งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ

2 โดย คุณครูฮาดีหม๊ะ แวดะสง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
โดย คุณครูฮาดีหม๊ะ แวดะสง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา

3 ไตรภูมิ คือ อะไร ของสามโลก หรือ สามภูมิ
เดิม เรียก เตภูมิกถา คือ เรื่องราว ของสามโลก หรือ สามภูมิ

4 ไตรภูมิพระร่วง ศรีสัชนาลัย เมื่อกว่า ๗๐๐ ปี
ผู้แต่ง : พระราชนิพนธ์ของ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) นัดดา ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อครั้ง ทรงเป็นอุปราชครองเมือง ศรีสัชนาลัย เมื่อกว่า ๗๐๐ ปี

5 ไตรภูมิพระร่วง ลักษณะการแต่ง : แต่งเป็นร้อยแก้ว
วัตถุประสงค์ในการแต่ง : เพื่อเทศนาถวายพระราชมารดาและเพื่อให้เป็นธรรมทานแก่บุคคลทั่วไป

6 ไตรภูมิพระร่วง เนื้อหาสาระ เริ่มต้นด้วยคาถานมัสการเป็นภาษาบาลี ต่อไปมีบานแผนกบอกชื่อผู้แต่ง วันเดือนปีที่แต่ง บอกชื่อคัมภีร์ บอกความมุ่งหมายในการแต่ง แล้วจึงกล่าวถึงภูมิทั้ง 3 ว่า "อันว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมจะเวียนวนไปมาและเกิดในภูมิ 3 อันนี้แล" คำว่า "ไตรภูมิ" แปลว่า สามแดน คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ

7 อรูปภูมิ รูปภูมิ กามภูมิ

8

9 ไตรภูมิพระร่วง สอนอะไร?
ไตรภูมิพระร่วง สอนอะไร? “ความเปลี่ยนแปรของสรรพสิ่ง คือ อนิจจลักษณะ”

10 กำเนิดแห่งมนุษย์ ในความเชื่อ ของพญาลิไท?
มนุสสภูมิ กำเนิดแห่งมนุษย์ ในความเชื่อ ของพญาลิไท?

11 เมื่อแรกเป็นเพียง “กลละ” หรือ Cell ขนาดเล็ก

12 ผิรูปอันจะเกิดเป็นชายก็ดี หญิงก็ดี เกิดมีเป็น อาทิ เกิดเป็น กลละ นั้น
ผิรูปอันจะเกิดเป็นชายก็ดี หญิงก็ดี เกิดมีเป็น อาทิ เกิดเป็น กลละ นั้น

13 โดยใหญ่แต่ละวัน แลน้อย ครั้น ๗ วัน เรียกว่า อัมพุทะ ครั้น ๗ วัน วันขึ้น ดั่งตะกั่วเชื่อมอยู่ในหม้อ เรียกว่า เปสิ

14 ฆนะ นั้นค่อยใหญ่ไปทุกวันครั้น ๗ วัน เป็นตุ่มออกห้าแห่ง ดังหูดเรียกว่า เบญจสาขาหูด

15 เบญจหูดนั้นเป็นมือ ๒ อัน เป็นตีน ๒ อัน เป็นหัวนั้นอันหนึ่ง
เบญจหูดนั้นเป็นมือ ๒ อัน เป็นตีน ๒ อัน เป็นหัวนั้นอันหนึ่ง

16 แลแต่นั้นค่อยไปเบื้องหน้า ทุกวันครั้น ๗ วัน เป็นฝ่ามือ เป็นนิ้วมือ นิ้วตีน

17 คำรบ ๔๒ จึงเป็นขน เป็นเล็บตีน เล็บมือ เป็นเครื่องสำหรับมนุษย์ ถ้วนทุกอันแล

18 แลกุมารนั้นนั่งกลางท้องแม่ แลเอาหลังมาต่อหลังท้องแม่

19 เมื่อกุมารอยู่ใน ท้องแม่นั้น ลำบากนักหนา ก็ชื้นและเหม็นกลิ่นตืด แลเอือน ๘๐ ครอก

20 อันว่าสายดือแห่งกุมารนั้น กลวงดังสายก้านบัว อันมีชื่อว่าอุบล จงอยไส้ดือนั้น กลวงขึ้นไปติดหลังท้องแม่

21 ข้าวน้ำอาหารใดอันแม่กินไสร้ แลโอชารสนั้นก็เป็นน้ำชุ่ม เข้าไปในไส้ดือนั้นแลเข้าไปในท้องกุมารนั้นแล สะหน่อยๆ แลผู้น้อยนั้นก็ได้กินทุกค่ำเช้าทุกวัน

22 เบื้องหลังกุมารนั้นต่อหลังท้องแม่ แลนั่งยองอยู่ในท้องแม่ แลกำมือทั้งสอง...

