งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กฎหมายประกันภัยทางทะเล Marine Insurance

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กฎหมายประกันภัยทางทะเล Marine Insurance"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กฎหมายประกันภัยทางทะเล Marine Insurance

2 ปัญหาที่เกิดจากการไม่มีกฎหมายประกันภัยทางทะเลและการอุดช่องว่างของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย
ป.พ.พ มาตรา 868 บัญญัติว่า “อันสัญญาประกันภัยทางทะเล ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายทะเล” เมื่อมีคดีการประกันภัยทางทะเลขึ้นสู่ศาล ศาลอุดช่องว่างของกฎหมายตาม มาตรา 4 ซึ่งวางหลักว่า “กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบท บัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมาย ของบทบัญญัตินั้น ๆ เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตาม จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัย คดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งและถ้าบทกฎหมาย เช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป”

3 การอุดช่องว่างโดยศาล
ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ 2 แนวทาง คือ แนวทางแรก ใช้กฎหมายอังกฤษในฐานะหลักกฎหมายทั่วไป ตาม ฎ. 999/2496 และ ฎ.7304/2537 แนวทางที่สอง ให้ใช้ ป.พ.พ ว่าด้วยประกันภัยในฐานะบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งในการวินิจฉัยคดี โดยตาม ฎ. 6649/2537

4 ปัญหาที่เกิดจากการอุดช่องว่างทางกฎหมาย
ปัญหาความไม่แน่นอน ปัญหาความไม่ชัดเจน ปัญหาความไม่เหมาะสม เช่น การให้ใช้กฎหมายอังกฤษเป็นหลักกฎหมายทั่วไป ข้อพิจารณา - นักกฎหมายไทยมีความรู้กฎหมายอังกฤษหรือไม่- กฎหมายอังกฤษถือเป็นข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริง - นักกฎหมายไทยมีโอกาสติดตามการเปลี่ยนแปลงกฎหมายประกันภัยของอังกฤษมากน้อยเพียงใด การใช้ ป.พ.พ ว่าด้วยประกันภัยเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง ข้อพิจารณา - มีความแตกต่างระหว่างประกันวินาศภัยและประกันภัยทางทะเล

5 ปัญหาผู้ที่เกี่ยวข้องกับประกันภัยทางทะเลไม่มีโอกาสทราบสิทธิและหน้าที่ของตนอย่างชัดเจน
จำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อความชัดเจนแน่นอนสำหรับการค้าพาณิชย์ทั้งหลาย กฎหมายประกันภัยของไทยโดยเฉพาะ

6 บทบาทของกฎหมายประกันภัยทางทะเลของอังกฤษ
1. บทบาทของกฎหมายประกันภัยทางทะเลของอังกฤษที่มีต่อประเทศต่างๆ พ.ร.บ.การประกันภัยทางทะเล ค.ศ 1906 ได้กลายเป็นกฎหมายระหว่างประเทศโดยพฤตินัย (a de facto international marine insurance legal regime)

7 2. บทบาทของกฎหมายประกันภัยทางทะเลของอังกฤษในประเทศไทย
มีบทบาทในการพิจารณาตัดสิน 2 ลักษณะ คือ 2.1 กฎหมายอังกฤษในฐานะกฎหมายซึ่งคู่สัญญาประสงค์จะให้ใช้บังคับแก่ข้อพิพาท 2.2 กฎหมายอังกฤษในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการอุดช่องว่างของกฎหมาย

8 พระราชบัญญัติประกันภัยทางทะเลของอังกฤษ Marine insurance act 1906
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก บทมาตราต่างๆ ม.1-94 ส่วนที่สอง ตารางแนบท้ายพ.ร.บ Schedule 1 ตอนต้น กรมธรรม์ประกันภัยมาตรฐานของ Lloyd’s - Lloyd’s S&G Policy Schedule 1 ตอนท้าย กฎหรือหลักในการตีความกรมธรรม์ประกันภัย Rule for Construction of Policy 17 ข้อ

9 พระราชบัญญัติประกันภัยของอังกฤษ The insurance act 2015
มีผลใช้บังคับ 12 สิงหาคม 2016 มีเนื้อหา 7 บท 23 มาตรา และตารางแนบท้าย 2 ตาราง ตารางที่ 1 วิธีการเยียวยาของผู้รับประกันภัยสำหรับการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย ตารางที่ 2 สิทธิของบุคคลภายนอกต่อผู้รับประกันภัย

