ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
Learning Assessment and Evaluation ดร. อาภาพรรณ ประทุมไทย วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
2
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
รูปแบบและเทคนิค การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่ 2 ดร. อาภาพรรณ ประทุมไทย วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
3
การวัดและประเมินผล ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 (ม.26)
การวัดและประเมินผล ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 (ม.26) ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจาก : พัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบ ควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
4
ระดับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การประเมินระดับชั้นเรียน เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนดำเนินการเป็นปกติและสม่ำเสมอ ในการจัดการเรียนการสอน ใช้เทคนิคการประเมินอย่างหลากหลาย เช่น การซักถาม การสังเกต การตรวจการบ้าน การประเมินโครงงาน การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน แฟ้มสะสมงาน การใช้แบบทดสอบ ฯลฯ โดยผู้สอนเป็นผู้ประเมินเองหรือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน ผู้ปกครองร่วมประเมิน ในกรณีที่ไม่ผ่านตัวชี้วัดให้มีการสอนซ่อมเสริม การประเมินระดับชั้นเรียนเป็นการตรวจสอบว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการความก้าวหน้าในการเรียนรู้ อันเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด มีสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมในด้านใด นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลให้ผู้สอนใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนของตนด้วย ทั้งนี้โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
5
ระดับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การประเมินระดับสถานศึกษา เป็นการประเมินที่สถานศึกษาดำเนินการเพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายปี/รายภาค ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน นอกจากนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายหรือไม่ ผู้เรียนมีจุดพัฒนาในด้านใด รวมทั้งสามารถนำผลการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษาไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับชาติ ผลการประเมินระดับสถานศึกษาจะเป็นข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการปรับปรุงนโยบาย หลักสูตร โครงการ หรือวิธีการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนเพื่อการจัดทำ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาและการรายงานผลการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและชุมชน
6
ระดับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ตามภาระความรับผิดชอบ สามารถดำเนินการโดยประเมินคุณภาพผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้วยข้อสอบมาตรฐานที่จัดทำและดำเนินการโดยเขตพื้นที่การศึกษา หรือด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานต้นสังกัดในการดำเนินการจัดสอบ นอกจากนี้ ยังได้จากการตรวจสอบทบทวนข้อมูลจากการประเมินระดับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
7
ระดับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การประเมินระดับชาติ เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนที่เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เข้ารับการประเมิน ผลจากการประเมินใช้เป็นข้อมูลในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ตลอดจนเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในระดับนโยบายของประเทศ
8
กระบวนการเรียนรู้ตามแนว พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542
จุดประสงค์การเรียนรู้ (หลักสูตร/รายวิชา) การวัดและประเมินผลผู้เรียน (เน้นการประเมินตามสภาพจริง/ Authentic Assessment) การจัดการเรียนการสอน, การจัดการเรียนรู้ (เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ/ Learner - Centered) หลักสูตร การเรียนการสอน
9
แนวคิดการประเมินผลการเรียนรู้
Assessment Traditional Assessment (Standardized Tests / Multiple - choice Tests) Alternative Assessment or Authentic Assessment or Performance Assessment
10
แนวคิดการประเมินผลการเรียนรู้
