งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

7 บทที่ การเรียบเรียงเอกสาร และการนำเสนอเอกสาร GEL1103

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "7 บทที่ การเรียบเรียงเอกสาร และการนำเสนอเอกสาร GEL1103"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 7 บทที่ การเรียบเรียงเอกสาร และการนำเสนอเอกสาร GEL1103
สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า Information and Education 7 บทที่ การเรียบเรียงเอกสาร และการนำเสนอเอกสาร ฉัตรกมล อนนตะชัย 18/01/62

2 บทนำ รูปแบบการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าวิจัย
ผลของการศึกษาวิจัย สารถนำเสนอได้ดังต่อไปนี้ 1. รายงานทางวิชาการ (Report) 2. ภาคนิพนธ์ (Term Paper) 3. วิทยานิพนธ์ (Thesis/Dissertation) 4. รายงานวิจัย (Research Report) 18/01/62

3 บทนำ รูปแบบการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าวิจัย
1. รายงานทางวิชาการ (Report) หมายถึง รายงานการค้นคว้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการค้นคว้าวิจัย ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อประกอบการเขียนรายงานวิชาใด วิชาหนึ่ง (ในรายวิชาหนึ่ง อาจมีรายงานวิชาการได้หลายเรื่อง) สำหรับนักศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต ผลการค้นคว้าวิจัย มักปรากฏในรูปของรายงานวิชาการ 18/01/62

4 บทนำ รูปแบบการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าวิจัย 2. ภาคนิพนธ์ (Term Paper)
มีลักษณะเช่นเดียวกับรายงานทางวิชาการ เพียงแต่เรื่องที่ศึกษาค้นคว้าวิจัยมักจะมีขอบเขตกว้างและลึกซึ้งกว่า ต้องใช้เวลา ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยมากกว่า อาจะต้องใช้เวลาตลอดทั้ง ภาคการศึกษานั้น ดังนั้น ในการทำภาคนิพนธ์ ผู้เรียนจึงมัก ได้รับมอบหมายให้เพียงเรื่องเดียว ในแต่ละรายวิชาต่อภาคการศึกษา 18/01/62

5 บทนำ รูปแบบการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าวิจัย
3. วิทยานิพนธ์ (Thesis/Dissertation) วิทยานิพนธ์ หรือมหาวิทยาลัยบางแห่งเรียกปริญญานิพนธ์ เป็นรายงานผลการค้นคว้าวิจัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต หรือปริญญาดุษฎีบัณฑิต โดยผู้เรียนเลือกเรื่องที่ประสงค์จะทำการศึกษา และทำการค้นคว้า อย่างละเอียด ลึกซึ้ง 18/01/62

6 บทนำ รูปแบบการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าวิจัย
4. รายงานการวิจัย (Research Report) เป็นรายงานผลการค้นคว้าวิจัยของอาจารย์ นักวิจัย และผู้ปฏิบัติงาน ที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ การค้นคว้าเพื่อทำงานวิจัย ต้องอาศัยความละเอียด ถี่ถ้วน สมบูรณ์ และเที่ยงตรง 18/01/62

7 บทนำ กระบวนการศึกษาค้นคว้า 1. เลือกหัวข้อที่จะศึกษา
ในการศึกษาค้นคว้าเพื่อทำรายงานทางวิชาการหรือภาคนิพนธ์ มีขั้นตอนดังแผนภูมิต่อไปนี้ 1. เลือกหัวข้อที่จะศึกษา 6. วางโครงเรื่องสุดท้าย ไม่เพียงพอ 2. สำรวจแหล่งสารสนเทศ ค้นหาเอกสาร อ่านและบันทึกอย่างสังเขป 7. เรียบเรียงบทนิพนธ์ 3. วางโครงเรื่องขั้นต้น 8. จัดทำบรรณานุกรม 4. คัดเลือกแหล่งสารสนเทศ 9. จัดทำส่วนอื่นๆของบทนิพนธ์ ให้เรียบร้อย 5. อ่านและจดบันทึก 10. เข้าเล่มบทนิพนธ์ 18/01/62

8 บทนำ กระบวนการศึกษาค้นคว้า ขั้นตอนการเตรียม ขั้นลงมือเขียน ขั้นพิมพ์
ขั้นตอนการศึกษาค้นคว้า/เรียบเรียงรายงานทางวิชาการ/บทนิพนธ์ เลือกหัวเรื่อง สำรวจและรวบรวมงาน วางโครงเรื่อง เขียนแนวคิดและวัตถุประสงค์ ขั้นตอนการเตรียม พิมพ์ต้นฉบับ ตรวจเนื้อหา พิสูจน์อักษร จัดทำสารบัญ หน้าลิขสิทธิ์ ตรวจสอบทั้งเล่มอย่างละเอียด ขั้นลงมือเขียน นำเสนอด้วยรายงานฉบับเต็ม นำเสนอด้วยรายงานฉบับย่อ นำเสนอด้วยวาจา (ใช้สื่อประกอบ) ขั้นพิมพ์ ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา สื่อประกอบ ส่วนสรุป ลงท้าย ส่วนอ้างอิง บรรณานุกรม ภาคผนวก ขั้นนำเสนอ 18/01/62

