ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
พืชพรรณท้องถิ่น อ.สุวรรณภูมิ
2
อีทก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Olax psittacorum (Lam.) Vahl
ชื่อวงศ์ : OLACACEAE ชื่ออื่น : คือขนตาช้าง ควยเซียก เยี่ยวงัว กระดอกอก กระทอกม้า น้ำใจใคร่ กะหลันถอก หญ้าถลกบาตร ส้อคิงไฟ จัดเป็นไม้เถาหรือไม้พุ่มรอเลื้อย มีความสูงได้ประมาณ 2-5 เมตร มีกิ่งก้านมาก เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวเข้มหรือสีขาวอมน้ำตาล แตกเป็น แนวยาวห่าง ๆ กัน กิ่งมักห้อยลง ตามกิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีขาวขึ้นปก คลุม มักมีหนามแข็งเล็ก ๆ ทั่วไป ส่วนกิ่งแก่เกือบเกลี้ยง มีหนามโค้ง
3
สรรพคุณ : เป็นยาสมุนไพร เปลือกเป็นยาบำรุงกำลังแก้ไข้ เนื้อไม้ ถอนพิษเบื่อเมา รักษาบาดแผล โรคตาแดง ใบ ขับพยาธิ รักษาไข้หวัด ยอดนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อนและใบอ่อน มีรสหวานมันและฝาด เล็กน้อย ใช้เป็นผักแกงส้ม แกงเลียง หรือใช้เป็นผักแนม จิ้มกับน้ำพริก รับประทาน ส่วนผลสุกก็ใช้รับประทานได้เช่นกัน
4
คิงไฟนกคุ่ม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elephantopus scaber Linn.
ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE ชื่ออื่น : ขี้ไฟนกคุ่ม โด่ไม่รู้ล้ม เคยโป้ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าปราบ หญ้าสามสิบสองหาบ หนาด ผาหนาด มีแคลน เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสั้น ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นวง รูปขอบ ขนานหรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 2-6 ซม. ยาว ซม. มักแผ่ราบ ไปกับผิวดิน ขอบใบหยักฟันเลื่อย ท้องใบมีขนมากกว่าหลังใบ ดอกช่อ แทงออกจากกลางต้น
5
สรรพคุณ : คิงไฟนกคุ่มเป็นพืชสมุนไพร ต้นใช้ต้มอาบรักษา โรคซางเด็ก ขับปัสสาวะ ขับพยาธิไส้เดือน
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : ใบ ใช้ใบต้มน้ำกินเป็นยาขับปัสสาวะ ขับพยาธิ ไส้เดือน และกระตุ้นกำหนัด
6
ผีพ่วน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Uvaria rufa Blume ชื่อวงค์ : (ANNONACEAE)
ชื่ออื่น : นมแมวป่า ติงตัง สีม่วน ตีนตั่ง ตีนตั่งเครือ นมวัว นมควาย บุหงาใหญ่ หมากผีผวน บุหงาใหญ่ นมแมวป่า หำลิง นมแมว นมวัว นมควาย ลูกเตรียน กรีล บักผีผ่วน เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เนื้อไม้แข็ง เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นไปได้ไกล สูง 4 -6 เมตรกิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดงใบเดี่ยว เรียงสลับรูป วงรีหรือรูปไข่ สีเขียวเข้ม ผิวใบมีขนสีน้ำตาลแดงทั้งสองด้าน
7
สรรพคุณ : ผีพ่วนเป็นพืชสมุนไพร กิ่งสามารถนำสกัดย้อมไหมและ ฝ้ายได้
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ แก่น และ ราก ต้มน้ำ ดื่ม แก้ไข้ สลับไข้ซ้ำ เนื่องจากกินของแสลงรากแก้ผอมแห้งสำหรับสตรี ที่อยู่ไฟไม่ได้หลังการคลอดบุตร และช่วยบำรุงน้ำนม ผลผลสุก รส เปรี้ยวๆ รับประทานได้
8
ติ้วมอน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cratoxylum cochinchinense (Lour.) Blume
ชื่อวงค์ : Clusiaceae (Guttiferae) ชื่ออื่น :ขี้ติ้ว ติ้วแดง ติ้วใบเหลี่ยม ติ้วเกลี้ยง ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมปกคลุมห่าง ๆ ทุกส่วนมีน้ำยางสีเหลือง ใบ: เดี่ยว รูปใบรี ออกตรงข้ามปลายใบแหลม ดอก: ออกเป็นกระจุกตาม ซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูอมแดงผล: เมื่อแก่แตกออกเป็น 3 พู สีดำ เมล็ดมีปีกบาง ๆ
9
สรรพคุณ : ติ้วมอน ยอดนำมารับปะทานกับลาบ น้ำพริก เป็นยา ระบายอ่อนๆ
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ ยอดอ่อนกินเป็นผักสด กับน้ำพริก ลาบ หรือใส่ในซ่าผักของชาวเหนือ ใบมีรสฝาดมัน เป็นยา ระบายอ่อนๆ ยอดรสมันฝาดมีมากในฤดูร้อน เป็นคนละชนิดกับผักติ้ว ที่มีใบมันและรสเปรี้ยว
10
ว่านตูบหุบ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaempferia rotunda L.
ชื่อวงค์ : Zingiberaceae ชื่ออื่น :ตูบหมูบ,เปราะป่า,อีอูบ จัดเป็นพืชลงหัวขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 3-5 เซนติเมตร มี เหง้าสั้น และรากเป็นกระจุก หัวเปราะป่า หรือเหง้าสั้น และมีขนาดเล็ก ลักษณะของเหง้าเป็นรูปทรงกลม สีน้ำตาล ที่ผิวมีรอยข้อปล้องอย่าง ชัดเจน ออกรากจากเหง้าหลักเป็นเส้นกลมยาว เหง้ามีกลิ่นหอม รสร้อน เผ็ดและขมจัด
11
สรรพคุณ : เป็นพืชสมุนไพร ใบอ่อนนำมารีบประทานกับน้ำพริก ลาบ หัวว่านมีกลิ่นหอม ใช้ดมแก้วิงเวียน
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ สามารถนำมาใช้เป็น เครื่องเทศและเป็นเครื่องยาสมุนไพรใบอ่อนสดที่ม้วนอยู่ใช้รับประทาน เป็นผักจิ้มน้ำพริกได้หรือนำมาใช้ทำเป็นผักเครื่องเคียงกับขนมจีนหรือ ข้าวยำ ให้รสชาติร้อนซ่าเล็กน้อย
12
มะพอก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parinari anamensis Hance
ชื่อวงค์ : (CHRYSOBALANACEAE) ชื่ออื่น : จัด จั๊ด พอก มะคลอก หมักมอก ประดงไฟ ประดงเลือด กระท้อนลอก ท่าลอก หมากรอก มะมื่อ หมักมื่อ ตะเลาะ เหลอะ ตะ ลอก ตะโลก ต้นมะพอก จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูง ของต้นประมาณ เมตร ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามปลายกิ่ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตรผลมี ลักษณะเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม กลมรีเหมือนไข่ หรือเป็นรูปกระสวย
13
สรรพคุณ : ใช้แก่นมะพอกผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ต้มกับน้ำดื่มเป็น ยาแก้หืด นำมาต้มกับน้ำดื่มและอาบแก้ประดง เปลือกต้นมะพอกใช้ เป็นยาประคบแก้อาการช้ำใน แก้ปวดบวม ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : เนื้อผลสุกรอบ ๆ เมล็ด มีรสหวานหอม ใช้ รับประทานได้ เนื้อของผลสุกนำมาบดผสมกับแป้งและน้ำตาล ทำเป็น ขนมหวานรับประทาน ซึ่งจะมีกลิ่นหอมเฉพาะของมะพอกข้างในเมล็ด มีรสมันคล้ายถั่ว เมล็ดนำมาสกัดเอาน้ำมันใช้ทำเป็นน้ำมันหมึกพิมพ์ และน้ำมันหล่อลื่น
14
ติ้วขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cratoxylum formosum (Jack) Dyer
ชื่อวงค์ :Clusiaceae ชื่ออื่น : ตาว ติ้วส้ม ติ้วแดง ติ้วยาง ติ้วเลือด แต้วหิน ติ้วเหลือง ติ้วขน เตา ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 35 เมตร ผลัดใบ ลำต้นมีน้ำยางเหลือง กิ่งก้านเล็กเรียว กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป เปลือกสี น้ำตาลแดง แตกล่อนเป็นสะเก็ดใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมไข่กลับ หรือรูปขอบขนาน กว้าง เซนติเมตร ยาว 3-13 เซนติเมตร
15
สรรพคุณ : แก่นและลำต้น แช่น้ำดื่ม แก้ปะดงเลือด (เลือดไหลไม่ หยุด) ราก ต้มน้ำดื่มแก้ปัสสาวะขัด ยอด ดอก และใบอ่อน เถา รสเบื่อ เมาฝาด บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้ปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ แก้ ประดง ขับลม ยาง ใช้รักษาส้นเท้าแตก ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ ราก ผสมกับหัวแห้วหมู และรากปลาไหลเผือก ต้มน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง ขับปัสสาวะ แก้ ปัสสาวะขัด น้ำยาง ทารอยแตกของส้นเท้า รากและใบน้ำต้มกินเป็นยา แก้ปวดท้อง ต้น ยางจากเปลือกต้นทาแก้คัน น้ำต้มเปลือกต้น กินแก้ ธาตุพิการ
16
กะบก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Irvingia malayana Oliv. ex A.W.Benn.
