ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยณี รักไทย ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม สำหรับเด็กปฐมวัย
รศ. บรรพต พรประเสริฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
2
ความหมายของการพัฒนารูปแบบจัดประสบการณ์
การพัฒนารูปแบบจัดประสบการณ์การเรียนรู้ หมายถึง การวางโครงสร้างหรือกรอบแนวคิดการพัฒนา โดยกำหนดกิจกรรมที่ครอบคลุม ตั้งแต่ปัญหาการพัฒนา เพื่อให้มีกรอบในการค้นหาคำตอบของการพัฒนา และได้ผลการพัฒนาที่ถูกต้องเชื่อถือได้
3
เด็กปฐมวัย เรียนอะไร เรียนอย่างไร และได้อะไร
เด็กปฐมวัย เรียนอะไร เรียนอย่างไร และได้อะไร -พ่อแม่ -ครู -ผู้ปกครอง -ชุมชน เรียนอะไร ใครเกี่ยวข้อง เรียนอย่างไร - ตัวเด็ก - บุคคลและสถานที่ แวดล้อม - ธรรมชาติรอบตัว - สิ่งต่าง ๆ รอบตัว สาระที่ควรเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ -ด้านร่างกาย -ด้านอารมณ์และจิตใจ -ด้านสังคม -ด้านสติปัญญา เด็ก ปฐมวัย - การใช้ประสาทสัมผัส - การเล่น - การสำรวจ - การทดลอง - ประสบการณ์ตรง ฯลฯ ได้อะไร พัฒนาด้านร่างกาย - สุขนิสัย - กล้ามเนื้อใหญ่ - กล้ามเนื้อเล็ก - ความปลอดภัย พัฒนาด้านอารมณ์ และจิตใจ - สุขภาพจิต - คุณธรรม จริยธรรม พัฒนาด้านสังคม - ช่วยเหลือตนเอง - อยู่ร่วมกับผู้อื่น - รักความเป็นไทย - อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาด้านสติปัญญา - คิดแก้ปัญหา - คิดสร้างสรรค์ - ใช้ภาษาสื่อสาร
4
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
การจัดประสบการณ์ หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนที่ให้เด็กอายุ ๓-๕ ปีมีโอกาสได้กระทำกิจกรรมด้วยตัวเอง กิจกรรมการเรียนรู้จะไม่จัดเป็นรายวิชา แต่จัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เกิดความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเกิดการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์
5
การจัดกิจกรรมและประสบการณ์ สำหรับเด็กปฐมวัย
จุดประสงค์การเรียนรู้ เชิงพฤติกรรม การวัดผลและ ประเมินผล กิจกรรมและประสบการณ์ การเรียนรู้
6
รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
เป็นการวางแผนเพื่อพิสูจน์ว่านวัตกรรม / วิธีการ ที่สร้างขึ้นมานั้นมีคุณภาพหรือไม่ โดยนำไปใช้ในสถานการณ์จริง แล้วเก็บ รวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ ประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน
7
ความมุ่งหมายของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
1. เพื่อให้ได้คำตอบตามประเด็นปัญหาโดยออกแบบบนพื้นฐานของทฤษฎี และประสบการณ์ เพื่อกำหนดแบบแผนการจัดประสบการณ์อย่างรอบคอบ 2. เพื่อควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรโดยเลือกเทคนิคการสุ่ม และแบบแผนการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม 3. เพื่อให้การวัดตัวแปรถูกต้องแม่นยำ เป็นการลดความแปรปรวน และความคลาดเคลื่อนได้
8
ความมุ่งหมายของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
4. เพื่อให้การพัฒนาดำเนินการอย่างเป็นระบบตามขั้นตอน คือ จะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร การออกแบบแผนการจัดประสบการณ์ที่ดี จะช่วยให้ผู้ศึกษาดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 5. เพื่อประหยัดทรัพยากร ทั้งในส่วนของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และเวลา
9
การออกแบบการพัฒนา วงจรการพัฒนาเชิงปฏิบัติการ การเตรียม การพัฒนา
ผลลัพธ์ ความรู้ ทักษะ ความพึงพอใจ ฯลฯ วงจรการพัฒนาเชิงปฏิบัติการ การวางแผน(Planing) การปฏิบัติตามแผน(Acting) การสังเกตและบันทึกผล (Observing) การสะท้อนผล(Reflecting) การเตรียม การพัฒนา
