งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2558 กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สพป.เชียงใหม่ เขต 2 ชี้แจงการสอบ NT 58

2 วัตถุประสงค์ของการประเมิน
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการประเมินความสามารถพื้นฐาน สำคัญที่จำเป็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ใน ด้านภาษา (Literacy) ด้านคำนวณ (Numeracy) และด้านเหตุผล (Reasoning Abilities) กลุ่มเป้าหมายในการประเมิน นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558 ทุกคน ทุกโรงเรียน ซึ่งอยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และตำรวจตระเวนชายแดน (ยกเว้นโรงเรียนเอกชน)

3 ผลการประเมินย้อนหลัง
ความสามารถ ปีการศึกษา 2555 2556 2557 Mean% C.V. ภาพรวมทุกด้าน 42.10 30.56 44.11 32.67 47.18 34.41 ด้านภาษา (Literacy) 42.94 33.46 50.42 32.12 51.01 35.11 ด้านคำนวณ (Numeracy) 37.45 41.76 36.70 45.47 42.08 43.14 ด้านเหตุผล (Reasoning Abilities) 45.92 34.64 45.20 38.72 48.66 38.08

4 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
แบบทดสอบความสามารถ จำนวนข้อ คะแนน เต็ม เวลา (นาที) ด้านภาษา (Literacy) 30 35 60 ด้านคำนวณ (Numeracy) 90 ด้านเหตุผล (Reasoning Abilities)

5 โครงสร้างของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน (ด้านภาษา)
ตัวชี้วัด เลือกตอบ เขียนตอบ 1. บอกความหมายของคำและประโยคจากเรื่องที่ ฟัง ดู และอ่าน 1 – 4 (4 ข้อ) 2. บอกความหมายของเครื่องหมายสัญลักษณ์ 5 – 7 (3 ข้อ) 3. ตอบคำถามจากเรื่องที่ฟัง ดู และอ่าน 8 – 12 (5 ข้อ) 29 (1 ข้อ) 4. บอก เล่าเรื่องราวที่ได้จากการฟัง ดู และอ่านอย่างง่ายๆ 13 – 17 (5 ข้อ) 5. คาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นจากเรื่องที่ฟัง ดู และอ่าน 18 – 22 (5 ข้อ) 30 (1 ข้อ) 6. สื่อสารความรู้ ความเข้าใจข้อคิดเห็นจากเรื่องที่ฟัง ดู และอ่านอย่างเหมาะสม 23 – 27 (5 ข้อ) 28 (1 ข้อ) รวมทั้งหมด 27 3

6 หมายเหตุ ข้อ 1 – 27 รูปแบบเลือกตอบ ข้อละ 1 คะแนน (ในแต่ละข้อจะมี 4 ตัวเลือกให้นักเรียนระบายในกระดาษคำตอบ) ข้อ 28 – 29 รูปแบบเขียนตอบสั้น ข้อละ 2 คะแนน (สำหรับให้กรรมการระบายคะแนนลงกระดาษคำตอบแต่ละข้อจะมีคะแนน 0, 1, 2) ข้อ 30 รูปแบบเขียนตอบอิสระ ข้อละ 4 คะแนน (สำหรับให้กรรมการระบายคะแนนลงกระดาษคำตอบจะมีคะแนน 0, 2, 4)

7 โครงสร้างของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน (ด้านคำนวณ)
ตัวชี้วัด เลือกตอบ เติมคำตอบ แสดงวิธีทำ 1. ใช้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ หรือทักษะการคิดคำนวณเพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติหรือหาคำตอบจากสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ ตามขอบข่ายสิ่งเร้า 1 – 11 (11 ข้อ) 29 (1 ข้อ) 2. ใช้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ หรือทักษะการคิดคำนวณเพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติหรือหาคำตอบจากสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด ตามขอบข่ายสิ่งเร้า 12 – 19 (8 ข้อ) 30

