ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวแทนประกันชีวิต
อดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ น.บ. (ธรรมศาสตร์), เนติบัณฑิตไทย, LL.M. (University of London) ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายด้านพฤติกรรมทางการตลาด สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ผู้พิพากษาสมทบศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ กรรมการปรับปรุงพจนานุกรมศัพท์ประกันภัย ฉบับราชบัณฑิตสถาน อาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์พิเศษคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 1
2
กฎหมายประกันภัยที่ควรทราบ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ว่าด้วยการประกันภัย) พระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 พรบ. ประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ ขณะเสนอร่างพรบ. มีการเสนอร่างพรบ. ประกอบธุรกิจคนต่างด้าวควบคู่กันไปด้วยจึงมีการกำหนดผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไว้ ต้องการเพิ่มสัดส่วนผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติ 2 2
3
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการประกันภัย
ม. 861 อันสัญญาประกันภัยนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคล หนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุการณ์อย่างอื่นในอนาคตดั่งระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย 3
4
สัญญาประกันวินาศภัย Contract of Indemnity
สัญญาซึ่ง ผู้รับประกันภัยตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีมีวินาศภัยตามที่ระบุไว้ในสัญญาเกิดขึ้นในอนาคต โดยผู้เอาประกันภัยตกลงจะชำระเบี้ยประกันภัยตอบแทน “ วินาศภัย ” หมายถึง ความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาซึ่งพึงประมาณเป็นเงินได้ ตาม ม. 869 4
5
ผู้รับประกันวินาศภัยมีหน้าที่ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ตาม ม. 877
ผู้รับประกันวินาศภัยมีหน้าที่ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ตาม ม. 877 เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง 5
6
สัญญาประกันชีวิต (Life Insurance Contract)
สัญญาที่คู่สัญญาที่เป็นฝ่ายผู้รับประกันภัยตกลง ใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ เมื่อมีเหตุอย่างอื่นในอนาคต ที่ระบุไว้ในสัญญา ขณะที่ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ จ่ายเบี้ยประกันภัยเป็นการตอบแทน (ความทรงชีพ หรือมรณะ ตามมาตรา 889) 6
7
หลักส่วนได้เสีย (Insurable Interest)
มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัย มิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด” “ ส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย ”หมายถึง ผู้ได้รับประโยชน์จากการคงอยู่ หรือเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ผู้มีส่วนที่จะต้องเสียหายในเหตุการณ์นั้น ผู้นั้นย่อมมี ส่วนได้เสีย สามารถเอาประกันภัยใน เหตุการณ์นั้นได้ 7
8
เวลาที่ต้องมีส่วนได้เสีย
* ขณะตกลงทำสัญญาประกันภัย ตัวอย่าง * ภายหลังทำสัญญาประกันภัย * ส่วนได้เสียสิ้นสุดลงภายหลังจากทำสัญญาแล้ว 8
9
ลักษณะของสัญญาประกันภัย
1. เป็นสัญญาต่างตอบแทน 2. เป็นสัญญาเสี่ยงโชค 3. เป็นสัญญาที่ต้องการความซื่อสัตย์อย่างยิ่ง 4. เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ (แต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องคดี) 5. เป็นสัญญาที่รัฐกำกับดูแล 9
10
สัญญาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน
สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาต่างตอบแทน สัญญาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน หนี้ของฝ่ายผู้เอาประกันภัย คือ การส่งเบี้ยประกันภัย หนี้ของฝ่ายผู้รับประกันภัย คือ ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 10
11
สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาเสี่ยงโชค
สัญญาซึ่งการชำระหนี้ตามสัญญานั้นจะกระทำ เมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนเกิดขึ้น ฝ่ายผู้เอาประกันภัย เสี่ยงโชคชำระเบี้ยประกันภัย ถ้าเกิดภัยขึ้น ก็จะได้ค่าสินไหมทดแทน ฝ่ายผู้รับประกันภัย เสี่ยงโชคที่จะต้องเสียค่าสินไหมทดแทน 11
