ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยไพศักดิ์ พิศาลบุตร ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ การพัฒนาทักษะการพูด แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒๐
ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ การพัฒนาทักษะการพูด แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒๐ การพูดในโอกาสต่าง ๆ เวลา ๒ ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒๐ การพูดในโอกาสต่าง ๆ เวลา ๒ ชั่วโมง ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๑ การกล่าวต้อนรับ ๓.๒ การกล่าวอำลา ๓.๓ การกล่าวสดุดี ๓.๔ การพูดไว้อาลัย ๓.๕ การพูดให้โอวาท ๓.๖ การพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ ๓.๗ การพูดโน้มน้าวใจ จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
2
สังเกตการพูด การพูดของนักพูดมีชื่อเสียง ให้สังเกต • ลีลาการพูด
๑) ครูยกตัวอย่างนักพูดที่มีชื่อเสียงหรือให้นักเรียนดูวีดิทัศน์การพูดของนักพูดที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น แล้วให้นักเรียนสังเกตลีลาการพูด การใช้ภาษา การใช้น้ำเสียง แล้วร่วมกันแสดงความคิดเห็น ๒) ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่าการพูดในแต่ละโอกาสจะใช้ลีลา ภาษา และน้ำเสียงในการพูด แตกต่างกัน แล้วครูสนทนาโยงเข้าสู่เนื้อหาที่จะเรียน ๓) ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้เวลาประมาณ ๕ นาที หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม การพูดของนักพูดมีชื่อเสียง ให้สังเกต • ลีลาการพูด • การใช้ภาษา • การใช้น้ำเสียง
3
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ (เพลงยาวถวายโอวาท: สุนทรภู่) บทร้อยกรองนี้พูดถึงอานุภาพของคำพูดว่ามีอานุภาพยิ่งกว่าสิ่งใดเพราะทำให้คนเรารักกันได้ และก็เกลียดกันได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อจะพูดอะไรออกไปจงคิดก่อนพูด ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๑) ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับคำพูดว่าสามารถทำให้คนรักและคนเกลียดได้ ดังนั้นในการพูดจาจะต้องพูดจาสุภาพ เหมาะกับกาลเทศะ และโอกาสด้วย ๒) ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น ๗ กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มศึกษาเรื่อง โอกาสในการพูดโดยใช้เนื้อหาในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๓) ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม จับสลากเลือกสาธิตการพูดในโอกาสต่าง ๆ กลุ่มละ ๑ หัวข้อ ดังนี้ กลุ่มที่ ๑ การกล่าวต้อนรับ กลุ่มที่ ๒ การกล่าวอำลา กลุ่มที่ ๓ การกล่าวสดุดี กลุ่มที่ ๔ การพูดไว้อาลัย กลุ่มที่ ๕ การพูดให้โอวาท กลุ่มที่ ๖ การพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ กลุ่มที่ ๗ การพูดโน้มน้าวใจ ๔) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาอธิบายความรู้และสาธิตการพูดให้เพื่อนกลุ่มอื่นฟังหน้าชั้นเรียน ๕) คาบเรียนที่ ๑ ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมและอธิบายสรุปการกล่าวต้อนรับ การกล่าวอำลา การกล่าวสดุดี และการพูดไว้อาลัย โดยใช้เวลาประมาณ ๑๐ นาที หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม
4
๓.๑ การกล่าวต้อนรับ การกล่าวต้อนรับ
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๑ การกล่าวต้อนรับ การกล่าวต้อนรับ เป็นการพูดในโอกาสที่มีผู้มาเยี่ยมชม มาร่วมกิจกรรม มาเป็นสมาชิกใหม่หรือมารับตำแหน่ง ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๑ การกล่าวต้อนรับ ๑) ครูอธิบายสรุปการกล่าวต้อนรับ โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงการกล่าวต้อนรับ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จต้อนรับสมเด็จ พระจักรพรรดิอากิฮิโตแห่งญี่ปุ่น และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ พระราชอาคันตุกะ ร่วมสดุดีในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
5
๓.๑ การกล่าวต้อนรับ หลักการกล่าวต้อนรับ
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๑ การกล่าวต้อนรับ หลักการกล่าวต้อนรับ ๑. กล่าวแสดงความยินดีและความรู้สึกเป็นเกียรติ ต่อโอกาส ๒. กล่าวถึงความสำคัญของการเยี่ยมชม การร่วมกิจกรรม หรือให้ความสำคัญของผู้มาใหม่ ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๑ การกล่าวต้อนรับ ๑) ครูอธิบายสรุปหลักการกล่าวต้อนรับ โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงหลักการกล่าวต้อนรับ ๓. กล่าวแสดงความยินดีต้อนรับและอำนวยความสะดวก
