งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กระบวนการ ปัญหา และแนวทางปฏิบัติ ในการจัดซื้อจัดจ้าง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กระบวนการ ปัญหา และแนวทางปฏิบัติ ในการจัดซื้อจัดจ้าง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กระบวนการ ปัญหา และแนวทางปฏิบัติ ในการจัดซื้อจัดจ้าง
ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมบัญชีกลาง สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

2  ใช้บังคับกับการจัดหาพัสดุของส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ ระเบียบฯ พ.ศ ข้อ 4

3 การพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า
การจัดหาพัสดุ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่ไม่รวมถึงการจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบ และควบคุมงาน การซื้อ หรือการจ้างโดยวิธีพิเศษ และวิธีกรณีพิเศษ

4 วิธีปฏิบัติใดที่มิได้กำหนดในระเบียบนี้ ให้ใช้ควบคู่ไปกับ
ส่วนราชการ ระเบียบสำนักนายก รัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รัฐวิสาหกิจ ระเบียบข้อบังคับ ของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ข้อบังคับของ เว้นแต่ กวพ.อ. กำหนดหรือวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น

5 การขออนุมัติ ยกเว้น ผ่อนผัน หรือหารือเกี่ยวกับระเบียบฯ พ.ศ. 2549
คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อ) กวพ.อ. มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นกรรมการ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองปัญหาการพัสดุและการ พิจารณาอุทธรณ์และคำร้องเรียนตามระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ (อกพอ.)

6 ขั้นตอนการจัดหาพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
การเตรียมดำเนินการ การยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิค การคัดเลือกผู้มีสิทธิเสนอราคา การเสนอราคา

7  การเตรียมดำเนินการ ขั้นตอนที่ 1
การกำหนดร่าง TOR และร่างเอกสารประกวดราคา : หัวหน้าหน่วยงานแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดร่าง TOR และร่างเอกสารประกวดราคา คณะกรรมการฯ จัดทำร่าง TOR และร่างเอกสารประกวดราคา นำเสนอหัวหน้าหน่วยงานอนุมัติ นำสาระสำคัญที่สามารถเผยแพร่ได้ประกาศทางเว็บไซต์ (ของหน่วยงานและกรมบัญชีกลาง เป็นเวลาติดต่อกันไม่ น้อยกว่า 3 วัน) เพื่อรับฟังคำวิจารณ์

8 หัวหน้าหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุ เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ
คณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตของงาน (Terms of Reference : TOR) และร่างเอกสารประกวดราคา หัวหน้าหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุ เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ องค์ประกอบ : หน่วยงานเป็นผู้กำหนดตามความเหมาะสม

9 คณะกรรมการพิจารณาข้อวิจารณ์
เดิม กรณีเห็นสมควรปรับปรุง TOR กรณีไม่ต้องปรับปรุง TOR ตาม ว 182 ในการประกาศเผยแพร่ครั้งที่ 2 จะประกาศทาง websiteเฉพาะที่ได้รับความเห็น คำวิจารณ์ หรือมีการแก้ไข

10 ตัวอย่างการดำเนินการเกี่ยวกับการนำร่าง TOR เผยแพร่ใน Website
 กรณีที่ไม่มีการเสนอแนะวิจารณ์ นำร่าง TOR ลง Website ครั้งที่ 1 คกก.ฯ จัดทำร่าง TOR เสร็จแล้ว นำร่างขออนุมัติหัวหน้าส่วนราชการ กรณีไม่มีวิจารณ์ นำร่าง TOR ขออนุมัติหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อจัดทำเป็นประกาศสำหรับเผยแพร่ต่อไป

11  กรณีที่มีการเสนอแนะวิจารณ์ (กรณีที่ 1 คกก.ไม่ปรับ TOR)
มีผู้วิจารณ์ คกก.ฯ จัดทำร่าง TOR เสร็จแล้ว นำร่างขออนุมัติหัวหน้าส่วนราชการ นำร่าง TOR ลง Website ครั้งที่ 1 และคณะกรรมการฯ ใช้ดุลยพินิจว่า ไม่ปรับปรุงแก้ไขร่างTOR เมื่อเผยแพร่ครบ 3 วัน นำร่าง TOR เดิมที่ไม่ได้ปรับแก้นั้น ขออนุมัติหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อเผยแพร่ใน Website เป็นครั้งที่ 2 ให้นำร่าง TOR นั้น ขออนุมัติหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อจัดทำเป็นประกาศสำหรับเผยแพร่ต่อไป

12  กรณีที่มีการเสนอแนะวิจารณ์ (กรณีที่ 2 คกก. ปรับแก้ TOR)
มีผู้วิจารณ์ นำร่าง TOR ลง Website ครั้งที่ 1 และคณะกรรมการฯ ใช้ดุลยพินิจว่า ให้ปรับปรุงแก้ไขร่างTOR หยุดการนำร่างลงประชาพิจารณ์ใน Website มีผู้วิจารณ์ นำร่าง TOR ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ขออนุมัติหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อนำร่าง TOR ที่ปรับปรุงแล้วลงเผยแพร่ใน Website เป็นครั้งที่ 2 นำร่าง TOR ขออนุมัติหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อจัดทำเป็นประกาศสำหรับเผยแพร่ต่อไป คณะกรรมการฯ ใช้ ดุลยพินิจว่า ไม่ปรับปรุง และควรมีหนังสือตอบไปว่า เพราะเหตุใดจึงไม่ปรับปรุง

13  การเตรียมดำเนินการ ขั้นตอนที่ 2
การแต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคา/การคัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลาง/การกำหนดวัน เวลาและสถานที่เสนอราคา มติคณะรัฐมนตรี 16 ต.ค ที่ นร 0506/ว 151 ลงวันที่ 22 ต.ค และ ว 182 ผ่อนผัน ดังนี้ ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงานนั้น ๆ เป็นผู้แต่งตั้ง และคัดเลือกได้เอง

