งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การบริหารงานคลังท้องถิ่น การเบิกจ่ายเงินและลงบัญชี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การบริหารงานคลังท้องถิ่น การเบิกจ่ายเงินและลงบัญชี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การบริหารงานคลังท้องถิ่น การเบิกจ่ายเงินและลงบัญชี
การจัดทำแผนพัฒนา การบริหารรายได้ การจัดทำงบประมาณ การบริหารงานพัสดุ การเบิกจ่ายเงินและลงบัญชี การตรวจสอบการคลัง

2 การตั้งงบประมาณรายจ่ายให้กระทำตามที่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทยกำหนด
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ ข้อ 16

3 การจ่ายเงินให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการ กระทรวงมหาดไทย
การจ่ายเงินให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการ กระทรวงมหาดไทย ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ ข้อ 34 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ ข้อ 67

4 เสริมสร้างวินัยการเงิน
กรอบและมาตรการ เสริมสร้างวินัยการเงิน การคลังท้องถิ่น

5 นิยาม วินัยการเงินการคลังของ อปท. หมายถึง กรอบแนวทางสำหรับการบริหารจัดการการเงินการคลังของ อปท. เกี่ยวกับการดำเนินนโยบาย การคลัง การหารายได้ การใช้จ่ายเงิน การก่อหนี้ เงินสะสม และทรัพย์สิน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ ที่มา : มติคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรการเพื่อเสริมสร้างวินัยทางการเงิน การคลังของ อปท.

6 กรอบวินัยทางการเงิน การคลัง
เป้าหมาย ที่ 1 เป้าหมาย ที่ 2 เป้าหมาย ที่ 3 เป้าหมาย ที่ 4 การบริหารจัดการนโยบายการคลังและระบบงบประมาณที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาท้องถิ่น การบริหารการเงิน การคลังอย่างมีประสิทธิภาพ การรักษาดุลรายได้ รายจ่าย การสนับสนุนความยั่งยืนทางการคลังและเศรษฐกิจ ในระยะยาว

7 อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภท

8 องค์การบริหารส่วนจังหวัด แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546
อำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546

9 อำนาจหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด มาตรา 45
- ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย - สนับสนุนราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น - ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่น - กิจการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง - จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ใน พรบ. นี้ หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ อบจ. ฯลฯ

10 ๏ กิจการที่ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น สมควรให้ อบจ.
กฎกระทรวง พ.ศ. 2541 ๏ กิจการที่ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น สมควรให้ อบจ. ร่วมดำเนินการ หรือจัดทำ - จัดให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร - กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล - รักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน - จัดการศึกษา - จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ซึ่งอย่างน้อยต้องเป็น ทางหลวงชนบทตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง - ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - ส่งเสริมการท่องเที่ยว ฯลฯ

11 พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอำนาจให้แก่
อำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

12 อำนาจและหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามมาตรา 17
- การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาท้องถิ่น - การจัดการศึกษา - การส่งเสริมกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น - การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น - สนับสนุนเพื่อช่วยเหลือส่วนราชการ หรือ อปท. อื่น ในการพัฒนาท้องถิ่น - การสังคมสงเคราะห์ พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ฯลฯ

13 ประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง การกำหนดอำนาจ และหน้าที่ ในการจัดระบบบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อ 1 ลักษณะของการดำเนินงานของ อบจ. ในการให้บริการสาธารณะในเขตจังหวัด (1) ดำเนินงานในโครงการที่มีขนาดใหญ่ที่เกินศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในเขตจังหวัด

14 (2) เป็นการดำเนินงานที่ปรากฏถึงกิจกรรมที่เป็นภาพรวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดที่มุ่งเน้นต่อประโยชน์ของท้องถิ่นหรือประชาชนเป็นส่วนรวม และไม่เข้าไปดำเนินงานที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัดสามารถดำเนินการได้เอง (3) เข้าไปดำเนินงานตามแผนงานหรือโครงการในลักษณะที่มีความคาบเกี่ยวต่อเนื่อง หรือมีผู้ที่ได้รับประโยชน์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่า 1 แห่งขึ้นไป

15 ข้อ 2 ในการดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ของ อบจ. ตามข้อ 1 อบจ
ข้อ 2 ในการดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ของ อบจ. ตามข้อ 1 อบจ. ควรจะดำเนินการเพื่อให้เป็นไปในลักษณะดังนี้ คือ (1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเองและประสานการจัดทำแผนจังหวัด โดยการสร้างและพัฒนาระบบการประสานแผนการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดเพื่อนำไปสูการใช้จ่ายงบประมาณ ในการพัฒนาของ อปท. ที่มีความสมดุลย์และคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

16 (2) การก่อสร้างและบำรุงรักษาโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่หรือมีการเกี่ยวเนื่องกันหลาย อปท. หรือในลักษณะที่เป็นเครือข่ายหลักในการเชื่อมโยงกับแผนงานโครงการ ที่ดำเนินการโดย อปท. อื่นในจังหวัด (3) การจัดการศึกษา สาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในระดับจังหวัด และไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับ อปท. อื่นในจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายศักยภาพและมุ่งต่อผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาการศึกษา สาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนของ อปท. อื่นในจังหวัด

17 (4) การส่งเสริมจารีต ประเพณี วัฒนธรรม การท่องเที่ยว การส่งเสริมการลงทุน และพาณิชยกรรมของจังหวัด
(5) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักในการกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล การดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม ให้แก่ อปท. อื่นในจังหวัด