8 โครงสร้างของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน (ด้านคำนวณ)
ตัวชี้วัด เลือกตอบ เติมคำตอบ แสดงวิธีทำ 3. ใช้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ หรือทักษะการคิดคำนวณเพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติหรือหาคำตอบจากสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิต ตามขอบข่ายสิ่งเร้า 20 – 22 (3 ข้อ) 4. ใช้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ หรือทักษะการคิดคำนวณเพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติหรือหาคำตอบจากสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง พีชคณิต ตามขอบข่ายสิ่งเร้า 23 – 25

9 โครงสร้างของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน (ด้านคำนวณ)
ตัวชี้วัด เลือกตอบ เติมคำตอบ แสดงวิธีทำ 5. ใช้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ หรือทักษะการคิดคำนวณเพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติหรือหาคำตอบจากสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ตามขอบข่ายสิ่งเร้า 26 – 27 (2 ข้อ) 28 (1 ข้อ) รวมทั้งหมด 27 2 1 หมายเหตุ ด้านคำนวณจะมีให้แสดงวิธีทำด้วย

10 หมายเหตุ ข้อ 1 – 27 รูปแบบเลือกตอบ ข้อละ 1 คะแนน (ในแต่ละข้อจะมี 4 ตัวเลือกให้นักเรียนระบายในกระดาษคำตอบ) ข้อ 28 – 29 รูปแบบเติมคำตอบ ข้อละ 1 คะแนน (สำหรับให้กรรมการระบายคะแนนลงกระดาษคำตอบแต่ละข้อจะมีคะแนน 0, 1) ข้อ 30 รูปแบบเขียนตอบอิสระ (แสดงวิธีทำ) ข้อละ 6 คะแนน (สำหรับให้กรรมการระบายคะแนนลงกระดาษคำตอบจะมีคะแนน , 1, 2, 3, 4, 5, 6)

11 โครงสร้างของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน (ด้านเหตุผล)
ตัวชี้วัด เลือกตอบ เขียนตอบ 1. มีความเข้าใจในข้อมูล สถานการณ์ หรือสารสนเทศทางด้านวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ด้านสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และด้านการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล 1, 2, 4 (3 ข้อ) 28 (1 ข้อ) 2. วิเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์ หรือสารสนเทศ โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ด้านสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และด้านการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล 3, 5, 7 – 10 (6 ข้อ) 29

12 โครงสร้างของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน (ด้านเหตุผล)
ตัวชี้วัด เลือกตอบ เขียนตอบ 3. สามารถสร้างข้อสรุปใหม่ ออกแบบ วางแผน บนพื้นฐานของข้อมูล สถานการณ์ หรือสารสนเทศที่ผ่านการวิเคราะห์ โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ด้านสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และด้านการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล 12 – 18, 20 (8 ข้อ) 4. สามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างมีหลักการและเหตุผล หรือให้ข้อสนับสนุนข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผล โดยคำนึงถึงคุณธรรมและจริยธรรม ค่านิยม ความเชื่อ ในกรณีที่มีสถานการณ์ที่ต้องการตัดสินใจหรือมีปัญหา 6, 11, 19, 21 – 27 (10 ข้อ) 30 (1 ข้อ) รวมทั้งหมด 27 3

13 หมายเหตุ ข้อ 1 – 27 รูปแบบเลือกตอบ ข้อละ 1 คะแนน (ในแต่ละข้อจะมี 4 ตัวเลือกให้นักเรียนระบายในกระดาษคำตอบ) ข้อ 28 – 29 รูปแบบเขียนตอบสั้น ข้อละ 2 คะแนน (สำหรับให้กรรมการระบายคะแนนลงกระดาษคำตอบแต่ละข้อจะมีคะแนน 0, 1, 2) ข้อ 30 รูปแบบเขียนตอบอิสระ ข้อละ 4 คะแนน (สำหรับให้กรรมการระบายคะแนนลงกระดาษคำตอบจะมีคะแนน 0, 1, 2, 3, 4)

14 และตรวจแบบทดสอบอัตนัยในวันที่ 10 – 11 มีนาคม 2559 ณ สพป.เชียงใหม่เขต 2
ตารางสอบ เวลา วันสอบ น. พัก น. น. 9 มีนาคม 2559 ความสามารถ ด้านภาษา ด้านคำนวณ ด้านเหตุผล และตรวจแบบทดสอบอัตนัยในวันที่ 10 – 11 มีนาคม 2559 ณ สพป.เชียงใหม่เขต 2 (ขอความร่วมมือจากคณะกรรมการทุกท่านด้วยนะครับ)