6
๓.๑ การกล่าวต้อนรับ ตัวอย่าง
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๑ การกล่าวต้อนรับ ตัวอย่าง ดิฉันในนามตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา รู้สึกดีใจและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านนายอำเภอวันชัย ใจดี ได้ให้เกียรติ มาเป็นประธานเปิดโครงการอาสาสมัครชุมชนร่วมใจ ต้านภัยยาเสพติดในครั้งนี้ ชาวตำบลบ้านนาขอต้อนรับท่านนายอำเภอ วันชัย ใจดี ด้วยความยินดียิ่งค่ะ ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๑ การกล่าวต้อนรับ ๑) ครูอธิบายตัวอย่างการกล่าวต้อนรับ โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงตัวอย่างการกล่าวต้อนรับ
7
เรื่องน่ารู้ : การใช้คำเรียกอาคันตุกะ
อาคันตุกะที่มาเยือนประเทศไทยในฐานะเป็นอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้นเป็นพระมหากษัตริย์หรือพระราชินีให้ใช้ “พระราชอาคันตุกะ” หากอาคันตุกะเป็นสามัญชนให้ใช้ “ราชอาคันตุกะ” ส่วนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ให้ใช้ “ทรงเป็นพระราชอาคันตุกะ” หากเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศที่มีผู้ปกครองประเทศเป็นสามัญชนให้ใช้ “ทรงเป็นอาคันตุกะ” เรื่องน่ารู้ ครูอธิบายเรื่อง การใช้คำเรียกอาคันตุกะ เพื่อเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน นอกเหนือจากความรู้ในบทเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้กว้างขวางขึ้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับพระราชอาคันตุกะ
8
๓.๒ การกล่าวอำลา การกล่าวอำลา
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๒ การกล่าวอำลา การกล่าวอำลา ใช้ในโอกาสย้ายที่ทำงาน พ้นวาระหน้าที่ ออกจากโรงเรียนเพราะจบการศึกษาหรือเดินทางไปประกอบกิจกรรมในที่ไกล ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๒ การกล่าวอำลา ๑) ครูอธิบายสรุปการกล่าวอำลา โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงการกล่าวอำลา นักธุรกิจนิยมจับมือ ซึ่งถือเป็นธรรมเนียม ในการทำความรู้จักกันหรือในการกล่าวอำลา
9
๓.๒ การกล่าวอำลา หลักการกล่าวอำลา ๑.
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๒ การกล่าวอำลา หลักการกล่าวอำลา ๑. กล่าวถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันที่ผ่านมา ๒. ขอบคุณผู้ร่วมงาน ๓. กล่าวถึงความจำเป็นที่ต้องจากไปหรือภาระหน้าที่ที่จะต้องไปทำ ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๒ การกล่าวอำลา ๑) ครูอธิบายสรุปหลักการกล่าวอำลา โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงหลักการกล่าวอำลา ๔. แสดงความหวังว่าคงจะได้ร่วมมือกันจรรโลงสถาบันให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป ๕. กล่าวขอบคุณในกรณีที่ได้รับมอบของที่ระลึก
10
๓.๒ การกล่าวอำลา ตัวอย่าง
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๒ การกล่าวอำลา ตัวอย่าง ท่านผู้อำนวยการ และเพื่อนครูทุกท่าน ผมรู้สึกซาบซึ้งใจเป็นอย่างมาก ที่ทุกคนได้จัดงานเลี้ยงส่งผม ผมขอถือโอกาสขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ การไปของผมในครั้งนี้ไปเพื่อรับตำแหน่งที่สูงขึ้น และคิดว่าท่านทั้งหลายคงมีวันนี้เช่นกัน ถึงแม้ผมจะไม่ได้ปฏิบัติงานที่นี่แล้ว หากมีปัญหาหรือมีอะไรให้ผมช่วยเหลือผมยินดีรับใช้เสมอและหวังว่าคงมีโอกาสได้ร่วมงานกับทุกท่านอีก สุดท้ายนี้พรอันใดที่ทุกท่านอวยพรให้ผม ขอให้พรอันประเสริฐนั้นจงย้อนกลับไปยังท่านทั้งหลาย ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๒ การกล่าวอำลา ๑) ครูอธิบายตัวอย่างสรุปการกล่าวอำลา โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงตัวอย่างการกล่าวอำลา
11
๓.๓ การกล่าวสดุดี การกล่าวสดุดี
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๓ การกล่าวสดุดี การกล่าวสดุดี การพูดยกย่อง สรรเสริญ มักใช้ในลักษณะที่เป็นพิธีการในโอกาสสำคัญ ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๓ การกล่าวสดุดี ๑) ครูอธิบายสรุปการกล่าวสดุดี โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงการกล่าวสดุดี ประชาชนกล่าวคำสดุดี วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
12
