ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยOswald Blair ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ apipong.ping@gmail.com
บทที่ 4 : Cryptography & Steganography Part2 สธ412 ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ
2
Cryptography & Steganography
Public Key Cryptography มาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูล RSA Diffie-Hellman Digital Signature Algorithm (DSA) Digital Certificate
3
Public Key Cryptography
ปัญหาของการเข้ารหัสแบบซีเคร็ทคีย์คือการ แลกเปลี่ยนคีย์ ที่ใช้ในเชิงปฏิบัติได้ยาก จึงมีการพัฒนาเทคนิคการแจกจ่ายคีย์อย่าง ปลอดภัย โดยใช้คีย์ที่เข้ารหัสและ ถอดรหัสคนละคีย์ เรียกว่า (Public/Private Key Cryptography)
4
Public Key Cryptography [2]
Private Key เป็นคีย์ที่รู้เฉพาะเจ้าของ Public Key เป็นคีย์ที่ประกาศให้สาธารณะทราบ ใครจะนำไปใช้ก็ได้ คีย์หนึ่งใช้เข้ารหัส อีกคีย์หนึ่งใช้ถอดรหัส ทั้งสองคีย์จะมีความสัมพันธ์กันทางคณิตศาสตร์ ถูกอธิบายครั้งแรกในปี 1976 โดย มาร์ติน เฮลล์แมน (Martin Hellman)และวิทฟิลด์ ดิฟฟี (Whitfield Diffie) แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
5
Whitfield Diffie & Martin Hellman
6
Public Key Cryptography [3]
Public Key สร้างกุญแจคู่โดยอาศัย ทฤษฎี One-way Function ซึ่งเป็น ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่คำนวณค่า ได้ง่าย แต่คำนวณในทางตรงกัน ข้ามได้ยากมาก
7
One-way function 9 * 16 => 144 What X, Y ??? 144 * 1 => 144
72 * 2 => 144 48 * 3 => 144 36 * 4 => 144 24 * 6 => 144 18 * 8 => 144 16 * 9 => 144 12 * 12 => 144 X * Y => 144
8
Public Key Cryptography [4]
การรู้คีย์ใดคีย์หนึ่งเป็นการยากที่จะ คำนวณหาอีกคีย์หนึ่ง คีย์หนึ่งใช้สำหรับเข้ารหัสข้อมูล อีกคีย์หนึ่ง ใช้ถอดรหัสข้อมูล และสามารถใช้สลับกัน ได้ ไม่สามารถใช้คีย์ใดคีย์หนึ่งเพียงคีย์เดียวใน การเข้าและถอดรหัสได้ ทั้งสองคีย์ต้องใช้คู่กันเสมอในกระบวนการ เข้าและถอดรหัส เรียกการเข้ารหัสแบบนี้ว่า Asymmetric Key Cryptography (การเข้ารหัสแบบ กุญแจอสมมาตร)
9
ภาพประกอบการเข้าและถอดรหัสแบบพับลิกคีย์
10
มาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูล : RSA
เป็นการเข้ารหัสแบบ Public Key ที่ ได้รับความนิยม RSA มาจากชื่อของผู้คิดอัลกอริทึมนี้ คือ Revest, Shamir และ Adlemen ข้อมูลที่เข้ารหัสด้วย Public Key จะถูก ถอดรหัสได้โดยใช้ Private Key ที่เป็นคู่ กันเท่านั้น
11
มาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูล : RSA [2]
ขั้นตอนการเลือกพับลิกคีย์และไพรเวทคีย์ 1) เลือกจำนวนเฉพาะ p และ q ซึ่ง หากเลือกเลขจำนวนมากเท่าไรยิ่ง ถอดรหัสยากเท่านั้น แต่จะทำให้ กระบวนการเข้าและถอดรหัสช้าลง 2) คำนวณ n = pq และ z = (p-1)(q-1) 3) เลือกจำนวน e ซึ่งมีค่าน้อยกว่า n และ e ต้องไม่มีตัวหารร่วมกับ z 4) คำนวณหา d โดยเมื่อ d คูณกับ e แล้วหารด้วย z เหลือเศษ 1 (ed mod z = 1)
12
มาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูล : RSA [3]
5) พับลิกคีย์คือ จำนวน (n, e) ส่วน ไพรเวทคีย์คือ จำนวน (n, d) ขั้นตอนในการเข้ารหัสคือ สมมติเรา ต้องการส่งข้อมูล m โดย m<n สมมติ เขียนรหัสด้วยพับลิกคีย์ (n, e) สูตรใน การเข้ารหัสคือ c = me mod n โดย c คือ Ciphertext การถอดรหัสจะใช้ไพรเวทคีย์ (n, d) สูตรในการคำนวณคือ m = cd mod n โดย m คือ plaintext ที่ถอดได้
13
ตัวอย่างการเข้ารหัสแบบ RSA โดยเลือก p=5, q=7, n=35, z = 24, e = 5, d = 29
Plaintext m me Ciphertext (me mod n) l 12 248832 17 o 15 759375 v 22 e 5 3125 10
14
ตัวอย่างการถอดรหัสแบบ RSA โดยเลือก p=5, q=7, n=35, z = 24, e = 5, d = 29
Ciphertext cd m = cd mod n Plaintext 17 ค่าเยอะมาก 12 l 15 o 22 v 10 5 e