ชื่อวงค์ :IRVINGIACEAE ชื่ออื่น : มะลื่น หมักลื่น ซะอัง หลักกาย มื่น มะมื่น บก หมาก บก หมากกระบก กะบกกระบก จะบก ตระบก เปรียวด้องเดี๋ยง ต้นกระบก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ ทรงเรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ มีความสูงของต้นประมาณ เมตร ใบ เป็นรูปไข่หรือรูปรีแกมรูปขอบขนานจนถึงรูปใบหอก ใบกว้างประมาณ 2- 9 เซนติเมตรดอกมีสีเขียวอมเขียวอ่อน มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้อยู่ 10 อัน ลูกกระบก ลักษณะของผลเป็นรูปกลมรี หรือ ค่อนข้างเป็นรูปไข่ ลักษณะแบนเล็กน้อย
17
สรรพคุณ : น้ำมันเมล็ดกระบกช่วยบำรุงสมอง ช่วยรักษาริดสีดวงจมูก ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง (เนื้อในเมล็ด) เปลือก ใช้นำมาย้อมสีผ้าได้ ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ เนื้อในเมล็ดมีรสหวาน มัน นิยมนำมาคั่วรับประทานเป็นของว่าง มีรสคล้ายกับถั่วลิสง หรือที่ เรียกว่า “กระบกคั่ว มีการใช้น้ำมันจากเมล็ดกระบกมารับประทานนื้อ ในเมล็ดเป็นแหล่งอุดมของแคลเซียมและเหล็กชั้นดี จึงช่วยบำรุง กระดูกและฟันได้ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักหรือรับประทานกับลาบ
18
ผักเม็ก ชื่อวิทยาศาสตร์ :Syzygium gratum (Wight) S.N. Mitra var.gratum
ชื่อวงค์ :MYRTACEAE ชื่ออื่น : ผักเสม็ด ไคร้เม็ด เม็ก เม็ดชุน เสม็ด เสม็ดเขาเสม็ดแดง เสม็ดชุน ยีมือแล ต้น เสม็ดชุนเป็นไม้พุ่มต้น ไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง แตก สะเก็ดแผ่นบางๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ดอก ดอกออกเป็นช่อซี่ร่มเล็กๆ สี เหลืองอ่อน ผล ผลกลม สีขาว มีขนาดเล็ก
19
สรรพคุณ : ใช้ใบสด ตำป่นปิดพอกแก้เคล็ดยอก ฟกบวมได้ดี ใช้ผลมะกรูด หรือใบพลู รมควันใต้ใบเสม็ดพออุ่นๆ นาบท้องเด็กแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ หาได้ตามทุ่งนา ตามป่า คน อีสานชอบใช้ชอบรับประทาน ใบอ่อน ยอดอ่อน เป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ ปุ่น แจ่ว ก้อย ลาบ ยำ หรือห่อปลาช่อนเผา หรือปลาเผา กินกับส้มตำ หรือแจ่วปลาร้า สุดยอดความอร่อย หรือใช้ทานกับขนมจีนหรือเป็นผักจิ้ม นอกจากนี้ยังนำมาปรุงกับเครื่อง ปรุงต่าง ๆ เช่น ปลาร้า มะนาว ข้าวคั่ว หอมแดง พริก ฯลฯ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ เรียก ซุบผัก เม็กผัก เม็กมีรสฝาดปนเปรี้ยวนิดๆ ยอดสีขาวจะ อร่อยกว่ายอดสีแดง
20
แต้ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sindora siamensis Miq ชื่อวงค์ : CAESALPINIACEAE
ชื่ออื่น : มะค่าแต้ มะค่าหยุม มะค่าหนาม แต้ มะค่าหนาม มะค่าลิง กอกก้อ กอเก๊าะ ก้าเกาะ กรอก๊อส แต้หนาม มีความสูงของต้นประมาณ เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง มี เรือนยอดเป็นรูปร่มหรือเป็นทรงเจดีย์ต่ำ ใบประกอบแบบขนนกออกเรียง สลับ มีใบย่อยประมาณ 3-4 ใบดอกเป็นช่อตามซอกใบหรือตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ เซนติเมตร ผลเป็นฝักเดี่ยวแบนค่อนข้างกลม ที่ผิวเปลือกมีหนามแหลมอยู่ทั่วไป
21
สรรพคุณ : เปลือกใช้ต้มแก้ซาง แก้ลิ้นเป็นฝ้า ปุ่มที่เปลือกมีรสเมา เบื่อ ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้พยาธิและใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ เปลือกนำมาใช้เป็นสี ย้อมผ้าได้ เมล็ดแก่เมื่อนำมาเผาไฟแล้วกะเทาะเปลือกออก เอาแต่เนื้อ ข้างในมารับประทานเป็นอาหารว่างได้ ในด้านเชื้อเพลิง สามารถ นำมาใช้ทำเป็นถ่านได้ดี
22
โกทา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Harrisonia perforata(Blanco)Merr.
ชื่อวงค์ : SIMAROUBACEAE ชื่ออื่น : คนทา ขี้ตำตา หนามกะแท่ง โกทา หนามโกทา จี้ จี้หนาม หนามจี้ สีเตาะ สีเดาะ ไม้พุ่มแกมเถากิ่งก้านมีหนาม ยอดอ่อนมีสีแดง ใบประกอบแบบขน นกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ ดอกช่อ กลีบดอกด้านนอกสีแดงแกม ม่วง ด้านในสีนวล ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม ใบ ผลและรากมีรสขม ราก ยาแก้ไข้ทุกชนิด
23
สรรพคุณ : ใบ แก้ปวด ดอก แก้พิษแตนต่อย ต้นแก้บิด แก้ท้องร่วง กระทุ้งไข้พิษไข้กาฬ แก้ร้อนในกระหายน้ำ เปลือก แก้บิด แก้ท้องร่วง รักษาโรคลำไส้ เปลือกราก แก้ไข้ แก้ท้องร่วง แก้บิด รักษาโรคลำไส้ ราก ดับพิษไข้หัว แก้ไข้เหนือ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้พิษ ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ ผลคนทาสดยังสามารถ นำมาสกัดน้ำสีที่ใช้สำหรับย้อมผ้า กิ่งก้านมีรสเฝื่อนขม สามารถ นำมาใช้แปรงฟัน หรือสีฟันเพื่อรักษาฟันได้ เปลือกต้นใช้ยาแก้ตาเจ็บ สำหรับสัตว์พาหนะ ผลอ่อนนำไปหมดไฟหรือนำไปต้มแล้วทุบพอแตก นำมาใช้ทาเท้าก่อนทำนาจะช่วยป้องกันน้ำกัดเท้าในฤดูทำนาได้
24
ใส้ตัน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aganosma marginata (Roxb.) G.Don.
