งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สื่อเทคโนโลยีประกอบการสอน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สื่อเทคโนโลยีประกอบการสอน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สื่อเทคโนโลยีประกอบการสอน
เรื่อง การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด และปลอดภัย สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดย นางสุพรรษา ทิพย์สิงห์

2 พลังงานใช้ไฟฟ้า ในชีวิตประจำวันของเราในทุกวันนี้ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับการใช้ พลังงานไฟฟ้าทั้งสิ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือ แม้กระทั่งอยู่บนท้องถนน ตั้งแต่เกิดถึงตาย

3 พลังงานใช้ไฟฟ้า ทำไมเราถึงต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ?
มนุษย์มีความจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าเพราะเราใช้พลังงานไฟฟ้าในการเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานอื่นๆ เพื่อช่วยในการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน และการพัฒนาประเทศ

4 พลังงานใช้ไฟฟ้า และมีแนวโน้มว่าจะมีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ
โดยแหล่งผลิตไฟฟ้าหลักที่เราใช้อยู่ คือ โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อน ซึ่งถ้าไม่มีน้ำเพียงพอก็ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้

5 พลังงานใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีแนวโน้มว่าในอนาคตเราต้องขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าใช้
และต้องหาแหล่งพลังงานใหม่เพื่อทดแทนแหล่งพลังงาน ที่หมดอายุไป เซลล์สุริยะแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่

6 พลังงานใช้ไฟฟ้า วิธีการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัดและคุ้มค่าก็คือ
การเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างประหยัดและใช้อย่างปลอดภัย

7 ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ เราสามารถเลือกชนิดและขนาดที่ช่วยประหยัด
เป็นทราบกันดีว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวันนั้นสามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้พลังงานในรูปแบบต่างๆ แบ่งเป็น 4 ชนิด ดังนี้ 1. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานแสงสว่าง 2. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล 3. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานเสียง 4. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อน ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ เราสามารถเลือกชนิดและขนาดที่ช่วยประหยัด พลังงานไฟฟ้าได้

8 1.เครื่องใช้ไฟฟ้าให้พลังงานแสงสว่าง
ปัจจุบันมี 4 ชนิดคือ 1. หลอดไส้ โดยใส้ทำจากโลหะทังสะเตนกับออสเมียม ซึ่งทนความร้อนสูง ภายในหลอดบรรแก๊สไนโตรเจนกับอาร์กอน เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไส้หลอดทำให้เปล่งแสงออกมา

9 1.เครื่องใช้ไฟฟ้าให้พลังงานแสงสว่าง
2. หลอดเรืองแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ ไส้หลอดทั้งสองข้างทำจากทังสะเตน ตัวหลอดข้างในฉาบด้วยสารเรืองแสง จะเปล่งแสงสว่างเมื่อรังสีอุลตร้าไวโอเลต มาตกกระทบ -มีแบลลัสต์เพื่อเพิ่มความต่างศักย์ให้หลอด ติดในตอนแรก -มีสตาร์ทเตอร์ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์อัตโนมัติ ขณะหลอดยังไม่ติดและหยุดทำงานเมื่อหลอดติดแล้ว

10 1.เครื่องใช้ไฟฟ้าให้พลังงานแสงสว่าง
ข้อดีของหลอดเรืองแสง เมื่อใช้พลังงานเท่ากันจะให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไส้ 4 เท่า และมีอายุการใช้งานมากกว่า 8 เท่า อุณหภูมิไม่สูง

11 1.เครื่องใช้ไฟฟ้าให้พลังงานแสงสว่าง
3. หลอดตะเกียบ มี 2 ชนิดคือ หลอดตะเกียบที่มีแบลลัสต์ภายในและภายนอก ข้อดีของหลอดตะเกียบ คือ มีอายุการใช้งาน ที่ยาวนานกว่าหลอดไส้และหลอดเรืองแสง

12 1.เครื่องใช้ไฟฟ้าให้พลังงานแสงสว่าง
4. หลอดไฟโฆษณา หรือหลอดนีออน หลอดนี้จะสร้างเป็นรูปทรงต่างๆ ไม่มีไส้หลอด ภายในจะสูบอากาศออกแล้วบรรจุแก๊สบางชนิดเพื่อให้เกิดสีต่างๆ เช่น แก๊สนีออน ให้สีแดงหรือส้ม เหมาะกับงานโฆษณาประชาสัมพันธ์

13 2.เครื่องใช้ไฟฟ้าให้พลังงานความร้อน
เตารีด หม้อหุงข้าว เครื่องปิ้งขนมปัง มีส่วนประกอบที่สำคัญคือขดลวดความร้อนหรือแผ่นความร้อน ทำมาจากโลหะนิโครม ซึ่งเป็นโลหะผสมระหว่าง นิเกิล กับ โครเมี่ยม จุดเด่นคือ ต้านทานไฟฟ้าสูงจุดหลอมเหลวสูง

14 2.เครื่องใช้ไฟฟ้าให้พลังงานความร้อน
เตารีด หม้อหุงข้าว เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้จะมีเทอร์โมสแตท หรือสวิทซ์อัตโนมัติ ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ และตัดวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยอัตโนมัติเมื่อร้อนเกินกำหนด

15 2.เครื่องใช้ไฟฟ้าให้พลังงานความร้อน
วิธีใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้อย่างประหยัดและปลอดภัยทำได้ดังนี้ 1) เตารีด - หมั่นตรวจสอบที่หุ้มสายไฟหากพบว่า ชำรุดเสียหายให้รีบเปลี่ยน - ควรรีดผ้าครั้งละมากๆ - พรมน้ำให้พอเหมาะ - หลังใช้งานให้ถอดปลั๊กและพักให้เตา รีดเย็นก่อนเก็บเข้าที่