15 แนวปฏิบัติการจัดสอบ NT
1. ให้หัวหน้าสนามสอบจัดห้องสอบ (ที่เหมาะสมกับการสอบ) ในเย็นวันที่ 8 มี.ค.2559 โดยจัดที่นั่งสอบห้องละ 35 คน / 1 ห้อง บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบติดที่หน้าห้องสอบทุกห้อง (บัญชีรายชื่อตามที่แจกตอนลงทะเบียน) 2. โรงเรียนจัดเตรียมดินสอ 2B และยางลบดินสอให้กับนักเรียน พร้อมเน้นย้ำให้นำมาในวันสอบพร้อมบัตรประจำตัวนักเรียน 3. หัวหน้าสนามสอบรับแบบทดสอบในตอนเช้าวันที่ 9 มี.ค.2559 ณ ศูนย์ประสานงานการสอบแต่ละอำเภอ ดังนี้ -อ.แม่ริม อ.แม่แตง อ.สันทราย รับที่เขตพื้นที่ เวลา น. -อ.สะเมิง รับที่ สปอ. เวลา น. -อ.พร้าว รับที่ สปอ. เวลา น.

16 4. ให้กรรมการกำกับการสอบ ตรวจสอบความเรียบร้อยของซองข้อสอบ(หากพบความผิดปกติให้รีบแจ้ง และบันทึกเหตุการณ์ต่อประธานสนามสอบเพื่อแจ้งศูนย์ประสานการสอบ) 5. หากเรียบร้อยให้กรรมการกำกับการสอบดำเนินการสอบตามเวลาในตารางสอบที่กำหนด 6. ก่อนเวลาเริ่มการสอบไม่เกิน 15 นาที ให้เปิดซองบรรจุแบบทดสอบความสามารถทีละด้าน และกระดาษคำตอบ ก่อนเปิดให้ตรวจสอบความเรียบร้อยของซองบรรจุ แจกกระดาษคำตอบและแบบทดสอบ โดยคว่ำหน้าแบบทดสอบไว้บนโต๊ะที่นั่งสอบของนักเรียนจนครบ

17 7. ข้อสอบในแต่ละความสามารถจะแบ่งเป็น 2 ตอนคือ
ตอนที่ 1 ระบายคำตอบ ข้อ ตอนที่ 2 เขียนตอบ ข้อ (ยกเว้นด้านคำนวณ ตอนที่ จะมีทั้งเติมคำตอบ และตอนที่ 3 แสดงวิธีทำ) 8. ข้อสอบแบบเลือกตอบ ข้อ ให้นักเรียนระบายคำตอบลงในกระดาษคำตอบให้ถูกต้อง โดยให้นักเรียนฉีกกระดาษคำตอบออกจากปกหลังของแบบทดสอบความสามารถด้านภาษาตามรอยปรุด้วยความระมัดระวังอย่าให้กระดาษคำตอบฉีกขาดหรือเสียหาย ซึ่งส่วนกลางได้พิมพ์ข้อมูลนักเรียนลงบนกระดาษคำตอบให้เรียบร้อยแล้ว ดังภาพ

18 ข้อสำคัญ ฉีกตามรอยปรุ ด้วยความระมัดระวัง

19 9.ข้อสอบแบบเขียนตอบหรือแสดงวิธีทำ ข้อที่ 28-30 นั้น
ให้นักเรียน ทำลงในแบบทดสอบ โดยให้เขียนชื่อ นามสกุล โรงเรียน ห้องสอบ เลขที่ ลงในแบบทดสอบ ก่อนเริ่มลงมือทำตอนที่ 2 ของแบบทดสอบแต่ละฉบับ (กรรมการเน้นย้ำ) ดังตัวอย่าง