ชื่อวงค์ : APOCYNACEAE ชื่ออื่น : เดื่อเครือ เดื่อดิน เดื่อเถา เดื่อไม้ ไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง ทุกส่วนมีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูป ขอบขนาน แผ่นใบหนา เป็นมัน โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม ขอบใบ เรียบ เส้นใบชัดเจน เชื่อมปิดที่ขอบใบ ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบและ ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ สี
25
สรรพคุณ : เถา มีรสเฝื่อนฝาด ใช้ทาฝี แก้เมื่อยขบ แก้ผดผื่น คัน ราก ต้มดื่มแก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้ไตและตับพิการ บำรุงกำลัง ตอนฟื้นไข้ ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบาย ขับระดูยอด ใช้แก้ ท้องเสีย ใบ แก้เมื่อยขบ เข้ายาทารักษาฝี และริดสีดวงทวาร ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อนกินเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ อาหาร รสจัดต่าง ๆ หรือใส่แกงอ่อม ผลอ่อนนำมาต้มจิ้มน้ำพริก รสฝาดมัน ให้แคลเซียมและวิตามินเอสูง
26
กะบาก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anisoptera costata Korth.
ชื่อวงค์ : DIPTEROCARPACEAE ชื่ออื่น : กระบากขาว กระบากโคก กระบากด้าง, กระบากช่อ กระบากดำ กระบากแดง ตะบาก บาก พนอง ลำต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 40 เมตร ผลัดใบระยะสั้น ลำต้น เปลาตรง ใบ เดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปรี รูปไข่กลับถึงรูปขอบขนาน กว้าง 6- 8 ซม. ยาว 6-16 ซม. ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะสั้นๆ ตามซอกใบ สี ขาวหรือเหลืองอ่อน ผล แห้งแบบมีปีก รูปกลม เรียบ ขนาด 1 ซม. มีปีก ยาว 2 ปีกและปีกสั้น 3 ปีก
27
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : เนื้อไม้สีน้ำตาลปนเหลือง เนื้อหยาบ ใช้ทำไม้ แบบ ลังใส่ของ เสา ฝา พื้น ตง รอด ชันใช้ผสมน้ำมันทาไม้ น้ำมันชัก เงา ยาแนวไม้และเรือ
28
ยางนา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don
ชื่อวงค์ : DIPTEROCARPACEAE ชื่ออื่น : ยางกุง ยางควาย ชันนา ยางตัง ยางขาว ยางแม่น้ำ ยางหยวก ยางใต้ ยางเนิน ยาง กา ขะจะเตียล เยียง จ้อง ทองหลัก ราลอย ลอยด์ ด่งจ้อ เห่ง จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบหรือผลัดใบระยะสั้นขนาดใหญ่ มี ความสูงของต้นได้ถึง 50 เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะ ของใบเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนานออกดอกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ แบบ ช่อกระจะ ตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง ดอกมีขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร
29
สรรพคุณ : ตำรายาไทยจะน้ำต้มจากเปลือกเป็นยาบำรุงร่างกาย ฟอก เลือด บำรุงโลหิต แก้ตับอักเสบ และใช้ทาถูนวดขณะร้อน ๆ น้ำมันยาง ใช้ผสมกับเมล็ดกุยช่าย มล็ดและใบมีรสฝาดร้อน นำมาต้มใส่เกลือ ใช้ อมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : น้ำมันยางจากต้นสามารถนำมาใช้โดยตรงเพื่อใช้ ผสมชันไม้อื่น ๆ ใช้ยาเครื่องจักสานกันน้ำรั่ว เนื้อไม้ยางนาสามารถ นำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ดี
30
คันจอง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros filipendula Pierre ex Lecomte
ชื่อวงค์ : Ebenaceae ชื่ออื่น : ลูกบิดดง จังนัง ดำบิด คันจ้อง ไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 12 เมตร เปลือกสีเทาปนน้ำตาล ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ ดอกแยกเพศ อยู่คนละต้น กลีบดอกและกลีบเลี้ยง อย่างละ 4 กลีบผลสดแบบมีเนื้อ รูปทรงกลม ยาว เซนติเมตร กลีบ เลี้ยงแยกเกือบจรดโคน มีขนด้านนอก
31
สรรพคุณ : ราก แช่น้ำดื่ม และอาบแก้ซางเด็ก หรือเข้ายาแก้ ประดง ผล รับประทานได้ ใบอ่อนรับประทานเป็นผักสด มีรสฝาด หวานใช้เป็นยาสมุนไพรแก้ปวดท้อง แก้บิด ราก นำมาต้มรวมกับยาอื่น ดื่มแก้ไข้ ใช้เป็นยาเย็น นำมาแช่น้ำอาบ และดื่ม ในสตรีหลังคลอดที่อยู่ ไฟไม่ได้ ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : เป็นยาสมุนไพร
32
หนามแท่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Catunaregam tomentosa (Blume ex DC.)Triveng
ชื่อวงค์ : Rubiaceae ชื่ออื่น : เคด กะแทง หนามเค็ด เคล็ด เคล็ดทุ่ง แท้ง หนามแท่ง ตะ เคล็ด ระเวียง มะเค็ด ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 4-10เมตร ลำต้นและกิ่งก้านทรงกระบอก เปลือกสีน้ำตาล กิ่งก้านมีหนามแข็ง แหลม ยาว 1-2 นิ้ว ออกเป็นคู่ตรง ข้ามกัน กิ่งแตกออกเกือบขนานกับพื้น เมื่อต้นสูงราว 2 เมตร
33
สรรพคุณ : ทั้งต้น รสเฝื่อนเล็กน้อย ปรุงยา รักษาโรคเบาหวาน แก้ โรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งตับ มะเร็งในกระดูก แก้วัณโรค ผลแก่ ใช้ตี กับน้ำ เป็นยาสระผม ซักผ้า เบื่อปลา ใบ แก้ไข้ ขับปัสสาวะ ส่วนที่ใช้ประโยชน์ :นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้
34
แก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Combretum quadrangulare Kurz.
ชื่อวงค์ : Combretaceae ชื่ออื่น : แพ่ง ขอนเเข้ จองแค่ สะแก ซังแก สะแกนา ไม้ยืนต้น สูง เมตร เปลือกต้นสีเทานวล กิ่งอ่อนเป็นสันสี่ มุม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ดอก เล็ก สีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อที่ ซอกใบ ดอก เล็ก สีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อที่ซอกใบ เมล็ดสี น้ำตาลแดง รูปกระสวย มี 4 สัน ตามยาว
35
สรรพคุณ : ต้นและใบใช้ปรุงเป็นยารักษามะเร็งภายในต่าง ๆ (ต้น,ใบ อ่อน) นและใบใช้ปรุงเป็นยารักษามะเร็งภายในต่าง ๆ (ต้น,ใบอ่อน) ส่วนรากมีสรรพคุณเป็นยาแก้มะเร็งที่ตับ ปอด ลำไส้ กระเพาะอาหาร และกระเพาะปัสสาวะ (ราก) ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : ผลดิบนำมาแช่กับน้ำไว้ให้วัวหรือควายกินเป็นยา ขับพยาธิได้ ชาวบ้านมักจะเอาต้นสะแกนาไปทำฟืนกันมาก เพราะแก่น ของต้นสะแกนามีความแข็งมากนั่นเอง
36
อะราง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum dasyrachis (Miq.) Kurz
ชื่อวงค์ : Leguminosae-Caesalpinioideae ชื่ออื่น : กว่าเซก คางรุ้ง คางฮุ่ง จ๊าขาม ช้าขม ตาเซก นนทรี ราง ร้าง อะล้าง อินทรี ต้นอะราง จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความ สูงของต้นได้ถึง 30 เมตร ใบอะราง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับกัน ช่อใบมีความยาวประมาณ เซนติเมตร ดอกอะ ราง ออกดอกเป็นช่อแบบห้อยระย้าลงสู่พื้นดิน โดยออกตามซอกใบ ช่อ ดอกมีความยาวประมาณ เซนติเมตร
37
สรรพคุณ : เปลือกต้นมีรสฝาด ใช้รับประทานรักษาโรคเกี่ยวกับโลหิต เปลือกต้นใช้รับประทานเป็นยากล่อมเสมหะ รักษาโรคเกี่ยวกับเสมหะ ใช้เป็นยาช่วยขับลม ช่วยแก้อาการท้องร่วง เปลือกต้นใช้ต้มดื่มแก้ อาการท้องเสีย ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ ต้นอะรางสามารถนำมา ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับได้ เปลือกต้นที่มีอายุมากใช้รับประทานได้
38
มะเม้า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antidesma thwaitesianum Muell.Arg
ชื่อวงค์ : Euphorbiaceae ชื่ออื่น : มะเม่า ต้นเม่า หมากเม่า หมากเม้า บ่าเหม้า เม่า หมากเม่า หลวง มัดเซ เม่าเสี้ยน ลำต้น หมากเม่าเป็นไม้พุ่มต้นสูงประมาณ 5-10 เมตร เป็นไม้ พื้นเมืองเนื้อแข็ง ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียวสด ปลายและโคนมนกลมถึงหยัก เว้า ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด คล้ายช่อพริกไทย จะ ออกตามซอกใบใกล้ยอดและปลายกิ่ง ผล ผลหมากเม่ามีขนาดเล็กเป็นพวง ภายใน 1 ผลประกอบด้วย 1 เมล็ด
39
สรรพคุณ : ผลมะเม่าสุกจะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยขจัดสารพิษออกจาก ร่างกาย ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ หรือจะนำมา ทำเป็นส้มตำมะเม่าก็ได้เช่นกัน ยอดอ่อนของมะเม่าใช้รับประทานเป็น ผักสดได้ (ยอดอ่อน) สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น แยม น้ำผลไม้ หรือนำไปทำเป็นไวน์เกรดคุณภาพสูง เป็นต้น
40
บัวหลวง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nelumbo nucifera Gaertn.
