งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คำสั่ง Create , Insert, Delete, Update

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คำสั่ง Create , Insert, Delete, Update"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2 คำสั่ง Create , Insert, Delete, Update
ระบบฐานข้อมูล คำสั่ง Create , Insert, Delete, Update สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โดย อาจารย์กิตติพงษ์ ภู่พัฒน์วิบูลย์

3 เนื้อหา คำสั่ง Create คำสั่ง Insert คำสั่ง Delete คำสั่ง Update

4 คำสั่ง CREATE 1. คำสั่งที่ใช้ในการสร้างตาราง
คำสั่งที่ใช้ในการสร้างตาราง CREATE TABLE โดยกำหนดชื่อคอลัมน์ในตาราง ชนิดข้อมูล คีย์หลัก คีย์อ้างอิง และ เงื่อนไข โดยคำสั่งมีรูปแบบดังนี้ CREATE TABLE ชื่อตาราง (ชื่อคอลัมน์ ชนิดข้อมูล [เงื่อนไข], ชื่อคอลัมน์ ชนิดข้อมูล [เงื่อนไข], [,PRIMARY KEY (ชื่อคอลัมน์)] [,FOREIGN KEY (ชื่อคอลัมน์) REFERENCES ชื่อตารางที่อ้างอิง] );

5 คำสั่ง CREATE ตัวอย่าง CREATE TABLE Supplier (Sno CHAR(5) NOT NULL,
Sname VARCHAR(20) NOT NULL, City VARCHAR(15) NOT NULL, PRIMARY KEY (Sno) );

6 คำสั่ง CREATE ตัวอย่างข้างต้น สร้างตารางชื่อ Supplier ซึ่งประกอบด้วย คอลัมน์คือ Sno, Sname และ City ซึ่งมีชนิดข้อมูลเป็นตัวอักษรแบบ CHAR และ VARCHAR โดยกำหนดเงื่อนไข NOT NULL คือ ไม่ยอมให้ข้อมูลที่เก็บในคอลัมน์เหล่านี้มีค่าเป็นค่าว่าง และกำหนดให้ Sno เป็นคีย์หลัก

7 คำสั่ง CREATE CREATE TABLE SupplierProduct (Sno CHAR(5) NOT NULL,
Pno CHAR(5) NOT NULL, PRIMARY KEY (Sno,Pno), FOREIGN KEY (Sno) REFERENCES Supplier, FOREIGN KEY (Pno) REFERENCES Product);

8 คำสั่ง CREATE ตัวอย่างข้างต้นเป็นคำสั่งเพื่อสร้างตารางเช่นเดียวกัน แต่มีการกำหนดคีย์อ้างอิงด้วยส่วนของคำสั่ง FOREIGN KEY เพื่อการอ้างอิงไปยังตาราง Supplier และตาราง Product

9 คำสั่ง INSERT

10 VALUES (‘555’,‘วันวิสา แสงขำ’, ‘DB’);
คำสั่ง INSERT 1. การเพิ่มข้อมูล ภาษา SQL ใช้คำสั่ง INSERT ใช้ในการเพิ่มรายการข้อมูลในตาราง 1.1 เพิ่มข้อมูลรายการเดียว INSERT INTO Staff VALUES (‘555’,‘วันวิสา แสงขำ’, ‘DB’);

11 คำสั่ง INSERT คำสั่ง INSERT ตามรูปแบบข้างตน จะเพิ่มหนึ่งรายการในตาราง Staff โดยรายการที่เพิ่มอยู่ภายในวงเล็บ ประกอบด้วยค่าของแต่ละคอลัมน์ซึ่งคั่นด้วยเครื่องจุลภาค และบันทึกเข้าสู่ตารางเรียงตามลำดับของคอลัมน์ในโครงสร้างของตาราง ได้ผลเป็นตารางที่มี 5 รายการ จากเดิม 4 รายการ

12 คำสั่ง INSERT

13 คำสั่ง INSERT 1.2 เพิ่มข้อมูลหลายรายการ INSERT INTO Staff VALUES (‘555’,‘วันวิสา แสงขำ’,‘DB’), (‘999’,‘วันชัย มีโชค’,‘DB’),;

