งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชา วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชา วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชา วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต
สำหรับนักศึกษาที่เรียนวิชาพื้นฐานการศึกษาทั่วไป (GE) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูล สงคราม

2 แนะนำอาจารย์ผู้สอน อาจารย์วิภาดา ศรีเจริญ
อาจารย์วิภาดา ศรีเจริญ สถานที่ทำงาน : ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4216 e- mail : สอน 6 ครั้ง : (ครั้งที่ 1 : 16 พ.ย. 2554) (ครั้งที่ 2 : 23 พ.ย. 2554) (ครั้งที่ 3 : 30 พ.ย. 2554) (ครั้งที่ 4 : 7 ธ.ค. 2554) (ครั้งที่ 5 : 14 ธ.ค. 2554) (ครั้งที่ 6 : 21 ธ.ค. 2554)

3 คุณภาพชีวิต ความสำคัญของคุณภาพชีวิต
ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก การให้ ความสำคัญต่อทรัพยากรมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็น ผลสืบเนื่องมาจากมูลเหตุหลัก 3 ประการ คือ 1.ทรัพยากรในส่วนต่างๆได้หมดสิ้นไป โดยเฉพาะ ทรัพยากรทางด้านกายภาพ

4 1.ทรัพยากรในส่วนต่างๆได้หมดสิ้นไป โดยเฉพาะทรัพยากร ทางด้านกายภาพ
2.แนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์เริ่มแปรเปลี่ยนไป 3.มนุษย์เป็นต้นเหตุของปัญหาทั้งปวง โดยมนุษย์เป็นทั้งผู้รับ ประโยชน์และรับผลกระทบจากการพัฒนาโดยตรงจาก มูลเหตุดังกล่าว

5

6 ความหมายของคุณภาพชีวิต
คุณภาพชีวิต หมายถึง การดำรงชีวิตของมนุษย์ในระดับที่ เหมาะสม ตามความจำเป็นพื้นฐานในสังคมหนึ่งๆใน ช่วงเวลาหนึ่ง หรือ คุณภาพชีวิต หมายถึง การดำรงชีวิตในระดับที่เหมาะสม ของมนุษย์ ตามสภาพความจำเป็นพื้นฐานในสังคมซึ่งสนอง ต่อความต้องการทางด้านร่างกาย ทางจิตใจ ทางสังคม ทาง อารมณ์และทางความคิดอย่างเพียงพอ จนก่อให้เกิดความมี สุขภาพกายและสุขภาพจิต

7 ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
หมายถึง ความจำเป็นขั้นต่ำสุดของทุกคนในชุมชนควรจะมี หรือควรจะเป็นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้มีชีวิตที่ดีและ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข “ซึ่งประกอบด้วย 6 หมวด 42 ตัวชี้วัด”

8 ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
หมวดที่1 : สุขภาพดี หมวดที่2 : มีบ้านอาศัย หมวดที่3 : ฝักใฝ่การศึกษา หมวดที่4 : รายได้ก้าวหน้า หมวดที่5 : ปลูกฝังค่านิยมไทย หมวดที่6 : ร่วมใจพัฒนา

9 หมวดที่ 1 : สุขภาพดี (13 ตัวชี้วัด)
หมวดที่ 1 : สุขภาพดี (13 ตัวชี้วัด) ตัวชี้วัด หน่วย เป้าหมาย ร้อยละ ความหมายตัวชี้วัด คำอธิบายเพิ่มเติม 1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด และฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์บริการ คน 100 หญิงตั้งครรภ์ที่ไปฝากท้องกับแพทย์ พยาบาลหรือผดุงครรภ์ ก่อนคลอดตามเกณฑ์บริการ และ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักครบชุดตามเกณฑ์ ฝากท้องตามเกณฑ์บริการ หมายถึง ในช่วง 6 เดือนแรกไปตรวจครรภ์ อย่างน้อย 1 ครั้ง และในช่วง 7 เดือนขึ้นไป ตรวจครรภ์ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ฉีดวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์บริการ หมายถึง “การได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ในตารางสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค” กล่าวคือ หญิงตั้งครรภ์ เกณฑ์ 1) ไม่ได้รับ T เลย ) T 3 เข็ม 2) เคยได้ T 1 เข็ม ) T 2 เข็ม (ห่างกัน 6 เดือนโดยพยายามให้ในระหว่าง ตั้งครรภ์ ทั้ง 2 เข็ม) 3) เคยได้ T 2 เข็ม นานเกิน 3 ปี 3) T 1 เข็ม (เมื่อมาฝากครรภ์) 4) เคยได้ T 3 เข็ม นานเกิน 5 ปี 3) T 1 เข็ม (เมื่อมาฝากครรภ์เพื่อเป็นการกระตุ้น)