Traditional Authentic เน้นการตอบข้อสอบในแบบทดสอบ เน้นการปฏิบัติ (Performance-Based) เน้นเนื้อหาวิชาตามตำราที่สอน (Content-Based) การประเมินตั้งอยู่บนพื้นฐานของชีวิตจริง (Real-life) ใช้ความคิดและความสามารถในระดับต่ำ ใช้ความคิดและความสามารถในระดับสูงและซับซ้อน (Higher-order Thinking & Complex Ability) เน้นคำตอบหรือวิธีคิดที่ถูกต้องเพียงวิธีเดียว มีคำตอบ วิธีคิดและการปฏิบัติที่หลากหลาย เพื่อก่อให้เกิดแนวทางหรือวิธีการในแบบของตนเอง (Self-directed Approach) แยกการสอบออกจากการเรียนการสอน การเรียนการสอนและการวัดประเมินผลดำเนินการไปพร้อม ๆ กัน ประเมินผลโดยใช้ข้อมูลจากการทดสอบเป็นหลัก ใช้ข้อมูลจากหลายบริบทและจากการวัดที่หลากหลายวิธี (Multi-Context & Multi-Method) ครูทำหน้าที่เป็นผู้ประเมิน นักเรียน เพื่อนนักเรียน และ/หรือ ผู้ปกครองมีส่วนในการประเมินร่วมกับครู
11
รูปแบบการวัดและประเมินการเรียนรู้ 4 แบบ
ประเด็น ประเมินจัดตำแหน่ง (Placement) ประเมินย่อย (Formative) ประเมินวินิจฉัย (Diagnosis) ประเมินรวม (Summative) ช่วงเวลา ก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน จุดประสงค์ จัดกลุ่มผู้เรียนตามความรู้พื้นฐาน, เสริมความรู้/ทักษะพื้นฐานที่จำเป็น ดูความก้าวหน้า,ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้, พัฒนาการจัดการเรียนการสอน หาสาเหตุในการพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอน, ซ่อมเสริม/รักษาผู้เรียน ตัดสินผลการเรียน, เลื่อนชั้น เลื่อนระดับ เครื่องมือ ที่ใช้ แบบสอบความพร้อม, ก่อนเรียน, สำรวจตนเอง, วัดความถนัด แบบสอบ, แบบสังเกต.แบบสัมภาษณ์. แบบสอบปากเปล่า แบบสอบวินิจฉัยทั่วไป/ที่ครูสร้างขึ้น, การใช้เทคนิคการสังเกต แบบสอบที่ครูสร้างขึ้น, มาตรประมาณค่า, การสัมภาษณ์ปากเปล่า ข้อมูล/สารสนเทศที่ได้ ความรู้พื้นฐานเดิม, สติปัญญา, ความถนัด, ความสนใจ, เจตคติ, ค่านิยม, ความคิดเห็น, ความคาดหวัง เป็นต้น สิ่งที่รอบรู้/ไม่รอบรู้, สิ่งที่ทำได้/ทำไม่ได้,พัฒนาการและความ ก้าวหน้า, ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอน สาเหตุที่ไม่ประสบผล สำเร็จในการเรียน (IQ, EQ, ความรู้เดิม, ความสนใจ เจตคติ เป็นต้น), ความคลาดเคลื่อนของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ตามขอบเขตเนื้อหาและจุดประสงค์ของรายวิชา
12
หลักการและกระบวนการ ในการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
วัดให้ตรงกับวัตถุประสงค์/คุณลักษณะที่เราต้องการจะวัด ใช้เครื่องมือที่ดี มีคุณภาพ มีความยุติธรรม แปลผลได้ถูกต้อง ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า
13
ความผิดพลาดที่อาจทำให้การวัดไม่ตรงกับวัตถุประสงค์
1) ไม่เข้าใจในคุณลักษณะที่ต้องวัด 2) ใช้เครื่องมือไม่สอดคล้องกับตัวแปรที่จะวัด 3) ผู้ดำเนินการวัดขาดความชำนาญ 4) วัดได้ไม่ครบถ้วน 4) เลือกกลุ่มตัวอย่างไม่เหมาะสม
14
นิสิตคิดว่า ครูควรมีทักษะและความรู้ความสามารถในเรื่องใดบ้าง เพื่อให้การวัดและประเมินผลเป็นไปอย่างถูกต้อง
15
หลักการดำเนินงานในการวัดและประเมินผลการศึกษา
1. กำหนดจุดมุ่งหมายหรือวางแผนงานของการวัดและประเมินผลให้ชัดเจนว่า จะวัดและประเมินผลไปทำไม จะวัดจะสอบเรื่องอะไร ใช้วิธีการอย่างไร เครื่องมือที่ใช้ และบุคลากรพร้อมที่จะปฏิบัติการได้เพียงใด 2. วิเคราะห์เป้าหมายของการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้น ต้องทราบว่าสิ่งที่ต้องการวัดและประเมินผลคืออะไร เช่น วัดความสามารถทางสติปัญญา ความรู้สึกนึกคิด หรือพฤติกรรมที่เกี่ยวกับทักษะการปฏิบัติของบุคคล โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องกับหลักสูตรและจุดประสงค์ของการสอน
16
หลักการดำเนินงานในการวัดและประเมินผลการศึกษา
(ต่อ) 3. ต้องคำนึงถึงบุคคลผู้เข้ารับการทดสอบและผลการทดสอบ สถานที่สอบ เวลา แรงงาน ค่าใช้จ่าย มาตรฐานข้อสอบ ตลอดจนการพิจารณาว่า..... - การสอบนี้จัดขึ้นเพื่ออะไร เช่น เพื่อแบ่งหมวดหมู่/จัดประเภท เพื่อวินิจฉัยเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อสำรวจพื้นฐานความรู้เดิม เพื่อค้นหาสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบผลแน่ชัดมาก่อน เพื่อเปรียบเทียบและพยากรณ์ความสามารถ เพื่อเก็บคะแนน เพื่อเลื่อนชั้น เพื่อรับทุน/รับรางวัล เพื่อประเมินค่า เพื่อรายงานผลต่อผู้ปกครอง เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในการเรียนการสอน ฯลฯ - การทดสอบนี้จัดไว้สำหรับใคร เด็กชั้นไหน วัยไหน จัดสอบเป็นรายบุคคล หรือเป็นหมู่ มาตรฐานความรู้เดิมเป็นอย่างไร ใช้วัดในด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติ บุคลิกภาพ หรือวิธีทำงาน เป็นต้น
17
หลักการดำเนินงานในการวัดและประเมินผลการศึกษา
(ต่อ) 4. ต้องทำการวัดต่อเนื่องกันไปอย่างสม่ำเสมอ วัดทุกครั้งที่มีการสอนวัดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ด้วยวิธีการต่าง ๆ กัน มีเนื้อหาที่วัดเพียงพอกับความต้องการ และเป็นตัวแทนเนื้อหาทั้งหมดที่เชื่อถือได้ 5. การวัดผลนั้นจะต้องเป็นเครื่องช่วยให้การปฏิบัติงานการสอนดำเนินไปได้ด้วยดี มิใช่ใช้การวัดผลเป็นการสรุปผลการเรียนการสอน และมิใช่วัดว่านักเรียนได้ลืมสิ่งที่เรียนไปแล้วมากน้อยเพียงใด 6. ต้องคำนึงถึงความสั้นยาวของข้อสอบ ความยากง่ายของภาษาที่ใช้ กระดาษคำตอบ แบบเฉลย เกณฑ์การให้คะแนน คุณภาพของเครื่องมือวัด การจัดบันทึกผลการทดสอบไว้เป็นหลักฐานทั้งข้อดีและข้อแก้ไข มาตรฐานการวัดและการเปรียบเทียบได้ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษร สามารถอ้างอิงได้ ตรวจค้นได้ง่ายและสะดวก
