งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 4 ความรู้เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 4 ความรู้เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 4 ความรู้เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
1. ระบบฐานข้อมูล 2. ระบบจัดการฐานข้อมูล แนวคิด 1. ระบบฐานข้อมูล หมายถึง ระบบที่เกิดจากการรวมกันของข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันไว้ที่เดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าถึง เรียกใช้งาน ประมวลผล และผู้บริหารฐานข้อมูลสามารถดูแลรักษาข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดดยอาศัยความสามารถของซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูล และคุณลักษณะของฐานข้อมูล 2.ระบบจัดการฐานข้อมูล หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการบริหารฐานข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล การจัดทำพจนานุกรมข้อมูล การจัดการและค้นคืนข้อมูล การแปลคำสั่งที่ใช้ในการจัดเก็บ การดูและความปลอดภัยและความ๔กต้องของข้อมูล การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลจากผู้ใช้หลายคน และการฟื้นสภาพข้อมูล สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกระบบฐานข้อมูลคือ ต้นทุนกับประโยชน์ที่จะได้รับ คุณสมบัติของระบบจัดการฐานข้อมูล และโครงสร้างของฐานขอมูล

2 1. ระบบฐานข้อมูล ระบบฐานข้อมูล (database system) หมายถึง ระบบที่เกิดจากการรวมกันของข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันไว้ที่เดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง เรียกใช้งาน ประมวลผลและผู้บริหารฐานข้อมูลสามารถดูแลรักษาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความซ้ำซ้อนของการจัดเก็บข้อมูล โดยใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวจัดการ เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System; DBMS) เช่น ระบบฐานข้อมูลทะเบียนมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ข้อมูลทะเบียนนักศึกษาข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลการลงทะเบียนเรียน ข้อมูลการประเมินการเรียนการสอน ***ในการทำงานของระบบฐานข้อมูลของผู้ใช้ (end user) จะทำผ่านซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่นักพัฒนาโปรแรกมพัฒนาขึ้นเพื่อทำหน้าที่ติดต่อกับระบบฐานข้อมูล ดังนั้น ผู้ใช้งานไม่มีความรู้เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลก็สามารถทำงานพื้นฐานได้ เช่น การเพิ่ม ลบ แก้ไข จัดเก็บ หรือค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูล

3 ระบบแฟ้มข้อมูล (File-based System)
ซอฟต์แวร์บัญชี การขาย ลูกค้า ฝ่ายบัญชี ซอฟต์แวร์การขาย การขาย ลูกค้า สินค้า ฝ่ายขาย ซอฟต์แวร์ฝ่ายบุคคล พนักงาน ฝ่ายบุคคล

4 ระบบฐานข้อมูล (Database System)
ซอฟต์แวร์บัญชี ฝ่ายบัญชี ลูกค้า พนักงาน การขาย สินค้า ซอฟต์แวร์การขาย DBMS ฝ่ายขาย ฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์ฝ่ายบุคคล ฝ่ายบุคคล

5 The Database Concept A, B, C, X, Y, L, M Database Program 1 D B M S
User 1 Transactions Program 1 A, B, C, X, Y, L, M D B M S User 2 Transactions Solves the following problems of the flat file approach no data redundancy - except for primary keys, data is only stored once single update current values task-data independence - users have access to the full domain of data available to the firm A database is a set of computer files that minimizes data redundancy and is accessed by one or more application programs for data processing. The database approach to data storage applies whenever a database is established to serve two or more applications, organizational units, or types of users. A database management system (DBMS) is a computer program that enables users to create, modify, and utilize database information efficiently. Program 2 User 3 Transactions Program 3 Figure 9-2(b) 6

6 The Database Concept Database Program 1 A, B, D C, B X, M Y, S L,
User 1 Transactions Program 1 A, B, C, X, Y, L, M D B M S User 2 Transactions Solves the following problems of the flat file approach no data redundancy - except for primary keys, data is only stored once single update current values task-data independence - users have access to the full domain of data available to the firm A database is a set of computer files that minimizes data redundancy and is accessed by one or more application programs for data processing. The database approach to data storage applies whenever a database is established to serve two or more applications, organizational units, or types of users. A database management system (DBMS) is a computer program that enables users to create, modify, and utilize database information efficiently. Program 2 User 3 Transactions Program 3 Figure 9-2(b) 6

7 2. คุณลักษณะของฐานข้อมูลที่พึงประสงค์
1. ข้อมูลที่จัดเก็บในระบบฐานข้อมูลต้องไม่เกิดความซ้ำซ้อน ไม่มีความซ้ำซ้อนภายในแฟ้มข้อมูลหรือตารางข้อมูลเดียวกัน หรือระหว่างแฟ้มข้อมูล 2. ข้อมูลที่จัดเก็บในระบบฐานข้อมูลต้องถูกต้อง ไม่ขัดแย้งกัน โดยการกระทำใดที่ไม่ถูกกฎ หรือไม่ตรงตามเงื่อนไข หรือเกิดความผิดพลาด ต้องไม่อนุญาตให้กระทำในระบบฐานข้อมูลได้ 3. ข้อมูลที่จัดเก็บในระบบฐานข้อมูลต้องมีความปลอดภัย ต้องไม่ถูกเข้าถึงจากผู้ไม่มีสิทธิ์ 4. ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในระบบฐานข้อมูลต้องมีความเป็นอิสระจากซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อเรียกใช้ระบบฐานข้อมูล 5. มีการควบคุมการใช้และจัดเก็บข้อมูลจากศูนย์กลาง เนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บรวมกันอยู่ที่เดียวกัน ดังนั้น การเข้าถึงข้อมูลควรถูกควบคุมดูแลโดยผู้บริหารฐานข้อมูล และควรได้รับการอนุญาตจากผู้บริหารฐานข้อมูล

