ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยภรณ์พันธุ์ บุตโต ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
4
รหัสแหล่งของเงิน และรหัสงบประมาณ
รหัสแหล่งของเงินงบดำเนินงาน (7 หลัก) ตัวอย่าง XX 61 หมายถึง ปีงบประมาณ 1 หมายถึง เงินในงบประมาณ 1 หมายถึง งบส่วนราชการ 2 หมายถึง งบดำเนินงาน XX หมายถึง หมวดรายจ่าย 20 ใช้สอย 30 วัสดุ
5
รหัสแหล่งของเงิน และรหัสงบประมาณ
รหัสงบประมาณ (16 หลัก) ตัวอย่าง 20 หมายถึง กระทรวง 004 หมายถึง กรม 34 หมายถึง แผนงาน แผนงบประมาณ 002 หมายถึง งบดำเนินงาน หมายถึง บรรทัดรายการ
6
ค่าสาธารณูปโภค ค่าสาธารณูปโภค หมายถึง รายจ่ายค่าบริการสาธารณูปโภค สื่อสารและโทรคมนาคม รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระพร้อมกัน เช่น ค่าบริการ ค่าภาษี เป็นต้น ตามรายการดังนี้ 1. ค่าไฟฟ้า 2. ค่าประปา 3. ค่าบริการโทรศัพท์ 4. ค่าบริการไปรษณีย์
7
เอกสารประกอบการเบิกจ่าย
ใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า, ประปา, โทรศัพท์ และค่าไปรษณีย์ บันทึกขออนุมัติเบิกเงินค่าสาธารณูปโภค ใบเสร็จรับเงิน (เมื่อจ่ายเงินค่า สาธารณูปโภค เรียบร้อยแล้ว)
8
ตัวอย่าง สาธารณูปโภค
9
ค่าตอบแทน ค่าตอบแทน หมายถึง เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติงานให้ทางราชการตามที่กระทรวงการคลังกำหนด เช่น ค่าเช่าบ้านข้าราชการ ค่าตอบแทนกรรมการตรวจการจ้างและควบคุมงานก่อสร้าง เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ เงินสมนาคุณวิทยากรในการฝึกอบรมของส่วนราชการ เงินค่าสอนพิเศษและค่าสอนเกินภาระงานสอน เป็นต้น
10
ค่าตอบแทนวิทยากรบุคคลภายนอก
หมายถึง เงินที่จ่ายเป็นค่าตอบแทนให้ บุคคลภายนอกที่สอนในวิชาที่สถานศึกษาขาดแคลน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากรสอนอิสลาม
11
ค่าตอบแทนวิทยากรบุคคลภายนอก
**โรงเรียนเชิญบุคคลในท้องถิ่นที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เฉพาะด้าน ด้านใดด้านหนึ่งมาช่วยสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งบุคคลดังกล่าวต้องไม่เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างสังกัด สพฐ. **ให้จ่ายค่าตอบแทนวิทยากรบุคคลภายนอกในอัตราชั่วโมงละ 200 บาท
12
ขั้นตอนดำเนินการ 1. คัดเลือกวิทยากร 2. ติดต่อประสานงานวิทยากร
1. คัดเลือกวิทยากร 2. ติดต่อประสานงานวิทยากร 3. จัดทำโครงการสอน กำหนดการสอน ตารางสอน 4. ทำหนังสือเชิญวิทยากร มาทำการสอน 5. จัดทำบัญชีลงเวลาให้วิทยากร ลงเวลาปฏิบัติงาน
13
เอกสารประกอบการเบิกจ่าย
1. หนังสือนำส่ง 2. โครงการสอน 3. บัญชีรายละเอียดของวิทยากร 4. หนังสือเชิญวิทยากรบุคคลภายนอก 5. หนังสือตอบรับเชิญ 6. ตารางสอน กำหนดการสอน แผนการเรียน
14
เอกสารประกอบการเบิกจ่าย
7. บัญชีลงเวลา 8. ใบสำคัญรับเงิน (กรณีโรงเรียนทดรองจ่าย) 9. สำเนาบัตรประชาชนของวิทยากรพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง 10. แบบขอรับเงินผ่านธนาคาร (กรณีขอรับเงินผ่านธนาคาร)
15
ตัวอย่าง ค่าตอบแทนวิทยากร
16
ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ
ความหมาย เบี้ยประชุมกรรมการคือ ค่าตอบแทนที่ทางราชการจ่ายให้แก่คณะกรรมการและอนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งตามกฎหมาย และมาประชุม เช่น ค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
17
ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ
คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ รายเดือน/รายครั้ง อัตรารายครั้ง *ประธานกรรมการ 2,000 บาท /รองประธาน 1,800 บาท /กรรมการ 1,600 บาท *ประธานอนุกรรมการ 1,250 บาท /รองประธาน 1,125 บาท/อนุกรรมการ 1,000 บาท
18
ขั้นตอนดำเนินการ 2. จัดประชุม ทำบัญชีลงเวลา จ่ายค่าเบี้ยประชุม
1. หนังสือเชิญประชุม 2. จัดประชุม ทำบัญชีลงเวลา จ่ายค่าเบี้ยประชุม 3. รวบรวมเอกสารเบิกเงินกับ สพป.