ชื่อวงค์ : NELUMBONACEAE ชื่ออื่น : โกกระณต บัว บัวอุบล บัวฉัตรขาว บัวฉัตรชมพู บัวฉัตรสี ชมพู บุณฑริก ปุณฑริก ปทุม ปัทมา สัตตบงกช สัตตบุษย์ โช้ค ต้นบัวหลวง จัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีทั้งเป็นเหง้าอยู่ ใต้ดินและเป็นไหลอยู่เหนือดินใต้น้ำ ดอกบัวหลวง ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว มีสีขาว สีชมพู มีกลิ่นหอม มีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ ฝักบัวหลวง ในฝักมีผล อ่อนสีเขียวนวลจำนวนมาก ผลจะฝังอยู่ในส่วนที่เป็นฝักรูปกรวยในดอก ดี บัวหลวง คือ ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ในเม็ดบัวหลวง ดีบัวมีลักษณะคล้าย สาก
41
สรรพคุณ : รากและเม็ดบัวมีรสหวานเย็นและมันเล็กน้อย ช่วยบำรุง กำลัง ใช้เป็นยาชูกำลัง เม็ดบัวมีคุณค่าทางอาหารสูง ช่วยเพิ่มพลังงาน และไขมันในร่างกาย ดอกบัวสดสีขาวใช้ต้มกับน้ำดื่มติดต่อกัน จะมี สรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการอ่อนเพลีย ทำให้สดชื่นขึ้น เม็ดบัวมีสาร ต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่าง ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ รากบัวหลวง (เหง้าบัว) สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารได้ทั้งคาวหวาน ไหลบัว (หลดบัว) สามารถนำมาประกอบอาหารได้ทั้งสดและแห้ง ดอกนำมาบูชาพระ หรือนำมาใช้ในทางศาสนา
42
ต้องแล่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polyalthia evecta (Pierre) Finet &Gagnep.
ชื่อวงค์ : Annonaceae ชื่ออื่น : น้ำเต้าแล้ง น้ำน้อย นมน้อย ไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดเล็ก สูงประมาณ 2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นสันเหลี่ยมสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบ เดียวกัน ออกหนาแน่น ใบมีขนาดเล็ก รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ปลายใบมนและเป็นติ่ง
43
สรรพคุณ : ใช้ ราก เข้ายากับเครือไส้ไก่ และตะไคร้ป่า ต้มน้ำดื่ม แก้ โรคกระเพาะอาหาร เข้ากับรากลกคก และรากหุ่นไห้ ต้มน้ำดื่ม ช่วย บำรุงน้ำนมหญิงหลังคลอด ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : เป็นยาสมุนไพร
44
เสียว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus taxodiifolius Beille
ชื่อวงค์ : Euphorbiaceae ชื่ออื่น : ต้นเสียว ไคร้หางนาค เสียวน้อย เสียวใหญ่ เสียวหางนาค เสียวน้ำ ตะไคร้หางสิงห์ ไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดเล็ก สูงประมาณ 2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นสันเหลี่ยมสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบ เดียวกัน ออกหนาแน่น ใบมีขนาดเล็ก รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ปลายใบมนและเป็นติ่งไม้พุ่มรอเลื้อย ขนาดเล็ก สูงประมาณ 2 เมตร เปลือกลำต้น
45
สรรพคุณ : ราก ต้มน้ำดื่ม แก้มดลูกอักเสบ ราก เข้ายากับเสี้ยวใหญ่ และเสี้ยวน้อย ต้มน้ำดื่ม แก้ไตพิการ ลำต้น เข้ายากับเสี้ยวน้อย และ ดูกข้าว ต้มน้ำดื่ม แก้ปวด ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้
46
พนมสวรรค์ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum paniculatum L.
ชื่อวงค์ : Lamiaceae (Labiatae) ชื่ออื่น : พวงพีแดง พวงพีเหลือง หัวลิง ฉัตรฟ้า สาวสวรรค์ ปรางมาลี นมสวรรค์ น้ำนมสวรรค์ ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง เมตร เปลือกต้นเรียบ สี น้ำตาลแกมเขียว กิ่งอ่อนต้นอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ดอกช่อแบบแยกแขนงขนาดใหญ่ออกที่ปลาย ยอด สีแดงหรือส้ม เมล็ดเดียว แข็ง เมื่อสุกมีสีแดงคล้ำ พบตามป่าเต็งรัง
47
สรรพคุณ : ต้นนมสวรรค์ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด รากและเหง้ามี ฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิต รากใช้ต้มกับน้ำดื่ม ช่วยขับน้ำคาวปลาของ สตรีใบสดนำมาตำเป็นยารักษาอาการปวดข้อและปวดประสาท ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ ยอดอ่อน ใบไม่อ่อนไม่ แก่ นำมาใช้ประกอบอาหารได้ เช่น การทำแกง เป็นไม้ประดับกันมาก ขึ้น เนื่องจากดอกนมสวรรค์มีสีและรูปทรงที่สวยงาม
48
ก้นครก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polyathia debilis (Pierre) Finet & Gagnep.
