งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความรู้เบื้องต้นข้อมูลสิทธิบัตรและการสืบค้นสิทธิบัตร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรู้เบื้องต้นข้อมูลสิทธิบัตรและการสืบค้นสิทธิบัตร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความรู้เบื้องต้นข้อมูลสิทธิบัตรและการสืบค้นสิทธิบัตร
นิศาชล ศศานนท์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา โทร

2 เนื้อหา สิทธิบัตรเบื้องต้น การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสิทธิบัตร
การสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตร วิธีการสืบค้น แหล่งสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตร

3 สิทธิบัตรเบื้องต้น

4 หน้าที่หลักของระบบสิทธิบัตร
การเปิดเผยข้อมูล ข้อมูลเทคโนโลยีถูกเปิดเผยสู่สาธารณะเพื่อ การเรียนรู้ การสร้างสรรค์ การพัฒนา ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ การคุ้มครองสิทธิ เจ้าของสิทธิได้รับสิทธิในการใช้ประโยชน์โดยสามารถห้าม มิให้ผู้อื่นทำการผลิต ใช้ หรือขาย สิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตร ภายในช่วงเวลาที่กำหนด ในขอบเขตพื้นที่ที่กำหนด ตามขอบเขตที่ระบุในข้อถือสิทธิ “Give and Take”

5 สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
หมายถึง การที่รัฐให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ผู้ทรงสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร มีสิทธิเด็ดขาด หรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบที่ได้รับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรนั้น ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ในขอบเขตข้อถือสิทธิที่ระบุไว้

6 เงื่อนไขการขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (ม.5) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ (ม.65 ทวิ) สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (ม.56) เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม

7 การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หมายถึง
การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว ได้แก่ 1. การประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร 2. การประดิษฐ์ที่ได้เปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้ว ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร และไม่ว่าการเปิดเผยนั้นจะกระทำโดยเอกสาร สิ่งพิมพ์ การนำออกแสดง หรือการเปิดเผยต่อสาธารณชนด้วยประการใด ๆ

8 การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หมายถึง (ต่อ)
การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หมายถึง (ต่อ) การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว ได้แก่ 3. การประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรแล้ว ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร 4. การประดิษฐ์ที่มีผู้ขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรไว้แล้วนอกราชอาณาจักรเป็นเวลาเกิน 18 เดือนก่อนวันขอรับสิทธิบัตรแต่ยังมิได้มีการออกสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรให้ 5. การประดิษฐ์ที่มีผู้ขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรไว้แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร และได้ประกาศโฆษณาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตรในราชอาณาจักร

9 การกระทำที่ไม่ถือว่าเป็นการเปิดเผยสาระสำคัญ
การเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลมาจากการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย หรือการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดโดยผู้ประดิษฐ์ รวมทั้งการแสดงผลงานของผู้ประดิษฐ์ในงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศหรือในงานแสดงต่อสาธารณชนของทางราชการ และการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดดังกล่าวได้กระทำภายในสิบสองเดือนก่อนที่จะมีการขอรับสิทธิบัตร มิให้ถือว่าเป็นการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียด

10 การประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น หมายถึง
การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายแก่บุคคลที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น มีลักษณะที่เป็นการแก้ไขปัญหาทางเทคนิค

11 การประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม
การประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม รวมทั้ง หัตถกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรม

12 อายุการคุ้มครอง สิทธิบัตรการประดิษฐ์ 20 ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตรในราชอาณาจักร (ม.35) สิทธิบัตรการออกแบบ 10 ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตรในราชอาณาจักร (ม.62) อนุสิทธิบัตร 6 ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตรในราชอาณาจักร ต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี (ม.65 สัตต)

13 การใช้ประโยชน์ข้อมูลสิทธิบัตร

14 ข้อมูลสิทธิบัตรมีประโยชน์อย่างไร
ไม่ต้องลงทุนซ้ำซ้อน ดูว่าสิ่งประดิษฐ์นั้นเข้าข่ายได้รับจดทะเบียนหรือไม่ ป้องกันการละเมิดคนอื่น นำสิทธิบัตรที่ไม่มีการคุ้มครองในประเทศนั้น ๆ หรือที่หมดอายุการคุ้มครองแล้วมาใช้ประโยชน์ วางแผนการธุรกิจ เช่น การอนุญาตใช้สิทธิ การร่วมทุน ประเมินมูลค่าสิ่งประดิษฐ์ ประเมินคู่แข่ง ประเมินทิศทางของเทคโนโลยี

15 การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสิทธิบัตร
ข้อมูลด้านเทคนิค ข้อมูลด้านธุรกิจ ข้อมูลด้านกฎหมาย