9 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 การเรียบเรียงเอกสาร สารสนเทศที่นำมาเรียบเรียงและนำเสนอ คือ สารสนเทศที่ได้ จากการประเมิน วิเคราะห์ และสังเคราะห์มาแล้ว การนำเสนอสารสนเทศทำได้หลายรูปแบบ แต่จะกล่าวเฉพาะการเรียบเรียง และนำเสนอสารสนเทศในรูปแบบของ 1.1 บทความทางวิชาการ 1.2 รายงานวิชาการ 18/01/62

10 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.1 บทความทางวิชาการ บทความทางวิชาการ คืองานเขียนขนาดสั้น ซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ชัดเจนโดยผู้เขียนเรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการ ของตนเอง หรือของผู้อื่นในลักษณะที่เป็นการวิเคราะห์ วิจารณ์ หรือเสนอแนวความคิดใหม่ ๆ จากพื้นฐานทางวิชาการนั้น ๆ 18/01/62

11 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.1 บทความทางวิชาการ ความหมายของบทความทางวิชาการ หมายถึง  ผลงานที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า ทดลอง จนเกิด องค์ความรู้ แล้วนำเสนอในรูปของบทความ ตีพิมพ์ในวารสาร วิชาการหรือวารสารวิจัย 18/01/62

12 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.1 บทความทางวิชาการ รูปแบบของบทความทางวิชาการ 1. บทความทางวิชาการที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการอย่างเข้มข้น และผ่านการอ่าน และพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการในวงการวิชาการ/วิชาชีพ 2. บทความทางวิชาการที่เสนอเนื้อหาความรู้ วิชาการไม่เข้มข้นนัก เน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชาชนทั่วไป 3. บทความวิจัย (research article) คือบทความที่เขียนขึ้นจากงานวิจัยของตนเอง มีการกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สรุป และอภิปรายผลการวิจัย อันนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ 4. บทความวิจารณ์ (review article) คือบทความที่ศึกษาผลงาน หรือแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่งโดยละเอียด รวมทั้งมีการวิเคราะห์และอภิปรายผลของเรื่องที่ศึกษาให้เห็นแนวโน้ม ว่าควรเป็นไปในทางใดมีข้อดีข้อเสียอย่างไร 5. บทความเชิงวิจารณ์ เป็นบทความที่เขียนจากการศึกษา ค้นคว้า เฉพาะกรณีเกี่ยวกับสถานภาพ หรือปัญหาของสิ่งที่ศึกษา เพื่อหาสาเหตุของปัญหา และเสนอแนะแนวทางแก้ไข 18/01/62 18/01/62 12

13 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.1 บทความทางวิชาการ แหล่งเผยแพร่บทความทางวิชาการ แหล่งเผยแพร่บทความทางวิชาการ มีทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคล และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ อาทิ วารสารทางวิชาการ วารสารกึ่งวิชาการ หนังสือรวมเรื่อง และเอกสารประกอบการประชุม สัมมนาทางวิชาการ 18/01/62

14 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.1 บทความทางวิชาการ แหล่งเผยแพร่บทความทางวิชาการ แหล่งเผยแพร่บทความทางวิชาการ มีทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคล และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อบุคคล อาทิ การนำเสนอผลงานในการประชุม สัมมนา ทางวิชาการ การบรรยาย/อภิปราย 18/01/62

15 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.1 บทความทางวิชาการ แหล่งเผยแพร่บทความทางวิชาการ แหล่งเผยแพร่บทความทางวิชาการ มีทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคล และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ - สื่ออิเลคทรอนิกส์ อาทิ เว็บไซต์ ฐานข้อมูล 18/01/62

16 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.1 บทความทางวิชาการ การเลือกแหล่งเผยแพร่บทความทางวิชาการ ในการเลือกแหล่งเผยแพร่ที่เป็นวารสารวิชาการ เพื่อการเผยแพร่บทความ ทางวิชาการ มีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. เป็นวารสารที่จัดพิมพ์ต่อเนื่องทุกปี ตรงตามเวลาที่กำหนด 2. เป็นวารสารที่ออกต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี 3. กองบรรณาธิการประกอบด้วย ผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ในวิชาชีพ เพียงพอ 4. มีผู้ทรงคุณวุฒิอ่านพิจารณาบทความ อย่างน้อย 2 ท่าน 5. ถูกนำไปทำดรรชนีวารสารไทย 6. มีค่า impact factor สูง (การวัดค่าความถี่ของการอ้างอิงบทความสารสารในแต่ละปี เป็นเครื่องมือช่วยประเมินเปรียบเทียบวารสาร) 7. มีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 8. มีเอกสารอ้างอิง 9. มีรายชื่ออ้างอิงอยู่ในฐานข้อมูลของต่างประเทศ 18/01/62