20 10.กรณีที่โรงเรียนมีการใช้ข้อสอบสำรองให้ใช้สำหรับนักเรียนซึ่งย้ายโรงเรียนมาใหม่ หรือโรงเรียนที่ไม่ได้ดำเนินกรอกข้อมูลลงในระบบ ซึ่งโรงเรียนต้องรายงานการใช้ข้อสอบสำรอง และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้องมีหนังสือแจ้งมายัง สพฐ. พร้อมให้เหตุผลในการใช้ข้อสอบสำรอง และสรุปการใช้ข้อสอบสำรอง 11.ให้นักเรียนเริ่มทำแบบทดสอบพร้อมกัน พร้อมกำชับไม่ให้นักเรียนทำกระดาษคำตอบยับหรือหักงอหรือฉีกขาด 12.ในการทำข้อสอบแบบเลือกตอบตอนที่ 1 ข้อที่ 1-27 ของทุกด้านให้นักเรียนทำลงใน “กระดาษคำตอบ” สำหรับตอนที่ 2 ข้อสอบแบบเขียนตอบ ข้อที่ ของทุกด้านให้นักเรียนทำลงใน “แบบทดสอบ” ความสามารถทั้ง 3 ด้าน

21 13.ให้กรรมการกำกับการสอบเน้นย้ำเรื่องเวลาที่ใช้ในการสอบ
14.ให้กรรมการกำกับการสอบนำบัญชีรายชื่อนักเรียนไปให้นักเรียนแต่ละคนลงลายมือ เพื่อเป็นหลักฐานการเข้าสอบของนักเรียน โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้ -ให้หัวหน้าสนามสอบถ่ายเอกสารบัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งใบ รวมทั้งสิ้นจำนวน 2 ใบ (ตัวจริง และสำเนา) -ใบตัวจริงนั้นให้นักเรียนลงลายมือชื่อตามปกติ เพื่อส่งคืน สพฐ. พร้อมกระดาษคำตอบ ส่วนใบที่ถ่ายเอกสารนั้นให้นักเรียนลงลายมือชื่อในช่วงบ่าย และให้ส่งคืนเขตพื้นที่พร้อมซองบรรจุแบบทดสอบปรนัยด้านเหตุผล (สอบในช่วงบ่าย) ปัญหาที่พบคือ นักเรียนมาสอบช่วงเช้า แต่ช่วงบ่ายไม่มาสอบ

22 15.ในขณะที่นักเรียนกำลังทำข้อสอบ ให้กรรมการกำกับคุมสอบตรวจสอบความเรียบร้อย และป้องกันการทุจริต
16.การเตือนเวลาการสอบในแต่ละฉบับ ให้ดำเนินการ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เตือนเมื่อนักเรียนสอบได้ครึ่งเวลาที่กำหนดให้ ครั้งที่ 2 เตือนเมื่อเหลือเวลาอีก 5 นาที 17.ในกรณีที่มีนักเรียนทำเสร็จก่อนเวลาในแต่ละฉบับ (ไม่น้อยกว่า 30 นาที) ให้วางแบบทดสอบพร้อมกระดาษคำตอบไว้ที่โต๊ะนั่งสอบของนักเรียนแต่ละคน ก่อนนักเรียนออกจากห้องสอบ ให้กรรมการคุมสอบเตือนนักเรียนเพื่อไม่ให้นำแบบทดสอบหรือกระดาษคำตอบออกนอกห้องสอบโดยเด็ดขาด และให้ออกจากห้องสอบได้ เพื่อเตรียมสอบในฉบับต่อไป

23 การเก็บกระดาษคำตอบ 1.ระหว่างพักกลางวันให้กรรมการกำกับการสอบเก็บแบบทดสอบ และกระดาษคำตอบจากโต๊ะที่นั่งสอบของนักเรียนทุกคน 2.นำแบบทดสอบความสามารถด้านภาษา และความสามารถด้านคำนวณมาฉีกตามรอยปรุ “ในส่วนของข้อสอบเขียนตอบ” (สำคัญมากๆ) 3.เรียงข้อสอบ “แบบเขียนตอบ” ตามลำดับเลขที่ บรรจุใส่ซองแยกเป็นด้าน ส่งกองกลางเพื่อตรวจให้คะแนนต่อไป (ส่งแล้ว ส่งเลย)