18
หลักการดำเนินงานในการวัดและประเมินผลการศึกษา
(ต่อ) 7. ต้องมีแนวหรือมีเกณฑ์ที่เป็นสากล เพื่อให้ผู้จัดการทดสอบและผู้เข้ารับการทดสอบมีความเข้าใจตรงกันถึงสิ่งที่จะทำการทดสอบ โดยแจ้งรายการหรือรายละเอียดให้ผู้คุมสอบและผู้เข้าสอบทราบล่วงหน้าก่อนเสมอ เช่น วิธีสอบ ขอบเขต เกณฑ์การพิจารณาตัดสิน เป็นต้น 8. ต้องคำนึงถึงปัจจัยรอบด้านต่างๆ ที่จะมีอิทธิพลต่อการแสดงความสามารถของผู้เรียน ทั้งสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและจิตวิทยา 9. การตรวจให้คะแนนต้องคำนึงถึงความยุติธรรม ทำด้วยใจเป็นกลาง ไม่ลำเอียงหรืออคติ 10. ต้องนำผลการวัดและประเมินที่ได้ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่ากับทรัพยากรที่ใช้ไปให้มากที่สุด
19
แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
เป้าหมายสำคัญของการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ นำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไข ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียนโดยตรง นำผลการประเมินไปปรับปรุงแก้ไขการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และนำผลการประเมินไปใช้ในการพิจารณาตัดสินความสำเร็จทางการศึกษาของผู้เรียน
20
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย
1. การประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ 1.1 การประเมินก่อนเรียน (1) การประเมินความพร้อมและพื้นฐานของผู้เรียน (2) การประเมินความรอบรู้ในเรื่องที่จะเรียนก่อนเรียน 1.2 การประเมินระหว่างเรียน (1) การประเมินด้วยการสื่อสารส่วนบุคคล (2) การประเมินจากการปฏิบัติ (3) การประเมินสภาพจริง) (4) การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน 1.3 การประเมินเพื่อสรุปผลการเรียน (1) การประเมินผลหลังเรียนในแต่ละหน่วยการเรียน (2) การประเมินผลการเรียนปลายภาค/ปลายปี
21
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย
2. การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรมพัฒนาผู้เรียน: กิจกรรมแนะแนว, กิจกรรมนักเรียน (ชุมนุม, ลูกเสือ เนตรนารี เป็นต้น) 2.1 การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายกิจกรรม 2.2 การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านช่วงชั้น 3. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3.1 การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์รายภาค 3.2 การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผ่านช่วงชั้น
22
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย
4. การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน 4.1 การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน แต่ละปีการศึกษา 4.2 การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ผ่านช่วงชั้น 5. การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (National test) แนวทางการวัดและประเมินผล “เน้นการมีส่วนร่วม ตรวจสอบได้ มุ่งใช้เพื่อพัฒนา นำพาวิธีการหลากหลาย เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเรียนการสอน” ที่มา: ผศ.ดร.ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง, 2551
23
จุดมุ่งหมายทางการศึกษากับการวัดและประเมินผล
O = Objective = จุดมุ่งหมาย L = Learning Experience = การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ E = Evaluation = การประเมินผล
24
1. จุดมุ่งหมาย (Objective) การเรียนการสอน
L 1. จุดมุ่งหมาย (Objective) การเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยเน้นที่เป้าหมายของการสอน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ความคิด (ด้านพุทธิพิสัย) ด้านเจตคติ (ด้านจิตพิสัย) คือการได้เห็นคุณค่า เห็นความสำคัญ และด้านทักษะ (ด้านทักษะพิสัย) คือการปฏิบัติได้ถูกต้องตามวัย
25
2. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (Learning Experience)
O E L 2. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (Learning Experience) เป็นกิจกรรมที่สำคัญในกระบวนการทางการศึกษา เพราะเป็นการนำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ คุณภาพของการศึกษาจะดีหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นกับการสอนเป็นสำคัญ ซึ่งจะทำหน้าที่พัฒนาและเสริมสร้างผู้เรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และมีประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มขึ้น
26
3. การประเมินผล (Evaluation)
