนอก”แล้ว ด้วยเหตุนี้ผลทางกฎหมายคือหนี้กู้ยืมจำนวน๕๐๐,๐๐๐บาทย่อมไม่เป็นอันระงับสิ้นไปเพราะ เหตุหนี้เกลื่อนกลืนกันตามป.พ.พ.มาตรา๓๕๓เพราะเข้าข้อยกเว้นที่ว่า“เมื่อหนี้นั้นตกไปอยู่ในบังคับ แห่งสิทธิของบุคคลภายนอก” ดังนั้นนายขาวบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิจะเรียกให้นายดำชำระหนี้ จำนวน ๕๐๐,๐๐๐บาทแก่นายขาวได้
22
บทบาทสำคัญของตั๋วเงินที่มีต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพอื่นและลักษณะอื่น
ส่วนกฎหมายลักษณะตั๋วเงินตาม ป.พ.พ.มาตรา ๙๑๗ วรรคสามนั้น มี หลักสำคัญ อยู่ว่า ตั๋วเงินจะสลักหลังให้แก่ผู้จ่าย หรือสลักหลังให้แก่ผู้สั่งจ่าย หรือสลักหลังให้แก่คู่สัญญาฝ่ายใดแห่งตั๋วเงิน นั้นก็ได้ ดังนั้น โดยสภาพแล้วจึงกล่าวได้ว่าตั๋วเงินย่อมมีการเปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ จนกระทั่งตั๋วเงิน ฉบับเดียวกันนั้นอาจกลับมาอยู่ในความครอบครองของผู้จ่าย หรือผู้สั่งจ่าย หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ได้ตลอดเวลา นั่นเอง ตัวอย่าง กฎหมายลักษณะตั๋วเงินนั้นมีหลักอยู่ว่า “เช็คระบุชื่อผู้รับเงิน” ถือว่าเป็นตั๋วเงิน ประเภทหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา ๘๙๘ และย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา ๙๑๗ วรรคหนึ่งประกอบมาตรา ๙๘๙ วรรคหนึ่ง ดังนั้น หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า (๑) นายดำออกเช็คระบุชื่อนายแดงเป็นผู้รับเงิน ๑ ฉบับและส่งมอบให้แก่นายแดง จะเห็นว่า ณ ขั้นตอนนี้ กฎหมายลักษณะตั๋วเงินเรียกนายดำว่า “ผู้สั่งจ่าย” และเรียกนายแดงว่า “ผู้ทรง” (๒) ต่อมานายแดงสลักเช็คฉบับดังกล่าวและส่งมอบให้แก่นายขาว จะเห็นว่า ณ ขั้นตอนนี้ กฎหมายลักษณะตั๋วเงินเรียกนายแดงว่า “ผู้สลักหลัง” และเรียกนายขาวว่า “ผู้ทรง” (๓) หากนายขาวสลักเช็คฉบับดังกล่าวต่อไปอีกและส่งมอบให้แก่นายดำ จะเห็นว่า ณ ขั้นตอนนี้ กฎหมายลักษณะตั๋วเงินเรียกนายดำได้ ๒ สถานะ คือ “ผู้สั่งจ่าย” และ “ผู้ทรง”
23
บทบาทสำคัญของตั๋วเงินที่มีต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพอื่นและลักษณะอื่น
ปัญหา ในกรณีของนายดำตามตัวอย่างนี้ จะถือว่าเป็นกรณีหนี้เกลื่อนกลืนกันตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๕๓ หรือไม่ คำตอบ ไม่ถือว่าเป็นกรณีหนี้เกลื่อนกลืนกันตามป.พ.พ.มาตรา ๓๕๓ ทั้งนี้ เนื่องจาก ป.พ.พ.มาตรา ๓๕๓ ตอนท้าย ได้บัญญัติว่า “เว้นแต่...เมื่อสลักหลังตั๋วเงินกลับคืนตามความใน มาตรา ๙๑๗ วรรค ๓” ดังนี้ แม้เช็คที่นายดำเป็น “ผู้สั่งจ่าย” นั้นจะกลับคืนมาหานายดำ โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายดำมี ๒ สถานะ อันได้แก่ สถานะที่ ๑ นายดำเป็น “ผู้สั่งจ่าย” และสถานะ ที่ ๒ คือ นายดำเป็น “ผู้ทรง” ควบคู่อยู่ที่บุคคลคนเดียวกันแล้วก็ตาม หนี้ตามเช็คดังกล่าวก็ยังไม่ระงับ เพราะเหตุหนี้เกลื่อนกลืนกัน ผลทางกฎหมาย คือ นายดำย่อมสลักเช็คฉบับดังกล่าวและส่งมอบให้แก่ ผู้ใดอีกก็ได้ ๑๗ ข้อสังเกต เหตุผลที่ ป.พ.พ.มาตรา ๓๕๓ บัญญัติยกเว้นกรณีของป.พ.พ.มาตรา ๙๑๗ วรรค ๓ เอาไว้ เนื่องจากว่า คณะกรรมการร่างป.พ.พ.มาตรา ๓๕๓ ของไทย มีความเห็นว่า ไม่ควรใช้ หลักกฎหมายเรื่องหนี้เกลื่อนกลืนกันกับการโอนตั๋วเงิน เพราะการโอนตั๋วเงินต่างจากการโอนหนี้ธรรมดา กฎหมายตั๋วเงินเป็นกฎหมายพิเศษและตั๋วเงินเป็นเอกสารซึ่งทรงไว้ซึ่งสิทธิในเอกสารนั้นเอง๑๘
24
ตั๋วเงินกับป.พ.พ.บรรพ ๓ เอกเทศสัญญา ลักษณะ ๙ ยืม หมวด ๒ ยืมใช้สิ้นเปลือง
หลักทั่วไป แม้การกู้ยืมเงินนั้นถ้าปรากฏว่า“ผู้ยืม”(ลูกหนี้)ผิดนัดชำระหนี้“ผู้ให้ยืม”(เจ้าหนี้)ย่อมจะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับ “ผู้ยืม”(ลูกหนี้)ชำระหนี้ตามป.พ.พ.มาตรา๒๑๓วรรคหนึ่งได้ก็ตามแต่การจะใช้สิทธิร้องขอต่อศาลดังกล่าวได้นั้น“ผู้ให้ยืม”(เจ้าหนี้)จำต้องมีพยานเอกสารที่กฎหมาย ต้องการให้นำมาแสดงด้วยซึ่งก็คือ“หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืม”ตามป.พ.พ. มาตรา๖๕๓วรรคหนึ่ง ปัญหา ตั๋วเงินจะเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามป.พ.พ.มาตรา๖๕๓วรรคหนึ่งได้หรือไม่ คำตอบ หากพิจารณาถ้อยคำในตัวบทของป.พ.พ.มาตรา๖๕๓วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า “...ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ..” จะพบว่าตั๋วเงินนั้นย่อมอาจอยู่ในสภาพที่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามนัยของป.พ.พ.มาตรา๖๕๓วรรคหนึ่งดังกล่าวได้ถ้าหากบนตัวตั๋วเงินนั้นมีข้อความอันเข้าองค์ประกอบของการกู้ยืมปรากฏอยู่ด้วย แต่ถ้าไม่มีข้อความอ้างถึงการกู้ยืมปรากฏอยู่เลยเช่นเช็คที่ไม่ปรากฏข้อความว่ากู้หรือยืมในเช็คนั้น๑๙ หรือเช็คที่เพียงแต่ลงลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายโดยไม่ได้กรอกข้อความและจำนวนเงินไว้๒๐ เป็นต้น ในกรณีเช่นนี้ตั๋วเงิน(เช็ค)ดังกล่าวย่อมไม่อาจเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามนัยป.พ.พ.มาตรา๖๕๓ วรรคหนึ่งได้
25
ตั๋วเงินกับป.พ.พ.บรรพ ๓ เอกเทศสัญญา ลักษณะ ๙ ยืม หมวด ๒ ยืมใช้สิ้นเปลือง
ข้อสังเกต นอกจากนี้ตั๋วเงินยังอาจเป็นเอกสารที่ถูกนำมาใช้ประกอบกับเอกสารอื่นแล้ว ส่งผลให้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามป.พ.พ.มาตรา ๖๕๓ ได้ด้วยเช่นนายดำกู้ยืมเงินจากนายแดง โดยนายดำออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวนเท่ากับที่กู้ยืมไปให้ไว้กับนายแดงเมื่อนายแดงนำเช็คไปให้ธนาคาร ใช้เงินปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คเนื่องจากเงินในบัญชีไม่พอจ่ายนายแดงจึงมีจดหมาย บอกกล่าวทวงถามให้นายดำชำระหนี้กู้ยืมแต่นายดำได้เขียนจดหมายถึงนายแดงแสดงข้อความ ขอความเห็นใจมิให้นายแดงนำเช็คไปแจ้งความดำเนินคดีอาญา(ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก การใช้เช็คฯ)และรับรองว่าจะชำระเงินที่นายดำกู้ยืมไปจากนายแดงจนครบดังนี้จะเห็นว่าข้อความ ตามจดหมายและข้อความตามเช็คเมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกันย่อมถือได้ว่าการกู้ยืมเงินรายนี้ มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายดำผู้ยืมเป็นสำคัญตามป.พ.พ.มาตรา ๖๕๓ วรรคหนึ่งแล้ว
26
บทที่ 1 บัญชีเดินสะพัด (CURRENT ACCOUNT) ลักษณะทั่วไปของสัญญาบัญชีเดินสะพัด หลัก คือ “สัญญาบัญชีเดินสะพัด” นั้นถือว่าเป็นสัญญาต่างค่าตอบแทน (ตามนัยของ ป.พ.พ. มาตรา 369) และเป็นสัญญาไม่มีแบบที่กฎหมายบังคับไว้ และเป็นสัญญาที่ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เพียงแต่ต้องมีข้อตกลงให้ตรงกับลักษณะเฉพาะตาม ป.พ.พ.มาตรา856 บัญญัติเอาไว้เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว ข้อสำคัญ เนื่องจากสัญญาบัญขีเดินสะพัดเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ได้โดยข้อตกลง ดังนั้น แม้จะยังไม่มีการทำเอกสารใดๆ ขึ้นมา เช่น ไม่มีหนังสือสัญญาหรือไม่มีบัญชีเจ้าหนี้ ลำพังเพียงแต่มีข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาก็ย่อมเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยสมบูรณ์ได้แล้ว ตัวอย่าง นายดำเป็นโจทย์ ฟ้องนายแดงเป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง ขอให้บังคับจำเลนชำระหนี้กู้ยืมแต่ตามตำฟัองของโจทย์การบรรยายฟ้องเข้าลักษณะของเรื่องสัญญาบัญชีเดินสะพัด ดังนี้ ศาลแพ่งมีอำนาจนำบทกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาบัญชีเดินสะพัดมาปรับกับข้อเท็จจริงแก่คดีได้
27
องค์ประกอบของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
สัญญาใดๆ จะเป็น “สัญญาบัญชีเดินสะพัด” หรือไม่จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 856 เป็นหลัก หากสัญญานั้นเข้าองค์ประกอบของสัญญาบัญชีเดินสะพัดครบถ้วนแล้วย่อมมีผลบังคับใช้เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดได้ สำหรับองค์ประกอบของสัญญาบัญชีเดินสะพัด มีด้วยกัน 5 ข้อดังนี้ องค์ประกอบข้อที่ 1 คือ ต้องเป็นสัญญา องค์ประกอบข้อที่ 2 คือ ระหว่างบุคคล องค์ประกอบข้อที่ 3 คือ สีบแต่นั้นไปในช่วงเวลาอันใดอันหนึ่ง องค์ประกอบข้อที่ 4 คือ ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน องค์ประกอบข้อที่ 5 คือ คงชำระหนี้ส่วนที่เหลือโดยดุลภาค
28
องค์ประกอบของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
องค์ประกอบข้อที่ ๑ คือ ต้องเป็นสัญญา สำหรับองค์ประกอบข้อที่๑นี้เนื่องจากสาระสำคัญของสัญญามีหลักอยู่ว่าสัญญาเป็นนิติกรรม สองฝ่ายหรือนิติกรรมหลายฝ่ายก็ได้ซึ่งจะต้องประกอบด้วย (๑) คู่สัญญา (๒) คำเสนอและคำสนองต้องกัน (๓) ต้องมีข้อตกลงกำหนดผลประโยชน์สุดท้ายที่คู่สัญญาตั้งใจให้เกิด(วัตถุประสงค์แห่งสัญญา) ดังนั้น“สัญญาบัญชีเดินสะพัด”จึงต้องประกอบด้วยเงื่อนไขตาม(๑)(๒)(๓) มาเป็น อันดับแรกก่อนเสมอหากนิติกรรมใดมิใช่“สัญญา”นิติกรรมนั้นย่อมมิอาจเป็น“สัญญาบัญชีเดินสะพัด” ได้ดังคำกล่าวที่ว่า“สัญญาเป็นนิติกรรมเสมอ...แต่นิติกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นสัญญาเสมอไป๔” ตัวอย่าง นายดำทำคำเสนอไปยังธนาคารก.จำกัดเพื่อขอทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแต่ปรากฏว่าธนาคารก.จำกัดมิได้มีคำสนองตอบกลับมายังนายดำแต่อย่างใดเลยทั้งสิ้นในกรณีเช่นนี้จะเห็นว่าแม้“สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี”จะมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดก็ตาม๕แต่การที่ นายดำทำคำเสนอดังกล่าวคงแต่เป็นเพียง “นิติกรรมฝ่ายเดียว ๖”เท่านั้นด้วยเหตุนี้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี(สัญญาบัญชีเดินสะพัด)ระหว่างนายดำกับธนาคารก.จำกัดจึงยังไม่เกิดขึ้น
29
องค์ประกอบของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
องค์ประกอบข้อที่ ๒ คือ ระหว่างบุคคลสองคน องค์ประกอบข้อที่๒นี้จัดเป็นลักษณะเฉพาะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่ควรพึงระวังอย่าสับสน กับสัญญารูปแบบอื่นที่มีการบัญญัติโดยใช้ถ้อยคำว่า “..สองคนขึ้นไป..”โดยเด็ดขาดเช่นสัญญาจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนตามป.พ.พ.มาตรา๑๐๑๒เป็นต้นเนื่องจากเมื่อเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดแล้วในเรื่องคู่สัญญาจะเห็นว่าป.พ.พ.มาตรา๘๕๖ได้กำหนดเอาไว้แล้วว่าให้มีคู่สัญญาเพียง“ระหว่างบุคคลสองคน” เท่านั้นจะมีคู่สัญญามากกว่านี้ไม่ได้ เหตุผลที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากโดยสภาพของสัญญาบัญชีเดินสะพัด ย่อมไม่เปิดช่องให้เกิดการหักกลบลบกันในหนี้อันมีมูลมาจากกิจการที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลหลายๆฝ่าย ได้๗ ข้อสังเกต แต่ถ้าบุคคลที่ว่านี้มีจำนวนหลายคนและโดยสถานะทางกฎหมายแล้วให้ถือ เสมือนว่าเป็น“บุคคลคนเดียว”เช่นลูกหนี้ร่วมกัน(ป.พ.พ.มาตรา๒๙๑)หรือเจ้าหนี้ร่วมกัน (ป.พ.พ.มาตรา๒๙๘)หรือกรณีการรับผิดร่วมกันในกิจการที่เป็นธรรมดาการค้าของห้างหุ้นส่วน เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนได้กระทำการตามอำนาจ (คำว่า“อำนาจ”ในที่นี้ได้แก่๑.อำนาจโดยตรง ๒.อำนาจโดยปริยาย๓.อำนาจโดยเชิด)ในกิจการที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้าง(anactinside theordinarycourseofbusinessofpartnership)ซึ่งการกระทำนั้นย่อมผูกพันผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน และผลของการผูกพันนั้นย่อมทำให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดร่วมกัน๘ ในกรณีเช่นนี้ย่อมอยู่ใน ความหมายของบุคคลตามองค์ประกอบข้อที่๒นี้ได้
30
องค์ประกอบของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
ตัวอย่าง นายดำนายแดงนายขาวตกลงจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญดำแดงขาวเพื่อทำกิจการ ขายเครื่องดนตรีต่อมาห้างหุ้นส่วนสามัญดำแดงขาวได้ยื่นคำเสนอขอทำสัญญากู้เงินเบิกเกินบัญชีกับ ธนาคารก.จำกัด ประเด็น คือหากธนาคารก.จำกัดทำคำสนองกลับไปที่ห้างหุ้นส่วนสามัญดำแดงขาวตกลง ยินยอมเข้าทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีด้วยดังนี้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี(สัญญาบัญชีเดินสะพัด) ระหว่างห้างหุ้นส่วนสามัญดำแดงขาวกับธนาคารก.จำกัดย่อมเกิดขึ้นตามป.พ.พ.มาตรา๘๕๖ได้ ทั้งนี้เนื่องจาก ประการที่ (๑) ตามป.พ.พ.มาตรา ๑๐๓๓ วรรคสองประกอบมาตรา ๑๐๕๐นายดำนายแดง นายขาวย่อมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้ โดยถือเสมือนหนึ่งว่า“นายดำ นายแดง นายขาวเป็นบุคคลคนเดียว”ในนามของ“ห้างหุ้นส่วน สามัญดำแดงขาว” แล้ว ประการที่ (๒) เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญดำแดงขาวและธนาคารก.จำกัดต่างก็เป็น “นิติบุคล” อันมีสิทธิและหน้าที่ตามป.พ.พ.มาตรา๖๗เช่นเดียวกับ“บุคคลธรรมดา”ดังนี้สัญญากู้เบิกเงินเกิน บัญชีดังกล่าว(สัญญาบัญชีเดินสะพัด)จึงถือว่าเป็นข้อตกลงระหว่างบุคคลสองคนอันได้แก่ห้างหุ้นส่วนสามัญดำแดงขาวบุคคลหนึ่งกับธนาคารก.จำกัดอีกบุคคลหนึ่ง
31
องค์ประกอบของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
องค์ประกอบข้อที่ ๓ คือ สืบแต่นั้นไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง องค์ประกอบข้อที่ ๓ นี้ เป็นเงื่อนไขทางเวลาเกี่ยวกับอายุของสัญญาบัญชีเดินสะพัดซึ่งต้อง มีอยู่ในข้อตกของสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วยเสมอ แบ่งออกได้ ๒ กรณี คือ กรณี “สืบแต่นั้นไป” สำหรับกรณี “สืบแต่นั้นไป” จะมีลักษณะเป็น “สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลา” หมายถึง การที่คู่สัญญามีข้อตกลงกันว่าให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดคงมีอยู่เรื่อยไปโดยไม่มีกำหนดเวลา สิ้นสุดสัญญา ข้อสังเกต คือ เมื่อเป็นกรณีสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลาแล้ว จะเห็นว่า คู่สัญญา ย่อมใช้ระบบการคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตลอดเวลาไปจนกว่าจะมีการเลิกสัญญาด้วย กรณี “ในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง” สำหรับกรณี “ในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง” จะมีลักษณะเป็น “สัญญาบัญชีเดินสะพัดมี กำหนด เวลา” ซึ่งหมายถึง การที่คู่สัญญามีข้อตกลงโดยข้อสัญญาว่าให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดคงมีอยู่เพียง ตามกำหนดเวลาที่ระบุเอาไว้ตามข้อสัญญาเท่านั้น ทั้งนี้ เมื่อถึงเวลาที่ตกลงกันไว้แล้วสัญญาเดินสะพัด ย่อมสิ้นสุดลงตามข้อสัญญา ข้อสังเกตคือ เงื่อนไขทางเวลาเกี่ยวกับอายุของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามองค์ประกอบข้อที่ ๓ ทั้ง ๒ กรณีดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์กับประเด็นเรื่องการสิ้นสุดของสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย
32
องค์ประกอบของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
องค์ประกอบข้อที่ ๔ คือ ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน องค์ประกอบข้อที่ ๔ นี้ เป็นคุณลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่สำคัญมาก กล่าวคือ สัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น จะต้องประกอบด้วย (๑) มีการจัดทำบัญชีหนี้ขึ้น และ (๒) มีการตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน ข้อสำคัญ คือ องค์ประกอบข้อ ๔ นี้ เป็นข้อชี้ชัดว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้นต้องมีการ จัดให้มีบัญชีหนี้และต้องมีการตัดทอนบัญชีหนี้ด้วย ซึ่งทั้ง ๒ ประการดังกล่าวนี้ จัดเป็น “วัตถุแห่งหนี้” ของสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันหมายถึงข้อกำหนดหรือความผูกพันที่คู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดจะต้องปฏิบัติ ให้มีขึ้น โดยมีข้อควรพิจารณาดังนี้
33
องค์ประกอบของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
การจัดทำบัญชีหนี้ การจัดทำ “บัญชีหนี้” ตามป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖ อาจจัดทำเป็นเอกสาร เช่น กระดาษหรือ จัดทำเป็นไฟล์ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์และถ่ายเทไฟล์ข้อมูลดังกล่าวให้เป็นเอกสารด้วยวิธีพิมพ์ ผ่านเครื่องพิมพ์ (Printer) หรืออาจจะเป็นลักษณะใดก็ได้ เนื่องจาก “บัญชีหนี้” ไม่ใช่แบบของสัญญา บัญชีเดินสะพัด๑๐ “บัญชีหนี้” ทำหน้าที่แต่เพียงแสดงข้อความ คือ แสดงจำนวนหนี้เงินซึ่งคู่สัญญา ได้ก่อขึ้นต่อกันเพื่อตัดทอนหรือหักทอนหนี้สินระหว่างกันเท่านั้น ทั้งนี้ คู่สัญญาอาจตกลงให้ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้จัดทำหรือช่วยกันจัดทำก็ได้ ตัวอย่าง นายดำกับนายแดงใช้กระดาษ ๑ แผ่นโดยตีเส้นแบ่งครึ่งกึ่งกลางหน้ากระดาษกำหนดให้ ฝั่งซ้ายเป็นช่องบันทึกหนี้เงินที่นายดำก่อขึ้นต่อนายแดงและให้ฝั่งขวาเป็นช่องบันทึกหนี้เงินที่นายแดง ก่อขึ้นต่อนายดำ จะเห็นว่า กระดาษ ๑ แผ่นดังกล่าวถือว่าเป็น “บัญชีหนี้” ตามป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖ ได้ ตัวอย่าง นายดำเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน (Current Deposit) กับธนาคาร ก. จำกัด พร้อมกับทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคาร ก.จำกัดด้วย จะเห็นว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี คือ สัญญาบัญชีเดินสะพัด๑๑ โดยมีบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวทำหน้าที่เป็น “บัญชีหนี้” ระหว่างนายดำกับธนาคาร ก. จำกัด
34