๓.๓ การกล่าวสดุดี หลักการกล่าวสดุดี ๑. กล่าวถึงโอกาสที่กล่าวสดุดี
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๓ การกล่าวสดุดี หลักการกล่าวสดุดี ๑. กล่าวถึงโอกาสที่กล่าวสดุดี ๒. กล่าวถึงคุณงามความดีของบุคคลสำคัญ ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๓ การกล่าวสดุดี ๑) ครูอธิบายสรุปหลักการกล่าวสดุดี โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงหลักการกล่าวสดุดี ๓. กล่าวเตือนใจให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนเจริญรอยตาม บุคคลสำคัญ
13
ผู้ร่วมงานยืนไว้อาลัยให้แก่ผู้สูญเสีย
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๔ การพูดไว้อาลัย การพูดไว้อาลัย คือ การพูดแสดงความระลึกถึงต่อบุคคลที่จากไปหรือเสียชีวิตหรือสิ่งสำคัญของส่วนรวม เช่น ปูชนียสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุสำคัญที่ประสบภัย เสื่อมเสีย หรือสูญหาย ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๔ การพูดไว้อาลัย ๑) ครูอธิบายสรุปการพูดไว้อาลัย โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงการพูดไว้อาลัย ผู้ร่วมงานยืนไว้อาลัยให้แก่ผู้สูญเสีย
14
๓.๔ การพูดไว้อาลัย หลักการพูดไว้อาลัย
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๔ การพูดไว้อาลัย หลักการพูดไว้อาลัย ๑. กล่าวถึงประวัติและความเป็นมาของบุคคลหรือสิ่งนั้น ๆ ๒. กล่าวถึงสาเหตุที่เสียชีวิตหรือเสื่อมสูญหาย ๓. กล่าวถึงคุณความดีหรือความสำคัญของบุคคลหรือสิ่งนั้น ๆ ๔. แสดงความผูกพันและระลึกถึง ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๔ การพูดไว้อาลัย ๑) ครูอธิบายสรุปหลักการพูดไว้อาลัย โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงหลักการพูดไว้อาลัย ๕. แสดงความหวังว่าผู้เสียชีวิตคงจะไปสู่สุขคติ หรือสิ่งที่สูญสลายให้ข้อเตือนใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง ๖. กล่าวเชิญชวนให้ที่ประชุมยืนไว้อาลัย
15
ฝึกพูดในโอกาสต่าง ๆ ให้นักเรียนฝึกพูด ดังนี้ ๏ การกล่าวต้อนรับ
๏ การกล่าวอำลา ๏ การกล่าวสดุดี ๏ การพูดไว้อาลัย ๑) ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น ๗ กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มจับสลากเลือกพูดในโอกาสต่าง ๆ กลุ่มละ ๑ หัวข้อ โดยให้เขียนบทพูดในโอกาสที่กลุ่มของตนจับสลากได้ แล้วออกมาแสดงบทบาทสมมุติให้เพื่อน ดูหน้าชั้นเรียน ๒) ครูให้นักเรียนพูดในชั่วโมงนี้ ๔ กลุ่ม และให้พูดในชั่วโมงถัดไป ๓ กลุ่ม และให้นักเรียนแต่ละ คนประเมินการพูดของเพื่อนทุกกลุ่ม และแสดงความคิดเห็นติชม ๓) ครูคลิกเพื่อแสดงรายละเอียดกิจกรรม ๔) ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมโดยใช้เวลาประมาณ ๒๕ นาที หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม
16
แบบประเมินการพูดในโอกาสต่าง ๆ
รายการประเมิน ระดับคะแนน ๔ ๓ ๒ ๑ ๑. การเตรียมตัว ๒. เนื้อหาสาระ ๓. การใช้ภาษา ๔. บุคลิกภาพ ๕. มารยาท รวม ๑) ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น ๗ กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มจับสลากเลือกพูดในโอกาสต่าง ๆ กลุ่มละ ๑ หัวข้อ โดยให้เขียนบทพูดในโอกาสที่กลุ่มของตนจับสลากได้ แล้วออกมาแสดงบทบาทสมมุติให้เพื่อน ดูหน้าชั้นเรียน ๒) ครูให้นักเรียนพูดในชั่วโมงนี้ ๔ กลุ่ม และให้พูดในชั่วโมงถัดไป ๓ กลุ่ม และให้นักเรียนแต่ละ คนประเมินการพูดของเพื่อนทุกกลุ่ม และแสดงความคิดเห็นติชม ๓) ครูคลิกเพื่อแสดงแบบประเมิน เกณฑ์การประเมิน ๔ = ดีมาก ๓ = ดี ๒ = ปานกลาง ๑ = ต้องปรับปรุง
17
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๕ การพูดให้โอวาท โอวาท คือ คำแนะนำ คำตักเตือน คำกล่าวสอนที่ผู้ใหญ่ให้แก่ผู้น้อย ในโอกาสสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น วันเปิดภาคการศึกษา วันสำเร็จการศึกษา วันสำคัญทางศาสนา การเดินทางไปประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๕ การพูดให้โอวาท ๑) ครูอธิบายสรุปการพูดให้โอวาท โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงการพูดให้โอวาท ๓) คาบเรียนที่ ๒ ครูอธิบายสรุปการพูดให้โอวาท การพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ การพูดโน้มน้าวใจ โดยใช้เวลาประมาณ ๘ นาที หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงให้โอวาทวันลูกเสือแห่งชาติ
18
๓.๕ การพูดให้โอวาท หลักการพูดให้โอวาท ๑. ๒. ๓.