เป็นการติดตามผลการจัดการเรียนการสอนว่า ผู้เรียนบรรลุผลมากน้อยเพียงใดตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคน โดยขึ้นอยู่กับการพัฒนาทางสติปัญญาและทางร่างกายซึ่งมีความแตกต่างกัน การประเมินผลการเรียนจะเชื่อมโยงกับจุดมุ่งหมายทางการศึกษาและวิธีการเรียนการสอน กล่าวคือ ผู้สอนมักจะตั้งความหวังก่อนสอนว่าต้องการจะให้ผู้เรียนรู้อะไร เกิดพฤติกรรมอะไร หรือทำอะไรได้บ้าง ซึ่งความหวังนี้เรียกว่า จุดมุ่งหมายทางการศึกษา ซึ่งมี 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย วิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนจึงต้องเกี่ยวพันกับจุดมุ่งหมายการศึกษา
27
ระดับจุดมุ่งหมายทางการศึกษา (Educational Objectives)
ระดับชาติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ “ ความมุ่งหมาย” ระดับหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จุดมุ่งหมาย” มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น หลักสูตรสถานศึกษา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Learning outcomes) ระดับการเรียนการสอน รายวิชา จุดประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objectives)
28
ประเภทของจุดมุ่งหมายทางการศึกษา
จุดมุ่งหมายทั่วไป (General Objectives) เป็นการกำหนดความต้องการที่จะให้ผู้เรียนได้รับผลจากการศึกษาไว้กว้าง ๆ โดยไม่ได้ระบุพฤติกรรมไว้ชัดเจน จุดมุ่งหมายระดับนี้จึงวัดได้ยาก สังเกตได้ยาก ตัวอย่างเช่น หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ ๑. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตน ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะ ชีวิต” ฯลฯ
29
ประเภทของจุดมุ่งหมายทางการศึกษา
จุดมุ่งหมายเฉพาะ (Specific Objectives) เป็นจุดมุ่งหมายที่ผู้จัดทำหลักสูตรได้นำมาใช้เฉพาะในแต่ละกลุ่มวิชา หรือรายวิชา ตัวอย่างเช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดไว้ ดังนี้ สาระที่ ๑ การอ่าน มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิด เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน ตัวชี้วัดช่วงชั้น (ม. ๔ – ม. ๖) ๑. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้อย่างถูกต้อง ไพเราะ และเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน ๒. ตีความ แปลความ และขยายความเรื่องที่อ่าน ๓. วิเคราะห์และวิจารณ์เรื่องที่อ่านในทุกๆ ด้านอย่างมีเหตุผล ฯลฯ
30
ประเภทของจุดมุ่งหมายทางการศึกษา
จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives) เป็นจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา ที่เขียนขึ้นมาอย่างชัดเจน โดยเน้นถึงพฤติกรรมและเนื้อหาย่อยๆ เป็นการเฉพาะ ในลักษณะของการบ่งบอกถึงพฤติกรรมของนักเรียนที่ควรจะเกิดขึ้น และสามารถสังเกตหรือวัดได้ เมื่อเขาได้เรียนรู้เนื้อหานั้นแล้ว ซึ่งจะเขียนเป็นวัตถุประสงค์ย่อย ๆ ในแต่ละเนื้อหา ตัวอย่างเช่น จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของรายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง จำนวนและตัวเลข” 1. เขียนจำนวนและตัวเลขที่มีค่าไม่เกิน 100,000 ได้อย่างถูกต้อง 2. อธิบายความหมายของ 1 สิบ 10 สิบ 100 สิบ ได้อย่างถูกต้อง ฯลฯ
32
ประเภทของการเรียนรู้ จำแนกตามจุดมุ่งหมายทางการศึกษา
ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
33
เก่ง ดี มีความสุข ปัญญา ร่างกาย จิตใจ ความรู้ ความสามารถ
- K (Knowledge) - C (Cognitive Domain) การปฏิบัติ (Performance) ทักษะ (Skills) - P (Process, Product) - S (Skills) - P (Psychomotor Domain) เก่ง ปัญญา ร่างกาย พฤติกรรม การแสดงออก (ความคิด อารมณ์ คุณธรรม จริยธรรม) - A (Attitude, Value) - A (Affective Domain) ดี จิตใจ มีความสุข
34
พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย เป็นการเรียนรู้ด้านความรู้ ความคิด ที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางสมองหรือสติปัญญา ตามแนวคิดของ บลูม (Benjamin S. Bloom) และคณะ โดยจำแนกพฤติกรรมในขอบเขตนี้ ออกเป็น 6 ระดับใหญ่ๆ (Bloom’s Taxonomy) โดยเรียงจากพฤติกรรมที่สลับซับซ้อนน้อยไปหามาก ปี 2001 Anderson (ลูกศิษย์ของ Bloom) และ Krathwohl ได้ปรับปรุงกลุ่มพฤติกรรมขึ้นใหม่ เพื่อสะท้อนถึงการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ Bloom’s Taxonomy ดั้งเดิม
35
Bloom’s Revised Taxonomy
Revised version Original version Noun Form Verb Form (Anderson & Krathwohl, 2001) (Bloom, 1956)
36
Bloom’s Revised Taxonomy (2001)
37
ระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ คำบ่งการกระทำ