16 การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสิทธิบัตร
ข้อมูลด้านเทคนิค รู้ว่ามีเทคโนโลยีอะไรบ้าง เพราะเอกสารสิทธิบัตรเปิดเผยสิ่งประดิษฐ์ มีรายละเอียดการประดิษฐ์ รูปเขียน บอกรายละเอียดและเทคโนโลยีหลักของงานประดิษฐ์ ผู้มีความรู้ในสาขานั้น สามารถทำการประดิษฐ์อย่างเดียวกันได้ มีข้อถือสิทธิ ซึ่งระบุขอบเขตการคุ้มครองของสิทธิบัตรนั้น สามารถนำความรู้เทคนิคต่าง ๆ มาศึกษาเพื่อพัฒนาต่อยอดได้ Patent information means all related information arose from a patent system. It can be used in the respect of Technical information, Legal information, Business information. Technical information: the patent document discloses the technological subject matters. The description and the claims describe the details and the core of the technology. Legal information: the scope of a patent right can be recognized based on the claims. The application date determines the term of a patent, if a patent is granted. The legal status such as pending, rejected, abandoned, withdrawn and granted is available in the patent information. Business information: from analyzing the applicant, application date and technological content, the following matters can be recognized: 1) the direction of the technological development from the lapse of time 2) the application status of a specific company in each technical field 3) the technological trend in the market 4) the research strategy of the competitor company

17 การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสิทธิบัตร
ข้อมูลด้านกฎหมาย ขอบเขตการคุ้มครองสิทธิตามที่ระบุในข้อถือสิทธิ ระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิของสิทธิบัตร นับจากวันที่ยื่นคำขอตามระยะเวลาที่กำหนด สถานะทางกฎหมาย เช่น รอการพิจารณา ปฏิเสธ เพิกถอน และ ได้รับการจดทะเบียน Patent information means all related information arose from a patent system. It can be used in the respect of Technical information, Legal information, Business information. Technical information: the patent document discloses the technological subject matters. The description and the claims describe the details and the core of the technology. Legal information: the scope of a patent right can be recognized based on the claims. The application date determines the term of a patent, if a patent is granted. The legal status such as pending, rejected, abandoned, withdrawn and granted is available in the patent information. Business information: from analyzing the applicant, application date and technological content, the following matters can be recognized: 1) the direction of the technological development from the lapse of time 2) the application status of a specific company in each technical field 3) the technological trend in the market 4) the research strategy of the competitor company

18 การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสิทธิบัตร
ข้อมูลด้านธุรกิจ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งจากวันที่ยื่นคำขอ ผู้ขอ ผู้ประดิษฐ์ ประเทศที่ยื่น เช่น ทิศทางของเทคโนโลยี สถานะของบริษัทในแต่ละกลุ่มเทคโนโลยี แนวโน้มตลาด ทิศทางของคู่แข่ง Patent information means all related information arose from a patent system. It can be used in the respect of Technical information, Legal information, Business information. Technical information: the patent document discloses the technological subject matters. The description and the claims describe the details and the core of the technology. Legal information: the scope of a patent right can be recognized based on the claims. The application date determines the term of a patent, if a patent is granted. The legal status such as pending, rejected, abandoned, withdrawn and granted is available in the patent information. Business information: from analyzing the applicant, application date and technological content, the following matters can be recognized: 1) the direction of the technological development from the lapse of time 2) the application status of a specific company in each technical field 3) the technological trend in the market 4) the research strategy of the competitor company

19 ข้อมูลสิทธิบัตร

20 โครงสร้างของเอกสารสิทธิบัตร
หน้าประกาศ (Title Page) ข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographical information), กลุ่มเทคโนโลยี (Classification) บทสรุป (Abstract), (รูปเขียน (Drawing) 1 รูป) รายละเอียด (Description) ลักษณะความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ คำอธิบายรูปโดยย่อ วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด ข้อถือสิทธิ (Claims) รูปเขียน (Drawing) ทั้งหมด

21 หน้าประกาศ กลุ่มเทคโนโลยี ข้อมูลบรรณานุกรม บทสรุป

22 รายละเอียด

23 ข้อถือสิทธิ

24 INID code เลขกำกับข้อความสากล (11) Publication no.
(43) Publication date (51) IPC (22) Filing date (71) applicant (72) inventor (30) Priority data (74) agent (54) Title (57) Abstract

25 (10) Publication no. INID code (43) Publication date Kind code (51) IPC (22) Filing date Designated states (30) Priority data (71) applicant (72) inventor (74) agent (54) Title (57) Abstract

26 The invention claimed is:

27

28 (21) Application number (22) Application date (43) Publication date (72) inventor (71) applicant

