งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การรู้จักและเข้าใจตนเอง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การรู้จักและเข้าใจตนเอง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การรู้จักและเข้าใจตนเอง
บทที่ 3. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร

2 ซิกมันด์ ฟรอยด์ Sigmund Freud

3 ซิกมันด์ ฟรอยด์ จิตรู้สำนึก (Conscious mind) หมายถึง สภาวะจิตที่รู้ตัวอยู่ การแสดพฤติกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง จิตกึ่งสำนึก (Subconscious mind) หมายถึง สภาวะจิตที่ระลึกถึงได้ แต่มิได้แสดงออกเป็นพฤติกรรมในขณะนั้น เป็นส่วนที่รู้ตัวสามารถดึงออกมใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ จิตใต้สำนึก (Unconscious mind) หมายถึง สภาวะจิตที่ไม่อยู่ในภาวะที่รู้ตัวระลึกถึงไม่ได้ เป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจ แต่มีอิทธิพลจูงใจพฤติกรรม และการดำเนินชีวิตของคนเรามากที่สุด

4 The Preconscious Level The Unconscious Level
The Conscious Level การรับรู้ การคิด The Preconscious Level ความจำ ความรู้ที่เก็บ สะสมไว้ ความต้องการ ที่ผิดศีลธรรม ความกลัว The Unconscious Level ความเห็นแก่ตัว ประสบการณ์ ที่น่าอับอาย ความปรารถนา ที่ไม่มีเหตุผล ความปรารถนา ทางเพศที่ไม่ได้ รับการยอมรับ แรงจูงใจ ก้าวร้าวรุนแรง

5 ID Ego Superego

6 โครงสร้างของบุคลิกภาพ
ID สิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดแรงขับตามสัญชาตญาณ ฟรอยด์เน้นแรงขับทางเพศและแรงขับก้าวร้าว Ego ติดต่อกับโลกภายนอก โดยตรง โดยการรับรู้อย่างมีสติ เพื่อหาวิธีสนองความต้องการอย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่เอาแต่ใจหรือเข้าข้างตนเอง รู้จักใช้เหตุผล Superego เป็นตัวแทนของคุณค่าและศีลธรรมของสังคม

7 พลังในตัวตน โรเจอร์ส เชื่อว่า มนุษย์มีธรรมชาติที่ดีมีแรงจูงใจในด้านบวก เป็นผู้ที่มีเหตุผล (Rational) เป็นผู้ที่สามารถได้รับการขัดเกลา (Socialized) สามารถตัดสินใจเลือกวิถีชีวิตของตนเองได้ ถ้ามีอิสระเพียงพอ และมีบรรยากาศที่เอื้ออำนวย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ (Full Potential) และพัฒนาไปสู่ทิศทางที่เหมาะสมกับ ความสามารถของแต่ละบุคคล อันจะนำไปสู่การตระหนักรู้ในตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization)

8 โรเจอร์ ( Roger's Self Theory )
โรเจอร์ เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีตัวตน 3 แบบ 1.ตนที่ตนมองเห็น (Self Concept) ภาพที่ตนเห็นเอง ว่าตนเป็นอย่างไร มีความรู้ความสามารถ ลักษณะเพราะตนอย่างไร เช่น สวย รวย เก่ง ต่ำต้อย ขี้อาย การมองเห็นอาจจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงหรือภาพที่คนอื่นเห็น 2.ตนตามที่เป็นจริง (Real Self) ตัวตนตามข้อเท็จจริง แต่บ่อยครั้งที่ตนมองไม่เห็นข้อเท็จจริง เพราะอาจเป็นสิ่งที่ทำ ให้รู้สึกเสียใจ ไม่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น เป็นต้น 3. ตนตามอุดมคติ (Ideal Self) ตัวตนที่อยากมีอยากเป็น แต่ยังไม่มีไม่เป็นในสภาวะปัจจุบัน เช่น ชอบเก็บตัว แต่อยากเก่งเข้าสังคม เป็นต้น

9 ตนตามอุดมคติ ตนที่ตนมองเห็น ตนตามที่เป็นจริง

10 ความเข้าใจตนเอง ความเข้าใจตนเอง หรือ อัตมโนทัศน์ (Self Concept) หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดที่บุคคลมีต่อตนเอง ความเข้าใจตนเองเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมหรือกล่าวได้ว่าความเข้าใจตนเองเป็นแกนกลางของบุคลิกภาพเป็นสิ่งที่กำหนดคุณภาพของพฤติกรรมที่เราแสดงออกกับคนอื่นและกับสิ่งแวดล้อมด้วยเหตุนี้คนที่มีความเข้าใจตนเองต่างกันก็ย่อมจะแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกัน

11 ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี่ (The Johari-Window theory)
: ผู้คิดทฤษฎีนี้ คือ โจเซฟ ลัฟท์ และแฮรี่ อิงแฮม ซึ่งได้คิดค้นแนวทางการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อใช้เป็นแบบแผนแสดงพฤติกรรมของบุคคลเมื่ออยู่ร่วมกันในสังคมและเพื่อให้เข้าใจสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลในลักษณะที่รู้ตัว