คำที่แสดงการกระทำจำแนกตามระดับต่างๆ ของพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ คำบ่งการกระทำ จำ: ผู้เรียนสามารถระลึกหรือจดจำข้อมูลได้หรือไม่ เป็นคำถามที่วัดความสามารถทางสมองของผู้เรียนในการรับรู้(ฟัง/อ่าน) รักษาความรู้ (จำ) และระลึก (ตอบ) เกี่ยวกับความรู้ ข้อเท็จจริง เรื่องราวหรือประสบการณ์ต่างๆ นั้นได้ถูกต้องตรงตามคำบรรยาย คำสอน การบอกล่าว การฝึกฝนของผู้สอน รวมทั้งจากเอกสารตำราและสิ่งแวดล้อมต่างๆ แบ่งเป็น 1. ความรู้ในเนื้อหา 1.1 ศัพท์, นิยาม (จำนิยาม สัญลักษณ์ เครื่องหมาย) 1.2 กฎและความจริง (จำความจริง สูตร กฎ ทฤษฎี) 2. ความรู้ในวิธีดำเนินการ 2.1 ระเบียบแบบแผน (จำประเพณี ระเบียบ ข้อตกลง) 2.2 ลำดับขั้นและแนวโน้ม (จำขั้นตอนการปฏิบัติ) 2.3 การจัดประเภท (จำการจัดหมวดหมู่ ประเภท ชนิดของสิ่งต่างๆ) 2.4 เกณฑ์ (จำคุณสมบัติที่ใช้ในการจำแนก/ตัดสิน) 2.5 วิธีการ (จำวิธีการดำเนินงาน) 3. ความรู้รวบยอดในเนื้อเรื่อง 3.1 หลักการและนัยทั่วไป (จำหลักการสำคัญและการสรุปอ้างอิง) 3.2 ทฤษฎีและโครงสร้าง (จำทฤษฎีและโครงสร้างของคุณลักษณะตามหลักการหรือทฤษฎี) ให้คำจำกัดความ (define), จำลอง (duplicate), จัดทำรายการ (list), จดจำ (memorize), ระลึก (recall), พูดซ้ำ (repeat), คัดลอก (reproduce state)
38
ระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ คำบ่งการกระทำ
คำที่แสดงการกระทำจำแนกตามระดับต่างๆ ของพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ คำบ่งการกระทำ เข้าใจ: ผู้เรียนสามารถอธิบายความคิดหรือความคิดรวบยอดได้หรือไม่ เป็นคำถามที่วัดความสามารถทางสมองของผู้เรียนในการเรียนรู้ จำ และสื่อสาร (บอก/เล่า/อธิบาย) ความรู้นั้นออกมาได้อย่างถูกต้อง สามารถนำความรู้ไปดัดแปลงเพื่ออธิบายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับของเดิมได้ แบ่งเป็น 1. การแปลความ (บอกความหมายตามนัยของคำ กิจกรรม) - เป็นการถามให้แปลความหมายคำ กลุ่มคำ ประโยค ข้อความ แปลภาพ สัญลักษณ์ ตางราง กราฟ การยกตัวอย่าง หรือการเปรียบเทียบ เปรียบเปรย ต่างๆ 2. การตีความ (นำผลการแปลความมาเปรียบเทียบเป็นข้อยุติ) - เป็นการถามให้ตีความของเรื่อง ตีความของข้อเท็จจริง หรือนำผลของการแปล ความหลายๆ อันมาเปรียบเทียบแล้วสรุปเป็นเนื้อความใหม่ 3. การขยายความ (เปรียบเทียบความหมายของคำ/กิจกรรม ที่กว้างไกลออกไปจาก เดิม) - เป็นการถามให้คาดคะเน พยากรณ์แนวโน้ม ความคิด การขยายความแบบสมมติ แยกหมวดหมู (classify), บรรยาย (describe), อภิปราย (discuss), ชี้แจงเหตุผล (explain), จำแนก (identify), หาแหล่งที่ตั้ง (locate), จำแนกออก (recognize), รายงาน (report), คัดสรร (select), แปลความ (translate), การถอดความ (paraphrase)
39
ระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ คำบ่งการกระทำ
คำที่แสดงการกระทำจำแนกตามระดับต่างๆ ของพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ คำบ่งการกระทำ ประยุกต์ใช้: ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ไปจากเดิมได้หรือไม่ เป็นคำถามที่วัดความสามารถในการนำความรู้ ความเข้าใจที่มีอยู่ไปใช้ในการแก้ปัญหาของสิ่งนั้นในสถานการณ์ใหม่ เป็นการถามให้ตัวอย่างใหม่ของหลักวิชา ถามให้อธิบายหลักวิชา ถามให้แก้ปัญหา หรือถามเหตุของการปฏิบัติ เลือก (choose), แสดง (demonstrate), เล่นละคร (dramatize), บริการอาชีพ (employ), อธิบายพร้อมตัวอย่าง (illustrate), ปฏิบัติการ (operate), กำหนดการทำงาน (schedule), ร่าง (sketch), แก้ปัญหา (solve), ใช้ (use), เขียน (write)
40
ระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ คำบ่งการกระทำ
คำที่แสดงการกระทำจำแนกตามระดับต่างๆ ของพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ คำบ่งการกระทำ วิเคราะห์: ผู้เรียนสามารถจำแนกความแตกต่างระหว่างส่วนต่างได้หรือไม่ เป็นคำถามที่วัดความสามารถในการแยกแยะองค์รวมของสิ่งต่างๆ ออกเป็นส่วนประกอบย่อยๆ ได้ ทำให้เห็นโครงสร้างของสิ่งนั้น แบ่งเป็น 1. วิเคราะห์ความสำคัญ - เป็นการถามองค์ประกอบที่สำคัญ วัตถุประสงค์ สาระสำคัญ หัวใจของ เรื่อง สาเหตุ ต้นกำเนิด 2. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ - เป็นการถามความสอดคล้องสัมพันธ์ ความขัดแย้งกัน เหตุและผลที่ ตามมา 3. วิเคราะห์หลักการ - เป็นการถามโครงสร้าง หลัก หรือวิธีการที่ยึดถือ ประเมินค่า (appraise), เปรียบเทียบ (compare), แตกต่าง (contrast), วิจารณ์ (criticize), จำแนก (differentiate), แบ่งแยก (discriminate), วินิจฉัย (distinguish), ตรวจสอบ (examine). ทดลอง (experiment)
41
ระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ คำบ่งการกระทำ
คำที่แสดงการกระทำจำแนกตามระดับต่างๆ ของพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ คำบ่งการกระทำ ประเมินค่า: ผู้เรียนสามารถพิสูจน์หรือตัดสินใจได้หรือไม่ เป็นคำถามที่วัดความสามารถในการตีค่าหรือตัดสินคุณค่าของสิ่งต่างๆ ตามเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ แบ่งเป็น 1. อาศัยข้อเท็จจริงภายใน - เป็นการถามความถูกต้องเหมาะสมของเรื่อง คุณค่าของผลงาน ประสิทธิภาพของวิธีการและการปฏิบัติ โดยอาศัยเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้น 2. ประเมินค่าโดยใช้เกณฑ์ภายนอก - เป็นการถามความถูกต้องเหมาะสมของเรื่อง คุณค่าของผลงาน ประสิทธิภาพของวิธีการและการปฏิบัติ โดยอาศัยเกณฑ์ภายนอกที่เกี่ยวกับแบบแผนทางสังคม ลัทธิการปกครอง ค่านิยม คุณธรรมต่างๆ ประเมินค่า (appraise), อภิปราย (argue), แก้ต่าง (defend), พิจารณาตัดสิน (judge), เลือก (select), สนับสนุน (support), ให้คุณค่า (value), ประเมินค่า (evaluation)