18 (6) ให้บริการด้านเทคนิค วิชาการ เครื่องมือ เครื่องจักรกล บุคลากรแก่ อปท. อื่นในเขตจังหวัด
(7) ดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิจกรรมถ่ายโอนที่ อบจ. “ มีหน้าที่ที่ต้องทำ ”

19 อำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496 และแก้ไขเพิ่มเติม

20 หน้าที่ของเทศบาลที่ต้องทำ
๏ เทศบาลตำบล ตามมาตรา 50 รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

21 หน้าที่ของเทศบาลที่ต้องทำ ๏ เทศบาลเมือง ตามมาตรา 53
๏ เทศบาลเมือง ตามมาตรา 53 - กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา 50 - ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา - ให้มีโรงฆ่าสัตว์ - ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้ - ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ - ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ ฯลฯ

22 หน้าที่ของเทศบาลที่ต้องทำ
๏ เทศบาลนคร ตามมาตรา 56 - กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา 53 - ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก - กิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข - การควบคุมสุขลักษณะและอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพและสถานบริการอื่น - จัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม - จัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบ

23 หน้าที่ของเทศบาลที่อาจทำ ๏ เทศบาลเมือง ตามมาตรา 54
๏ เทศบาลเมือง ตามมาตรา 54 - ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม - ให้มีสุสานและฌาปนสถาน - บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร - ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก - ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล - ให้มีการสาธารณูปการ - จัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข - จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา ฯลฯ

24 - อาจจัดทำกิจการอื่น ๆ ตามมาตรา 54 ได้
หน้าที่ของเทศบาลที่อาจทำ ๏ เทศบาลนคร ตามมาตรา 57 - อาจจัดทำกิจการอื่น ๆ ตามมาตรา 54 ได้

25 พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนตำบล
อำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546

26 อำนาจหน้าที่ของ อบต. ที่ต้องทำ ตามมาตรา 67
- รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล - ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ - ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม - ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ - บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ฯลฯ

27 อำนาจหน้าที่ของ อบต. ที่อาจจัดทำ (มาตรา 68)
- ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร - ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น - ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ - ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ - ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ - บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร ฯลฯ

28 พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอำนาจให้แก่
อำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

29 อำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ ตามมาตรา 16
อำนาจและหน้าที่ของเทศบาล เมืองพัทยา และ อบต. - การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง - การส่งเสริมการท่องเที่ยว - การจัดการศึกษา - การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส - การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ฯลฯ

30 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเดินทางไปราชการ
ข้อ 4 บุคคลที่มิใช่พนักงานท้องถิ่น อปท. สั่งให้ไปปฏิบัติราชการ และให้เบิกค่าใช้จ่ายจาก อปท. ได้

31 ระเบียบ มท. ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของ อปท. พ.ศ. 2542
ข้อ 6 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการในเรื่องใดที่กระทรวงมหาดไทยยังไม่ได้กำหนดไว้ ให้ใช้ระเบียบ คำสั่ง หนังสือสั่งการของ กค.โดยอนุโลม

32 พรบ.สงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงาน ของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543

33 เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
รายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หมายถึง ผู้ที่ไม่มีรายได้ประจำเป็นรายเดือน หรือรายปี และไม่มีรายได้จากการประกอบอาชีพอื่นใด

34 ถูกทอดทิ้ง หมายถึง การละเลย ไม่เอาเป็นธุระ ไม่เอาใจใส่ของบรรดาผู้ดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยเอดส์ เช่น บิดา มารดา บุตร ญาติพี่น้อง เป็นต้น

35 ขาดผู้อุปการะ หมายถึง ไม่มีผู้อุปการะจากหน่วยงานของรัฐ เอกชน ที่ให้ความช่วยเหลือหรือให้ผลประโยชน์อื่นใดอันทำให้ดำรงชีพอยู่ได้ และบิดา มารดา บุตร ญาติพี่น้อง ทอดทิ้ง

36 ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ หมายถึง สภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวยต่อการประกอบอาชีพจนเป็นเหตุทำให้ไม่มีรายได้ หรือรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ

37 ข้อ 17 ประมาณการรายรับ ประกอบด้วย
หมวดภาษีอากร หมวดค่าธรรมเนียม ค่าปรับและใบอนุญาต หมวดรายได้จากทรัพย์สิน หมวดรายได้จากสาธารณูปโภค และกิจการพาณิชย์ หมวดเงินอุดหนุน หมวดรายได้เบ็ดเตล็ด

38 - ประมาณการรายรับ ให้ตั้งประมาณการ รายรับทั้งปีให้ครบทุกหมวดรายรับ
- รายรับประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป ให้ตั้ง รับยอดเงินรวมทั้งปีโดยประมาณการใกล้เคียง กับเงินอุดหนุนทั่วไป รวมกับเงินอุดหนุนทั่วไปที่ กำหนดวัตถุประสงค์ให้ใกล้เคียงกับที่ได้รับ

39 ข้อ 25 ให้ใช้แผนพัฒนาสามปีเป็นกรอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ข้อ 22 ให้ใช้แผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณ ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาของ อปท. พ.ศ ข้อ 25 ระเบียบ มท. ว่าด้วยวิธีการงบประมาณของ อปท. พ.ศ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ ข้อ 22

40 ข้อ 13 งบประมาณรายจ่ายทั่วไป
ประกอบด้วย • รายจ่ายงบกลาง • รายจ่ายตามแผนงาน


ดาวน์โหลด ppt การบริหารงานคลังท้องถิ่น การเบิกจ่ายเงินและลงบัญชี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google