งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โคลงโลกนิติ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โคลงโลกนิติ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โคลงโลกนิติ

2 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

3 โคลงโลกนิติ โคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตเก่าแก่ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นักปราชญ์ในครั้งนั้นได้สรรหา คำสุภาษิตที่เป็นภาษาบาลีและสันสกฤต ที่มีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ คือ คัมภีร์โลกนิติ คัมภีร์โลกนัย  ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบท แล้วนำมาแปลเป็นภาษาไทย โดยแต่งเป็นคำประพันธ์ คำโคลงทุกคาถา  รวมเรียกว่าโคลงโลกนิติ เป็นสุภาษิตที่บรรพบุรุษของไทยนับถือ นำไปเล่าเรียน สั่งสอน และประพฤติปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง เป็นที่รู้จักกันดี ในหมู่ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ทุกสถานะอาชีพต่อเนื่องกันมาช้านานจนถึงปัจจุบัน

4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ เมื่อปี พ. ศ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๔ ทรงมีพระราชประสงค์จะให้ จารึกโคลงโลกนิติลงในแผ่นศิลาในวัดพระเชตุพนฯ เป็นธรรมทาน จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร รวบรวมโคลงโลกนิติของเก่ามาชำระแก้ไขใหม่ ให้เรียบร้อยปราณีตและไพเราะ เพราะของเก่าที่คัดลอกต่อ ๆ กันมา ปรากฏว่ามีถ้อยคำที่วิปลาศคลาดเคลื่อนไปมาก      สุภาษิตที่ปรากฏในโคลงโลกนิติ ล้วนเป็นภาษิตที่นิยมนับถือกันว่า เป็นภาษิตที่เหมาะสม ที่จะใช้เป็นหลักประพฤติปฏิบัติ และนำไปสั่งสอนกันต่อไป

5 สุภาษิตที่ปรากฏในโคลงโลกนิติ ล้วนเป็นภาษิตที่นิยมนับถือกันว่า เป็นภาษิตที่เหมาะสม ที่จะใช้เป็นหลักประพฤติปฏิบัติ และนำไปสั่งสอนกันต่อไป ครรโลงโลกนิตินี้ นมนาน มีแต่โบราณกาล  เก่าพร้อง เป็นสุภาษิตสาร  สอนจิต  กลดั่งสร้อยสอดคล้อง   เวี่ยไว้ในกรรณ  

6 ครรโลง หมายถึง โคลง แบบอย่างคำประพันธ์
พร้อง หมายถึง พูด กล่าว ร้อง สุภษิต หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อ กันมาช้านาน มีความหมายเป็นคติเตือนใจ กลดั่ง หมายถึง เหมือนกัน เปรียบได้กับ เวี่ย หมายถึง คล้อง ทัดไว้ กรรณ หมายถึง หู

7                                                   ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับกรมวิชาการ หนังสือประชุมโคลงโลกนิติ[2] ขึ้นต้นด้วยโคลงนำ ๒ บท กระทรวงศึกษาธิการ คัดโคลงบางบท บรรจุลงเป็นบทเรียนอ่านหนึ่งใน หนังสือแบบเรียนวิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษา

8 โคลงโลกนิติ : วรรณคดีวิจักษ์ ม.๑
ความรู้ผู้ปราชญ์นั้น   นักเรียน ฝนทั่งเท่าเข็มเพียร ผ่ายหน้า คนเกียจเกลียดหน่ายเวียน  วนจิต กลอุทกในตะกร้า   เปี่ยมล้นฤามี โคลงบทนี้มีความหมายว่า คนที่มีความขยันหมั่นเพียรแม้ทำกิจการใดที่ยากก็ย่อมสำเร็จ (ทั่งคือแท่งเหล็ก) แต่คนเกียจคร้านทำสิ่งใดไม่สำเร็จเหมือนกับการตักน้ำใส่ในตะกร้าที่มีรูรั่ว (อุทก=น้ำ) พฤติกรรมของปราชญ์ตรงกับสำนวน “หนักเอาเบาสู้ ”

9 ปราชญ์ หมายถึง ผู้มีปัญญารอบรู้
ทั่ง หมายถึง แท่งเหล็ก ฝนทั่งเท่าเข็ม หมายถึง มีความมานะอดทนต่อความยากลำบาก ผ่ายหน้า หมายถึง ภายหน้า อุทก หมายถึง น้ำ

