งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป (177181)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป (177181)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป (177181)
สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่

2 เค้าโครง ทบทวนสัปดาห์ที่ผ่านมา เฉลยงานชิ้นที่ 2
ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล

3 1.3 การกระทำครบองค์ประกอบภายใจ
มาตรา 59 หลักการ (ไม่ต้องมีกฎหมายเขียนอย่างชัดแจ้ง) บุคคลต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำการโดยเจตนา ข้อยกเว้น การกระทำโดยประมาท ไม่มีเจตนา และไม่ประมาท ต้องมีกม.บัญญัติให้รับผิดไว้อย่างชัดแจ้ง

4 ประเภทของเจตนา เจตนาตามความเป็นจริง
ผู้กระทำต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอก ประสงค์ หรือ เล็งเห็นผล 2. เจตนาโดยผลของกฎหมาย/เจตนาโอน ผู้กระทำรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอก แต่ ไม่ได้ประสงค์หรือเล็งเห็นผลที่เกิดขึ้น

5 กรณีศึกษา เรื่องประหลาดในโรงหนัง
ต้นข้าว ไปดูหนังที่เมญ่า โดยซื้อป๊อบคอร์นไปกิน ที่นั่งแถวที่เธอนั่งนั้นมี เพียงเธอกับชายหนุ่มอีกคนที่นั่งติดกัน ขณะที่ดูหนังเพลิน ๆ และหยิบป๊ อบคอร์นมากินเป็นระยะนั้น ต้นข้าวสังเกตว่าชายหนุ่มถือวิสาสะหยิบ ป๊อบคอร์นของเธอกินหลายครั้ง เธอจึงรอให้เขายื่นมือมาหยิบอีกครั้ง และจับมือเขาไว้แล้วพูดกับเขาตรง ๆ ว่า “รู้ไหมคะขโมยของของคนอื่น นี่ มันผิดกฎหมาย”

6 การไม่รู้ข้อเท็จจริง
มาตรา 59 วรรค 3 “ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของ ความผิด จะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็น ผลของการกระทำนั้นไม่ได้” หลักการ คือ ไม่รู้ ไม่เจตนา

7 รู้เท่าใด เจตนาเท่านั้น
มาตรา 62 วรรค 3 บุคคลต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะอาศัยข้อเท็จจริงใด เขาต้องได้รู้ถึงข้อเท็จจริงนั้น หลักการ คือ รู้เท่าใด เจตนาเท่านั้น

8 กรณีศึกษา แสวงต้องการฆ่าสุทธิซึ่งเป็นศัตรูทางการเมือง จึงไปดักยิง สุทธิระหว่างทางเข้าหมู่บ้าน แต่เนื่องจากเป็นเวลากลางคืน จึงยิงผิดคนโดยไปยิงไสวซึ่งเป็นพ่อของตนที่กำลังเดินทาง ไปทำธุระในหมู่บ้านดังกล่าวและแต่งตัวคล้าย ๆ กับสุทธิ เช่นนี้ แสวงต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ อย่างไร

9 ความหมายของเจตนา ม. 59 วรรค 2 การกระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำ และ
การกระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำ และ ผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือผู้กระทำเล็งเห็นผล

10 ความหมายของเจตนา เจตนาประสงค์ต่อผล มุ่งหมายให้เกิดผล
หากเกิดผลก็เป็นความผิดสำเร็จ หากไม่เกิดผลก็เป็นพยายามตามตาม

11 การสำคัญผิดในตัวบุคคลก็ถือเป็นการกระทำ ที่ประสงค์ต่อผล
ม. 61 ผู้ใดเจตนากระทำผิดต่อคนหนึ่ง แต่ได้กระทำต่ออีกคนหนึ่งโดยสำคัญผิด จะยกเอาความสำคัญผิดเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้

12 เจตนาเล็งเห็นผล ไม่ได้ประสงค์ให้ผลเกิดขึ้น
ประเมิน วิเคราะห์ คาดหมายได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เท่าที่บุคคลในฐานะเช่นนั้นจะคาดการณ์ได้ บุคคลในฐานะเช่นนั้นคือฐานะเดียวกับผู้กระทำ ไม่ใช่วิญญูชน