29

30 ข้อมูลสิทธิบัตร ข้อมูลบุคคลหรือหน่วยงาน: ผู้ขอ (applicant), ผู้ประดิษฐ์ (inventor), ตัวแทน (agent), ผู้ตรวจสอบ (examiner) หมายเลข: เลขที่คำขอ (Application no.), เลขที่ประกาศโฆษณา(publication no.), เลขที่สิทธิบัตร (patent no.) วันที่: วันที่ยื่นคำขอ (application date), วันที่ประกาศโฆษณา(publication date), วันที่จดทะเบียน (registration date), วันที่ Priority (Priority date) ข้อมูลเทคนิค: ชื่อเรื่อง (title), รายละเอียด (description), ข้อถือสิทธิ (claims), บทสรุป (abstract), รูปเขียน (drawings) รหัสจำแนกกลุ่มเทคโนโลยี: สัญลักษณ์การประดิษฐ์ (Classification Code) For personnel information, the inventor and the applicant are specified. When a patent application is filed through an agent, the agent is specified. Especially, the publication of a granted patent specifies the examiner, who has examined the technology, for which a patent application is filed. A unique identification number is specified. An application number is specified, when the application was filed. A publication number is specified, when the patent document is disclosed. In the publication of granted patent, a patent number are specified. Such identification numbers are used to distinguish the document, application or patent from other material. Various dates such as application date, laid-open date and registration date are published. The term of a patent right ends 20 years after the application date. After the laid-open date, the application is disclosed to the public and can be cited as a reference. The patent right is generated at the registration date. Information that relates to the technology includes the Title, Description, Claims, Abstract and Drawings. The Title expresses the content of the technology briefly and clearly. The Abstract describes the summarized technological matters. The Description explains the invention in detail that is needed to enable the invention to be utilized. The content of the description consists of the objectives of the invention, the technological constitutions, and their effects obtained by the invention in order to solve the conventional problems. Claims are the matters that the applicant considers as the core of the invention and so is seeking to claim as their rights. The patent classification is intended to make the classification and search easier. The patent document specifies the IPC (International Patent Classification) code that is used internationally, and the number of the edition of the IPC granted. In this way, the IPC granted on the patent document enables one to recognize the technological class to which the pertinent technology belongs. Some offices have their own separate patent classification and such classification is published along with the IPC. Representative examples thereof are the USPC of the U.S. Patent and Trademark Office, ECLA of Europe Patent Office, DEKLA of the German Patent and Trademark Office and F.I, F-Term of Japan Patent Office.

31 ข้อมูลสิทธิบัตร ข้อมูล priority : ทำให้ทราบ Patent family, ประเทศที่ยื่นไว้แล้ว, เอกสารต้นฉบับในภาษาต่าง ๆ ประเทศที่คุ้มครอง (Designated states) จะมีในกรณีที่ยื่นแบบ regional และ international เช่น PCT (WIPO), EPC (EPO), (WIPO Standard ST.3) สถานะ (Legal status) ข้อมูลอ้างอิง (Citation and references) Kind code (WIPO Standard ST.16) INID code (WIPO Standard ST.9) Internationally Agreed Numbers for the Identification of Bibliographic Data

32 การสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตร

33 ทำไมต้องสืบค้น เพื่อหาข้อมูลสำหรับตอบคำถาม เช่น
มีเทคโนโลยีอะไรบ้างในกลุ่มเทคโนโลยีที่เรากำลังสนใจ สิ่งประดิษฐ์นี้จดสิทธิบัตรได้หรือไม่ สิทธิบัตรนี้ยังมีผลบังคับใช้อยู่หรือไม่ สินค้าของเราเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิผู้อื่นหรือไม่

34 State-of-the-Art search
คำถาม มีเทคโนโลยีอะไรบ้างในกลุ่มเทคโนโลยีที่เรากำลังสนใจ ใครมีเทคโนโลยีที่เรากำลังสนใจ เพื่อ วางแผนวิจัยพัฒนา ตัดสินใจก่อนเข้าสู่ตลาด โอกาสในการทำธุรกิจ สำรวจคู่แข่งหรือคู่ค้า

35 Novelty/patentability search
คำถาม สิ่งประดิษฐ์นี้จดสิทธิบัตรได้หรือไม่ เพื่อ ตัดสินใจว่าควรยื่นขอรับสิทธิบัตรหรือไม่ พิจารณาว่าจะร่างคำขอหรือเขียนข้อถือสิทธิอย่างไรเพื่อให้สามารถรับจดทะเบียนได้

36 Validity/invalidity search
คำถาม สิทธิบัตรนี้ยังมีผลบังคับใช้อยู่หรือไม่ เพื่อ พิจารณาการใช้สิทธิในสิทธิบัตรของเรา ดำเนินการโต้แย้งสิทธิบัตรของผู้อื่น เตรียมป้องกันการถูกฟ้องว่าละเมิดสิทธิบัตรผู้อื่น