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๕ การพูดให้โอวาท หลักการพูดให้โอวาท ๑. กล่าวถึงความสำคัญของโอกาสที่ให้โอวาท ๒. เลือกประเด็นสำคัญให้เหมาะสมแก่โอกาสและผู้ฟัง ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๕ การพูดให้โอวาท ๑) ครูอธิบายสรุปหลักการพูดให้โอวาท โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงหลักการพูดให้โอวาท ๓. ชี้แนวทางที่จะนำโอวาทไปใช้ประโยชน์ได้จริง
19
๓.๕ การพูดให้โอวาท ตัวอย่าง
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๕ การพูดให้โอวาท ตัวอย่าง โอวาท “วันเด็กแห่งชาติ” โดย นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี วันเสาร์ที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องใน “วันเด็กแห่งชาติ” ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสมาร่วมงานกับอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการจัดกิจกรรมในโครงการ “วันเด็ก... เล่นสนุก” โดยมีจุดมุ่งหมายให้เด็ก ๆ ได้รับความรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตลอดจนโอกาสแสดงออกด้านความรู้และความสามารถ “เด็ก” เป็นคำสั้น ๆ แต่มีความหมายที่ยิ่งใหญ่ เพราะเด็กในวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ในวันหน้า หากมีการอบรมบ่มนิสัยอันดีงาม มีการพัฒนาความคิด ความริเริ่ม ก็จะเป็นพลังของอนาคต หาก “เด็ก” มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้จักรักษาระเบียบวินัย ขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน ก็จะเป็นผู้ที่สร้างความเจริญให้แก่ตัวเอง ครอบครัว สังคม และประเทศเป็นอย่างดี ข้าพเจ้าขออวยพรให้เด็ก ๆ ทุกคน พบแต่ความสุข ความเจริญ ความสมหวัง และสิ่งที่ดีในชีวิตตลอดไป ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๕ การพูดให้โอวาท ๑) ครูอธิบายตัวอย่างการพูดให้โอวาท โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงตัวอย่างการพูดให้โอวาท
20
การพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๖ การพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ ความเห็นใจ คือ ความรู้สึกร่วมในใจ คือ การไม่สบายใจ เพราะเกิดสิ่งไม่ประสงค์หรือผิดความประสงค์เกิดขึ้น ความเสียใจ ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๖ การพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ ๑) ครูอธิบายสรุปการพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงการพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ การพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ ใช้ในโอกาสที่ผู้ใกล้ชิดสนิทสนมหรือผู้ที่เรารู้จักประสบเคราะห์กรรมหรือความไม่สมประสงค์ขึ้น
21
หลักการพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๖ การพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ หลักการพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ ๑. เท้าความถึงการทราบเรื่องที่เกิดขึ้น ๒. แสดงความเห็นใจหรือเสียใจและรู้สึกร่วมในสภาพการณ์ด้วย ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๖ การพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ ๑) ครูอธิบายสรุปหลักการพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงหลักการพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ ๓. ให้กำลังใจว่าสภาพการณ์คงไม่รุนแรงและคืนสู่ปกติโดยเร็ว ๔. กล่าวถึงความช่วยเหลือเกื้อกูลที่จะให้ต่อไป
22
