ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยสว่าง ติณสูลานนท์ ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขกับการดำเนินงานOSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม
นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ. โรงแรม KU Home มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร
2
สถานการณ์ปัญหา ๑. การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ประเทศไทยติดอันดับ ๑ ของเอเชีย ๒. ปัญหาการค้ามนุษย์ ประเทศไทยถูกประเมินโดยกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาอยู่ในระดับ Tier ๒ watch list ๓ ปี ติดต่อกัน คือ ปี ๒๕๕๓,๒๕๕๔,๒๕๕๕และในปี ๒๕๕๖ ถูกปรับให้อยู่ใน Tier ๓ และถูกบอยคอตสินค้า ๕ ชนิด โดยอ้างว่ามีการใช้แรงงานเด็กในการผลิตสินค้าดังกล่าว
3
สถานการณ์ปัญหา (ต่อ) ๓.ปัญหาการใช้แรงงานเด็ก ได้ถูกระบุในรายงานของกระทรวงแรงงานของประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าสินค้าที่ผลิตจากประเทศไทยมีการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับในสถานประกอบการ จำนวน ๕ สินค้า ได้แก่ กุ้ง เครื่องนุ่งห่ม อ้อย สื่อลามกและปลา ๔. ปัญหาความรุนแรงพบว่าทุกๆ ๒๐ นาทีจะมีเด็กหรือสตรีถูกกระทำรุนแรง ๑ ราย
4
ความเป็นมา ของ OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม
นายกรัฐมนตรี มีบัญชาให้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดประชุมเรื่อง “การขับเคลื่อนงานการพัฒนา เด็กและสตรี” ใน ๔ ประเด็นปัญหาหลัก คือท้องไม่พร้อม (คุณแม่วัยใส) การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็กและ ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและคนพิการ
5
ความเป็นมา (ต่อ) ๑.ให้จัดทำระบบการให้บริการประชาชนในลักษณะศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service Center) เพื่อให้บริการและส่งต่ออย่างมีประสิทธิภาพ ๒.ยึดหลักการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน มูลนิธิและเครือข่ายภาคประชาชน และให้กำหนดจุดให้ บริการ (Front Line) และระบบส่งต่อ โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในแต่ละประเด็นปัญหา มีการกำหนดการเชื่อมต่อที่ชัดเจน
6
ความเป็นมา (ต่อ) ๓.การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ในการจัดเก็บข้อมูล การส่งต่อตั้งแต่การรับเรื่อง จนถึงการให้บริการขั้นตอนสุดท้าย เพื่อให้สามารถติดตามและประเมินผลผ่านระบบสารสนเทศได้ ๔.มอบหมายให้ พม.เป็นเจ้าภาพหลักประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๕.มอบหมายให้ สศช.ร่วมกับ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อร้องรับการดำเนินงานดังกล่าว โดยมีเป้าหมายสุดท้ายให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับกระทรวงมหาดไทย
7
ความเป็นมา (ต่อ) โดยมี กระทรวงการพัฒนาสังคม ฯ เป็นหน่วยประสานงานหลัก
๖.กำหนดให้หน่วยงานใน ๔ กระทรวงหลักรับผิดชอบในแต่ละประเด็นปัญหา ๔ ปัญหาหลัก ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบปัญหาการตั้งครรภ์ ไม่พร้อม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับผิดชอบปัญหาการค้ามนุษย์ กระทรวงแรงงาน รับผิดชอบปัญหาการใช้แรงงานเด็ก กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รับผิดชอบปัญหาความรุนแรงในเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและ คนพิการ โดยมี กระทรวงการพัฒนาสังคม ฯ เป็นหน่วยประสานงานหลัก
8
OSCC (One Stop Crisis Center) 1300 ศูนย์ช่วยเหลือสังคม
