งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงงานภาษาไทย เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงงานภาษาไทย เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงงานภาษาไทย เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์
โครงงานภาษาไทย เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ คณะผู้จัดทำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๓ กลุ่มที่ ๒ ครูที่ปรึกษา นายศตวรรษ โยวาศรี โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม อำเภอ กุดชุม จังหวัดยโสธร

2 กิตติกรรมประกาศ การศึกษาวรรณคดีมรดก เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือจากสมาชิกในกลุ่มที่ให้ความร่วมมือในการทำงานเป็นอย่างดี ขอขอบคุณ คุณครูศตวรรษ โยวาศรี ครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ครูที่ปรึกษาโครงงานที่ได้แนะนำวิธีการจัดทำโครงงาน การเรียบเรียงเนื้อหา การจัดทำรูปเล่ม กลุ่มผู้จัดทำรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาของครูที่ปรึกษาเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ คณะผู้จัดทำหวังว่ารายงานโครงงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจสำหรับเป็นแนวทางในการจัดทำโครงงานต่อไป

3 บทคัดย่อ ๑ การศึกษาวิเคราะห์วรรณคดีมรดก เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑)เพื่อศึกษาวิเคราะห์วรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ตามเนื้อหา (๒)เพื่อศึกษาวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ในด้านอารมณ์และคุณธรรม (๓)เพื่อศึกษาคำประพันธ์ของวรรณคดีเรื่อง (๔)เพื่อศึกษาคำศัพท์ของวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์

4 บทคัดย่อ ๒ ผลการศึกษา วรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการที่แคว้น แคว้นหนึ่งต้องการที่จะขยายอาณาเขตจึงเลือกที่จะใช้ปัญญายั่วยุให้เหล่ากษัตริย์อีกฝ่ายแตกความสามัคคีและสามารถตีเมืองแตกได้ง่ายโดยไม่เสียกำลังคนและเลือดเนื้อมาก ในวรรณคดีเรื่องนี้ยังแฝงข้อคิดในเรื่องของผลของการแตกความสามัคคีที่ไม่ได้ ที่ไม่ได้มีผลเฉพาะกับเฉพาะบุคคลแต่อาจส่งผลเสียไปถึงกลุ่มคนส่วนมากด้วย และข้อคิดในเรื่องของการใช้สติปัญญาในการในการเอาชนะฝ่ายศัตรูโดยที่ไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ การใช้วิจารณญาณใคร่ครวญก่อนที่จะตัดสิ่งใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไป อีกทั้งวรรณคดีเรื่องนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความซื่อสัตย์ ควมจงรักภักดีและความกตัญญูของตัวละคร วัสสการพราหมณ์ ที่มีต่อบ้านเมืองของตนเอง

5 ที่มาและความสำคัญ วรรณคดีคือ หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีมีลักษณะเด่นในเชิงประพันธ์ มีคุณค่าสูง วรรณคดีจึงมีช่วยยกระดับจิตใจความรู้สึกและภูมิปัญญาของผู้อ่านให้สูงขึ้น วรรณคดีจึงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง วรรณคดีเป็นสิ่งสร้างสรรค์ที่มนุษย์ใช้สื่อสารเรื่องราวของชีวิต วัฒนธรรม ความรู้สึกและการสะท้อนสังคมด้วยสำนวนภาษาที่มีความแตกต่างกันในแต่ละยุคสมัย วรรณคดีมีคุณค่า ๒ ประการ คือ คุณค่าด้านสุนทรียภาพและความงาม คุณค่าทางสารประโยชน์

6 วัตถุประสงค์ (๑)เพื่อศึกษาวิเคราะห์วรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ตามเนื้อหา (๒)เพื่อศึกษาวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ในด้านอารมณ์และคุณธรรม (๓)เพื่อศึกษาคำประพันธ์ของวรรณคดีเรื่อง (๔)เพื่อศึกษาคำศัพท์ของวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์