23 กุมารนั้นอยู่ในท้องแม่บ่ห่อนได้หายใจเข้าออกเสียเลย บ่ห่อนได้เหยียดตีน เหยียดมือออก ดั่งเราท่านทั้งหลายนี้สักคาบเลย

24 คนผู้ใดอยู่ในท้องแม่ ๖ เดือน
แลคลอดบ่ห่อนจะได้สักคาบ

25 เมื่อจะออกจากท้องแม่ วันนั้นไสร้ จึงลมกรรมชวาต พัดให้หัวผู้น้อยนั้นลงมาสู่ที่จะออก แลคับแคบ แอ่นยันนักหนา

26

27

28 ครั้นออกจากท้องแม่แต่นั้นไป เมื่อหน้ากุมารนั้น จึงรู้หายใจเข้าออกแล
ครั้นออกจากท้องแม่แต่นั้นไป เมื่อหน้ากุมารนั้น จึงรู้หายใจเข้าออกแล

29

30 ผิแลคนผู้มาแต่สวรรค์... ครั้นว่าออกมาไสร้ ก็ย่อมหัวเราะก่อนแล
ผิแลคนผู้มาแต่สวรรค์... ครั้นว่าออกมาไสร้ ก็ย่อมหัวเราะก่อนแล

31 ผิคนอันมาแต่นรกก็ดี แลมาแต่เปรตก็ดีมันคำนึงถึงความอันลำบากนั้น ครั้นว่าออกมาก็ร้องไห้แล

32 บุตรที่เกิดมาในไตรภูมิ
แบ่งได้เป็น 3 สิ่ง คือ อภิชาตบุตร เป็นคนเฉลียวฉลาดมีรูปงามหรือมั่งมียศยิ่งกว่าพ่อแม่ - อนุชาตบุตร เท่าเทียมพ่อแม่ - อวชาตบุตร ด้อยกว่าพ่อแม่

33 คนในไตรภูมิ คนทั้งหลายก็แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ 1. ผู้ที่ทำบาปฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และบาปนั้นตามทันต้องถูกตัดตีนสินมือและทุกข์โศกเวทนานักหนา พวกนี้เรียกว่า “คนนรก” 2. ผู้หาบุญจะกระทำบ่มิได้ และเมื่อแต่ก่อนและเกิดมาเป็นคนเข็ญใจยากจนนักหนา อดอยากไม่มีกิน รูปโฉมก็ขี้เหร่ พวกนี้เรียกว่า “คนเปรต”

34 คนในไตรภูมิ 3. คนที่ไม่รู้จักบาปและบุญ ไม่มีความเมตตากรุณา ไม่มีความยำเกรงผู้ใหญ่ ไม่รู้จักปฏิบัติพ่อแม่ครูอาจารย์ ไม่รักพี่รักน้อง กระทำบาปอยู่ร่ำไป พวกนี้ท่านเรียกว่า “คนเดรัจฉาน” 4. คนที่รู้จักบาปและบุญ รู้กลัวรู้ละอายแก่บาป รู้รักพี่รักน้อง รู้กรุณาคนยากจนเข็ญใจ และรู้จักยำเกรงพ่อแม่ผู้เฒ่าผู้แก่ครูอาจารย์ และรู้จักคุณแก้ว 3 ประการ คือ พระรัตนตรัย พวกนี้ท่านเรียกว่า “มนุษย์”

35 ไตรภูมิพระร่วงกล่าวว่า มนุสสาภูมิประกอบด้วย 4 ทวีป
1. ชมพูทวีป ตั้ง อยู่ในมหาสมุทรทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ มีสัณฐานเป็นรูปไข่ดุจดังดุมเกวียน คนมีรูปหน้ากลมดุจดังดุมเกวียน อายุของคนในชมพูทวีปนั้น หากเป็นผู้ที่เป็นคนดีมีศีลธรรมอายุก็จะยืน หากมีลักษณะตรงกันข้ามก็จะอายุสั้น เป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า (ซึ่งก็คือโลกที่เราๆ ท่านๆ อาศัยอยู่) 2.บุรพวิเทหทวีป ตั้ง อยู่ในมหาสมุทรทางทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ เป็นแผ่นดินกว้างได้ 7,000 โยชน์ มีสัณฐานเป็นรูปแว่นที่กลม มีเกาะล้อมรอบเป็นบริวาร 400 เกาะ มีแม่น้ำเล็กใหญ่ มีเมืองใหญ่เมืองน้อย คนในทวีปนี้หน้ากลมดังเดือนเพ็ญ มีรูปกะโหลกสั้น ทุกคนไม่เบียดเบียนกัน ไม่ทำชั่ว เมื่อตายแล้วจึงขึ้นสวรรค์แน่นอน ทำให้คนในทวีปนี้ไม่กลัวตาย และผู้ที่อาศัยในทวีปนี้ มีอายุ 100 ปีเท่ากันทุกคน