14 ค่าใช้จ่ายของผู้ให้บริการตลาดกลาง
กรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุดที่ กค (กวพอ) /ว 108 ลว. 27 มี.ค. 50 ค่าใช้จ่ายในการให้บริการเสนอราคา ค่าใช้จ่ายเดินทาง คิดจากผู้ชนะราคา คิดจากวงเงินที่ทำสัญญา /ให้แจ้งหนี้ ได้เมื่อประกาศผลผู้ชนะราคา ให้ผู้ชนะราคา ชำระก่อนทำสัญญา คิดเฉพาะเดินทางจริง ห้ามคิดกรณีมีสาขาในจังหวัดที่ให้บริการ ห้ามคิดนอกเหนือที่กำหนด หรือ ลด แจก แถม ของสมนาคุณให้แก่ผู้เสนอราคา/หรือหน่วยงาน ที่จัดหาพัสดุ ไม่เกิน 2 ล้าน = 6,000 บาท เกิน 2 ล้าน - 10 ล้าน = % (ไม่เกิน 10,000 บาท) เกิน10 ล้าน -25 ล้าน = % (ไม่เกิน 20,000 บาท) สูงกว่า 25 ล้าน = % (ไม่เกิน 30,000บาท) ระยะทางไม่เกิน 150 กม. = ไม่จ่าย 151 – 250 กม = 2,500 บาท 251 – 500 กม = 5,000 บาท เกิน 500 กม = 10,000 บาท * กรณีไม่มีการทำสัญญา/ยกเลิกประกวดราคา ไม่คิดค่าใช้จ่าย หากเก็บไปแล้วให้คืนภายใน ๗วันนับจากรับแจ้งจากผู้ชนะราคา 14

15 การแต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคาฯ
ระเบียบฯ (เดิม) 1. ประธานกรรมการ: บุคลากรในหน่วยงาน 2. กรรมการ (3 – 5 คน): (มีบุคคลภายนอกอย่างน้อย 1 คน) 3. หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ: กรรมการและเลขานุการ 4. เจ้าหน้าที่พัสดุ: ผู้ช่วยเลขานุการ รวมทั้งหมดไม่เกิน ๗ คน (ว 182) ผ่อนผัน ดังนี้ วงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท 1. ให้มีคณะกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 7 คน 2. จะมีบุคคลภายนอก หรือไม่ก็ได้ 3. ให้มีบุคลากรของหน่วยงานเป็น กรรมการ และเลขานุการ วงเงินเกิน 10 ล้าน ขึ้นไป (คณะกรรมการองค์ประกอบเหมือนเดิม) ให้เจ้าหน้าที่พัสดุหรือที่เรียกชื่ออย่างอื่น ในหน่วยงานนั้น เป็นกรรมการ และเลขานุการ จะแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการหรือไม่ก็ได้ 15

16 Website ของกรมบัญชีกลาง ที่ www.gprocurement.go.th
ฐานข้อมูลบุคคลภายนอก หน่วยงานจัดหาพัสดุ สามารถค้นหารายชื่อเข้าเป็นคณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการได้ที่ Website ของกรมบัญชีกลาง ที่ หรือหน่วยงานฯ สามารถคัดเลือกได้เองโดยตรง

17 คณะกรรมการประกวดราคาฯจะต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้น ดังนี้
ประธานกรรมการ เป็น บุคลากรจาก หน่วยงาน ที่จัดหาพัสดุ คณะกรรมการประกวดราคาฯ ที่แต่งตั้งจาก บุคคลภายนอก ซึ่งมิได้เป็นข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ เป็นผู้บรรลุนิติภาวะและมีสัญชาติไทย ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์ใดๆ กับผู้ที่ประสงค์จะเสนอราคาไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติด ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากหน่วยงาน

18 หน้าที่ของคณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการ
ให้คณะกรรมการประกวดราคาฯ นำสาระสำคัญของ เอกสารประกาศเชิญชวน เอกสารประกวดราคา และเอกสารเบื้องต้นอื่นๆ ที่สามารถเผยแพร่ได้ ลงประกาศทางเว็บไซต์ของหน่วยงานและกรมบัญชีกลางเป็นเวลา ไม่น้อยกว่าสามวัน โดยกำหนดให้มีการจัดทำซองข้อเสนอ ด้านเทคนิค การวางหลักประกันซอง วัน เวลา และสถานที่ที่ยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิค เงื่อนไข เงื่อนเวลาและสถานที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะแจกจ่ายหรือจำหน่ายเอกสารดังกล่าวก็ได้

19 การเผยแพร่เอกสารประกาศเชิญชวน
กรณีการแจกจ่าย หรือจำหน่ายเอกสารประกวดราคา ต้องทำ ณ สถานที่ที่กำหนด ต้องจัดเตรียมเอกสารให้มากพอสำหรับ ความต้องการของผู้ขอหรือขอซื้อ รายละ 1 ชุด

20 การยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิค
ให้ผู้ประสงค์จะเสนอราคายื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิค ต่อคณะกรรมการประกวดราคาตามระเบียบฯ พ.ศ ข้อ 8(3) ผ่านทางหน่วยงานที่จะจัดหา พัสดุภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการประกวดราคา กำหนด โดยต้องให้เวลาไม่น้อยกว่า 3 วันนับแต่ วันสุดท้ายของการแจกจ่ายหรือจำหน่ายเอกสาร ตามข้อ 8(3) แต่ต้องเป็นระยะเวลาภายใน 30 วัน นับแต่วันแรกที่กำหนด ให้ยื่นซองดังกล่าว