19
เอกสารประกอบการเบิกจ่าย
หนังสือราชการขอเบิกเงิน คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ หนังสือเชิญประชุม บัญชีลงเวลา ใบสำคัญรับเงิน พร้อมสำเนาบัตรประชาชน รายงานการประชุม
20
ตัวอย่าง เบี้ยประชุมกรรมการ
21
ค่าตอบแทนการปฏิบัติงาน
นอกเวลาราชการ คือเงินที่จ่ายให้แก่ข้าราชการที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ปกติ โดยลักษณะงาน ส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานในที่ตั้งสำนักงานและได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการในที่ตั้งสำนักงานหรือโดยลักษณะงาน ส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานนอกที่ตั้งสำนักงาน และได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการนอกที่ตั้งสำนักงาน และหรือโดย ลักษณะงานปกติต้องปฏิบัติงานในลักษณะเป็นผลัดหรือกะและได้ปฏิบัติงานนั้นนอกผลัดหรือกะของตน
22
ค่าตอบแทนการปฏิบัติงาน
นอกเวลาราชการ สาระสำคัญ **การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการ **การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในวันทำการให้มีสิทธิเบิกได้ไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 50 บาท **การปฏิบัติงานในวันหยุดราชการ ให้มีสิทธิเบิกค่าตอบแทนได้ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 60 บาท
23
ค่าตอบแทนการปฏิบัติงาน
นอกเวลาราชการ สาระสำคัญ **การปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ ไม่ให้เบิกเงินตอบแทน - การอยู่เวรรักษาการณ์ - การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการไม่เต็มจำนวนชั่วโมง
24
ขั้นตอนดำเนินการ บันทึกขออนุญาตปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
ผู้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการลงเวลาการปฏิบัติงาน เมื่อปฏิบัติงานสิ้นสุด ให้จัดทำหลักฐานการจ่ายเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ รายงานผลการปฏิบัติงาน ต่อผู้มีอำนาจอนุมัติภายใน 15 วัน นับแต่วันเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน ขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน
25
เอกสารประกอบการเบิกจ่าย
1. หลักฐานอนุมัติให้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 2. บัญชีลงเวลาปฏิบัติงาน 3. หลักฐานการจ่ายเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 4. บันทึก/หนังสือ ขอเบิกเงิน
26
ตัวอย่าง ค่าล่วงเวลา
27
ค่าเช่าบ้าน ค่าใช้จ่ายที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการที่ได้รับ ความเดือนร้อนในเรื่องที่อยู่เพราะทางราชการเป็นเหตุ เนื่องจากได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำต่างท้องที่ โดยให้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเท่าที่จ่ายจริง ตามสมควรแก่สภาพบ้าน แต่ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราค่าเช่า บ้าน เว้นแต่ข้าราชการผู้นั้นเข้าข้อยกเว้นที่ทำให้ไม่เกิดสิทธิ ได้รับค่าเช่าบ้าน ตาม ม. 7 ของ พรฎ.