8 3. องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูล 2. ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานระบบฐานข้อมูล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 2.1 ซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System; DBMS) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ 2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลได้อย่างสะดวก โดยอาจมีรูปแบบของส่วนการติดต่อกับฐานข้อมูลแบบเมนู หรือแบบกราฟิก ซึ่งผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูล 3. ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูล รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงและเรียกใช้งานข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูลได้จากการพัฒนาซอฟต์แวต์ประยุกต์เพื่อติดต่อกับฐานข้อมูล

9 3. องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 4. บุคลากร (Personal) หมายถึง บุคคลที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล ประกอบด้วย 4.1. ผู้ใช้งานฐานข้อมูล (end user) หมายถึง บุคคลที่ต้องการใช้ข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูล 4.2. ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator; DBA) หมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่ ควมคุมและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ฐานข้อมูล รวมถึงการบำรุงรักษาฐานข้อมูล ดังนั้น ต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ทางด้านเทคนิคในการติดตั้ง ควบคุม และการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ในระบบฐานข้อมูล 4.3. นักพัฒนาโปรแกรม (programmer) หมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่ในการพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวรต์ประยุกต์สำหรับใช้ติดต่อกับฐานข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานฐานข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานฐานข้อมูลได้โดยไม่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูล

10 4. การเข้าถึงฐานข้อมูลในระบบฐานข้อมูล
ฐานข้อมูลเป็นแหล่งใช้จัดเก็บข้อมูล เพื่อให้เป็นข้อมูลในการทำงานของซอฟต์แวร์ประยุกต์ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ 1. การเข้าถึงโดยตรง (direct interaction) คือ การเข้าถึงหรือการดำเนินการกับฐานข้อมูลโดยตรงผ่านทางซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) เพื่อการดำเนินการต่างๆ เช่น การเพิม การลบ การปรับปรุง การนำเข้า การนำออก การเรียกดูรายงาน และการค้นหาข้อมูลเป็นต้น 2. การเข้าถึงดดยผ่านระบบงาน (indirect interaction) คือ การเข้าถึงหรือการใช้ฐานข้อมูลผ่านทางซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) อื่นๆ โดยทำงานตามฟังก์ชันหรือหน้าที่ในการดำเนินการที่ได้พัฒนาขึ้นในซอฟต์แวร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของซอฟต์แวร์หรือระบบงานเฉพาะเหล่านั้น ให้ดำเนินการไปไปยังฐานข้อมูลอีกทีหนึ่ง เช่น ซอฟต์แวร์วิเคราะห์การตลาด ระบบสั่งซื้อออนไลน์ ระบบงานบัญชี เป็นต้น

11 การเข้าถึงโดยผ่านระบบงาน
การเข้าถึงโดยตรง ระบบซื้อขาย ออนไลน์ ผู้ใช้งาน DBMS DBMS ระบบงานบัญชี ผู้ใช้งาน ระบบงานบัญชี ผู้ใช้งาน ผู้ใช้งาน แสดงภาพการเข้าถึงข้อมูลเพื่อใช้งาน

12 การเข้าถึงฐานข้อมูลเพื่อใช้งาน
จากภาพเป็นการแสดงการเข้าถึงฐานข้อมูลเพื่อใช้งาน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.การเข้าถึงผ่านระบบงาน ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานฐานข้อมูลผ่านทางซอฟต์แวร์ โดยมีระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS) หน้าที่ตอบสนองต่อการเรียกใช้งานจากซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น ผู้ใช้งานต้องการบันทึกข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ลงบนฐานข้อมูลก็จะดำเนินการผ่านซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น โดยการกรอกข้อมูลผ่านหน้าระบบ จากนั้นซอฟต์แวร์ประยุกต์จะติดต่อกับระบบจัดการฐานข้อมูล 2. การเข้าถึงโดยตรง เป็นการเข้าถึงโดยตรงจากผู้ใช้งานไปยังระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) ซึ่งผู้ใช้งานต้องมีความรู้เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูล เช่น ผู้ใช้ต้องการบันทึกข้อมูลลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าออนไลน์ จะดำเนินการสั่งงานไปที่ฐานข้อมูลโดยตรงด้วยคำสั่งสำหรับดำเนินการจัดการฐานข้อมูลเพื่อสั่งงานให้มีการบันทึกลงฐานข้อมูล อาจใช้คำสั่ง เอสคิวแอล(SQL)

13 กิจกรรมที่ 4 1.จงอธิบายความหมายของระบบฐานข้อมูล
กิจกรรมที่ 4 1.จงอธิบายความหมายของระบบฐานข้อมูล 2ระบบฐานข้อมูลที่พึงประสงค์ควรมีลักษณะอย่างไร 3. การเข้าถึงข้อมูลสามารถทำได้กี่ลักษณะ อย่างไรบ้าง


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 4 ความรู้เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google