12
สัญญาอยู่บนพื้นฐานของความไม่เท่าเทียมกัน
สัญญาประกันภัยอยู่บนพื้นฐานของหลักความสุจริตอย่างยิ่ง (Principle of utmost good faith) สัญญาอยู่บนพื้นฐานของความไม่เท่าเทียมกัน กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ เปิดเผยข้อความจริงอันเป็นสาระสำคัญ (โมฆียะ) 12
13
สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ (แต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องคดี)
กรณีที่กฎหมายกำหนดแบบของนิติกรรมไว้ หากคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตาม สัญญาจะตกเป็นโมฆะ สัญญาเกิดขึ้นทันที เมื่อคู่สัญญาเสนอและสนอง ต้องตรงกัน ไม่ต้องรอออกกรมธรรม์ 13
14
การฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาประกันภัย ผู้ฟ้องร้องจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
มาตรา 867 อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อ ฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้น เป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ 14
15
สัญญาประกันชีวิต เป็นสัญญาที่รัฐกำกับดูแล
พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 29 วรรคแรก กรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย ต้องเป็นไปตามแบบและข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ 15
16
เงื่อนไขและเอกสิทธิของกรมธรรม์ประกันภัย
“ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ที่จะต้องแถลง ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในใบคำขอเอาประกันภัย ใบแถลงสุขภาพ หรือรายงานการตรวจสุขภาพของแพทย์ตามความเป็นจริง มิฉะนั้นอาจมีผลทำให้สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะตาม มาตรา 865” 16
17
เวลาที่ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่เปิดเผยข้อเท็จจริง
หลักการ-ขณะเสนอขอเอาประกันภัย ข้อยกเว้น-การขอต่ออายุการประกันภัย 17
18
ข้อเท็จจริงที่ต้องแถลงตามมาตรา 865
1. ข้อเท็จจริงที่จะจูงใจให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น 2. ข้อเท็จจริงที่จะจูงใจให้ผู้รับประกันภัยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญา 18
19
ผลของการไม่แถลงข้อเท็จจริง
สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆียกรรม ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่คืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ (กรณีประกันชีวิต) 19
20
กรณีไม่สุจริตทั้งสองฝ่าย สัญญาประกันชีวิตนั้นสมบูรณ์ผูกพันคู่สัญญา
1. ถ้าในขณะทำสัญญา ผู้เอาประกันภัยแถลงเท็จ 2. แต่ผู้รับประกันภัยรู้ว่าคำแถลงนั้นเป็นเท็จ หรือควรได้รู้หากใช้ความระมัดระวังตามสมควร สัญญาประกันชีวิตนั้นสมบูรณ์ผูกพันคู่สัญญา 20
21
การไม่โต้แย้งหรือคัดค้านความไม่สมบูรณ์ของสัญญาประกันภัย
ระยะเวลาตามกรมธรรม์ประกันชีวิต มาตรฐาน ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้สิทธิบอกล้าง ภายใน1 เดือน นับแต่ทราบมูลอันจะบอกล้างได้ หรือ2. ถ้ามิได้ใช้สิทธิภายใน 2 ปี นับแต่วันทำสัญญา มิฉะนั้น ผู้รับประกันภัยก็หมดสิทธิที่จะบอกล้างได้ 21
22
การกระทำอัตวินิบาตกรรม
ภายใน 1 ปี (กรมธรรม์ประกันชีวิต ฉบับมาตรฐาน) ผู้รับประกันภัยคืนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับทั้งหมด กรณีที่ถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตาย ผู้รับประกันภัยต้องใช้เงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ ให้กับทายาทโดยธรรม 22
23
การแถลงอายุคลาดเคลื่อน
1) ต่ำกว่าจริง ลดจำนวนเงินที่จะต้องพึงชดใช้ลงตามส่วน ) สูงกว่าจริง คืนเบี้ยประกันภัยส่วนที่เกินให้ 3) ถ้าอายุที่แท้จริง อยู่นอกจำกัดอัตราตามทางค้าปกติ ของผู้รับประกันภัย สัญญาตกเป็นโมฆียะ 23
24
การบอกเลิกสัญญาประกันภัย
มาตรา 894 ผู้เอาประกันภัยชอบที่จะบอกเลิกสัญญา ประกันภัยเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ ด้วยการงดไม่ส่งเบี้ยประกันภัยต่อไป ……. 24
25
ทำไมคนไทยจึงทำประกันภัย ไม่มากเท่าที่ควร ????
ทำไมคนไทยจึงทำประกันภัย ไม่มากเท่าที่ควร ????
