งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทบาทอำนาจหน้าที่ตรวจสอบภายใน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทบาทอำนาจหน้าที่ตรวจสอบภายใน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทบาทอำนาจหน้าที่ตรวจสอบภายใน
ของส่วนราชการ

2 การตรวจสอบภายใน ความหมาย : กิจกรรมการให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษา อย่างเที่ยงธรรมและเป็นอิสระ ซึ่งจัดให้มีขึ้นเพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติงานขององค์กรให้ดีขึ้น การตรวจสอบภายในจะช่วยให้องค์กรบรรลุถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุมและการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบและเป็นระเบียบ (ที่มา อ้างอิงจาก : The Institute of Internal Auditor : IIA)

3 บทบาทการตรวจสอบภายใน
ส่งเสริมให้งานประสบความสำเร็จหรือเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กร - พัฒนาให้ทันสมัยและตรงกับความต้องการและวัตถุประสงค์ของฝ่ายบริหาร เรียกว่า การตรวจสอบเพื่อการบริหาร - การตรวจสอบโดยใช้แนวความเสี่ยง - การตรวจสอบแบบมีส่วนร่วม

4 บทบาทการตรวจสอบภายใน
การตรวจสอบในเชิงรุกแบบก้าวหน้าและสร้างสรรค์ การติดตามแนวการคิดทางการบริหารใหม่ การใช้เครื่องมือทางคอมพิวเตอร์และไอทีสมัยใหม่

5 วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบภายใน
เพื่อช่วยผู้ปฏิบัติงานในองค์กรให้ทำงานในหน้าที่ ความรับผิดชอบของแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เพื่อส่งเสริมให้มีการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม

6 ความสำคัญและประโยชน์ของการตรวจสอบภายใน
ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการบริหารจัดการที่ดี ส่งเสริมให้เกิดการบันทึกบัญชีและรายงานตามหน้าที่ ความรับผิดชอบ ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ การปฏิบัติงาน เป็นมาตรการถ่วงดุลอำนาจ ให้สัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า

7 ปัจจัยความสำเร็จของการตรวจสอบภายใน
 นโยบายและการสนับสนุนของฝ่ายบริหาร  ความเข้าใจและการยอมรับของผู้รับตรวจ  ความพร้อมของระบบงานและสารสนเทศ  ความรู้ ทักษะ การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และมนุษย์สัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน

8 ลักษณะการให้บริการ บริการให้ความเชื่อมั่น(Assurance Services)
บริการให้คำปรึกษา(Consulting Services)

9 บริการให้ความเชื่อมั่น
หมายถึง การตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ อย่างเที่ยงธรรม เพื่อนำมาประเมินผลอย่างเป็นอิสระในกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแลกิจการที่ดีของส่วนราชการ

10 บริการให้คำปรึกษา หมายถึง กิจกรรมการให้คำแนะนำ และการให้บริการที่เกี่ยวข้องแก่ส่วนราชการ ลักษณะและขอบเขตของงานเป็นไปตามความตกลงร่วมกันกับส่วนราชการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มคุณค่า และปรับปรุงการปฏิบัติงาน - การให้คำปรึกษา คำแนะนำ การอำนวยความสะดวก การออกแบบกระบวนการปฏิบัติงาน และการฝึกอบรม

11 ประเภทของบริการให้ความเชื่อมั่น
การตรวจสอบการเงินและบัญชี ( FINANCIAL AUDITING ) การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด ( COMPLIANCE AUDITING ) การตรวจสอบผลการดำเนินงาน ( PERFORMANCE AUDITING ) การตรวจสอบการบริหาร (MANAGEMENT AUDITING )

12 ประเภทของบริการให้ความเชื่อมั่น (ต่อ)
ประเภทของบริการให้ความเชื่อมั่น (ต่อ) การตรวจสอบการดำเนินงานหรือการปฏิบัติงาน (OPERATION AUDITING ) การตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศ ( INFORMATION TECHNOLOGY AUDITING ) การตรวจสอบพิเศษ ( SPECIAL AUDITING)

13 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงภาคราชการ
การบริหารความเสี่ยง : ความหมาย การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงภาคราชการ ERM : Enterprise Risk Management การบริหารความเสี่ยงองค์กร กระบวนการที่ได้รับอิทธิพลจากคณะกรรมการ ผู้บริหารและบุคลากร ขององค์กร เพื่อช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ทั่วทั้งองค์กร ซึ่งได้รับการออกแบบไว้ให้สามารถบ่งชี้เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อองค์กร และเพื่อจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ รวมทั้งเพื่อให้ได้รับความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง 13