องค์ประกอบของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
การลงรายการในบัญชีหนี้ การลงรายการในบัญชีหนี้หรือการลงรายการในบัญชีเดินสะพัดนั้น โดยทั่วไปแล้วต้องเป็นหนี้เงิน อาจเป็นหนี้เงินทั้งหมดหรือหนี้เงินบางส่วน เช่น หนี้ค่าสิ่งของวัสดุ หนี้ค่าแรงที่คำนวณเป็นราคาเงิน หนี้ค่าสินค้าต่างๆ อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างคู่สัญญาบัญชีเดินสะพัด นอกจากนี้ ตามป.พ.พ. มาตรา ๘๕๗ ยังได้กำหนดให้คู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น อาจนำตั๋วเงินลงเป็นรายการในบัญชีเดินสะพัด ได้ด้วย โดยป.พ.พ.มาตรา ๘๕๗ ให้ สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเมื่อนำตั๋วเงินลงเป็นรายการในบัญชี เดินสะพัดนั้นแล้วถือว่าได้ลงด้วยเงื่อนไขว่าจะมีผู้ชำระเงินตามตั๋วนั้น ถ้าและตั๋วนั้นมิได้ชำระเงิน คู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเพิกถอนรายการอันนั้นเสียก็ได้ ตัวอย่าง นายดำเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคาร ทั้งนี้ นายดำยังได้นำเช็คของนายขาวมาขายลดให้ธนาคารด้วย โดยนายดำนำเช็คของนายขาวมา เข้าบัญชีเดินสะพัดของนายดำเพื่อเรียกเก็บเงิน แล้วนายดำออกเช็คให้ธนาคารจ่ายเงินตามจำนวนเงิน ที่ระบุในเช็คของนายขาวจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าว (บัญชีเดินสะพัด) ของนายดำ และธนาคารยอมจ่ายเงินไปแล้ว ต่อมาเมื่อปรากฏว่าธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็คที่นายดำนำมาขาย ลดไม่ได้ ธนาคารย่อมมีสิทธิที่จะเพิกถอนการลงรายการของเช็คดังกล่าวเสียได้ตามป.พ.พ.มาตรา ๘๕๗ และนำจำนวนเงินนั้นมาลงรายการว่า นายดำเป็นลูกหนี้ธนาคารได้๑๓
35
องค์ประกอบของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
การตัดทอนบัญชีหนี้ สำหรับ “การตัดทอนบัญชีหนี้” แบ่งออกได้เป็น ๒ ส่วน โดยต้องพิจารณาประกอบกัน ดังนี้ ส่วนที่ ๑ วิธีการตัดทอนบัญชีหนี้ สำหรับวิธีการตัดทอนบัญชีหนี้ ได้แก่ “การหักกลบลบกัน” สาระสำคัญของสัญญาบัญชี เดินสะพัดประการหนึ่ง คือ จะมีการตัดทอนบัญชีหนี้กันเป็นคราวๆ ไปเสมอ เช่น คู่สัญญาตกลงกันว่า ทุกสิ้นเดือนให้มีการตัดทอนบัญชีหนี้กันครั้งหนึ่ง เป็นต้น ส่วนจำนวนหนี้ที่จะทำการตัดทอนหรือ หักกลบลบกันนั้น คู่สัญญาจะตกลงให้มีการตัดทอนหรือหักกลบลบกันทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ข้อสังเกต แม้ถ้อยคำในตัวบทตามป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖ จะใช้คำว่า “ตัดทอนบัญชี” ส่วนถ้อยคำในตัวบทตามป.พ.พ.มาตรา ๘๖๐ จะใช้คำว่า “หักทอนบัญชี” ก็ตาม แต่ความหมายนั้น ย่อมไม่แตกต่างกัน
36
องค์ประกอบของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
ส่วนที่ ๒ กำหนดเวลาหักทอนบัญชี สำหรับกำหนดเวลาหักทอนบัญชีตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด ปกติคู่สัญญาจะต้องมีการกำหนด เวลาหักทอนกันไว้ เช่น ให้มีการหักทอนบัญชีทุกสิ้นเดือน, ทุก ๒ เดือน, ทุก ๓ เดือน เป็นต้น ทั้งนี้ แล้วแต่ข้อตกลงของคู่สัญญา แต่ถ้าคู่สัญญามิได้กำหนดกันไว้ว่าให้หักทอนบัญชีโดยระยะเวลา อย่างไร จะเห็นว่า ตามป.พ.พ.มาตรา ๘๕๘ ให้ถือเอาเป็นกำหนด ๖ เดือน เป็นระยะเวลาให้หักทอนบัญชี ข้อสำคัญ คือ ระยะเวลาหักทอนบัญชีดังกล่าวนี้ มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาบัญชีเดินสะพัด แต่ถ้าคู่สัญญาจะตกลงให้วันที่หักทอนบัญชีเสร็จคราวใดเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญาบัญชี เดินสะพัดนั้นคู่สัญญาก็ย่อมตกลงได้ ตัวอย่าง นายดำคนงานก่อสร้างตกลงกับนายแดงพ่อค้าร้านขายของชำว่าให้นายแดงจัดทำ บัญชีหนี้สำหรับจดบันทึกรายการสินค้าที่นายดำเชื่อ๑๔ จากนายแดงเอาไว้เมื่อนายดำนำสินค้าจากร้าน ของนายแดงไปเมื่อใดก็ให้นายแดงลงบัญชีหนี้ดังกล่าวพอถึงสิ้นเดือนนายดำจะนำเงินมาชำระค่าสินค้า ให้แก่นายแดงทั้งหมดบ้างหรือบางส่วนบ้างทุกวันที่๒๕ของเดือนอันเป็นวันที่นายดำจะได้รับค่าแรง จากนายจ้างทุกเดือน
37
องค์ประกอบของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
ปัญหา ข้อตกลงระหว่างนายดำกับนายแดงเพียงเท่านี้เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดแล้วหรือไม่ คำตอบ ไม่เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา๘๕๖แม้นายดำกับนายแดงจะตกลง ให้มีการทำบัญชีหนี้เอาไว้แต่นายดำกับนายแดงก็มิได้ตกลงให้มีการตัดทอนบัญชีหนี้ระหว่างกันกล่าวคือ นายดำกับนายแดงมิได้มีการกำหนดให้นำหนี้มาหักกลบลบกันเป็นคราวๆไปข้อตกลงระหว่างนายดำกับนายแดงตามตัวอย่างนี้คงเป็นเพียงเรื่องข้อตกลงในการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายสินค้าเท่านั้น ข้อสังเกต กำหนดอายุความสิทธิเรียกร้องการซื้อหรือขายแบบเชื่อดังกล่าวนั้นมีกำหนด ๑๐ปีตามป.พ.พ.มาตรา๑๙๓/๓๐
38
องค์ประกอบของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
องค์ประกอบข้อที่ ๕ คือ คงชำระหนี้ส่วนที่เหลือโดยดุลภาค องค์ประกอบข้อที่๕นี้เป็น “วัตถุแห่งหนี้” ของสัญญาบัญชีเดินสะพัดเช่นเดียวกัน๑๖เนื่องจาก เป็นข้อปฏิบัติที่คู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดพึงต้องกระทำด้วยคำว่า“โดยดุลภาค”แปลว่าโดยภาวะที่เสมอกัน ดังนั้นถ้อยคำในตัวบทป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖ที่บัญญัติว่า“คงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ โดยดุลภาค”จึงหมายถึงภายหลังจากการตัดทอนบัญชีหนี้เมื่อทราบว่าเหลือจำนวนหนี้อยู่เพียงใด และฝ่ายใดอยู่ในฐานะเจ้าหนี้แล้วฝ่ายที่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ฝ่ายที่อยู่ในฐานะลูกหนี้ปฏิบัติการชำระหนี้ได้เป็นคราวๆไปโดยภาวะที่เสมอกัน ตัวอย่าง นายดำกับนายแดงเป็นคู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดกันภายหลังการตัดทอนบัญชีหนี้แล้ว ปรากฏว่านายดำคงเป็นหนี้ต่อนายแดงอยู่จำนวน๕๐๐บาทเช่นนี้นายแดงย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ นายดำชำระหนี้แก่นายแดงในจำนวนดังกล่าวได้ ในทางกลับกัน ภายหลังการตัดทอนบัญชีหนี้แล้ว หากปรากฏว่านายแดงคงเป็นหนี้ต่อนายดำอยู่จำนวน๕๐๐บาทนายดำก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ นายแดงชำระหนี้แก่นายดำในจำนวนดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน
39
องค์ประกอบของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
ตัวอย่าง นายดำเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคาร ก.จำกัด ซึ่งมีนายขาวเป็นผู้จัดการธนาคาร ทั้งนี้ เพื่อให้นายขาวนำเงินค่างวดในการจ้างเหมาก่อสร้างบ้านของนายขาวชำระหนี้แก่นายดำโดยนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันให้และนายดำจะใช้เช็คเบิกถอนค่าจ้าง ดังนี้ หากนายขาวไม่นำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ นายดำย่อมจะใช้เช็คถอนเงินไม่ได้ธนาคารไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้นายดำแทนนายขาว การที่นายขาวยอมอนุมัติจ่ายเงินตามเช็คให้นายดำโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ในฐานะผู้จัดการธนาคารโดยไม่ชอบ แม้นายดำรับเงินไปจากธนาคารโดยสำคัญผิดว่าเป็นเงินค่าจ้างของนายดำที่นายดำมีสิทธิรับก็ตาม กรณีต้องถือว่านายดำไม่มีเจตนาที่จะผูกนิติสัมพันธ์ทำนิติกรรมเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคาร๒๒ ด้วยเหตุนี้สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖ จึงไม่เกิดขึ้น
40
องค์ประกอบของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
ตัวอย่าง การเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันพร้อมกับทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในส่วนของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี(สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี) ย่อมเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖๒๓ แต่การเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันพร้อมกับทำสัญญาให้บริการสินเชื่อซึ่งตามข้อตกลงของสัญญาให้บริการสินเชื่อดังกล่าวผู้กู้ไม่มีโอกาสเป็นเจ้าหนี้ธนาคารตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอันจะเป็นเหตุให้ต้องหักทอนบัญชีกัน๒๔ หรือลำพังเพียงแต่เงื่อนไขของธนาคารที่ว่า“ถ้าธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของลูกค้าไป ลูกค้ายอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีนั้นให้ธนาคารพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามกฎหมายนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินเป็นต้นไป” ๒๕ หรือเพียงแต่ทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอย่างเดียวเท่านั้น๒๖หรือการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันโดยไม่มีข้อตกลงให้มีการตัดทอนบัญชีหนี้สินระหว่างกัน๒๗ย่อมไม่ใช่การทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖
41
องค์ประกอบของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
ข้อสังเกต หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็น “หนี้ในอนาคต” ที่มีการค้ำประกันได้ด้วย๒๘ ตัวอย่าง นายดำเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและขอสมัครเป็นผู้ถือบัตรเครดิตของธนาคารโดยมีเงื่อนไขการชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตว่า “เมื่อธนาคารจ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของนายดำแล้ว นายดำจะต้องใช้เงินที่ธนาคารจ่ายแทนไปดังกล่าวโดยวิธีการให้ธนาคารหักโอนชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันบัตรเครดิต” ดังนี้การที่นายดำเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้ก็เพียงเพื่อให้ธนาคารหักเงินที่ธนาคารจ่ายแทนนายดำไปจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวเท่านั้น ๒๙ ตามพฤติการณ์มิใช่เรื่องหักทอนหนี้สินระหว่างกันอย่างบัญชีเดินสะพัดเพราะนายดำมีแต่เป็นลูกหนี้ธนาคารฝ่ายเดียวไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ด้วยรวมทั้งไม่มีหน้าที่ต้องนำฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการและมิได้มีข้อสัญญาให้นายดำถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็ค หนี้ที่นายดำค้างชำระตามบัญชีดังกล่าวจึงไม่เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖๓๐ ตัวอย่าง สัญญาทดรองจ่ายอันมีข้อตกลงให้หักทอนบัญชีหรือหักกลบลบหนี้เพื่อชำระหนี้ได้ทุกครั้งย่อมเข้าลักษณะของสัญญาบัญชีเกินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖
42
วิธีคิดดอกเบี้ยของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
บทที่ 2 วิธีคิดดอกเบี้ยของสัญญาบัญชีเดินสะพัด สำหรับดอกเบี้ยนั้น โดยหลักย่อมถือว่าเป็น “ดอกผลนิตินัย” ชนิดหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 148 วรรคสาม ส่วนวิธีคิดดอเบี้ยบัญชีเดินสะพัดนั้น จะเห็นว่า มีหลักกฎหมายที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบกันอยู่ 2 มาตราคือ ป.พ.พ.มาตรา 655 และมาตรา 860 โดยสามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้ วิธีคิดดอกเบี้นกู้ยืมเงินตาม ป.พ.พ.มาตรา 655 วรรคหนึ่ง หลัก คือห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ข้อยกเว้น คือ (๑) เมื่อดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าครึ่งปี (๒)คู่สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับเงินต้นแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันได้นั้น (๓) การตกลงตาม (๒)ต้องทำเป็นหนังสือ
43
วิธีคิดดอกเบี้ยกู้ยืมเงินตาม ป.พ.พ.มาตรา 655 วรรคหนึ่ง
ในทางกฎหมายดอกเบี้ยเงินกู้นั้นมีลักษณะเป็นค่าตอบแทน ในการที่ผู้กู้เงินจากผู้กู้ไปใช้ประโยชน์เมื่อผู้กู้ได้รับเงินกู้ไปวันใดก็ต้องคิดดอกเบี้ยนับแต่วันนั้น ซึ่งการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ จะเห็นว่า ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง กฎหมายอนุญาตให้มีการคิดดอกเบี้ยทบต้น (Compound interest) อันเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ แต่มีเงื่อนไขทางเวลาที่สำคัญ คือ การเอาดอกเบี้ยมาทบต้นตั้งแต่เริ่มแรกนั้นจะกระทำไม่ได้ ดอกเบี้ยที่นำมาทบต้นได้จะต้องเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี เสียก่อน ดังนั้น หากคู่สัญญาฝ่าฝืนทำข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อเข้าทำสัญญากู้ยืมกันทันที เช่นนี้ ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยทบต้นดังกว่าวย่อมตกเป็นโมฆะ
44
วิธีคิดดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคสองประกอบมาตรา ๘๖๐
มาตรา ๖๕๕ วรรคสอง (สัญญาบัญชีเดินสะพัดคิดดอกเบี้ยทบต้นได้โดยทันที) หลัก ถ้าเป็นประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกทบต้นในบัญชีเดินสะพัด ผลทางกฎหมาย หาอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติซึ่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้นไม่ เมื่อพิจารณาหลักของ ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคสอง จะพบว่า ถ้าข้อตกลงหรือสัญญาใดๆก็ตามเข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖ แล้ว ผลในทางกฎหมาย คือสามารถนำระบบวิธีการคิดดอกเบี้ยทบต้นมาใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาได้ทันทีเพราะเป็นประเพณีการค้า๖โดยไม่ต้องรอให้ดอกเบี้ยที่นำมาทบต้นนั้นกลายเป็นเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาแล้วไม่น้อยกว่า๑ ปีเสียก่อน ตัวอย่าง นายดำขอสินเชื่อจากธนาคารแห่งหนึ่งโดยใช้วิธีการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันพร้อมกับทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคาร (O/D : Overdraft Account) ปัญหาแรก ธนาคารสามารถนำระบบคิดดอกเบี้ยทบต้นมาใช้กับนายดำคู่สัญญาได้หรือไม่ คำตอบ คือ ได้เพราะการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันพร้อมกับทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารของนายดำนั้น เมื่อเข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖๗ ย่อมเป็นประเพณีการค้าขายอย่างหนึ่งที่คำนวณดอกทบต้นได้ตามป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคสอง
45
วิธีคิดดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคสองประกอบมาตรา ๘๖๐
ปัญหาต่อมา ธนาคารมีวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นกับนายดำอย่างไร คำตอบ สามารถแยกอธิบายออกเป็น ๓ ขั้นตอนสำคัญ ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ เกี่ยวกับบัญชีเงินฝาก โดยทั่วไปบัญชีเงินฝากนั้นอาจแบ่งออกได้๓ ประเภท๘ ดังนี้ ประเภทที่ ๑. เรียกว่า “บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน” บัญชีเงินฝากประเภทนี้ธนาคารจะไม่มีสมุดฝากเงินหรือสมุดคู่ฝากเงินให้แก่ลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) คงมีแต่เพียงบัญชีเลขที่ (Account No.)พร้อมด้วยสมุดเช็คให้กับลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) เพื่อใช้สำหรับถอนเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเท่านั้น ที่สำคัญ คือ สำหรับบัญชีเงินฝากกระแสรายวันนั้น จะเห็นว่า ธนาคารไม่มีดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) เนื่องจากบัญชีประเภทนี้มีไว้เพื่อประโยชน์หมุนเวียนทางการเงินในธุรกิจของลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) เป็นสำคัญเท่านั้น
46
วิธีคิดดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคสองประกอบมาตรา ๘๖๐
ประเภทที่ ๒. เรียกว่า “บัญชีเงินฝากออมทรัพย์”๙ บัญชีเงินฝากประเภทนี้ธนาคารจะมีสมุดฝากเงินหรือสมุดคู่ฝากเงินให้แก่ลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) และไม่มีข้อกำหนดทางเวลาในการถอนเงินออกมาจากบัญชีดังกล่าวลูกค้า (ผู้ฝากเงิน)จะถอนเงินฝากของตนเมื่อใดก็ได้ทั้งนี้การเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นธนาคารจะมีดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) ด้วย แต่ดอกเบี้ยอาจไม่สูงเท่ากับกรณีการเปิดบัญชีเงินฝากประจำ ประเภทที่ ๓. เรียกว่า “บัญชีเงินฝากประจำ” บัญชีเงินฝากประเภทนี้ธนาคารจะมีสมุดฝากเงินหรือสมุดคู่ฝากเงินให้แก่ลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) แต่มีข้อกำหนดทางเวลาในการถอนเงินออกมาจากบัญชีดังกล่าว กล่าวคือ ลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) จะถอนเงินฝากของตนได้ก็ต่อเมื่อครบกำหนดเวลาตามที่ได้ตกลงกับธนาคารแล้วเท่านั้น เช่น ๔ เดือน, ๖ เดือน, ๑๒ เดือน เป็นต้น ทั้งนี้การเปิดบัญชีเงินฝากประจำนั้นธนาคารจะมีดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) สูงกว่ากรณีการเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
47
วิธีคิดดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคสองประกอบมาตรา ๘๖๐
ขั้นตอนที่ ๒ เหตุผลที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด มีดังนี้ ประการที่ ๑. การเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารนั้น ในทางปฏิบัติบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ธนาคารจะไม่มีสมุดฝากเงินหรือสมุดคู่ฝากเงินให้แก่ลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) เหมือนดั่งบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากประจำแต่ธนาคารจะมีบัญชีเลขที่ (Account No.)ของบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวให้แก่ลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) พร้อมด้วยสมุดเช็คให้ลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) เพื่อให้ลูกค้า(ผู้ฝากเงิน) นำเงินออกจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ด้วยวิธีการการออก “ตั๋วเงิน” คือ “เช็ค” เพื่อใช้เรียกเก็บเงินจากธนาคารหรือบางธนาคารอาจให้ลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) สามารถนำเงินออกจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์เช่น บัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต หรือบัตรเครดิตต่างๆ ที่ผูกบัญชีไว้กับบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวได้เป็นต้น
48
วิธีคิดดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคสองประกอบมาตรา ๘๖๐
ประการที่ ๒. ในส่วนของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเองนั้นก็จะมีข้อตกลงที่กำหนดให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อ คือ เงินกู้ให้แก่ลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) โดยธนาคารอาจกำหนดวงเงินสินเชื่อ (วงเงินกู้)จำนวนหนึ่งให้แก่ลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) พร้อมกับกำหนดอัตราการคิดดอกเบี้ยเอาไว้สำหรับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวก็จะมีอยู่หลายระดับ ทั้งนี้แล้วแต่นโยบายของแต่ละธนาคารซึ่งจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ไม่เท่ากัน เช่น ดอกเบี้ย MRR + ๑.๐ % ต่อปี, ดอกเบี้ย MRR + ๒.๐ % ต่อปี๑๐ อีกทั้งต้องมีข้อตกลงที่ให้มีการตัดทอนบัญชีหนี้ระหว่างกันด้วย โดยธนาคารกับลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) อาจกำหนดเวลาตัดทอนบัญชีหนี้กันทุกสิ้นเดือนหรือทุก ๑ เดือนหรือ ทุก ๒ เดือนหรือทุก ๖ เดือน ในทางปฏิบัติธนาคารอาจกำหนดให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นมีกำหนดเวลาสิ้นสุดเอาไว้ด้วยและเมื่อลูกค้า (ผู้ฝากเงิน)มีความประสงค์จะขอสินเชื่อจากธนาคารโดยใช้วิธีการขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารครั้งใหม่ ธนาคารก็จะพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประวัติทางการเงินและความเหมาะสมสำหรับลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) แต่ละราย ส่วน “บัญชีหนี้” จะอยู่ในรูปแบบของเอกสารอันมีลักษณะเป็นบันทึกรายการเดินบัญชีเงินฝากกระแสรายวันระหว่างลูกค้า(ผู้ฝากเงิน) กับธนาคารที่เรียกกันว่า “Statement” เพื่อใช้สำหรับแสดงการหักทอนบัญชีตามเวลาที่กำหนดกันไว้
49
วิธีคิดดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคสองประกอบมาตรา ๘๖๐
ประการที่ ๓. ในทางปฏิบัติเมื่อลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) นำเงินออกจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) ไป ณ วันใด ณ วันนั้นลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) จะถูกธนาคารคิดดอกเบี้ยทันทีและคิดทุกวันจากยอดเงินที่ลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) นำออกไปจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน กล่าวคือ ดอกเบี้ยรายวันดังกล่าวจะอยู่ในรูปแบบของดอกเบี้ยสะสมและลูกค้า(ผู้ฝากเงิน)จะนำเงินออกจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกี่ครั้งก็ได้ภายในวงเงินสินเชื่อ (วงเงินกู้) ที่ธนาคารอนุมัติให้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
50
วิธีคิดดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคสองประกอบมาตรา ๘๖๐
สำหรับความ “สะพัด” ของการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) พร้อมกับทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจะอยู่ตรงที่ เมื่อลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) ออกเช็คเบิกจ่ายเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันแล้ว ด้วยข้อตกลงตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารจะต้องนำเงินของธนาคารเองเข้าไปใส่ไว้ในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) เพื่อให้ลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) ใช้เป็นเงินที่ออกใช้ตามเช็คของลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) และเมื่อถึงกำหนดเวลาตัดทอนบัญชีสำหรับเงินส่วนที่ผิดกันอยู่ ลูกค้า(ผู้ฝากเงิน) ก็จะนำเงินส่วนที่ผิดกันอยู่ดังกล่าวเข้าฝากในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเป็นการชำระหนี้ให้แก่ธนาคารโดยลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) อาจจะชำระแต่เพียงค่าดอกเบี้ยหรืออาจจะชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ทั้งนี้เพื่อให้วงเงินสินเชื่อมีจำนวนเท่าเดิมหรือใกล้เคียงกับจำนวนเดิมที่ธนาคารอนุมัติไว้เพื่อประโยชน์สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนของตัวลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) เอง ด้วยระบบกลไกการใช้บัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) เปิดไว้พร้อมกับการทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวจึงมีลักษณะเคลื่อนไหวเรื่อยไปและตราบใดที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังไม่สิ้นสุดลูกค้า (ผู้ฝากเงิน) ย่อมสามารถเบิกเงินในวงเงินสินเชื่อ (วงเงินกู้) ที่ตกลงไว้กับธนาคารได้เสมอ๑๑ ดังนั้นการเปิดบัญชีกระแสรายวันพร้อมกับทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารจึงเข้าลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖
51
วิธีคิดดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคสองประกอบมาตรา ๘๖๐
ขั้นตอนที่ ๓ ลักษณะการคำนวณดอกเบี้ยทบต้น เป็นดังต่อไปนี้ ตามตัวอย่างข้างต้น ถ้าข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า นายดำขอสินเชื่อจากธนาคารแห่งหนึ่งโดยใช้วิธีการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันพร้อมกับทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคาร (O/D : OverdraftAccount) โดยธนาคารให้วงเงินสินเชื่อ (วงเงินกู้) จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท กำหนดวันหักทอนบัญชีคือทุกสิ้นเดือน ส่วนการคิดดอกเบี้ยตกลงกันในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปีระบบการคำนวณดอกเบี้ยทบต้นจะมีลักษณะดังนี้ นายดำมีวงเงินสินเชื่อ (เงินกู้) คือ จำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท วันที่๑ กุมภาพันธ์๒๕๕๘ นายดำนำเงินออกจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาทด้วยเช็ค ผล คือ นายดำต้องเสียดอกเบี้ย (ในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี) คิดเป็นเงินค่าดอกเบี้ย๑๒ เท่ากัวันละ ๒๐.๕๕ บาท เมื่อถึงวันหักทอนบัญชี คือ วันสิ้นเดือน นายดำจึงต้องชำระเงินอยู่ ๒ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ คือ ต้นเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่ ๒ คือ ดอกเบี้ยรายวันที่เกิดขึ้นและสมมาตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ กล่าวคือนับแต่วันที่นายดำนำเงินออกจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันด้วยเช็คจนถึงวันสิ้นเดือนอันตรงกับวันหักทอนบัญชีคือ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์๒๕๕๘ รวมเป็นเงิน ๕๗๕.๔ บาท ๑๓
52
วิธีคิดดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคสองประกอบมาตรา ๘๖๐
ผลทางกฎหมาย คือ หากวันที่หักทอนบัญชีนั้น ปรากฏว่ามีเงินส่วนที่ผิดกันอยู่เท่ากับหนี้เงินจำนวน ๕๐,๐๕๗๕.๔ บาท ถ้านายดำมิได้ชำระหนี้ เช่นนี้ธนาคารย่อมนำเอาดอกเบี้ยจำนวน ๕๗๕.๔ บาท ทบเข้ากับต้นเงินจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงินจำนวน ๕๐,๐๕๗๕.๔ บาทแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันอันมีลักษณะเป็นดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย๑๔ กล่าวคือ ธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากเงินจำนวน ๕๐,๐๕๗๕.๔ บาท อันเป็นต้นเงินใหม่ก็ได้ ทั้งนี้ตามที่ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคสองบัญญัติไว้และครั้นเมื่อถึงวันที่หักทอนบัญชีรอบต่อไป เงินส่วนที่ผิดกันอยู่ก็จะมากขึ้น ถ้านายดำมิได้ชำระหนี้อีกระบบการคิดดอกเบี้ยทบต้นก็จะดำเนินในลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆซึ่งทำให้ต้นเงินที่นายดำจะต้องชำระแก่ธนาคารมีเพิ่มขึ้นและทำให้จำนวนดอกเบี้ยรายวันมีจำนวนมากขึ้นตามลำดับไปด้วย ดังคำกล่าวที่ว่า “ดอกเบี้ยกินเงินต้น” ซึ่งหมายถึง การที่ดอกเบี้ยทบต้นซ้ำกันหลายๆ รอบจนทำให้เงินส่วนที่ผิดกันอยู่สูงขึ้นและทำให้วงเงินสินเชื่อลดเหลือจำนวนน้อยลง นั่นเอง
53
เงื่อนไขแห่งการสิ้นสุดของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
บทที่ 3 เงื่อนไขแห่งการสิ้นสุดของสัญญาบัญชีเดินสะพัด กรณีสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลา ลักษณะของ “สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลา” กล่าวคือ เป็นกรณีที่คู่สัญญามีข้อตกลงกันว่าให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดคงมีอยู่เรื่อยไปโดยไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดสัญญา (ในตัวบท ป.พ.พ.มาตรา856 ใช้คำว่า “ตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไป”) สำหรับเงื่อนไขแห่งการสิ้นสุดของสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มกำหนดเวลานั้นจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ป.พ.พมาตรา 859 บัญญัติไว้ดังนี้ หลัก คือ (๑) คู่สัญญาฝ่ายใด (๒) จะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใดๆก็ได้ (๓) ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้ ด้วยหลักของป.พ.พ.มาตรา 859 ดังกล่าว จะเห็นว่า ในกรณีที่เป็น “สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลา” คู่สัญญาจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดในเวลาใดก็ได้ ผลทางกฎหมาย ของการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ทำให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด ที่สำคัญ คือการบอกเลิกสัญญาฝ่ายบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 859 นี้ เป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องให้อีกฝ่ายยินยอมด้วย ซึ่งย่อมทำได้ด้วยการแสดงเจนาแก่อีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 386 วรรคหนึ่ง
54
กรณีสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลา
ตัวอย่าง การที่คู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดฝ่ายหนึ่งบอกกล่าวทวงถามให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้นั้น ย่อมถือว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดแล้ว ข้อสังเกต การบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่จำเป็นต้องบอกเลิกให้ตรงกับระยะเวลาหักทอนบัญชีตามมาตรา ป.พ.พ. 858 และเมื่อเป็รกรณีสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลาแล้ว คู่สัญญาย่อมใช้ระบบการคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตลอดเวลาไปจนกว่าจะมีการเลิกสัญญา
55
กรณีสัญญาบัญชีเดินสะพัดมีกำหนดเวลา
ลักษณะของ “สัญญาบัญชีเดินสะพัดมีกำหนดเวลา” เป็นกรณีที่คู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดมีข้อตกลงโดยข้อสัญญาว่าให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดคงมีอยู่เพียงตามกำหนดเวลาที่ระบุเอาไว้ตามข้อสัญญาเท่านั้น (ในตัวบทป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖ ใช้คำว่า “ตกลงกันว่า.....ในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง”) สำหรับเงื่อนไขแห่งการสิ้นสุดของสัญญาบัญชีเดินสะพัดมีกำหนดเวลา จะเห็นว่าเมื่อถึงเวลาที่ตกลงกันไว้แล้วสัญญาเดินสะพัดย่อมสิ้นสุดลงตามข้อสัญญาตัวอย่าง เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่นายดำทำไว้กับธนาคารได้สิ้นสุดลงแล้วตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญา เมื่อไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าธนาคารได้ยอมให้นายดำเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ทั้งไม่ปรากฏรายการการนำเงินเข้าเพื่อหักทอนหนี้ของยอดเงินที่ยังค้างชำระของฝ่ายนายดำ พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญา ธนาคารจึงไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยอาศัยข้อตกลงตามสัญญาพิพาทได้อีกต่อไป๔ข้อสังเกต แม้ว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้นจะได้สิ้นสุดลงแล้วตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญา แต่ถ้าคู่สัญญาจะมีการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันออกไปอีก เช่นนี้คู่สัญญาดังกล่าวก็ย่อมทำได้หรืออาจมีพฤติการณ์เป็นการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยปริยายก็ได้๖
56
กรณีคู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย
ในการเข้าทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดถือหลักว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดต้องอาศัยความไว้วางใจโดยเพ่งเล็งถึงคุณสมบัติเฉพาะตัวระหว่างคู่สัญญาเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้ หากคู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย ผลทางกฎหมาย คือ สัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมระงับไป ตัวอย่าง กิจการในสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ เมื่อลูกหนี้ตาย สัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมต้องระงับสิ้นสุดลงหลังจากลูกหนี้ตายแล้ว เจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปหาได้ไม่ ถึงแม้ต่อมาผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ผู้ตายได้ทำหนังสือรับต่อธนาคารเจ้าหนี้ว่า ลูกหนี้เป็นหนี้ธนาคารจริง ยอมให้คิดดอกเบี้ยกันตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเดิมของลูกหนี้ก็ตาม ก็หามีผลทำให้ธนาคารเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ไม่ เพราะขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๖๕๕ วรรคสอง ๗30 คำอธิบายหลักกฎหมายบัญชีเดินสะพัด
57
กรณีหนี้สินระงับไปโดยเหตุอื่นตามกฎหมาย
ตามป.พ.พ.บรรพ ๒ ความระงับแห่งหนี้จะแบ่งออกเป็น ๕ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ การชำระหนี้ส่วนที่ ๒ ปลดหนี้ส่วนที่ ๓ หักกลบลบหนี้ส่วนที่ ๔ แปลงหนี้ใหม่ และส่วนที่ ๕ หนี้เกลื่อนกลืนกันซึ่งจะเห็นได้ว่า กรณีต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นเหตุให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงได้นอกจากกรณีต่างๆที่กล่าวมาแล้วข้างต้นด้วย ตัวอย่าง ในเรื่องการแปลงหนี้ใหม่ตามป.พ.พ.มาตรา ๓๔๙ วรรคหนึ่ง ผลทางกฎหมาย คือหนี้เดิมเป็นอันระงับสิ้นไป ดังนั้น ถ้าหนี้เดิมเป็นหนี้อันเกิดจากสัญญาบัญชีเดินสะพัดซึ่งสามารถคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ จะเห็นว่า ภายหลังแปลงหนี้ใหม่แล้ว หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมไม่หลงเหลืออยู่อีกต่อไป ระบบการคิดดอกเบี้ยทบต้นย่อมสิ้นสุดลงไปตั้งแต่วันที่ทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่๙ ข้อสังเกต คำว่า “เหตุอื่นตามกฎหมาย” นั้น ยังหมายความรวมถึงเหตุตามกฎหมายลักษณะอื่นๆ อันทำให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้นสิ้นสุดลงด้วย เช่น กฎหมายล้มละลาย๑๐ เป็นต้น ตัวอย่าง ในระหว่างที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดมีผลใช้บังคับอยู่นั้น ปรากฏว่าลูกหนี้ที่เป็นคู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดถูกฟ้องล้มละลาย ในกรณีเช่นนี้จะเห็นว่า สัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมต้องสิ้นสุดลงโดยปริยายนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ลูกหนี้เด็ดขาด ผลทางกฎหมาย คือ เจ้าหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอากับลูกหนี้ได้เพียงจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น
58
การนำตั๋วเงินไปลงในรายการบัญชีเดินสะพัด
บทที่ ๔ การนำตั๋วเงินไปลงในรายการบัญชีเดินสะพัด หลักการนำตั๋วเงินลงไปในรายการบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 857 นั้น มีสาระสำคัญ ดังนี้ ป.พ.พ.มาตรา 857 หลัก การนำตั๋วเงินลงเป็นรายการในบัญชีเดินสะพัดนั้น ผลทางกฎหมาย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าได้ลงด้วยเงื่อนไขว่าจะมีผู้ชำระเงินตามตั๋วนั้น เงื่อนไขพิเศษ ถ้าและตั๋วเงินนั้นมิได้ชำระเงินไซร้ จะเพิกถอนรายการอันนั้นเสียก็ได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 857 นี้ จะเห็นว่า สามารถแยกพิจารณาออกเป็น 2 ส่วน คือ การนำตั๋วเงินลงเป็นรายการในบัญชีเดินสะพัดและการเพิกถอนตั๋วเงินที่ลงเป็นรายการในบัญชีเดินสะพัด ดังนี้
59
การนำตั๋วเงินลงเป็นรายการในบัญชีเดินสะพัด
ในเรื่องการชำระหนี้ตามกฎหมายนั้น จะเห็นว่า ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคสาม บัญญัติว่า “ถ้าชำระหนนี้ด้วยออก-โอน-หรือด้วยสลักตั๋วเงินหรือประทวนสินค้า ท่านว่าหนี้นั้นจะระงับไปต่อเมื่อตั๋วเงินหรือ ประทวนสินค้านั้นได้ใช้เงินแล้ว” ด้วยผลของ ป.พ.พ. มาตรา321 ววรคสามดังกล่าวนี้เองจึงทำให้ ป.พ.พ.มาตรา 857 ยอมให้นำตั๋วเงินลงไปในรายการบัญชีเดินสะพัดได้ เพราะตั๋วเงินนั้นโดยสภาพทางกฎหมายย่อมนำมาชำระหนี้กันได้