21 กำหนดระยะเวลาการรับซองข้อเสนอทางเทคนิค
ช่วงเวลาประกาศ เชิญชวน /แจก / ขายเอกสาร ไม่น้อยกว่า 3 วัน วันยื่นซองข้อเสนอทางเทคนิค (เลือกวันใดวันหนึ่ง) ช่วงเวลา คำนวณราคา จัดทำเอกสาร วันประกาศ จันทร์ที่ 28 แจก / ขายเอกสาร วันที่ 29 – หลังวันให้ / ขายเอกสาร ไม่น้อยกว่า 3 วัน ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันสุดท้ายของการแจก / ขายเอกสาร วันที่ 1 – 2 – 3 วันสุดท้ายของ การจำหน่ายจ่ายแจก วันที่

22 การยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิค
ผู้เสนอราคา : ให้ยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิค ต่อคณะกรรมการ ประกวดราคาพร้อมกับหนังสือแสดงเงื่อนไขการซื้อ หรือการจ้าง (สัญญา 3 ฝ่าย) และหนังสือค้ำประกันซอง

23  การคัดเลือกผู้ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น
คณะกรรมการประกวดราคาตรวจสอบตามระเบียบพัสดุที่หน่วยงานถือปฎิบัติ เอกสารมีครบ ตามเงื่อนไข หรือไม่? คุณสมบัติของ ผู้เสนอราคา ถูกต้อง ตามเงื่อนไข หรือไม่? เป็นผู้มีผลประโยชน์ ร่วมกันตามระเบียบฯ หรือไม่? ข้อเสนอ ด้านเทคนิค ถูกต้อง หรือไม่?

24 การกรอกปริมาณวัสดุในบัญชีรายการก่อสร้าง
หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพอ) ๐๔๒๑.๓/ว ๓๕๑ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๓ เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจ เกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ไว้ในเอกสารประกวดราคา ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (ยกเลิกตัว ว.๓๐๘ เดิม) การกรอกปริมาณวัสดุในบัญชีรายการก่อสร้าง ตามตัวอย่างเอกสารประกวดราคาจ้าง ข้อ ๔.๒ ที่ระบุเงื่อนไขว่า “ผู้เสนอราคาจะต้องกรอกปริมาณวัสดุ ในบัญชีรายการก่อสร้างให้ครบถ้วน” นั้น หมายความว่า หน่วยงานผู้จัดหาพัสดุต้องกำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และผู้เสนอราคาจะต้องนำบัญชีรายการก่อสร้าง หรือใบแจ้งปริมาณงานมายื่น โดยต้องกรอกปริมาณวัสดุในบัญชีดังกล่าว ให้เรียบร้อย แต่ผู้เสนอราคายังไม่ต้องกรอกรายละเอียดของราคา เนื่องจากในวันยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิคยังมิได้มีการเสนอราคา และเมื่อผลการประกวดราคาได้ผู้เสนอราคารายต่ำสุดแล้ว ให้คณะกรรมการประกวดราคาแจ้งให้ผู้เสนอราคารายต่ำสุดดังกล่าวมากรอกจำนวนเงินให้ตรงกับราคาที่เสนอไว้ ก่อนเสนอผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างต่อไป

25 วิธีตรวจสอบการลงนามในหนังสือแสดงเงื่อนไขการซื้อ
หรือการจ้าง (สัญญา 3 ฝ่าย) ผู้เสนอราคา ตลาดกลาง หน่วยงานที่จัดหาพัสดุ * ประธานกรรมการประกวดราคา ต้องลงชื่อ/และยื่นในวันยื่นซองเทคนิค ลงชื่อในวันเสนอราคา แต่ก่อนเวลาเสนอราคา ลงชื่อในวันเสนอราคา แต่ก่อนเวลาเสนอราคา

26 สิทธิอุทธรณ์ ของผู้ประสงค์จะเสนอราคา
กรณีไม่ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น ผู้เสนอราคาที่ไม่ผ่าน การคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อหัวหน้าหน่วยงานที่จัดหาพัสดุ ข้อ 9 (3) ภายใน 3 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง (กรอกแบบ บก 004 – 2 ผนวก 11) หากยื่นเกินกำหนด 3 วัน (ไม่พิจารณาอุทธรณ์) ให้หน่วยงานที่จัดหาหยุดดำเนินงาน ในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์

27 การพิจารณาอุทธรณ์ของหัวหน้าหน่วยงาน
กรณีไม่ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น ต้องแจ้งผลให้ผู้อุทธรณ์ แต่ละรายทราบ ภายในเวลา 7 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งอุทธรณ์ (กรอกแบบแจ้งผล บก 004 – 1) 2. ถ้าไม่แจ้งผลการพิจารณา ภายใน 7 วัน ให้ถือว่า อุทธรณ์ฟังขึ้น คำวินิจฉัยถือเป็นที่สุด ในชั้นฝ่ายบริหาร 4. ถ้าอุทธรณ์ฟังขึ้น ให้แจ้งคณะกรรมการประกวดราคา เพิ่มรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิเสนอราคา / และแจ้งผู้อุทธรณ์ทราบ (กรอกแบบ บก 004 – 3 ผนวก 12)

28 กรณีมีผู้ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นรายเดียว
ปกติ ให้คณะกรรมการฯ เสนอยกเลิก เว้นแต่ คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้าง ให้ต่อรองราคากับรายนั้นได้ ได้รับการยกเว้นผ่อนผันตาม หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพอ) /พ ลงวันที่ 27 มกราคม 2557

29 หน่วยงานที่จัดหาพัสดุ โดยคณะกรรมการประกวดราคา
 การเสนอราคา หน่วยงานที่จัดหาพัสดุ โดยคณะกรรมการประกวดราคา แจ้งวัน เวลา สถานที่ เสนอราคา และส่งใบแบบแจ้งชื่อผู้แทน ให้แก่ผู้มีสิทธิเสนอราคา