17 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.1 บทความทางวิชาการ ส่วนประกอบของบทความวิชาการ บทความทางวิชาการโดยทั่วไป ประกอบด้วย ส่วนนำ ได้แก่ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน (ชื่อผู้เขียนพร้อมข้อความที่เกี่ยวกับผู้เขียน ให้รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อผู้เขียนบทความและคุณลักษณะหรือตำแหน่งหน้าที่ ของผู้เขียนบทความ) ส่วนที่เป็นบทคัดย่อหรือสาระสังเขป (Abstract หรือSummary) เป็นข้อความที่ย่อเนื้อหาสาระของบทความทั้งหมด โดยไม่มีการตีความ หรือวิจารณ์เพิ่มเติม ส่วนเนื้อหา คือ ส่วนใจความสำคัญประกอบด้วย 1. บทนำ 2. เนื้อเรื่อง 3. บทสรุป ส่วนอ้างอิง คือส่วนที่แสดงรายการหนังสือเอกสาร และแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่ผู้เขียนบทความใช้เป็นหลักฐานประกอบการศึกษาค้นคว้า โดยลงไว้ส่วนท้ายสุดของบทความ ได้แก่ บรรณานุกรม / เอกสารอ้างอิง 18/01/62

18 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.1 บทความทางวิชาการ ตัวอย่างของบทความวิชาการ ส่วนนำ ส่วนที่เป็นบทคัดย่อ หรือสาระสังเขป ส่วนอ้างอิง ส่วนเนื้อหา ส่วนเนื้อหา 18/01/62

19 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.1 บทความทางวิชาการ บทความทางวิชาการที่ดี บทความทางวิชาการที่ดี มีลักษณะทางคุณภาพที่สำคัญ ประมวลได้ดังนี้ 1. มีประเด็นหรือแนวคิดที่ชัดเจน มีเนื้อหาสาระทางวิชาการที่ถูกต้อง สมบูรณ์ และทันสมัย 2. มีการวิเคราะห์ประเด็นตามหลักวิชาการ มีการสรุปประเด็น มีการสังเคราะห์ความรู้จากแหล่งต่าง ๆ และเสนอความรู้ หรือวิธีการที่เป็นประโยชน์ 3. สอดแทรกความคิดริเริ่ม หรือความรู้ใหม่ที่เป็น ประโยชน์ หรือแสดงทัศนะทางวิชาการของผู้เขียนอย่างชัดเจนและเที่ยงตรง 4. มีการค้นคว้าอ้างอิงจากแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ ทันสมัย ครอบคลุม และมีการอ้างอิงอย่างเป็นระบบ ถูกต้องตามแบบแผน 5. มีการนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่าย และเป็นระบบ ใช้ศัพท์และภาษาทางวิชาการอย่างเหมาะสมมีตาราง แผนภูมิ แผนภาพ ประกอบตามความจำเป็น เพื่อให้เข้าใจง่าย และชัดเจน 18/01/62

20 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ รายงาน หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่เรียบเรียงขึ้นจากสารสนเทศที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า   การทดลอง  การสังเกตการณ์  การสัมภาษณ์ และนำสารสนเทศดังกล่าวมาประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์ แล้วเรียบเรียงขึ้นเพื่อประกอบการศึกษาค้นคว้าสำหรับวิชาใดวิชาหนึ่ง ในกรณีที่รายงานนั้นมีระยะเวลาในการจัดทำ 1 ภาคการศึกษา จะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาคนิพนธ์ (Term paper) 18/01/62

21 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน การเขียนรายงานทางวิชาการนั้นไม่ว่าจะเป็นรายงานประเภทใด เน้นในเรื่องส่วนประกอบและการจัดรูปเล่มมาก ดังนั้นผู้ที่จะเขียนรายงาน จึงจำเป็นต้องทราบถึงรูปแบบ ส่วนประกอบต่างๆ ที่เป็นมาตรฐาน เพื่อจะได้ เขียนรายงานได้ถูกต้องตามแบบแผนอีกทั้งยังช่วยให้รายงานนั้นมีความสมบูรณ์ เพิ่มคุณค่ายิ่งขึ้น การเขียนรายงานทางวิชาการแต่ละประเภทมีส่วนประกอบ แตกต่างกันออกไป ซึ่งมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะเป็นผู้กำหนดรายละเอียด ย่อยเฉพาะขึ้นเอง ผู้เขียนรายงานต้องปฏิบัติตามที่กำหนด 18/01/62

22 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ส่วนประกอบของรายงานทางวิชาการทั้งรายงานการค้นคว้าทั่วไป และรายงานค้นคว้าวิจัยมีส่วนประกอบ แต่ละประเภทโดยทั่วไป ดังนี้ 1. ส่วนประกอบตอนต้น 2. ส่วนเนื้อเรื่อง 3. ส่วนประกอบตอนท้าย 18/01/62

23 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 1. ส่วนประกอบตอนต้น เป็นส่วนที่อยู่ต้นเล่มของรายงานก่อนถึงเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย หน้าปกนอก (Cover) คือ ส่วนที่เป็นปกหุ้มรายงานประกอบด้วย ปกหน้า สัน และปกหลัง ควรเป็นกระดาษแข็งพอสมควรสีสันเหมาะสมกับเนื้อหา หรืออาจใช้ปกของแต่ละสถาบันการศึกษาซึ่งได้จัดทำสำเร็จไว้แล้วก็ได้ อาจมีภาพ หรือไม่ก็ได้ถ้ามีภาพควรให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง การจัดวางรูปแบบควรจัดให้สวยงามเหมาะสม ปัจจุบันการพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ทาให้สามารถออกแบบปกให้สวยงาม ได้อย่างสะดวกง่ายดาย 18/01/62