7 ขอบเขตการศึกษา 1. ของเขตด้านเนื้อหา
การศึกษา วิเคราะห์วรรณคดีมรดก เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์มีขอบเขตในการศึกษาค้นคว้า ดังต่อไปนี้ 1. ของเขตด้านเนื้อหา 1.1 วิเคราะห์เนื้อเรื่องวรรณคดีมรดก เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ตามองค์ประกอบในหนังสือวรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 1.2 วิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดีมรดก เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ในด้านอารมณ์และวัฒนธรรม 1.3 คำประพันธ์และการแต่งคำประพันธ์ในวรรณคดีมรดก เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ 1.4 คำศัพท์ยากที่ปรากฏในวรรณคดีมรดก เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ 2. ขอบเขตด้านเวลา วันที่ 15 พฤษภาคม ถึง วันที่ 7 กรกฎาคม พุทธศักราช 2560

8 วิธีการศึกษา การศึกษาโครงงานเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ มีวิธีการดำเนินการดังต่อไปนี้ ลำดับที่ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ วัน/เดือน/ปี คิดหัวข้อที่จะศึกษาในการทำโครงงาน / รวบรวมข้อมูลที่ต้องการทราบ ๒๔ พ.ค.๖๐ อ่านและทำความเข้าใจวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ ๒๘ พ.ค. ๖๐ ปรึกษาครูเพื่อรับคำแนะนำ ๒๑ มิถุนายน ๖๐ ปรับปรุงและแก้ไขงานตามคำแนะนำ ๒๖มิถุนายน ๖๐ -สรุปและอภิปรายผลการทำโครงงาน -จัดทำรายงาน ๐๓ มิถุนายน ๖๐ เผยแพร่ผลงงาน ๐๗ กรกฏาคม ๖๐

9 ผลการศึกษา ๑ จากการศึกษาวรรณคดีเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ เพื่อจัดทำโครงงาน และหลังจากศึกษาแล้วผู้จัดทำได้รับความรู้ที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์วรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ตามเนื้อหา 2.เพื่อศึกษาวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ในด้านอารมณ์และคุณธรรม 3.เพื่อศึกษาคำประพันธ์ของวรรณคดีเรื่อง 4. เพื่อศึกษาคำศัพท์ของวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์

10 ผลการศึกษา ๒ บทวิเคาระห์
ขาดญาณพิจารณ์ตรอง ญาณพิจารณ์หรือวิจารณญาณ หมายถึง ความสามารถในการใช้ปัญญาตริตรอง พิจารณา สอบสวน และให้เหตุผลที่ถูกต้องได้ วิจารณญาณเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับมนุษย์โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในโลกของการต่อสู้ช่วงชิงและเข่นฆ่ากันอย่างไรไม่รู้ผิดชอบชั่วดีเช่นขณะนี้ ผู้ที่ขาดวิจารณญาณมักจะเพลี่ยงพล้ำ เสียเปรียบ และเสียรู้ จนบางครั้งหลงละทิ้งคุณธรรมที่เคยปฏิบัติยึดถือกันอยู่ ดังเช่นเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชีผู้เคยสามัคคีกันแต่ต่อมาถูกนุแหย่ให้โกรธเคืองกันจนกระทั่ง แยกพรรคสมรรคภิน ทนสิ้น บ ปรองดอง ขาดญาณพิจารณ์ตรอง ตริมลักประจักษ์เจือ

11 ผลกรศึกษา ๓ ทำให้กษัตริย์ฝ่ายตรงข้ามสามารถพิชิตและยึดครองแคว้นมัชชีได้โดยง่าย เรื่องของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีดังกล่าวนี้อยู่ในวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ ของนายชิต บุรทัด กวีในรัชกาลที่ ๖ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ ทั้งภายในประเทศไทยและวิกฤตการณ์โลก เช่น กบฏ ร.ศ.๑๓๐ สงครามโลกครั้งที่ ๑ เป็นต้น ประกอบกับคนไทยในสมัยนั้นได้รับการศึกษามากขึ้น ทำให้เกิดการตื่นตัวทางความคิดมากขึ้น มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการบ้านเมืองแตกต่างกันหลายฝ่าย ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของบ้านเมืองในภาวะดังกล่าวเกิดความนิยมแต่งวรรณคดีปลุกใจให้รักชาติขึ้นจำนวนมาก สามัคคีเภทคำฉันท์ ผลงานของชิต บุรทัต ก็เป็นหนึ่งเรื่องที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้น