30 ก่อนวันเสนอราคา 2 วันทำการ ให้ส่งมอบข้อมูลเบื้องต้น
การแจ้งข้อมูลผู้มีสิทธิเสนอราคาให้ผู้ให้บริการตลาดกลาง ก่อนวันเสนอราคา 2 วันทำการ ให้ส่งมอบข้อมูลเบื้องต้น ให้ผู้ให้บริการตลาดกลาง

31 กำหนดราคาเริ่มต้น ในการจัดหา ตาม ว 247 ดังนี้
กรณีงานซื้อ/งานจ้าง ทั่วไป ให้ใช้วงเงินงบประมาณที่มีอยู่ ราคามาตรฐาน ราคาท้องตลาด ณ ปัจจุบัน อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นราคาเริ่มต้นในการจัดหา โดยพิจารณาจากความเหมาะสม ของประเภทสินค้าและบริการ หรืองานโครงการ และเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ

32 ให้ใช้ราคากลางเป็นราคาเริ่มต้น
กรณี งานก่อสร้าง ให้ใช้ราคากลางเป็นราคาเริ่มต้น ในการจัดหา

33 ระบบปิด (ตัวอย่างการให้บริการของบริษัท CAT)

34 การปฏิบัติของผู้มีสิทธิเสนอราคาในวันเสนอราคา
ก่อนวันเสนอราคา ต้องศึกษาการใช้โปรแกรม/ทดลองการใช้โปรแกรมของตลาดกลาง Download ได้ จาก วันเสนอราคาต้องมาลงทะเบียนต่อคณะกรรมการให้ทัน พร้อมรับสัญญา 3 ฝ่าย (มาไม่ทันเวลาลงทะเบียนถูกยึดหลักประกันซอง) ส่งใบมอบอำนาจ สำเนาบัตรประชาชน ของผู้มีสิทธิเสนอราคาหรือผู้แทน (ให้ส่งผู้แทน ได้ไม่เกินรายละ 3 คน) ห้ามเปลี่ยนหรือเพิ่มผู้แทนแต่ถอนผู้แทนได้ รับ Username, Password เข้าประจำที่ โดยแยกจากผู้เสนอราคารายอื่น 5. ห้ามนำเครื่องมือสื่อสารเข้าห้องเสนอราคา/ห้ามติดต่อกับบุคคลใดๆ ไม่ว่าด้วยวิธีใดก่อนเสนอราคา 15 นาที ให้เข้าทดสอบระบบก่อน

35 การปฏิบัติของผู้มีสิทธิเสนอราคาในวันเสนอราคา (ต่อ)
หากผู้มีสิทธิเสนอราคาไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อไปนี้ จะถูกยึดหลักประกันซอง 1. ไม่ส่งผู้แทนมาลงทะเบียน ตามวัน เวลา / สถานที่ที่กำหนด 2. มาลงทะเบียนแล้วไม่ LOGIN เข้าสู่ระบบ 3. LOGIN แล้ว ไม่เสนอราคา หรือ เสนอผิดเงื่อนไข โดยเสนอสูง กว่า/หรือเท่ากับราคาเริ่มต้นการประมูล / สูงกว่าราคาที่เคยเสนอ 4. ไม่ลงชื่อยืนยันราคาสุดท้ายในการเสนอราคา ในแบบ บก.008 เงื่อนไขข้างต้น ให้กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคาซื้อ/จ้างและหนังสือ แสดงเงื่อนไข การซื้อการจ้างด้วย (สัญญา 3 ฝ่าย) (หนังสือเวียน กวพ.อ. ด่วนที่สุด กค /302 ลว. 21 ก.ค. 49)

36 กรณีผู้มีสิทธิเสนอราคาไม่ส่งผู้แทนมาตาม วัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด
ให้ประธานคณะกรรมการประกวดราคาประกาศเป็นผู้หมดสิทธิเสนอราคา ตามแบบ บก. 007 ปิดไว้ ณ สถานที่ที่เสนอราคา และเมื่อการเสนอราคาสิ้นสุดลงก็ให้ปลดประกาศนั้น และให้ส่งสำเนาประกาศให้ผู้มีสิทธิเสนอราคารายนั้นทราบต่อไป หากมีเหตุที่ทำให้เกิดความไม่เรียบร้อย หรือไม่เป็นธรรม ก็เป็น ดุลยพินิจของคณะกรรมการประกวดราคาที่จะพิจารณายกเลิก หรือเลื่อนการเสนอราคาออกไป แล้วรายงานหัวหน้าหน่วยงาน

37 การปฏิบัติของคณะกรรมการประกวดราคา
 ส่งมอบข้อมูลเบื้องต้นตามแบบ บก.021 ให้ตลาดกลาง เพื่อเตรียมระบบ และออก Username และ Password ก่อนวันที่กำหนดให้เสนอราคา 2 วันทำการ เช่น กำหนดเสนอราคาวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ก็ต้องส่งแบบ บก.021 ให้ตลาดกลางในวันที่ 8 กุมภาพันธ์  คณะกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมาอยู่ในสถานที่จัดไว้ ณ สถานที่ที่เสนอราคา

38 เมื่อถึงกำหนดนัดหมาย ผู้มีสิทธิเสนอราคายื่นแบบ บก. 006
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล สำเนาบัตรประชาชนของผู้แทนผู้มีสิทธิเสนอราคา (ไม่เกิน 3 ราย) และหนังสือมอบอำนาจ ให้ตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่ จัดให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาลงทะเบียนต่อกรรมการที่ได้รับมอบหมาย พร้อมกับมอบ Username และ Password ให้กับผู้มีสิทธิเสนอราคาที่มาลงทะเบียน และให้เจ้าหน้าที่ของรัฐนำไปยังสถานที่ที่กำหนด