24 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 1. ส่วนประกอบตอนต้น หน้าปกนอก (Cover) ข้อความที่ปรากฏบนปกนอก ประกอบด้วย 1.1.1 ชื่อเรื่องของรายงาน อยู่ห่างจากขอบบนของหน้ากระดาษลงมาประมาณ 1.5 นิ้ว และควรกะให้อยู่กึ่งกลางพอดี 1.1.2 ชื่อผู้สอน 1.1.3 ชื่อกลุ่มผู้เขียนรายงาน ให้อยู่ตรงส่วนกลางของหน้ากระดาษ 1.1.4 ส่วนล่างของหน้าปก ประกอบด้วยข้อความตามลำดับ ดังนี้ (1) ชื่อของรายวิชาที่กำหนดให้เขียนรายงาน (2) ชื่อของแผนกหรือสาขา ชื่อคณะที่นักศึกษาสังกัด (3) ชื่อของสถาบันการศึกษา (4) ภาคการศึกษา ปีการศึกษาที่ทำรายงาน บรรทัดล่างสุดของส่วนล่างปกควรห่างจากขอบล่าง 1.5 – 2 นิ้ว 18/01/62

25 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 1. ส่วนประกอบตอนต้น หน้าปกใน (Title Page) อยู่ต่อจากปกนอกและมีข้อความเช่นเดียวกับ ปกนอก ส่วนประกอบของปกใน ประกอบด้วย 1.2.1 ชื่อเรื่อง อยู่ห่างจากขอบบนของหน้ากระดาษลงมาประมาณ 1.5 นิ้ว และควร ให้อยู่กึ่งกลางพอดี 1.2.2 ชื่อผู้สอน 1.2.3 ชื่อผู้เขียนรายงาน/รายชื่อสมาชิก ควรใส่เลขประจำตัวหรือรหัสประจำตัวนักศึกษาด้วย ในกรณีที่มีผู้เขียนหลายคนให้เขียนชื่อทุกคนเรียงตามลำดับเลขประจำตัว และใส่รหัสประจำตัว ไว้ต่อจากชื่อในบรรทัดเดียวกัน ส่วนข้อความที่แจ้งว่าเป็นรายงานการค้นคว้าประกอบรายวิชาใด สถาบันศึกษาใด ภาคเรียนและปีการศึกษาใด จัดพิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหน้ากระดาษโดยให้บรรทัดสุดท้ายอยู่ห่างจาก ขอบล่างประมาณ 1 นิ้ว 18/01/62

26 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 1. ส่วนประกอบตอนต้น 1.3 หน้าคำนำ คือส่วนที่กล่าวถึงวัตถุประสงค์ ของรายงานเรื่องนั้น รวมทั้งความสำคัญและขอบเขตของเนื้อหา นอกจากนั้นยังอาจกล่าวขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือ ในการจัดทำ จนสำเร็จด้วยดี คำนำอาจมีเพียงย่อหน้าเดียว สอง หรือสามย่อหน้าก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเนื้อหา คำนำไม่ควรเขียนยาวเกินไป ให้พิมพ์คำว่า “คำนำ” ไว้กลางหน้ากระดาษไม่ขีดเส้นใต้ห่างจากขอบบน 1.5 นิ้ว แล้วพิมพ์ข้อความ ในบรรทัด ถัดลงมา เมื่อจบข้อความแล้วให้ลงชื่อ นามสกุลของผู้เขียน ถ้าทำงานเป็นกลุ่มให้ลงคำว่า “คณะผู้จัดทำ” และลงวันที่ เดือน (เขียนเต็มไม่เขียนย่อ) ปี (ไม่ต้องมี พ.ศ.) กำกับไว้ด้วย 18/01/62

27 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ตัวอย่างการเขียนคำนำ 18/01/62

28 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 1. ส่วนประกอบตอนต้น สารบัญ (Table of Contents) คือ ส่วนที่แสดงรายการชื่อเรื่อง ที่จะปรากฏอยู่ในเอกสาร ให้เขียนหรือพิมพ์คำว่า “สารบัญ” ด้วยตัวอักษร ตัวใหญ่ ไว้กลางหน้ากระดาษห่างจากขอบบนลงมา 1.5 นิ้ว มีลักษณะคล้ายโครงเรื่องอยู่หลัง คำนำ จัดทำเมื่อเขียนหรือพิมพ์รายงานเสร็จแล้ว เป็นหน้าที่บอก ชื่อตอน บท หัวข้อใหญ่ หรือหัวข้อย่อยเรียงตามลำดับเนื้อหาในเล่ม มีเลขหน้าเริ่มต้นกำกับอยู่ด้านขวามือ พิมพ์ห่างขอบประมาณ 1 นิ้ว ข้อความในหน้าสารบัญให้เขียนหรือพิมพ์ห่างจากขอบซ้าย ของหน้ากระดาษ 1.5 นิ้ว 18/01/62