60
การเพิกถอนตั๋วเงินลงเป็นรายการในบัญชีเดินสะพัด
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคสามตอนท้าย ที่บัญญัติว่า “...ได้ใช้เงินแล้ว” ประกอบมาตรา ป.พ.พ.มาตรา 857 ตานท้ายที่บัญญัติว่า “...ถ้าและตั๋วนั้นมิได้ชำระเงินไซร้ จะเพิกถอนรายการอันนั้นเสียก็ได้” แสดงว่า หากตั๋วเงินที่นำมาลงเป็นในรายการในบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวไม่อาจใช้เงินได้ เช่น ปรากฏผู้จ่ายปฎิเสธการจ่ายเงินตามตั๋วนั้น ในกรณีช่นนี้ ป.พ.พ.มาตรา 857 ตอนท้ายดังกล่าวอนุญาตใหคู่สัญญาฝ่ายบัญชีเดินสะพัดนั้นเพิกถอนตั๋วเงินที่มิได้ชำระเงินได้ เนื่องจากถือว่าตั๋วเงินจำพวกนี้ทำให้การแสดงรายการในบัญชีเดินสะพัดเกิดความผิดพลาดไปไม่ถูกต้องตามความจริงและเมื่อเพิกถอนรายการนั้นแล้ว คู่สัญญาฝ่ายที่ชำระด้วยตั๋วเงินดังกล่าวก็ตกเป็นลูกหนี้ตามจำนวนเงินในตั๋วที่ไม่ได้รับชำระ ตัวอย่าง นายดำนำเช็ค ๕ ฉบับมาขายลดแก่ธนาคาร โดยได้นำเช็ค ๕ ฉบับนี้เข้าบัญชีเดินสะพัดของตนที่ทำไว้กับธนาคาร ต่อมาธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็ค ๕ ฉบับนั้นไม่ได้ เช่นนี้ธนาคารย่อมมีสิทธิเพิกถอนเช็ค ๕ ฉบับดังกล่าวได้ตามป.พ.พ.มาตรา 857
61
บทที่ 5 อายุความสิทธิเรียกร้องในสัญญาบัญชีเดินสะพัด
หลักพื้นฐานเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับอายุความ 10ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คำว่า “อายุความ” หมายถึง ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนเป็นให้ใช้บังคับสิทธิเรียกร้องบังคับคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/9 บัญญัติว่า “สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ” ดังนั้นสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ใดๆ ก็ตามหากขาดอายุความเสียแล้ว ย่อมเกิดผลเสียต่างๆ ต่อการได้รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ได้ เช่น ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฎิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/10 เป็นต้น
62
หลักพื้นฐานเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับอายุความ 10ปี
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สำหรับเรื่องของอายุความ 10 ปี จะเห็นว่า ป.พ.พ.มาตรา 193/30 บัญญัติว่า “อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีกำหนดสิบปี” ถ้อยคำในตัวบทของ ป.พ.พ.มาตรา 193/30 ดังกล่าวนี้ สื่อความหมายออกมาในลักษณะการทั่วไปว่า ถ้าหากไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายเรื่องอายุความกำหนดเอาไว้โดยเฉพาะแล้ว ก็ให้ถือว่ามีอายุความ 10 ปี เช่น การฟ้องเรียกเงินกู้ยืม การฟ้องเรียกทรัพย์ที่ฝาก การฟ้องร้องเบี้ยปรับตามสัญญา การฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อ การฟ้องเรียกเงินกู้ยืมตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ จะเห็นว่า กรณีต่างๆเหล่านี้ สิทธิ เรียกร้องในมูลหนี้จะมีอายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
63
อายุความตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
เนื่องจากสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ.มาตรา856 ไม่มีบทกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ ด้วยเหหตุนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 ส่วนการเริ่มต้นนับอายุความนั้น จะต้องเริ่มนับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/12อันเป็นวันเดียวกันกับที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้นสิ้นสุดลง เช่น วันที่ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัด เลิกกัน๗ เป็นต้น ตัวอย่าง นายดำกับนายแดงตกลงทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกัน โดยมีข้อตกลงว่าให้สัญญา บัญชีเดินสะพัดเป็นอันเลิกกันในวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๘ ดังนี้ วันที่จะต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นต้นไปตามนัยป.พ.พ.มาตรา ๑๙๓/๑๒ คือ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๘ ตัวอย่าง นายขาวทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคาร ก. จำกัด หลังจากนายขาวนำเงิน เข้าบัญชีเพื่อหักทอนการเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้ายแล้ว ก็ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันอีกเลย เวลาผ่านไปนานถึง ๑๒ ปี แสดงว่า นายขาวมีเจตนาเลิกสัญญากับธนาคาร ก. จำกัดโดยปริยาย แล้ว สิทธิเรียกร้องของธนาคาร ก. จำกัดจึงเริ่มนับแต่วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๒๖ อันเป็นวันที่นายขาว เดินสะพัดทางบัญชีเป็นครั้งสุดท้าย การที่ธนาคาร ก. จำกัดนำคดีมาฟ้อง เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ จึงพ้นกำหนด ๑๐ ปี หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงขาดอายุความ
64
อายุความตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
ข้อสังเกต วันที่ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันตามตัวอย่างนี้ คือ วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๒๖ โดยถือว่าเป็นวันที่มีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันโดยปริยาย ข้อสังเกต แม้วัน “ตัดทอนบัญชี” หรือวัน “หักทอนบัญชี” โดยหลักย่อมมิใช่วันที่สัญญา บัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงโดยตรงก็ตาม แต่ถ้าคู่สัญญามีการตกลงให้วัน “ตัดทอนบัญชี” หรือวัน “หักทอนบัญชี” นั้นเป็นไปเพื่อเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย เช่นนี้ วัน “ตัดทอนบัญชี” หรือวัน “หักทอนบัญชี” ดังกล่าวก็ย่อมเป็นวันเริ่มต้นนับอายุความตามป.พ.พ.มาตรา ๑๙๓/๑๒ ได้เช่นกัน ข้อสังเกต สัญญาบัญชีเดินสะพัดที่เลิกกันแล้วและมีดอกเบี้ยเกิดขึ้น (ตามป.พ.พ.มาตรา ๘๖๐) รวมอยู่ด้วยนั้น จะเห็นว่า ในส่วนของดอกเบี้ยค้างชำระดังกล่าว สิทธิเรียกร้องจะมีกำหนดอายุความ ห้า ปี ตามป.พ.พ.มาตรา ๑๙๓/๓๓(๑) เท่านั้น๙
65
หลักในคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่สำคัญ
บทที่ 6 หลักในคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่สำคัญ เนื่องจากตำพิพากษาฎีกาของไทยนั้นย่อมถือว่าเป็นตัวอย่างการปรับใช้ตัวบทกฎหมายอันสำคัญต่อการศึกษาและการนำไปประยุกต์ใช้ในทางปฎิบัติเพื่อรองรับเหตุการณ์ใหม่ๆ หรือข้อเท็จจริงใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายกฎหมายของธนาคารต่างๆมักจะต้องนำคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับสัญญาบัญชีดเนสะพัดมาศึกษาโดยละเอียด ทั้งนี้ เพื่อนำไปสร้างสรรค์สำหรับออกแบบสัญญาหรืออกแบบบันทึกข้อตกลงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้แก่ธนาคารเสมอ ด้วยเหตุนี้ ในบทที่6 ผู้เขียนจึงได้รวบรวมคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่สำคัญโดยแยกออกเป็นหลักต่างๆ เพื่อสะดวกต่อการค้นคว้าศึกษาและนำไปใช้ในทางปฎิบัติ ดังนี้
66
หลัก : สัญญาบัญชีเดินสะพัดมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาฎีกาที่ 6188/2557 โจทก์ประกอบกิจการโรงงานน้ำตาล โดยจะชักชวนประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยเข้าเป็นสมาชิก ปี 2554 จำเลยสมัครเป็นสมาชิกโจทก์ โจทก์ตกลงจะให้การส่งเสริมการปลูกอ้อยแก่จำเลยทั้งในรูปของเงินที่เป็นค่าเตรียมดิน ค่าปลูกและค่าใช้จ่ายอื่นเกี่ยวกับการปลูกอ้อย กับให้วัสดุอุปกรณ์ เช่น พันธุ์อ้อย ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืชโดยให้จำเลยทำคำขอขายอ้อยสดไว้แก่โจทย์ซึ่งระบุว่าจำเลยจะขายอ้อยสดในฤดูกาลผลิตปี 2545/ ปี2546/2547 และปี 2547/2548 แก่โจทย์ปีละ 300 ตัน เมื่อจำเลยตัดอ้อยส่งขายก็จะมีการคิดบัญชีหักหนี้กัน หากจำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์จะตั้งยอดหนี้คงค้างและเมื่อจำเลยขอรับการผลิตในฤดูกาลผลิตปีถัดไป โจทก์ก็จะมีการให้การส่งเสริมตามปกติและเมื่อจำเลยมีการตัดอ้อยส่งก็จะมีการคิดบัญชีหักหนี้กันเช่นนี้ ต่อมาหากอ้อยผลิตได้เกินจำนวนจำเลยสามารถขายให้โรงงานอื่นได้ จึงเป็นการที่โจทก์จ่ายเงินและวัสดุสิ่งของในการปลูกอ้อยแก่จำเลยโดยตรง ซึ่งถือเป็นเงินที่โจทก์วางชำระล่วงหน้าค่าอ้อยล่วงหน้าแก่จำเลย ข้อตกลงเช่นนี้จึงมิใช่เป็นกรณีโจทย์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการหรืออุตสาหกรรมได้ออกเงินทดลองแก่บุคคลใดๆไปทนจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งละพาณิชย์ มาตรา 193/34(3) แต่ต้องด้วยลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามมาตรา 856 ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามมาตรา 193/30
67
หลัก : สัญญาบัญชีเดินสะพัดมีอายุความ 10 ปี
ส่วน “บัญชีทดรองจ่าย” และการทดรองจ่าย “เงินทดรอง” ในการซื้อขายหลักทรัพย์ ของจำเลยผ่านบริษัทหลักทรัพย์แอ็ดคินซัน จำกัด เป็นเพียงวิธีการตามที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้บรรลุ ตามเจตนาของจำเลยที่มุ่งประสงค์จะทำธุรกรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยเท่านั้นหาเกี่ยวกับข้อตกลงตามสัญญาซึ่งต้องด้วยลักษณะของบัญชีเดินสะพัด ดังวินิจฉัยมาแล้วไม่คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความและโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้
68
คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๐๔๓/๒๕๔๔ ลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
ตามป.พ.พ. มาตรา ๘๕๖ เป็นสัญญาที่คู่ความแต่ละฝ่ายต่างต้องเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ต่อกัน ฝ่ายที่เป็นหนี้ค้างชำระมากกว่า จะต้องชำระหนี้ในส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาคเมื่อตัดทอนบัญชี หากคู่สัญญาฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้แต่เพียงฝ่ายเดียวแม้จะมีบัญชีคิดหนี้สินกัน สัญญานั้นก็หาเป็นสัญญา บัญชีเดินสะพัดไม่ สัญญาให้สินเชื่อที่จำเลยทำกับโจทก์มีข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการชำระหนี้โดยให้จำเลย เปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับโจทก์เพื่อการหักทอนคิดจำนวนเงินที่จำเลยยังคงเป็นหนี้ค้างชำระแก่โจทก์ เท่านั้นไม่มีลักษณะของการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยหักกลบลบกัน แต่อย่างใด สัญญาให้สินเชื่อจึงไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
69
คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๐๔๓/๒๕๔๔ ลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
การเบิกถอนเงินจำเลยอาจกระทำได้หลายวิธีตามที่กำหนดไว้ในสัญญา นอกจากใช้บัตรซิตี้การ์ด กับเลขรหัสประจำตัวเบิกถอนเงินจากพนักงานของโจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์หรือจากเครื่องฝาก และถอนเงินอัตโนมัติ (เอทีเอ็ม) แล้ว จำเลยอาจใช้วิธีออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีกระแสรายวัน หรือมีคำสั่งผ่านทางบริการซิตี้โฟนแบงก์กิ้งให้โจทก์จ่ายเงินแก่จำเลยหรือบุคคลภายนอก หรือ โดยวิธีการอื่นๆ ที่โจทก์ให้บริการ ทั้งนี้เงินที่จำเลยเบิกถอนไปไม่ว่าด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งตามสัญญาข้อ ๖ ระบุให้ถือว่าเป็นต้นเงินกู้ที่จำเลยได้รับไปจากโจทก์ การที่โจทก์ออกบัตรซิตี้การ์ดให้แก่จำเลยไว้เพื่อ ใช้เบิกถอนเงินสดจึงเป็นเพียงการอำนวยความสะดวกแก่จำเลยในการเบิกถอนเงินวิธีหนึ่งในจำนวน หลายวิธีที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันไว้เท่านั้น จำเลยอาจเลือกใช้วิธีอื่นในการเบิกถอนเงินโดยไม่ใช้ บัตรซิตี้การ์ดที่โจทก์ออกให้เลยก็ย่อมกระทำได้ เงินที่โจทก์ยอมให้จำเลยเบิกถอนไปแต่ละครั้ง จึงไม่มี ลักษณะเป็นเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองแทนไปก่อน แต่เป็นเงินที่จำเลยได้รับไปจากโจทก์ตามวงเงินสินเชื่อ ที่จำเลยได้ทำสัญญาไว้กับโจทก์ แม้โจทก์เก็บค่าสมาชิกจากจำเลยเป็นรายปี ก็เป็นเพียงค่าตอบแทน อย่างหนึ่งที่โจทก์เรียกเก็บเท่านั้น กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปดังที่จำเลยฎีกา สิทธิเรียกร้องของโจทก์เช่นนี้กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ ๑๐ปี ตามป.พ.พ.มาตรา ๑๙๓/๓๐
70
คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๐๔๐/๒๕๔๒ ตามข้อตกลงในการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไม่มี ข้อความว่าให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงเมื่อใด เมื่อปรากฏว่าหลังจากครบกำหนดระยะเวลา ตามหนังสือต่ออายุสัญญาดังกล่าว เจ้าหนี้และบริษัท พ.ยังคงมีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปโดยไม่มี กำหนดระยะเวลา เมื่อบริษัท พ.นำเงินเข้าฝากในรูปตั๋วเงินและกู้เงินโดยผ่านบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ หลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไป คงมีแต่ รายการคิดดอกเบี้ยทบต้นเท่านั้น และเจ้าหนี้คิดหักทอนบัญชีกับบริษัท พ. ในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๓ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน แสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๓ ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชี ครั้งสุดท้ายตาม ป.พ.พ. มาตรา ๘๕๖ และมาตรา ๘๕๙ สิทธิ เรียกร้องของเจ้าหนี้ซึ่งมีกำหนดอายุความ ๑๐ ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๙๓/๓๐ จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๓๘ เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องภายในกำหนด ๑๐ ปี หนี้ดังกล่าวไม่ขาดอายุความ
71
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๘๙๘/๒๕๔๒ แม้จำเลยสั่งจ่ายเช็คครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๓ แต่ธนาคารโจทก์ทวงถามให้ชำระหนี้เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๓๐ สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลือการที่โจทก์นำคดี มาฟ้อง ๒๕ มีนาคม ๒๕๓๙ ไม่ถึง ๑๐ ปี นับแต่วันหักทอนบัญชี คดีไม่ขาดอายุความ ข้อยกเว้น : ถ้าไม่เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด อายุความย่อมไม่ใช่ ๑๐ ปี
72
คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๘๖๖/๒๕๔๑ โจทก์ให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่ให้มีการใช้เช็ค เบิกถอนเงินตามปกติ หากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันที่ใช้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตร เครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ มิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวขึ้น โดยมีเจตนาตกลงกันโดยตรงให้ตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลย หักกลบลบกันแล้วคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ อันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาบัญชี เดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๖ สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลย ดังกล่าวย่อมมิใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาการใช้บัตรเครดิต เท่านั้น โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้จำเลยเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้า และบริการโดยใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้แทนการชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเงินสด ตลอดจน ใช้บัตรเครดิตนั้นเบิกถอนเงินสดอันเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าว
73
คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๘๖๖/๒๕๔๑ โดยโจทก์จะออกเงินทดรองจ่ายให้จำเลยก่อน และโจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการบัตรเครดิต ดังกล่าวด้วยโจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่างๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป ซึ่งมีอายุความ ๒ ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๓๔ (๗) เมื่อปรากฏว่า วิธีการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตโจทก์จะใช้วิธีโอนจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาชำระหนี้และ โจทก์ได้แจ้งการหักโอนบัญชีแก่จำเลยครั้งสุดท้ายว่าโจทก์จะหักบัญชีในวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๓๕ เท่ากับ กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ในวันดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ชำระ เป็นการ ผิดนัดชำระหนี้ ดังนี้ อย่างช้าที่สุด ที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้จึงเริ่มนับแต่วันถัดไป คือวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๓๕ เป็นต้นไป นับถึงวันฟ้อง วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๙ เป็นเวลาเกินกว่า ๒ ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
74