๓.๖ การพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๖ การพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ ตัวอย่าง พอผมทราบว่าหมู่บ้านนี้ถูกน้ำท่วมเราก็รู้สึกไม่สบายใจและเป็นกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยจากสัตว์เลื้อยคลาน ได้แต่ภาวนาขอให้น้ำลดโดยเร็ว และชาวบ้านปลอดภัย ผู้ใหญ่บ้านไม่ต้องวิตกกังวลเรื่องการขาดแคลนอาหาร ทางรัฐบาลได้จัดเตรียมหาอาหาร ส่งให้ชาวบ้านเรียบร้อยแล้ว ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๖ การพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ ๑) ครูอธิบายตัวอย่างการพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงตัวอย่างการพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ
23
แม่ค้าพูดโน้มน้าวใจให้นักท่องเที่ยวซื้อสินค้า
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๗ การพูดโน้มน้าวใจ การพูดโน้มน้าวใจ คือ การพูดเกลี้ยกล่อม ชักจูงให้ผู้ฟังเกิดความไว้วางใจ เชื่อถือ ศรัทธาหรือประทับใจในคำพูดของผู้พูด และมีความคิดเห็นคล้อยตามหรือปฏิบัติตาม ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๗ การพูดโน้มน้าวใจ ๑) ครูอธิบายสรุปการพูดโน้มน้าวใจ โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงการพูดโน้มน้าวใจ แม่ค้าพูดโน้มน้าวใจให้นักท่องเที่ยวซื้อสินค้า
24
จุดมุ่งหมายของการพูดโน้มน้าวใจ
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๗ การพูดโน้มน้าวใจ จุดมุ่งหมายของการพูดโน้มน้าวใจ ๑. ให้ผู้ฟังเชื่อถือหรือปฏิบัติตาม ผู้พูดต้องพูดให้ผู้ฟังเกิดความตระหนักถึงความจริง จึงจะเกิดความเชื่อและปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ สิ่งที่พูดต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องและดีงาม ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๗ การพูดโน้มน้าวใจ ๑) ครูอธิบายสรุปการพูดโน้มน้าวใจ โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงการพูดโน้มน้าวใจ
25
จุดมุ่งหมายของการพูดโน้มน้าวใจ
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๗ การพูดโน้มน้าวใจ จุดมุ่งหมายของการพูดโน้มน้าวใจ ๒. ให้ผู้ฟังเลือกปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ผู้พูดจะต้องชักจูงให้เปลี่ยนแปลงความเชื่อหรือทัศนคติในเรื่องนั้นไปในทางที่ดีอันเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๗ การพูดโน้มน้าวใจ ๑) ครูอธิบายสรุปการพูดโน้มน้าวใจ โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงการพูดโน้มน้าวใจ
26
จุดมุ่งหมายของการพูดโน้มน้าวใจ
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๗ การพูดโน้มน้าวใจ จุดมุ่งหมายของการพูดโน้มน้าวใจ ๓. ให้ผู้ฟังปฏิบัติสิ่งนั้นต่อไปเพราะเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว ผู้พูดจะต้องไม่กล่าวยกยอเกินจริงเพราะจะทำให้ผู้ฟังเกิดความไม่ไว้วางใจ คิดว่ามีเจตนาอื่นแอบแฝง และไม่ปฏิบัติตามที่ผู้พูดต้องการ ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๗ การพูดโน้มน้าวใจ ๑) ครูอธิบายสรุปการพูดโน้มน้าวใจ โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงการพูดโน้มน้าวใจ
27
หลักการพูดโน้มน้าวใจ
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๗ การพูดโน้มน้าวใจ หลักการพูดโน้มน้าวใจ ๑. กำหนดจุดมุ่งหมายในการพูดให้ชัดเจน ว่าต้องการพูดให้ ผู้ฟังมีการตอบสนองอย่างไร ๒. จัดลำดับเนื้อหาที่จะพูด ควรเรียงลำดับเนื้อหาที่ จะพูดตามลำดับ บทนำ เนื้อเรื่อง ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๗ การพูดโน้มน้าวใจ ๑) ครูอธิบายสรุปการพูดโน้มน้าวใจ โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงหลักการพูดโน้มน้าวใจ ๓. วิธีการพูด ควรพูดอย่างคล่องแคล่ว กระตือรือร้น ใช้ถ้อยคำสุภาพ สร้างสรรค์ ใช้ภาษาง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้น้ำเสียงที่เหมาะสม บทสรุป