37 Freedom-to-operate Search
คำถาม สินค้าของเราเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิผู้อื่นหรือไม่ เพื่อ เป็นแนวทางตัดสินใจในการออกผลิตภัณฑ์ ดูว่าสิทธิบัตรใดควรทำ License

38 ทดสอบ บริษัทต้องการนำสินค้ารุ่นใหม่ออกสู่ตลาด
ต้องการรู้ว่าถ้าผลิตและขายสินค้าตัวนี้จะละเมิดสิทธิบัตรของบริษัทอื่นหรือไม่ Freedom-to-operate search

39 ทดสอบ ตัวแทนสิทธิบัตรกำลังร่างคำขอสำหรับกระบวนการใหม่ที่ใช้ในการผลิตลูกบอลยาง ต้องการรู้ว่า มีประเด็นใดบ้างของกระบวนการนี้ (หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการนี้) สามารถรับความคุ้มครองได้ และจะเขียนข้อถือสิทธิอย่างไรเพื่อให้ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตร Novelty/patentability search

40 ทดสอบ ผู้ผลิตจักรยานเพิ่งทราบว่าคู่แข่งของตนเป็นเจ้าของสิทธิบัตรกลไกการเปลี่ยนเกียร์ ซึ่งใช้ในจักรยานเสือภูเขาที่ตนเป็นผู้ผลิตขายอยู่ด้วย ต้องการรู้ว่า จะป้องกันตัวเองจากการถูกคู่แข่งฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดได้หรือไม่ Validity/invalidity search

41 ทดสอบ นักวิจัยรายหนึ่งมั่นใจว่า เขาได้ค้นพบวิธีการใหม่ในการสกัดน้ำผลไม้ ต้องการรู้ว่า เขาสามารถจดสิทธิบัตรวิธีการนี้ได้หรือไม่ Novelty/patentability search

42 ทดสอบ ทีมวิจัยในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กำลังวางแผนการวิจัยงานใหม่
ต้องการรู้ว่า ควรจะทำวิจัยในด้านใด State-of-the-art search

43 ทดสอบ ธนาคารกำลังพิจารณาควบกิจการ (Takeover) บริษัทน้องใหม่ (Startup company) ด้านเทคโนโลยีบริษัทหนึ่ง ต้องการรู้ว่า รายการสิทธิบัตร (Patent portfolio) ของบริษัทนี้เข้มแข็งเพียงใด Validity/invalidity search

44 ทดสอบ นักลงทุนมั่นใจว่าธุรกิจเครื่องพิมพ์เลเซอร์ จะเป็นธุรกิจที่ไปได้สวย ต้องการรู้ว่า ใครเป็นคู่แข่งที่สำคัญ ใครที่ควรเข้าร่วมเป็นคู่ธุรกิจ State-of-the-art search

45 ทดสอบ ผู้ผลิตยาถือสิทธิบัตรยา A ไว้ แต่กังวลว่าคู่แข่งอาจจะผลิตยาที่ละเมิดสิทธิบัตรยา A นี้ ต้องการรู้ว่า ถ้าคู่แข่งเริ่มละเมิดโดยผลิตยา A เขาจะใช้สิทธิบังคับปกป้องได้มากน้อยแค่ไหน Validity/invalidity search ต้องการรู้ว่า สามารถจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับยา A เช่น กระบวนการผลิต หรือวิธีการใช้ เพื่อปกป้องสิทธิบัตรยา Aได้อีกหรือไม่ Novelty/patentability search

46 สิ่งจำเป็นสำหรับการสืบค้น
ความรู้ในเทคโนโลยี ความรู้ในคำที่ใช้เฉพาะด้าน ความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง แผนการสืบค้น แหล่งข้อมูลสิทธิบัตรและการเข้าถึงข้อมูล

47 วิธีการสืบค้น

48 วิธีการที่ใช้ในการสืบค้น
คำสำคัญ (Keyword) กลุ่มเทคโนโลยี (Classification) วันที่ (Date) และหมายเลข (Number) ชื่อ (Name)

49 สืบค้นโดยใช้ Keyword

50 กระบวนการใช้ Keywords
การสืบค้นโดยใช้ Keyword จะต้องมีการเลือกคำหลักที่เกี่ยวข้องในเทคโนโลยีที่สนใจนั้น และทำการปรับแต่ง เพิ่ม เปลี่ยน Keyword เพื่อให้ได้คำที่ครอบคลุมเรื่องที่กำลังสนใจ แล้วจึงนำคำที่ได้มาเชื่อมต่อกันโดยใช้ตัวช่วยต่าง ๆ เช่น สัญลักษณ์แทนตัวอักษร เครื่องหมายคำพูด เป็นต้น