42
ระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ คำบ่งการกระทำ
คำที่แสดงการกระทำจำแนกตามระดับต่างๆ ของพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ คำบ่งการกระทำ สร้างสรรค์: ผู้เรียนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ หรือความคิดมุมมองใหม่ๆ ได้หรือไม่ เป็นคำถามที่วัดเกี่ยวกับการรวบรวมส่วนย่อยๆ ของสิ่งต่างๆ เพื่อให้เป็นสิ่งใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากเดิมหรือเป็นข้อสรุปข้อยุติ แบ่งเป็น 1. สร้างสรรค์ข้อความ - เป็นการถามเพื่อให้แต่งบทประพันธ์ เรื่องราวต่างๆ อภิปราย วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น 2. สร้างสรรค์แผนงาน - เป็นการถามแนวทางดำเนินการโครงการ แผนปฏิบัติ การเตรียมการเพื่อ เป้าหมาย เป็นคำถามที่มีการยกสถานการณ์แล้วให้เสนอแผนงาน แก้ปัญหา หรือเขียนแผนการทำงานตามสถานการณ์ หรือเสนอขั้นตอน การปฏิบัติงานตามสถานการณ์ 3. สร้างสรรค์ความสัมพันธ์ - เป็นการถามให้นำรายละเอียดมาตั้งสมมติฐานใหม่ เชื่อมโยง ความสัมพันธ์ หาข้อสรุปหรือข้อยุติที่เหมาะสม วาดภาพ สรุปแทน เรื่องราว หรือทำสิ่งประดิษฐ์ (ในกรณีปฏิบัติ) รวบรวม (assemble), สร้าง (construct), สร้างสรรค์ (create), ออกแบบ (design), พัฒนา (develop), คิดสูตร คิดระบบ (formulate), เขียน (write)
43
จิตพิสัย (Affective Domain)
พฤติกรรมด้านจิตพิสัยเป็นการเรียนรู้และพัฒนาการด้านอารมณ์ ความรู้สึกปรุงแต่งทางจิตใจ เช่น เจตคติ ค่านิยม คุณธรรมและจริยธรรม เป็นต้น การจำแนกและจัดลำดับของกระบวนการทางจิตใจ มีปัญหายุ่งยาก เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายในของแต่ละบุคคล มีความละเอียดอ่อน และซับซ้อนกว่าด้านพุทธิพิสัยมาก และจากการศึกษาวิจัยพบว่า การเรียนรู้ด้านจิตพิสัยมีผลต่อการเรียนรู้ด้านพุทธิสัยและทักษะพิสัยด้วย แครธโวล, บลูม และมาเชีย (Krathwohl, Bloom & Masia, 1964) ได้ศึกษาวิจัยการเรียนรู้ด้านอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ และจัดระดับการเรียนรู้ด้านจิตพิสัยที่พัฒนาขึ้นในตัวบุคคลจากระดับจนถึงระดับสูงไว้ 5 ระดับ
44
จิตพิสัย (Affective Domain)
การสร้างลักษณะตามค่านิยม (Characterization) การจัดระบบค่านิยม (Organization) การเห็นคุณค่า หรือ การสร้างค่านิยม (Valuing) การตอบสนอง (Responding) การรับรู้ (Receiving) บุคลิกภาพ, คุณธรรม, จริยธรรม, ค่านิยม, เจตคติ, ความคิดเห็น, ความซาบซึ้ง, ความสนใจ, ความตระหนัก
45
จิตพิสัย (Affective Domain)
1.0 การรับรู้ (Receiving or Attending) เป็นความสามารถในการรู้สึกต่อสิ่งที่ปรากฏให้เห็นตามธรรมชาติหรือต่อสิ่งเร้า ให้ความสนใจเก็บเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 2.0 การตอบสนอง (Responding) เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกว่าสนใจต่อปรากฏการณ์หรือสิ่งเร้าอย่างจริงจัง และมีปฏิกริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นด้วยความยินยอมหรือเต็มใจ 3.0 การเห็นคุณค่า (Valuing) เป็นการแสดงที่เกิดจากความสำนึกในคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ มีการยอมรับและตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือเหตุการณ์นั้น ๆ ในลักษณะของความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม เป็นต้น (บุคคลเชื่อว่าสิ่งนั้นมีคุณค่าสำหรับตน) 4.0 การจัดระบบค่านิยม (Organization) เป็นการที่บุคคลรวบรวมค่านิยมต่าง ๆ ที่เชื่อถือมาพิจารณาจัดพวกเข้าหมวดหมู่เดียวกัน เช่น ค่านิยมของการมีระเบียบวินัย: วินัยในการเข้าแถว เข้าเรียน การทำงาน การต่อแถวซื้อสินค้า เป็นต้น 5.0 การสร้างลักษณะนิสัยตามค่านิยม (Characterization by Valuing) เป็นการที่บุคคลนำระบบค่านิยมที่สร้างขึ้นมาผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพและปรัชญาชีวิต ค่านิยมจึงเป็นแรงขับภายในที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงออกทางพฤติกรรมตามค่านิยมนั้น
46
ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย เป็นการเรียนรู้ด้านการกระทำ ทักษะการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย การใช้อวัยวะทางร่างกายที่สัมพันธ์กับความคิด เช่น การพูด อ่าน เขียน การเล่นกีฬา การทำอาหาร เป็นต้น ซิมสัน (Elizabeth J. Simpson, 1966) ได้จำแนกพัฒนาการทางทักษะปฏิบัติเป็น 7 ระดับ
47
ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
การริเริ่ม (Origination) การดัดแปลง (Adaptation) การตอบสนองที่ซับซ้อน (Complex overt response) การปฏิบัติจนเป็นนิสัย (Mechanism) การตอบสนองตามคำแนะนำ(Guided response) การพร้อมที่จะปฏิบัติ (Set) การรับรู้ของระบบประสาท,กล้ามเนื้อ (Perception) ทักษะกระบวนการ, การแสดงออก, การปฏิบัติ (Performance)
48
ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