28
๓.๗ การพูดโน้มน้าวใจ ตัวอย่าง
๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๗ การพูดโน้มน้าวใจ ตัวอย่าง ครูเป็นผู้มีภาระหน้าที่อันสำคัญที่สุด คือ จะต้องช่วยพัฒนาคนให้เป็นคนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นงานที่ยากลำบากต้องเหน็ดเหนื่อยและประสบกับปัญหาอุปสรรคมากมายในการทำหน้าที่นี้ แต่ครูจงรับรู้ว่าทุกคนภาคภูมิใจในการทำหน้าที่สร้างอนาคตของชาติ เพื่อให้ไปช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ซึ่งถ้าไม่มีครูเป็นผู้สร้างสิ่งเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นมาไม่ได้ ขอชื่นชมและยกย่องให้ครูเป็นปูชนียบุคคลที่สำคัญของชาติตลอดไป ๓. การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๓.๗ การพูดโน้มน้าวใจ ๑) ครูอธิบายตัวอย่างการพูดโน้มน้าวใจ โดยใช้เนื้อหาจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงตัวอย่างการพูดโน้มน้าวใจ
29
การกล่าวต้อนรับ เกมเรียงลำดับการพูด ๒ ๑ ๓
กล่าวถึงความสำคัญของการเยี่ยมชม การร่วมกิจกรรม หรือความสำคัญของผู้มาใหม่ ๒ กล่าวแสดงความดีใจและความรู้สึกเป็นเกียรติต่อโอกาส ๑ ๑) ครูให้นักเรียนเล่นเกมเรียงลำดับการพูด วิธีเล่น ๑. ครูคลิกข้อความให้นักเรียนอ่าน แล้วให้นักเรียนเรียงลำดับการพูดให้ถูกต้อง พร้อมทั้งบอกด้วยว่าเป็นการพูดแบบใด ภายในเวลาที่ครูกำหนด ๒. นักเรียนจะต้องเรียงลำดับและบอกชนิดของการพูดถูกต้องจึงจะได้ ๑ คะแนน ถ้าตอบไม่ถูก ให้คนที่ยกมือถัดไปตอบ ๓. ครูคลิกเพื่อแสดงคำตอบและเล่นข้อถัดไป ๔. เมื่อเล่นครบทุกข้อ ให้ครูนับคะแนน คนที่ได้คะแนนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ และรับรางวัลจากครู ๒) ครูให้นักเรียนเล่นเกมโดยใช้เวลาประมาณ ๕ นาที หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม กล่าวแสดงความยินดีต้อนรับและอำนวยความสะดวก ๓ การกล่าวต้อนรับ
30
การกล่าวอำลา เกมเรียงลำดับการพูด ๑ ๓ ๒ ๕ ๔
กล่าวถึงความสัมพันธ์อันดีที่ผ่านมา ๑ กล่าวถึงความจำเป็นที่ต้องจากไปหรือภาระหน้าที่ ที่จะต้องไปทำ ๓ กล่าวขอบคุณผู้ร่วมงาน ๒ ๏ ครูให้นักเรียนเล่นเกมเรียงลำดับการพูด วิธีเล่น ๑. ครูคลิกข้อความให้นักเรียนอ่าน แล้วให้นักเรียนเรียงลำดับการพูดให้ถูกต้อง พร้อมทั้งบอกด้วยว่าเป็นการพูดแบบใด ภายในเวลาที่ครูกำหนด ๒. นักเรียนจะต้องเรียงลำดับและบอกชนิดของการพูดถูกต้องจึงจะได้ ๑ คะแนน ถ้าตอบไม่ถูก ให้คนที่ยกมือถัดไปตอบ ๓. ครูคลิกเพื่อแสดงคำตอบและเล่นข้อถัดไป ๔. เมื่อเล่นครบทุกข้อ ให้ครูนับคะแนน คนที่ได้คะแนนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ และรับรางวัลจากครู กล่าวขอบคุณในกรณีที่ได้รับมอบของที่ระลึก ๕ แสดงความหวังว่าคงจะได้ร่วมมือกันจรรโลงสถาบัน ให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป ๔ การกล่าวอำลา
31
การกล่าวสดุดี เกมเรียงลำดับการพูด ๒ ๓ ๑ กล่าวถึงความดีของบุคคลสำคัญ
กล่าวเตือนใจให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนเจริญตามรอย บุคคลสำคัญ ๓ ๏ ครูให้นักเรียนเล่นเกมเรียงลำดับการพูด วิธีเล่น ๑. ครูคลิกข้อความให้นักเรียนอ่าน แล้วให้นักเรียนเรียงลำดับการพูดให้ถูกต้อง พร้อมทั้งบอกด้วยว่าเป็นการพูดแบบใด ภายในเวลาที่ครูกำหนด ๒. นักเรียนจะต้องเรียงลำดับและบอกชนิดของการพูดถูกต้องจึงจะได้ ๑ คะแนน ถ้าตอบไม่ถูก ให้คนที่ยกมือถัดไปตอบ ๓. ครูคลิกเพื่อแสดงคำตอบและเล่นข้อถัดไป ๔. เมื่อเล่นครบทุกข้อ ให้ครูนับคะแนน คนที่ได้คะแนนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ และรับรางวัลจากครู กล่าวถึงโอกาสที่กล่าวสดุดี ๑ การกล่าวสดุดี
32
การพูดไว้อาลัย เกมเรียงลำดับการพูด ๔ ๕ ๑ ๖ ๓ ๒