16 2.เครื่องใช้ไฟฟ้าให้พลังงานความร้อน
2) กาต้มน้ำ - ควรใส่น้ำให้พอเหมาะ - ปิดฝาให้สนิทขณะต้ม - ปิดสวิตซ์ทันทีเมื่อน้ำเดือด

17 2.เครื่องใช้ไฟฟ้าให้พลังงานความร้อน
3) หม้อหุงข้าว - ควรเลือกขนาดให้พอเหมาะกับจำนวน สมาชิกในครอบครัว - ระวังอย่าให้ขอบหม้อหรือก้นหม้อบุบ แผ่นความร้อนอาจเสียหายได้ - เมื่อเลิกใช้งานควรถอดปลั๊กทันที

18 2.เครื่องใช้ไฟฟ้าให้พลังงานความร้อน
อัตราการใช้หม้อหุงข้าวต่อจำนวนสมาชิก จำนวนคน ขนาดที่ใช้(ลิตร) การกินไฟ(วัตต์) 1-3 1 450 4-5 1.5 550 6-8 2 600 8-10 2.8 1,000

19 3.เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล
เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้จะมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล คือ มอเตอร์(Motor)

20 3.เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล
เมื่อใช้มอเตอร์กับกระแสไฟฟ้ากระแสสลับความต่างศักย์ 220v ถ้าความต่างศักย์ลดต่ำลงน้อยกว่า 220 v เราเรียกว่า “ไฟฟ้าตก” ซึ่งเป็นอันตรายต่อมอเตอร์ เราจึงควรถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเมื่อไฟตก

21 3.เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกลอย่างประหยัดและปลอดภัยทำได้ดังนี้ พัดลม - ใช้พัดลมตั้งโต๊ะแทนพัดลมเพดาน - เลือกขนาดให้เหมาะสมกับพื้นที่ - เปิดเฉพาะเวลาที่ใช้เท่านั้น - ปรับระดับความเร็วให้พอควร

22 3.เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล
2) เครื่องซักผ้า - ควรเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน - แช่ผ้าก่อนซักจะทำให้คราบหลุดง่าย - ตั้งโปรแกรมให้เหมาะกับชนิดผ้า

23 3.เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล
3) ตู้เย็น - ควรเลือกที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 - ตั้งอุณหภูมิพอเหมาะ 3-6 องศา และ -18 ถึง -15 องศา ในช่องแช่แข็ง - เลือกขนาดให้เหมาะกับครอบครัว - ควรเลือกที่มีฉนวนกันความร้อนแบบโฟมอัดที่หนา เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียความเย็นมาก - ควรตั้งตู้เย็นห่างจากผนัง 15 ซม. - ไม่นำของร้อนเข้าในตู้เย็น - ปิดตู้เย็นให้สนิท - ควรหมั่นละลายน้ำแข็งออกบ่อย - หากขอบยางชำรุดให้รีบเปลี่ยนทันที

24 3.เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล
4) เครื่องปรับอากาศ - เลือกที่มีฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 - เริ่มเปิดเครื่องควรตั้งพัดลมไว้สูงสุด เมื่อเย็นแล้วให้ตั้งอุณหภูมิ 26 องศา - หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรอกอากาศและตะแกรงเพื่อให้อากาศผ่านเข้าออกได้สะดวก - ขณะใช้งานควรปิดหน้าต่าง และประตูให้มิดชิด - ควรปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งหลังใช้งาน - ควรเลือกขนาดให้เหมาะสมกับพื้นที่

25 3.เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล
ขนาดพื้นที่ (ตารางเมตร) ขนาดเครื่องปรับอากาศ(BTU) 13 – 14 16 – 17 9000 – 12000 20 11,000 – 13,000 23 – 24 13, ,000 30 18,000 – 20,000 40 20,000

26 4.เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานเสียง
เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้จะต้องมีลำโพงในการส่งพลังงานเสียงออกมา โดยใช้หลักการสั่นสะเทือน ทำให้แผ่นไดอะแฟรม สั่นและส่งเป็นคลื่นเสียงออกมา

27 4.เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานเสียง
การประหยัดสามารถทำได้ดังนี้ เลือกขนาดให้เหมาะสม หมั่นตรวจสอบสายไฟอยู่เสมอ ไม่ตั้งชิดกับผนังจนเกินไป ไม่เสียบปลั๊กค้างไว้ หมั่นทำความสะอาด

28 อันตรายจากกระแสไฟฟ้า
เมื่อร่างกายของมนุษย์สัมผัสกับกระแสไฟฟ้าโดยตรง อาจจะทำให้อันตรายถึงชีวิตได้ หรือทำให้ส่วนที่สัมผัสกระแสไฟฟ้าไหม้พุพอง

29 การปฐมพยาบาลคนที่โดนไฟฟ้าดูด หาฉนวนไฟฟ้านำคนออกมาจากกระแสไฟฟ้า
การช่วยให้หายใจ

30 การปฐมพยาบาลคนที่โดนไฟฟ้าดูด
ผายปอด ปั้มหัวใจ

31 การปฐมพยาบาลคนที่โดนไฟฟ้าดูด นำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด


ดาวน์โหลด ppt สื่อเทคโนโลยีประกอบการสอน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google