12 ผลการศึกษา ๔ นายชิต บุรทัต แต่งเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๕๗ โดยมุ่งชี้ความสำคัญของการรวมเป็นหมู่คณะ เป็นน้ำหนึ่งใจเดี่ยวกันเพื่อป้องกันรักษาบ้านเมืองให้มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น มาถึงทุกวันนี้ ความสามัคคีก็ยังคงสำคัญในการทำงานและการอยู่รวมกัน สามัคคีเภทคำฉันท์จึงเป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาเป็นคติสอนใจที่ทันสมัยเสมอ เรื่องสามัคคีเภทเป็นนิทานสุภาษิตที่มีเองราวอยู่ในมหาปรินิพพานสูตรและอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี ทีฆนิกาย มหาวรรค ต่อมาลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ธรรมจักษุ หนังสือรุ่นแรกของมหามงกุฎราชวิทยาลัยที่เรียบเรียงเป็นภาษาบาลี นายชิต บุรทัต อาศัยเค้าคำแปลของเรื่องสามัคคีเภทนี้มาแต่งเป็นฉันท์เพื่อแสดงฝีมือ โดยแสดงวัตถุประสงค์ว่า ไว้ปากไว้วากย์วาที ไว้วงศ์กวี ไว้เกียรติและไว้นามกร ไว้ฉลิมเสริมศรีพระนคร คือพิทยาภรณ์ พิเศษปรับสรรพงาม

13 ผลการศึกษา ๕ วรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการที่แคว้น แคว้นหนึ่งต้องการที่จะขยายอาณาเขตแต่แคว้นที่ต้องการจะตีนั้นเป็นแคว้นที่มีความสามัคคีกันมาก และเป็นแคว้น กษัตริย์แห่งแคว้นมคธจึงเลือกที่จะใช้ปัญญายั่วยุให้เหล่ากษัตริย์อีกฝ่ายแตกความสามัคคีและสามารถตีเมืองแตกได้ง่ายโดยไม่เสียกำลังคนและเลือดเนื้อมาก นอกจากนี้ในวรรณคดีเรื่องนี้ยังแฝงข้อคิดในเรื่องของผลของการแตกความสามัคคีที่ไม่ได้ ที่ไม่ได้มีผลเฉพาะกับเฉพาะบุคคลแต่อาจส่งผลเสียไปถึงกลุ่มคนส่วนมากด้วยและอาจนำมาซึ่งความหายนะ การใช้สติปัญญาในการในการเอาชนะฝ่ายศัตรูโดยที่ไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ การใช้วิจารณญาณใคร่ครวญก่อนที่จะตัดสิ่งใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไป

14 ผลการศึกษา ๖ วัสสการกับกษัตริย์ลลิจฉวี
วัสสการกับกษัตริย์ลลิจฉวีเป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการดำเนินเรื่อง เป็นผู้ออกอุบายวางแผนและดำเนินการยุยงจนเหล่ากษัตริย์แตกความสามัคคี ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูครอบครองแคว้นวัชชีได้สำเร็จ วัสสการพราหมณ์เป็นพราหมณ์อาวุโสผู้มีความสามารถมีสติปัญญาดี รอบรู้ศิลปะวิทยาการและมีวาทศิลป์ เป็นที่ไว้วางใจจากฝ่ายศัตรูและสามารถโน้มน้าวและเปลี่ยนแปลงความคิดของฝ่ายตรงข้ามให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ได้สำเร็จ