26
หลักการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย
*เสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของบริษัท (Prudential) *กำกับพฤติกรรมทางการตลาด (Market Conduct) * คุ้มครองประชาชน(Policy Protection) เดิมใช้ พรบ.ควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ ปี 2507 รัฐบาลเสนอร่างพรบ.ประกันชีวิต/วินาศภัย ประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2510 หลักการและเหตุผลพรบ.ประกันชีวิต พ.ศ การแก้ไขพรบ.ประกันชีวิต พ.ศ เพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภคและปรับเปลี่ยนการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและตามพันธกรณีขององค์การการค้าโลก ทำไมถึงต้องใช้มาตรฐานของ IAIS ผลจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและจากที่ประเทศไทยกู้เงินจาก IMF ประเทศไทยมีพันธกรณีต้องรับการประเมินจากโครงการประเมินภาคการเงิน Financial Sector Assessment Program (FSAP) ให้มาตราฐานของ IAIS (International association of insurance supervisors) ในการประเมินภาคธุรกิจประกันภัย ICP ข้อใดบ้างที่ใช้ในการแก้ไขกฎหมาย สำหรับการประเมินระบบการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย จะยึดตามเกณฑ์ของ IAIS ที่กำหนดมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย หรือ ICP ไว้ทั้งหมด 28 ข้อ แบ่งออกเป็น 7 หมวด คือ หมวด 1 เงื่อนไขสำหรับความมีประสิทธิภาพของการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย อาทิ เงื่อนไขสำหรับความมีประสิทธิภาพของการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย โดยหน่วยงานกำกับดูแลต้องกำหนดและเปิดเผยนโยบายที่มีวัตถุประสงค์ในการรักษาความมีเสถียรภาพทางการเงิน หมวด 2 ระบบการกำกับดูแล อาทิ เป้าหมายการกำกับดูแลต้องกำหนดไว้อย่างชัดเจน, หน่วยงานที่กำกับดูแลต้องมีอำนาจเพียงพอ และมีเงินทุนที่จะใช้ปฏิบัตหน้าที่ ต้องมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่, กระบวนการกำกับดูแลต้องโปร่งใส เป็นต้น หมวด 3 องค์กรภายใต้การกำกับดูแล อาทิ บรรษัทภิบาลกำหนดให้บริษัทประกันภัยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด, การควบคุมภายใน เป็นต้น หมวด 4 การดำเนินการในการกำกับดูแล อาทิ การรายงานต่อหน่วยงานที่กำกับดูแลและการตรวจสอบ on going supervision หมวด 5 Prudential requirements อาทิ การประเมินและจัดการความเสี่ยง หน่วยงานกำกับดูแลต้องกำหนดให้ธุรกิจประกันภัยรับรู้ถึงความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ และสามารถประเมินและจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หมวด 6 ตลาดและผู้บริโภค อาทิ คนกลางประกันภัยต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติของคนกลางประกันภัย และ หมวด 7 การต่อต้านการฟอกเงิน และการต่อต้านการให้เงินอุดหนุนต่อการก่อการร้าย เมื่อมีความเข้มแข็งทางการเงินและมีระบบบริหารจัดการที่ดี ความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกก็จะมีมากขึ้นตามมาด้วย 26 26
27
การกำกับความมั่นคงทางการเงิน
1. ต้องเป็นบริษัทมหาชนจำกัด 2. วางหลักทรัพย์ประกัน 3. ดำรงเงินกองทุนตามกฎหมาย (ตามระดับความเสี่ยง Risk-based Capital – RBC) 4. ดำรงเงินสำรอง 27 27 27
28
การกำกับดูแลพฤติกรรมทางตลาด
1. แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย รวมทั้งอัตราเบี้ยประกันภัย 2. การกำกับการโฆษณาของบริษัท 3. การกำหนดวิธีการออกและเสนอขายกรมธรรม์ 4. การกำกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย 28 28 28
29
แง่มุมการคุ้มครองประชาชน
1. การจัดตั้งกองทุนประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย 2. การเปิดเผยข้อมูล 3. การพิจารณาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท/อนุญาโตตุลาการ 29 29 29
30
พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ. ศ
พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 บริษัทประกันชีวิต บริษัทมหาชนจำกัด @ ได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังโดยอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี 30
31
การประกอบธุรกิจประกันชีวิต
1. การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต บริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย สาขาของบริษัทต่างประเทศ 31
32
การประกอบธุรกิจประกันชีวิต
2. บริษัทจะต้องมีหลักทรัพย์วางไว้กับ นายทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ประกันมีมูลค่า ไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท 3. ได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี 32
33
การวางหลักทรัพย์ประกันของบริษัทประกันชีวิต
เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ จากการเอาประกันชีวิต เฉพาะ 2 กรณี บริษัทเลิกกัน บริษัทล้มละลาย 33
34
การจัดตั้งกองทุนประกันชีวิต (Policyholder Protection Fund)
หากบริษัทล้มละลาย หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ทรัพย์สินของบริษัท (รวมทั้งเงินและหลักทรัพย์ที่วางไว้กับนายทะเบียน) ไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทุนประกันชีวิต / กองทุนประกันวินาศภัย ไม่เกิน 1 ล้านบาท 34 34 34
35
การตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของบริษัท
นายทะเบียนตลอดจนพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ 1.เรียกเอกสารจากบริษัท และสอบสวนพนักงาน 2. ตรวจสมุดบัญชี หรือหลักฐานอื่นเกี่ยวกับ สินทรัพย์และหนี้สินของบริษัท 35
36
แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย
1. กรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย ต้องเป็นไปตามแบบและข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ (ม.29 ช., ม.29 ว.) 2. แบบและข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว เมื่อนายทะเบียนเห็นสมควรหรือเมื่อบริษัทร้องขอ นายทะเบียนจะสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม โทษปรับไม่เกินสามแสนบาท (ม.95 ช., ม.90 ว.)