14 การบริหารความเสี่ยง : วัตถุประสงค์
ด้านยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ในภาพรวม (Strategic) ด้านการปฏิบัติงาน ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Operations) ด้านการรายงานการเงิน ความเชื่อถือได้ทั้งภายในและภายนอก (Reporting) ด้านการปฏิบัติตามข้อกำหนด กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ต่างๆ (Compliance)

15 การบริหารความเสี่ยง : องค์ประกอบ
1. สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment) 2. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Setting) 3. การบ่งชี้เหตุการณ์ (Event Identification) 4. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) 5. การตอบสนองความเสี่ยง (Risk Response) 6. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) 7. สารสนเทศและการสื่อสาร (Information & Communication) 8. การติดตามและประเมินผล (Monitoring)

16 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงภาคราชการ
การบริหารความเสี่ยง : สรุปองค์ประกอบ การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงภาคราชการ การบริหารความเสี่ยง สภาพแวดล้อมภายใน >>> ปรัชญาการบริหาความเสี่ยง ยุทธศาสตร์ >>> แผนยุทธศาสตร์ / แผนปฏิบัติราชการ ระบุวัตถุประสงค์ >>> ระดับองค์กร ระดับกิจกรรม บ่งชี้เหตุการณ์ >>> ความเสี่ยงทั้งในและนอกองค์กร ประเมินความเสี่ยง >>> ประเมิน(โอกาส ผลกระทบ) จัดลำดับ นโยบาย/กระบวนการด้านทรัพยากรบุคคล ระดับการยอมรับและวัฒนธรรมความเสี่ยง คุณธรรม ตอบสนองความเสี่ยง >>> หลีกเลี่ยง กระจาย ลด/ควบคุม ยอมรับ กิจกรรมการควบคุม >>> นโยบาย มาตรการ วิธีการ สารสนเทศ/การสื่อสาร >>> จัดเก็บข้อมูลและสื่อสารทั่วองค์กร ติดตาม/ประเมินผล >>> ติดตามระหว่างการปฏิบัติงาน ประเมินตนเอง ประเมินอิสระ ปรัชญาการบริหารงาน โครงสร้างองค์กร การมอบหมายอำนาจหน้าที่ สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง

17 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงภาคราชการ
การควบคุมภายใน : ความหมาย การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงภาคราชการ ความหมาย ตาม COSO “Internal Control is a process, effected by an entity’s board of directors, management and other personnel, designed to provide reasonable assurance regarding the achievement of objectives in the following categories - Effectiveness and efficiency of operations - Reliability of financial reporting - compliance with applicable laws and regulations” “การควบคุมภายใน หมายความว่า กระบวนการปฏิบัติงานที่ผู้กำกับดูแล ฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยรับตรวจจัดให้มีขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า การดำเนินงานของหน่วยรับตรวจจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกันหรือลดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล การสิ้นเปลือง หรือการทุจริตในหน่วยรับตรวจ ด้านความเชื่อถือได้ของรายงานการทางการเงิน และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรี สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง

18 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงภาคราชการ
การควบคุมภายใน : วัตถุประสงค์และองค์ประกอบ การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงภาคราชการ องค์ประกอบ ของการควบคุม วัตถุประสงค์ การควบคุม ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การดำเนินงาน ความเชื่อถือได้ ของรายงาน ทางการเงิน การปฏิบัติตาม ข้อกำหนด ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร การประเมิน ความเสี่ยง กิจกรรม การควบคุม การติดตาม ประเมินผล สภาพแวดล้อมของการควบคุม สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง

19 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงภาคราชการ
การควบคุมภายใน : สรุปองค์ประกอบ การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงภาคราชการ การควบคุมภายใน สภาพแวดล้อมของการควบคุม >>> ปรัชญา/ลักษณะการทำงานของผู้บริหาร โครงการ/งาน >>> กระบวนการปฏิบัติงาน ประเมินความเสี่ยง >>> กำหนดวัตถุประสงค์ ระบุปัจจัยเสี่ยง วิเคราะห์ความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง กิจกรรมการควบคุม >>> นโยบาย มาตรการ วิธีการ ความรู้ ความสามารถ ทักษะของบุคลากร ความซื่อสัตย์/จริยธรรม โครงสร้างการจัดองค์กร สารสนเทศ/การสื่อสาร >>> จัดเก็บข้อมูลและสื่อสารทั่วองค์กร ติดตาม/ประเมินผล >>> ติดตามระหว่างการปฏิบัติงาน ประเมินตนเอง ประเมินอิสระ การมอบหมายอำนาจหน้าที่/ความรับผิดชอบ นโยบาย/การบริหารบุคลากร สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง

20 Q & A ขอบคุณและสวัสดี


ดาวน์โหลด ppt บทบาทอำนาจหน้าที่ตรวจสอบภายใน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google