10
ตัวอย่างการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
เป็นการออกแบบจัดกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมการจัดการเรียนรู้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ และเป็นลายลักษณ์อักษร
11
กิจกรรมการเรียนรู้ (Activities)
การนำทฤษฎีการเรียนรู้ และรูปแบบการสอนแบบต่างๆ มาใช้ออกแบบการเรียนรู้ โดยกำหนดสถานการณ์หรือสภาพการณ์ต่างๆ ที่ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนปฏิบัติ แล้วทำให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ตามที่คาดหวัง
12
รุปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน
แนวคิด ในการจัด ประสบการณ์ โดยใช้ นวัตกรรม ที่ใช้พัฒนา ผู้เรียน ปัญหาของผู้เรียน ที่ต้องการพัฒนา การวางแผนและ ออกแบบ ในการพัฒนา ศึกษาข้อมูลเอกสารที่ เกียวข้องกับปัญหาผู้เรียน และการจัดประสบการณ์ โดยใช้นวัตกรรม วิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อกำหนดแนวคิด ในการพัฒนาผู้เรียน การจัดประสบการณ์ โดยใช้นวัตกรรม
13
รูปแบบการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานด้วยแผ่นรูปภาพประกอบการเล่นบทบาทสมมติตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดในการจัด ประสบการณ์ โดยใช้ กิจกรรม การเล่านิทาน ด้วยแผ่นรูปภาพ ประกอบการเล่น บทบาทสมมติ เพื่อพัฒนา ความเชื่อมั่น ในตนเอง ของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 การวางแผนและออกแบบ ในการพัฒนา ศึกษาข้อมูลเอกสารที่ เกียวข้องกับปัญหาผู้เรียน และการจัดประสบการณ์ โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน ด้วยแผ่นรูปภาพ ประกอบการเล่น บทบาทสมมติ - วิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อกำหนดแนวคิด ความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ความเชื่อมั่นในตนเอง กิจกรรมการเล่านิทาน ด้วยแผ่นรูปภาพประกอบ การเล่นบทบาทสมมติ ตามแนวคิดการเรียนรู้ ดยใช้สมองเป็นฐาน BBL
14
แนวคิดรูปแบบการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองโดยใช้กิจกรรม การเล่านิทานด้วยแผ่นรูปภาพประกอบการเล่นบทบาทสมมติ ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้เศรษฐกิจพอเพียง การจัดกิจกรรมการเล่านิทานด้วยแผ่นรูปภาพประกอบบทบาทสมมติ เพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ได้ศึกษา แนวคิดการเล่านิทานโดยใช้บทบาทสมมติของอนงค์ ตันติวิชัย (2549 : 99 – 101) ขั้นตอนการเล่านิทานคติธรรมประกอบการเล่นบทบาทสมมติของวราภรณ์ ปานทอง (2548 : 87 – 88) ขั้นตอนการเล่านิทานของ รักตวรรณ ศิริถาพร (2548 : 71) แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้เศรษฐกิจพอเพียง และขั้นตอนการแสดงบทบาทสมมติของชิตาพร เอี่ยมสะอาด (2548 : 83) ตลอดจนแนวคิดของทฤษฎีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก (Kohlberg อ้างถึงใน กระทรวงศึกษาธิการ, 2542 ข : 5) มาเป็นแนวคิดในการสร้างขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานด้วยแผ่นรูปภาพประกอบบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง
15
รูปแบบการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองโดยใช้กิจกรรม การเล่านิทานด้วยแผ่นรูปภาพประกอบการเล่นบทบาทสมมติตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน BBL ขั้นตอน การเล่านิทาน ด้วยแผ่นรูปภาพ ประกอบการเล่น บทบาทสมมติ ขั้นนำ ขั้นเล่า ขั้นสรุป แนวคิดของ การส่งเสริม พัฒนาความ เชื่อมั่นในตนเอง และทฤษฎีการใช้ เหตุผลเชิงจริยธรรม ของโคลเบอร์ก ขั้นหลีกเลียง การลงโทษ ( 2-7 ปี ) แนวคิดการ เรียนรู้โดยใช้ เศรษฐกิจพอเพียง ขั้นนำ ขั้นกิจกรรม ขั้นสรุป แนวคิดการเล่านิทาน โดยใช้บทบาทสมมติ ของอนงค์ ตันติวิชัย (2549 : 99 – 101) ขั้นนำ ขั้นเล่า ขั้นสรุป ขั้นตอนการแสดง บทบาทสมมติของ ชิตาพร เอี่ยมสะอาด (2548 : 83) ขั้นนำ ขั้นแสดง ขั้นสรุป