36 ไตรภูมิพระร่วงกล่าวว่า มนุสสาภูมิประกอบด้วย 4 ทวีป
3.อมรโคยานทวีป ตั้ง อยู่ในมหาสมุทรทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ เป็นแผ่นดินกว้างได้ 9,000 โยชน์ มีสัณฐานเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งดวง มีเกาะเล็กเกาะน้อยเป็นบริวารอยู่โดยรอบ คนในทวีปนี้มีรูปหน้าดังพระจันทร์ครึ่งดวง ทุกคนไม่เบียดเบียนกัน ไม่ทำชั่ว เมื่อตายแล้วจึงขึ้นสวรรค์แน่นอน ทำให้คนในทวีปนี้ไม่กลัวตาย และผู้ที่อาศัยในทวีปนี้ มีอายุ 400 ปีเท่ากันทุกคนเบียดเบียนกัน ไม่ทำชั่ว เมื่อตายแล้วจึงขึ้นสวรรค์แน่นอน ทำให้คนในทวีปนี้ไม่กลัวตาย

37 ไตรภูมิพระร่วงกล่าวว่า มนุสสาภูมิประกอบด้วย 4 ทวีป
4.อุตตรกุรุทวีป ตั้ง อยู่ในมหาสมุทรทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ เป็นแผ่นดินกว้างได้ 8,000 โยชน์ มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีภูเขาทองล้อมรอบ มีเกาะล้อมรอบเป็นบริวาร 500 เกาะ คนในทวีปนี้หน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีรูปร่างสมประกอบไม่สูงไม่ต่ำดูงดงาม กล่าวกันว่าคนที่อยู่ทวีปนี้เป็นคนรักษาศีล จึงทำให้แผ่นดินราบเรียบ ต้นไม้ต่างก็ออกดอดงดงามส่งกลิ่นหอมขจรขจายไปทั่ว และเป็นแผ่นดินที่ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน ในแผ่นดินอุตตรกุรุทวีปนี้มีต้นกัลปพฤกษ์ต้น หนึ่ง สูง 100 โยชน์ กว้าง 100 โยชน์ ผู้ใดปรารถนาจะได้แก้วแหวนเงินทองหรือสิ่งใดๆ ก็ให้ไปยืนนึกอยู่ใต้ต้นกัลปพฤกษ์นี้ ผู้หญิงชาวอุตตรกุรุทวีปนั้นมีความงดงามมาก ส่วนผู้ชายก็เช่นกันมีความงามดังเช่นหนุ่มอายุ 20 ปีกันทุกคน ทุกคนไม่เบียดเบียนกัน ไม่ทำชั่ว เมื่อตายแล้วจึงขึ้นสวรรค์แน่นอน ทำให้คนในทวีปนี้ไม่กลัวตาย และผู้ที่อาศัยในทวีปนี้ มีอายุ 1,000 ปีเท่ากันทุกคน

38 สรุปเนื้อหาไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ
ผู้แต่ง      – พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย)เป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 ของสุโขทัย ชื่อเดิม      – เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา ความหมาย    – เรื่องราวของสามโลก คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ จุดมุ่งหมาย   – ชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสาม ที่มีแต่การแปรเปลี่ยนไม่แน่นอน มีแต่อนิจจลักษณะ – ชี้ให้มนุษย์หาทางหลุดพ้นไปจากโลกทั้งสามเพื่อไปอยู่ในโลกุตรภูมิ หรือนิพพาน – เน้นเรื่องกฎแห่งกรรม โดยเริ่มเนื้อหาจากนรกภูมิ ผลจากการฟัง  – ทำให้บรรลุนิพพาน – ได้เกิดเป็นเทพยดาในสวรรค์อันเป็นโลกทิพย์ –  มีโอกาสเกิดมาพบพระศรีอาริย์ผู้จะมาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต

39 คุณค่า ด้านวรรณคดี    – เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าคนไทยรู้จักแต่งวรรณคดีตั้งแต่สมัยสุโขทัย ด้านศาสนา       – เป็นการนำเสนอปรัชญาทางพุทธศาสนา ด้านจริยธรรม   – กำหนดกรอบการปฏิบัติตนให้คนในสังคมทั้งผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง ทำให้สังคมสงบสุข ด้านประเพณีและวัฒนธรรม – แสดงให้เห็นความเชื่อที่ตกทอดมาสู่ประเพณีและวัฒนธรรมในปัจจุบัน เช่น – การจัดดอกไม้ธูปเทียนให้คนตายก่อนปิดฝาโลง เพื่อให้ผู้ตายนำดอกไม้นั้นไปสักการะพระจุฬามณีเจดีย์ในสวรรค์ –  การเผาศพในเมรุเปรียบเสมือนการเดินทางขึ้นเขาพระสุเมรุไปสู่สวรรค์ ด้านศิลปะ – ก่อให้เกิดงานจิตรกรรมและสถาปัตยกรรมตามแผนภูมิจักรวาลในเรื่องไตรภูมิพระร่วง

40 แนวคิด – การเกิดในท้องมารดาเป็นทุกข์แบบหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องน่ายินดีเลย
    – การเกิดในท้องมารดาเป็นทุกข์แบบหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องน่ายินดีเลย – กวีมีความรู้เรื่องการกำเนิดมนุษย์ตามแบบวิทยาศาสตร์ การใช้ภาษา – มีการใช้คำเป็นจังหวะน่าฟัง – มีการใช้คำสัมผัสคล้องจอง – มีการใช้โวหารภาพพจน์ โดยเฉพาะอุปมาโวหาร

41 การเกิดมนุษย์ ปฏิสนธิ -> กัลละ (ขนาด เศษ 1 ส่วน256 ของเส้นผม)
7 วัน       -> อัมพุทะ (น้ำล้างเนื้อ) 14 วัน     -> เปสิ (ชิ้นเนื้อ) 21 วัน     -> ฆนะ (ก้อนเนื้อ, แท่งเนื้อ ขนาดเท่าไข่ไก่) 28 วัน     -> เบญจสาขาหูด (มีหัว แขน2 ขา2) ครบ 1 เดือน 35 วัน     -> มีฝ่ามือ นิ้วมือ ลายนิ้วมือ 42 วัน     -> มีขน เล็บมือ เล็บเท้า (เป็นมนุษย์ครบสมบูรณ์) 50 วัน     -> ท่อนล่างสมบูรณ์ 84 วัน     -> ท่อนบนสมบูรณ์ 184 วัน  -> เป็นเด็กสมบูรณ์ นั่งกลางท้องแม่ (6เดือน)

42 การคลอด/การเกิด ท้อง 6 เดือนคลอด - >ไม่รอด
ท้อง 6 เดือนคลอด - >ไม่รอด ท้อง 7 เดือนคลอด ->ไม่แข็งแรง การเกิด มาจากสวรรค์  -> ตัวเย็น ออกมาแล้วหัวเราะ มาจากนรก -> ตัวร้อน ออกมาแล้วร้องไห้ *** ลมกรรมชวาต = ลมเกิดแต่กรรม ดันให้เด็กคลอดออกมา

43 กาลทั้ง 3 ของมนุษย์ กาล 1 แรกเกิดในท้องแม่ กาล 2 อยู่ในท้องแม่
กาล 1 แรกเกิดในท้องแม่ กาล 2 อยู่ในท้องแม่ กาล 3 ออกจากในท้องแม่ * คนธรรมดา  ไม่รู้ตัว จำไม่ได้ทั้ง 3 กาล * พระปัจเจกโพธิเจ้า/ พระอรหันตาขีณาสพเจ้า / พระอัครสาวกเจ้า 2 กาลแรกรู้ตัว จำได้ แต่ลืมกาลที่ 3 *** ควรอิ่มสงสารแล =  เกิดเป็นคนควรใช้ชีวิตให้คุ้มค่า