15
มาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูล : RSA [4]
โดยทั่วไป คีย์ที่ใช้บนอินเทอร์เน็ตจะมีขนาด อย่างน้อย 1,024 บิต ทำให้การเข้าและถอดรหัส ช้ามากเมื่อเทียบกับการเข้ารหัสแบบ Symmetric Key ในทางปฏิบัติมักใช้ RSA คู่กับ *DES โดยใช้ RSA สำหรับแจกจ่าย Secret Key ของ DES เพื่อเข้ารหัส Secret Key ที่ถูกเข้ารหัสด้วย Public Key จะ เรียกว่า Session Key *Data Encryption Standard (DES) เป็น อัลกอริทึมการเข้ารหัสแบบ Secret Key ที่ได้รับ ความนิยม Secret Key Cryptogrphy ที่ได้รับความนิยม มากกว่า DES ในปัจจุบันคือ Advanced Encryption Standard (AES)
16
Session Key Cryptography
Secret Key Session Key
17
มาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูล : Diffie-Hellman
เป็น Public Key Cryptography แบบแรกที่ ได้รับการตีพิมพ์ ใช้หลักการที่ว่า การคำนวณค่าเอ็กซ์ โพเนนต์ (ยกกำลัง) ง่ายกว่าการคำนวณล็อก การิทึม อัลกอริทึมนี้จะอนุญาตให้คนสองคนสามารถ สร้าง ซีเคร็ทคีย์เพื่อใช้ในการเข้ารหัส ข้อมูลที่รับส่งกันได้ ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากไม่มีความ ปลอดภัยมากเท่าที่ควร
18
การแลกเปลี่ยนคีย์โดยใช้อัลกอริทึม Diffie-Hellman
19
มาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูล : Diffie-Hellman [2]
ปัญหาของอัลกอริทึมดิฟฟีเฮลล์แมน คือ เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าทั้งสองคนได้พับลิก คีย์ของอีกคนหนึ่งจริงๆ โดยจุดเสี่ยงอยู่ที่ ขั้นตอนการแลกเปลี่ยนพับลิกคีย์ Eve อาจส่งพับลิกคีย์ของตนเองไปให้ทั้ง Alice และ Bob ซึ่งเป็นการโจมตีแบบ Man-in-the-Middle แก้ปัญหาโดยการใช้อัลกอริทึม RSA และ Digital Signature
20
มาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูล : Digital Signature Algorithm
เป็นอัลกอริทึมในการตรวจสอบว่าข้อความ นั้นไม่ได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงระหว่างการ รับส่ง รวมไปถึงเป็นการพิสูจน์ทราบตัวตน ของผู้ส่งข้อความ ผู้ที่ต้องเซ็นชื่อต้องมีทั้งพับลิกคีย์และไพรเวท คีย์ โดยไพรเวทคีย์ใช้สำหรับลงลายเซ็น ส่วนพับลิกคีย์ใช้สำหรับการตรวจสอบ
21
มาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูล : Digital Certificate
การรักษาความปลอดภัยไม่ได้ขึ้นอยู่กับอัลกอริทึม และคีย์ที่ใช้เข้ารหัสเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการสร้าง แจกจ่าย และจัดการคีย์ด้วย จุดอ่อนของซีเคร็ทคีย์คือจะแน่ใจได้อย่างไรว่า คีย์ที่ได้มาเป็นคีย์ที่แชร์กันจริง แก้ปัญหาโดยใช้ระบบสำหรับแจกจ่ายคีย์สำหรับ การเข้ารหัสแบบซีเคร็ทคีย์จะเรียกว่า Key Distribution Center (KDC) ซึ่งทำหน้าที่ แจกจ่ายคีย์อย่างปลอดภัย
22
มาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูล : Digital Certificate [2]
จุดอ่อนของการเข้ารหัสแบบพับลิกคีย์คือ จะแน่ใจได้อย่างไรว่าเราได้พับลิกคีย์ของคู่ สนทนาจริงๆ แก้ปัญหาโดยให้ความไว้วางใจกับระบบ จัดการคีย์ ระบบที่ใช้แจกจ่ายพับลิกคีย์จะ เรียกว่า Certificate Authority (CA) ซึ่งจะ รับรองว่า พับลิกคีย์นี้เป็นของใคร
23
การใช้ Digital Certificate
24
มาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูล : Digital Certificate [3]
ตรวจสอบความมีตัวตนของบุคคลหรือระบบนั้นๆ เมื่อตรวจสอบแล้วก็จะสร้างใบรับรองให้กับผู้ที่ร้อง ขอ ซึ่งใบรับรองจะประกอบไปด้วยพับลิกคีย์ของ บุคคลนั้นพร้อมทั้งหมายเลขเฉพาะที่ระบุบุคคลหรือ ระบบนั้นๆ แล้วข้อมูลดังกล่าวจะถูกเข้ารหัสแบบ Digital Signature เมื่อมีการสื่อสารกัน แทนที่จะแลกเปลี่ยนพับ ลิกคีย์โดยตรง ก็เปลี่ยนมาแลกเปลี่ยน ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แทน
25
ข่าวในวงการ Digital Certificate
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.