แสดงความผูกพันและระลึกถึง ๔ แสดงความหวังว่าสิ่งที่สูญสลายให้ข้อเตือนใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ๕ กล่าวถึงประวัติและความเป็นมาของบุคคลหรือสิ่งนั้น ๆ ๑ กล่าวเชิญชวนให้ที่ประชุมยืนไว้อาลัย ๖ ๏ ครูให้นักเรียนเล่นเกมเรียงลำดับการพูด วิธีเล่น ๑. ครูคลิกข้อความให้นักเรียนอ่าน แล้วให้นักเรียนเรียงลำดับการพูดให้ถูกต้อง พร้อมทั้งบอกด้วยว่าเป็นการพูดแบบใด ภายในเวลาที่ครูกำหนด ๒. นักเรียนจะต้องเรียงลำดับและบอกชนิดของการพูดถูกต้องจึงจะได้ ๑ คะแนน ถ้าตอบไม่ถูก ให้คนที่ยกมือถัดไปตอบ ๓. ครูคลิกเพื่อแสดงคำตอบและเล่นข้อถัดไป ๔. เมื่อเล่นครบทุกข้อ ให้ครูนับคะแนน คนที่ได้คะแนนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ และรับรางวัลจากครู กล่าวถึงคุณงามความดีหรือความสำคัญของบุคคลหรือสิ่งนั้น ๆ ๓ กล่าวถึงสาเหตุที่เสื่อมสูญหาย ๒ การพูดไว้อาลัย
33
การพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ
เกมเรียงลำดับการพูด แสดงความเห็นใจหรือเสียใจและรู้สึกร่วมในสภาพการณ์ด้วย ๒ เท้าความถึงการทราบเรื่องที่เกิดขึ้น ๑ ให้กำลังใจว่าสภาพการณ์คงไม่รุนแรงและคืนสู่ปกติโดยเร็ว ๔ ๏ ครูให้นักเรียนเล่นเกมเรียงลำดับการพูด วิธีเล่น ๑. ครูคลิกข้อความให้นักเรียนอ่าน แล้วให้นักเรียนเรียงลำดับการพูดให้ถูกต้อง พร้อมทั้งบอกด้วยว่าเป็นการพูดแบบใด ภายในเวลาที่ครูกำหนด ๒. นักเรียนจะต้องเรียงลำดับและบอกชนิดของการพูดถูกต้องจึงจะได้ ๑ คะแนน ถ้าตอบไม่ถูก ให้คนที่ยกมือถัดไปตอบ ๓. ครูคลิกเพื่อแสดงคำตอบและเล่นข้อถัดไป ๔. เมื่อเล่นครบทุกข้อ ให้ครูนับคะแนน คนที่ได้คะแนนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ และรับรางวัลจากครู กล่าวถึงความช่วยเหลือเกื้อกูลที่จะให้ต่อไป ๓ การพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ
34
พิจารณาการพูดในโอกาสต่าง ๆ
ก. กล่าวต้อนรับ ข. กล่าวอำลา ค. กล่าวสดุดี ง. พูดไว้อาลัย จ. พูดให้โอวาท ฉ. พูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ ช. พูดโน้มน้าวใจ ยิ่งยงพูดกับวิชิตเมื่อทราบข่าวว่าวิชิตสอบเข้าเรียนต่อ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ไม่ได้ ฉ. พูดแสดงความเห็น ใจหรือเสียใจ ผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวกับนักเรียนชั้น ม. ๓ เนื่องในงานเลี้ยงส่งที่จบการศึกษา ๑) ครูให้นักเรียนอ่านสถานการณ์ตัวอย่าง แล้วพิจารณาว่าเป็นการพูดในโอกาสใด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงแนวคำตอบ ครูสามารถให้นักเรียนทำกิจกรรมทบทวนความรู้เพิ่มเติม กิจกรรมที่ ๓๑ โอกาสที่ใช้ในการพูด จากแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ๓) ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมโดยใช้เวลาประมาณ ๕ นาที หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม จ. พูดให้โอวาท บรรณาธิการหนังสือพิมพ์กล่าวกับคณะอาจารย์และนักศึกษาที่มาดูงานของโรงพิมพ์ ก. กล่าวต้อนรับ
35
พิจารณาการพูดในโอกาสต่าง ๆ
ก. กล่าวต้อนรับ ข. กล่าวอำลา ค. กล่าวสดุดี ง. พูดไว้อาลัย จ. พูดให้โอวาท ฉ. พูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ ช. พูดโน้มน้าวใจ ผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวกับคณะครูเนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ ข. กล่าวอำลา ทวีศักดิ์รู้ว่าไชยาติดยาเสพติด จึงพูดให้ไชยาเลิกเสพยา ๑) ครูให้นักเรียนอ่านสถานการณ์ตัวอย่าง แล้วพิจารณาว่าเป็นการพูดในโอกาสใด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงแนวคำตอบ ครูสามารถให้นักเรียนทำกิจกรรมทบทวนความรู้เพิ่มเติม กิจกรรมที่ ๓๑ โอกาสที่ใช้ในการพูด จากแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ช. พูดโน้มน้าวใจ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดธรรมวิทย์กล่าวเปิดอนุสาวรีย์คุณครูเปรื่อง รักไทย ผู้บุกเบิกและอุปถัมภ์โรงเรียน ค. กล่าวสดุดี