13 การสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
ม. 62 วรรคแรก ข้อเท็จจริงใดถ้ามีอยู่จริงจะทำให้ การกระทำไม่เป็นความผิด ไม่มีความผิด ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ ไม่ต้องรับโทษ รับโทษน้อยลง รับโทษน้อยลง แม้ข้อเท็จจริงนั้นไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง

14 กรณีศึกษา ณ ศาลาประจำหมู่บ้าน ขณะที่กลุ่มวัยรุ่นประมาณ ๕ คน
กำลังนั่งคุยกันมีชายสองคนขับมอเตอร์ไซส์มาจอดที่ถนน สาธารณะ ชายคนที่นั่งซ้อนท้ายลงจากรถแล้ววิ่งตรงมายัง กลุ่มวัยรุ่น โดยในมือถือมีดขนาดใหญ่มาด้วย หนึ่งในกลุ่ม วัยรุ่นมีอาวุธปืนจึงยิงไปยังชายดังกล่าวจนล้มลง

15 ขาดองค์ประกอบ/ไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบ/สำคัญผิดในข้อเท็จจริง
ขาดองค์ประกอบ : ไม่มีองค์ประกอบภายนอกบางอย่าง ไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบ : มีองค์ประกอบภายนอกครบถ้วนแต่ผู้กระทำไม่รู้ว่ามี สำคัญผิดในข้อเท็จจริง : มีองค์ประกอบครบถ้วน แต่สำคัญผิดว่ามีข้อเท็จจริงที่ทำให้ไม่เป็นความผิด ไม่ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลง

16 กรณีศึกษา ข่มขืนศพ Woman's body dug out from grave, 'raped'; Cops say it was an attempt to stoke communal violence ที่มา : The Time of India City, 24 ตุลาคม 2558

17 กรณีศึกษา สาวิตรี เดินทางไปเที่ยวต่างประเทศครั้งแรก โดยนำ กระเป๋าเดินทางยี่ห้อ POLO สีขาวไปด้วย พอถึงประเทศ ญี่ปุ่น สาวิตรีก็ไปรับกระเป๋าที่ช่องรับกระเป๋า ขณะที่จะ เดินทางออกจากสนามบินก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับ โดย กล่าวหาว่าเธอขโมยกระเป๋าของนักเดินทางรายอื่น ซึ่งเธอ ยืนยันว่าเป็นของเธอ แต่พอเปิดดูข้างในกลับปรากฏว่าไม่ใช่ เธอต้องรับผิดหรือไม่อย่างไร

18 กรณีศึกษา ณ ศาลาประจำหมู่บ้าน ขณะที่กลุ่มวัยรุ่นประมาณ ๕ คน กำลังนั่งคุยกันมีชายสองคนขับมอเตอร์ไซส์มาจอดที่ถนน สาธารณะ ชายคนที่นั่งซ้อนท้ายลงจากรถแล้ววิ่งตรงมายัง กลุ่มวัยรุ่น โดยในมือถือมีดขนาดใหญ่มาด้วย หนึ่งในกลุ่ม วัยรุ่นมีอาวุธปืนจึงยิงไปยังชายดังกล่าวจนล้มลง ต่อมา ทราบว่าชายที่ถือมีจะมาตัดเอาไม้สมุนไพรใกล้ๆ ศาลา

19 เจตนาโดยผลของกฎหมาย/เจตนาโดยพลาด
มาตรา 60 เจตนากระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลไปเกิดกับอีกคน โดยพลาดไป ให้ถือว่ากระทำโดยเจตนาต่อผู้รับผลร้าย มาตรา 61 เจตนากระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ได้กระทำต่อบุคคลหนึ่ง เพราะสำคัญผิด จะยกความสำคัญผิดมาแก้ตัวไม่ได้

20 กรณีศึกษา แสวงต้องการฆ่าสุทธิซึ่งเป็นศัตรูทางการเมือง จึงไปดักยิง
แสวงต้องการฆ่าสุทธิซึ่งเป็นศัตรูทางการเมือง จึงไปดักยิง สุทธิระหว่างทางเข้าหมู่บ้าน แต่เนื่องจากสุทธิหลบทันกระสุ จึงไปถูกศิริแฟนสาวซึ่งโผล่ขึ้นมาจากข้างทางได้รับบาดเจ็บ สาหัสเช่นนี้ แสวงต้องรับผิดฐานใดและ เป็นกรณีที่ต้องปรับ ตามมาตรา 60 หรือ 61 เพราะอะไร