หลัก : ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้น ยังคงสะพัดอยู่ ย่อมคิดดอกเบี้ยทบต้นได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๐๑/๒๕๕๕ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่โจทก์ (ธนาคาร) ทำกับจำเลยที่ ๑ แม้จะกำหนดวันสิ้นสุดการเดินสะพัดทางบัญชีไว้ แต่เมื่อครบกำหนดตามสัญญาดังกล่าวแล้ว โจทก์ (ธนาคาร) กับจำเลยที่ ๑ ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อมา จนกระทั้งวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๐ จึงไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันอีกและมีการหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดในวันดังกล่าว ดังนั้น ในระหว่างที่ยังเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่โจทก์ (ธนาคาร) ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ ๑ ได้
75
คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๘๒๑/๒๕๔๒ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยมิได้กำหนด เวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้และจำเลยได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เรื่อยมาโดยตลอด จำเลยใช้เช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๓๙ หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่า มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก คงมีแต่รายการที่โจทก์นำเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระของแต่ละเดือนทบเข้ากับ ต้นเงินกลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชีที่จำเลยจะต้องชำระในเดือนถัดไป กรณีเช่นนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัด ระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชี และให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้ว และสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยให้ชำระหนี้คงเหลือ อันเป็นการเลิก สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๘๕๖ และ ๘๕๙ ตราบใดที่ สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกันโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญา บัญชีเดินสะพัดจะเลิกกัน เมื่อปรากฏว่าวันครบกำหนดที่โจทก์เรียกให้ชำระหนี้ตามหนังสือบอก เลิกสัญญาของโจทก์คือวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึง วันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันที่บัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง
76
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๗๗/๒๕๔๑ โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับโจทก์เมื่อใด ทำสัญญา กู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินเท่าใด ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด โดยกำหนดชำระเสร็จสิ้นเมื่อใด สัญญากำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันที่เท่าใด หากผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามกำหนดจำเลยยอม ให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงิน และให้ถือเป็นต้นเงินที่จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกับต้นเงิน หลังจากจำเลยที่ ๑ ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ กับโจทก์ จำเลยได้ใช้เช็คและหลักฐานอื่น ๆ เบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์และนำเงินเข้าบัญชีเพื่อตัดทอน หนี้สินกันหลายครั้งหลายหน จนถึงวันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาของโจทก์ จำเลยเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นจำนวนเท่าใดกับมีคำขอให้ บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ได้ แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๒ วรรคสอง
77
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๗๗/๒๕๔๑ ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าภายในอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำเลยได้เบิกถอนเงินจากโจทก์โดยวิธีใด เป็นเงินจำนวนเท่าใด และครั้งสุดท้ายจำเลยได้เดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เป็นวันที่ใด ตลอดจน รายละเอียดในบัญชีกระแสรายวันซึ่งโจทก์ได้อ้างในคำฟ้องแล้วเป็นอย่างไร ล้วนเป็นข้อเท็จจริง ที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้อง ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝาก กระแสรายวันมีข้อตกลงล่วงหน้าว่า หากจำเลยเบิกเงินเกินไปจากเงินฝากที่มีอยู่ในบัญชี และโจทก์ ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คไป ก็ให้โจทก์กับจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีกันโดยได้มีการหักทอนบัญชีกัน เดือนละครั้ง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา ๘๕๖ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ก็ระบุข้อความไว้ว่า การให้กู้และกู้ตาม สัญญานี้เป็นไปตามประเพณีของธนาคาร ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินที่ค้าง ชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงิน ซึ่งข้อสัญญาเช่นนี้มีลักษณะ เป็นเรื่องประเพณีการค้าขายที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๖๕๕ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
78
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๗๗/๒๕๔๑ และการที่จำเลยขอเปิดบัญชีและ ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันเดียวกันย่อมเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะ เบิกเงินเกินบัญชีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดและตามประเพณีปฏิบัติของทางธนาคารพาณิชย์ ก็ให้ยึดถือกันเช่นนั้นมาโดยตลอดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้น ภายในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๓๕ แต่ภายหลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยยังนำเงินเข้าฝากและ ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอีกหลายครั้งดังนี้ เมื่อมีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อมา หลังกำหนดเวลาตามสัญญาสิ้นสุดลง จึงต้องถือว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญา บัญชีเดินสะพัดกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่หลังจากวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๓๕ ซึ่งเป็นวันที่จำเลย ถอนเงินโดยการใช้เช็คแล้วปรากฏว่าไม่มีการนำเงินเข้าฝากและถอนอีกเลย คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้น เข้ากับจำนวนต้นเงินเท่านั้น
79
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๗๗/๒๕๔๑ และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไปและจำเลย ก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการ เดินสะพัดกันทางบัญชีต่อไปและโจทก์จำเลยประสงค์จะเลิกสัญญาต่อกันในวันอันเป็นวันครบรอบ หักทอนบัญชีกันเดือนละครั้งตามสัญญาและเป็นภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป ดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาใช่โจทก์ มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันอันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์ไม่และ หลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในแบบไม่ทบต้นเท่านั้นและ อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
80
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๙๓๕/๒๕๔๐ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แล้วโจทก์กับจำเลยทั้งสองไม่ได้ทำการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกันแต่ยังมีการ เดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปอีก โดยจำเลยที่ ๑ นำเงินเข้าฝากและสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินออกไปหลายครั้ง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองประสงค์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ต่อไปอีกโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ถึงแม้จำเลยทั้งสองได้หยุดเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์มาแล้ว ก็ตาม แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดเพื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระ หนี้ที่มีอยู่ต่อกันสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ตลอดไป หาได้ระงับ ไปเมื่อวันสัญญาครบกำหนดหรือวันที่จำเลยทั้งสองเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายไม่ โจทก์จึงมีสิทธิ คิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันที่ถือว่าสัญญาเลิกกัน
81
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๙๓๕/๒๕๔๐ โจทก์หักทอนบัญชีกับจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ แม้โจทก์เพิ่งจะมีหนังสือ แจ้งให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๓๖ ก็ต้องถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่าง โจทก์กับจำเลยทั้งสองระงับไปตั้งแต่วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ อันเป็นวันหักทอนบัญชีกัน ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖ , มาตรา ๘๕๙ หลังจากนั้นโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้
82
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๗๔/๒๕๔๐ จำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัด ดังกล่าวในวงเงิน ๑๖,๕๐๐,๐๐๐ บาท โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ กรณีเช่นนี้สัญญาบัญชี เดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ซึ่งมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้คืนจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลง เลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชีและให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้ว สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยที่ ๑ ให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๖ และมาตรา ๘๕๙ ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะ คิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกัน คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๕๖๗/๒๕๓๗ ตามระเบียบการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ข้อ ๒ มีข้อความว่า การฝากเงินผู้ฝากต้องกรอก รายการลงในใบนำฝากตามแบบของธนาคาร ข้อ ๖ มีข้อความว่าการถอนเงินต้องกระทำโดยใช้เช็ค หรือเอกสารสั่งจ่ายอย่างอื่นที่ธนาคารอนุมัติให้ใช้ได้ ข้อ ๑๑ มีข้อความว่า เมื่อธนาคารจ่ายเงินตามเช็ค ทั้ง ๆ ที่ยอดเงินในบัญชีมีไม่เพียงพอแล้ว ผู้ฝากตกลงและยินยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีนั้น คืนให้ธนาคารพร้อมทั้งยินยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้
83
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๗๔/๒๕๔๐ ธนาคารเรียกเก็บได้ในขณะนั้นนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินเป็นต้นไป ข้อ ๑๗ มีข้อความว่า ธนาคารจะ จัดส่งรายการเดินสะพัดของบัญชีเงินฝากไปยังผู้ฝากเดือนละครั้ง และข้อ ๒๐ มีข้อความว่า ให้นำวิธีการ และประเพณีอันเกี่ยวกับการดำเนินบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปปฏิบัติมาใช้บังคับถึง การฝากและถอนเงินตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันคดีนี้ด้วยและธนาคารยังได้สงวนสิทธิที่จะ หักทอนบัญชีของผู้ฝากเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ธนาคารจะเห็นสมควร ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝาก กระแสรายวันและระเบียบการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวแสดงว่า นับแต่ที่จำเลยได้ เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์แล้ว โจทก์จำเลยตกลงให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีตามบัญชี เงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวสืบไปโดยจำเลยใช้ใบฝากเงินตามแบบของโจทก์ในการฝากเงิน และใช้ เช็คในการเบิกถอนเงินจากบัญชีของจำเลย หากโจทก์จ่ายเงินตามเช็คไปทั้งที่เงินในบัญชีไม่เพียงพอ จำเลยก็ตกลงจะใช้เงินที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีไปคืนให้โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยอนุญาต นับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินเป็นต้นไป
84
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๗๔/๒๕๔๐ ทั้งนี้โดยโจทก์จะจัดส่งรายการเดินสะพัด ทางบัญชีเงินฝากไปยังจำเลยเดือนละหนึ่งครั้งการฝากและการถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวัน ดังกล่าวนี้โจทก์จำเลยตกลงให้นำวิธีการและประเพณีอันเกี่ยวกับการดำเนินบัญชีกระแสรายวัน ที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปถือปฏิบัติมาใช้บังคับด้วยและโจทก์ยังสงวนสิทธิที่จะหักทอนบัญชีของจำเลย เมื่อใดก็ได้ ความผูกพันระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกัน ว่าสืบแต่นั้นไปให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแก่กิจการในระหว่างเขาทั้งสอง หักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่คงเหลือโดยดุลภาค อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖ แล้ว โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันตามฟ้องได้ ตามประเพณีการค้าขายของธนาคารพาณิชย์ทั่วไป
85
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๕๘-๖๕๙/๒๕๑๑ ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคาร พาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปีนั้น เป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดจึงใช้ได้ไม่เป็นโมฆะ ข้อยกเว้น : ถ้าไม่ใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้
86
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๘๔๖/๒๕๔๒ แม้ข้อตกลงในการใช้บัตรหลักและบัตรเสริมจะให้ คิดดอกเบี้ยทบต้นได้โดยหักจากบัญชีออมทรัพย์และบัญชีกระแสรายวันที่เปิดไว้เพื่อการนี้ การที่จำเลย ขอใช้บัตรเครดิตของธนาคารโจทก์ก็เพื่อนำไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ แทนเงินสดเป็นสำคัญ โดยให้โจทก์ออกเงินชำระแทนไปก่อน บัญชีที่เปิดไว้ก็เพียงเพื่อให้โจทก์หักเงินไปชำระหนี้หาใช่บัญชี หักทอนหนี้สินระหว่างกันอย่างบัญชีเดินสะพัดไม่ เพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียวไม่ได้ เป็นเจ้าหนี้ด้วย รวมทั้งไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการและ มิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็ค แม้ตามคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตจะมีข้อความ ตกลงให้บัญชีดังกล่าวเป็นบัญชีเดินสะพัดก็เป็นเพียงความเข้าใจและเป็นไปตามรูปแบบของสัญญา สำเร็จรูปของโจทก์ ไม่เข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๖ โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น
87
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๘๔๐/๒๕๔๒ แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตวีซ่าชฎาทองฉบับพิพาทโจทก์ และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าหากโจทก์ชำระเงินแทนจำเลยไปจำเลยยอมให้โจทก์นำเงินจำนวน ดังกล่าวไปหักทอนในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลย และยินยอมให้ถือเป็นหนี้เบิกเงินเกิน บัญชีก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่โจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันนั้นต่างมุ่งที่จะผูกพันตามบัตร เครดิตเป็นสำคัญ โดยโจทก์จะอนุมัติต่อเมื่อจำเลยได้ทำคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันเพื่อเดินสะพัด กับโจทก์ แต่การที่โจทก์ให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่ได้มีการใช้เช็คเบิกถอนเงินตามปกติ หากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันเพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยฝ่ายเดียว เท่านั้นจึงมิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันขึ้นเพื่อหักทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้น แต่ในกิจการ ในระหว่างโจทก์และจำเลยนั้นหักกลบลบกันแล้วคงชำระส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ โดยดุลภาคอันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด หนี้ที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ตามบัตรเครดิต วีซ่าชฎาทองจึงไม่ใช่หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
88
๓.หลัก : สัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีเจตนาผูกนิติสัมพันธ์กัน
คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๕๖/๒๕๕๐ จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันเพื่อให้ ช. นำเงินค่างวด ในการจ้างเหมาก่อสร้างบ้านของ ช. ชำระหนี้แก่จำเลยโดยนำเงินเข้าบัญชีให้และจำเลยจะใช้เช็ค เบิกถอนเงินค่าจ้าง ดังนั้น หาก ช. ไม่นำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ จำเลยย่อมจะใช้เช็คถอนเงินไม่ได้ ธนาคารโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้จำเลยแทน ช. การที่ ช. ยอมอนุมัติจ่ายเงินตามเช็คให้จำเลย เป็นเรื่องที่จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเป็นการรับเงินค่างวดที่ ช. นำเงินค่าจ้างก่อสร้างบ้านเข้าบัญชีให้ เพื่อชำระหนี้ หาก ช. ไม่ใช่ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรงจำเลยก็ย่อมไม่สามารถจะใช้เช็คถอนเงินได้ และหากเงินในบัญชีไม่มี ธนาคารก็ต้องปฏิเสธการจ่ายเงิน การกระทำของ ช. ถือได้ว่าเป็นการใช้ตำแหน่ง หน้าที่ในฐานะผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรงโดยไม่ชอบ โจทก์ในฐานะเป็นตัวการจึงต้องรับผิดชอบ ต่อการกระทำของตัวแทนของตน การที่จำเลยรับเงินไปจากธนาคารโจทก์โดยสำคัญผิดว่าเป็นเงิน ค่างวดของจำเลยที่มีสิทธิได้รับ จำเลยจึงไม่มีเจตนาที่จะผูกพันนิติสัมพันธ์ทำนิติกรรมเบิกเงินเกิน บัญชีกับโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยในฐานะเป็นลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้