ชื่อวงค์ : Annonaceae ชื่ออื่น : ไข่เต่า กล้วยตับเต่า กล้วยเต่า ตับเต่า ตับเต่าน้อย รกคก เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1 เมตร ตามกิ่ง อ่อนมีขนอ่อนขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น ส่วนกิ่งแก่จะเรียบเป็นสี น้ำตาล ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานจนถึงรูปไข่กลับแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลมหรือมนและมีติ่งแหลม กลีบดอกเป็นรูปไข่หรือรูปไข่แกม รูปใบหอก ปลายมน มีขนาดกว้างประมาณ 4 มิลลิเมตรผลมีขนาด กว้างประมาณ 1.3 เซนติเมตรผลมีขนอ่อนนุ่ม ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อ สุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาล
49
สรรพคุณ : รากมีรสเย็น ใช้เป็นยาแก้ตัวร้อน ดับพิษไข้ทั้งปวง ดับพิษ ตานซาง และแก้วัณโรค ใช้ต้นหรือรากนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ ปวดท้อง ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : ผลสุกมีสีเหลือง มีรสหวาน สามารถนำมา รับประทานได้ช้เป็นอาหารสัตว์ของโค กระบือ คุณค่าทางอาหารที่พบ จะมีโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
50
เค็ง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dialium cochinchinense Pierre
ชื่อวงค์ : LEGUMINOSAE – CAESALPINIOIDEAE ชื่ออื่น : หมากเข้ง แคง แค็ง หมากแข้ง ไม้ต้น สูง เมตร ใบประกอบแบบขนนก ปลายคลี่ เรียงสลับ ใบรูปไข่ถึงรูปรี กว้าง เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ปลายทู่ถึง แหลม โคนมนถึงค่อนข้างสอบ ขอบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ดอกเล็กสีขาว ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามปลายกิ่ง ผลกลมรี ผลสุกสีดำ มี เมล็ดเดีย
51
สรรพคุณ : ผลสุกนำมรับประทานเป็นยาบำรุงไขข้อ แก้ร้อนใน
ใช้ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ ยอดอ่อนให้รสเปรี้ยวใช้ ประกอบอาหาร เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง เปลือกและแก่นย้อมสีให้สี น้ำตาล ผลเมื่อสุกเปลือกเปลี่ยนเป็นสีดำ มีความกรอบ เนื้อในจะ ค่อนข้างติดเมล็ด และเนื้อจะแห้งๆ มีรสเปรี้ยวอมหวาน ใบที่มีรส เปรี้ยวใช้เป็นยาระบาย รากนำมาต้มน้ำดื่มเรียกน้ำนมในระหว่างอยู่ไฟ
52
แดง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xylia xylocarpa ชื่อวงค์ : Fabaceae
ชื่ออื่น : จะลาน จาลาน ตะกร้อม สะกรอม เพ้ย ปราน ไปร เพ้ย ต้นแดง จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูง ของต้นได้ถึง 25 เมตร และบางครั้งอาจสูงได้ถึง เมตร ต้น แดง จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นได้ ถึง 25 เมตร และบางครั้งอาจสูงได้ถึง เมตร ดอกต้นแดง ดอกมีสี เหลืองขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ขึ้นอัดกันแน่นเป็นช่อกลมเดี่ยว ๆดอก ต้นแดง ดอกมีสีเหลืองขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ขึ้นอัดกันแน่นเป็นช่อ กลมเดี่ยว ๆ
53
สรรพคุณ : เปลือกมีรสฝาด ช่วยสมานธาตุ ดอกช่วยบำรุงหัวใจ แก่น บำรุงโลหิต ช่วยแก้โรคกษัย ช่วยแก้พิษโลหิต ช่วยดับพิษ แก้ไข้กาฬ ดอกนำมาใช้ผสมเป็นยาแก้ไข้ เปลือกช่วยแก้อาการท้องร่วง ใช้ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ สามารถนำมาปลูกเพื่อใช้ ตกแต่งบริเวณอาคารสถานที่ได้ เมล็ดสามารถนำมารับประทานได้ ไม้แดงเป็นไม้ที่ค่อนข้างแข็งแรง มีความทนทานต่อการกระแทกสูง เพรียงและปลวกไม่ค่อยทำลาย และเป็นไม้ที่ทนไฟในตัว การใช้ ประโยชน์จากไม้แดงจึงนิยมนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน
54
ขี้อ้น ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhodamnia dumetorum (DC.) Merr. & L.M.Perry
ชื่อวงค์ : MYRTACEAE ชื่ออื่น : ก้นถ้วย พลวดหม้อ พลองแก้มอ้น พลองขี้ไต่ พลองขี้อ้น พลองเสม็ด จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ ประมาณ เมตร ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปรีแคบ ขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ดอกเป็นรูปลูกแพร์ขนาดประมาณ 7 x 3.5 มิลลิเมตร ก้านช่อยาว ประมาณ 1 เซนติเมตรผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงเกือบกลม มีขนาดกว้าง ประมาณ 6 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร
55
สรรพคุณ : เปลือกต้นและใบพลองแก้มอ้น เป็นยาฝาดสมานรักษา บาดแผล รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ ผลใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ ไข้ ใช้ประโยชน์ : ผลสุกใช้รับประทานได้
56
หมอกบ่วาย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drosera burmannii Vahl.
ชื่อวงค์ : Droseracea ชื่ออื่น : จอกบ่วาย กระดุมทอง หยาดน้ำค้าง ไม้ล้มลุก ลำต้นสั้น อายุปีเดียว สูง 2-3 เซนติเมตร เป็นพืชกิน แมลงขนาดเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับและซ้อนกันแน่นเป็นแนว รัศมี เรียงกระจุกใกล้ราก ยาว 6-10 มิลลิเมตร กว้าง 4-6 มิลลิเมตร ทอด ราบไปกับพื้นดิน ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ออกที่ปลายยอดหรือ กึ่งกลางลำต้น กลีบดอก มี 5 กลีบ แยกกัน สีขาวปลายสีแดง ดอกออก เป็น ช่อแบบช่อกระจะ ออกที่ปลายยอดหรือกึ่งกลางลำต้น กลีบดอกมี 5 กลีบ แยกกัน สีขาวปลายสีแดง
57
สรรพคุณ : ใช้ ทั้งต้นแห้ง ดองเหล้าดื่ม แก้ท้องมาน ทั้งต้นสด ขยี้ทา แก้กลากเกลื้อน ไฟลามทุ่ง งูสวัด ปรุงยาแก้บิด ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ แก้ไข้มาลาเรีย ใช้ประโยชน์ : เป็นยาสมุนไพร
58
ซ่าน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dillenia obovata (Blume) Hoogland.
ชื่อวงค์ : DILLENIACEAE ชื่ออื่น : ส้านแข็ง ส้านต้อง ชะวิงซ่าน ส้านใหญ่ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มีความ สูงของต้นได้ประมาณ เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะ ของใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบทู่หรือป้านมีติ่งสั้น ดอกเดี่ยว หรือออกเป็น ช่อแบบกระจะตามปลายกิ่งหรือใกล้ ๆ ปลายกิ่งแขนง ช่อหนึ่งมีดอก ประมาณ 1-3 ดอกผลเป็นรูปทรงกลม เป็นผลสดอุ้มน้ำ สีเหลืองอมส้ม ผล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.54 เซนติเมตร
59
สรรพคุณ : เปลือกต้นนำมาเคี้ยวช่วยทำให้เหงือกและฟันกระชับแน่น เปลือกต้นนำมาเคี้ยวช่วยทำให้เหงือกและฟันกระชับแน่น เปลือกต้น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องเสีย ใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับ น้ำคาวปลาหลังคลอดหรืออยู่ไฟดีมาก ใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็น ยาขับน้ำคาวปลาหลังคลอดหรืออยู่ไฟดีมาก ประโยชน์ : ใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับน้ำคาวปลาหลัง คลอดหรืออยู่ไฟดีมาก
60
ส้มลม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aganonerion polymorphum Spire
ชื่อวงค์ : APOCYNACEAE ชื่ออื่น : เครือส้มลม จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น แต่ไม่มีมือสำหรับใช้ยึด เกาะ ลำต้นหรือเถามีลักษณะกลมเรียบ มีขนาดเล็กสีเขียว และมีน้ำยางสี ขาว ใบเป็นรูปไข่ รูปวงรี หรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม จะออกตามซอก ใบหรือที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาวได้ประมาณ 3-9 เซนติเมตร ดอกย่อยมี ขนาดเล็กและมีจำนวนมาก ผลเป็นฝักคู่ โคนฝักติดกัน ฝักมีลักษณะกลม ปลายฝักแหลม ยาวได้ประมาณ 20 เซนติเมตร
61
สรรพคุณ : ลำต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้ลมวิงเวียน หรือจะใช้ใบสด ๆ นำมาเคี้ยวกินเป็นยาแก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย และช่วยแก้อาการ กระหายน้ำ ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำอาบแก้อาการคัน รากใช้ต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาช่วยขับลม ประโยชน์ : ใบ ดอก และผลมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้ ยอดอ่อน ใบอ่อน ใบแก่ มีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก เกลือ ลาบ ปลาร้าบอง ป่นกบ ป่นปลา ก้อย กะปอม เป็นต้น บางครั้งใช้แทน ใบมะขาม ทำต้มส้มต่าง ๆ เช่น ต้มอึ่ง ต้มยำปลา
62
ส้มโมง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia cowa Roxb. ex Choisy
ชื่อวงค์ : CLUSIACEAE ชื่ออื่น : ส้มป้อง มะป่อง หมากโมก มวงส้ม กะมวง ส้มมวง กานิ ตระมูง ยอดมวง, ส้มม่วง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็น ทรงพุ่มรูปกรวยคว่ำทรงสูง มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร บ้างว่า สูงประมาณ เมตร ใบมีความกว้างประมาณ เซนติเมตร มี ดอกย่อยประมาณ 3-8 ดอก ผลเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวผลเรียบเป็นมัน มีขนาดประมาณ เซนติเมตร
63
สรรพคุณ : ผลอ่อน ใบ ช่วยฟอกโลหิต ช่วยรักษาธาตุพิการ ราก ใบ และผลอ่อนมีรสเปรี้ยว เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ตัวร้อน ช่วยแก้อาการร้อน ในกระหายน้ำ ดอกช่วยในการย่อยอาหาร ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ ผลชะมวงสุกสีเหลืองใช้ รับประทานเป็นผลไม้ได้ โดยจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน ยอดอ่อนหรือใบ อ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก รับประทานเป็นผักสดร่วมกับ น้ำพริก ป่นแจ่ว
64
หัวลิง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hymenocardia punctata Wall. ex Lindl.