21 หลักเกณฑ์พิจารณาเจตนาโดยพลาด
ต้องมีผู้ถูกกระทำตั้งแต่สองคนขึ้นไปในขณะลงมือ ผู้กระทำเจตนากระทำต่อบุคคลเพียงคนเดียว บุคคลที่สามได้รับผลโดยพลาด เจตนาที่กระทำต่อบุคคลที่หนึ่งโอนไปยังบุคคลที่สามด้วย เจตนาที่โอนไปต้องเป็นความผิดฐานเดียวกัน การป้องกัน จำเป็น บันดาลโทสะก็โอนไปด้วย

22 การกระทำโดยประมาท หลักเกณฑ์การพิจารณา ต้องไม่ใช่การกระทำโดยเจตนา
ปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นต้องมี ตามวิสัยและพฤติการณ์ ผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังได้ แต่ไม่ได้ใช้ให้เพียงพอ

23 ข้อพิจารณา ระดับความระมัดระวัง “วิญญูชน”
ในภาวะเช่นนั้น คือ สถานการณ์อย่างเดียวกัน วิสัยของผู้กระทำ คือ คุณสมบัติ, คนธรรมดา, ผู้ประกอบวิชาชีพ พฤติการณ์ คือ เหตุการณ์หรือปัจจัยภายนอก

24 กรณีศึกษา กรณีเยาวชนขับรถด้วยความเร็วสูงเสยท้ายรถตู้อย่างแรง จนรถตู้เสียหลักไปฟาดกับขอบทางด่วนฝั่งซ้ายมือ จากนั้นประตูรถตู้ก็ได้เปิด และแรงเหวี่ยงส่งผู้โดยสารปลิวออกจากตัวรถ กระเด็นลงไปกระแทกพื้นข้างล่าง ส่วนรถเก๋งของ กระเด็นไปชนขอบทางฝั่งขวา เสียหายยับเยินเช่นกันมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 9 ราย

25 ไม่เจตนา ไม่ประมาท หลักการ : ไม่เจตนา ไม่ประมาท ก็ไม่ต้องรับผิดทางอาญา ข้อยกเว้น : กฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดแจ้งให้ต้องรับผิด แม้กระทำโดยไม่มีเจตนา Strict Liability

26 กรณีศึกษา ดวงใจ ได้เดินทางไปยังสน.พญาไท  เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา  และให้ปากคำกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งหลังจากที่สอบสวนเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก็ได้นำตัวน.ส.ดวงใจ ไปเปรียบเทียบปรับในข้อหา กระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัล จำนวน 500 บาท แล้วปล่อยตัวกลับไป

27 กรณีศึกษา นักศึกษาขับรถมามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้วยความเร็ว 40 กม.ต่อชม. ก่อนจะถึงมหาวิทยาลัย นศ. มองเห็นนายสนิทยืนรอข้ามถนนอยู่บริเวณเกาะกลางถนน รถของ นศ.ห่างจากรถคันหน้าประมาณ 5 เมตร นศ. ก็ขับตามไปเรื่อยๆ แต่ขณะที่รถนศ.ไปถึงชายคนนั้นก็วิ่งข้ามถนน นศ. เบรกไม่ทันจึงชนจนขาหัก ต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่

28 งานชิ้นที่สอง สุชาติ เดินทางไปทำบุญที่วัดโดยใส่รองเท้า adidas คู่โปรดไป เมื่อไปถึง วัดเขาก็ขึ้นไปไหว้พระตามปกติ ขณะกลับเขาได้หยิบเอารองเท้าadidas ของตัวเองใส่กระเป๋า โดยเข้าใจว่าเป็นรองเท้าของนายสนิท ศัตรูของ ตน แล้วเขาก็ใส่รองเท้า adidas ของนายสนิท โดยเข้าใจว่าเป็น รองเท้าตัวเอง ขณะที่สุชาติกำลังจะออกจากวัดสนิทก็ตามมาทัน เขา แสดงความบริสุทธิ์ใจโดยถอดรองเท้าให้ดู ปรากฏว่าเป็นรองเท้าของสนิท ถ้าท่านเป็นเพื่อนสุชาติจะให้คำปรึกษากับเขาตามหลักกฎหมายอาญา อย่างไร