37
กรมธรรม์ที่ไม่ได้รับความเห็นชอบ
ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิเลือก ให้บริษัทรับผิดตามสัญญาที่ออกให้ 2. ให้บริษัทรับผิดตามแบบที่นายทะเบียนเห็นชอบ 3. บอกเลิกสัญญา ให้บริษัทคืนเบี้ยประกันภัยทั้งหมด 37
38
การกำกับการโฆษณาของบริษัท
1. ให้ถือว่าข้อความหรือภาพที่โฆษณา หรือหนังสือชักชวนเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ประกันภัย (ม.30/1 โทษม. 106/1) 2. หากขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยให้ตีความในทางที่เป็นคุณแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
39
การพิจารณาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และการอนุญาโตตุลาการ
กรณีที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการประกันภัย นายทะเบียนอาจจัดให้มีการพิจารณาข้อร้องเรียน และดำเนินการไกล่เกลี่ยได้ (ม.37/1 ช., ม.36/1 ว.)
40
ตัวแทนประกันชีวิต “ตัวแทนประกันชีวิต” หมายความว่า “ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท” (ต้องสังกัดบริษัท) 40
41
นายหน้าประกันชีวิต “นายหน้าประกันชีวิต” หมายความว่า “ผู้ซึ่งชี้ช่อง หรือจัดการ ให้เกิดสัญญาประกันภัย” 41
42
ตัวแทน/นายหน้าประกันภัย
มาตรา 68 ผู้ที่รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนแล้วเท่านั้น จึงจะเป็นตัวแทน/นายหน้า โทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 42
43
คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต
(1) บรรลุนิติภาวะ (2) มีภูมิลำเนาในประเทศไทย (3) ไม่เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (4) ไม่เคยต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต เว้นแต่ได้ พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต 43
44
คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต
(5) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย (6) ไม่เป็นตัวแทนประกันชีวิต (7)ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตตัวแทนหรือใบอนุญาต นายหน้าประกันชีวิตในเวลาห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต (8) ได้รับการศึกษาวิชาประกันชีวิตจากสถาบันการศึกษาที่ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ประกาศกำหนดหรือสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตได้ตามหลักสูตรและวิธีการที่คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ประกาศกำหนด 44
45
การต่ออายุใบอนุญาตนายหน้า
ใบอนุญาตมีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต 1. การต่ออายุใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสองเดือนก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ 2. เมื่อต่อใบอนุญาตครบสองคราวติดต่อกันแล้ว ให้ใบอนุญาตที่ออกให้คราวต่อไปมีอายุห้าปี 45
46
การกระทำของตัวแทน/นายหน้าในนามบริษัท
1. ทำสัญญาประกันชีวิตในนามของบริษัทกับ ผู้เอาประกันภัย (นายหน้าไม่มีสิทธิทำสัญญาแทน) 2. รับเบี้ยประกันภัยในนามบริษัท ต้องได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท ฝ่าฝืน โทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 46
47
การรับเบี้ยประกันภัย
1. ต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจจากบริษัททุกครั้งที่มีการรับเบี้ยประกันภัยในนามของบริษัท 2. ต้องออกเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัททุกครั้งที่มีการรับเบี้ยประกันภัยในนามของบริษัท ฝ่าฝืนโทษ ปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หากเกิดความเสียหายแก่บริษัท/ผู้เอาประกันภัย – โทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 47
48
การเพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทน/นายหน้า
นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาต 1. กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รวมถึงกฎ ระเบียบ ประกาศ คปภ. / นายทะเบียน 2. ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 69 3. ดำเนินงานทำให้เกิดหรืออาจทำให้เกิดความเสียหายต่อ ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือประชาชน 48
49
สิทธิของตัวแทน/นายหน้าที่ถูกนายทะเบียน สั่งเพิกถอนใบอนุญาต
สิทธิของตัวแทน/นายหน้าที่ถูกนายทะเบียน สั่งเพิกถอนใบอนุญาต สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัยให้ถือว่าเป็นที่สุด 49
50
Thank you for your attention
สายด่วนประกันภัย 1186
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.