16
ขั้นนำ 1. เตรียมความพร้อมของนักเรียน และเตรียมสื่อ วัสดุอุปกรณ์
1. เตรียมความพร้อมของนักเรียน และเตรียมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ ในการเล่านิทานและการแสดงบทบาทสมมติที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน 2. นักเรียนเข้าสู่เรื่องราวของนิทานโดยใช้การร้องเพลงประกอบท่าทาง ท่องคำคล้องจอง การใช้ปริศนาคำทาย เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ และความพร้อมที่จะเข้าสู่กิจกรรมการเล่านิทาน
17
ขั้นเล่านิทาน 3. นักเรียนฟังนิทานและเรื่องราว ตัวละคร เหตุการณ์
โดยใช้แผ่นรูปภาพประกอบการเล่านิทาน เมื่อเล่านิทานมาถึง จุดที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในตนเอง ครูให้นักเรียนแสดง ความคิดเห็นของเรื่องราวนิทานที่จะดำเนินการต่อไป จะเป็นอย่างไรแล้วนักเรียนฟังนิทานต่อไปจนจบเนื้อเรื่อง 4. นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 4 – 5 คน ตามความสมัครใจ เพื่อช่วยกันวางแผนแสดง บทบาทสมมติตามเนื้อเรื่องของนิทานที่ฟังไป แล้วช่วยกันสร้างข้อตกลงในการแสดงบทบาทสมมติ
18
ขั้นเล่าเรื่องย้อนกลับ
5. นักเรียนได้รับสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเล่น บทบาทสมมติ ได้แก่ ที่คาดศีรษะหน้ากาก และเครื่องแต่งกาย ทำจากถุงกระดาษ แล้วแต่ละกลุ่มวางแผนแสดงตามความคิด และจินตนาการของตนเองโดยใช้ประสาทสัมผัส ให้มากที่สุด 6. นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมติ พร้อมกันตามข้อตกลงของชั้นเรียนโดยระมัดระวัง พื้นที่ที่ใช้แสดงบทบาทสมมติ
19
ขั้นสรุป 7. นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นที่มีต่อตัวละครในเนื้อเรื่อง
ว่าเป็นอย่างไรที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่นในตนเองว่ามีข้อดี อย่างไร ในบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นมิตร 8. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปถึง พฤติกรรมในการแสดงออกที่เกี่ยวกับ ความเชื่อมั่นในตนเองที่อยากกระทำนั้น มีอะไรบ้าง ตามความคิดที่ถูกต้อง และเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติที่เป็นผลดีต่อตนเองและผู้อื่น
20
จุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมการเล่านิทานด้วยแผ่นรูปภาพประกอบการเล่นบทบาทสมมติ
1. นักเรียนสามารถกล้าแสดงออกถึงพฤติกรรมการเข้าร่วมในกิจกรรมการเล่านิทานได้ 2. นักเรียนสามารถแสดงออกถึงพฤติกรรมความเป็นตัวของตัวเองในกิจกรรม การเล่านิทานได้ 3. นักเรียนสามารถแสดงออกถึงพฤติกรรมการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในกิจกรรมการเล่านิทานได้ 4. นักเรียนสามารถแสดงออกถึงพฤติกรรมความภาคภูมิใจในตนเองในกิจกรรม การเล่านิทานได้ 5. นักเรียนสามารถเล่นบทบาทสมมติตามเนื้อเรื่องนิทานตามความคิดและจินตนาการได้ 6. นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน
21
การเขียนการวัดและประเมินผล
๑. ระบุวิธีวัดให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ๒. ระบุวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ประเมินผล ๓. ระบุพฤติกรรม หรือ สิ่งที่มุ่งวัด
22
พฤติกรรมกล้าแสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรม
พัฒนาการระดับ 3 หมายถึง นักเรียนแสดงความกระตือรือร้น อยากเข้าร่วมกิจกรรม กล้าทดลอง กล้าพูดหรืออธิบายอย่างมั่นใจ สบตาครูและเพื่อนในขณะทำกิจกรรม พัฒนาการระดับ 2 หมายถึง นักเรียนแสดงความกระตือรือร้น อยากเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมั่นใจ แต่ไม่สบตาครูและเพื่อนในขณะทำกิจกรรม พัฒนาการระดับ 1 หมายถึง นักเรียนแสดงความกระตือรือร้น อยากเข้าร่วมกิจกรรมเท่านั้น