10 หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ)
หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด หน่วย เป้าหมาย ร้อยละ ความหมายตัวชี้วัด คำอธิบายเพิ่มเติม 2. แม่ที่คลอดลูกได้รับการทำคลอด และดูแลหลังคลอด คน 100 หญิงตั้งครรภ์ที่ไปคลอดลูกกับแพทย์ พยาบาล ผดุงครรภ์ หรือ ผดุงครรภ์โบราณ (หมอตำแย) ที่อบรมแล้ว และ ได้รับการตรวจหลังคลอด 6 สัปดาห์ ครบตามเกณฑ์บริการ หญิงตั้งครรภ์ที่คลอดลูกกับแพทย์ พยาบาล ผดุงครรภ์ หรือ ผดุงครรภ์โบราณ (หมอตำแย) ที่อบรมแล้ว การตรวจหลังคลอดตามเกณฑ์บริการ หมายถึง แม่ได้รับการตรวจหลังคลอดอย่างน้อย 2 ครั้ง - ครั้งที่ 1 เยี่ยมที่บ้าน ในช่วงสัปดาห์ที่ 1-2 หลังคลอด - ครั้งที่ 2 เยี่ยมที่บ้าน หรือนัดตรวจที่สถานีอนามัย/ โรงพยาบาล/คลินิก ในช่วงสัปดาห์ที่ 4-6 หลังคลอด

11 หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ)
หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด หน่วย เป้าหมาย ร้อยละ ความหมายตัวชี้วัด คำอธิบายเพิ่มเติม 3. เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม คน 100 เด็กแรกเกิดที่สมบูรณ์แข็งแรงจะต้อง มีน้ำหนักตัวแรกคลอด ไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม เด็กแรกเกิดที่สมบูรณ์แข็งแรงจะต้องเป็นเด็กที่มีน้ำหนักตัวแรกคลอดไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม ปกติเด็กทารกที่มีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม อัตราการเกิดและมีชีวิตรอดจะสูงกว่าเด็กทารกที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม นอกจากนี้ยังมีผลต่อการพัฒนาทั้งร่างกายและสมองของเด็กทารกด้วย หากเด็กแรกเกิดที่เป็นฝาแฝดก็ให้ใช้เกณฑ์น้ำหนักเดียวกันนี้ โดยไม่สามารถยกเว้นได้ เพราะน้ำหนักของเด็กแรกเกิดทุกคน เป็นน้ำหนักเฉพาะของตัวเด็กแรกเกิดแต่ละคน ดังนั้นเด็กแรกเกิดจึงต้องใช้เกณฑ์น้ำหนักมาตรฐานเดียวกัน คือ “ไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม”

12 หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ)
หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด หน่วย เป้าหมาย ร้อยละ ความหมายตัวชี้วัด คำอธิบายเพิ่มเติม 4. เด็กแรกเกิดถึง 1 ปีเต็ม ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคครบตามตารางสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค คน 100 เด็กแรกเกิดถึง 1 ปีเต็ม ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรควัณโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ หัด ตับอักเสบชนิดบี ครบตามตารางสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคครบตามตารางสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค หมายถึง “การได้รับวัคซีนครบตามจำนวน ชนิด และช่วงอายุที่กำหนดไว้ในตารางสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค คือ อายุ วัคซีนที่ใช้ เด็กแรกเกิด BCG, HB เข็มที่ 1 2 เดือน DTP เข็มที่ 1, OPV เข็มที่ 1,และ HB เข็มที่ 2 4 เดือน DTP เข็มที่ 2, OPV เข็มที่ 2 6 เดือน DTP เข็มที่ 3, OPV เข็มที่ 3,และ HB เข็มที่ 3 9-12 เดือน M เข็มที่ 1, หรือ MMR เข็มที่ 1 (ถ้าครัวเรือนไม่สามารถตอบคำถามได้ ให้ตรวจสอบจากทะเบียนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือ อสม.)”