51 เลือก keyword ต้องเข้าใจเทคโนโลยีเรื่องนั้นเป็นอย่างดี
ลักษณะทางเทคนิค ทำอะไร ผลทางเทคนิค ทำจากอะไร โครงสร้าง การนำไปใช้งานอะไร อย่างไร เลือกใช้คำผิด จะทำให้ได้ข้อมูลไม่ตรงกับที่ต้องการ เลือกใช้คำผิด จะทำให้ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ระวังเรื่องการสะกดคำ

52 ต้องเข้าใจเทคโนโลยีเรื่องนั้นเป็นอย่างดี
ตัวอย่าง หมวกนิรภัยสำหรับหน่วยกู้ภัยแบบส่งสัญญาณเตือนเมื่อผู้ใช้งานหมดสติ ทำให้สามารถเข้าช่วยเหลือได้ทันเวลา เป็นอะไร: หมวกนิรภัย คุณสมบัติเป็นอย่างไร: ส่งสัญญาณเมื่อไม่มีการเคลื่อนไหว ประกอบด้วยอะไร: ระบบตรวจจับความเคลื่อนไหว และระบบการส่งสัญญาณ ผลลัพธ์เป็นอย่างไร: สามารถติดตามหาตัวหน่วยกู้ภัยที่หมดสติได้

53 ปรับแต่ง keyword ด้านภาษา ด้านคำเทคนิค
การเปลี่ยนรูปของคำกริยา (build, built) รูปแบบเอกพจน์ พหูพจน์ (man, men) คำประกอบ (superconductor, super-conductor) การสะกดแบบอเมริกันและแบบอังกฤษ (center/centre, plough/plow) คำเหมือนคำคล้าย (building, tower) คำย่อ (LED/Light Emitting Diode, PDA/personal digital assistant) ด้านคำเทคนิค การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี (cellular phone, cell phone, mobile phone)

54 ปรับแต่ง keyword ด้านความหมาย การใช้คำแทน คำต่างประเทศ
“Net” หมายถึง ตาข่าย “Net” หมายถึง การสื่อสารทางอินเตอร์เน็ท การใช้คำแทน คำที่เขียนแทนคำปกติ เพื่อให้ครอบคลุมความหมายกว้างขึ้น “apparatus with wheel and axis” แทนคำว่า “vehicle” คำต่างประเทศ คำภาษาต่างประเทศที่นำมาเขียนทับศัพท์ อาจสะกดแตกต่างกัน Vitamin เขียนเป็นภาษาไทย ไวตามิน หรือวิตามิน

55 ใช้ตัวช่วยสำหรับ keyword
Truncation การใส่บางส่วนของคำ โดยใช้สัญลักษณ์แทนส่วนของตัวอักษร * แทนตัวอักษรตั้งแต่ 0 ตัวเป็นต้นไป เช่น ใช้ elect* จะได้คำว่า electric, electricity, electrical, อาจได้คำที่ไม่ต้องการด้วย เช่น electron, election, electoral เป็นต้น ? แทนตัวอักษร 1 ตัว เช่น ใช้ fib?? จะได้คำว่า fiber, fibre $ แทนที่ตัวอักษร 0 หรือ 1 ตัว เช่น ใช้ colo$r จะได้คำว่า color และ colour Phrases ใช้หากลุ่มคำ โดยใช้เครื่องหมาย “ ” ครอบกลุ่มคำนั้น เช่น“tennis ball” จะได้เอกสารที่มีคำว่า “tennis ball” อยู่ในเอกสาร การใช้ตัวช่วยสำหรับการค้นหาด้วย keyword นี้ อาจมีความแตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียด ขึ้นอยู่กับฐานข้อมูลที่ใช้งานนั้น ๆ

56 ข้อจำกัดของการใช้ keyword
การเลือกใช้คำที่ไม่ครบถ้วน อาจทำให้พลาดสิทธิบัตรบางฉบับ การใช้คำที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ได้รับข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง

57 ค้นสืบโดยใช้รหัสการจำแนกกลุ่มเทคโนโลยี (Classification)

58 สืบค้นโดยใช้กลุ่มเทคโนโลยี (Classification)
International Patent Classification , USPC of the U.S. Patent and Trademark Office ECLA of Europe Patent Office DEKLA of the German Patent and Trademark Office F.I, F-Term of Japan Patent Office.