39 ระหว่างเสนอราคา หากมีเหตุขัดข้อง
ให้คณะกรรมการประกวดราคา สั่งพักการเสนอราคา และหักเวลาที่สั่งพักออก เมื่อแก้ไขแล้วให้ดำเนินการต่อไป ให้เสร็จสิ้นในวันเดียวกัน ถ้าไม่เสร็จให้ประธานคณะกรรมการประกวดราคา สั่งยกเลิก และนัดวัน เวลา / สถานที่ เพื่อเริ่มต้นกระบวนการเสนอราคาใหม่

40 การขยายเวลาการเสนอราคา
กรณีมีผู้เสนอราคาต่ำสุดเท่ากันหลายรายไม่อาจ ชี้ขาดได้ ให้คณะกรรมการขยายเวลาออกไปอีก ครั้งละ 3 นาที และให้ทุกรายเสนอราคาใหม่ จนกว่า จะได้ราคาต่ำสุด ให้ยืนยันราคาสุดท้ายอีกครั้งหนึ่ง จึงจะออกนอกห้องเสนอราคาได้

41  เมื่อการเสนอราคาทางอิเล็กทรอนิกส์เสร็จสิ้น ผู้ให้บริการตลาด กลางจะพิมพ์ใบยืนยันราคาสุดท้าย (แบบ บก.008) ออกจากระบบ และสรุปผลการเสนอราคา ส่งมอบให้คณะกรรมการทันที  คณะกรรมการฯ นำใบยืนยันราคาสุดท้าย ให้ผู้เสนอราคาลง นาม ณ ห้องเสนอราคา แล้วผู้เสนอราคา จึงออกจากห้องเสนอราคา ได้  คณะกรรมการฯ ประชุมทันที และมีมติตัดสินการเสนอราคาใน วันนั้น และให้รายงานผลต่อหัวหน้าหน่วยงานที่จัดหา ในวันทำการ ถัดไป

42 งานจ้างก่อสร้าง หรือ งานซื้อพัสดุ หรืองานจ้างทั่วไป
หากจำเป็นต้องใช้เวลารวบรวมรายละเอียดให้รวบรวม และเสนออีกครั้งภายใน 5 วันทำการ นับจากรายงานครั้งแรก (หนังสือเวียน กวพ.อ. ที่ กค /ว 113 ลว. 23 มี.ค. 49 และที่ กค /ว 138 ลว. 19 เม.ย. 50)

43 การปฏิบัติของผู้ให้บริการตลาดกลาง
จะต้องเตรียมระบบให้พร้อมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 นาที มอบ Username และ Password ของผู้มีสิทธิเสนอราคาให้กับประธานฯ ก่อนการลงทะเบียนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 นาที เพื่อมอบให้กับผู้มีสิทธิเสนอราคาในขั้นตอนการลงทะเบียนต่อไป

44 จะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้าน IT มีความเข้าใจขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมการเสนอราคา และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของระบบการเสนอราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในระหว่างการเสนอราคาได้อย่างดี ประจำ ณ สถานที่เดียวกับคณะกรรมการประกวดราคา เมื่อการเสนอราคาสิ้นสุดลง ให้พิมพ์ข้อมูลสรุปผลการเสนอราคาต่ำสุด และรายละเอียดของการเสนอราคาให้กับคณะกรรมการประกวดราคาทันที เพื่อใช้ในการประกอบพิจารณา

45 การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการประกวดราคา ให้ไปประจำ ณ สถานที่เดียวกับผู้มีสิทธิเสนอราคา  นำผู้มีสิทธิเสนอราคาไปยังสถานที่ที่กำหนด  ในระหว่างการทดสอบระบบของผู้มีสิทธิเสนอราคา หากมีปัญหาของการทดสอบระบบ ก็ให้ไปรายงานต่อคณะกรรมการประกวดราคา  ดูแลให้การเสนอราคาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย หากเห็นพฤติการณ์ที่ทำให้การเสนอราคาไม่เรียบร้อย หรือไม่เป็นธรรม ให้รายงานประธานคณะกรรมการประกวดราคาโดยด่วน

46 หัวหน้าหน่วยงานที่จัดหา รับรายงานผลจากคณะกรรมการฯ
ขั้นตอนการรายงานผล การเสนอราคา หัวหน้าหน่วยงานที่จัดหา รับรายงานผลจากคณะกรรมการฯ ไม่เห็นชอบมติ คณะกรรมการ ให้คณะกรรมการชี้แจงภายใน 3 วัน เห็นชอบตามมติคณะกรรมการ ถ้าเห็นชอบ เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ สั่งซื้อ/สั่งจ้างตามระเบียบฯ เห็นชอบตามเสนอ ไม่เห็นชอบ เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อ/สั่งจ้างรายนั้น แจ้งผู้เสนอราคาทุกรายทราบผล ให้ คณะกรรมการแจ้งผู้เสนอราคาทุกรายทราบผล กรอกแบบ บก ผนวก 18 ให้คณะกรรมการชี้แจง เห็นชอบตามคำชี้แจง ไม่เห็นชอบอีก แจ้งผลให้ผู้เสนอราคาทราบ ทุกราย กรอกแบบ บก สั่งยกเลิก ไม่เห็นชอบ - สั่งยกเลิกได้

47 ผลการพิจารณาการเสนอราคา
ขั้นตอนการอุทธรณ์ ผลการพิจารณาการเสนอราคา การอุทธรณ์ผลการตัดสินผู้ชนะราคา ให้ผู้เข้าสู่กระบวนการเสนอราคา/อุทธรณ์ต่อ กวพ.อ. ภายใน 3 วัน กวพ. อ. พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ระหว่างอุทธรณ์ ให้ กวพ.อ. แจ้งระงับการดำเนินการไว้ก่อน มติ กวพ. อ. เป็นที่สุดของฝ่ายบริหาร สั่งให้เริ่มกระบวนการเสนอราคาใหม่ ในขั้นตอนใดก็ได้ อุทธรณ์ฟังขึ้น ให้แจ้งหน่วยงานดำเนินการต่อไป อุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น