15 แม้มากผิกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอง
ผลการศึกษา ๗ วัสสการพราหมณ์เป็นคนที่ขาดคุณธรรม ใช้อุบายล่อลวงผู้อื่นเพื่อประโยชน์ฝ่ายตน แต่ก็น่าจะพิจารณาอีกมุมหนึ่งด้วยว่า วัสสการพราหมณ์มีคุณสมบัติที่น่ายกย่อง กล่าวคือมีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าอชาตศัตรูและบ้านเมืองเป็นอย่างมาก ยอมเสียสละความสุขส่วนตัว ยอมลำบากเจ็บตัวยอมเสี่ยงไปอยู่ในหมู่ศัตรู ต้องใช้ความอดทนสูงและรู้จักรักษาความลับได้ดีเพื่อให้อุบายสำฤทธิ์ ผล กษัตริย์ลิจฉวีเคยเป็นตัวอย่างของหมู่เหล่าที่มีความสามัคคี ดุจเดียวกับกิ่งไม้ที่รวมกันเป็นกำ ซึ่งยากที่ใครจะหักทำลายได้ ดังคำประพันธ์ที่ว่า แม้มากผิกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอง มัดกำกระนั้นปอง พลหักก็เต็มทน

16 ผลการศึกษา ๘ เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีร่วมกันปกครองแคว้นวัชชีมาช้านานแต่ละพระองค์มีโอรสบริวาร ตลอดจนดินแดนของพระองค์เอง ทรงมีฐานะเสมอกัน และทรงยกย่องให้เกียรติกัน ไม่ว่าจะกระทำกิจใดๆ ก็ทรงปรึกษาหาลือกันเสมอแต่หลังจากวัสสการพราหมณ์ดำเนินการตามแผนแยกออกจากกันได้สำเร็จ เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีก็ขาดพลัง อีกทั้งยังเกี่ยงกันทำหน้าที่อีกด้วยจึงตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ได้โดยง่าย แก่นเรื่องหลักของเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์คือ โทษของการแตกความสามัคคีซึ่งนำหมู่ขณะไปสู่ความหายนะ ส่วนแก่นเรื่องอื่นๆที่ช่วยสนับสนุนแก่นเรื่องหลักให้เด่นชัดมีหลายประการเช่น การใช้สติปัญญาเอาชนะฝ่ายศัตรูโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ การรู้จักเลือกใช้บุคคลให้เหมาะสมกับงานจะทำให้งานสำเร็จด้วยดี การใช้วิจารณญาณใคร่ครวญก่อนที่จะตัดสินใจทำสิ่งใดย่อมเป็นการดี การถือความคิดของตนเป็นใหญ่และทะนงตนว่าดีกว่าผู้อื่น

17 ผลการศึกษา ๙ คุณค่าของวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์
๑. คุณค่าด้านอารมณ์ สามัคคีเภทคำฉันท์มีคุณค่า ด้านอารมณ์กับผู้อ่านโดยทำให้ผู้อ่านรู้สึกตื่นเต้นกับปมปัญหาที่กำลังก่อตัวขึ้น และคล้อยตามไปกับบทเจรจาของ วัสสการพราหมณ์กับพระกุมารในตอน วัสสการหราหมณ์เริ่มทำอุบายทำลายความสามัคคี นอกจากนี้ยังทำให้ ผู้อ่านมีอารมณ์โกรธเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีที่ทระนงตนมากเกินไปและไม่ยอมมาช่วยบ้านเมืองให้พ้นจากข้าศึก ๒. คุณค่าด้านคุณธรรม สามัคคีเภทคำฉันท์มีคุณค่าด้านคุณธรรมที่สำคัญคือคุณธรรมที่ชาวแคว้นวัชชียึดมั่น ซึ่งก็คือ “อปริหานิยธรรม ” ผู้อ่านสามารถนำคุณธรรมนี้มาเป็นแบบอย่างในการดูแลบ้านเมืองให้มีความสงบสุข นอกจากนี้ สามัคคีธรรมยังเป็นอีกหนึ่งคุณธรรมที่ผู้อ่านได้รับจากการอ่านเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ที่ผู้อ่าน สามารถนำไปปรับใช้ได้ เป็นหนึ่งองค์ประกอบของระบบการทำงาน ทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนหรือบริษัท

18 ผลการศึกษา ๑๐ ๓. คุณค่าด้านอื่นๆ
คุณค่าทางปัญญา การอ่านสามัคคีเภทคำฉันท์ได้เปิดมุมมองของผู้อ่านให้กว้างมากขึ้น โดยการทราบถึงนิสัยใจคอของผู้คน เนื้อเรื่องทั้งหมดทำให้ผู้อ่านมีความรู้เท่าทันคน ทราบถึงกลอุบายและเล่ห์เลี่ยมต่างๆที่มีในสังคมจริงจากที่ วัสสการพราหมณ์ใช้ในการหลอกเหล่ากุมาร และได้เรียนรู้วิธีการใช้ปัญญาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยไม่เสีย เลือดเนื้อ คุณค่าทางวัฒนธรรม นิทานสุภาษิตเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ทำให้ผู้อ่านทราบถึงวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนที่จะทำการตีกลองเมื่อมีปัญหาที่ต้องการแก้ไขหรือร้องทุกข์ของตน อีกทั้งยังสามารถเป็นสัญญาณในการเรียกนัดต่าง ๆ

19 ผลการศึกษา ๑๑ คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ สามัคคีเภทคำฉันท์เป็นบทประพันธ์ที่อยู่ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทำให้ได้ทราบถึงประวัติศาสตร์ของไทยมากขึ้น นอกจากนี้สามัคคีเภทคำฉันท์ยังมีเค้าเรื่องมาจากมหาปรินิพพานสูตรใน พระสุตันตปิฎกหรือพระสูตร หนึ่งในหมวดของพระไตรปิฎก อีกทั้ง สถานที่ตั้งของแคว้นมคธและแคว้นวัชชีมี ต้นกำเนิดมาจากสถานที่ในพุทธประวัติ ผู้อ่านจึงได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติในการอ่านเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ คุณค่าทางจิตนาการ นายชิต บุรทัต ใช้คำง่ายๆ แต่สละสลวยในการบรรยายเนื้อเรื่อง จึงทำให้เนื้อเรื่องสามารถดำเนินไปได้ อย่างรวดเร็ว สร้างภาพได้ชัดเจน และผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ทันที ผู้อ่านได้รับคุณค่าทางจินตนาการโดยสามารถ สร้างมโนภาพและจินตนาการถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้โดยง่าย

20 ผลการศึกษา ๑๒ คุณค่าทางการใช้ภาษา นิทานสุภาษิตเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ถูกประพันธ์ด้วยภาษาที่กระชับ เข้าใจง่าย นายชิต บุรทัตเลือกสรร ฉันท์หลากหลายรูปแบบที่มีลีลาตรงกับเนื้อเรื่องแต่ละตอน อีกทั้งยังมีการเพิ่มสัมผัสให้กับฉันท์บางชนิด และใช้โวหารมากมายทำให้เนื้อเรื่องน่าจดจำ และผู้อ่านได้เห็นถึงวิธีการใช้ภาษาให้สละสลวย และตรงตาม ความหมายที่ต้องการจะสื่อได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

21 ผลการศึกษา ๑๓ คุณค่าที่เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการสร้างวรรณกรรมและศิลปกรรมด้านต่างๆ ๑ คุณค่าของวรรณกรรมต่อปัจเจกบุคคล สามัคคีเภทคำฉันท์ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา หรือคำศัพท์ และปลูกฝังนิสัย รักการอ่านให้กับผู้อ่านซึ่งมีผลให้ผู้อ่านได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ การอ่านนิทานสุภาษิตเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ทำให้ผู้อ่านรู้สึกตื่นเต้น สนุกสนาน และเพลิดเพลินไปกับเนื้อเรื่อง อีกทั้งยังประเทืองปัญญา เพราะนายชิต บุรทัตได้ประพันธ์เนื้อเรื่องซึ่งชี้ให้เห็นถึงปัญหาของสังคม ซึ่งในที่นี้คือปัญหาเรื่อง การแตกความสามัคคี ทำให้ผู้อ่านมีความระวังตนและคิดไตร่ตรองมากขึ้น