29 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ตัวอย่างการเขียนสารบัญ 18/01/62

30 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 1. ส่วนประกอบตอนต้น สารบัญตารางหรือบัญชีตาราง (List of Tables) จัดทำเมื่องานเขียนนั้นมีตารางจำนวนมาก และตารางเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเนื้อหา (ถ้างานเขียนนั้นทั้งเล่ม มีตารางเพียงหนึ่งหรือสองตารางก็ไม่จำเป็นต้องทำหน้าสารบัญตาราง) เรียงไว้ต่อจากหน้าสารบัญเป็นหน้าที่แสดงให้ทราบถึงจำนวนตารางทั้งหมดในเนื้อเรื่องเรียงตามลำดับที่ปรากฏ ในรายงานซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านค้นหาได้สะดวก จัดหน้าลักษณะเดียวกับสารบัญโดยพิมพ์ไว้ กลางหน้ากระดาษห่างจากขอบบนลงมา 2 นิ้ว พิมพ์คำว่า “บัญชีตาราง” หรือ “สารบัญตาราง” และเปลี่ยนคำว่า “บทที่” เป็น “ตารางที่” 18/01/62

31 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ตัวอย่างการเขียนสารบัญตาราง 18/01/62

32 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 1. ส่วนประกอบตอนต้น สารบัญภาพประกอบหรือบัญชีภาพประกอบ (List of illustrations) อยู่ต่อจากหน้า บัญชีตาราง (ถ้ามี) เป็นหน้าที่บอกให้ทราบถึงจำนวนภาพประกอบ แผนผัง แผนที่ กราฟ แผนภาพทางสถิติต่างๆ หรือแผนภูมิ ทั้งหมดในเรื่องไปจนถึงภาคผนวก พิมพ์คำว่า “บัญชีภาพประกอบ” “สารบัญภาพ” “สารบัญแผนภูมิ” และเปลี่ยนคำว่า “บทที่” เป็น “ภาพที่” การกำกับหน้าในส่วนประกอบตอนต้นนั้นให้เริ่มนับตั้งแต่หน้าปกในเป็นต้นไป โดยใช้ตัวอักษรกำกับ งานเขียนภาษาไทยใช้ ก ข ค… และงานเขียนภาษาอังกฤษใช้เลขโรมัน I II III…เรียงไปตามลำดับ 18/01/62

33 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ตัวอย่างการเขียนสารบัญภาพประกอบ 18/01/62

34 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 2. ส่วนประกอบตอนกลางหรือส่วนเนื้อหา (Text) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดเพราะครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของรายงาน ตามโครงเรื่องที่กำหนดไว้ เรียบเรียงลำดับเนื้อหา ตามโครงเรื่องที่กำหนดไว้  อาจจัดทำเป็นบท   แต่ถ้ามีเนื้อหาไม่มาก  อาจเพียงแต่แบ่งตามหัวข้อสำคัญ ในเนื้อเรื่อง ถ้าเขียนโดยอ้างความคิด หรือข้อความของผู้อื่นจะต้อง อ้างอิงเอกสาร ซึ่งอาจจัดทำเป็น การอ้างอิงระบบชื่อ-ปี (Name-Year system) ดังรายละเอียดที่จะได้กล่าวต่อไป 18/01/62

35 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 2. ส่วนประกอบตอนกลางหรือส่วนเนื้อหา (Text) เป็นส่วนที่เป็นเนื้อหาโดยละเอียดซึ่งผู้ทำรายงานได้เรียบเรียงขึ้น จากการศึกษาค้นคว้า จึงถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของงานเขียนทางวิชาการ ทุกประเภท ประกอบด้วย 2.1 บทนำ (Introduction) 2.2 ส่วนเนื้อหา (Body of Paper) 2.3 บทสรุปหรือสรุป (Conclusion) 18/01/62

36 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 2. ส่วนประกอบตอนกลางหรือส่วนเนื้อหา (Text) 2.1 บทนำ (Introduction) เป็นสิ่งแรกที่จะทำให้ผู้อ่านได้สัมผัสกับความคิด และกลวิธีการเขียนของผู้เขียน มีส่วนอย่างสำคัญในการจุดประกายความสนใจของผู้อ่าน ให้อยากติดตามอ่านต่อไป ถ้าบทนำไม่น่าสนใจ สับสน หรือคลุมเครือผู้อ่านจะไม่รู้สึก อยากอ่านดังนั้นบทนำจึงต้องชัดแจ้ง น่าอ่าน และกระตุ้นความสนใจของผู้อ่านตั้งแต่ แรกเริ่มของบทนิพนธ์ 18/01/62