13 หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ)
หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด ความหมายตัวชี้วัด คำอธิบายเพิ่มเติม 5.เด็กแรกเกิดได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 4 เดือนแรกติดต่อกัน ครัวเรือนที่มีเด็กอายุมากกว่า 4 เดือน เด็กแรกเกิดจนถึง 4 เดือน ได้กินนมแม่อย่างเดียว เป็นเวลาติดต่อกัน อย่างน้อย 4 เดือนแรก โดยไม่ให้กินอาหารอย่างอื่นเลยแม้แต่น้ำ กินนมแม่อย่างเดียว หมายถึง “การให้เด็กกินเฉพาะนมแม่อย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่ให้กินอย่างอื่นเลยแม้กระทั่งน้ำ เพราะนมแม่มีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับทารก มีภูมิคุ้มกันโรค และคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เหมาะสมกับการเจริญเติบโตสำหรับทารก ถ้าให้ทารกดื่มน้ำ หรืออาหารอื่นร่วมด้วย จะทำให้เด็กกินนมแม่ได้น้อยลง เด็กจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และนมแม่ยังมีสารป้องกันการเกิดเชื้อราในปาก (ฝ้าในปาก) จึงไม่ควรดื่มน้ำตาม 6.เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน ครัวเรือนที่มีเด็กแรกเกิดจนถึง 5 ปี เด็กแรกเกิดจนถึง 5 ปี ได้กินอาหารอย่างเหมาะสม และเพียงพอตามวัย ซึ่งมีผลทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน (น้ำหนักเทียบกับอายุ) การเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี หมายถึง “การประเมินจากน้ำหนักเทียบกับอายุตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้”

14 หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ)
หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด ความหมายตัวชี้วัด คำอธิบายเพิ่มเติม 7. เด็กอายุ 6-15 ปี เจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน ครัวเรือนที่มีเด็กอายุระหว่าง 6 ถึง 15 ปี เด็กอายุระหว่าง 6 ถึง 15 ปี ได้กินอาหารถูกต้องครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย ซึ่งมีผลทำให้มีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน (น้ำหนัก ส่วนสูง เทียบกับอายุ) การเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 6 ถึง 15 ปี หมายถึง “การประเมินจากน้ำหนัก ส่วนสูง เทียบกับอายุ ซึ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือครูที่โรงเรียนได้ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงแล้วนำไปเทียบกับช่วงอายุลงในสมุดประจำตัวนักเรียน”

15 หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ)
หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ) 8. เด็กอายุ 6-12 ปี ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคครบตามตารางสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค อายุ วัคซีนที่ใช้ 4-6 ปี หรือ ป.1 DT, OPV เข็มที่ 5, M เข็มที่ 2, Rหรือ MMR เข็มที่ 2, BCG (เฉพาะในรายที่ไม่มีแผลเป็น) 7 ปี DT เข็มที่ 2, R (เฉพาะนักเรียนหญิง) 12 ปี หรือ ป.6 DT, OPV เข็มที่ 5, M เข็มที่ 2, Rหรือ MMR

16 หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ)
หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด หน่วย เป้าหมาย ร้อยละ ความหมายตัวชี้วัด 9. ทุกคนในครัวเรือนกินอาหารถูกสุขลักษณะปลอดภัยและได้มาตรฐาน ครัวเรือน 95 ทุกคนในครัวเรือนได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการกินอาหารที่มีคุณภาพถูกสุขลักษณะ ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ครบทั้ง 4 เรื่อง ดังต่อไปนี้ (1) ถ้ากินอาหารบรรจุสำเร็จ ต้องมีเครื่องหมาย อย. เช่น น้ำปลา น้ำส้มสายชู อาหารกระป๋อง นม อาหารกล่อง เป็นต้น (2) ถ้ากินเนื้อสัตว์ ต้องทำให้สุกด้วยความร้อน (3) ถ้ากินผัก ต้องเป็นผักปลอดสารพิษหรือได้ทำการแช่ด้วยน้ำผสมด่างทับทิม หรือน้ำยาล้างผักแล้วล้างด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง (4) ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งต้องล้างมือให้สะอาด และในการรับประทานอาหารร่วมกันต้องใช้ช้อนกลางในการตักอาหารทุกครั้ง (หากขาดข้อใดข้อหนึ่งให้ถือว่า “ปฏิบัติไม่ครบ”)