23
พฤติกรรมความเป็นตัวของตัวเอง
พัฒนาการระดับ 3 หมายถึง นักเรียนกล้าตัดสินใจทำกิจกรรมด้วยตนเอง มีความสนใจและตั้งใจในการทำกิจกรรมตลอดเวลา พัฒนาการระดับ 2 หมายถึง นักเรียนกล้าตัดสินใจทำกิจกรรมด้วยตนเอง มีความสนใจและตั้งใจในการทำกิจกรรมในบางช่วงเท่านั้น พัฒนาการระดับ 1 หมายถึง นักเรียนกล้าตัดสินใจทำกิจกรรมด้วยตนเอง มีความสนใจในการทำกิจกรรมในบางช่วงเท่านั้น แต่ไม่ค่อยมีความตั้งใจในการทำกิจกรรม
24
พฤติกรรมการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม
พัฒนาการระดับ 3 หมายถึง นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนได้โดยยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นผู้ฟังที่ดี ปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่มได้ตลอดจนให้ความช่วยเหลือและยอมรับการช่วยเหลือจากผู้อื่นตลอดกิจกรรม พัฒนาการระดับ 2 หมายถึง นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนได้ โดยยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นผู้ฟังที่ดี ปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่มได้ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือและยอมรับการช่วยเหลือจากผู้อื่นเป็นบางช่วงของกิจกรรม พัฒนาการระดับ 1 หมายถึง นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนได้ เป็นผู้ฟังที่ดี ปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่มได้ แต่ไม่ให้ความช่วยเหลือและยอมรับการช่วยเหลือจากผู้อื่น
25
พฤติกรรมความภาคภูมิใจในตนเอง
พัฒนาการระดับ 3 หมายถึง นักเรียนมีความพึงพอใจในตนเอง ยอมรับการกระทำของตนเองและพยายามแก้ปัญหาด้วยตนเอง ตั้งใจทำกิจกรรมให้สำเร็จโดยไม่ท้อถอยตลอดกิจกรรม พัฒนาการระดับ 2 หมายถึง นักเรียนมีความพึงพอใจในตนเอง ยอมรับการกระทำของตนเองและพยายามแก้ปัญหาด้วยตนเอง ตั้งใจทำกิจกรรมให้สำเร็จโดยไม่ท้อถอยในบางช่วงของกิจกรรม พัฒนาการระดับ 1 หมายถึง นักเรียนมีความพึงพอใจในตนเอง และยอมรับการกระทำของตนเองเท่านั้น
26
การเล่นบทบาทสมมติตามเนื้อเรื่อง
พัฒนาการระดับ 3 หมายถึง นักเรียนช่วยกันวางแผนแสดงบทบาทสมมติตามเนื้อเรื่องของนิทาน และแสดงการเล่นบทบาทสมมติตามความคิดและจินตนาการของกลุ่มได้อย่างดีและอย่างเหมาะสมตลอดกิจกรรมการแสดง พัฒนาการระดับ 2 หมายถึง นักเรียนช่วยกันวางแผนแสดงบทบาทสมมติตามเนื้อเรื่องของนิทาน และแสดงการเล่นบทบาทสมมติตามความคิดและจินตนาการของกลุ่มได้ บางช่วงของกิจกรรมการแสดง พัฒนาการระดับ 1 หมายถึง นักเรียนช่วยกันวางแผนแสดงบทบาทสมมติตามเนื้อเรื่องของนิทาน แต่แสดงการเล่นบทบาทสมมติของกลุ่มไม่ได้
27
การปฏิบัติกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติ ด้วยความสนุกสนาน
พัฒนาการระดับ 3 หมายถึง นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติด้วยความกระตือรือร้น ความสนใจ มีความสนุกสนานในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยตลอด พัฒนาการระดับ 2 หมายถึง นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติด้วยความกระตือรือร้นความสนใจ มีความสนุกสนานในการเข้าร่วมกิจกรรมการเล่านิทานเป็นบางช่วงของกิจกรรม พัฒนาการระดับ 1 หมายถึง นักเรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้บ้าง มีท่าทางไม่เต็มใจในการเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติ
28
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน เรื่องปลาสายรุ้ง โดย นฤมล เนียมหอม