37 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 2. ส่วนประกอบตอนกลางหรือส่วนเนื้อหา (Text) 2.2 ส่วนเนื้อหา (Body of Paper) เป็นส่วนที่เสนอเรื่องราวสาระทั้งหมด ของรายงานการค้นคว้า การนำเสนอเนื้อหาอาจแบ่งเป็นบทหรือเป็นตอนเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นประเด็นสำคัญของเนื้อหาตามลำดับและต่อเนื่องกัน ส่วนการจะแบ่งเป็นบทหรือเป็นตอน หรือเป็นหัวข้ออย่างไรและมีจำนวนมากน้อยเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะ ขอบเขต และความสั้นยาวของเนื้อเรื่องถ้าเป็นรายงานการค้นคว้าขนาดสั้นไม่จำเป็นต้องแบ่งเป็นบทหรือตอน ก็ได้เพียงแต่แบ่งตามหัวข้อสำคัญๆ ของเนื้อเรื่องให้เหมาะสมแต่ถ้าเป็นภาคนิพนธ์ขนาดยาวควรแบ่งเป็นบทหรือตอนให้ชัดเจน 18/01/62

38 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 2. ส่วนประกอบตอนกลางหรือส่วนเนื้อหา (Text) 2.2.1 ตาราง (Table) คือ เนื้อเรื่องที่อยู่ในรูปของตาราง 18/01/62

39 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 2. ส่วนประกอบตอนกลางหรือส่วนเนื้อหา (Text) 2.2.2 ภาพประกอบ (illustrations) ใช้แสดงประกอบเนื้อเรื่องเพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจ ในเรื่องที่อ่านอย่างรวดเร็ว ทั้งยังช่วยให้รายงานน่าสนใจยิ่งขึ้น 18/01/62

40 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 2. ส่วนประกอบตอนกลางหรือส่วนเนื้อหา (Text) 2.3 บทสรุปหรือสรุป (Conclusion) คือส่วนที่เขียนย้ายหรือเน้นประเด็นสำคัญของเนื้อหาหรือสรุปผลของการศึกษาค้นคว้า เช่นเดียวกับที่บทนาเป็นความสำคัญ ขั้นแรกในการชักจูงให้ผู้อ่านสนใจติดตามเนื้อเรื่อง บทสรุปก็มีบทบาทสำคัญในการทำให้ผู้อ่านจับประเด็นของเนื้อเรื่องที่ได้อ่านไปทั้งหมด บทสรุปจะอยู่ตอนท้ายของเนื้อเรื่อง อาจแยก เป็นบทต่างหากหรือเป็นเพียงย่อหน้าท้ายๆ ของเรื่อง 18/01/62

41 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 3.ส่วนประกอบตอนท้าย (back matter หรือ reference matter) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย 3.1 หน้าบอกตอน (Half Title Page) 3.2 บรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง (Bibliography หรือ References) 3.3 ภาคผนวก (Appendix) 3.4 ดรรชนี หรือ ดัชนี (Index) 18/01/62

42 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 3.ส่วนประกอบตอนท้าย (back matter หรือ reference matter) 3.1 หน้าบอกตอน (Half Title Page) คือหน้าที่พิมพ์ข้อความไว้กลางหน้ากระดาษเพื่อบอกว่าส่วนที่อยู่ถัดไปคืออะไร ส่วนใหญ่แล้วหน้านี้จะปรากฏในส่วนประกอบตอนท้ายของรายงานการค้นคว้า เช่น หน้าบอกตอน “บรรณานุกรม” หน้าบอกตอน “ภาคผนวก” และหน้าบอกตอน “ดรรชนี” 18/01/62

43 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 3. ส่วนประกอบตอนท้าย 3.2 บรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง (Bibliography หรือ References) เป็นรายชื่อ ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดที่ใช้ประกอบการค้นคว้า รายการวัสดุอ้างอิงทุกชิ้น ที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาต้องมาปรากฏอยู่ในบรรณานุกรมด้วย แต่อาจมีบางรายการที่มีอยู่ในบรรณานุกรมแต่ไม่ปรากฏในการอ้างอิงเพราะผู้เขียนเพียงแต่ได้แนวคิดมาจากวัสดุนั้น แต่ถ้าใช้คำว่าเอกสารอ้างอิง รายการที่อยู่ในเนื้อหาและในรายการเอกสารอ้างอิงต้องมีตรงกัน ทุกรายการ การเขียนบรรณานุกรม หรือเอกสารอ้างอิงต้องเขียนให้ถูกต้องตามแบบแผน ในรายงานต้องมีบรรณานุกรมที่แสดงให้เห็นถึง ความพยายาม ความรู้ ความสามารถ ของนักศึกษาในการใช้สารสนเทศ การสืบค้นสารสนเทศ การเรียบเรียง และนำเสนอสารสนเทศ 18/01/62

44 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย ตัวอย่าง บรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง (Bibliography หรือ References) 18/01/62

45 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงาน ประกอบด้วย 3. ส่วนประกอบตอนท้าย 3.3 ภาคผนวก (Appendix) คือส่วนที่นำมาเพิ่มไว้ตอนท้ายของรายการ เพราะไม่ใช่เนื้อหาที่แท้จริงหรือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่อง แต่เห็นว่ามีประโยชน์ เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของเนื้อเรื่องหรือช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจเรื่องราวได้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้รายการการค้นคว้าไม่จำเป็นต้องมีภาคผนวกเสมอไปขึ้นอยู่กับความจำเป็น และความเหมาะสมของแต่ละเรื่อง 3.4 ดรรชนี หรือ ดัชนี (Index) คือบัญชีรายชื่อ หรือคำ หรือหัวข้อในเนื้อเรื่อง ที่นำมาจัดเรียง ไว้ตามลำดับอักษรพร้อมทั้งแจ้งเลขหน้าที่ปรากฏ ดรรชนีเป็นเครื่องมือ ช่วยให้ค้นเรื่องได้อย่างสะดวกรวดเร็ว 18/01/62