48 การคืนหลักประกันซอง  หน่วยงานจะต้องคืนหลักประกันซองให้แก่ผู้เสนอราคาหรือผู้ค้ำประกันภายใน 15 วัน นับถัดจากวันที่ได้พิจารณาในเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว เว้นแต่ผู้เสนอราคารายที่คัดเลือกไว้ ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด จะคืนให้ต่อเมื่อได้ทำสัญญาหรือข้อตกลง หรือเมื่อผู้เสนอราคาได้พ้นจากข้อผูกพันแล้ว การคืนหลักประกันซองไม่ว่ากรณีใดๆ จะคืนให้โดยไม่มีดอกเบี้ย

49 หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการ
ทางอิเล็กทรอนิกส์ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพอ) ๐๔๒๑.๓/ว ๓๕๑ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๓ เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจ เกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ไว้ใน เอกสารประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หลักประกันซองตามข้อนี้ กรมจะคืนให้ผู้เสนอราคาหรือผู้ค้ำประกันภายใน ๑๕ วัน นับถัดจากวันที่ได้พิจารณาในเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว เว้นแต่ ผู้เสนอราคารายที่คัดเลือกไว้ ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด จะคืนให้ต่อเมื่อได้ทำสัญญาหรือข้อตกลง หรือเมื่อผู้เสนอราคาได้พ้นจาก ข้อผูกพันแล้ว

50 มาตรการรักษาความเป็นธรรมและผลประโยชน์ของรัฐ
ข้อห้าม! ระหว่างเสนอราคา ห้ามผู้เสนอราคาติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นหรือออกจาก สถานที่ที่เสนอราคา ห้ามเสนอราคาสูงกว่าราคาสูงสุด ห้ามเสนอราคาสูงกว่าราคาที่เคยเสนอตามลำดับ ก่อนการประกวดราคาให้ คกก.ประกวดราคา เปิดเผยราคาสูงสุด

51 การซักซ้อมความเข้าใจตามหนังสือกรมบัญชีกลาง
ที่ กค (กวพอ) ๐๔๐๘.๔/ว ๓๖๕ ลงวันที่ ๒๒ ต.ค. ๒๕๕๐ แนวทางการปฏิบัติกรณีการลงทะเบียนในวันเสนอราคา  เมื่อถึงกำหนดเวลาลงทะเบียน  จะลงทะเบียนได้เฉพาะภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น (วัน เวลา ราชการ)  คณะกรรมการประกวดราคาห้ามเปิดโอกาสให้ผู้มีสิทธิ์เสนอราคาลงทะเบียนก่อนเวลาที่กำหนด เพราะระยะเวลาในการลงทะเบียนที่ได้แจ้งให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทราบนั้น ถือเป็นเงื่อนไขที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้มีสิทธิเสนอราคา

52 ๒ เนื่องจากวันเสนอราคา ของระเบียบฯ ๔๙ เทียบได้กับ
การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการประกวดราคา เนื่องจากวันเสนอราคา ของระเบียบฯ ๔๙ เทียบได้กับ วันเปิดซองราคาตามระเบียบฯ ๓๕ ดังนั้น หากในวันเสนอราคา ประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หน่วยงานที่จัดหาจะต้องเสนอผู้มีอำนาจ แต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคา เพื่อแต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นมา ทำหน้าที่แทน ประธานกรรมการคนเดิม

53 แต่หากเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วน ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน
หากประธานฯ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ กรรมการประกวดราคาที่มาปฏิบัติหน้าที่ ก็ชอบที่จะคัดเลือกกรรมการท่านใดท่านหนึ่ง ขึ้นทำหน้าที่ประธานได้ และกรรมการผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้ทำหน้าที่แทน จะต้องรายงานผลการดำเนินงานทั้งหมดให้ประธานคนเดิมทราบ ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่จัดหา แจ้งให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคาทราบด้วย

54 ๓ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการยึดหลักประกันซอง
คำสั่งในการยึดหลักประกันซอง เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ ที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล จึงถือเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และ กวพ.อ. ได้วางหลักการไว้ว่า การพิจารณาคืนหลักประกันซอง เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดหาพัสดุ ดังนั้น ผู้ถูกยึดหลักประกันซองจะต้องทำการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อหน่วยงานผู้ออกคำสั่ง ซึ่งหน่วยงานผู้ออกคำสั่งย่อมต้องเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจพิจารณาว่า กรณีเกิดขึ้นเนื่องจากเหตุสุดวิสัยตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘ หรือไม่ หากใช่ก็สามารถคืนหลักประกันซองได้

55 การนับระยะเวลาการอุทธรณ์
เนื่องจากระเบียบฯ ๔๙ มิได้กำหนดเกี่ยวกับวิธีการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ ดังนั้น จึงให้นับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๑ ลักษณะ ๕ เรื่องระยะเวลาอันเป็นบทบัญญัติทั่วไป ตามมาตรา ๑๙๓/๓ วรรคสอง โดยให้เริ่มนับระยะเวลาในวันถัดไป และหากวันครบกำหนดตรงกับวันหยุดราชการ ก็ให้มีสิทธิอุทธรณ์ได้ในวันเปิดทำการราชการในวันแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๘

56 คุยกันเรื่อง ปัญหาการทำ Auction

57 สภาพปัญหาและอุปสรรค ของส่วนราชการ
การเปิดโอกาสให้มีการวิจารณ์ร่าง TOR ทำให้เกิดความล่าช้า ไม่คล่องตัว การแต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคา การคัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลาง การกำหนดวัน เวลา และสถานที่เสนอราคา ควรให้เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงาน การให้มีกรรมการบุคคลภายนอกร่วมเป็นกรรมการประกวดราคาตามโครงการ หายาก ไม่คล่องตัว