14 คำสั่ง INSERT คำสั่ง INSERT เพียงคำสั่งเดียวนี้ เพิ่มข้อมูลถึงสองรายการในตาราง Staff แต่ละรายการที่เพิ่มกำหนดไว้ภายในเครื่องหมายวงเล็บ คั่นระหว่างวงเล็บด้วยเครื่องหมายจุลภาค ได้ผลเป็นตารางที่มี 6 รายการ จากเดิม 4 รายการ

15 คำสั่ง INSERT

16 คำสั่ง INSERT 1.3 เพิ่มข้อมูลไม่ครบทุกคอลัมน์ INSERT INTO Staff(sid, pcode) VALUES (‘555’, ‘DB’);

17 คำสั่ง INSERT คำสั่ง INSERT นี้ มีความแตกต่างจากข้างต้น ที่มีเครื่องหมายวงเล็บที่กำหนดชื่อคอลัมน์หลังชื่อตาราง นั่นคือ เมื่อเพิ่มข้อมูลโดยระบุค่าไม่ครบทุกคอลัมน์ จะต้องกำหนดชื่อคอลัมน์ เพื่อบันทึกข้อมูลลงคอลัมน์ตามลำดับได้อย่างถูกต้อง ตารางจะมีรายการที่เพิ่มขึ้น

18 คำสั่ง INSERT

19 ภาษา SQL ได้กำหนดคำสั่ง DELETE ในการลบข้อมูลจากตาราง
2. การลบข้อมูล ภาษา SQL ได้กำหนดคำสั่ง DELETE ในการลบข้อมูลจากตาราง 2.1 ลบข้อมูลทั้งหมดจากตาราง DELETE FROM Staff;

20 คำสั่ง DELETE คำสั่ง DELETE จะลบข้อมูลทั้งหมดทุกรายการจากตาราง Staff ภายหลังการทำงานตามคำสั่งนี้ ตาราง Staff จะไม่มีข้อมูลอยู่อีกเลย แต่โครงสร้างของตารางที่สร้างขึ้นจากคำสั่ง CREATE TABLE ยังคงอยู่

21 คำสั่ง DELETE 2.2 ลบข้อมูลบางรายการจากตาราง DELETE FROM Staff; WHERE pcode = ‘PR’;

22 คำสั่ง DELETE คำสั่ง DELETE นี้ มีการกำหนดเงื่อนไข โดยใช้ส่วนของคำสั่ง WHERE เช่นเดียวกับที่ใช้ในคำสั่งสอบถามข้อมูล SELECT ดังนั้น จึงลบข้อมูลจากตาราง Staff เฉพาะรายการที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด คือ pcode เป็น ‘PR’ ซึ่งมี 2 รายการ ได้ผลเป็นตารางที่คงเหลือเพียง 2 รายการ

23 คำสั่ง DELETE

24 คำสั่ง UPDATE 3. การปรับปรุงข้อมูล การปรับปรุงแก้ไขข้อมูลที่มีอยู่แล้วในตาราง สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง UPDATE 3.1 ปรับปรุงทุกรายการ UPDATE PositionRate SET rate = rate + 200;

25 คำสั่ง UPDATE คำสั่ง UPDATE มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงข้อมูลทุกรายการในตาราง PositionRate โดยปรับปรุงคอลัมน์ rate ให้มีค่าเพิ่มขึ้น 200 จากเดิม ทำให้คอลัน์ rate ในตารางนี้ปรับปรุง

26 คำสั่ง UPDATE

27 คำสั่ง UPDATE 3.2 ปรับปรุงบางรายการ UPDATE PositionRate SET rate = rate + 200; WHERE pcode = ‘PR’;

28 คำสั่ง UPDATE คำสั่ง UPDATE นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงข้อมูลในตาราง PositionRate โดยปรับปรุงคอลัมน์ rate ให้มีค่าเพิ่มขึ้น 200 จากเดิม เฉพาะรายการที่ มีรหัสตำแหน่งเป็น ‘PR’ เท่านั้น จึงทำให้มีการปรับปรุงตารางเพียงรายการเดียว การกำหนดเงื่อนไขนั้น ใช้ส่วนของคำสั่ง WHERE

29 คำสั่ง UPDATE

30


ดาวน์โหลด ppt คำสั่ง Create , Insert, Delete, Update

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google