44 โวหารในไตรภูมิ อุปมาโวหาร แสดงให้เห็นความทุกข์ของการเกิด
-    เลือดแลน้ำเหลืองย้อยลงเต็มตนทุกเมื่อแล ดุจดั่งลิงเมื่อฝนตก แลนั่งกำมือเซาเจ่าอยู่ในโพรงไม้นั้นแล -    ในท้องแม่ร้อนนักหนา ดุจดังเราเอาใบตองเข้าจ่อตน แลต้มในหม้อนั้นไซร้ -    กุมารนั้นเจ็บเนื้อเจ็บตน ดั่งคนอันท่านขังไว้ในไหอันคับแคบหนักหนา -    กุมารอยู่ในท้องแม่นั้นให้เจ็บเพียงจะตายแล ดุจดั่งลูกทรายอันเพิ่งออกแล อยู่ธรห้อยผิบ่มิดุจดั่งคนอันเมาเหล้า(เหมือนลูกทรายโดนคนเมาเอาไปโยนเล่น) ผิบ่มิดุจดั่งลูกงูอันหมองูเอาไปเล่น นั้นแล -    เมื่อถึงจักคลอด ดุจดั่งฝูงนรกอันยมบาลกุมตีนแลหย่อนหัวลงในขุมนรก อันลึกได้แลร้อยวา -    เมื่อกุมารคลอดออกจากท้องแม่ ออกแลไปบ่มิพ้นตน ตนเย็น(แม่)นั้นแลเจ็บเนื้อเจ็บตนนักหนา ดั่งช้างสารท่านชักท่านเข็นออกจากประตูลักษ(รูกุญแจ)อันน้อยนั้น -    แลคับตัวออกยากลำบากนั้นแล ผิบ่มิดั่งนั้น ดั่งคนผู้อยู่ในนรกแล แล ภูเขาอันชื่อคังไคยบรรพตหีบ(บีบ)แลเหง(ทับ) และบดบี้นั้นแล

45 ข้อสอบก่อนเรียน/หลังเรียน
1. ข้อใดแสดงให้เห็นว่าผู้แต่งเรื่องไตรภูมิพระร่วงเข้าใจเรื่องกำเนิดของมนุษย์อย่างความคิดทางวิทยาศาสตร์ ก. ฝูงตืดแลเอือนทั้งหลายนั้นคนกันอยู่ในท้องแม่ ตืดแลเอือนฝูงนั้นเริมตัวกุมารนั้นไสร้ ข. ผิวรูปอันจะเกิดเป็นชายก็ดีเป็นหญิงก็ดี เกิดมีอาทิแต่เกิดเป็นกลละนั้นโดยใหญ่แต่ละวัน แลน้อย ค. เมื่อกุมารอยู่ในท้องแม่นั้นลำบากหนักหนา พึงเกลียดพึงหน่ายพ้นประมาณนัก ก็ชื้นแลเหม็นกลิ่นตืดแลเอือนอันได้ 80 ครอก ง. ด้วยอำนาจแห่งไฟธาตุอันร้อนนั้น ส่วนตัวกุมารนั้นบ่มิไหม้ เพราะว่าเป็นธรรมดาด้วยบุญ กุมารนั้นจะเป็นคนแล

46 2. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของเรื่อง “ไตรภูมิพระร่วง”
2. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของเรื่อง “ไตรภูมิพระร่วง” ก. เพื่อสะท้อนภาพชีวิตของคนสมัยสุโขทัย ข. เพื่อสอนธรรมะของพระพุทธเจ้า ค. เพื่อสอนธรรมะแกประชาชนชาวสุโขทัยและเป็นการเผยแผ่ทาง พระพุทธศาสนา ง. เพื่อชี้นำให้มนุษย์หาทางหลุดพ้นไปจากโลกทั้งสามและไปอยู่ใน โลกและภพภูมิที่มีความสุขนิรันดร.

47 3. ข้อใดคือแนวคิดสำคัญของไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ
ก. การเกิดเป็นมนุษย์เป็นความทุกข์อย่างยิ่ง ข. การเกิดของมนุษย์ตามแนวคิดทางด้านวิทยาศาสตร์ ค. มนุษย์เกิดมาด้วยความยากลำบากและมีที่มาต่างๆ กัน ง. มนุษย์เมื่อแรกเกิดเป็นเพียง “กลละ” หรือเซลล์ที่มีขนาดเล็ก 4. ข้อใดรวมเรียกว่า “ไตรภูมิ” ก. สวรรคภูมิ มนุสสภูมิ นรกภูมิ ข. กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ค. โลกมนุษย์ สวรรค์ บาดาล ง. สุคติภูมิ ทุคติภูมิ ฉกามาพจร