29 เฉลยงานชิ้นที่สอง กรณีเป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการวินิจฉัยองค์ประกอบภายนอก และ ภายใน ซึ่งกฎหมายอาญาวางหลักไว้ว่า บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อกระทำความผิดโดยเจตนา เว้นแต่ได้กระทำการโดยประมาท ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดแม้กระทำการโดยประมาท หรือเว้นแต่กฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งให้ต้องรับผิดแม้กระทำโดยไม่มีเจตนา ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดจะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นไม่ได้ ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์

30 เฉลยงานชิ้นที่สอง วินิจฉัย ประเด็นที่ 1
ในขณะที่สุชาติตั้งใจขโมยรองเท้าของสนิทและลงมือกระทำความผิดโดยหยิบรองเท้าใส่กระเป๋านั้น เป็นกรณีขาดองค์ประกอบภายนอกของความผิด เพราะ ทรัพย์ที่เขาตั้งใจขโมยและหยิบใส่กระเป๋าไปนั้นไม่ใช่ทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย จึงเป็นกรณีขาดองค์ประกอบภายนอกในความผิดฐานลักทรัพย์ จึงไม่เป็นการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์

31 เฉลยงานชิ้นที่สอง ประเด็นที่สอง
ในขณะที่สุชาติสวมรองเท้าของสนิทแล้วเดินกลับบ้านนั้น เป็น กรณีที่มีการกระทำความผิดครบองค์ประกอบภายนอกแล้ว เพราะ มีการเอาไปซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่น แต่ขาดองค์ประกอบภายใน เพราะเขาไม่รู้ว่ารองเท้าที่เขาสวมนั้นเป็นทรัพย์ของผู้อื่น และ เข้าใจว่าเป็นรองเท้าของเขาเอง เมื่อเขาไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็น องค์ประกอบของความผิด จึงถือว่าเขาไม่ได้มีเจตนา เมื่อขาด เจตนาจึงไม่ถือว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้น

32 เฉลยงานชิ้นที่สอง สรุป สุชาติไม่ต้องรับผิดฐานลักทรัพย์ เพราะ การกระทำ
ของเขาในประเด็นแรกขาดองค์ประกอบภายนอก ส่วนใน ประเด็นที่สองเป็นการไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบ ของความผิด จึงไม่มีเจตนา ขาดองค์ประกอบภายใน

33 กรณีศึกษาที่ 1 สมิงเดินทางไปร่วมงานแต่งของอดีตคนรัก ด้วยความเสียใจจึงใช้ปืนที่นำมาด้วยยิงขึ้นฟ้าหลายนัดจนลูกหมด แขกที่มาร่วมงานทั้งแขกเจ้าบ่าวเจ้าสาวเห็นว่าเป็นการหยามศักดิ์ศรีจึงตรงเข้ารุมทำร้ายหลายสิบคนโดยบางคนมีอาวุธเป็นไม้และเหล็ก จนเขาถึงแก่ชีวิตเพราะแผลที่ถูกของแข็งทุบ เสรีพี่ชายของเจ้าสาวได้เข้าไปทำร้ายสมิงด้วย โดยได้เตะไปที่ท้องสองครั้ง ด้วยความสงสารที่เคยรู้จักกันจึงหยุด เสรีต้องมีความรับผิดอย่างไร

34 กรณีศึกษาที่ 2 ธนิตโกรธที่ถนอมแกล้งให้ล้มหัวคะมำ จึงต่อยไปที่เบ้าตาของถนอมอย่างแรง ถนอมตาบวม แต่เพราะไม่ยอมไปหาหมอเพื่อรักษาปรากฏว่าต่อมาอีกเจ็ดวันตาติดเชื้อและตาบอดสนิท ธนิตต้องรับผิดตามมาตรา 295 หรือ 297

35 กรณีศึกษาที่ 3 กมลถูกเสถียรทำร้ายโดยใช้ไม้ทุบที่แขนจนแขนหัก ระหว่างทางที่รถพยาบาลกำลังนำกมลไปรักษาที่โรงพยาบาลนั้น เนื่องจากคนขับรถพยาบาล ขับด้วยความประมาทฝ่าไฟแดง จึงไปชนกับรถบรรทุกจนกมลเสียชีวิต เสถียรต้องรับผิดตามมาตรา 295 หรือ 290

36 กรณีศึกษาที่ 4 เสนียดพยายามยามข่มขืนลลิตา ลลิตาขัดขืนวิ่งหนี และกระโดดลงไปในแม่น้ำทั้งที่ว่ายน้ำไม่เป็น จนในที่สุดเธอจมน้ำตาย กรณีนี้เสนียดต้องรับผิดตามมาตรา 276 หรือ 277 ทวิ