1.00 การรับรู้ของประสาทและกล้ามเนื้อ (Perception) เป็นขั้นแรกของการกระทำทางกล้ามเนื้อเป็นกระบวนการของการรับรู้วัตถุสิ่งของ คุณภาพ หรือความสัมพันธ์ ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 2.00 การพร้อมที่จะปฏิบัติ (Set) เป็นการเตรียมพร้อมและปรับตัวที่จะกระทำ หรือเตรียมพบประสบการณ์ใหม่ ๆ การเตรียมพร้อมที่นี้ มีอยู่ 3 ด้าน คือ ทางสมอง ทางร่างกาย และทางอารมณ์ 3.00 การสนองตอบตามคำแนะนำ (Guided Response) อาจถือเป็นขั้นแรกในการพัฒนาทักษะโดยตรง ทั้งนี้เพราะเน้นหนักที่ความสามารถในการแสดงออกทางทักษะที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การปฏิบัติตามคำแนะนำของครูผู้สอน หรืออาจเป็นการตัดสินใจของตัวเองตามหลักเกณฑ์หรือแบบแผนอย่างใดอย่างหนึ่ง ความพร้อมที่จะสนองตอบจึงเป็นสิ่งแรกที่จำเป็นต้องมีก่อนลงมือปฏิบัติ
49
ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
4.00 การสร้างกลไก/การปฏิบัติจนเป็นนิสัย (Mechanism) คือ การที่บุคคลสามารถสัมฤทธิ์ผลในการปฏิบัติอย่างเชื่อมั่นและมีประสิทธิภาพสูง จนเกิดเป็นพฤติกรรมที่เป็นกิจนิสัย การสนองตอบจึงมักจะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นด้วย และมีรูปแบบในการปฏิบัติที่เด่นชัดขึ้นในทุกๆ สถานการณ์ที่พบนั้น 5.00 การสนองตอบสิ่งที่ซับซ้อนขึ้น (Complex Overt Response) คือการปฏิบัติกิจกรรมหรือสิ่งที่ยุ่งยากและซับซ้อนขึ้น โดยแสดงให้เห็นชัดเจนว่ามีทักษะในการกระทำสามารถกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่น โดยใช้พลังงานและเวลาน้อย และไม่ต้องใช้ความคิดมากนัก
50
ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
6.00 การดัดแปลงให้เหมาะสม (Adaptation) เป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติ เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาใหม่ โดยบุคคลที่มีการปฏิบัติจนชำนาญแล้ว จะสามารถหาวิธีการอื่นมาลองทำเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น 7.00 การริเริ่มใหม่ (Origination) เป็นการนำทักษะทางร่างกายที่มีอยู่ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรสิ่งใหม่ๆ ด้วยตนเอง เช่น การสร้างสรรค์ท่าเต้นรำขึ้นใหม่ พฤติกรรมระดับนี้จึงอาศัยการทำงานร่วมกันของสมรรถภาพทางสมอง กับทักษะทางร่างกาย
51
จุดประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objectives)
จุดประสงค์การเรียนรู้ คือ จุดประสงค์ของการเรียนการสอนในแต่ละบทเรียน ซึ่งกำหนดขึ้นจากการยึดเอาตัวผู้เรียนเป็นหลัก โดยคาดหวังว่าถ้าหากผู้เรียนผ่านการเรียนรู้ในบทเรียนนั้นๆ แล้ว ผู้เรียนจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ลักษณะของจุดประสงค์การเรียนรู้ จะเป็นข้อความที่ระบุความรู้ความสามารถ พฤติกรรมการแสดงออก และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ รวมทั้งการปฏิบัติ และทักษะต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน อันเป็นผลจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ ภายหลังการเรียนการสอนเสร็จสิ้นแล้ว การกำหนดจุดประสงค์ในแบบดังกล่าวนี้ คาดว่าจะช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนให้เกิดทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล (efficiency and effectiveness) มากยิ่งขึ้น เพราะเป็นจุดมุ่งหมายที่ยึดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือที่เรียกว่า จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral objectives) ซึ่งผู้สอนสามารถสังเกตและวัดได้อย่างใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่า
52
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม หมายถึง พฤติกรรมปลายทางที่คาดหวัง ทั้งด้านพุทธพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ว่าเมื่อการเรียนการสอนสิ้นสุดลง ผู้เรียนสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยทั่วไปการกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมนั้นจะเขียนในรูปพฤติกรรมที่สังเกตได้ วัดได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ภายใต้สถานการณ์ที่กำหนด การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ดีเป็นหัวใจสำคัญของการเขียนแผนการสอน หากมีความคลุมเครือและเป็นพฤติกรรมแฝงที่สังเกตได้ไม่ชัดเจน ก็จะทำให้การประเมินผลเป็นไปด้วยความยากลำบาก
53
Behavioral Objectives
Conditions Behavioral verb Criterion Behavioral Objectives องค์ประกอบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
54
- ถ้ากำหนดบทความที่เกี่ยวกับคำราชาศํพท์ให้อ่านแล้ว
เงื่อนไข (Condition) เงื่อนไข เป็นการบรรยายถึงพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกภายใต้สถานการณ์สภาพการณ์ บริบท คำสั่ง เครื่องมืออุปกรณ์ ขั้นตอนต่างๆ ซึ่งผู้เรียนจะได้รับเบื้องต้นก่อนการแสดงพฤติกรรม เงื่อนไขมักมีคำว่า “ถ้า.....แล้ว” “เมื่อกำหนด....ให้แล้ว” “หลังจาก.....แล้ว” เป็นต้น ตัวอย่างเช่น - ถ้ากำหนดบทความที่เกี่ยวกับคำราชาศํพท์ให้อ่านแล้ว - เมื่อกำหนดคำศัพท์ให้ 10 คำ - เมื่อนักเรียนเรียนเรื่องการวิจัยในชั้นเรียนแล้ว - (เขียนวงกลม) โดยไม่ใช้วงเวียน - หลังจากดูรูปภาพแล้ว