46 รายงานและส่วนประกอบของรายงาน
1 1.2 รายงานทางวิชาการ รูปแบบของรายงานตามมาตรฐาน ใช้กระดาษขนาดมาตรฐาน เอ 4 (A4) พิมพ์ข้อมูลเพียงหน้าเดียว เว้นที่ว่างจากริมขอบกระดาษ ดังนี้ - เว้นขอบบน และ ขอบด้านซ้าย  1.5  นิ้ว (3.81 cm.) - เว้นขอบล่างและขอบด้านขวา  1  นิ้ว (2.54 cm.) มีการลำดับเลขหน้า ตั้งแต่ส่วนเนื้อหาถึงบรรณานุกรม รูปแบบ font ..TH sarabun PSK ขนาดเนื้อหา font 16 point, หัวข้อ point 18/01/62

47 การเรียบเรียงรายงานฉบับร่าง
2 การเรียบเรียงรายงานฉบับร่างมีขั้นตอนดังนี้ การเรียบเรียงรายงานฉบับร่างมีขั้นตอนดังนี้ 2.1 จัดเรียงบัตรบันทึกให้เป็นหมวดหมู่ ประมวลความคิดเห็นกับข้อเท็จจริงให้เป็นรูปร่าง ตามลำดับหัวข้อในโครงเรื่อง ถ้าพบว่ามีสิ่งใดที่ควรแก้ไข ให้ปรับปรุงตามที่เห็นสมควร เมื่อมีโครงเรื่องจริงและบัตรบันทึกแล้ว จึงเริ่มเขียนฉบับร่าง การเขียนรายงานไม่ใช่เป็นเพียงการรวบรวม ข้อเท็จจริง และอัญประภาษเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการแสดงความคิดเห็นของผู้เขียน และสร้างผลงานขึ้นใหม่ด้วย ผู้เขียนจะต้องศึกษารูปแบบของรายงานให้เข้าใจและจำได้แม่นยำ ทั้งนี้เพื่อความถูกต้องและความสะดวกในการเรียบเรียง 18/01/62

48 การเรียบเรียงรายงานฉบับร่าง
2 การเรียบเรียงรายงานฉบับร่างมีขั้นตอนดังนี้ การเรียบเรียงรายงานฉบับร่างมีขั้นตอนดังนี้ ไม่ควรคัดอัญประภาษให้ยาวเกินควร การคัดลอกที่ยาว และมีมากเกินไปจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่า ผู้เขียนไม่ได้ทำอะไรนอกจากปะติดปะต่อข้อความ จากหนังสือและวัสดุสารสนเทศต่างๆ เข้าด้วยกัน ควรทำรายงานให้น่าสนใจ ชวนอ่าน ด้วยการแสดงความคิดเห็น อย่างจริงใจและใช้ประโยคสั้น กะทัดรัด การเขียนประโยคต้องให้ได้ความสมบูรณ์ตามหลักการใช้ภาษา 18/01/62

49 ข้อแนะนำในการใช้ภาษา
3 1. เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา ชัดเจน เป็นภาษาที่สังคมโดยมากรับรอง หรือนิยมกันว่าสุภาพ 3. เป็นภาษาทางการ ภาษาที่ใช้ในการเขียนคือ ภาษาทางการจะแตกต่างกับภาษาพูดหรือภาษาปาก เช่น กิน - รับประทาน ไปหาหมอ - ไปพบแพทย์ และ ไม่น้อยทีเดียว - อย่างมาก เป็นภาษามาตรฐาน กล่าวคือเป็นภาษาที่คนทั่วไป เป็นส่วนใหญ่ใช้และเข้าใจกัน ควรงดใช้คำหรือสำนวนที่ใช้เฉพาะในท้องถิ่น หรือในชนกลุ่มน้อย 5. การใช้ราชาศัพท์ และการใช้คำสำหรับนักบวช ตลอดจนผู้มียศบรรดาศักดิ์และบุคคลทั่วไป ควรให้ถูกต้องเหมาะสมตามระเบียบแบบแผน ที่นิยมกัน 6. ไม่ควรใช้คำหรือสำนวนเดียวกันในที่ใกล้กันบ่อยๆ ควรใช้คำหรือสำนวนอื่นซึ่งแทนกันได้ 18/01/62