37 กรณีศึกษาที่ 5 ต้อม ต้องการแกล้งโฉด ซึ่งเป็นเพื่อน ขณะที่ไปกินข้าวโรงที่โรงอาหารด้วยกันเขาอาสาไปซื้อน้ำอัดลมให้โฉด แต่เขากลับเอาน้ำปลาใส่เข้าไปในแก้วแทนน้ำโค้ก ด้วยความกระหายน้ำเมื่อต้อมยื่นแก้วน้ำให้ โฉดก็ดื่มเข้าไปเต็มอึก จึงรู้ว่าที่ดื่มไปเป็นน้ำปลา ซึ่งเขามีอาการแพ้อย่างรุนแรงจนต้องไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลนานกว่า ๒ เดือน ต้อมต้องรับผิดตามมาตรา 300 หรือ 390 หรือไม่

38 ประเภทของความผิดทางอาญา
1. ความผิดอาญาที่ต้องการผล เช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ ม.334, ฆ่าคนตาย ม.288 2. ความผิดอาญาที่ไม่ต้องการผล เช่น ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร ม. 265, แจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดทางอาญาตามมาตรา 172

39 ทฤษฎีที่ใช้ในการวินิจฉัย
ทฤษฎีเงื่อนไข ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม เฉพาะความผิดที่ต้องการผลเท่านั้น ที่ต้องพิจารณาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล

40 หลักในการวินิจฉัย หากผลที่เกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของผู้กระทำ ผู้กระทำต้องรับผิด หากไม่ใช่ผลโดยตรงก็ไม่ต้องรับผิด ตาม “ทฤษฎีเงื่อนไข” หากผลที่เกิดขึ้นทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นกว่าเจตนา ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นต่อเมื่อผลนั้นเป็นผลธรรมดาตาม “ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม” 3. หากผลที่เกิดขึ้นเกิดจากเหตุแทรกแซง ผู้กระทำต้องรับผิดก็ต่อเมื่อเหตุแทรกแซงนั้นวิญญูชนคาดหมายได้ ตาม “ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม”

41 ทฤษฎีเงื่อนไข ถ้าไม่มีการกระทำนี้ ผลก็จะไม่เกิด ถือว่าผลเกิดจากการกระทำอันนี้ ถ้าไม่มีการกระทำนี้ ผลก็ยังเกิด ถือว่าผลไม่ได้เกิดจากการกระทำอันนี้ ถึงแม้จะมีการกระทำอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดผลนั้นด้วย แต่ถ้าไม่มีการกระทำอันนี้ผลก็จะไม่เกิด ต้องถือว่าผลเกิดจากการกระทำอันนี้

42 กรณีศึกษา สมิงเดินทางไปร่วมงานแต่งของอดีตคนรัก ด้วยความเสียใจจึงใช้ปืนที่นำมาด้วยยิงขึ้นฟ้าหลายนัดจนลูกหมด แขกที่มาร่วมงานทั้งแขกเจ้าบ่าวเจ้าสาวเห็นว่าเป็นการหยามศักดิ์ศรีจึงตรงเข้ารุมทำร้ายหลายสิบคนโดยบางคนมีอาวุธเป็นไม้และเหล็ก จนเขาถึงแก่ชีวิตเพราะแผลที่ถูกของแข็งทุบ เสรีพี่ชายของเจ้าสาวได้เข้าไปทำร้ายสมิงด้วย โดยได้เตะไปที่ท้องสองครั้ง ด้วยความสงสารที่เคยรู้จักกันจึงหยุด เสรีต้องมีความรับผิดอย่างไร

43 กรณีศึกษา ยาพิษชนิด A ต้องใช้จำนวน 9 มิลลิกรัมจึงจะทำให้คนท้องเสียได้สนิท, เสรี และ ถนอม ต้องการทำให้ จำปาท้องเสียโดยทั้งสามไม่รู้จักกันมาก่อน และทั้งสามเข้าใจผิดว่าใช้ยา A เพียง 3 มก.ก็จะได้ผลต่างคนจึงใส่ยา A ในด้วยกาแฟของ จำปาคนละ 3 มก. จำปาท้องเสียจนสลบและต้องเข้าโรงพยาบาลทั้งสามคนต้องรับผิดต่อการทำร้ายร่างกาย

