ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ
หมวดวิชา 02 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับอธิบายข้อมูลด้วยวิธีกราฟ Exit
2
การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับอธิบายข้อมูลด้วยวิธีกราฟ
ก่อนที่จะศึกษาการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับอธิบายข้อมูลด้วยวิธี กราฟและวิธีการทางตัวเลข จำเป็นต้องทบทวนประเภทของข้อมูลก่อน ทั้งนี้ เพราะว่าการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเกี่ยวข้องกับประเภทของข้อมูล เช่น ถ้าเป็นข้อมูลประเภทเชิงปริมาณ จะต้องใช้คำสั่งและเลือกใช้วิธีการนำเสนอ ข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติอีกแบบหนึ่งเป็นต้น ดังนั้นจึงทบทวนประเภท ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนี้ การแบ่งประเภทของข้อมูลตามมาตรวัด(Measurement) 1. ข้อมูลตามมาตรวัดนามบัญญัติ(Nominal Scale) 2. ข้อมูลตามมาตรวัดเรียงลำดับ(Ordinal Scale) 3. ข้อมูลตามมาตรวัดอันตรภาคชั้น(Interval Scale) 4. ข้อมูลตามมาตรวัดอัตราส่วน(Ratio Scale) Exit
3
การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับอธิบายข้อมูลด้วยวิธีกราฟ
ข้อมูลตามมาตรวัดนามบัญญัติ(Nominal Scale) เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีค่าที่แท้จริงไม่ใช่ตัวเลข แต่เพื่อความสะดวกในการนำเสนอข้อมูลและ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติจึงจำเป็นต้องให้ตัวเลขแทนค่าของข้อมูล เช่น ภาค เป็นข้อมูลที่อยู่ในมาตรวัดนามบัญญัติ โดยมีค่าของข้อมูลดังนี้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ ดังนั้นจึงให้ตัวเลขต่อไปนี้แทนค่าของข้อมูลดังกล่าวคือ ให้ 1 แทน ภาค กลาง // 2 แทน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ // 3 แทน ภาคใต้ และ // 4 แทน ภาคเหนือ ตัวเลขเหล่านี้ เป็นตัวเลขที่ใช้จำแนกประเภท จึงมักเรียกข้อมูลในลักษณะนี้เป็นข้อมูลจำแนกประเภท(Categorical Data) ข้อมูลตามมาตรวัดเรียงลำดับ(Ordinal Scale) เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีค่าที่แท้จริงไม่ใช่ตัวเลข แต่เพื่อความสะดวกในการนำเสนอข้อมูลและ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติจึงจำเป็นต้องให้ตัวเลขแทนค่าของข้อมูล และ ตัวเลขดังกล่าวสามารถบอกทิศทางได้ เช่น ระดับการศึกษา มีค่าเป็น ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ระดับ ปริญญาตรี สูงกว่าระดับปริญญาตรี ถ้าให้ตัวเลขต่อไปนี้แทนค่าของข้อมูลดังกล่าวคือ ให้ 1 แทน ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี 2 แทน ระดับปริญญาตรี 3 แทน และ 3 แทน สูงกว่าระดับ ปริญญาตรี ตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวเลขที่ใช้ใช้จำแนกประเภท และสามารถบอกทิศทางได้ กล่าวคือ ถ้า ถือว่าการศึกษาแต่ละระดับมีประสบการณ์ในการเรียนแตกต่างกัน ดังนั้น ตัวเลข 3 มีทิศทางที่ดีกว่า 2 และ 1 เป็นต้น Exit
4
การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับอธิบายข้อมูลด้วยวิธีกราฟ
ข้อมูลตามมาตรวัดอันตรภาคชั้น(Interval Scale) เป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่มีค่าของข้อมูลที่แท้จริงเป็นตัวเลข ตัวเลขดังกล่าวไม่มีศูนย์แท้ และตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่ต่อเนื่อง (เมื่อมีค่าเป็นจุดทศนิยม สามารถ ตีความหมายของตัวเลขได้)เช่น คะแนนผลสัมฤทธิ์(Achievement Scores ) คะแนน ผลการประเมินการปฏิบัติราชการ อุณหภูมิ(Temperature) ข้อมูลตามมาตรวัดอัตราส่วน(Ratio Scale) เป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่มีค่าของข้อมูลที่แท้จริงเป็นตัวเลข ตัวเลขดังกล่าวไม่มีศูนย์แท้ และตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่ต่อเนื่อง (เมื่อมีค่าเป็นจุดทศนิยม สามารถ ตีความหมายของตัวเลขได้) เช่น เงินเดือน( Salary) หรือรายได้(Income) ปริมาณ น้ำฝนที่ตกเฉลี่ย(มม.) จำนวนพื้นที่โครงการรวม(ตร.กม.) จำนวนพื้นที่ส่งน้ำรวม(ตร. กม.) เป็นต้น Exit
5
ประเภทของข้อมูล เชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพกับการวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลเชิงปริมาณ(Quantitative Data) สามารถใช้เทคนิคการวิเคราะห์ได้ ทุกเทคนิค และข้อมูลเชิงคุณภาพ(Qualitative Data) ใช้เทคนิคการ วิเคราะห์ได้บางเทคนิค เช่น ไม่สามารถหาค่าเฉลี่ย(Mean) และ ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard deviation: S.D)ได้ ถ้าแบ่งประเภทของข้อมูลตามมาตรวัด 4 มาตรวัด กับการใช้เทคนิค ทางสถิติเพื่ออธิบายข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล สรุปได้ดังนี้ ข้อมูลตามมาตรวัดนามบัญญัติ (Nominal Scale) เทคนิคทางสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่(Frequency) ร้อยละ(Percentage) ฐานนิยม(Mode) ตารางไขว้ (Crosstab Table) การทดสอบโดยใช้สถิติทดสอบไค- กำลังสอง(Chi-square test) การทดสอบโดยใช้สถิติทดสอบทวินาม(Binomial test) Exit
6
ประเภทของข้อมูล เชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพกับการวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลตามมาตรวัดอันตรภาคชั้น(Interval Scale) เทคนิคทางสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย(Mean หรือ average) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์(Correlation Analysis) การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) การวิเคราะห์ความแปรปรวน(Analysis of Variance : ANOVA) เป็นต้น ข้อมูลตามมาตรวัดอัตราส่วน(Ratio Scale) เทคนิคทางสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย(Mean หรือ average) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) การ วิเคราะห์ความสัมพันธ์(Correlation Analysis) การวิเคราะห์การถดถอย(Regression Analysis) การวิเคราะห์ความแปรปรวน(Analysis of Variance : ANOVA) การ วิเคราะห์อำนาจจำแนก(Discriminant analysis ) การวิเคราะห์ปัจจัย(Factor Analysis)เป็นต้น Exit
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.