22 ผลการศึกษา ๑๔ ๒. คุณค่าวรรณกรรมต่อการสร้างสรรค์สังคม
๒. คุณค่าวรรณกรรมต่อการสร้างสรรค์สังคม เนื่องจากมนุษย์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของสังคม และสามัคคีเภทคำฉันท์แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตมนุษย์ในสังคมตั้งแต่สมัยก่อนสะท้อนมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้ทำให้สามัคคีเภทคำฉันท์มีผลต่อการสร้างสรรค์สังคมโดยมี การกล่าวถึงผมกระทบต่อส่วนรวมของความทระนงตนและการยึดถือตัวเองเป็นใหญ่ อีกทั้งยังเน้นย้ำให้ผู้อ่านมี ความรับผิดชอบต่อสังคม และสร้างความเปลี่ยนแปลงสังคมปัจจุบันให้มีความสามัคคีมากขึ้น

23 ผลการศึกษา ๑๕ ๓.เพื่อศึกษาคำประพันธ์ของวรรณคดีเรื่อง กวีผู้ประพันธ์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ยังมีฝีมือในการแต่งคำประพันธ์อย่างเชี่ยวชาญยิ่ง โดยกวีเลือกสรรฉันท์ชนิดต่างๆ มาใช้สลับกันอย่างเหมาะสมกับเนื้อเรื่องแต่ละตอน ตัวอย่างเช่น ใช้อิสังฉันท์ ๒๐ ซึ่งมีลีลากระแทกกระทั้นแสดงอารมณ์โกรธ เช่น ตอนที่พระเจ้าศัตรูแร้งบริภาษวัสสการพราหมณ์ เมื่อวัสสการพราหมณ์ทัดทานเรื่องการศึก ดังนี้ เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน ก็มาเป็น ศึกบ่ถึงและมึงก็ยังมิเห็น จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น ประการใด อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ ขยาดขยั้นมิทันอะไร ก็หมิ่นกู

24 ผลการศึกษา ๑๖ โดยคำศัพท์ของวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ สามารถวิเคราะห์ได้จากตัวอย่างคำศัพท์ต่อไปนี้

25 สรุปผลการศึกษา ๑ การศึกษาวรรณคดีมรดก เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ สามารถสรุปได้ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา ดังต่อไปนี้ ๑ ๑.เพื่อศึกษาวิเคราะห์วรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ด้านเนื้อหาสรุปได้ว่า สามัคคีเภทคำฉันท์เป็นเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการต้องการขยายอาณาเขตของแคว้นมคธที่ต้องการแคว้นวัชชีเป็นอาณาเขตของตนแต่รู้ว่ามันเป็นเรื่องที่ยากที่จะต้องตีแคว้นวัชชีจึงออกอุบายให้วัสสการพราหมณ์หาทางทำให้เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีแตกสามัคคีกัน จนทำให้แคว้นมคธสามารถตีแคว้นวัชชีได้โดยง่าย โดยวรรณคดีเรื่องนี้มุ่งชี้ให้เห็นถึงการใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหามากกว่าการใช้กำลัง และมุ่งชี้ให้เห็นโทษของการแตกความสามัคคี ที่อาจมีผลต่อคนส่วนมากด้วย

26 สรุปผลการศึกษา ๒ ๒. .เพื่อศึกษาวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ในด้านอารมณ์และคุณธรรมสรุปได้ว่าวรรณคดีเรื่องนี้ ๑. คุณค่าด้านอารมณ์ ผู้ประพันธ์แต่งเนื้อเรื่องด้วย ฉันท์ชนิดต่างๆ ซึ่งลักษณะคำประพันธ์ช่วยสนับสนุนให้ผู้อ่านเข้าถึงเนื้อเรื่องมากขึ้น ด้านอารมณ์กับผู้อ่านโดยทำให้ผู้อ่านรู้สึกตื่นเต้นกับปมปัญหาที่กำลังก่อตัวขึ้น และคล้อยตามไปกับบทเจรจาของ วัสสการพราหมณ์กับพระกุมารใน นอกจากนี้ยังทำให้ ผู้อ่านมีอารมณ์โกรธเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีที่ทระนงตนมากเกินไปและไม่ยอมมาช่วยบ้านเมืองให้พ้นจากข้าศึก ๒.คุณค่าด้านคุณธรรมสามัคคีเภทคำฉันท์มีคุณค่าด้านคุณธรรมที่สำคัญคือคุณธรรมที่ชาวแคว้นวัชชียึดมั่น ซึ่งก็คือ “อปริหานิยธรรม ” ผู้อ่านสามารถนำคุณธรรมนี้มาเป็นแบบอย่างในการดูแลบ้านเมือง การทำงาน การเรียน ให้ดีอีกด้วย