17 หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ)
หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด หน่วย เป้าหมาย ร้อยละ ความหมายตัวชี้วัด คำอธิบายเพิ่มเติม 10.คนในครัวเรือนมีความรู้ในการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสม ครัวเรือน 100 เมื่อคนในครัวเรือนเมื่อมีอาการเจ็บป่วย หากยังไม่ได้ไปรักษาที่สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาล ได้ปฏิบัติครบทั้ง 3 เรื่อง ดังต่อไปนี้ (1) ไม่กินยาชุด (2) ไม่กินยาสมุนไพร หรือยาแผนโบราณที่ไม่ได้ปรุงขึ้นเฉพาะสำหรับตนเอง (3) เมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยใช้ยาสามัญประจำบ้านรักษา (หากขาดข้อใดข้อหนึ่งให้ถือว่า “ปฏิบัติไม่ครบ”) ยาสามัญประจำบ้าน หมายถึง ยาที่กระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาคัดเลือกว่า เป็นยาที่เหมาะสมที่จะให้ประชาชนหาซื้อมาใช้ได้ด้วยตนเอง เพื่อการดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มักจะเกิดขึ้นได้ ได้แก่

18 หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ)
หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด หน่วย เป้าหมาย ร้อยละ ความหมายตัวชี้วัด คำอธิบายเพิ่มเติม 11. คนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี คน 50 ครัวเรือนที่มีคนอายุ 35 ปีขึ้นไป คนอายุ 35 ปีขึ้นไปทุกคนในครัวเรือนทั้งชาย/หญิง ได้รับการตรวจสุขภาพทั่วไปประจำปี การตรวจสุขภาพทั่วไปประจำปี หมายถึง “การตรวจสุขภาพหลายอย่างที่ไม่เจาะจงโรค เพื่อประเมินสุขภาพของบุคคลเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง การตรวจสุขภาพได้แก่ การตรวจร่างกายทั่วไป การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ ฯลฯ” การตรวจสุขภาพทั่วไปประจำปี ไม่ใช่การไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยธรรมดาทั่วไป แต่มุ่งเน้นถึงการตรวจสุขภาพหลายอย่างที่ไม่เจาะจงโรค เช่น การตรวจร่างกายทั่วไป การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ ฯลฯ เพื่อประเมินสุขภาพของคนแต่ละคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปทุกคน

19 หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ)
หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด หน่วย เป้าหมาย ร้อยละ ความหมายตัวชี้วัด 12. คนอายุ 6 ปีขึ้นไป ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที คน 60 คนอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที หรือ ออกแรง/ออกกำลังติดต่อกันอย่างน้อย 10 นาทีขึ้นไป รวมกันทั้งวัน ๆ ละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน NO YES

20 หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ)
หมวดที่ 1 : สุขภาพดี 13 ตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด หน่วย เป้าหมาย ร้อยละ ความหมายตัวชี้วัด คำอธิบายเพิ่มเติม 13. ผู้ที่มีสิทธิในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีหลักประกันสุขภาพ คน 97.5 ผู้มีหลักประกันสุขภาพ สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น เมื่อต้องไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลสามารถใช้สิทธิตามหลักประกันสุขภาพได้ และสิทธิด้านสุขภาพของคนไทยทุกคนได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย” ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หมายถึง 1) เป็นบุคคลสัญชาติไทย 2) มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ยกเว้น: ผู้ที่มีสิทธิประกันด้านสุขภาพภาครัฐด้านอื่นๆ ได้แก่ (1) มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม (2) ข้าราชการ หรือลูกจ้างของส่วนราชการทุกประเภท (3) พนักงานหรือลูกจ้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) พนักงานหรือลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ (5) ครูเอกชน (6) บิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือบุคคลอื่นที่ได้รับสวัสดิการการรักษาพยาบาลโดยอาศัยสิทธิของบุคคลตาม (2) (3) และ (4) (7) ข้าราชการเมืองไทย ซึ่งรัฐได้จัดหาสวัสดิการด้านรักษาพยาบาลให้อยู่แล้ว (8) คนไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศมากกว่า 3 เดือน (9) ผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานอื่นของรัฐหรือบุคคลอื่นใดที่มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ ผู้มีหลักประกันสุขภาพ หมายถึง ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้ไปขึ้นทะเบียนเพื่อรับบัตรทอง 30 บาท และได้รับบัตรมาแล้ว