แนวคิดพื้นฐาน "นิทาน" เป็นสิ่งที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย เรื่องราวในนิทานมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสริมจินตนาการให้แก่เด็กการนำนิทานมาเป็นสื่อหลักในการจัดประสบการณ์ ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น
29
ความหมาย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมสำหรับเด็กเป็นหลักในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาอย่างเป็นองค์รวม
30
หลักการ 1. การจัดการเรียนรู้ควรตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติของเด็กในการค้นหาความหมาย การเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้เด็กกำหนดรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตน การจัดการเรียนรู้ต้องให้ความสำคัญต่อบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก การฟังคือที่มาสำคัญของการพัฒนาภาษาคำ ความหมาย และภาษาที่งดงามสร้างขึ้นได้จากนิทาน เด็กเรียนรู้ผ่านกิจกรรมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า
31
วิธีการ 1. เลือกวรรณกรรมที่ดีมาอ่านให้เด็กฟังไม่ต้องกังวลที่จะให้เด็กอ่านตามไม่ต้องให้เด็กคอยตอบคำถามไม่ต้องจำเรื่องให้ได้ทำให้เด็กรู้สึกสนุกที่จะฟังเรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่าให้ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง *** ภาพประกอบในหนังสือจะสื่อความหมายให้สมองรับรู้เรื่องราวที่ได้ฟังและแม้มีคำยากปนอยู่บ้างสมองก็จะพยายามเชื่อมโยงความหมายของคำนั้นกับเรื่องราววิธีเรียนรู้แบบนี้เป็นวิธีเรียนภาษาที่ได้ผลสัมฤทธิ์สูง *** ** เมื่ออ่านให้เด็กฟังติดต่อกันยาวนานพอเด็กจะเริ่มจดจำเรื่องได้ในที่สุดเด็กจะหยิบหนังสือมาเปิดอ่านการสะกดได้จะตามมาภายหลังการสอนอ่านและสอนสะกดทำได้ง่ายมากเมื่อเด็กรักที่จะอ่านแล้ว ***
32
วิธีการ 2. กระตุ้นให้เด็กสนทนาเกี่ยวกับตัวละครวัตถุสิ่งของ ฉาก หรือสถานการณ์ที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม โดยใช้คำถามหลายๆ ระดับ ** ลักษณะของคำถาม : ความจำ, ความเข้าใจ, การวิเคราะห์, การนำไปใช้, การประเมินค่า, การสร้างสรรค์ **
33
วิธีการ 3. วางแผนและออกแบบกิจกรรมที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม และสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกิจกรรมประจำวัน โดยมีศิลปะและละครเป็น องค์ประกอบสำคัญ
34
เด็กๆ ถ่ายทอดความรู้สึกและลำดับเรื่องราวผ่านละครสร้างสรรค์ หลังจาก ได้ฟังนิทานเรื่องปลาสายรุ้ง เป็นการเรียนรู้ที่จะเลือกสัญลักษณ์ที่เหมาะสมใน การนำเสนอความคิดด้วยสีหน้า ท่าทาง และคำพูดให้เหมาะสมกับสิ่งที่เด็กๆ ต้องการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
35
เด็กสนใจที่จะวาดภาพปลาที่เลี้ยงไว้ ทำให้มีโอกาสสังเกตปลาจากมุมมอง ที่ต่างๆ กัน ได้อธิบายในเรื่องตำแหน่งและทิศทางการเคลื่อน ที่ของปลา และได้ สื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด
36
เด็กๆ ช่วยกันตัดกระดาษเป็นเกล็ดปลาสายรุ้งแล้วนำสร้างสรรค์งานร่วมกับเพื่อน เด็กได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทำให้เกิดความพอใจ และสนุกสนาน
37
เด็กๆ สนใจเล่นเกมการศึกษาจากวรรณกรรมเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เด็ก มีประสบการณ์ทางภาษาผ่านกิจกรรมที่สนุกสนาน และสื่อความหมายกับเด็ก
38
การให้เด็กเล่นเกมการศึกษาซึ่งเป็นเกมภาษา จากวรรณกรรม ทำให้เด็กได้รับความพึงพอใจ และ ความสนุกสนานผ่านทางภาษาที่มีความหมายต่อเด็ก
39
เด็กสร้างสรรค์ปลาสายรุ้งด้วยขนมปังและแยมสีต่างๆ เด็กรู้จักรูปทรงเรขาคณิต ของขนมปังทั้งที่เป็นแผ่นสี่เหลี่ยม และถูกตัดเป็นสามเหลี่ยมเพื่อเป็นหางปลา
40