10 เว้นวิจารณ์ว่างเว้น. สดับฟัง. เว้นที่ถามอันยัง. ไป่รู้
เว้นวิจารณ์ว่างเว้น   สดับฟัง เว้นที่ถามอันยัง   ไป่รู้ เว้นเล่าลิขิตสัง-  เกตว่าง เว้นนา เว้นดั่งกล่าวว่าผู้   ปราชญ์ได้ฤามี โคลงบทนี้หมายความว่า การเว้นที่จะพูดแสดงความคิดเห็น การเว้นที่จะรับฟังคนอื่น การเว้นที่จะถามในเรื่องที่ตนเองไม่รู้ ไม่เข้าใจ และการไม่เขียน ไม่สังเกต ย่อมเป็นนักปราชญ์หรือผู้รอบรู้ไม่ได้ คนที่จะเป็นปราชญ์นั้นต้องยึดถือหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ. จิ. ปุ. ลิ. ฟัง คิด ถาม เขียน

11 วิจารณ์ หมายถึง ติชม สดับ หมายถึง ฟัง ลิขิต หมายถึง เขียน ไป่ หมายถึง ไม่

12 รู้น้อยว่ามากรู้. เริงใจ. กลกบเกิดอยู่ใน. สระจ้อย. ไป่เห็นชเลไกล
รู้น้อยว่ามากรู้ เริงใจ กลกบเกิดอยู่ใน สระจ้อย ไป่เห็นชเลไกล กลางสมุทร ชมว่าน้ำบ่อน้อย มากล้ำลึกเหลือ โคลงบทนี้มีความหมายว่าคนที่อยู่ในโลกหรือสังคมที่แคบย่อมคิดว่าสิ่งที่ตนพบเห็นนั้นยิ่งใหญ่แล้ว ตรงกับสำนวน “กบในกะลา อึ่งอ่างในกะลา หิ่งห้อยในกะลา” ชะเล หมายถึง ทะเล

13 พระสมุทรสุดลึกล้น. คณนา. สายดิ่งทิ้งทอดมา. หยั่งได้. เขาสูงอาจวัดวา
พระสมุทรสุดลึกล้น คณนา สายดิ่งทิ้งทอดมา หยั่งได้ เขาสูงอาจวัดวา กำหนด จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง โคลงบทนี้มีความหมายว่า ความลึก ความสูง ขนาดของสิ่งใดที่ยิ่งใหญ่มนุษย์สามารถวัดได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจสามารถวัดได้คือจิตใจของคน กวีสอนให้ระวัง ในการเชื่อหรือคบคน ตรงกับสำนวน “ รู้หน้าไม่รู้ใจ ” คณนา หมายถึง นับ

14 รักกันอยู่ขอบฟ้า. เขาเขียว. เสมออยู่หอแห่งเดียว. ร่วมห้อง
รักกันอยู่ขอบฟ้า เขาเขียว เสมออยู่หอแห่งเดียว ร่วมห้อง ชังกันบ่แลเหลียว ตาต่อ กันนา เหมือนขอบฟ้ามาป้อง ป่าไม้มาบัง โคลงบทนี้มีความหมายว่า กวีสอนให้คนรักกัน เพราะหากอยู่ใกล้ชิดในสังคมเดียวกันมาโกรธ หรือขุ่นเคืองกัน ย่อมสร้างอึดอัดให้ทั้งสองฝ่าย

15 สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ. ในตน. กินกัดเนื้อเหล็กจน. กร่อนขร้ำ
สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ ในตน กินกัดเนื้อเหล็กจน กร่อนขร้ำ บาปเกิดแก่ตนคน เป็นบาป บาปย่อมทำโทษซ้ำ ใส่ผู้บาปเอง โคลงบทนี้หมายความว่า ทุกสิ่งย่อมมีสาเหตุที่มา หากเราคิดร้าย โกรธขึ้ง ผลจะส่งให้เรานั่นแหละไม่สบายใจ เหมือนสนิมเหล็กที่กัดกร่อนตัวเอง ขร้ำ หมายถึง เก่ามาก