21 หมวดที่2 : มีบ้านอาศัย (8 ตัวชี้วัด)
ความหมายตัวชี้วัด 14. ครัวเรือนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและบ้านมีสภาพคงทนถาวร ครัวเรือนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและบ้านมีสภาพคงทนถาวร คือ อยู่ได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีปัญหาเรื่องที่พักอาศัย เช่น ถูกไล่ที่ และบ้านมีสภาพคงทนถาวร 15. ครัวเรือนมีน้ำสะอาดสำหรับดื่มและบริโภคเพียงพอตลอดปี ครัวเรือนมีน้ำสะอาดสำหรับดื่ม และบริโภคเพียงพอตลอดปี อย่างน้อยคนละ 5 ลิตรต่อวัน 16. ครัวเรือนมีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี ครัวเรือนมีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี อย่างน้อยคนละ (ประมาณ 2 ปี๊บ) ต่อวัน 17. ครัวเรือนมีการจัดบ้านเรือนเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และถูกสุขลักษณะ ครัวเรือนนี้มีการจัดบริเวณบ้านและภายในบ้าน โดยมีที่ประกอบอาหาร มีที่เก็บน้ำสะอาด ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์/แมลงนำโรค มีอุปกรณ์กำจัดขยะมูลฝอย สภาพในบ้านสะอาด ไม่มีแหล่งน้ำเสียขัง มีส้วมถูกสุขลักษณะเป็นระเบียบ ครบทุกเรื่อง **เป้าหมายร้อยละ

22 หมวดที่2 : มีบ้านอาศัย 8 ตัวชี้วัด (ต่อ)
ความหมายตัวชี้วัด 18. ครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษ ครัวเรือนนี้ถูกรบกวนจากเสียง ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง กลิ่น หรือมลพิษทางอากาศ น้ำเสีย ขยะ หรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง 19. ครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี ครัวเรือนนี้ เมื่อมีการขับขี่ยานพาหนะ ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องป้องกัน ในการประกอบอาชีพได้มีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี 20. ครัวเรือนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในรอบปีที่ผ่านมา ในครัวเรือนมีคนถูกลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ปล้นทรัพย์ หลอกลวงให้เสียทรัพย์ กระทำอนาจาร ข่มขืน กระทำชำเรา ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกฆ่าตาย หรือมีการบุกรุกที่อยู่อาศัย หรืออาชญากรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สิน 21. ครอบครัวมีความอบอุ่น ในรอบปีที่ผ่านมา ครัวเรือนนี้มีโอกาส อยู่พร้อมหน้ากัน มีความเคารพนับถือซึ่งกันและกัน มีการปรึกษาหารือ สมาชิกในครัวเรือนไม่เคยหนีออกจากบ้าน คนอยู่คนเดียว มีความสุข **เป้าหมายร้อยละ 100