55
พฤติกรรมที่คาดหวัง (Behavior verb)
พฤติกรรมที่คาดหวัง คือ คำกริยาที่ใช้ระบุการกระทำพฤติกรรม (Action words) อย่างเห็นได้ชัด สังเกตและวัดได้อย่างชัดเจน เมื่อได้รับเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้ว หรือเมื่อผู้เรียนได้ผ่านการเรียนรู้บทเรียนนั้นไปแล้ว ตัวอย่างเช่น - นักเรียนสามารถเขียนวงกลมได้ - นักเรียนสามารถบอกความหมายของคำศัพท์ได้ - นักเรียนสามารถสร้างกระโปรงจากกระดาษได้ - นักเรียนสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรได้ - นักเรียนสามารถหาผลบวกของเลข 3 หลักได้ - นักเรียนสามารถทดลองให้เห็นจริงได้ว่าแม่เหล็กจะวางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ตลอดเวลา คำที่บ่งการกระทำ + เรื่องที่กระทำ
56
เกณฑ์ (criterion) เกณฑ์ เป็นข้อความที่ระบุให้ทราบถึงระดับคุณภาพของการแสดงพฤติกรรมที่คาดหวังของผู้เรียน โดยเกณฑ์ที่กำหนดไว้จะเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำ (minimum criteria) เพื่ออธิบายให้ทราบว่าผู้เรียนจะต้องปฏิบัติให้ดีเพียงใด หรือพฤติกรรมของผู้เรียนควรอยู่ในระดับใด ครูผู้สอนจึงจะพอใจว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในบทเรียนนั้นๆ แล้ว การกำหนดเกณฑ์อาจระบุเป็น ค่าตัวเลข ร้อยละ ปริมาณงานที่สำเร็จ ระยะเวลา จำนวนผลงาน เป็นต้น ตัวอย่างเช่น - ถูกต้อง 7 ใน 10 คำ - อย่างน้อย 7 ข้อ จากจำนวน 10 ข้อ - ได้ถูกต้องอย่างน้อย 80 % - เสร็จในเวลา 5 นาที - เป็นเก้าอี้ที่ใช้นั่งได้ - ถูกทั้งหมด
57
ตัวอย่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
นักเรียนสามารถบอกความหมายของคำศัพท์ เมื่อกำหนดคำศัพท์ให้ 10 คำ ได้ถูกต้อง 8 ใน 10 คำ นักเรียนสามารถเขียนวงกลม โดยไม่ใช้วงเวียน เสร็จในเวลา 5 นาที นักเรียนสามารถหาผลบวกของเลข 2 หลัก ได้ถูกต้องอย่างน้อยร้อยละ 80 จากโจทย์ที่กำหนดให้ เมื่อกำหนดอุปกรณ์สำเร็จรูปให้ นักเรียนสามารถแสดงวิธีการใช้และ การเก็บรักษาอุปกรณ์เหล่านั้น ได้อย่างถูกต้อง เมื่อกำหนดชื่อยาสามัญประจำบ้านให้ นักเรียนสามารถอธิบายสรรพคุณ วิธีใช้ และข้อควรระวัง อย่างสังเขปได้
58
ประเภทของการเรียนรู้ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
กิจกรรมในชั้นเรียน ให้นิสิตจับกลุ่ม กลุ่มละ5-6 คน เพื่อเขียน ‘จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม’ ในเนื้อหาการสอนที่นิสิตสนใจ จำแนกตามประเภทของการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน (พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย) มาอย่างน้อยด้านละ 3 ข้อ จากนั้นนำเสนอหน้าชั้นเรียน ประเภทของการเรียนรู้ เนื้อหาการสอน จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม พุทธิพิสัย เรื่อง
59
แบบฝึกหัด 1 ให้นิสิตพิจารณาข้อความต่อไปนี้ แล้วระบุว่าเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย หรือทักษะพิสัย โดยการทำเครื่องหมาย ลงในช่องว่างที่กำหนด สิ่งที่วัด พฤติกรรมการเรียนรู้ พุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย 1. เจตคติต่อวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2. ความสามารถในการเล่นบาสเก็ตบอล 3. ความถนัดทางการคำนวณ 4. จิตสำนึกในการรักษาความสะอาด 5. การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ 6. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพละศึกษา 7. ความสนใจทางด้านนาฏศิลป์ 8. การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา 9. ทักษะการประกอบอาหาร 10. ความสามารถในการคิดค้นสูตรเคมี
60
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
แบบฝึกหัด 2 จากข้อความต่อไปนี้ ให้ระบุว่าข้อใดเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยการทำเครื่องหมาย ลงในช่องว่างที่กำหนด และขีดเส้นใต้ข้อความดังต่อไปนี้ ข้อความ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็น ไม่เป็น 1. เมื่อกำหนดชื่อสัตว์ต่างๆ ให้ นักเรียนสามารถบอกได้ว่า สัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังได้อย่างถูกต้อง 2. นักเรียนสามารถให้เหตุผลในการเลือกซื้ออาหารได้อย่างถูกต้อง ตามหลักโภชนาการ 3. นักเรียนสามารถเลียนแบบท่ารำตามที่ครูรำเป็นตัวอย่างได้ 4. เมื่อกำหนดรายชื่ออาหารให้ 10 ชนิด นักเรียนสามารถบอกได้ว่าอาหารชนิดใดอยู่ในหมู่ใดได้ถูกต้อง อย่างน้อย 8 ชนิด 5. เมื่ออ่านคำประพันธ์จบ นักเรียนเกิดความซาบซึ้งในคำประพันธ์นั้น 6. เมื่อกำหนดคำศัพท์ให้ นักเรียนสามารถออกเสียงได้อย่างถูกต้อง จำนวนร้อยละ 80 7. นักเรียนมีความชื่นชมนักกีฬาไทย เมื่อครูเล่าประวัติการกีฬาไทยให้ฟังอย่างถูกต้อง 8. นักเรียนเข้าใจความหมายของพืชล้มลุก อย่างน้อย 70% ของทั้งหมด
61
ขอบคุณครับ ขอบคุณค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.