89
๔. หลัก : การนำหนี้การใช้บัตรเครดิตมาหักทอนบัญชีในบัญชีกระแสรายวัน
๔. หลัก : การนำหนี้การใช้บัตรเครดิตมาหักทอนบัญชีในบัญชีกระแสรายวัน อย่างบัญชีเดินสะพัด คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๔๔๒/๒๕๔๑ โจทก์หาได้บรรยายฟ้องมาด้วยว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตที่จำเลยได้สมัครเป็นสมาชิกขอใช้บัตรเครดิตและได้รับอนุญาตให้ใช้ บัตรเครดิตจากโจทก์แล้วและระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิตการชำระหนี้ ระยะเวลาชำระหนี้ ตลอดจนการคำนวณหนี้และดอกเบี้ยกันอย่างไร จำเลยเป็นหนี้ตามสัญญาการใช้ บัตรเครดิตกับโจทก์ด้วยวิธีการใด เป็นหนี้จำนวนเท่าใด ซึ่งเห็นได้ชัดว่า หนี้ตามสัญญาการใช้ บัตรเครดิตย่อมต้องมีข้อตกลงต่างหากจากสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้เท่ากับโจทก์ไม่ได้ แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยเป็นหนี้ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตต่อโจทก์และคำขอ บังคับมาในคำฟ้องจึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่กล่าวมาในคำฟ้อง ดังนั้น โจทก์จะนำหนี้การใช้ บัตรเครดิตมาหักทอนบัญชีในบัญชีกระแสรายวันอย่างบัญชีเดินสะพัดตามที่กล่าวมาในคำฟ้อง หาได้ไม่ ทั้งเนื่องจากตามบัญชีกระแสรายวันพร้อมคำแปลและรายการคำนวณดอกเบี้ย โจทก์ได้นำหนี้ การใช้บัตรเครดิตมาคำนวณระคนปนกับหนี้การใช้เช็คของโจทก์เบิกถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวัน และคิดดอกเบี้ยการใช้บัตรเครดิตแบบทบต้นทำให้ไม่อาจทราบจำนวนหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดมีเท่าใด
90
๕. หลัก : ถ้าบัญชีเดินสะพัด ยังคงสะพัดอยู่ ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกัน
คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๐๘/๒๕๔๘ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มี สัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกัน การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลือ ดังนั้น หากคู่สัญญายังคงให้บัญชี เดินสะพัดอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกัน ข้อสังเกต การที่คู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไปนั้น นอกจากยังไม่ถือว่ามีการ ผิดนัดกันตามนัดคำพิพากษาฎีกาที่ ๗๐๗/๒๕๔๘ ดังกล่าวแล้ว ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการบอกเลิกสัญญา บัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๙ ด้วย ข้อสังเกต โดยทั่วไปการผิดนัดชำระหนี้ ย่อมถือว่าเกิดขึ้นทันที เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามเวลา ที่กำหนดเอาไว้ตามข้อตกลงในสัญญา แต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดเกี่ยวกับการชำระหนี้นั้น จะเห็นว่า มีวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดอยู่ กล่าวคือ ให้กระทำการชำระหนี้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและ เรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้น ดังนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาบัญชีเดินสะพัดแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไป ผลทางกฎหมาย คือ คู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังไม่ถือ ว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว
91
๖. หลัก : การคิดหักทอนบัญชีตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด ในวันหยุดทำการ ย่อมทำได้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๑๑๗/๒๕๔๘ ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้คิดดอกเบี้ย ทุกวัน และกำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันปิดบัญชีสิ้นเดือนของโจทก์ทุกๆ เดือน ทั้งยังระบุให้ โจทก์และจำเลยที่ ๑ ปฏิบัติไปตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร ดังนั้น การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ทุกวันและกำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันปิดบัญชีสิ้นเดือนจึงเป็นไปตามประเพณีของธนาคารตามข้อ ตกลงระหว่างคู่สัญญาอันเป็นการกำหนดการนับระยะเวลาโดยนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๙๓/๑ แม้วันสิ้นเดือนเป็นวันหยุดทำการ โจทก์ก็คิดหักทอนบัญชีเมื่อสิ้นเดือนได้โดยไม่ถือเอาวันเปิดทำการ ถัดไปเป็นวันปิดบัญชี
92
๗. หลัก : คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่มีโอกาสเป็นเจ้าหนี้เลยย่อมไม่เข้าลักษณะ
๗. หลัก : คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่มีโอกาสเป็นเจ้าหนี้เลยย่อมไม่เข้าลักษณะ สัญญาบัญชีเดินสะพัด คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๒๖๒/๒๕๕๐ แม้สัญญาให้บริการสินเชื่อเรดดี้เครดิตโจทก์กับจำเลย มีข้อตกลงกันว่าจำเลยต้องเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับโจทก์เพื่อให้จำเลยใช้บัญชีดังกล่าวเบิกถอนเงิน โดยการใช้เช็คที่โจทก์มอบให้จำเลยไว้และมีข้อตกลงให้โจทก์หักทอนเงินในบัญชีเพื่อการชำระหนี้ใดๆ ที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามสัญญาก็ตาม แต่เมื่อตามสัญญาใช้เงินสินเชื่อข้อ ๑๑ ระบุไว้ว่า หากผู้กู้นำเงินสด และ / หรือเช็คเข้าฝากในบัญชีกระแสรายวันที่ผู้กู้เปิดไว้โดยผู้กู้ไม่มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ใดๆ แก่ธนาคาร ผู้กู้ยอมให้ธนาคารโอนเงินจำนวนดังกล่าวหรือที่เรียกเก็บได้ตามเช็คเข้าฝากในบัญชีเงินฝากประเภท ไม่มีดอกเบี้ยที่ธนาคารจัดให้มีขึ้นทันที ทั้งนี้ ผู้กู้ตกลงและรับทราบว่าในเวลาใดๆ เวลาหนึ่ง ยอดเงินฝาก คงเหลือในบัญชีกระแสรายวันจะมีจำนวนเท่ากับศูนย์ ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่าจำเลยไม่มีโอกาส เป็นเจ้าหนี้ โจทก์ตามบัญชีกระแสรายวันอันจะเป็นเหตุให้ต้องหักทอนบัญชีกัน
93
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๒๖๒/๒๕๕๐ (ต่อ)
ทั้งตามพฤติการณ์ แห่งคดีก็ปรากฏว่าจำเลยใช้เช็คที่โจทก์มอบให้เบิกถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยเพียง ช่วงแรกเท่านั้น หลังจากนั้นจำเลยเบิกถอนเงินโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติเพียงอย่างเดียว ในการคิดดอกเบี้ยเนื่องจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยแบบ ทบต้นแต่อย่างใด บัญชีกระแสรายวันที่จำเลยเปิดไว้จึงเป็นเพียงบัญชีกระแสรายวันที่ใช้เพื่อให้จำเลย ชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเรดดี้เครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ ไม่ใช่กรณีที่โจทก์จำเลย เปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวขึ้นโดยมีเจตนาตกลงกันโดยตรงให้หักทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแก่ กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยและคงชำระหนี้แต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ อันเป็นลักษณะของ สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖
94
๘. หลัก : ลำพังข้อตกลงธุรกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับการใช้บัตรเครดิตแต่เพียง อย่างเดียว ย่อมไม่เข้าลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๘๔/๒๕๔๘ ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและสัญญาเงินกู้ เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสินเชื่อธนวัฏบัตรเครดิต ระบุไว้ชัดเจนว่า มีความมุ่งหมายเพื่อการชำระค่าสินค้า และบริการต่างๆ อันเกิดจากใช้บัตรเครดิต รวมทั้งเพื่อถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากผ่านเครื่องถอนเงิน อัตโนมัติซึ่งล้วนเป็นธุรกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับการใช้บัตรเครดิตทั้งสิ้น การเปิดบัญชีกระแสรายวัน จึงมิใช่เป็นการเปิดเพื่อให้มีการเบิกถอนเงินตามปกติ หากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันที่ใช้เพื่อให้จำเลย ชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ มิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกัน โดยให้ตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์จำเลยนั้นหักกลบลบกันและ คงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลืออันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามป.พ.พ. มาตรา ๘๕๖ หนี้ที่เกิดขึ้นจึงหาใช่หนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่ การที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยไปก่อน หรือการที่โจทก์ยอมให้จำเลยนำบัตรเครดิต ไปถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติแล้วจึงเรียกเก็บจากจำเลยในภายหลังย่อมถือว่าได้ว่า โจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปก่อนตามลักษณะ ของการประกอบธุรกิจประเภทบัตรเครดิต จึงมีอายุความ ๒ ปี ตามมาตรา ๑๙๓/๓๔(๗)
95
๙. หลัก : สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นสัญญาไม่มีแบบ ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๙/๒๕๔๓ สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๖ เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ และไม่ต้องทำหลักฐานกันไว้เป็นหนังสือจึงอาจเกิดจากการแสดง เจตนา โดยแจ้งชัดหรือตามพฤติการณ์ที่คู่สัญญาปฏิบัติต่อกันเห็นได้ว่ามีสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันแล้ว
96
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๙๙๒/๒๕๓๗ โจทก์จำเลยตกลงกันโดยโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินล่วงหน้า และออกเงินทดรองค่าใช้จ่ายแทนจำเลย เมื่อจำเลยนำปลาไปขายให้โจทก์ก็จะมีการคิดบัญชีหักหนี้ จากราคา ปลาเงินส่วนที่เหลือเป็นของจำเลย ข้อตกลงเช่นนี้ต้องด้วยลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๘๕๖ ซึ่งไม่บังคับว่าจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ กรณี มิใช่จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์โดยตรง แม้โจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือก็ฟ้องจำเลยได้
97
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๒๒/๒๕๓๔ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมิใช่สัญญากู้ยืมเงิน แต่เป็นสัญญา ชนิดหนึ่งที่กฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เบิกเงินเกินบัญชีมาแสดง จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ฉะนั้น แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ผู้กู้หรือผู้ให้กู้ก็บังคับกันได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยผู้กู้ตกลงที่จะชำระหนี้เป็นการหักทอนกันทางบัญชีกับ โจทก์ผู้ให้กู้ และโจทก์ยอมให้จำเลยเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์ตั้งแต่วันทำสัญญาและแม้ภายหลัง วันครบอายุสัญญาก็ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีและมีการตัดทอนบัญชีหนี้ระหว่างโจทก์จำเลย หักกลบลบกันเรื่อยมาตามบัญชีกระแสรายวันซึ่งเป็นการปฏิบัติต่อกันตามประเพณีของธนาคาร อันมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๖ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามมาตรา ๖๕๕ วรรคสอง เมื่อมีการเดินสะพัด ทางบัญชีหลังจากสัญญาสิ้นสุดก็ต้องถือว่าโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาและโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญา ต่อกัน
98
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๑๑/๒๕๑๘ จำเลยออกเช็คเบิกเงินจากธนาคารโจทก์ ถ้าหักทอนบัญชี เงินฝากจำเลยเบิกเงินไปเท่าใด จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยเป็นรายเดือนเท่าที่ไม่นำเงินเข้าบัญชีหักทอนกัน ข้อตกลงดังนี้เข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัดตามมาตรา ๘๕๖ ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์บังคับให้ ชำระหนี้ได้
99
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๒๒/๒๕๒๔ การที่ลูกค้าผู้เปิดบัญชีฝากเงินประเภทกระแสรายวันไว้กับ ธนาคารพาณิชย์และได้ทำการเดินสะพัดทางบัญชีโดยนำเงินฝากและถอนเงินไปใช้เรื่อยมาภายหลัง ลูกค้ามีเงินฝากเหลืออยู่ในบัญชีเพียงเล็กน้อยจึงได้ตกลงกับธนาคารนั้นขอกู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยยอมเสีย ดอกเบี้ยทบต้นรายเดือนตามประเพณีธนาคารแล้วได้เบิกเงินเกินบัญชีเพื่อลดหนี้บ้าง ดังนี้ หาเข้าลักษณะ การกู้ยืมเงินไม่แต่เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัดซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
100
๑๐. หลัก : ระยะเวลาผูกพันตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๗๓/๒๕๔๓ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการ ชำระหนี้ จะสิ้นสุดลงเมื่อคู่สัญญาบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและเรียกร้องให้หักทอนบัญชีรวมทั้ง ชำระหนี้ที่มีต่อกันโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาเลิกกัน การที่จำเลยที่ ๑ ไม่นำเงิน ฝากเข้าและไม่ถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวันถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ ๑ บอกเลิกสัญญาแล้ว สัญญาบัญชี เดินสะพัดยังมีผลผูกพันจนถึงวันสุดท้ายที่โจทก์กำหนดในหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์
101
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๙๓๕/๒๕๔๐ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้ว โจทก์กับจำเลยทั้งสองไม่ได้ทำการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกัน แต่ยังมีการ เดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปอีก โดยจำเลยที่ ๑ นำเงินเข้าฝากและสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินออกไปหลายครั้ง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองประสงค์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ถึงแม้จำเลยทั้งสองได้หยุดเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์มาแล้วก็ตาม แต่เมื่อ ไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดเพื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกัน สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ตลอดไป หาได้ระงับไปเมื่อวันสัญญา ครบกำหนดหรือวันที่จำเลยทั้งสองเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายไม่ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น จนถึงวันที่ถือว่าสัญญาเลิกกัน โจทก์หักทอนบัญชีกับจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ แม้โจทก์เพิ่งจะมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๓๖ ก็ต้องถือว่าสัญญา บัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองระงับไปตั้งแต่วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ อันเป็นวัน หักทอนบัญชีกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๖, มาตรา ๘๕๙
102
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๙๓๕/๒๕๔๐ หลังจากนั้น โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดจะถือว่ามีการผิดนัดก็ต่อเมื่อมีการ หักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกัน โจทก์ได้หักทอนบัญชีเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ แต่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวส่งไปให้จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๓๖ ให้จำเลย ทั้งสองชำระหนี้ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันถัดจากวันได้รับหนังสือบอกกล่าวจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือ บอกกล่าวในวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๖ ครบ ๓๐ วันในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ ดังนั้นช่วงเวลาตั้งแต่ วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๓๖ ถึงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๖โจทก์ยังให้เวลาจำเลยทั้งสองหาเงินมา ชำระหนี้อยู่ยังไม่ถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัด จำเลยทั้งสองจะผิดนัดก็ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่โจทก์ ให้โอกาสคือตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ เป็นต้นไป และเมื่อตามประกาศปรับปรุงอัตราดอกเบี้ย โจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑๙ ต่อปีและร้อยละ ๑๘ ต่อปี สำหรับลูกหนี้ที่ผิดนัดเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ได้ผิดนัด โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยทั้งสองในอัตรานี้ไม่ได้ โจทก์ฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินตามสัญญากู้เพียง ๒,๔๔๗,๘๓๗.๒๔ บาทเท่านั้น