44 ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม ใช้ในกรณีดังต่อไปนี้
ผลของการกระทำทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น หรือ ผลเกิดจากเหตุแทรกแซง

45 ทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม มาตรา 63 ถ้าผลของการกระทำความผิดใด ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษ หนักขึ้น ผลของการกระทำนั้นต้องเป็นผลที่ตามธรรมดา ย่อมต้องเกิดขึ้น

46 ทฤษฎีผลธรรมดา ผลธรรมดา หมายถึง ผลที่ผู้กระทำสามารถ “คาดเห็น”
ผลธรรมดา หมายถึง ผลที่ผู้กระทำสามารถ “คาดเห็น” ความเป็นไปได้ของผลนั้น มาตรฐานที่ใช้ประเมิน คือ วิญญูชน การคาดเห็นนี้ต้องไม่ถึงขั้นเล็งเห็นผล

47 กรณีศึกษา ธนิตโกรธที่ถนอมแกล้งให้ล้มหัวคะมำ จึงต่อยไปที่เบ้าตาของถนอมอย่างแรง ถนอมตาบวม ปรากฏว่าต่อมาอีกเจ็ดวันตาติดเชื้อและตาบอดสนิท ธนิตต้องรับผิดตามมาตรา 295 หรือ 297

48 กรณีศึกษา ธนิต ต้องการแก้แค้น ดำ ที่กลั่นแกล้งเขาในการทำธุรกิจ จึงจุดไฟเผาโกดังเก็บอุปกรณ์การเกษตรของเขาที่ตั้งอยู่ในทุ่งนา แต่ในวันดังกล่าวมีเสถียร คนไร้บ้านผ่านมาและเข้าไปนอนพักในโกดังดังกล่าวจึงถูกไฟคอกตาย ธนิตต้องรับผิด ม. 218 (2) หรือ 224 กรณีจะเป็นอย่างไรถ้าเป็นการเผาบ้านและคนที่ตายคือคนรับใช้ที่เฝ้าบ้านอยู่

49 เหตุแทรกแซง เหตุแทรกแซง คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ หลังจากการ กระทำของผู้กระทำในตอนแรก และเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดผล ในบั้นปลาย ซึ่งเหตุแทรกแซงอาจเกิดจาก ธรรมชาติ, ผู้กระทำความผิด, ผู้เสียหาย หรือบุคคลที่สามก็ได้

50 หลักในการวินิจฉัยความรับผิดของผู้กระทำ
กรณีที่ผลบั้นปลายไม่ได้เกิดจากการกระทำของผู้กระทำ โดยตรง แต่เกิดจากเหตุแทรกแซง ผู้กระทำต้องรับผิดในผล บั้นปลายก็ต่อเมื่อเหตุแทรกแซง เป็นสิ่งที่คาดหมายได้ หาก คาดหมายไม่ได้ก็ไม่ต้องรับผิด กรณีใดถือว่าคาดหมายได้ ใช้มาตรฐาน “วิญญูชน”

51 กรณีศึกษา เสนียดพยายามยามข่มขืนลลิตา ลลิตาขัดขืนวิ่งหนี และกระโดดลงไปในแม่น้ำทั้งที่ว่ายน้ำไม่เป็น จนในที่สุดเธอจมน้ำตาย กรณีนี้เสนียดต้องรับผิดตามมาตรา 276 หรือ 277 ทวิ

52 กรณีศึกษา สกัด ทะเลาะวิวาทกับ เสถียร จึงใช้มีดฟันโดนแขนซ้ายของเสถียรเป็นแผลลึก แต่เนื่องจากเสถียรไม่ไปหาหมอเพื่อทำการรักษาแผลดังกล่าวจึงติดเชื้ออย่างร้ายแรงจนต้องตัดแขนทิ้ง สกัดต้องรับผิดต่อเสถียรตามมาตรา 295 หรือ 297

53 กรณีศึกษา ทองมาใช้ปืน ยิง สถิต ได้รับบาดเจ็บ และต่อมาอีก ๙ เดือน สถิตได้ถึงแก่ความตาย เพราะแผลที่ถูกยิงได้รับการรักษา ไม่ดีจากแพทย์ทำให้แผลติดเชื้อจนทำให้เขาตาย ทองมา ต้องรับผิดต่อสถิตฐานพยายามฆ่า หรือ ฆ่าคนตายโดยเจตนา