59 ทำไมต้องจัดกลุ่ม (Classification)?
“Footwear” Shoe “Spherical device filled with gas for recreational purposes” Balloon “Water retaining recreational structure” Swimming pool “Arrangement for the disposal of refuse” Paper bin ที่มา: เอกสารบรรยายของ WIPO

60 ทำไมต้องจัดกลุ่ม (Classification)?
วัตถุประสงค์หลักเพื่อ เป็นเครื่องมือในการสืบค้นสิทธิบัตรอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ ไม่ขึ้นอยู่กับภาษา ไม่ขึ้นกับคำศัพท์เฉพาะ (Jargon) เป็นมาตรฐาน ใช้ค้นหาโดยใช้หลักการ ไม่เปลี่ยนคำเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแต่หลักการเดิม นำไปใช้กับเอกสารเก่าที่อาจไม่มีข้อมูล fulltext ของ claim หรือ description นอกจากนี้ ยังทำให้สามารถใช้ในการจัดทำสถิติตามกลุ่มเทคโนโลยีได้ และนำไปวิเคราะห์ต่อได้ ที่มา: เอกสารบรรยายของ WIPO

61 การสืบค้นด้วยรหัสสัญลักษณ์การประดิษฐ์ IPC
International Patent Classification สัญลักษณ์จำแนกหมวดหมู่การประดิษฐ์ระหว่างประเทศ IPC มีประโยชน์อย่างไรในการสืบค้น ใช้เป็นดัชนีสำหรับสืบค้นสิทธิบัตรเพื่อหากลุ่มเทคโนโลยีที่ต้องการ ดูรายละเอียดได้ที่ไหน

62 การแบ่งหมวดหมู่ IPC แบ่งตามหมวดใหญ่ Section
A Human Necessities (สิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์) B  Performing Operations; Transporting (การปฏิบัติ การดำเนินการ การขนส่ง) C Chemistry; Metallurgy (เคมี วิธีการแยกโลหะออกจากแร่) D Textiles; Paper (เสื้อผ้า กระดาษ) E Fixed Constructions (การซ่อมแซม การก่อสร้าง) F Mechanical Engineering; Lighting; Heating; Weapons; Blasting (วิศวกรรมเครื่องกล เกี่ยวกับแสงสว่าง การทำความร้อน คลังแสง การระเบิด) G Physics (ฟิสิกส์) H Electricity (กระแสไฟฟ้า) 62

63 โครงสร้างของ IPC Sections – 1st level Classes – 2nd level
Sub-classes – 3rd level Main-groups – 4th level Sub-groups – 5th level ตัวอย่าง: รหัส IPC สำหรับรองเท้าฟุตบอล Section Class Sub-class Main-group Sub-group A 43 B 5/00 5/02 Human Necessities Footwear Characteristic Features of Footwear Footwear for Sporting Purposes Football Boots 63

64 รูปแบบ IPC ที่ใช้ในแต่ละฐานข้อมูล
WIPO : G06F-19/00 EPO : G06F19/00 USPTO : G06F019/00 ต้องใส่ 0 นำหน้า main group ด้วย ไทย : G06F19/00

65 ค้นหา IPC จากเว็บไซต์ WIPO
ระบบช่วยหา IPC โดยใช้รหัส TACSY ระบบช่วยหา IPC โดยใช้ข้อความ

66 ค้นหาข้อมูล IPC โดยใส่ รหัส IPC
คลิก Go to

67 ค้นหารหัส IPC โดยใส่คำ
ใส่คำ building คลิก Go

68 TACSY ค้นหารหัส IPC โดยใส่คำ
คลิก E04H 12/18 ใส่คำที่ต้องการ ระบบจะแสดงรายการ IPC ที่เกี่ยวข้อง เรียงตามลำดับ รายการที่ใกล้เคียงที่สุดจะอยู่ด้านบน ถ้าต้องการแสดงทุกรายการ ให้คลิกที่ ลิงค์ >> More…

69 TACSY ค้นหารหัส IPC โดยใส่คำ
คำที่เลือก ระบบจะแสดงรายละเอียดของ IPC ที่เลือก…

70 สืบค้นโดยใช้วันที่และหมายเลข
เครื่องหมายเปรียบเทียบ > มากกว่า, < น้อยกว่า, >= มากกว่าหรือเท่ากับ, <= น้อยกว่าหรือเท่ากับ, <> ไม่เท่ากับ Application date < หมายถึง หาเอกสารที่มีวันที่ยื่นคำขอก่อนวันที่ 21 มิถุนายน 1995 Publication number = หมายถึง หาเอกสารที่มีเลขที่ประกาศโฆษณา ข้อควรระวัง แต่ละฐานข้อมูลอาจใช้รูปแบบที่ไม่เหมือนกัน

71 สืบค้นโดยใช้ชื่อ ใช้หลักการเดียวกับสืบค้นโดยใช้ keyword ข้อควรระวัง
ตัวสะกด การเปลี่ยนชื่อ ตัวย่อ

72 สืบค้นโดยใช้ข้อมูลจากเอกสารอ้างอิง
เอกสารที่มีปรากฏใน คำขอในส่วนรายละเอียด อ้างอิงสิทธิบัตรก่อนหน้านี้ ผู้ตรวจสอบอ้างอิงไว้ในรายงานการสืบค้น Category X เอกสารนั้นแสดงว่า คำขอขาดความใหม่ Category Y เอกสารที่แสดงว่า ไม่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น Category A เอกสารที่แสดงข้อมูลภูมิหลังของสิ่งประดิษฐ์คำขอนั้น ไม่ทำให้คำขอขาดคุณสมบัติ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ WIPO Standard ST.14