10 The insurance act 2015 แก้ไขและเพิ่มหลักการใหม่ ดังนี้
(1) หน้าที่ในการเปิดเผยข้อเท็จจริงอย่างยุติธรรม (2) วิธีการแก้ไขเยียวยาสำหรับการปฏิบัติผิดหน้าที่ในการเปิดเผยข้อเท็จจริงอย่างยุติธรรม (3) คำรับรองและเงื่อนไขอื่นๆ (3.1) ข้อตกลงเรื่อง “Basic of Contract” (3.2) ผลของการฝ่าฝืนคำรับรอง (3.3) การฝ่าฝืนคำรับรองหรือเงื่อนไขอื่นๆ ที่ไม่ได้ส่งผลให้ความเสี่ยงในการเกิดความสูญหายหรือเสียหายที่เกิดขึ้นจริงนั้นเพิ่มขึ้น

11 (4) การใช้สิทธิเรียกร้องโดยฉ้อฉล
(5) หลักสุจริต (6) ข้อตกลงยกเว้นข้อกฎหมาย

12 คำพิพากษาของศาล Case Law
กรมธรรม์ประกันภัยมาตรฐาน Standard Policy ข้อสัญญามาตรฐาน Institute Clauses

13 ส่วนได้เสียอันอาจเอาประกันภัยได้
เปรียบเทียบกฎหมายประกันภัยทางทะเลของอังกฤษและกฎหมายประกันวินาศภัยของไทย ส่วนได้เสียอันอาจเอาประกันภัยได้ (Insurable interest) ความหมายของส่วนได้เสียอันอาจเอาประกันภัยได้ ป.พ.พ. มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วน ได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่ อย่างหนึ่งอย่างใด”

14 อ.จำรัส เขมะจารุ อธิบายว่า “ส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย หมายถึง ความสัมพันธ์ที่ผู้เอาประกันภัยมีต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ ซึ่งถ้ามีวินาศภัยเกิดแก่ทรัพย์สินนั้น ย่อมมีผลกระทบกระเทือนเสียหายถึงผู้เอาประกันภัยด้วย” อ.ไชยยศ เหมะรัชตะ “ส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย หมายถึง เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ผู้ใดมีส่วนที่จะได้รับประโยชน์หรือมีส่วนต้องเสียหายในเหตุการณ์นั้น ผู้นั้นย่อมมีส่วนได้เสีย สามารถเอาประกันภัยในเหตุการณ์นั้นได้”

15 ฎ 4380/2527 ผู้มีสิทธิเอาประกันภัยมิได้จำกัดเพียงเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เอาประกันภัยเท่านั้น ผู้ที่มีความสัมพันธ์อยู่กับทรัพย์หรือสิทธิหรือผลประโยชน์หรือรายได้ใดๆ ซึ่งถ้ามีวินาศภัยทำให้ผู้นั้นเสียหาย และความเสียหายนั้นประมาณเป็นเงินได้ ผู้นั้นย่อมมีส่วนได้เสียตามม. 863

16 พระราชบัญญัติประกันภัยทางทะเล ค.ศ 1906 มาตรา 5
ให้นิยาม ส่วนได้เสียอันอาจเอาประกันภัยได้ ส่วนได้เสียมีสาระสำคัญ 2 ประการ คือ บุคคลใดก็ตามซึ่งมีส่วนได้เสียในการเสี่ยงภัยทางทะเล (marine adventure) ถือว่ามีส่วนได้เสียอันอาจเอาประกันภัยได้ และ เขามีความเกี่ยวพันทางกฎหมายหรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งกับการเสี่ยงภัยหรือกับทรัพย์สินใดๆที่เอาประกันภัยได้ ซึ่งเขาอาจได้รับประโยชน์หากทรัพย์สินที่เอาประกันภัยปลอดภัยหรือถึงที่หมายตามกำหนดหรืออาจได้รับความเสียหายหากทรัพย์สินที่เอาประกันสูญหายหรือถูกยึดหรือเกิดความรับผิดใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น

17 สิทธิตามกฎหมายหรือสัญญา ถือว่ามีส่วนได้เสียแน่นอน
ความคาดหวังว่าจะมีส่วนได้เสีย (a mere expectation of interest) ไม่ถือว่ามีส่วนได้เสีย คดี Lucena V Craufurd

18 2. บุคคลที่ถือว่ามีส่วนได้เสีย
กฎหมายระบุบุคคลที่อาจมีส่วนได้เสีย แบ่งเป็น 4 จำพวก คือ ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เอาประกันภัย ซึ่งอาจเป็นเรือ สินค้าหรือค่าระวาง ม.14(3) ผู้ที่ให้กู้ยืมเงินโดยมีเรือหรือสินค้าเป็นหลักประกัน ม. 10 ผู้มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ได้แก่ นายเรือและลูกเรือ ม. 11 ผู้รับประกันภัย ม. 9 นอกจากนี้ยังมีบุคคลอื่นที่กฎหมายไม่ได้กล่าวเฉพาะเจาะจง เช่น ตัวแทน ผู้รับขน ผู้ที่ยึดหรือจับกุมเรือหรือสินค้า ผู้มีบุริมสิทธิ์ เป็นต้น