54 กรณีศึกษา แทนใช้ปืนยิง ต้อม ได้รับบาดเจ็บสาหัส ระหว่างการผ่าตัดแพทย์ผู้ผ่าตัดใช้ยาสลบผิดประเภท ส่งผลให้ต้อมถึงแก่ความตาย แทนต้องรับผิดต่อต้อมฐานพยายามฆ่า หรือ ฆ่าคนตายโดยเจตนา

55 ฝึกฝนการปรับใช้หลักกฎหมาย
ประจักร ต้องการฆ่าสุทธิ จึงใช้ปืนยิงสุทธิ ถูกบริเวณท้อง ของสุทธิเป็นแผลขนาดใหญ่ แพทย์ผู้รับผิดชอบให้ ความเห็นว่าน่าจะเสียชีวิตภายในสองถึงสามชั่วโมงนี้ สุทธิ เจ็บปวดมากจึงใช้มีดปาดคอตัวเองจนตาย ประจักร ต้องรับผิดต่อสุทธิฐานใด

56 เฉลยแบบฝึกหัด กรณีตามโจทย์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลซึ่ง มีหลักกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องดังนี้ บุคคลต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อกระทำความผิดโดยเจตนา เว้นแต่กระทำการโดยประมาท หรือ ไม่มีเจตนา แต่มีกฎหมายบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งให้ต้องรับผิด ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ผู้นั้นมีความผิดฐานฆ่าคนตาย บุคคลต้องรับผิดในผลของการกระทำความผิดก็ต่อเมื่อผลที่เกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงจากการะทำความผิดนั้น ตามทฤษฎีเงื่อนไข บุคคลต้องรับผิดในผลของการกระทำความผิดอันเกิดจากเหตุแทรกแซงก็ต่อเมื่อเหตุดังกล่าวสามารถคาดเห็นได้ ตามทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม

57 เฉลยแบบฝึกหัด กรณีตามโจทย์ประจักรมีเจตนาฆ่าสุทธิโดยประสงค์ต่อผล คือ ความ ตายของสุทธิ เขาได้ลงมือกระทำความผิดไปโดยตลอดแล้ว ด้วยการยิงปืนไปที่ท้อง ของสุทธิซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ อย่างไรก็ตามการตายของสุทธิเกิดจากเหตุแทรกแซง ซึ่งเป็น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังการกระทำความผิด ด้วยการกระทำของ ผู้เสียหายเองที่ลงมือฆ่าตัวตาย จึงต้องวินิจฉัยด้วยทฤษฎีเหตุที่เหมาะสมว่าการฆ่าตัวตายเนื่องจาก เจ็บปวดทนทุกข์ทรมานเป็นเหตุแทรกแซงที่วิญญูชนคาดหมายได้หรือไม่

58 เฉลยแบบฝึกหัด ซึ่งโดยทั่วไปแล้ววิญญูชนย่อมคาดเห็นได้ว่า กรณีที่คนเราต้องทนทุกข์ทรมานอย่างมากจากบาดแผล เขาอาจจะตัดสินใจจบชีวิตตนเองได้ การฆ่าตัวตายจากความทุกข์ทรมานจึงเป็นสิ่งที่คาดเห็นได้ได้ กรณีนี้จึงถือว่าเหตุแทรกแซงนี้สามารถคาดเห็นได้ จึงไม่ตัดความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำของประจักรกับผลที่เกิดขึ้น ประจักรจึงต้องรับผิดในการตายของสุทธิ ตามมาตรา 288 ตามที่เขาเจตนามาตั้งแต่ต้น เพราะการตายของสุทธิเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากเหตุแทรกแซงที่วิญญูชนคาดหมายได้

59 เฉลยแบบฝึกหัด สรุป ประจักรต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาตามมาตรา 288 เนื่องจากเขาได้ลงมือกระทำความผิดแล้วและผล คือ ความตาย ของสุทธิได้เกิดขึ้นตามที่เขาเจตนา แม้การตายของสุทธิจะมาจาก เหตุแทรกแซง อันได้แก่การฆ่าตัวตายของสุทธิเอง แต่เหตุ แทรกแซงนี้ก็เป็นเหตุแทรกแซงที่วิญญูชนคาดหมายได้ จึงไม่ตัด ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล

60


ดาวน์โหลด ppt วิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป (177181)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google