16 นกน้อยขนน้อยแต่. พอตัว. รังแต่งจุเมียผัว. อยู่ได้. มักใหญ่คนย่อมหวัว
นกน้อยขนน้อยแต่ พอตัว รังแต่งจุเมียผัว อยู่ได้ มักใหญ่คนย่อมหวัว ไพเพิด ทำแต่พอตัวไซร้ อย่าให้คนหยัน โคลงบทนี้หมายความว่า ควรทำอะไรตามกำลังของตน ไม่ควรทำเกินตัวหรือเกินกำลังความสามารถ เพราะคนเขาจะหัวเราะหรือตะเพิดเอา

17 รังแต่ง หมายถึง สร้างรัง ทำรัง
หวัว หมายถึง หัวเราะ ไพเพิด หมายถึง ตะเพิด ทำเสียงขับไล่ หยัน หมายถึง เยาะ เย้ย

18 เห็นท่านมีอย่าเคลิ้ม. ใจตาม. เรายากหากใจงาม. อย่าคร้าน. อุตส่าห์พยายาม
เห็นท่านมีอย่าเคลิ้ม ใจตาม เรายากหากใจงาม อย่าคร้าน อุตส่าห์พยายาม การกิจ เอาเยี่ยงอย่างเพื่อนบ้าน อย่าท้อทำกิน โคลงบทนี้หมายความว่า ให้ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ไม่โลภ อยากได้ อยากมีอย่างผู้อื่น รู้จักทำมาหากิน ใช้จ่ายอย่างประหยัดก็มีความสุขได้

19 คุณแม่หนาหนักเพี้ยง. พสุธา. คุณบิดรดุจอา-. กาศกว้าง. คุณพี่พ่างศิขรา
คุณแม่หนาหนักเพี้ยง พสุธา คุณบิดรดุจอา- กาศกว้าง คุณพี่พ่างศิขรา เมรุมาศ คุณพระอาจารย์อ้าง อาจสู้สาคร โคลงบทนี้หมายความว่า พระคุณของมารดานั้นยิ่งใหญ่ เปรียบได้กับแผ่นดิน พระคุณของบิดานั้นเล่าก็กว้างขวางเปรียบได้กับอากาศ พระคุณพี่นั้นสูงเท่ากับยอดเขาพระสุเมรุ และพระคุณของครูบาอาจารย์ก็ล้ำลึกเปรียบได้กับน้ำในแม่น้ำทั้งหลาย

20 พสุธา หมายถึง แผ่นดิน ศิขรา หมายถึง ยอดเขา เมรุมาศ หมายถึง เขาพระสุเมรุ สาคร หมายถึง แม่น้ำ

21 ก้านบัวบอกลึกตื้น ชลธาร มารยาทส่อสันดาน ชาติเชื้อ โฉดฉลาดเพราะคำขาน ควรทราบ หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ บอกร้ายแสลงดิน โคลงบทนี้หมายความว่า ความยาวของก้านบัวสามารถบอกความลึกตื้นของแหล่งน้ำที่มันอยู่ได้ มารยาทบอกให้ทราบถึงความเป็นไปของชาติตระกูล คำพูดของคนสามารถแสดงให้เห็นว่าบุคคลนั้น ฉลาด เขลา ชั่ว หรือเลวเหมือนกับที่หญ้าเหี่ยวแห้งบอกถึงความไม่สมบูรณ์ของดิน ตามตรงกับสำนวน “สำเนียงส่อภาษา กริยาส่อสกุล”

22 โคควายวายชีพได้. เขาหนัง. เป็นสิ่งเป็นอันยัง. อยู่ไซร้
โคควายวายชีพได้ เขาหนัง เป็นสิ่งเป็นอันยัง อยู่ไซร้ คนเด็ดดับสูญสัง ขารร่าง เป็นชื่อเป็นเสียงได้ แต่ร้ายกับดี โคลงบทนี้หมายความว่า สัตว์อย่างวัวหรือควายเมื่อตายไปแล้วยังทิ้งเขา กระดูก หนังไว้ให้ทำประโยชน์ได้ ส่วนคนสิ่งที่จะทิ้งไว้เบื้องหลังความตายให้คนกล่าวถึงก็คือ ความดีหรือความชั่วเท่านั้น