19 3. ประเภทของส่วนได้เสีย
3.1 ส่วนได้เสียบางส่วน (partial interest) ม. 8 การมีส่วนได้เสียไม่ว่าลักษณะใดย่อมสามารถเอาประกันภัยได้ เช่น เจ้าของรวมในเรือหรือสินค้า 3.2 ส่วนได้เสียที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง (contingent) หรือส่วนได้เสียที่อาจหมดไป(defeasible) ถือเป็นส่วนได้เสียซึ่งอาจเอาประกันภัยได้ ม.7(2) ในส่วนนี้ ป.พ.พ.มิได้บัญญัติไว้

20 4.เวลาที่ต้องมีส่วนได้เสีย
ป.พ.พ. มาตรา 863 มิได้กำหนดชัดแจ้งว่า เวลาใดที่ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสีย นักกฎหมายไทยอธิบายว่า เวลาที่มีส่วนได้เสียคือขณะที่เกิดสัญญาประกันภัย แม้ต่อมาส่วนได้เสียหมดสิ้นลงในระหว่างอายุสัญญา ก็ไม่มีผลกระทบถึงความสมบูรณ์ของสัญญา

21 พระราชบัญญัติประกันภัยทางทะเล ค.ศ 1906 มาตรา 6 (1)
ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในวัตถุที่เอาประกันภัยในเวลาที่เกิดความเสียหายเกิดขึ้น แต่ว่าไม่จำเป็นต้องมีส่วนได้เสียในขณะทำสัญญาประกันภัย วางหลักสัญญาประกันภัยทางทะเลที่เป็นการพนันขันต่อให้ตกเป็นโมฆะ ม.4

22 ความแตกต่างหลักกฎหมายไทยกับกฎหมายอังกฤษ
ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียขณะทำสัญญา ผู้เอาประกันภัยไม่มีส่วนได้เสียขณะเกิดภัย ส.ไม่ตกเป็นโมฆะหรือเสียไป แต่ผู้เอาประกันภัยไม่มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อังกฤษ ผู้เอาประกันภัยคาดหวังว่าจะมีส่วนได้เสียในขณะทำสัญญาก็เพียงพอแล้ว ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียขณะเกิดภัย

23 ข้อยกเว้นหลักผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียขณะเกิดภัย
ได้แก่ lost or not lost policy กฎหรือหลักในการตีความกรมธรรม์ภัย ข้อ 1

24 5. ผลของการไม่มีส่วนได้เสีย
ป.พ.พ มาตรา 863 สัญญาประกันภัยย่อมไม่มีผลผูกพันคู่สัญญา จึงเรียกให้ส่งเบี้ยประกันภัยหรือให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ได้ ส่วนเบี้ยประกันเรียกคืนได้ตามหลักเรื่องลาภมิควรได้ ม. 406 หรือ เรียกคืนไม่ได้เพราะเป็นพนันขันต่อ ม. 853 ขึ้นดับความสุจริตของผู้เอาประกันภัย กฎหมายอังกฤษ สัญญานั้นเป็นพนันขันต่อและตกเป็นโมฆะ ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิได้รับเบี้ยประกันภัยคืน ตราบเท่าที่ผู้เอาประกันไม่ฉ้อฉลหรือทำผิดกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามโดยผลของmarine Insurance (Gambling Policy) Act 1909 กำหนดให้การประกันภัยโดยไม่มีส่วนได้เสียและไม่คาดหวังว่าจะมีส่วนได้เสียเป็นการผิดกฎหมาย ดังนั้นผู้เอาประกันภัยเรียกเบี้ยประกันคืนไม่ได้

25 ในกรณีผู้เอาประกันภัยไม่มีส่วนได้เสียขณะทำสัญญาแต่คาดหวังจะมีภายหลัง แม้ต่อมาจะไม่มีส่วนได้เสีย ส.ประกันภัยไม่กลายเป็นพนันขันต่อ จึงไม่เป็นโมฆะ ผู้เอาประกันมีสิทธิได้รับเบี้ยประกันภัยคืน ม.84 (1) และ(3)(ค)


ดาวน์โหลด ppt กฎหมายประกันภัยทางทะเล Marine Insurance

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google