23 หมวดที่3 : ฝักใฝ่การศึกษา (7 ตัวชี้วัด)
หมวดที่3 : ฝักใฝ่การศึกษา (7 ตัวชี้วัด) ตัวชี้วัด หน่วย เป้าหมาย ร้อยละ ความหมายตัวชี้วัด 22. เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีเต็ม ได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้จากการทำกิจกรรมร่วมกับผู้ใหญ่ในบ้าน คน 80 เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีเต็มได้รับการส่งเสริม การเรียนรู้จากการทำกิจกรรมร่วมกับผู้ใหญ่ในบ้าน 23. เด็กอายุ 3-5 ปีเต็ม ได้รับบริการเลี้ยงดูเตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน เด็กอายุระหว่าง 3 ถึง 5 ปีเต็ม ได้รับบริการเลี้ยงดูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเคลื่อนที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา โรงเรียนอนุบาล หรือได้เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของเด็กก่อนวัยเรียนทุกคน 24. เด็กอายุ 6-15 ปี ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี 100 เด็กอายุระหว่าง 6 ถึง 15 ปี ทุกคนได้เข้าเรียนการศึกษาในระดับชั้น ป.1 ถึง ม.3 (การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี) 25. เด็กที่จบการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ได้เรียนต่อมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า 95 เด็กจบชั้น ม.3 (การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี) ได้เรียนต่อในมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 ถึง ม.6) หรือเทียบเท่า ซึ่งรวมถึงการได้เรียนต่อในสายอาชีพด้วย

24 หมวดที่3 : ฝักใฝ่การศึกษา 7 ตัวชี้วัด (ต่อ)
หมวดที่3 : ฝักใฝ่การศึกษา 7 ตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด หน่วย เป้าหมาย ร้อยละ ความหมายตัวชี้วัด 26.เด็กที่จบการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี แต่ไม่ได้เรียนต่อมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าและยังไม่มีงานทำ ได้รับการฝึกอบรมอาชีพ คน 80 เด็กจบชั้น ม.3 (การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี) ที่ไม่ได้เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 ถึง ม.6) หรือเทียบเท่า (เช่น ปวช.) ที่ยังไม่มีงานทำ ได้รับการฝึกอบรมด้านอาชีพต่าง ๆ ที่หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนจัดขึ้นทุกคน อย่างน้อย 1 อาชีพ 27. คนอายุ ปีเต็ม อ่าน เขียนภาษาไทย และคิดเลขอย่างง่ายได้ ทุกคน 100 คนอายุ ปีเต็ม สามารถอ่าน เขียนภาษาไทย และคิดเลขอย่างง่ายได้ทุกคน 28. คนในครัวเรือนรับรู้ข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ครัวเรือน ในรอบปีที่ผ่านมา คนในครัวเรือนได้รับรู้ข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ในด้านการประกอบอาชีพ ด้านการตลาด (การซื้อขายผลผลิต) ด้านอาหารการกิน ด้านสุขภาพอนามัย ด้านกฎหมายที่ควรรู้ ด้านข่าวสารบ้านเมืองหรือด้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 ครั้ง

25 หมวดที่ 4 : รายได้ก้าวหน้า (3 ตัวชี้วัด)
หมวดที่ 4 : รายได้ก้าวหน้า (3 ตัวชี้วัด) ตัวชี้วัด หน่วย เป้าหมาย ร้อยละ ความหมายตัวชี้วัด 29. คนอายุ ปีเต็ม มีการประกอบอาชีพและมีรายได้ คน 95 คนอายุ ปีเต็ม ทุกคนมีการประกอบอาชีพและมีรายได้ (ยกเว้นผู้ที่กำลังศึกษาอย่างเดียว โดยไม่ได้ประกอบอาชีพ คนพิการ ทางสมอง หรือคนพิการที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้) 30. คนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ย ไม่ต่ำกว่าคนละ 23,000 บาทต่อปี ครัวเรือน 70 คนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าคนละ 23,000 บาทต่อปี 31. ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน 80 ครัวเรือนที่มีการเก็บออมเงินหรือไม่