28
(1) ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว
มาตรา 7 ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทาง ไปประจำ สำนักงาน ในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกา ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น (1) ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว (2) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน (3) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในต่างท้องที่ ตามคำร้องขอของตนเอง ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการผู้ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่ที่เป็นท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ด้วย
29
ข้อยกเว้น ที่ทำให้ไม่มีสิทธิ ได้รับค่าเช่าบ้าน
ข้อยกเว้น ที่ทำให้ไม่มีสิทธิ ได้รับค่าเช่าบ้าน
30
ทางราชการจัดที่พักให้ ตาม ม.7(1)
ปัจจุบันใช้ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในบ้านพักของทางราชการ พ.ศ ด่วนที่สุด ที่ กค /ว 147 ลงวันที่ 5 กันยายน 2560 จัดให้แล้วไม่เข้าพัก หมดสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน
31
มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ ม.7 (2)
มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน ดังนั้น - มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน เบิกได้ (ผ่อนชำระเงินกู้) - เดิมมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน ต่อมาจดทะเบียนสมรสกับคู่สมรสที่มีบ้านเป็นกรรมสิทธิ์ หมดสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน - แม้ต่อมากรรมสิทธิ์ ได้โอนไปด้วยเหตุใด ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิ ในระหว่างรับราชการในท้องที่นั้น เว้นแต่ เคหสถานนั้นถูกทำลาย หรือเสียหายเนื่องจากภัยพิบัติจนไม่อาจพักอาศัยอยู่ได้
32
การพิจาณาคำร้องขอย้ายของตนเอง มาตรา 7 (3)
1. การร้องขอย้ายไปในท้องที่ใด จังหวัดใด สำนักงานใดแล้วส่วนราชการ มีคำสั่งให้ย้ายตามคำร้องที่ประสงค์ ย่อมให้ไม่เกิดสิทธิค่าเช่าบ้าน เว้นแต่เป็นการย้ายไปไม่ตรงกับที่ได้แจ้งความประสงค์ไว้ 2. การร้องขอย้ายที่ต้องห้ามตามมาตรา 7 (3) พิจารณาตามข้อเท็จจริง ซึ่งการที่คำสั่งย้ายไม่ได้ระบุว่าเป็นการย้ายตามคำร้อง แต่ ข้อเท็จจริงมีการร้องขอย้ายที่เกิดจากตัวข้าราชการ ย่อมไม่เกิดสิทธิ ค่าเช่าบ้าน 3. การโอนไปรับราชการอีกส่วนราชการหนึ่งไม่ถือเป็นการย้ายตามคำ ร้องขอของตนเอง ตามหนังสือเวียน ด่วนที่สุด ที่ กค /ว 109 ลว 20 ธ.ค. 2542 4. การสอบเลื่อนระดับ แล้วให้แจ้งความประสงค์เลือกท้องที่ไม่ถือ เป็นการร้องของย้าย 5. ร้องขอย้ายในท้องที่เดิมสิทธิไม่เปลี่ยน
33
ขั้นตอนการเบิกค่าเช่าบ้าน
ขั้นตอนแรก การขอรับค่าเช่าบ้าน 1. ผู้มีสิทธิยื่นคำขอรับค่าเช่าบ้าน (แบบ 6005) 2. ยื่นต่อผู้รับรองการมีสิทธิ 3. เมื่อมีการรับรองการมีสิทธิแล้ว ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติเบิกค่าเช่าบ้านแต่งตั้งคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน เป็นกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง 4. เมื่อกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงตรวจสอบแล้ว ต้องทำรายงานการตรวจสอบเสนอต่อผู้มีอำนาจอนุมัติเบิกจ่ายต่อไป ขั้นตอนสอง การขอเบิกค่าเช่าบ้านรายเดือน ผู้มีสิทธิยื่นขอเบิกค่าเช่าบ้านรายเดือน (แบบ 6006) พร้อมหลักฐานการชำระเงิน ณ สำนักงานที่ผู้นั้นปฏิบัติราชการ
34
เอกสารประกอบการเบิกจ่าย
1. แบบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้าน (แบบ 6006) 2. ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้าน หรือ ใบเสร็จรับเงินค่าซื้อ หรือชำระราคาบ้าน
35
ตัวอย่าง ค่าเช่าบ้าน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.