ปัญหา ช่องทางการติดต่อ บูรณาการช่วยเหลือในภาวะวิกฤติ การช่วยเหลือภายหลังภาวะวิกฤติ ติดตาม ประเมินผล ถ้าท่านประสบปัญหา การคุ้มครองพิทักษ์สิทธิและการดำเนินการตามกฎหมาย แจ้งที่หน่วยรับเรื่อง หน่วยงาน พม. :คุ้มครองสวัสดิภาพ จัดหาที่พักชั่วคราว โรงพยาบาล : ดูแลสุขภาพ มากกว่า 20,000 หน่วย ทั่วประเทศ ตั้งครรภ์ไม่พร้อม (คุณแม่วัยใส) Hot Line:1300 เร่งรัด ติดตามผลและรายงานผล จัดเก็บข้อมูล ฟื้นฟูเยียวยา ด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน : นำเด็กออกจากสถานประกอบการเพื่อสืบค้นข้อเท็จจริงและดำเนินการตามกฎหมาย ค้ามนุษย์ สถานีตำรวจ : รับแจ้งความ สืบสวนหาข้อเท็จจริง Website (อยู่ระหว่างพัฒนาระบบ) แรงงานเด็ก หน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน การช่วยเหลืออื่นๆ ตามสภาพปัญหา Mobile Application ความรุนแรง ต่อเด็กและสตรี ฯ (อยู่ระหว่างพัฒนาระบบ) แจ้งเตือน แจ้งเตือน แจ้งเตือน แจ้งเตือน (อยู่ระหว่างพัฒนาระบบ) (อยู่ระหว่างพัฒนาระบบ) (อยู่ระหว่างพัฒนาระบบ) (อยู่ระหว่างพัฒนาระบบ) เชื่อมโยงระบบการให้บริการ แจ้งเตือนถึงหน่วยงานผู้รับผิดชอบ เมื่อผู้ประสบปัญหายังไม่ได้รับบริการหรือบริการล่าช้า และปกป้องข้อมูลบุคคล โดยระบบสารสนเทศ ICT หน่วยรับเรื่องมากกว่ามากกว่า 21,614 หน่วย ทั่วประเทศ ได้แก่ พม. 324 หน่วย, สธ. 10,579 หน่วย, รง. 76 หน่วย, ยธ. 77 หน่วย, มท. 8,729 หน่วย, ศธ. 236 หน่วย, สตช. 1,465 หน่วย, กทม. 127 หน่วย และเมืองพัทยา 1 หน่วย
9
ขั้นตอนการช่วยเหลือกรณีการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และบุคคลในครอบครัว
3 2 3 การแพทย์ สธ. - บำบัดรักษา ฟื้นฟู เยียวยาร่างกายและจิตใจ 1 พม. ส่งต่อ Case ไปรับบริการตามสภาพปัญหา ภายใน 24 ช.ม. สังคม - จัดหาที่พักชั่วคราว (พม.) - ให้บริการสังคมสงเคราะห์ (พม.) ดูแลด้านการศึกษา (ศธ./พม.) ฝึกอาชีพ/ จัดหางาน (รง./ พม.) Front Line หน่วยให้บริการ พมจ./ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัว(พส.) ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สตช./ยธ./อัยการ/ พม. - เรียกร้องสิทธิ - ยื่นคำร้องขอคุ้มครองสวัสดิภาพภายใน 7 วัน - ดำเนินคดีผู้กระทำผิด ภายใน 48 ช.ม. ภายใน 1 วัน 4 ติดตาม/ ประเมินผล พม. หมายเหตุ : ในกรณีที่เป็นความสมัครใจของเด็ก พ่อแม่/ผู้ปกครอง ต้อง “เคารพการตัดสินใจของเด็ก” 3 3 5 ยุติ/ ปรับแผน การช่วยเหลือ กรณีผู้ประสบปัญหาชาวต่างชาติ ประสานความช่วยเหลือเบื้องต้น พม. สตช. สถานทูต /สถานกงสุล (ประเทศผู้ประสบปัญหา) 10 10 10
10
บ้านพักเด็กและครอบครัว ให้การดูแลเพื่อใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข
ขั้นตอนการช่วยเหลือกรณีการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (คุณแม่วัยใส) กรณีต้องการที่พักชั่วคราว (คลอดบุตรแล้วประสบปัญหา, ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์) บ้านพักเด็กและครอบครัว องค์กรเอกชน ฯลฯ ให้การดูแลเพื่อใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข 3 3 ตั้งครรภ์ – 1 ปี หลังคลอด 2 1 2 3 ตั้งครรภ์ ประชุมทีมสหวิชาชีพ (ภายใน 5 วัน) วางแผนทางเลือก 1.แจ้งด้วยตนเอง ภายใน 24 ชม. 2. โทร 1300 พิจารณาเลือกข้อเสนอ 3. แจ้งผ่านทางเว็บไซต์ (1 วัน) หน่วยให้บริการ ติดตาม/ ประเมินผล ยุติการตั้งครรภ์ 4 พม. สามารถปิด Case ได้ในกรณีที่ผู้ประสบปัญหาสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข/ คืนสู่ครอบครัว สังคม หมายเหตุ : ในกรณีที่เป็นความสมัครใจของเด็ก พ่อแม่/ผู้ปกครอง ต้อง “เคารพการตัดสินใจของเด็ก” ยุติ/ ปรับแผน การช่วยเหลือ 5 ยุติการตั้งครรภ์ (กรณีเข้าเกณฑ์) 3 พม. 11 11 11
11
การประชาสัมพันธ์ รัฐบาลจัดงานเปิดตัว OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคมเมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๖ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งมีกิจกรรม การลงนาม MOU ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน การจัดคาราวานประชาสัมพันธ์งาน และการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง ๑๑ โดยรัฐบาลใช้ชื่อ “OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม” และ ใช้เบอร์สายด่วน ๑๓๐๐