ชื่อวงค์ : Phyllanthaceae ชื่ออื่น : แฟบน้ำ ก้างปลาขาว หมักแฟบ หูด้าง หัวลิง แควบ แฟบ แฟบหัวลิง เป็นไม้ผลัดใบกึ่งยืนต้นขนาดเล็ก เปลือกของลำต้นเรียบ เป็นสี น้ำตาลอมเทา ภายในเปลือกมีน้ำยางลักษณะใสๆ มีความสูงของลำต้น ประมาณ เมตร พบเจริญเติบโตอยู่บริเวณป่าเต็งรัง ป่าผลัดใบ ป่า ละเมาะ ริมน้ำ หรือพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลไปจนถึงประมาณ 235 เมตร
65
สรรพคุณ : แก่น-ใช้แก้พิษไข้ แก้กระษัย แก้อาการปวดเมื่อยตาม ร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ ราก-ใช้รักษากามโรค แก้ไข้มาลาเรีย ลำต้น-ใช้เข้ายาตัวอื่นเพื่อรักษาอาการผิดสำแดง แก้โรคซางในเด็ก ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้
66
อีรอก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amorphophallus brevispathus Gagnep.
ชื่อวงค์ : ARACEAE ชื่ออื่น : บุก อีรอกเขา ดอกก้าน จัดเป็นไม้ล้มลุกข้ามปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เจริญเติบโตได้ในดินร่วนที่มี ความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี พบได้ทั่วไป ชอบขึ้นตามริมแม่น้ำ ใน พื้นที่โล่ง ทุ่งหญ้า พื้นที่ที่มีความชื้นสม่ำเสมอและฝนตกชุก ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบยาวมีลักษณะกลมและอวบน้ำ ไม่มีแกน ยาวประมาณ เซนติเมตร ใบมีลายสีเขียว เทา น้ำตาล และดำเป็นจุดพื้นจุดด่า
67
สรรพคุณ : ช่วยใช้เป็นยากัดเสมหะ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วย ลดระดับน้ำตาลในหลอดเลือด และการดูดซึมของน้ำตาลในทางเดิน อาหาร ประโยชน์ : ใช้เป็นพืชอาหาร ด้านดอกอ่อนนำมาลอกเปลือกลวก รับประทานกับน้ำพริก หรือใช้ปรุงอาหารประเภทนึ่งต่าง ๆ เช่น แกง เห็ด แกงหน่อไม้
68
ลอมคอม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Microcos tomentosa Sm. ชื่อวงค์ : MALVACEAE
ชื่ออื่น : สากกะเบือดง สากกะเบือละว้า หมากหอม คอมเกลี้ยง พลองส้ม ก้อมส้ม คอมส้ม หมากหอม น้ำลายควาย จัดเป็นไม้ยืนต้นหรือเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้น ประมาณ 15 ต้น ลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นเป็นสีเทาและแตกล่อนเป็น สะเก็ดบาง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ เซนติเมตร ผลมีขนาดกว้างประมาณ เซนติเมตรและยาว ประมาณ เซนติเมตร
69
สรรพคุณ : เปลือกใช้ผสมปรุงเป็นยาบำรุงโลหิตสตรี ช่วยกระจาย โลหิต ลำต้นใช้เป็นยาประกอบรักษาโรคลำไส้ ผลแก่มีรสเปรี้ยวใช้ รับประทานเป็นยาระบาย ประโยชน์ : ผลสุกใช้รับประทานได้ เปลือกให้เส้นใย สามารถนำมาใช้ ทำเชือกแบบหยาบ ๆ ได้ ผลดิบใช้เป็นของเล่นเด็กที่เรียกว่า “บั้งโผ๊ะ” หรือ “ฉับโผง” โดยนำมาใช้ทำเป็นกระสุนยิงจากกระบอกไม้ไผ่
70
มะสัง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus lucida (Scheff.) Mabb.
ชื่อวงค์ : RUTACEAE ชื่ออื่น : กสัง หมากกะสัง มะสัง กะสัง หมากสัง กระสัง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านขนานกับลำต้นหรือออกตั้งฉากกับลำต้น ต้นมีกิ่งก้าน จำนวนมาก ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวหรือสองชั้น ปลายใบคี่ ก้านใบรวมยาว ประมาณ 5-12 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งหรือตามซอกใบคล้าย ๆ ดอก กระถิน เป็นปุย ๆ มีสีขาว ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตรผลมีลักษณะ กลม เป็นสีเขียวคล้ายผลมะนาว มีขนาดประมาณ 4-12 เซนติเมตร
71
สรรพคุณ : ใบมีรสฝาดมัน สรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย รากและผล อ่อนเป็นยาแก้ไข้ ตำรายาไทยจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มหรือฝนกับน้ำ กินเป็นยาแก้ ประโยชน์ : ผลมะสังมีรสเปรี้ยว สามารถนำมาใช้แทนมะนาวได้ โดย ใช้ปรุงน้ำพริก หรือใส่แกง นอกจากนี้ยังใช้กินและนำมาทำน้ำผลได้อีก ด้วย ยอดอ่อนและใบอ่อนมะสังใช้กินเป็นผักสด หรือนำไปปิ้งไฟให้ หอมก็ใช้รับประทานร่วมกับลาบ ก้อย ซุปหน่อไม้
72
เปลือย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia calyculata Kurz
ชื่อวงค์ : LYTHRACEAE ชื่ออื่น : แลนไห้ ตะแบกขาวใหญ่ ตะแบกใหญ่ เปลือยดง ตะแบกหนัง เปื๋อยค่าง เปื๋อยน้ำ เปื๋อยลั้วะ เปื๋อยเปลือกหนา ตะแบก ตะแบกใหญ่ ตะแบกหนัง กะแบก ตะคู้ฮก บองอยาม จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นกึ่งผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความ สูงได้ประมาณ เมตร ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-14 เซนติเมตร ดอกจะมีขนาดเล็ก เมื่อบานเต็มที่จะ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ เซนติเมตร
73
สรรพคุณ : เปลือกมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลงแดง ขอนดอกมีสรรพคุณ เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงทารกครรภ์ ประโยชน์ ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง เป็นมัน แข็ง เหนียว แข็งแรง เลื่อยไสกบ ตกแต่งได้ง่าย ขัดชักเงาได้ดี จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์กันมาก ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้ทำสิ่งปลูก สร้างที่ต้องการรับน้ำหนักมาก ๆ
74
หวดข่า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lepisanthes rubiginosa (Roxb.) Leenh.