48 5. สถานที่ใดจัดว่าเป็นดินแดนของผู้มีบุญ
ก. อุตตรกุรุทวีป ข. ชมพูทวีป ค. อมรโคยานทวีป ง. บุรพวิเทหทวีป 6. “......แต่กุมารนั้นอยู่ในท้องแม่ บ่ห่อนจะได้หายใจเข้าออกเสียเลย บ่ห่อนได้เหยียดตีนเหยียดมือออกดั่งเราท่านทั้งหลายนี้สักคาบหนึ่งเลยแลกุมารนั้นเจ็บเนื้อเจ็บตนดั่งคนอันท่านขังไว้ในไหอันคับแคบหนักหนา แค้นเนื้อแค้นใจ แลเดือดเนื้อเดือดใจนักหนา.....” ลักษณะใดไม่ปรากฏในข้อความข้าง ก. การใช้โวหารภาพพจน์ ข. การพรรณนาให้กลัวบาปกรรม ค. การใช้คำที่เป็นจังหวะน่าฟัง ง. การซ้ำคำ ซ้อนคำและการใช้วลีซ้ำๆ เพื่อเน้นความหมาย

49 7. ข้อใดเรียงลำดับก่อน – หลัง เกี่ยวกับขั้นตอนการเกิดของมนุษย์ได้ถูกต้อง
ก. กลละ ฆนะ เปสิ อัมพุทะ ข. อัมพุทะ เปสิ ฆนะ กลละ ค. กลละ อัมพุทะ เปสิ ฆนะ ง. อัมพุทะ ฆนะ กลละ เปสิ 8. “......เมื่อกุมารอยู่ในท้องแม่นั้นลำบากนักหนา พึงเกลียดพึงหน่ายพ้นประมาณนัก ก็ชื้นแลเหม็นกลิ่นตืดแลเอือน.....” คำว่า “เอือน” ในข้อความข้างต้นนี้ มีความหมายตามข้อใด ก. พยาธิชนิดหนึ่ง ข. น้ำเหลือง ค. เลือด ง. สะอิดสะเอียน

50 9. ข้อใดเด่นที่สุดในการใช้คำที่แสดงความเคลื่อนไหว เพื่อสื่อให้เกิดจินตภาพ
ก. ในท้องแม่นั้นร้อนนักหนา ดุจดั่งเราเอา ใบตองเข้าจ่อตน แลต้มในหม้อนั้นไสร้ ข. มีปากอันแดงดั่งลูกฟักข้าวอันสุกนั้น แลมีลำแข้งลำขานั้นงามดั่งลำกล้วยทองฝาแฝด นั้นแล ค. อีกฝูงเทวาฟ้าฝนนั้นก็ตกชอบฤดูกาล บ่มิน้อย บ่มิมาก ทั้งข้าวในนาทั้งปลาในน้ำก็บ่ห่อน รู้ร่วงโรยเสียไปด้วยฝนแล้งเลย ง. ฝูงยมบาลเอาเชือกเหล็กแดงอันลุกเป็นไฟไล่ กระหวัดรัดตัวเขา แล้วตระบิดให้คอเขานั้น ขาดออก

51 10.“.....แลมีฝูงผู้หญิงอันอยู่ในแผ่นดินนั้นงามทุกคน รูปทรงเขานั้นบ่มิต่ำ บ่มิสูง บ่มิพี บ่มิผอม บ่มิขาว บ่มิดำ สีสมบูรณ์ งามดั่งทองอันสุกเหลืองเรืองเป็นที่พอใจฝูงชาย ทุกคนแลนิ้วตีนนิ้วมือเขานั้น กลมงามนะแน่ง เล็บตีนเล็บมือเขานั้นแดงดั่งน้ำครั่ง อันท่านแต่งแล้วแลแต้มไว้ แลสองแก้มเขานั้นไสร้ งามเป็นนวลดั่งแกล้งเอาแป้งผัด หน้าเขานั้นหมดเกลี้ยงปราศจากมลทินหาฝ้าหาไฝบ่มิได้ แลเห็นดวงหน้าเขาไสร้ ดุจดั่งพระจันทร์วันเพ็งบูรณ์นั้น.....” “แผ่นดินนั้น” ในข้อความข้างต้นนี้หมายถึงแผ่นดินใด ก. สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ข. สวรรค์ชั้นโสฬส ค. อุตตรกุรุทวีป ง. ป่าหิมพานต์

52 เฉลยข้อสอบ 1. ข ก. 2. ข ค. 3. ก ก. 4. ข ง. 5. ก ค.

53 จบบริบูรณ์


ดาวน์โหลด ppt ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google