103
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๙๓๕/๒๕๔๐ แต่ที่ศาลชั้นต้น พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ในส่วนสัญญากู้ฉบับนี้เป็นต้นเงิน ๒,๔๗๗,๘๓๗.๒๔ บาท และดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน ๕๖๗,๑๕๗.๙๐ บาท รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง ทั้งสิ้น ๓,๐๔๔,๙๙๕.๑๔ บาท และให้ใช้ดอกเบี้ยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๘ ต่อปี จากต้นเงิน ๒,๔๗๗,๘๓๗.๒๔ บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๔๒ วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์มิได้ พิพากษาแก้ไขนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น แม้จะมิได้มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
104
๑๑. หลัก : ถ้ามิได้ตกลงกำหนดเวลาให้มีการหักทอนบัญชีย่อมมิใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๔๐๐/๒๕๔๐ การหักกลบลบหนี้เป็นเรื่องบุคคลสองฝ่ายต่างมีความผูกพัน เป็นหนี้กันและหนี้ซึ่งผูกพันกันอยู่อันจะเกิดการหักกลบลบหนี้กันได้นี้ต้องเป็นหนี้สองรายหรือต่างรายกัน แต่ความรับผิดของจำเลยที่จะต้องชำระราคาผ้ากับความรับผิดของโจทก์ในการรับคืนผ้าที่ขายเพราะ เหตุชำรุดบกพร่องนี้เกิดจากสัญญาซื้อขายผ้ารายเดียวกัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน ดังนั้น การหักราคาผ้าที่โจทก์รับคืนเพราะเหตุชำรุดบกพร่องออกจากราคาผ้าที่โจทก์ขายไป จึงไม่ใช่เรื่อง หักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๔๑ นับตั้งแต่โจทก์กับจำเลยที่ ๑ ทำการค้าระหว่างกันจนกระทั่งฟ้องร้องคดีนี้ไม่เคยมีการหักทอนบัญชีแต่อย่างใด เนื่องจากมีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับตัวเลข แสดงว่ามิได้มีการตกลงกำหนดเวลาให้มีการหักทอนบัญชีในกิจการค้าระหว่างโจทก์กับ จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นสาระสำคัญข้อหนึ่งเกี่ยวกับสัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้กฎหมายจะไม่บังคับว่าการจดแจ้ง ทางบัญชีจะต้องทำอย่างไรและจะต้องถูกต้องตามหลักการทำบัญชีก็ตาม แต่พฤติการณ์ของโจทก์ และจำเลยที่ ๑ ที่ปฏิบัติต่อกันดังที่นำสืบมานั้นเป็นเรื่องซื้อขายผ้ากันธรรมดา ถือไม่ได้ว่ากิจการค้า ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ เข้าลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๘๕๖
105
๑๒. หลัก : การสิ้นสุดของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๗๔๒/๒๕๔๐ จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์เป็นข้อตกลง ที่จะให้มีบัญชีเดินสะพัดต่อกัน มีกำหนด ๑๒ เดือน นับแต่วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๒๖ ซึ่งจะครบกำหนด วันที่ ๒๐กันยายน ๒๕๒๗ จำเลยที่ ๑ นำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๒๗ และ หลังจากนั้นคงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนตลอดมา ทั้งยอดหนี้ในวันครบกำหนดสัญญา ก็มีจำนวนสูงกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญา ประกอบกับสัญญาครบกำหนดแล้วก็ไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัด ทางบัญชีอันแสดงว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ ๑ เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แม้ภายหลังครบกำหนดตาม สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ ๑ได้นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ๑ ครั้ง เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๓๐ แต่ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชี เพราะไม่มีลักษณะ เป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญา บัญชีเดินสะพัดเลิกกันนับแต่วันที่ ๒๐กันยายน๒๕๒๗ ซึ่งเป็นวันครบกำหนดที่จำเลยที่ ๑ จะต้อง ชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๖ หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนไม่
106
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๑๘๖/๒๕๓๙ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี หลังจาก ครบกำหนดเวลาตามสัญญาโจทก์ยังคงยอมให้จำเลยที่ ๑ เบิกเงินต่อไปส่วนจำเลยที่ ๑ ก็นำเงินเข้าหัก ทอนบัญชีต่อมาอีกหลายครั้งโจทก์ยอมให้จำเลยที่ ๑ เบิกเงินเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ ๑ เบิกหรือถอนเงินต่อไปส่วนจำเลยที่ ๑ ก็มิได้นำเงิน เข้าหักทอนบัญชีอีกดังนี้ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ ๑ ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการ สะพัดกันทางบัญชีระหว่างกันต่อไปและโจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ ปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ เป็นหนี้โจทก์ทั้งสิ้นเป็นเงิน ๖,๑๑๘,๐๓๙.๘๖ บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอน บัญชีครั้งสุดท้าย ภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกันพฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ ๑ ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย หลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ ๑ อีกคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นได้ต่อไปเท่านั้น
107
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๒๙/๒๕๓๘ โจทก์และจำเลยมิได้กำหนดระยะเวลาตัดทอนบัญชี หรือกำหนดระยะเวลาของอายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดไว้ ดังนั้น สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับ จำเลยจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อมีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียก่อนเมื่อโจทก์ หักทอนบัญชีในวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๒๖ และทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว ย่อมถือได้ว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดแล้วสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสุดสิ้นลงในวันดังกล่าว
108
คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๖๑/๒๕๓๘ การชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกระทำได้เมื่อหักทอน บัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่คงเหลือสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดของ จำเลยที่ ๑ ไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของผู้ร้องเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอน บัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์มาตรา ๘๕๖, มาตรา ๘๕๙ แม้จำเลยที่ ๑ มิได้เดินสะพัดทางบัญชีอีกนับแต่ครั้งสุดท้าย เป็นเวลากว่า ๑๐ปี แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาสัญญาก็ยังไม่สิ้นสุดลง ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ย ทบต้นตามสัญญาได้จนถึงวันที่จำเลยที่ ๑ ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดอันถือว่าสัญญาเลิกกันโดยปริยาย นับแต่วันนั้นและสิทธิเรียกร้องของผู้ร้องเกิดขึ้นนับแต่นั้นเมื่อยื่นคำร้องขอให้บังคับทรัพย์ที่จำนองเป็น ประกันหนี้ตามสัญญาดังกล่าวยังไม่พ้น ๑๐ ปีหนี้จึงไม่ขาดอายุความ
109
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๒๙/๒๕๓๗ จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์ โดยด้านหลังคำขอเปิดบัญชีปรากฏมีระเบียบการฝากเงินกระแสรายวันว่า ถ้าเงินในบัญชีมีไม่พอจ่าย ตามเช็ค แต่โจทก์ได้จ่ายให้ไปจำเลยต้องจ่ายเงินส่วนที่เกินคืนให้โจทก์ เสมือนหนึ่งได้ขอเบิกเงินเกิน บัญชีกับธนาคาร และโจทก์จะคิดดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีเป็นดอกเบี้ยทบต้นถือได้ว่าเป็นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยและการที่จำเลยนำเงินเข้าฝากในบัญชีและเบิกเงินเรื่อยไปโดยวิธีใช้เช็ค สั่งจ่ายหลายครั้งเข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยใช้เช็คสั่งจ่ายเงินครั้งสุดท้ายวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๒๒ และนำเงินเข้าฝากครั้งสุดท้ายวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๒๘ โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยได้ตกลง ชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงินหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอน บัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๖, มาตรา ๘๕๙ เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถาม ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๓๐ ให้จำเลยชำระหนี้คิดเพียงวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๓๐ภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่ได้รับหนังสือทวงถาม ถือว่าได้มีการเลิกบัญชีเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันแล้ว โจทก์จึง มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ถึงวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๓๐ มูลหนี้อันเกิดจากสัญญาบัญชีเดินสะพัดมีอายุ ความ ๑๐ ปี
110
คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๘๒/๒๕๓๗ ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ ๑ ลูกค้าโจทก์ ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่า นับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงิน เกินบัญชี จำเลยที่ ๑ขอเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ ๑ เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แม้ภายหลังครบกำหนดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ ๑ ได้นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ๒ ครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไป เพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับ จำเลยที่ ๑ ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเลิกกันนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๖
111
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๖๔/๒๕๓๖ การที่โจทก์บอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่จำเลยที่ ๑ โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาเดิมของจำเลยร่วม ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้าง จำเลยที่ ๑ และไม่มีผู้รับหนังสือบอกเลิกฉบับนั้น ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญา กู้เบิกเงินเกินบัญชีไปถึงจำเลยที่ ๑ โดยชอบแล้ว สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๗ ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวัน ปรากฏว่าในวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๒๗ จำเลยที่ ๑ เป็นหนี้โจทก์อยู่ ๓๐๑,๐๔๖.๒๗ บาท จากนั้นจนถึงวันที่สัญญาสิ้นสุดลง และในเวลาต่อมาไม่มีการเบิกเงินหรือนำเงิน เข้าบัญชีจึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกต่อไป พฤติการณ์แสดงว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์จะต่อ อายุสัญญากันอีกต่อไปแล้ว สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงนับแต่ถึง กำหนดในสัญญาตามป.พ.พ. มาตรา ๘๕๖ หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ ชำระหนี้ก่อนสัญญาจึงจะเลิกกันไม่ เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไป โจทก์จะต้องหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ ๑ ชำระหนี้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้เสีย ในวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงและจำเลยที่ ๑ ผิดนัดแล้ว หากมีหนี้เหลืออยู่เท่าใดโจทก์จึงมี สิทธิจะได้รับชำระหนี้ส่วนนั้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นต่อไป
112
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐๑๗/๒๕๓๔ นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่มีกำหนดระยะ เวลาไม่มีการเบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชี จึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกต่อไป พฤติการณ์ ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งผู้ฝากเงินต้อง นำเงินเข้าบัญชีและมีการหักทอนกันเป็นระยะเวลาอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดนับแต่ถึง กำหนดในสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๖ หาจำต้องบอกเลิกสัญญา หรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนสัญญาจึงจะเลิกกันไม่ ทั้งเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้วก็ไม่จำต้อง มีการบอกเลิกสัญญาอีก เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันสิ้นสุดสัญญาตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๕ วรรคสอง
113
คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๙๘๑/๒๕๓๓ นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงิน เข้าบัญชีและโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีอีก จึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันต่อไปอีก พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์ จำเลยไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกิน บัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ตกลงกันกำหนดไว้ในสัญญาตามนัย ป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖ โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา สิทธิคิดดอกเบี้ย ทบต้นคงมีเพียงวันสุดท้ายแห่งบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น ตามนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคสอง
114
คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๘๒๕/๒๕๓๐ โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและหักทอน บัญชีเดินสะพัดกับจำเลยแล้ว หลังจากนั้นจำเลยนำเงินไปชำระหนี้ให้โจทก์อีก จะด้วยวิธีใดก็ตาม ก็ไม่ทำ ให้บัญชีเดินสะพัดที่โจทก์บอกเลิกแล้วกลับคงเดินสะพัดต่อไปและการที่โจทก์รับชำระหนี้จากจำเลย หลังจากที่บอกเลิกสัญญาแล้วก็หาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาหรือผ่อนเวลาชำระหนี้ไม่
115
๑๓. หลัก : การปรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็น
๑๓. หลัก : การปรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็น อำนาจของศาล คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๓๔๕/๒๕๓๘ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยได้เอาเงินไปจากโจทก์เป็นคราวๆ โดยโจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยเอาเงินที่รับไปเหมามะม่วงและเอามะม่วงมาส่งให้โจทก์โดยหักค่า มะม่วงจากเงินที่รับไป เมื่อส่งมะม่วงหมดแล้วจึงคิดบัญชีกันหากค่ามะม่วงที่ส่งให้โจทก์ยังไม่พอกับ จำนวนเงินที่จำเลยเอาไป จำเลยจะต้องรับผิดชอบ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยกู้ยืมเงิน โจทก์และตกลงจะนำเงินมาใช้คืนให้โจทก์ไม่ จึงไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา ๖๕๓ แต่กรณีเช่นนี้ นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นลักษณะของบัญชี เดินสะพัดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๖ แม้โจทก์จะฟ้องและฎีกาว่าจำเลย กู้ยืมเงินโจทก์ไปแต่โจทก์ก็ได้อ้างเอกสารท้ายฟ้องมาเป็นหลักในการฟ้องด้วยซึ่งเมื่อพิเคราะห์คำฟ้อง ประกอบกับเอกสารท้ายฟ้องอันกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการที่จำเลยเอาเงินโจทก์ไปและข้อตกลง ระหว่างโจทก์จำเลยรวมทั้งการคิดราคาค่ามะม่วงแต่ละครั้งที่จำเลยนำมาส่งให้โจทก์แล้ว เห็นได้ว่า ฟ้องโจทก์บรรยายเข้าลักษณะของบัญชีเดินสะพัดซึ่งศาลมีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมา ปรับแก่คดีได้
116
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๔๙/๒๕๓๗ ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและระเบียบ การเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ข้อ ๑๑ มีข้อความว่า ถ้าบัญชีของผู้ฝากมีเงินไม่พอจ่ายตามเช็ค ธนาคารมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งมีสิทธิที่จะปิดบัญชีของผู้ฝาก โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าและ ยินยอมให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คไปก่อนได้ถึงแม้ว่าเงินในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่าย โดยผู้ฝากยอมใช้ เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีนั้นคืนพร้อมทั้งยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารเรียกเก็บได้ขณะนั้น นับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินโดยที่เจ้าของบัญชี จะรับทราบหรือไม่ก็ตามข้อ ๑๖ มีใจความว่า ให้ธนาคารมีสิทธิหักหนี้สินใด ๆ ที่ผู้ฝากเป็นหนี้ธนาคารอยู่ และข้อ ๑๗ มีใจความว่า ธนาคารจะจัดส่งรายการเดินสะพัดของบัญชีเงินฝากไปยังผู้ฝาก เมื่อพิจารณา ข้อความดังกล่าวเห็นได้ว่าคู่กรณีมีเจตนาที่จะเดินสะพัดบัญชีกัน ดังนั้น สัญญาระหว่างโจทก์จำเลย จึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๖
117
คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๘๐/๒๕๓๗ ก. กู้ยืมเงินโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๒๑กำหนดชำระภายในวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๒๒ ต่อมาวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๒๑ ก. ชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน หลังจากนั้น ก.เบิกเงินและเอาสิ่งของแล้วตีราคาเป็นเงินไปจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ลงรายการรวมไว้ในบัญชีที่ ก. ค้างชำระอยู่ เมื่อ ก. นำมันสำปะหลังไปขายแก่โจทก์โจทก์ ก็ตีราคามันสำปะหลังหักทอนบัญชีอันเกิดแก่กิจการระหว่างโจทก์และ ก. โดยวิธีหักกลบลบกันจาก ยอดหนี้ที่รวมไว้ทั้งหมด พฤติการณ์ที่ ก.และโจทก์ปฏิบัติต่อกันโดยจัดให้มีบัญชีหนี้ซึ่งมีการหักทอน บัญชีเป็นคราวๆ เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด มิใช่เรื่องการกู้ยืม
118
คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๑/๒๕๐๙ การที่ ซ. ได้ออกเงินและสิ่งขอให้ ก. ทำการประมงเมื่อได้ปลา มาส่งให้แก่ ซ. แล้ว ซ. ก็รับขนส่งไปให้ บ. ขาย บ. จะหักเงินค่าขายผลาของ บ. ไว้ ๕ เปอร์เซ็นต์ และอีก ๕ เปอร์เซ็นต์เป็นค่าบำเหน็จของ ซ. เพราะ ซ. ออกทุนให้ ก. แล้วส่งบิลและเงินค่าขายปลาให้ ซ. ซ. ลงบัญชีไว้แล้วมอบบิลให้ ก. ไปลงบัญชีของตนเพื่อจะได้ตรวจสอบคิดหักบัญชีกันทำให้รู้ได้ว่าฝ่ายใด ยังเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันจำนวนเงินเท่าใดโดยมีสมุดบัญชีเบิกเงินรายวันสมุดบัญชีน้ำมัน สมุดบัญชีขายปลา เป็นพยานหลักฐาน เช่นนี้นิติสัมพันธ์ระหว่าง ก. กับ ซ. เข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัดตามมาตรา ๘๕๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
119
๑๔. หลัก : การชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
คำพิพากษาฎีกาที่ ๓/๒๕๒๙ สาระสำคัญของบัญชีเดินสะพัดอยู่ที่ข้อตกลงให้คิดตัดทอน หักกลบลบหนี้กันเป็นคราวๆ ไป และเมื่อตัดทอนบัญชีกันแล้ว ฝ่ายที่เป็นเจ้าหนี้ส่วนที่เป็นจำนวน คงเหลือโดยดุลภาคจึงจะมีสิทธิเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ได้ ฉะนั้น ในระหว่างบัญชียังเดินสะพัด ก่อนที่จะถึงกำหนดตัดทอนบัญชีกัน แม้จะมีการนำเงินเข้าฝากในบัญชีก็ตาม ก็เป็นเพียงการ นำเงินเข้าฝากในบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น หาใช่เป็นการนำเงินเข้าชำระหนี้แต่ประการใดไม่ เพราะขณะที่นำเงินเข้าฝาก ยังไม่ถือว่ามีหนี้ที่จะต้องชำระดังกล่าวแล้ว ดังนั้น การที่ลูกหนี้เอาเช็คของ ธนาคารอื่นมาเข้าบัญชีกระแสรายวันของลูกหนี้เพื่อให้ธนาคารเจ้าหนี้เรียกเก็บเงินให้ จึงเป็นการนำเงิน ตามเช็คดังกล่าวฝากเข้าบัญชีเดินสะพัดของลูกหนี้ หาใช่ลูกหนี้มีเจตนาชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเจ้าหนี้ แต่ประการใดไม่ การที่ธนาคารเจ้าหนี้เรียกเก็บเงินตามเช็คได้แล้ว ได้นำมาหักกับยอดหนี้ที่ลูกหนี้ เบิกเกินบัญชีอยู่ในขณะนั้น ก็เป็นเพียงวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบัญชีตามปกติธรรมดาของธนาคารเท่านั้น
120
สรุปหลักกฎหมายลักษณะบัญชีเดินสะพัดที่สำคัญ ทบทวน
บทที่ 7 สรุปหลักกฎหมายลักษณะบัญชีเดินสะพัดที่สำคัญ ทบทวน 1.ลักษณะของบัญชีเดินสะพัด “สัญญาบัญชีเดินสะพัด” ถือว่า เป็นสัญญาไม่มีแบบที่กฎหมายบังคับไว้ เพียงแต่ต้องมีข้อตกลงอันตรงกับลักษณะตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 856 บัญญัติเอาไว้และที่สำคัญคือบัญชีเดินสะพัดนั้น เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ได้โดยข้อตกลง ดังนั้น แม้จะไม่มีการทำเอกสารใดๆขึ้นมา เช่น ไม่มีหนังสือสัญญาหรือบัญชีหนี้ลำพังเพียงแต่มีข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาก็ย่อมเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยสมบูรณ์ได้แล้ว องค์ประกอบของสัญญาบัญชีเดินสะพัด มีอยู่ 5 ข้อดังนี้
121
องค์ประกอบข้อที่ 1 ต้องเป็นสัญญา
เนื่องจาก “สัญญา” เป็น ”นิติกรรมทั้งสองฝ่าย” อันจะต้องประกอบด้วย คู่สัญญา คำเสนอและคำสนองต้องกัน ต้องมีข้อตกลงกำหนดผลประโยชน์สุดท้ายที่คู่สัญญาตั้งใจให้เกิด (วัตถุประสงค์แห่งสัญญา) ดังนั้น “สัญญาบัญชีเดินสะพัด” จึงต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไขตาม (๑)(๒)(๓)มาเป็นอันดับแรกก่อนเสมอ หากนิติกรรมใดไม่ใช่ “สัญญา” นิติกรรมนั้นย่อมอาจมิเป็น “สัญญาบัญชีเดินสะพัด”
122
องค์ประกอบข้อ ๒ : ระหว่างบุคคลสองคน
องค์ประกอบข้อนี้เป็นลักษณะเฉพาะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่ควรพึงระวังอย่าสับสนกับ สัญญารูปแบบอื่นที่มีการบัญญัติโดยใช้ถ้อยคำว่า “..สองคนขึ้นไป..” เด็ดขาด เช่น สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ตามป.พ.พ.มาตรา ๑๐๑๒ เป็นต้น เนื่องจากเมื่อเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดแล้วในเรื่องคู่สัญญา ป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖ ได้กำหนดเฉพาะเจาะจงแล้วว่าให้มีคู่สัญญาเพียง “ระหว่างบุคคลสองคน” จะมีคู่ สัญญามากกว่านี้ไม่ได้ เหตุผลที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากโดยสภาพของสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมไม่เปิดช่อง ให้เกิดการหักกลบลบกันในหนี้อันมีมูลมาจากกิจการที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลหลายๆ ฝ่ายได้ นั่นเอง ข้อสังเกต แต่ถ้าบุคคลที่ว่านี้ มีจำนวนหลายคนและโดยสถานะทางกฎหมายแล้ว ให้ถือเสมือนว่า เป็น “บุคคลคนเดียว” เช่น ลูกหนี้ร่วมกันหรือเจ้าหนี้ร่วมกันย่อมอยู่ในความหมายของบุคคล ตามองค์ประกอบข้อนี้ได้
123
องค์ประกอบข้อ ๓ : สืบแต่นั้นไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง
องค์ประกอบข้อนี้เป็นเงื่อนไขทางเวลาเกี่ยวกับอายุของสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่ต้องมีอยู่ใน ข้อตกของสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย แบ่งออกได้ ๒ กรณี ดังนี้ กรณี “สืบแต่นั้นไป” คือ กรณีที่คู่สัญญามีการตกลงกันในข้อสัญญาว่าให้สัญญาบัญชีเดินสะพัด คงมีอยู่เรื่อยไปโดยไม่มีกำหนดเวลา กรณีนี้ เรียกว่า “สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลา” กรณี “ในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง” คือ กรณีที่คู่สัญญามีการตกลงในข้อสัญญาว่าให้สัญญา บัญชีเดินสะพัดคงมีอยู่เพียงตามกำหนดเวลาที่ระบุเอาไว้ตามข้อสัญญาเท่านั้น กรณีนี้ เรียกว่า “สัญญาบัญชีเดินสะพัดมีกำหนดเวลา” ข้อสังเกต สำหรับความแตกต่างของสัญญาบัญชีเดินสะพัดทั้ง ๒ กรณีข้างต้นนั้นจะสัมพันธ์กับ การสิ้นสุดของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
124
องค์ประกอบข้อ ๔ : ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน
องค์ประกอบข้อนี้ ถือว่าเป็นคุณลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่สำคัญมาก กล่าวคือ โดยหลักสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น จะต้อง (๑) มีการจัดทำบัญชีหนี้ขึ้น และ (๒) มีการตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนตามองค์ประกอบข้อ ๔ นี้ เป็นข้อชี้ชัดว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้นต้องมีการจัดให้มีบัญชีหนี้ และต้องมีการตัดทอนบัญชีหนี้ด้วย ทั้ง ๒ ประการนี้ จัดเป็น “วัตถุแห่งหนี้” ของสัญญาบัญชีเดินสะพัด อันหมายถึงข้อกำหนดหรือความผูกพันที่คู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดจะต้องปฏิบัติให้มีขึ้น ส่วน วิธีการตัดทอนบัญชีหนี้ คือ หักกลบลบกัน โดยทั่วไปแล้วก็จะมีการตัดทอนบัญชีหนี้กัน เป็นคราวๆ ไป เช่น คู่สัญญาตกลงกันว่าทุกสิ้นเดือนให้มีการตัดทอนบัญชีหนี้กันครั้งหนึ่ง เป็นต้น ส่วนจำนวนหนี้ที่จะทำการตัดทอนหรือหักกลบลบกันนั้น คู่สัญญาจะตัดทอนหรือหักกลบลบกันทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ ทั้งนี้ แล้วแต่ความสมัครใจของคู่สัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ ข้อสังเกต แม้ถ้อยคำในตัวบทป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖ นั้น จะใช้คำว่า “ตัดทอนบัญชี” ส่วนถ้อยคำในตัวบทป.พ.พ.มาตรา ๘๖๐ จะใช้คำว่า “หักทอนบัญชี” ก็ตาม แต่ความหมายนั้น ย่อมไม่แตกต่างกัน สำหรับ กำหนดเวลาหักทอนบัญชี โดยปกติคู่สัญญาจะมีการกำหนดเวลากันไว้ เช่น ให้มีการหักทอนบัญชีทุกสิ้นเดือน, ทุก ๒ เดือน, ทุก ๓ เดือน เป็นต้น แล้วแต่ข้อตกลงของคู่สัญญา แต่ถ้าคู่สัญญามิได้กำหนดเวลากันไว้ว่าให้หักทอนบัญชีโดยใช้ระยะเวลาเพียงใด ป.พ.พ.มาตรา ๘๕๘ ให้ถือเอาเป็นกำหนด ๖ เดือน เป็นระยะเวลาให้หักทอนบัญชี ข้อสังเกต ระยะเวลาหักทอนบัญชีดังกล่าวนี้มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาบัญชีเดินสะพัด แต่ถ้าคู่สัญญาจะตกลงให้วันที่หักทอนบัญชีเสร็จคราวใดเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญาบัญชีเดิน สะพัดนั้นคู่สัญญาก็ย่อมตกลงได้
125
องค์ประกอบข้อ ๕ : คงชำระหนี้ส่วนที่เหลือโดยดุลภาค
องค์ประกอบข้อนี้ ถือว่าเป็น “วัตถุแห่งหนี้” ของสัญญาบัญชีเดินสะพัดเช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นข้อปฏิบัติที่คู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดพึงต้องกระทำด้วย สำหรับ คำว่า “โดยดุลภาค” แปลว่า โดยภาวะที่เสมอกัน ดังนั้น คำว่า “คงชำระส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค” จึงหมายถึง ภายหลังตัดทอนบัญชีหนี้ เมื่อทราบว่าเหลือจำนวนหนี้อยู่เพียงใดและฝ่ายใดอยู่ในฐานะเจ้าหนี้แล้ว ฝ่ายที่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้นั้นย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ฝ่ายที่อยู่ในฐานะลูกหนี้ปฏิบัติการชำระหนี้ได้เป็น คราวๆ ไป โดยภาวะที่เสมอกัน
126
๓. ผลประโยชน์ทางกฎหมาย (ดอกเบี้ย) : ที่คู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดพึงได้รับ
หลัก : การคิดดอกเบี้ยกู้ยืม เรื่อง สัญญากู้ยืม ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้าง ชำระ อันหมายถึงในกรณีสัญญากู้ยืมที่ลูกหนี้จะต้องชำระดอกเบี้ยด้วย หากลูกหนี้ค้างชำระดอกเบี้ย อยู่เพียงใด ดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ค้างชำระดังกล่าวนั้น ห้ามเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยอีก ข้อยกเว้น เมื่อดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่า ๑ ปี คู่สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบกันนั้นก็ได้ แต่การตกลงเช่นนั้นต้องทำเป็นหนังสือ ตามป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคหนึ่งซึ่งข้อยกเว้นดังกล่าวนี้เป็นกรณีที่กฎหมายยอมให้เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ย ซ้อนดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ค้างชำระได้ หลัก : การคิดดอกเบี้ยในสัญญาบัญชีเดินสะพัด การเสียดอกเบี้ยตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด ถือเป็น “วัตถุแห่งหนี้” อีกประการหนึ่งของสัญญา บัญชีเดินสะพัด อันมีวิธีคิดดอกเบี้ยตามป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคสองและป.พ.พ.มาตรา ๘๖๐ ดังนี้
127
๓. ผลประโยชน์ทางกฎหมาย (ดอกเบี้ย) : ที่คู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดพึงได้รับ
ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคสอง บัญญัติว่า “ส่วนประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกทบต้น ในบัญชีเดินสะพัด...หาอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติซึ่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้นไม่” จากบทบัญญัติ ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า สำหรับสัญญาบัญชีเดินสะพัด ภายหลังการหักทอนบัญชีหนี้แล้ว ดอกเบี้ย นับแต่วันที่หักทอนบัญชีหนี้เสร็จ เมื่อกลายเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ฝ่ายเจ้าหนี้ย่อมนำดอกเบี้ยที่ ค้างชำระนั้นเข้ามาทบกับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องรอให้ ดอกเบี้ยนั้นค้างชำระไม่น้อยกว่า ๑ ปี ตามป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคหนึ่ง เสียก่อน ป.พ.พ.มาตรา ๘๖๐ บัญญัติว่า “เงินส่วนที่ผิดกันอยู่นั้น ถ้ายังมิได้ชำระ ท่านให้คิดดอกเบี้ย นับแต่วันที่หักทอนบัญชีเสร็จเป็นต้นไป” จากบทบัญญัติดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า สำหรับสัญญาบัญชี เดินสะพัดนั้น หากภายหลังการหักทอนบัญชีหนี้แล้ว เมื่อทราบว่าเหลือจำนวนหนี้อยู่เพียงใดและ ฝ่ายใด อยู่ในฐานะลูกหนี้ ฝ่ายที่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่หักทอนบัญชีหนี้เสร็จ เป็นต้นไปได้ทันที
128
๓. ผลประโยชน์ทางกฎหมาย (ดอกเบี้ย) : ที่คู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดพึงได้รับ
กล่าวโดยสรุป คือ การคิดดอกเบี้ยในสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น ฝ่ายที่เป็นเจ้าหนี้ย่อมคิด ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยได้ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๕ วรรคสองโดยถือว่าเป็นข้อยกเว้นของ ป.พ.พ. มาตรา ๖๕๕ วรรคหนึ่งและมาตรา ๒๒๔ วรรคสอง แต่ถ้าสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงแล้วก็จะต้องคิดดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ.มาตรา ๘๖๐ ไม่สามารถคิดดอกเบี้ยทบต้นได้อีกต่อไป
129
๔. การสิ้นสุดของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
สำหรับการสิ้นสุดของบัญชีเดินสะพัดนั้น แบ่งออกเป็น ๒ แบบกว้างๆ ดังนี้ (๑) สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลา คือ สัญญาบัญชีเดินสะพัดที่ไม่มีข้อสัญญา เกี่ยวกับกำหนดเวลาการเลิกสัญญาเอาไว้และตราบใดที่สัญญาเดินสะพัดยังคงใช้บังคับกันอยู่ระหว่าง คู่สัญญาระบบการคิดดอกเบี้ยทบต้นก็ยังคงมีอยู่ไปเรื่อยๆ จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดสะสิ้นสุดลง เหตุสิ้นสุดของสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลา มี ๓ เหตุด้วยกัน (ก) เหตุสิ้นสุดเมื่อบอกเลิกสัญญา เป็นเหตุอันเกิดจากการที่คู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใดๆ ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๘๕๙ สำหรับการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวนี้ คู่สัญญาฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งจะแสดงเจตนาก่อนก็ได้ เพียงแต่เมื่อบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดแล้วจะต้องให้หักทอนบัญชีหนี้กันด้วย
130
๔. การสิ้นสุดของสัญญาบัญชีเดินสะพัด
(ข) เหตุสิ้นสุดเมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตาย เป็นเหตุอันเกิดจากการที่คู่สัญญาบัญชีเดินสะพัด ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งตาย กล่าวคือ เนื่องจากสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยสภาพแล้วย่อมเป็นการเฉพาะตัว โดยแท้ของคู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดเพราะต้องอาศัยความไว้วางใจเฉพาะตัวระหว่างคู่สัญญา ด้วยเหตุนี้ เมื่อกิจการในสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ เมื่อลูกหนี้ตาย สัญญาบัญชีเดินสะพัด ย่อมต้องระงับสิ้นสุดลงหลังจากลูกหนี้ตายแล้ว ฝ่ายเจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ (ค) เหตุสิ้นสุดเมื่อความระงับแห่งหนี้ตามกฎหมายเกิดขึ้น เป็นเหตุอันเกิดจากความระงับ แห่งหนี้ในทางกฎหมาย เช่น เมื่อมีการแปลงหนี้ใหม่หรือเมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย เป็นต้น (๒) สัญญาบัญชีเดินสะพัดมีกำหนดเวลา คือ สัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีข้อสัญญากำหนด เวลาอันเกี่ยวกับการเลิกสัญญาเอาไว้ ทั้งนี้ ตามถ้อยคำในตัวบทป.พ.พ.มาตรา ๘๕๖ ที่บัญญัติว่า “...ในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง...” ดังนั้น หากคู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดได้มีการตกลงเอาไว้ในข้อสัญญา ด้วยว่าให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงเมื่อใด เช่นนี้ เมื่อถึงกำหนดเวลาตามข้อสัญญานั้นแล้ว สัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมสิ้นสุดลงตามเวลาที่กำหนดไว้ทันที
131
๕. ความสัมพันธ์ระหว่าง “ตั๋วเงิน” กับ “บัญชีเดินสะพัด”
เป็นกรณีตามป.พ.พ.มาตรา ๘๕๗ กล่าวคือ หากคู่สัญญาบัญชีเดินสะพัดนำตั๋วเงินลงเป็น รายการในบัญชีเดินสะพัด ดังนี้ กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าการได้นำตั๋วเงินลงเป็นรายการในบัญชี เดินสะพัดดังกล่าวนั้นมีเงื่อนไขว่าจะมีผู้ชำระเงินตามตั๋วเงินนั้น อย่างไรก็ดี ถ้าต่อมาปรากฏว่าตั๋วเงิน ที่นำไปลงเป็นรายการในบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวไม่มีผู้ชำระเงินตามตั๋วเงินนั้น คู่สัญญาบัญชีเดินสะพัด จะเพิกถอนรายการที่มีการนำตั๋วเงินดังกล่าวอันนั้นเสียก็ได้ สำหรับ “ตั๋วเงิน” ตามป.พ.พ.มาตรา ๘๕๗ คือ (๑) ตั๋วแลกเงิน (๒) ตั๋วสัญญาใช้เงิน (๓) เช็ค ตามป.พ.พ.มาตรา ๘๙๘ นั่นเอง
132
๖.อายุความสิทธิเรียกร้องในสัญญาบัญชีเดินสะพัด
โดยปกติเมื่อปรากฏว่าลูกหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้ ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ (ป.พ.พ.มาตรา ๒๑๓ วรรคแรก) ส่วนอายุความสิทธิเรียกร้องในสัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น เนื่องจากกฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้ โดยเฉพาะ อายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงมีกำหนด ๑๐ ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๑๙๓/๓๐
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.