หนังสือเล่มใหญ่ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของเด็ก เป็นสื่อที่เด็กให้ความสนใจมาก เด็กๆ มี โอกาสได้รับรู้ความรู้สึก ความสนใจ และความ ต้องการของเพื่อน
41
4. จัดนิทรรศการแสดงสิ่งที่เด็กๆ เรียนรู้
จัดนิทรรศการแสดงสิ่งที่เด็กๆ เรียนรู้โดยทบทวนกิจกรรมที่จัดแล้วร่วมกับเด็กให้เด็กช่วยกันเลือก สิ่งที่ต้องการนำเสนอให้ผู้อื่นรับรู้เกี่ยวกับวิธีการที่เด็กเรียนรู้และสิ่งที่เด็กเรียนรู้ และร่วมกันจัดนิทรรศการ
42
ผลลัพธ์สำคัญจากการจัดประสบการณ์
เด็กมีนิสัยรักการอ่าน เด็กมีพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาเหมาะสมกับวัย
43
รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย ตามแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง
44
การวางแผนเพื่อพัฒนาสมอง (BBL)
สมองซีกขวา(เหตุผล) (อารมณ์-ความรู้สึก) สมองซีกซ้าย(เหตุผล) (เหตุผล-ตรรกะ) ลักษณะรูปร่าง/ส่วนประกอบ ของมะพร้าว/การเรียงลำดับ การปั้นกากมะพร้าวตากแห้ง/การประดิษฐ์ของเล่นจากมะพร้าว การปลูกมะพร้าว และ ประโยชน์จากมะพร้าว การศึกษาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เรื่องมะพร้าว การพัฒนา การคิด และจินตนาการจากการเรียนรู้เรื่องมะพร้าว การเล่นเสรีและเล่นตามมุ/ กิจกรรมเกมการศึกษา กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง/เกมการเล่นต่างๆ ปฏิบัติตามข้อตกลง และ กติกาการเล่น เกมต่างๆ จากเกมการศึกษาและ การเล่นตามมุมในกิจกรรมเสรี การพัฒนาการใช้สัญลักษณ์แทนผลของการคิด
45
แนวคิดในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ตามแนวคิด BBL
สร้างความสนใจและเร้าความยากรู้ โดยใช้สื่อหลากหลายในการกระตุ้นการรับรู้ ด้วยประสาทสัมผัส ขั้นนำ: สร้างความสนใจ และเร้าความยากรู้ เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยพยายามให้ใช้หลายอย่างร่วมกัน เพื่อความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ ขั้นกิจกรรม : ผู้เรียนผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 เด็กมีโอกาสได้แสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้โดยการพูด/แสดงผลงานด้วยบรรยากาศที่อบอุ่น และรับฟังชื่นชมสิ่งที่ได้เรียนรู้ ขั้นสรุป : สร้างความรู้และความชื่นชม
46
การวางแผนประเมินพัฒนาการ
ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ -การปั้นกากมะพร้าวตากแห้งผสมกาว -การวาดภาพระบายสีด้วยส่วนประกอบของมะพร้าว -การประดิษฐ์ของเล่นจากมะพร้าว -เกมการเล่นกลางแจ้งเกี่ยวกับมะพร้าว -การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย -การเล่นเสรี/เล่นตามมุม -การเล่นเกมกลางแจ้งเกี่ยวกับมะพร้าว -การสานใบมะพร้าว - ฯ ล ฯ มะพร้าว ด้านสังคม ด้านสติปัญญา -การเล่นเสรี และเล่นตามมุม -การปฏิบัติตามข้อตกลง -การปฏิบัติตามคำสั่ง -การเล่นเป็นมุม -การศึกษาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น - ฯ ล ฯ -การพัฒนา การคิด และจินตนาการ -การศึกษาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น -การสนทนาอภิปรายในเนื้อหา/มะพร้าว -เกมทักษะการสังเกตต่างๆ -เกมต่างๆ ที่เด็กได้ฝึกการคิด - ฯ ล ฯ
47
รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์) ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
48
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัว พอประมาณ ทางสายกลาง พอเพียง เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต อดทน เพียร มีสติ ปัญญา เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ก้าวหน้า สมดุล มั่นคง และยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
49