73

74

75 ตัวอย่างรายงานการสืบค้น

76 การสืบค้นแบบหลายเงื่อนไข

77 การสืบค้นแบบหลายเงื่อนไข
หมายถึง สืบค้นโดยใส่เงื่อนไขการค้นหาตั้งแต่ 2 เงื่อนไขขึ้นไป มีการเชื่อมแต่ละเงื่อนไข โดยใช้ Boolean operators Proximity operators มีให้ใช้ได้เฉพาะบางฐานข้อมูล Phrases Nesting 77

78 Boolean operators NOT clock -> ทุกเอกสารที่ไม่มีคำว่า clock
clock AND battery -> เอกสารที่มีคำว่า clock และ battery Clock OR battery -> เอกสารที่มีคำว่า clock หรือ battery คำใดคำหนึ่ง หรือจะมีทั้งสองคำก็ได้ Clock XOR battery -> เอกสารที่มีคำว่า clock หรือ battery คำใดคำหนึ่ง แต่จะต้องไม่มีทั้งสองคำในเอกสารเดียวกัน

79 Boolean operators : NOT
Battery Clock NOT Battery

80 Boolean operators : AND
Battery Clock Clock AND Battery ใช้เมื่อเป็นสิ่งที่ต่างคุณลักษณะ หรือต่างกลุ่ม

81 ใช้เมื่อเป็นสิ่งเกี่ยวข้องกัน หรือคำเหมือนคล้าย
Boolean operators : OR Battery Clock Clock OR Battery ใช้เมื่อเป็นสิ่งเกี่ยวข้องกัน หรือคำเหมือนคล้าย

82 Boolean operators : XOR
Battery XOR Clock Clock XOR Battery

83 Proximity operators : NEARn
คำค้น : Radiation NEAR5 detect* ผลลัพธ์ : เอกสารที่มีคำว่า radiation และ detect* โดยทั้งสองคำนี้อยู่ห่างกันไม่เกิน 5 คำ พบ รายการ

84 Proximity operators : BEFOREn
คำค้น : Radiation BEFORE5 detect* ผลลัพธ์ : เอกสารที่มีคำว่า radiation และ detect* โดยคำว่า radiation อยู่ก่อน คำว่า detect* และทั้งสองคำนี้อยู่ห่างกันไม่เกิน 5 คำ พบ 2052 รายการ

85 Nesting Coffee AND Cake OR Pizza ? or ? or

86 Nesting เป็นการใช้ วงเล็บ จัดลำดับความสำคัญในการตรวจสอบเงื่อนไข โดยคำที่อยู่ในวงเล็บจะถูกจัดลำดับคำสำคัญก่อน เช่น (Coffee AND Cake) OR Pizza Coffee AND (Cake OR Pizza) or or

87 แบบทดสอบ เลือกภาพที่ตรงตามเงื่อนไขแต่ละข้อ
วงกลม สี่เหลี่ยม วงกลม AND สีเขียว สีน้ำเงิน OR สีชมพู (วงกลม AND สีเขียว) OR สี่เหลี่ยม วงกลม OR (สีเขียว AND สี่เหลี่ยม) สีเขียว AND (วงกลม OR สี่เหลี่ยม) NOT สีส้ม (NOT สีชมพู) OR (สี่เหลี่ยม AND สีชมพู) 1 2 สีส้ม 3 4 สีน้ำเงิน 5 6 สีเขียว 7 8 สีชมพู วงกลม สี่เหลี่ยม

88 แบบทดสอบ: เอกสารสิทธิบัตรใดที่จะค้นเจอ ตามเงื่อนไข
ข้าว AND ธัญพืช ข้าว OR ธัญพืช (ข้าว AND ธัญพืช) OR ครก ครก AND (ธัญพืช OR ข้าว) ครก AND (ธัญพืช XOR ข้าว) NOT ครก NOT ครก OR ข้าว AND ธัญพืช 1 ข้าว 2 ธัญพืช 3 ครก 4 ข้าว, ครก 5 ข้าว, ธัญพืช 6 ครก, ธัญพืช 7 ข้าว, ครก, ธัญพืช