ชื่อวงค์ : SAPINDACEAE ชื่ออื่น : หวดฆ่า หวดค่า สีหวด สีฮอกน้อย หวดลาว มะหวดป่า หวด คา หวดเหล้า กำซำ กะซ่ำ มะหวด ชันรู มะหวดบาท มะหวดลิง จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้น ประมาณ 5-10 เมตรและสูงได้ถึง 15 เมตร ใบประกอบยาวประมาณ เซนติเมตร ผลมีขนาดกว้างประมาณ เซนติเมตรและยาว ประมาณ เซนติเมตร
75
สรรพคุณ : ผลมีสรรพคุณบำรุงกำลัง เปลือกต้นช่วยบำรุงธาตุใน ร่างกาย แก้ธาตุพิการ รากช่วยแก้วัณโรค เมล็ดนำมาต้มกับน้ำให้เด็ก รับประทานเป็นยาแก้ซาง แก้ไอกรน แก้ไอหอบในเด็ก ประโยชน์ : เนื้อผลมะหวดฉ่ำน้ำ ผลสุกมีรสจืดฝาดถึงหวาน ใช้ รับประทานเป็นผลไม้ได้ ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักได้ โดยจะ รับประทานเป็นผักสด ต้ม ลวกจิ้มกับน้ำพริก หรือใช้ใส่ในแกงผักรวม
76
ส้มโฮง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sterculia foetida L. ชื่อวงค์ : MALVACEAE
ชื่ออื่น : จำมะโฮง มะโรง มะโหรง โหมโรง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบ ที่มีความสูงของต้นประมาณ เมตร และอาจสูงได้ถึง 30 เมตร ใบมีขนาดกว้างประมาณ เซนติเมตร และยาวประมาณ เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีแดงเข้ม ไม่มีกลีบดอก มีแต่กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ผลมีติ่งแหลมออกเป็นพวงห้อย ย้อยลงมา ผิวผลเรียบแข็ง ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสี ส้ม สีแดง หรือสีแดงปนน้ำตาล มีขนาดกว้างประมาณ 6-9 เซนติเมตร
77
สรรพคุณ : เปลือกต้นมีรสฝาดสุขุม ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยากล่อม เสมหะและอาจม เปลือกช่วยแก้โลหิตและลมพิการ น้ำจากเปลือกผล มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคไต เมล็ดช่วยรักษาบาดแผล ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ เนื้อไม้สำโรง เป็นไม้เนื้ออ่อน นำมาไสกบและตกแต่งได้ง่าย จึงเหมาหรับนำมาใช้ทำเครื่องเรือน หีบ ใส่ของ หูกทอผ้า ไม้จิ้มฟัน ก้านและกลักไม้ขีดไฟ และไม้อัดได้ ส่วน เปลือกสามารถนำมาใช้ทำเชือกอย่างหยาบ ๆ ได้
78
หมี่ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Litsea glutinosa (Lour.) C.B.Rob.
ชื่อวงค์ : LAURACEAE ชื่ออื่น : หมูเหม็น ดอกจุ๋ม หมี ตังสีไพร อีเหม็น หมูทะลวง มะเน้อ ยุบเหยา ทังบวน มัน มะเย้ย ไม้หมี่ ไม้ต๊องช้าง จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงได้ประมาณ 5-15 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาล ลำต้นแก่แตกเป็น ร่องตื้น ๆ ตามยาว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-9 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็น สีเหลือง ไม่มีกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้มีดอกย่อยประมาณ 8-10 ดอก ผล เป็นรูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 5-7 มิลลิเมตร
79
สรรพคุณ : ตำรายาไทยจะใช้รากต้นหมี่เป็นยาบำรุงกำลัง รากใช้เป็น ยาแก้ไข้ออกฝีเครือ เปลือกสดใช้อมแก้ปวดฟัน แก้ปากเหม็น ช่วยแก้ ลมเป็นก้อนในท้อง ใบมีสรรพคุณเป็นยาปัสสาวะ ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ ผลสุกใช้รับประทานได้ ใบสดใช้ เป็นยาพอกศีรษะเพื่อฆ่าเหา ดอกนำมาตากแห้งอบน้ำหอม ประดิษฐ์ เป็นของชำร่วย ยางของต้นใช้ทาเครื่องจักสานให้หนาและทนทาน และ ใช้ดักแมลงตัวเล็ก
80
เขวา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Haldina cordifolia (Roxb.) Ridsdale
ชื่อวงค์ : RUBIACEAE ชื่ออื่น : ขว้าว เขว้า คว่าว กระทุ่มขว้าว กระทุ่มดง กระทุ่มแดง กาว ขาว ตองแดงเหลือง ตะเพียนทอง ตุ้มกว้าว ตองเหลือง ตาน ต้น ไม้ผลัดใบสูง เมตร ลำต้นตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกเรียบหนา สีเขียวอ่อนปนเทา ใบ ป้อม รูปหัวใจขนาด 8 - 9, เซนติเมตร สีเข้มกว่าท้องใบ ดอก เป็นช่อกลมสีเหลืองมีกลิ่นหอม อ่อน ๆ ดอกเดี่ยว ๆหรือเป็นกระจุกโคนกลีบรอบดอกติดเป็นดอก ปลายแยกเป็น 3 แฉก โคนกลีบอกติดกันรูปกรวย ผลกลม เมล็ด มักใช้ เมล็ดในการขยายพันธุ์
81
สรรพคุณ : ราก รสเมาเบื่อ แก้โรคผิวหนัง ยอด รสเมาเบื่อ แก้ปวด ศีรษะ ใบสด รสเมาเบื่อ ตำคั้นเอาน้ำใส่แผล ฆ่าเชื้อโรค ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ เนื้อไม้ใช้ทำกระดานพื้น เครื่อง ตกแต่งบ้าน ลังใส่ของ เครื่องกลึงเครื่องแกะสลัก
82
กะโดน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Careya arborea Roxb. ชื่อวงค์ : LECYTHIDACEAE
ชื่ออื่น : หูกวาง ขุย แซงจิแหน่ เส่เจ๊ออะบะ พุยปุยขาว ผักฮาด ผ้าฮาด กระโดนโคก กระโดนบกปุย ต้นจิก ปุยกระโดน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีลักษณะของเรือนยอดเป็นพุ่ม กลมแน่นทึบ มีความสูงของต้นประมาณ เมตร ใบมีขนาดกว้าง ประมาณ เซนติเมตร ดอกประมาณ 2-6 ดอก ลักษณะของดอก คล้ายเป็นดอกเดี่ยว มีกลีบดอก 5 กลีบ ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6.5 เซนติเมตร
83
สรรพคุณ : ดอกมีรสสุขุม ช่วยบำรุงร่างกาย ผลมีรสจืดเย็น ช่วยบำรุง หลังการคลอดบุตรของสตรี ส่วนดอกและน้ำจากเปลือกสด หากนำมา ผสมกับน้ำผึ้งก็เป็นยาบำรุงหลังคลอดได้เช่นกัน ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกอ่อน มีรสฝาดอมมัน ใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก แจ่ว ลาบ ก้อย ส้มตำ ตำมะม่วง ผักประกอบเมี่ยงมดแดง บอ่อนเมื่อนำไปต้มแล้ว นำไปใช้ห่อเกลือกินแบบเมี่ยงได้
84
หว้า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium cumini (L.) Skeels
ชื่อวงค์ : MYRTACEAE ชื่ออื่น : หว้าป่า หว้าขาว หว้าขี้นก หว้าขี้แพะ ต้นหว้าจัดเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดใน ประเทศบังคลาเทศ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย
85
สรรพคุณ : ผลสุกรับประทานแก้อาการท้องร่วงและอาการบิด ช่วย รักษาโรคเบาหวาน เนื่องจากมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดระดับน้ำตาลใน เลือดได้ ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ ผลสุกนิยมนำมารับประทาน เป็นผลไม้และใช้ทำเป็นเครื่องดื่มหรือไวน์ได้
86
สะแบง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.