26 หมวดที่ 5 : ปลูกฝังค่านิยมไทย (6 ตัวชี้วัด)
หมวดที่ 5 : ปลูกฝังค่านิยมไทย (6 ตัวชี้วัด) ตัวชี้วัด หน่วย เป้าหมาย ร้อยละ ความหมายตัวชี้วัด 32. คนในครัวเรือนไม่ติดสุรา คน 100 คนในครัวเรือนนี้ ไม่ติดสุรา (เหล้า เบียร์ ยาดอง กระแช่ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์) 33. คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ 90 คนในครัวเรือนนี้ ไม่สูบบุหรี่ (ยาสูบ หรือยามวน) 34. คนในครัวเรือนทุกคน ได้ปฏิบัติตนตามขนบธรรมเนียมและมารยาทไทย ครัวเรือน 95 คนในครัวเรือนได้ปฏิบัติตนตามขนบธรรมเนียมที่ดีงามและมารยาทไทย 35. คนอายุ 6 ปีขึ้นไปทุกคนได้ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในรอบปีที่ผ่านมา คนในครัวเรือนที่อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปได้มีการปฏิบัติกิจกรรม ทางศาสนา อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น การทำบุญตักบาตร ร่วมพิธีกรรมทางศาสนา ทำสมาธิ สวดมนต์ ฟังเทศน์ ฟังธรรม หรือ การทำละหมาด เป็นต้น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 36. คนสูงอายุได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนในครัวเรือน คนสูงอายุทุกคนได้รับการดูแลเอาใจใส่ในชีวิต ความเป็นอยู่ ด้านอาหาร การกิน เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และได้รับการดูแลเมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วย การเอาใจใส่ด้านสภาพจิตใจจากคนในครัวเรือน 37. คนพิการได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนในครัวเรือน คนพิการทุกคนได้รับการดูแลเอาใจใส่ในชีวิตความเป็นอยู่ ด้านอาหารการกิน เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และได้รับการดูแลเมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วย การเอาใจใส่ด้านสภาพจิตใจ จากคนในครัวเรือน

27 หมวดที่ 6 : ร่วมใจพัฒนา (5 ตัวชี้วัด)
หมวดที่ 6 : ร่วมใจพัฒนา (5 ตัวชี้วัด) ตัวชี้วัด หน่วย เป้าหมาย ร้อยละ ความหมายตัวชี้วัด 38. คนในครัวเรือน เป็นสมาชิกกลุ่มที่ตั้งขึ้นในหมู่บ้าน/ชุมชน ตำบล ครัวเรือน 95 คนในครัวเรือนนี้ อย่างน้อย 1 คน ที่เป็นสมาชิกกลุ่ม สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน หรือกองทุนเฉพาะกิจ หรือสมาชิกองค์กรประชาชนที่จัดตั้งขึ้นในหมู่บ้านตำบลนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง 39. คนในครัวเรือน มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือท้องถิ่น ในรอบปีที่ผ่านมา คนในครัวเรือนนี้อย่างน้อย 1 คน ได้มีส่วนร่วมใน การแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือท้องถิ่น 40. คนในครัวเรือน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือท้องถิ่น 90 ในรอบปีที่ผ่านมา คนในครัวเรือนนี้อย่างน้อย 1 คน ได้มีส่วนร่วมในการกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของหมู่บ้าน/ชุมชน เช่น การปลูกป่า การปลูกต้นไม้ การรักษาแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นต้น เพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือท้องถิ่น

28 หมวดที่ 6 : ร่วมใจพัฒนา 5 ตัวชี้วัด (ต่อ)
หมวดที่ 6 : ร่วมใจพัฒนา 5 ตัวชี้วัด (ต่อ) ตัวชี้วัด หน่วย เป้าหมาย ร้อยละ ความหมายตัวชี้วัด 41. คนในครัวเรือน มีส่วนร่วมทำกิจกรรมสาธารณะของหมู่บ้าน ครัวเรือน 100 ในรอบปีที่ผ่านมา คนในครัวเรือนนี้ อย่างน้อย 1 คน ได้เคยเข้าร่วมทำกิจกรรมสาธารณะของหมู่บ้าน โดยการออกแรงงาน เงิน หรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สร้าง/ซ่อมแซมถนน ลอกคลอง การกำจัดขยะมูลฝอยและน้ำเสีย แปรรูปผลผลิต เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง 42. คนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิ์เลือกตั้งไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในชุมชนของตน คน 90 ครัวเรือนนี้มี คนอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งล่าสุด (นับเฉพาะสมาชิกที่อาศัยอยู่จริง ในครัวเรือนนี้เท่านั้น ไม่นับคนที่ไม่ได้อาศัยอยู่จริง เช่น คนที่อยู่กรุงเทพฯ พอถึงเวลาเลือกตั้งแล้วกลับบ้าน ไปเลือกตั้ง)

29 THE END HEALTHY THAILAND เริ่มที่ตัวคุณ


ดาวน์โหลด ppt วิชา วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google