งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ศาสนศึกษา Religions Studies

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ศาสนศึกษา Religions Studies"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ศาสนศึกษา Religions Studies
*Source : MCT Illustration ศาสนศึกษา Religions Studies

2 ประวัติความเป็นมาของศาสนา
ประวัติความเป็นมาของศาสนาอ้างถึงการเขียนบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เกี่ยวกับประสบการณ์และความคิดของมนุษย์ ช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ศาสนานี้เริ่มต้นด้วยการประดิษฐ์ของอักษรเมื่อประมาณ 5,200 ปีที่ผ่านมา (3,200 ปีก่อนคริสตกาล) ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของศาสนานี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาความเชื่อทางศาสนาที่มีอยู่ก่อนที่การกำเนิดของการบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษร *Source :

3 ความหมายของศาสนา ศาสนา หมายถึง ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลักคือแสดงกําเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรม เกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อม ทั้งลัทธิพิธีที่กระทําตามความเห็นหรือตามคําสั่งสอนในความ เชื่อถือนั้นๆ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542)

4 องค์ประกอบสำคัญของศาสนา
องค์ประกอบของศาสนา ศาสดา สาวก คัมภีร์ ศาสนพิธี ศาสนสถาน

5 จุดกำเนิดและพัฒนาของศาสนา
กลุ่มนักปรัชญา (Philosopher Groups) เสนอแนวคิดที่เป็นสาเหตุของการเกิดศาสนาอยู่ 6 ประการ การนับถือธรรมชาตินิยม Animatisms ความเชื่อในลัทธิวิญญาณนิยม Animism การบูชาบรรพบุรุษ Ancestor Worship ความเชื่อในลัทธิพหุเทวนิยม Poly-theism ความเชื่อในลัทธิเอกเทวนิยม Mono-theism ความเชื่อในเหตุผลนิยม Rationalism

6 จุดกำเนิดและพัฒนาของศาสนา
กลุ่มนักสังคมวิทยา (Socialist Groups) เสนอแนวคิดที่เป็นสาเหตุของการเกิดศาสนาอยู่ 4 ประการ ทฤษฎีความไม่รู้ Ignorance of theory ทฤษฎีความกลัว Fear of theory ทฤษฎีความจงรักภักดี ทฤษฎีการชดเชยทางจิตวิทยา

7 มูลเหตุให้เกิดศาสนา มูลเหตุให้เกิดศาสนา ความไม่รู้ ความกลัว
ความจงรักภักดี ความรู้

8 จุดกำเนิดและพัฒนาของศาสนา
กลุ่มนักโบราณคดี (Archeologist Groups) เสนอแนวคิด และหาจุดกำเนิดของศาสนาที่แท้จริง E.B. Tylor บิดาวิชาโบราณคดียุคใหม่ มีความเชื่อ ในเรื่องวิญญาณหรือวิญญาณนิยม (Animism) ของมนุษย์เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดศาสนาทั่วโลก Herbert Spencer เสนอแนวความคิดลัทธิเคารพบรรพบุรุษ (Ancestor Worship)

9 หลักการศึกษาศาสนาที่ควรนำมาพิจารณาแยกได้เป็น 4 แบบคือ
วิธีการศึกษาศาสนา หลักการศึกษาศาสนาที่ควรนำมาพิจารณาแยกได้เป็น 4 แบบคือ ศึกษาศาสนาในแนวศาสนา เป็นการศึกษาโดยเริ่มจากการลำดับสาระสำคัญไปแต่ละเรื่องที่เป็นส่วนประกอบของศาสนา ศึกษาศาสนาในแนวปรัชญา เป็นการศึกษาในแบบนำเอาความคิดรวบยอด (concept) ในศาสนามาอธิบายในแนวปรัชญา ศึกษาศาสนาในแนวของศาสตร์ เป็นการศึกษาศาสนาในฐานะที่เป็นศาสตร์ โดยไม่นำเอาหลักศรัทธามาเกี่ยวข้อง ศึกษาศาสนาในแนวเปรียบเทียบ เป็นการศึกษาโดยนำเอาเนื้อหาของแต่ละศาสนามาเปรียบเทียบกันโดยสร้างสรรค์

10 ความแตกต่างของศาสนากับศาสตร์อื่นๆ
ลัทธิ หมายถึง คติความเชื่อถือ ความคิดเห็น และหลักการที่มีผู้นิยมนับถือ และปฏิบัติตามสืบเนื่องกันมาจะเป็นในการเมืองการปกครองหรือจะเป็นความเชื่อทางศาสนาก็ได้ขึ้นอยู่กับบริบทแวดล้อม บางครั้งอาจใช้แทนคำว่า “ศาสนา” ได้ ความแตกต่างระหว่างลัทธิกับศาสนา ลัทธิมีองค์ประกอบสำคัญไม่ครบเหมือนกับศาสนา ลัทธิบางลัทธิมุ่งเน้นผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม ลัทธิไม่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา

11 ความแตกต่างของศาสนากับศาสตร์อื่นๆ
ปรัชญา ความหมายของปรัชญาตามราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ หมายถึง วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง เป็นระบบความคิดหนึ่งๆ เท่านั้นแต่จะไม่เน้นในเรื่องการปฏิบัติ ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนา ปรัชญาเป็นเรื่องของความรู้ ความเป็นเหตุผลไม่เกี่ยวกับศรัทธา ปรัชญาจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับทัศนะหรือความคิดที่เห็นกว้างไกล ปรัชญาไม่ต้องมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับศาสนา ไม่ต้องมีสาวก ไม่ต้องมีพิธีกรรม ไม่เน้นการปฏิบัติ ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์

12 ความแตกต่างของศาสนากับศาสตร์อื่นๆ
วิทยาศาสตร์ ความหมายของปรัชญาตามราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ หมายถึง ความรู้ที่ได้โดยการสังเกตและค้นคว้าจาก ปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ, วิชาที่ค้นคว้าได้ หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์รับรู้โดยประสาทสัมผัส มองเห็นเป็นรูปธรรม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ในเชิงปริมาณไม่เกี่ยวกับค่านิยม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ในลักษณะเป็นเงื่อนไขและความเป็นไปได้

13 สถิติการนับถือศาสนา

14 สถิติการนับถือศาสนา

15 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานผลการจัยในชื่อ “ภูมิทัศน์ในการนับถือศาสนาของคนทั่วโลก” โดย (The Pew Forum on Religion & Public Life) รวบรวมข้อมูลจากสถิติในปี พ.ศ.2553 พบว่า ประชากรโลกที่ระบุว่าตัวเองเป็นคน “ไร้ศาสนา” หรือ “ไม่ผูกพันกับศาสนาใด” มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจนติดอันดับ 3 ในขณะที่ศาสนาอิสลามและฮินดูมีแนวโน้มว่าคนจะนับถือมากที่สุดในโลก ส่วนศาสนายิวเป็นศาสนาที่มีแนวโน้มลดลงมากที่สุด (มติชนออนไลน์)

16 กิจกรรมที่ 3 นักศึกษาคิดว่าปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีประชากรนับถือมากที่สุดในโลก นักศึกษาคิดว่าการนับถือศาสนาของประชากรโลกมีผลต่อศาสตร์ด้านอื่นๆ ในแง่มุมใดบ้าง จงอธิบาย


ดาวน์โหลด ppt ศาสนศึกษา Religions Studies

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google