24 4.สำหรับกระดาษคำตอบ “แบบเลือกตอบ” นำมาเรียงตามเลขที่นั่งสอบบรรจุซองส่งกองกลางไว้ก่อน เนื่องจากกระดาษคำตอบ 1 แผ่น ใช้สอบ 3 วิชา เพราะฉะนั้นในช่วงพักกลางวันนักเรียนจะสอบเสร็จ 2 ด้านได้แก่ ความสามารถด้านภาษา และความสามารถด้านคำนวณ 5.และเมื่อถึงเวลาช่วงบ่ายให้สอบวิชาความสามารถด้านเหตุผล ให้กรรมการคุมสอบเบิกกระดาษคำตอบแบบเลือกตอบ (เดิม) และแบบทดสอบความสามารถด้านเหตุผล (ใหม่) จากกองกลางแจกให้นักเรียนสอบต่อไป

25 6.หลังจากนักเรียนสอบความสามารถด้านเหตุผลเสร็จเรียบร้อย ให้กรรมการกำกับการสอบเก็บกระดาษคำตอบโดยจัดเรียงตามเลขที่นั่งสอบ (กรณีนักเรียนขาดสอบไม่ต้องแทรกกระดาษคำตอบ) ให้กรรมการคุมสอบตรวจสอบความถูกต้องของการระบายรหัสต่างๆ ของนักเรียนให้ถูกต้อง (สำคัญมากๆๆๆๆ) 7. บรรจุกระดาษคำตอบลงซองน้ำตาลพร้อมบัญชีรายชื่อนักเรียน (ไม่ต้องแยกบัญชีรายชื่อออกมา) นำส่งหัวหน้าสนามสอบเพื่อตรวจสอบจำนวนให้ถูกต้อง ปิดผนึก (อย่าใช้เทปกาวที่เหนียวมาก เพราะอีกวันต้องแกะซองออกเพื่อเติมในส่วนอัตนัย) พร้อมลงชื่อกำกับให้เรียบร้อย เพื่อเขตพื้นที่การศึกษา รวบรวมนำส่งศูนย์รับ - ส่งกระดาษคำตอบต่อไป

26 สิ่งที่หัวหน้าสนามสอบต้องส่งคืนเมื่อสอบเสร็จ
1.ซองใส่กระดาษคำตอบแบบเลือกตอบเฉพาะนักเรียนที่มาสอบที่หุ้มบัญชีรายชื่อของนักเรียนฉบับจริงจาก สพฐ. (ปกติ 1 ซองต่อ 1 ห้องสอบ) 2.ซองใส่กระดาษคำตอบแบบอัตนัย (แสดงวิธีทำด้านคำนวณ) 3.ซองใส่กระดาษคำตอบแบบอัตนัย (แสดงวิธีทำด้านภาษา) 4.ซองใส่กระดาษคำตอบแบบอัตนัย (แสดงวิธีทำด้านเหตุผล) ที่หุ้มบัญชีรายชื่อของนักเรียนฉบับสำเนาภาคบ่าย 5.ซองใส่กระดาษคำตอบสำรอง (ถ้ามี / แยกต่างหาก) 6.ซองใส่กระดาษคำตอบของนักเรียนที่ขาดสอบ (ถ้ามี / แยกต่างหาก) หมายเหตุ ลำดับ ใช้ซองแบบทดสอบเดิมของสำนักทดสอบ ลำดับ 5-6 ขอความอนุเคราะห์ใช้ซองของโรงเรียนที่เป็นสนามสอบ (ใบปะหน้ากลุ่มนิเทศจัดเตรียมให้) แล้วให้ระบุหน้าซองรายละเอียดดังนี้ แบบทดสอบเก็บไว้ที่สนามสอบ....รอหนังสือแจ้งจาก สพฐ. ถึงแนวดำเนินการ