ชื่อวงค์ : DIPTEROCARPACEAE ชื่ออื่น : ยางเหียง ซาด เห่ง คร้าด เหียงพลวง เหียงโยน สะแบง ตะแบง เกาะสะเตียง ตะลาอ่ออาหมือ ละอองโว กุง ไม้ยาง ชาด เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ เมตร ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งก้านน้อย เรือนยอดเล็ก เปลือกลำต้นหนา เป็นสีน้ำตาลหรือเทา ใบเป็นรูปไข่ขนาดใหญ่ ปลายใบมน โคนใบมนหรือ หยักเว้าตื้น ฐานเป็นรูปหัวใจ ดอกรวมกันเป็นช่อเดียวตามซอกใบใกล้ บริเวณปลายกิ่ง กลุ่มละประมาณ 3-7 ดอก ดอกมีขนาดประมาณ เซนติเมตร
87
สรรพคุณ : ใบนำมาต้มผสมกับน้ำเกลือ ใช้อมแก้ปวดฟัน แก้ฟันโยก คลอน เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ตาลขโมย น้ำมันยางช่วยขับ เสมหะ น้ำมันใช้เป็นยาทารักษาแผลภายนอก ประโยชน์ : กลีบดอกเหียงเป็นผักชนิดหนึ่ง ที่มีรสเปรี้ยวเล็กน้อย สามารถนำมารับประทานได้ ยางไม้หรือน้ำมันจากลำต้นใช้ยาเครื่องจัก สาน ยาไม้ ยาแนวเรือ ทำไต้ ทาไม้
88
ตานนกกด ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ellipanthus tomentosus Kurz
ชื่อวงค์ : CONNARACEAE ชื่ออื่น : หมาตายทากลาก หำฟาน อุ่นขี้ไก่ ตานนกกดน้อย ประดง เลือด กะโรงแดง คำรอก ช้างน้าว จันนกกด จับนกกรด ตานนกกดน้อย กะโรงแดง คำรอก จันนกกด ช้างน้าว กะโรงแดง หมาตายทากลาก ตานนกกรดตัวเมีย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน เรือนยอดเป็นรูปพุ่มไข่หรือแผ่เป็นพุ่ม แคบ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีเทา
89
สรรพคุณ : รากคำรอกใช้ผสมกับรากตาไก้ และรากตากวง นำมาต้ม กินเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต กิ่งก้านและต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็น ยาช่วยเรียกน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร เนื้อไม้มีรสฝาดขมมัน ใช้เป็นยา แก้กระษัย เป็นยาถ่ายพิษเสมหะและโลหิต ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องจักสาน เครื่องมือ การเกษตร เครื่องมือใช้สอยต่าง ๆ และใช้ทำเชื้อเพลิงได้ดี
90
ดู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus indicus Willd. ชื่อวงค์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : ดู่บ้าน ประดู่บ้าน ประดู่ลาย ประดู่กิ่งอ่อน อังสนา สะโน ประดู่ป่า ประดู่ไทย จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูง ประมาณ เมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกรวมกันเป็นช่อ ๆ ใบออกเรียงสลับ แต่ละช่อจะมีใบย่อยประมาณ 7-13 ใบ ลักษณะของ ใบย่อยเป็นรูปมนรี รูปไข่ ดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ โดยจะออกบริเวณ ซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง โคนก้านมีใบประดับ 1-2 อัน
91
สรรพคุณ : เปลือกต้นมีรสฝาดจัด มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย แก่นเนื้อไม้ประดู่ มีรสขมฝาดร้อน มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต บำรุง กำลัง บำรุงธาตุในร่างกาย ผลมีรสฝาดสมาน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ อาเจียน ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ ใบอ่อนและดอกประดู่สามารถ นำมาลวกรับประทานเป็นอาหารได้ และยังสามารถนำมาชุบแป้งทอด รับประทานกับน้ำจิ้มเป็นอาหารว่างได้
92
เข็มป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pavetta indica L. ชื่อวงค์ : RUBIACEAE
ชื่ออื่น : เข็มโคก ไก่โหล ลำโป๊ะ จัดเป็นไม้พุ่ม มีความสูงของต้นได้ถึง 5 เมตร ต้นมีลักษณะเป็นทรง เรือนยอดแผ่กว้างระเกะระกะ เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมชมพู ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-7 เซนติเมตรและยาว ประมาณ 8-22 เซนติเมตรโดยจะออกที่ปลายยอด ช่อดอกเป็นช่อแบบ หลวม ๆ ดอกย่อยเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอม มีขนาดประมาณ เซนติเมตร ผลเป็นรูปทรงกลมหรือแบนเล็กน้อย มี 2 พู ผลมีขนาด ประมาณ เซนติเมตร
93
สรรพคุณ : ดอกมีรสฝาดเย็น ช่วยแก้ตาแดง ตาแฉะ เปลือกต้นมีรส เมาเบื่อ นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำใช้เป็นยาหยอดหูฆ่าแมงคาเข้าหูราก นำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้บิด ใบและรากใช้เป็นยารักษาโรค หิด ประโยชน์ : ดอกเข็มป่า ชาวลั้วะจะนำมาใส่ในกรวยดอกไม้เพื่อใช้ใน พิธีกรรมต่าง ๆ เช่น ไหว้ผี ดอกนำมาแช่กับน้ำใช้เหมือนเครื่องสำอาง หลังการอาบ
94
เอนอ้า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmoscelis villosa (Aubl.) Naudin
ชื่อวงค์ : MELASTOMATACEAE ชื่ออื่น : ม่ายะ เอ็นอ้า พญารากขาว กะเร มะเร สาเหร่ เหมร จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 2-4 เมตร แตก กิ่งมาก ทรงพุ่มแน่นทึบ เปลือกลำต้นบางเรียบ ยอดอ่อนและกิ่งก้านเป็นสี น้ำตาลแดง มีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนยาวขึ้นหนาแน่น พบขึ้นทั่วไป บริเวณป่าชายเลนที่เป็นที่ดอนหรือในบริเวณป่าชายเลนที่ถูกทำลาย
95
สรรพคุณ : รากมีรสขม มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย เพิ่มภูมิต้านทานโรค บำรุงธาตุ ช่วยเจริญ อาหาร ดอกใช้เป็นยาระงับประสาท ประโยชน์ : เป็นยาสมุนไพร
96
ต้าง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hoya pachyclada Kerr ชื่อวงค์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : ป้าง ดอกตั้ง ประกายแก้ว โฮย่าประกายแก้ว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเลื้อยพันเกาะอาศัยบนพรรณไม้ชนิดอื่น ๆ มี น้ำยางสีขาว มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาค ตะวันตกของประเทศไทย โดยมักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง บมี ขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก ประมาณ ดอก ก้านช่อยาว ประมาณ 2 เซนติเมตรฝักมีขนาดกว้างประมาณ เซนติเมตร และ ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร
97
สรรพคุณ : ใบต้าง นำมาอังไฟแล้วใช้นาบที่ข้อเป็นยาบรรเทาอาการ ปวดบวมตามข้อ
ประโยชน์ : ดอกต้างใหญ่ออกดอกเป็นช่อดูสวยงาม จึงนิยมนำมาปลูก เป็นไม้ประดับ
98
เหมือดแอ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Memecylon edule Roxb.
ชื่อวงค์ : MELASTOMATACEAE ชื่ออื่น : พลองดำ เหมียด เป็นไม้พุ่มกึ่งยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-3 เมตร เปลือกของลำต้นขรุขระเป็นร่อง มีสีน้ำตาลดำ
99
สรรพคุณ : พลองเหมือดมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรใช้บำรุงเลือด บำรุง น้ำนม เมื่อนำไปผสมกับเหมือดโลดใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ป่า รากหรือลำ ต้นสามารถนำมาต้มเป็นยาดื่มแก้โรคกระเพาะได้ ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ อดอ่อนสามารถนำไปรับประทานร่วมกับก้อยกุ้ง รับประทานเป็นผักสด ร่วมกับน้ำพริกหรือแจ่ว
100
กะเดา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A.Juss.
ชื่อวงค์ : MELIACEAE ชื่ออื่น : สะเดา สะเดาบ้าน สะเลียม เดา กระเดา กะเดา จะดัง จะตัง ผักสะเลม ลำต๋าว สะเรียม ตะหม่า ควินิน โดยสามารถพบขึ้นได้ทั่วไปตามป่าแล้งในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ปากีสถาน ศรีลังกา และประเทศไทย สำหรับ ในประเทศไทยจะมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ตามธรรมชาติ ตามป่าเบญจ พรรณแล้งและป่าแดงทั่วประเทศ
101
สรรพคุณ : ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ดอก, ใบ, ผล) น้ำตาลที่ได้จาก การหมักน้ำจากลำต้นมีแร่ธาตุ ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย (ลำต้น) ช่วยแก้ อาการท้องเดิน (เปลือกต้น) ประโยชน์ : นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ โดยเปลือกต้นสะเดาให้สีแดง ส่วนยางให้สีเหลือง ยอดอ่อนและดอกอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด หรือใช้ลวกกินกับน้ำพริกหรือลาบ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.