27 สรุปผลการศึกษา ๓ ๓.เพื่อศึกษาคำประพันธ์ของวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์สรุปได้ว่า วรรณคดีเรื่องนี้แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ซึ่งฉันท์ที่ใช้แต่งก็มีอยู่หลายชนิด เช่นกมลฉันท์, กาพย์ฉบัง, จิตรปทาฉันท์ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ภุชงคประยาต ฉันท์ ๑๑ ทิชงค์ชาติฉลาดยล คะเนกลคะนึงการ กษัตริย์ลิจฉวีวาร ระวังเหือดระแวงหาย

28 สรุปผลการศึกษา ๔ ๔.เพื่อศึกษาคำศัพท์ของวรรณคดีเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์สรุปได้ว่า คำศัพท์ในเรื่องนี้มีทั้งหมด ๖๗ คำ เป็นคำภาษาต่างประเทศ ๖๗ คำ คำไทย ๒ คำ แบ่งเป็นภาษาบาลี ๕๒ คำ ภาษาเขมร ๒คำ ภาษาสันสกฤษ ๓๕ คำ ซึ่งเป็นคำนาม ๔๖ คำ คำวิเศษณ์ ๑๒ คำ และคำกริยา ๑๐ คำ และแบ่งเป็นคำมูล ๒๒ คำ คำสมาส ๓๖ คำ คำสนธิ ๖ คำ คำประสม ๑ คำ

29 อภิปรายผลการศึกษา จากผลการศึกษาวรรณคดีมรดก เรื่อง.สามัคคีเภทคำฉันท์ สามารถอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้ สามารถเข้าใจความเป็นมาของเนื้อหาในเรื่องและสามารถนำข้อคิดและคติต่างๆ มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การรู้จักการใช้ปัญญาในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆมากกว่าการใช้กำลัง และยังให้ความรู้ในเรื่องของการใช้ฉันท์ต่างๆ รวมทั้งเรื่องคำศัพท์ที่มาจากภาษาต่างประเทศว่ามีลักษณะอย่างไร เป็นคำประเภทไหน เป็นคำอะไร ซึ่งสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

30 ข้อเสนอแนะในการทำโครงงานครั้งต่อไป
1.ควรมีการจัดทำแผนโครงงานไว้ล่วงหน้าก่อนลงมือทำ 2.ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำโครงงานให้เรียบร้อยก่อนลงมือทำ 3.ควรใช้ข้อมูลที่มีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ 4.เอาใจใส่อย่างจริงจังในทุกรายละเอียดและทุกขั้นตอนที่ลงมือทำ 5.ควรเช็ดรายละเอียดของโครงงานอย่างละเอียด

31 ภาคผนวก

32 ภาคผนวก

33 สมาชิกผู้จัดทำ 1.นายเอกรินทร์ ผุดผ่อง 2.นายนัณฐกรณ์ อินทนาม
1.นายเอกรินทร์ ผุดผ่อง 2.นายนัณฐกรณ์ อินทนาม 3.นายตรัยรัตน์ กองทอง 4.นายนนทวัฒน์ เข็มทอง 11.นางสาวจุฑามาศ คชนะ 5.นายนัฏฐพล ใจภักดี 12.นางสาวชมพูนุช คำละมัย 6.นายศิลปกร แก้วกัลญา 13.นางสาวฐิติมา ใจกาศ 7.นายนันทวัฒน์ ไชยรักษ์ 14.นางสาววราภรณ์ พยุวงษ์ 8.นายชัชวาลย์ บับพจันทร์ 15.นางสาวอรุณี สามารถ 9.นายปฏิกรณ์ ทองน้อย 16นางสาวสุนิตา สีละโคตร 10.นายอธิวัฒน์ มูลสาร


ดาวน์โหลด ppt โครงงานภาษาไทย เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google