27 ซองบรรจุกระดาษคำตอบสำรอง (ถ้ามี)
สนามสอบโรงเรียน โรงเรียนที่ใช้ข้อสอบสำรองได้แก่ โรงเรียน รหัสโรงเรียน มีนักเรียนที่ใช้ข้อสอบสำรองจำนวนทั้งหมด คน มีรายชื่อดังนี้ 1.ชื่อนักเรียนที่ใช้ เลข 13 หลักได้แก่ สาเหตุที่ใช้ข้อสอบสำรอง (โปรดระบุ) 2.ชื่อนักเรียนที่ใช้ เลข 13 หลักได้แก่ 3.ชื่อนักเรียนที่ใช้ เลข 13 หลักได้แก่ 4.ชื่อนักเรียนที่ใช้ เลข 13 หลักได้แก่ ลงชื่อ / เบอร์โทรศัพท์หัวหน้าสนามสอบ กลุ่มนิเทศทำใบปะหน้าให้ พร้อมแจกพร้อมกับกล่องกระดาษคำตอบ

28 ซองบรรจุกระดาษคำตอบของนักเรียนที่ขาดสอบ (ถ้ามี)
สนามสอบโรงเรียน สนามสอบมีนักเรียนที่ขาดสอบรวมทุกห้องจำนวน คน มีรายชื่อดังนี้ โรงเรียน โรงเรียน โรงเรียน โรงเรียน โรงเรียน ลงชื่อ / เบอร์โทรศัพท์หัวหน้าสนามสอบ กลุ่มนิเทศทำใบปะหน้าให้ พร้อมแจกพร้อมกับกล่องกระดาษคำตอบ

29 ข้อเน้นย้ำและสำคัญ เมื่อสอบเสร็จครบทุกด้านแล้ว ให้หัวหน้าสนามสอบเข้าไปรายงานข้อมูลโดยทันทีเพื่อรายงานผล สพฐ. ดังต่อไปนี้ 1.จำนวนซองใส่กระดาษคำตอบแบบเลือกตอบ 2.จำนวนซองใส่กระดาษคำตอบแบบอัตนัย (ด้านคำนวณ) 3.จำนวนซองใส่กระดาษคำตอบแบบอัตนัย (ด้านเหตุผล) 4.จำนวนซองใส่กระดาษคำตอบแบบอัตนัย (ด้านภาษา) 5.จำนวนนักเรียนที่มีสิทธิ์สอบทุกคน (ตามบัญชีรายชื่อ) 6.จำนวนนักเรียนที่เข้าสอบจริง 7.จำนวนนักเรียนที่ขาดสอบ 8.จำนวนการใช้ข้อสอบสำรอง (ถ้ามี)

30 สอบเสร็จรายงานข้อมูลการสอบได้ที่

31 ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อนำส่ง สพฐ.ต่อไป
ตัวอย่างหน้ารายงาน ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อนำส่ง สพฐ.ต่อไป ชี้แจงการสอบ NT 58

32 ข้อควรระวังในการเก็บกระดาษคำตอบ
1.แยกกระดาษคำตอบผู้ขาดสอบออกจากผู้ที่เข้าสอบจริงเพื่อสะดวกและรวดเร็วต่อการตรวจ เนื่องจากกระบวนการตรวจจะไม่อ่านกระดาษคำตอบของคนที่ไม่เข้าสอบเข้าไปด้วย   2.เรียงลำดับกระดาษคำตอบตามเลขที่เข้าสอบ / เลขที่ห้องสอบ เพื่อสะดวกและรวดเร็วต่อการตรวจ 3.ไม่ควรขีดเขียนข้อความใดๆ ทับกรอบสี่เหลี่ยมด้านนอกของกระดาษคำตอบเนื่องจากโปรแกรมการตรวจจะอ่านจากการจับมุมทั้ง 4 ด้านของกระดาษคำตอบนั้น หากมีการเขียนข้อความทับเส้นกรอบนั้นจะทำให้โปรแกรมจับมุมผิดได้ ซึ่งมีผลต่อการประมวลผลกระดาษคำตอบได้ ดังตัวอย่างกระดาษคำตอบ

33

34 ส่วนนี้นักเรียนระบายคำตอบ 9 มี.ค.59
ส่วนนี้กรรมการจะระบายคะแนน 10 – 11 มี.ค.59

35 โรงเรียนสามารถ download Powerpoint การบรรยาย ได้ที่

36 เชิญสอบถามครับ สวัสดีครับ


ดาวน์โหลด ppt แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google