89 กระบวนการสืบค้น เข้าใจเทคโนโลยี และวัตถุประสงค์ที่ต้องการค้นหา
เลือกใช้คำ keyword ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งประดิษฐ์ ทั้งคุณสมบัติ ใช้ทำอะไร วัตถุดิบ วัสดุ วิธีการ ส่วนประกอบ ผลลัพธ์ ใช้คำข้างเคียงที่อาจถูกนำมาใช้แทนได้ โดยหาจาก พจนานุกรมคำเหมือนคล้าย, พจนานุกรมเฉพาะด้าน, เอกสารเฉพาะสาขาเทคนิค, กลุ่มเทคโนโลยีสิทธิบัตร ลองค้นหาจากคำที่ได้ อาจได้ผลลัพธ์มาก และกว้างเกินความจำเป็น ใช้รหัสการประดิษฐ์ โดยนำ keyword ไปหาในระบบสืบค้นรหัส เช่น IPC TACSY: Espacenet: USPTO: ค้นหาโดยใช้ IPC ที่ได้ อ่านรายละเอียด ปรับแต่งคำค้นและ IPC ปรับขอบเขตจากกว้างมาแคบ ที่มา: Patent search techniques and strategies ของ WIPO

90 แหล่งสืบค้นข้อมูล

91 เราจะสืบค้นข้อมูล ได้ที่ไหน อย่างไร
แหล่งข้อมูลจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาต่าง ๆ ทั่วโลก อินเตอร์เน็ต Free patent online Google patents Commercial DB Derwent Innovation Index WIPS Patent Café PIUG ฐานข้อมูลงานวิจัย Web of science หนังสือ วารสาร เอกสารต่าง ๆ

92 ฐานข้อมูลสิทธิบัตรจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญา
92 ฐานข้อมูลสิทธิบัตรจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญา WIPO World Intellectual Property Organization (องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก) EPO European Patent Office (ยุโรป) USPTO US Patent and Trademark Office (สหรัฐอเมริกา) JPO Japan Patent Office (ญี่ปุ่น) KIPO Korean Intellectual Property Office (เกาหลี) DIP Department of Intellectual Property (ไทย)

93 WIPO - http://www.wipo.int/patentscope/search/en/search.jsf

94 EPO - http://worldwide.espacenet.com

95 USPTO - http://patft.uspto.gov/
ฐานข้อมูลสิทธิบัตร ประกาศโฆษณาแล้ว ยังไม่ได้จดทะเบียน ฐานข้อมูลสิทธิบัตร จดทะเบียนแล้ว

96 JPO - http://www.ipdl.inpit.go.jp/homepg_e.ipdl
PAJ – Patent Abstract of Japan

97 KIPO - http://eng.kipris.or.kr/eng/main/main_eng.jsp

98 DIP - Department of Intellectual Property (ไทย) http://patentsearch

99 Non-patent Literature Search
ในการจดทะเบียนสิทธิบัตร นอกจากสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรแล้ว ยังจำเป็นต้องสืบค้นจากฐานข้อมูลงานวิจัย และวารสารงานวิจัยต่าง ๆ (Academic Journal) โดยเฉพาะวารสารด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Journal) เพราะหากมีการเปิดเผยสาระสำคัญแล้ว สาระสำคัญนั้นอาจทำให้สิ่งประดิษฐ์ที่กำลังจะยื่นคำขอจดทะเบียนนั้น ขาดคุณสมบัติด้านความใหม่ หรือ ขั้นการประดิษฐ์ ได้

100 Scientific and technical information
HINARI (WHO) biomedical and related social sciences AGORA (FAO) agriculture and related biological, environmental and social sciences OARE (UNEP) environmental science aRDI (WIPO) science and technology Google Scholar webpages, journal articles, books Scirus science-realted webpages, special sources Entrez journal articles, books (biomedical and related fields), chemical structures, protein and gene sequences

101 ข้อมูลอ้างอิง WIPO Guide to using patent information: Conducting a patent search at a PTDL IPxpedite IP Panorama IP Panorama Thai version

102 ข้อมูลอ้างอิง เอกสารประกอบหลักสูตร IPi-Facilitator
Global Patent Information Services and patent Information in the PCT system, Mr. Konrad Lutz Mailander, WIPO Basic Study on Patent Information Search, Mr. In-kee Jung, KIPI Patent Analysis based on the patent information search, Mr. Jin-seok Park, KIPO Patent information search using USPTO, Ms. Minna Moezie, USPTO

103 ข้อมูลอ้างอิง เอกสารประกอบหลักสูตร Singapore-WIPO regional workshop on patent information Different type of searches, databases and search tools, Mr. Andrew Czajkowski, WIPO Using patent classification, in particular the international patent classification (IPC) for searching, Mr. Jose Luis Herce-Vigil, WIPO Patent Search Techniques and Strategies: Using Keywords and Classification Systems, Mr. Andrew Czajkowski, WIPO Access to and Searching Non-Patent Literature: Online Scientific and Technical Journals, Dr. Stanley P. Kowalski, Franklin Pierce Law Center

104 คำถาม ขอบคุณ 104


ดาวน์โหลด ppt ความรู้เบื้องต้นข้อมูลสิทธิบัตรและการสืบค้นสิทธิบัตร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google