12
การดำเนินการ บูรณาการงานตามนโยบาย OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคมกับงานศูนย์พึ่งได้ จัดทำแนวทาง/ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ๔ กลุ่มเป้าหมายหลัก ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมชี้แจงนโยบายและจัดอบรมในเรื่องขั้นตอนการช่วยเหลือ ๔ กลุ่มเป้าหมายหลักตามนโยบาย OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม และการบันทึกข้อมูลในโปรแกรม OSCC Application ให้กับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
13
การดำเนินการ (ต่อ) สนับสนุนงบประมาณในปี ๒๕๕๗ เพื่อพัฒนางานศูนย์พึ่งได้และงานตามนโยบาย OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคมให้มีความเข้มแข็ง จัดทำคู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้ ให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาในเรื่องการลงข้อมูลในโปรแกรม OSCC Application และการส่งต่อผู้ประสบปัญหาเพื่อให้การช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน จัดอบรมกระบวนกรตามหลักสูตรการให้การปรึกษาเพื่อฟื้นฟูอำนาจและเสริมศักยภาพ
14
บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขกับ การดำเนินงาน OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม
๑. รับแจ้งเหตุ คัดกรอง ช่วยเหลือและส่งต่อผู้ประสบปัญหาตามแนวทาง/ขั้นตอนที่กำหนด ตามบทบาทหน้าที่และศักยภาพของหน่วยบริการ โดยมีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นหน่วยขับเคลื่อนทางนโยบาย มีหน่วยรับแจ้งเหตุและให้ความช่วยเหลือ จำนวน ๑๐,๖๑๑ แห่ง แบ่งเป็น รพศ./รพท.จำนวน ๙๕ แห่ง รพช. ๗๓๔ แห่ง รพ.สต.๙,๗๕๐ แห่ง และโรงพยาบาลในสังกัดกรมต่างๆ จำนวน ๓๒ แห่ง ๒. ตรวจ วินิจฉัยและให้การรักษาพยาบาลและป้องกันโรคตามสภาพปัญหา
15
บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขกับ การดำเนินงาน OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม(ต่อ)
๓. ประสานและให้คำแนะนำทางด้านกฎหมาย ดูแลทางด้านความปลอดภัยให้กับผู้ประสบปัญหา ประเมินทางด้านจิตใจและสังคมเพื่อให้ความช่วยเหลือใน ในภาวะวิกฤติ ๔. ประสานส่งต่อในกรณีที่เกินขีดความสามารถของสถานบริการและหรือจำเป็นต้องส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือทางด้านสังคมสงเคราะห์
16
บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขกับ การดำเนินงาน OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม(ต่อ)
๕. ให้การปรึกษาเพื่อฟื้นฟูอำนาจและศักยภาพในผู้หญิงและเด็กที่ประสบปัญหาความรุนแรงและหรือตั้งครรภ์ไม่พร้อม เพื่อเยียวยาจิตใจในระยะยาว ๖. ติดตามเยี่ยมบ้าน/ประเมินผลการให้ความช่วยเหลือ
17
ปัญหาอุปสรรค ขาดบุคลากรในการลงข้อมูลผู้มารับบริการนอกเวลาราชการ ซึ่งจะต้องมีการลงข้อมูลแบบ Real time ผู้ประสบปัญหาไม่ต้องการรับบริการในโรงพยาบาลใกล้บ้าน เนื่องจากเกิดความอับอาย หรือเกรงกลัวผู้กระทำ ๓. การลงทะเบียนข้อมูลผู้รับผิดชอบและหน่วยงานยังไม่ครอบคลุมหน่วยบริการทุกแห่ง จึงทำให้มีปัญหาในเรื่องการส่งต่อ เนื่องจาก ข้อมูลจะถูกส่งไปที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแทนหน่วยบริการที่รับ Case จริง
18
ปัญหาอุปสรรค ๔. โรงพยาบาลส่วนใหญ่ไม่มีบริการยุติการตั้งครรภ์ จึงต้องส่งต่อเครือข่ายภายนอก ซึ่งผู้มารับบริการจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ๕. บุคลากรยังมีทัศนคติด้านลบต่อการยุติการตั้งครรภ์ ๖.การประสานงานผ่านหลายกระทรวง แต่ละกระทรวงมีความพร้อมไม่เท่ากันในแต่ละจังหวัดโดยเฉพาะงบประมาณดำเนินงานที่ไม่ชัดเจนของโครงการในแต่ละกระทรวงที่สนับสนุนการดำเนินงานโครงการนี้
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.