ลักษณะของกิจกรรม ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ความพอประมาณ พอเหมาะกับสภาพของตน(ปัจจัยภายใน) พอควรกับภูมิสังคม(ปัจจัยภายนอก) (สมดุล) ความมีเหตุผล รู้สาเหตุ-ทำไม รู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วิชาการ/กฎหมาย/ความเชื่อ/ประเพณี รู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านต่างๆ (รอบรู้/สติ ปัญญา) มีภูมิคุ้มกันที่ดี รู้เท่าทัน และเตรียมความพร้อม (วางแผน/รอบคอบ/เรียนรู้/พัฒนาตน/ทำประโยชน์ให้กับสังคม/รักษ์สิ่งแวดล้อม) คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ
50
- สภาพและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์
ข้อมูลพื้นฐาน - สภาพและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์ - องค์ประกอบ / กระบวนการของการคิดวิเคราะห์ แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - คุณลักษณะที่สำคัญคือความพอประมาณ / ความมีเหตุผล / การมีภูมิคุ้มกัน - เงื่อนไขการตัดสินใจที่สำคัญ คือ ความรู้ / คุณธรรม การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้สรุปความรู้ด้วยตนเอง เห็นการคิดวิเคราะห์จากคุณลักษณะของความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน ให้เป็นคนพอเพียง รู้จักแสวงหาความรู้โดยใช้คุณธรรมกำกับความรู้ ฝึกการคิดวิเคราะห์ ทำอย่างพอดีพอเหมาะบนหลักของเหตุผล ความสามารถการคิดวิเคราะห์ 1. การคิดวิเคราะห์ความสำคัญหรือเนื้อหาของสิ่งต่าง ๆ 2. การคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ 3. การคิดวิเคราะห์เชิงหลักการจากสิ่งต่าง ๆ
51
เงื่อนไขความรู้ - รอบรู้ - รอบคอบ - ระมัดระวัง เงื่อนไขคุณธรรม
- ซื่อสัตย์ - สุจริต - ขยัน - พากเพียร - มีสติ - อดทน - ความรับผิดชอบ - ฯลฯ ขั้นที่ 1 ขั้นนำ สร้างความสนใจและเร้าความอยากรู้ (ความพอประมาณ) ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรม ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการสังเกตเปรียบเทียบ (ความมีเหตุผล) ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป สร้างความรู้และความชื่นชม (การมีภูมิคุ้มกัน) ความสามารถการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของคนพอเพียงที่สามารถคิดไตร่ตรองก่อนทำ มีเหตุผล หมั่นแสวงหาความรู้โดยมีคุณธรรมกำกับ
52
กากมะพร้าวแห้งผสมกาว ด้วยการปะตัวเลขปฏิทิน
แผนผังความคิดที่จะนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในจัดกิจกรรมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์ กิจกรรมประดิษฐ์ ตุ๊กตาจากใบไม้ กิจกรรมปั้นผลไม้จาก กากมะพร้าวแห้งผสมกาว กิจกรรม สร้างสรรค์ กิจกรรมวาดภาพ ด้วยการปะตัวเลขปฏิทิน กิจกรรมวาดภาพ ด้วยผักและผลไม้ กิจกรรมสร้างภาพด้วย ละอองสีจากขวดพ่นน้ำ กิจกรรมประดิษฐ์หมวก จากใบไม้ขนาดใหญ่
53
ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
คำถาม : เด็กเรียนรู้ได้อย่างไร คำตอบ : การอบรมสั่งสอน พูดบอก การเลียนแบบสิ่งที่พบเห็น สังเกต การค้นพบด้วยตนเอง ลองผิดลองถูก การฝึกหัด การฝึกฝน
54
: เด็กเรียนรู้ได้ดีเมื่อไร
คำถาม : เด็กเรียนรู้ได้ดีเมื่อไร คำตอบ : มีความสนใจ ทำแล้วสนุกมีความสุข มีความเป็นอิสระ พบความสำเร็จ
55
รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (เพื่อพัฒนา ) ตาม
56
ข้อมูลพื้นฐาน - สภาพและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา แนวคิด
57
ขั้นที่ ขั้นที่ ขั้นที่
58
แผนผังความคิดที่จะนำแนวคิด
แผนผังความคิดที่จะนำแนวคิด ไปใช้ในจัดกิจกรรมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนา กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม
59
สวัสดีค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.