50 ข้อแนะนำในการใช้ภาษา ข้อแนะนำในการใช้ภาษา
3 3 7. การเขียนชื่อเฉพาะจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย ควรใช้วิธีการถ่ายตัวอักษรหรือทับศัพท์ตามแบบของราชบัณฑิตยสถาน และเพื่อสื่อความหมายที่แน่ชัด ผู้เขียนอาจใช้ชื่อที่เขียนเป็นภาษานั้น กำกับไว้ในวงเล็บต่อจากชื่อภาษาไทย 8. ไม่ควรใช้อักษรย่อ เช่น ร.ร. ร.พ. ฯลฯ หรือคำย่อ เช่น กระทรวงศึกษาฯ แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้อักษรย่อหรือคำย่อให้ใช้ได้ เฉพาะที่รู้จักและนิยมกันแพร่หลายที่สุด หรือที่ทางราชการได้กำหนดหรือรับรองใช้แล้ว เช่นพ.ศ. ร.ต.อ. ม.ร.ว. ดร. เป็นต้น 9. ในกรณีที่จำเป็นจะต้องใช้ศัพท์เฉพาะวิชา ควรใช้ศัพท์ซึ่งเป็นที่รับรองใช้กันแล้วในวิชาแขนงนั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศัพท์ซึ่งคณะกรรมการ บัญญัติศัพท์ภาษาไทยของราชบัณฑิตยสถาน ได้บัญญัติไว้แล้ว 10. ไม่ควรใช้คำภาษาต่างประเทศในกรณีที่มีคำไทยใช้อยู่แล้ว เช่น ไม่ใช้คำว่า โปลิซี เพราะภาษาไทยมีคำว่า “นโยบาย” ใช้อยู่แล้ว 18/01/62

51 ข้อแนะนำในการใช้ภาษา ข้อแนะนำในการใช้ภาษา
3 3 11. ไม่ควรใช้ถ้อยคำหรือข้อความ ที่อาจมีความหมายได้หลายแง่ หรือมีความหมายกำกวม เช่น “ห้ามเดินลัดสนาม” อาจมีผู้แย้งว่า ห้ามเดิน แต่ไม่ได้ห้ามวิ่ง 12. ไม่ควรฉีกคำแยกออกจากกัน หากเนื้อที่ในบรรทัดไม่พอหรือหมดเนื้อที่ในหน้านั้น ควรจัดให้เต็มคำหรือครบกลุ่มคำในบรรทัดหนึ่งหรือหน้าใด หน้าหนึ่ง เช่น ไม่แยก “บัตรรายการ” หรือ “ประโยชน์” ออกจากกันเป็น “บัตร” หรือ “ประ” อยู่บรรทัดหนึ่งหรือหน้าหนึ่ง “รายการ” หรือ “โยชน์” อยู่บรรทัดต่อไปหรือหน้าต่อไป 13. คำหรือกลุ่มคำซึ่งโดยปกติใช้ประกอบเป็นคู่กัน และมีลักษณะสำนวนภาษา เช่น ฉันใด- ฉันนั้น ผู้ใด-ผู้นั้น จะต้องใช้ให้ครบ 14. การใช้ภาษาต่างประเทศกำกับไว้ในวงเล็บหลังคำไทย ควรมีในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น เช่น เป็นศัพท์เฉพาะวิชาที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย 18/01/62

52 ข้อแนะนำในการใช้ภาษา ข้อแนะนำในการใช้ภาษา
3 3 15. การเขียนตัวสะกดการันต์ ต้องเขียนให้ถูกต้อง ผู้เขียนควรใช้พจนานุกรมฉบับที่เชื่อถือได้มากที่สุด เป็นที่ปรึกษาในการใช้คำ นั่นคือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 16. คำที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อ นามสกุล ให้เขียนสะกดการันต์เหมือนของเดิม จะถือหลักอักขรวิธีในการเขียนคำทั่วไปมาใช้ไม่ได้ เช่น ในพจนานุกรมสะกดว่า พวงชมพู แต่ชื่อผู้แต่งสะกดเป็น พวงชมภู ก็ต้องเขียนในรายงานตามนั้น 17. เครื่องหมายวรรคตอน และการเว้นวรรคตอนที่ถูกต้องเหมาะสม ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจข้อความได้ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ ผู้เขียนต้องเลือกใช้ ให้ถูกที่ และใช้ตามความจำเป็น 18. เครื่องหมายอื่นๆ ที่ใช้ประกอบในการเขียนหนังสือ เช่น % ตามปกติถือกันว่า ไม่ควรใช้ในข้อความที่เป็นการอธิบายโดยทั่วไป ให้ใช้ในข้อความพิเศษเฉพาะแห่งเท่านั้น 18/01/62

53 ข้อแนะนำในการใช้ภาษา ข้อแนะนำในการใช้ภาษา
3 3 21. ใจความในย่อหน้าต่าง ๆ ในรายงานจะต้องมีการเรียงลำดับ ให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน การถอดความจากภาษาอื่น ผู้เขียนจะต้องไม่แปลแบบคำต่อคำ แต่ต้องถอดความเป็น ถ้อยคำสำนวนไทย โดยคงความหมายเดิมหรือใกล้เคียง ที่สุดกับของเดิม 23. ในรายงานฉบับเขียน จะต้องเขียนตัวหนังสือและเครื่องหมายให้ชัดเจน ขนาดไม่ใหญ่ไม่เล็กเกินไป และสม่ำเสมอกันตลอด อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ถ้ามีการขีดฆ่าหรือแก้จะต้องทำให้เรียบร้อย 18/01/62

54 18/01/62


ดาวน์โหลด ppt 7 บทที่ การเรียบเรียงเอกสาร และการนำเสนอเอกสาร GEL1103

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google