58 สภาพปัญหาและอุปสรรค ของส่วนราชการ (ต่อ)
การให้มีเจ้าหน้าที่ประจำห้องเสนอราคา ทำให้กระทบกับงานประจำ และหน่วยงานมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ขั้นตอนการอุทธรณ์ผลการพิจารณา ต้องหยุดดำเนินการ สถานที่ให้บริการของผู้ให้บริการตลาดกลางไม่เพียงพอ

59 สภาพปัญหาและอุปสรรค ของเอกชน
การยึดหลักประกันซองร้อยละ 5 ไม่เป็นธรรม ความเสียหายของราชการไม่เท่ากับราคาหลักประกันซองที่ยึดไว้ การเสนอราคาหลายครั้ง ทำให้ผู้เสนอราคาเสนอราคาต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง เนื่องจากในเวลาอันจำกัดทำให้ไม่มีเวลาคิดให้รอบคอบ ส่วนราชการนำราคาจัดหาครั้งสุดท้ายมาเป็นราคาเริ่มต้นใหม่ในแต่ละครั้ง ทำให้ราคาเริ่มต้นในการจัดหาต่ำลงตามลำดับ

60 สภาพปัญหาและอุปสรรค ของเอกชน (ต่อ)
สินค้าเกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์ และสินค้าที่มีคุณสมบัติพิเศษ ไม่ควรจัดหาในระบบ e-Auction เนื่องจากกำหนด Spec ได้ยาก สินค้าที่มีราคาผันผวนสูง และเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่ควรจัดหาในระบบ e-Auction งานก่อสร้างซึ่งมีเอกสารบัญชีแสดงรายการวัสดุและปริมาณสินค้าที่มีหลากหลายรายการในโครงการเดียวกัน ไม่ควรจัดหาในระบบ e-Auction

61 ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ให้บริการตลาดกลาง
กรณีมีผู้เข้าร่วมเสนอราคามากราย ทำให้ห้องเสนอราคา ไม่เพียงพอ ราคาเริ่มต้นการประมูล ควรเริ่มตั้งแต่ 1 ล้านบาท

62 มาตรการในการผ่อนผัน ตาม ว 182
การจัดหาพัสดุ สำหรับส่วนราชการ ในวงเงิน 2-5 ล้านบาท สำหรับรัฐวิสาหกิจ ในวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท กรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นหรือมีปัญหาอุปสรรค ทำให้ ไม่สามารถดำเนินการโดยวิธี Auction ได้ ให้หัวหน้าหน่วยงานใช้ ดุลพินิจดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุฯ ปี 35 หรือ ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการพัสดุของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ หรือระเบียบ อื่นของหน่วยงานนั้นๆ ได้ ทั้งนี้ ต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็น หรือ ปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว ไว้ในรายงานขอซื้อหรือขอจ้างด้วย

63 ข้อยกเว้น แจ้งตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค 0421.3/ว 247
ไม่ต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ แจ้งตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค /ว 247 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2553

64 กรณีที่มีการแข่งขันน้อยราย (2 ราย) หรือไม่มีการแข่งขัน (1 ราย)
พิจารณาว่าพัสดุที่จัดหา มีการแข่งขันน้อยรายหรือไม่ ? 1 พิจารณาจากจำนวนผู้ขาย ผู้ให้บริการ หรือผู้รับจ้าง กรณีที่มีการแข่งขันน้อยราย (2 ราย) หรือไม่มีการแข่งขัน (1 ราย) ไม่ต้อง Auction

65 แต่กรณีที่มีการแข่งขัน
1 2 3 แต่กรณีที่มีการแข่งขัน ( 3 รายขึ้นไป) ต้องทำ Auction

66 2 พิจารณาว่าสินค้า/บริการ/งานโครงการที่จะจัดหา
มีความซับซ้อนหรือต้องใช้เทคนิคเฉพาะหรือไม่? 2 เกณฑ์การพิจารณาว่างานที่จัดหามีความซับซ้อนหรือต้องใช้เทคนิคเฉพาะหรือไม่ งานซื้อหรืองานจ้างดังกล่าวมีรายละเอียด ของสินค้าบริการหรืองานที่มีความซับซ้อนไม่สามารถกำหนดรายละเอียดไว้ใน TOR ได้ /มีเทคนิคเฉพาะของพัสดุหรืองานจ้างนั้นๆ เช่น การจัดหาสินค้าเวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์บางประเภท สายส่งสินค้าแรงสูง การซื้อหรือซ่อมอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ทางการทหาร ฯลฯ

67 งานก่อสร้างที่มีรายละเอียด ซับซ้อน มีเทคนิคเฉพาะ
ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ต้องใช้บุคลากรในสาขาวิชาชีพ การก่อสร้างชั้นสูง หรือต้องใช้ช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือมีความชำนาญเป็นพิเศษ

68 งานซื้อหรืองานจ้าง ที่ต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีของสินค้า
และหรือข้อกำหนดคุณสมบัติ ของผู้เสนอราคา ซึ่งอาจจะมีข้อเสนอที่ไม่อยู่ในฐานเดียวกัน จำเป็นต้องให้มีการปรับปรุงข้อเสนอ ให้ครบถ้วน และเป็นไปตามความต้องการ ก่อนพิจารณาด้านราคา

69 งานซื้อหรืองานจ้างที่มีรายละเอียด ข้อเสนอทางเทคนิคแตกต่างกัน
ต้องพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของแต่ละราย ผู้เสนอราคาสามารถเสนอข้อเสนอได้มากกว่า 1 ข้อเสนอ เพื่อให้หน่วยงานมีสิทธิคัดเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุด

70 งานซื้อหรืองานจ้างที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ผู้ผลิต ผู้ขาย หรือผู้รับจ้าง มีมาตรฐานการผลิต หรืองานจ้างเฉพาะตนที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องใช้เวลาในการพิจารณา และมีการเปิดโอกาสให้ผู้เสนอราคาทุกราย ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจน

71 ซับซ้อน มีเทคนิคเฉพาะ
ไม่ต้องทำ Auction ไม่ซับซ้อน และไม่มีเทคนิคเฉพาะ ต้องทำ Auction

72 เป็นประเภททั่วไปหรือมีลักษณะเฉพาะ?
พิจารณาว่าสินค้า/บริการ เกี่ยวกับเทคโนโลยีประเภท IT ที่จัดหาในครั้งนั้น เป็นประเภททั่วไปหรือมีลักษณะเฉพาะ? 3 เป็น Hardware หรือ Software ที่มีลักษณะเฉพาะ ไม่ต้องทำ Auction เป็น Hardware ทั่วไป หรือ Software สำเร็จรูปที่ไม่มีลักษณะเฉพาะ

73 ที่มีลักษณะเฉพาะ Hardware หรือ Software
ผู้พัฒนาระบบดังกล่าวจำเป็นต้องเข้าไปศึกษา รูปแบบการทำงานหรือความต้องการเฉพาะของหน่วยงานนั้นๆ แล้วจึงจะจัดทำ Hardware หรือ Software นั้นขึ้นได้ ส่วนใหญ่มักจะเป็น Software ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของหน่วยงานนั้น ๆ ก่อนแล้วจึงจะจัดทำ Software ขึ้น เช่น ระบบ GFMIS ระบบ e-GP ฯลฯ

74 พิจารณาว่าพัสดุที่จัดหามีความผันผวน
ทางด้านราคาหรือไม่? 4 ราคาเปลี่ยนแปลง ตามราคาตลาดโลก โดยมีการเปลี่ยนแปลง ทางด้านราคา สูงขึ้นหรือต่ำลงมากกว่า 10 % ไม่ต้องทำ Auction เช่น สินค้าประเภทโลหะ ขดลวงทองแดง หรืออลูมินั่ม ฯลฯ

75 Auction ต้องทำ Auction ราคาคงที่ หรือเปลี่ยนแปลงน้อย
(ในระหว่าง 30 วัน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้านราคา หรือเปลี่ยนน้อยกว่า 10 % โดยเฉลี่ย ให้ถือว่า เป็นสินค้าและบริการที่ไม่มีความผันผวนด้านราคา)

76 เปลี่ยนแปลงอัตราการยึดหลักประกันซอง
ร้อยละ 5 ร้อยละ 2.5 ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค / ว 247 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2553

77 เงื่อนไขการยึดหลักประกันซอง
หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค /ว 302 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2549 กำหนดให้ใส่ เงื่อนไขการยึดหลักประกันซอง ในเอกสารประกวดราคาซื้อ/จ้าง และ หนังสือสัญญา 3 ฝ่าย ให้ชัดเจน

78 เงื่อนไขการยึดหลักประกันซอง
1. ผู้มีสิทธิเสนอราคาไม่ส่งผู้แทนมาลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่กระบวนการเสนอราคา ตามวัน เวลาและสถานที่ที่กำหนด 2. ผู้มีสิทธิเสนอราคาที่มาลงทะเบียนแล้ว ไม่ LOG IN เข้าสู่ระบบ 3. ผู้มีสิทธิเสนอราคา LOG IN แล้ว แต่ไม่มีการเสนอราคา หรือเสนอราคาผิดเงื่อนไขที่ กวพ.อ. กำหนด โดยการเสนอราคาสูงกว่า หรือเท่ากับราคาสูงสุดในการประกวดราคาฯ หรือเสนอลดราคาขั้นต่ำ (Minimum Bid) แต่ละครั้งที่เสนอลดราคาน้อยกว่า บาท 4. ผู้มีสิทธิเสนอราคาไม่ลงลายมือชื่อในแบบ บก.008 แบบยืนยันราคาสุดท้ายในการเสนอราคา

79 ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพอ) 0421.3/ว 38 ลงวันที่ 3 ก.พ. 55
กรณีผู้มีสิทธิเสนอราคากระทำผิดเงื่อนไข ต้องถูกยึดหลักประกันซอง โดยให้ถือว่าหน่วยงานผู้จัดหาจะต้องรับราคาที่ผู้มีสิทธิเสนอราคาเสนอ เฉพาะราคาที่เสนอถูกต้องตามเงื่อนไขทุกประการเท่านั้น และหากตลอดช่วงเวลาการเสนอราคาไม่มีครั้งใดเลยที่ผู้เสนอราคา เสนอราคาถูกต้องตามเงื่อนไข ผู้เสนอราคารายนั้นจะต้องถูกยึดหลักประกันซอง

80 ร้อยละ 0.2 ของราคาสูงสุด ปัดเศษทิ้งหมด
หลักเกณฑ์การเสนอลดราคาขั้นต่ำ (Minimum Bid) ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพอ) /ว 289 ลงวันที่ 30 ก.ค. 55 ร้อยละ 0.2 ของราคาสูงสุด ปัดเศษทิ้งหมด ต้องระบุในตัวอย่างเอกสารประกวดราคาฯ ด้วย ว่า “ผู้มีสิทธิเสนอราคาสามารถศึกษาและทำความเข้าใจในระบบและวิธีการเสนอราคาของผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ ที่แสดงไว้ในเว็บไซต์ และผู้มีสิทธิเสนอราคาต้องทำการทดลองวิธีการเสนอราคาก่อนถึงกำหนดวันเสนอราคาที่เว็บไซต์ของผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป

81 Question & Answer


ดาวน์โหลด ppt กระบวนการ ปัญหา และแนวทางปฏิบัติ ในการจัดซื้อจัดจ้าง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google