23 เพื่อนกิน สิ้นทรัพย์แล้ว. แหนงหนี. หาง่าย หลายหมื่นมี. มากได้
เพื่อนกิน สิ้นทรัพย์แล้ว แหนงหนี หาง่าย หลายหมื่นมี มากได้ เพื่อนตาย ถ่ายแทนชี- วาอาตม์ หายาก ฝากผีไข้ ยากแท้จักหา โคลงบทนี้ กวีเตือนสติการคบเพื่อน ให้รู้จักระมัดระวัง อย่าประมาท เพราะเพื่อนในคราที่มีความสุขนั้นหาง่ายมาก แต่เพื่อนที่ไปมาหาสู่ในครามีทุกข์นั้นหายากยิ่ง ตรงกับสำนวน “เพื่อนกินหาง่ายเพื่อนตายหายาก”

24 อ่อนหวานมานมิตรล้น. เหลือหลาย. หยาบบ่มีเกลอกราย. เกลื่อนใกล้
อ่อนหวานมานมิตรล้น เหลือหลาย หยาบบ่มีเกลอกราย เกลื่อนใกล้ ดุจดวงศศิฉาย ดาวดาษ ประดับนา สุริยะส่องดาราไร้ เพื่อร้อนแรงแสง โคลงบทนี้หมายความว่า คนที่พูดจาอ่อนหวานย่อมมีเพื่อนชอบคบค้าสมาคม เหมือนกับ ดวงจันทร์ (ศศิ) ที่ส่องแสงนวลเย็น ต่างมีดาวมารายรอบ ส่วนคนพูดจากระด้างหยาบคาย ย่อมไม่มีใครคบค้าสมาคมเหมือนความร้อนแรงของดวงอาทิตย์ที่ทำให้ดวงดาวลับหาย

25 มาน หมายถึง มี ศศิ หมายถึง ดวงจันทร์ ดาษ หมายถึง มากมาย เกลื่อนกลาด สุริยะ หมายถึง ดวงอาทิตย์ ดารา หมายถึง ดวงดาว

26 คุณค่าของกวีนิพนธ์ประเภทโคลง (โคลงโลกนิติ)
๑. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ กวีมีความฉลาดและแยบคายในการประพันธ์ให้ผู้อ่านเห็นภาพ และเกิดความซาบซึ้งในโวหารเปรียบเทียบ มีการเลือกสรรถ้อยคำที่ปราณีตบรรจง ใช้คำสั้นแต่มีความหมายลึกซึ้ง ไพเราะทั้งเสียง ทั้งจังหวะ และเมื่ออ่านออกเสียงเป็นทำนองเสนาะก็ยิ่งจะได้รับรสของคำประพันธ์มากยิ่งขึ้น

27 ๒. คุณค่าด้านเนื้อหา โคลงโลกนิติเป็นวรรณคดีประเภทคำกลอน เป็นโคลงสุภาษิตเพื่อสอนให้เป็นคนดีปฏิบัติตนให้ถูกต้องในสังคม เป็นโคลงที่เข้าใจแก่นแท้และธรรมชาติของมนุษย์ทั้งทางโลก และทางธรรม ๓ คุณค่าด้านสังคม เป็นโคลงที่มีคุณค่าต่อสังคม เสมือนเป็นกระจกส่องให้เห็นถึงพฤติกรรมของความเป็นมนุษย์ จึงเปรียบเป็นคู่มือในการใช้ครองเรือนให้มีความสุข ดำรงตนเป็นคนดี อย่างถูกทำนองคลองธรรม เนื้อหาจากวรรณคดีเรื่องนี้มีผลต่อผู้อ่าน ทำให้เข้าใจถึงความรู้สึกนึกคิด อันจะส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมให้ดีขึ้น

28 ๔ การนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน โคลงโลกนิติเป็นวรรณคดีคำสอนซึ่งแสดงให้เห็นวิธีการใช้ชีวิตให้เป็นสุข และสามารถปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบที่ดีของสังคม สาระที่ปรากฏอยู่ในโคลงผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตได้ เช่น การใฝ่ศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าในยุคสมัยใดการเรียนถือเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงควรขยันหมั่นเพียร เพราะความรู้ไม่มีใครสามารถขโมยไปได้และยังสามารถใช้เลี้ยงชีพของตนได้อีกด้วย

29 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt โคลงโลกนิติ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google