36
พิจารณาการพูดในโอกาสต่าง ๆ
ก. กล่าวต้อนรับ ข. กล่าวอำลา ค. กล่าวสดุดี ง. พูดไว้อาลัย จ. พูดให้โอวาท ฉ. พูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ ช. พูดโน้มน้าวใจ ตัวแทนนักเรียนชั้น ม. ๓ กล่าวกับคณะครูและเพื่อน ๆ ในงานเลี้ยงจบการศึกษาและต้องออกไปศึกษาต่อที่โรงเรียนอื่น ข. กล่าวอำลา นายกรัฐมนตรีกล่าวกับประชาชนให้ช่วยกันประหยัดไฟฟ้า ๑) ครูให้นักเรียนอ่านสถานการณ์ตัวอย่าง แล้วพิจารณาว่าเป็นการพูดในโอกาสใด ๒) ครูคลิกเพื่อแสดงแนวคำตอบ ครูสามารถให้นักเรียนทำกิจกรรมทบทวนความรู้เพิ่มเติม กิจกรรมที่ ๓๑ โอกาสที่ใช้ในการพูด จากแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ม. ๓ เล่ม ๑ ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ช. พูดโน้มน้าวใจ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกล่าวรำลึกถึงวีรกรรมของทหาร ผ่านศึกเนื่องในวันทหารผ่านศึก ค. กล่าวสดุดี
37
ฝึกพูดในโอกาสต่าง ๆ ฝึกพูดในโอกาสต่าง ๆ ดังนี้ ๏ การพูดให้โอวาท
๏ การพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ ๏ การพูดโน้มน้าวใจ ๑) ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น ๗ กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มจับสลากเลือกพูดในโอกาสต่าง ๆ กลุ่มละ ๑ หัวข้อ โดยให้เขียนบทพูดในโอกาสที่กลุ่มของตนจับสลากได้ แล้วออกมาแสดงบทบาทสมมุติ ให้เพื่อนดูหน้าชั้นเรียน ๒) ครูให้นักเรียนกลุ่มที่เหลืออีก ๓ กลุ่มออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และให้นักเรียนแต่ละคน ประเมินการพูดของเพื่อนทุกกลุ่ม และแสดงความคิดเห็นติชม ๓) ครูคลิกเพื่อแสดงรายละเอียดกิจกรรม ๔) ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมโดยใช้เวลาประมาณ ๒๐ นาที หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม
38
สรุปความรู้ • การกล่าวต้อนรับ ควรกล่าวด้วยความดีใจและรู้สึกเป็นเกียรติ เป็นความสำคัญ และยินดีต้อนรับต่อผู้มาเยี่ยมชม หรือมาเป็นสมาชิกใหม่ • การกล่าวอำลา ควรกล่าวถึงความสัมพันธ์อันดี ความจำเป็นที่ต้องไป และ ขอบคุณในความร่วมมือ • การกล่าวสดุดี ควรกล่าวถึงโอกาส คุณงามความดี และเตือนใจให้ปฏิบัติตาม บุคคลสำคัญ • การพูดไว้อาลัย การกล่าวถึงประวัติของบุคคลนั้น สาเหตุที่สูญเสีย คุณงามความดี ความผูกพัน แสดงความหวังว่าจะไปสู่สุคติ และยืนไว้อาลัย สรุปความรู้เรื่อง การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๑. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๒. ครูคลิกเพื่อแสดงข้อความสรุปทีละหัวข้อ ๓. ครูสรุปความรู้โดยใช้เวลาประมาณ ๒ นาที หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม
39
สรุปความรู้ • การพูดให้โอวาท ควรกล่าวถึงความสำคัญของโอกาส เนื้อหาเหมาะสมกับผู้ฟัง และชี้แนวทางให้ใช้ประโยชน์ได้จริง • การพูดแสดงความเห็นใจหรือเสียใจ ควรกล่าวเท้าความถึงเรื่องที่เกิดขึ้น แสดง ความเสียใจหรือเห็นใจ ให้กำลังใจ และกล่าวถึงความช่วยเหลือต่อไป • การพูดโน้มน้าวใจ พูดใน ๓ ลักษณะ คือ ให้เชื่อถือและปฏิบัติตาม เลิกปฏิบัติ และปฏิบัติต่อไป • หลักการพูดโน้มน้าวใจ คือ กำหนดจุดมุ่งหมายในการพูดให้ชัดเจน จัดลำดับ เนื้อหาที่จะพูด และวิธีการพูด สรุปความรู้เรื่อง การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๑. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง การพูดในโอกาสต่าง ๆ ๒. ครูคลิกเพื่อแสดงข้อความสรุปทีละหัวข้อ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.