12 ตนเองรู้ ตนเองไม่รู้ ผู้อื่นรู้ บริเวณเปิดเผย บริเวณจุดบอด ผู้อื่น ไม่รู้ บริเวณซ่อนเร้น บริเวณลึกลับ

13 โจเซฟ ลัฟท์และแฮรี่ อินแกม
โจเซฟ ลัฟท์และแฮรี่ อินแกม สรุปว่าบุคคล ทุกคนมีพฤติกรรม 4 แบบอยู่ตามบริเวณหน้าต่าง 4 บาน (หน้าต่างหัวใจ)

14 โจเซฟ ลัฟท์และแฮรี่ อินแกม
1. บริเวณเปิดเผย (Open Area) หมายถึง บริเวณพฤติกรรมภายนอกที่แสดงออกอย่างเปิดเผยเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกแล้วรู้ว่าตนเอง แสดงพฤติกรรมอะไรหากบุคคลสนิทสนมกันมากบริเวณเปิดเผยจะกว้างขึ้นบุคคลจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อกันและมีการเปิดเผยและจริงใจต่อกันมากขึ้น

15 โจเซฟ ลัฟท์และแฮรี่ อินแกม
2. บริเวณจุดบอด (Blind Area) หมายถึงบริเวณที่ตนเองแสดงออกโดยไม่รู้ตัวไม่มีจุดมุ่งหมายและไม่มีเจตนาที่จะแสดงออกไป แต่บุคคลอื่นสามารถสังเกตเห็นได้ ทำให้เสียบุคลิกภาพคนอื่นเบื่อหน่ายและไม่พอใจได้

16 โจเซฟ ลัฟท์และแฮรี่ อินแกม
3. บริเวณซ่อนเร้นหรือบริเวณความลับ (Hidden Area) หมายถึงบริเวณที่มีพฤติกรรมลึกลับ เป็นพฤติกรรมหรือความคิดบางอย่างที่บุคคลเก็บซ่อนไว้ในใจไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ ตนเองเท่านั้นที่รู้ เช่น ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อผู้อื่น ไม่พอใจ อิจฉา

17 โจเซฟ ลัฟท์และแฮรี่ อินแกม
* พฤติกรรมส่วนนี้มักเป็นพฤติกรรม ภายใน ได้แก่ ความจำ การรับรู้ความเชื่อ ความคิด ความรู้สึก * บุคคลจะไม่แสดงพฤติกรรมดังกล่าว แต่จะแสดงพฤติกรรมอย่างอื่นกลบเกลื่อน

18 โจเซฟ ลัฟท์และแฮรี่ อินแกม
4. บริเวณมืดมนหรือบริเวณอวิชา (Unknown Area) หมายถึง บริเวณที่เป็นพฤติกรรมหรือความรู้สึกบางอย่างที่บุคคลแสดงออกโดยไม่รู้ตัว ตนเองไม่เคยรู้และคนอื่นก็ไม่เคยรู้มาก่อนเช่นกัน บุคคลบางคนมีกิริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย สุขุม เยือกเย็น แต่เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมาเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้

19 การสร้างความเข้าใจตนเอง
ตนหรือตัวตน (self)เป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่วิวัฒนาการตนเองมาหลายขั้นตอน ตามแต่พันธุกรรมและสภาพแวดล้อม ตัวตนนี้ได้มีผู้ที่ทำการศึกษาและให้ความหมายไว้หลายประการ ซึ่งจะกล่าวพอได้ใจความดังนี้ เค ยัง (K.Young.1940) กล่าวว่า ตนคือ จิตสำนึก(consciousness) การที่ เค ยัง เน้นเรื่องจิตสำนึกนั้นหมายความว่า ตราบใดที่บุคคลยังสำนึกรู้ตัวตนอยู่ ตราบนั้นตัวตนก็ยังจะอยู่ ตัวตนนั้นไม่ใช่มีโครงสร้างหรือองค์ประกอบเดียว จะมีหลายองค์ประกอบซึ่งจะทำหน้าที่สัมพันธ์กัน ทำให้ตัวตนดำรงอยู่ได้ ตัวตนจะมีการพัฒนาตามสภาพครอบครัว สังคม และองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม

20 การสร้างความเข้าใจตนเอง
วิลเลียม เจมส์ (James) กล่าวว่า ตัวตนคือ ผลรวมของส่วนย่อยต่าง ๆ ทุกส่วนที่ประกอบกันขึ้นในตัวบุคคล หมายถึง คุณลักษณะหรือบุคลิกภาพทางด้านรูปร่างหน้าตา กิริยาท่าทาง นิสัยใจคอ สติปัญญา และความสามารถที่มีอยู่ในตัวบุคคลนั้น ทางพุทธศาสนา กล่าวถึงตัวตนว่า ตัวตนก็คือการประกอบเข้าด้วยกันของกลุ่ม (ขันธ์) 5 กลุ่ม (กอง) ที่เมื่อประกอบกันเข้าแล้วกลายเป็นสิ่งมีชีวิต เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขา

21 การสร้างความเข้าใจตนเอง
กลุ่มที่เป็นรูป เป็นร่างกาย เป็นส่วนที่ทำให้เกิดพฤติกรรม เกิดคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เป็นบุคคลนั้น ได้แต่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีทั้งที่เป็นอวัยวะภายนอกที่มองเห็นได้ และอวัยวะภายในที่ไม่สามารถมองเห็นได้ กลุ่มความรู้สึก (เวทนา) คือกลุ่มที่ทำให้คนเราเกิดความรู้สึก เมื่ออวัยวะสัมผัสคือ ตา หู จมูก กาย และใจ กระทบกับสิ่งเร้าภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส อารมณ์ต่าง ๆ แล้ว ทำให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึก เป็นทุกข์ เป็นสุข หรือเฉย ๆ ต่อสิ่งเร้าที่เข้ามากระทบนั้น

22 การสร้างความเข้าใจตนเอง
กลุ่มจดจำ (สัญญา) คือกลุ่มที่เป็นสัญญา ทำให้บุคคลนั้นจำได้ หมายรู้ รับรู้ สิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาทางทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เช่น จำได้ว่าเป็นสีแดง เขียว ขาว สูง ต่ำ ดำ ขาว อ้วน เตี้ย ผอม สูง สิ่งนั้นคืออะไร มีรูปทรงสัณฐานเป็นอย่างไร สามารถบอกได้อย่างถูกต้องชัดเจน

23 การสร้างความเข้าใจตนเอง
4. กลุ่มปรุงแต่ง (สังขาร) เป็นกลุ่มที่คอยปรุงแต่ง หรือปรับปรุงจิตให้จิตคิดสิ่งที่พบเห็น หรือสิ่งที่รับรู้ว่าสิ่งนั้น ๆ ดีหรือไม่ดี มีลักษณะเป็นอย่างไร โดยมีเจตนาเป็นตัวนำทางที่คอยบ่งชี้ว่า สิ่งที่คิดนั้นดี (กุศล) ไม่ดี (อกุศล) คือมีเจตนาดี หรือเจตนาร้าย หรือเจตนาที่เป็นกลาง ๆ ต่อ สิ่งที่พบเห็นแล้วคิดในสิ่งนั้น ๆ 5. กลุ่มความรู้ความเข้าใจ (วิญญาณ) คือกลุ่มที่ทำความรู้แจ้ง เข้าใจ ได้พบเห็นได้สัมผัสทาง ตา หู จมูก เป็นต้นว่า สิ่งนั้นคืออะไร มีรูปร่าง มีลักษณะอย่างไร สามารถเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ดังนั้น ส่วนนี้ก็คือส่วนที่เป็นจิต เป็นความคิดของคนเรานั่นเอง

24 ความสำคัญของการรู้จักตนเอง
โสคราติส ( B.C.) เป็นบุคคลแรกที่มองเห็นคุณค่าและความสำคัญของการรู้จักตนเอง โดยได้กล่าวว่า จงรู้จักตนเอง (Know yourself)และว่าชีวิตที่ไม่รู้จักตนเองเป็นชีวิตที่ไม่มีค่า (An unexamined life is not worth living) ชีวิตของบุคคลนั้นจะเป็นชีวิตที่มีคุณค่าหรือไม่นั้น อยู่ที่การที่บุคคลนั้นรู้จักหรือสำรวจตนเอง หรือตระหนักรู้ว่า ชีวิตคืออะไร กำลังทำอะไรอยู่และมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร เพลโต ( B.C.) ตัวตนของแต่ละคนนั้น มีส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นความอยาก ความต้องการ ส่วนที่เป็นอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ และส่วนที่เป็นเหตุผล สติปัญญา

25 ความสำคัญของการรู้จักตนเอง
มอญเตญ ( ) ชาวฝรั่งเศสได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ The Essays ได้เน้นตัวตนในที่รูปแบบการดำเนินชีวิตว่า จะต้องมี 4 ขั้นตอนคือ ศึกษาและทำความเข้าใจตนเองทุก ๆ ด้าน ยอมรับตนเอง หลังจากที่ได้รู้จักตนเองในทุกส่วน ควรที่จะยอมรับตนเองทั้งในส่วนดีและส่วนไม่ดี เพื่อที่จะได้ปรับปรุงตนเองต่อไป

26 ความสำคัญของการรู้จักตนเอง
จงยอมรับและเข้าใจผู้อื่นที่เกิดจากการศึกษาตนเอง เพราะผลที่ได้จากการที่เราเข้าใจตนเองจะช่วยให้เรายอมรับและเข้าใจผู้อื่นได้ดี จงใช้ชีวิตให้มีความสุข โดยให้สอดคล้องกับธรรมชาติของตนเอง

27 สรุป การรู้จักตนเองเป็นทางที่ทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข หากวันนี้เรายังรู้สึกว่าเรายังไม่รู้จักตนเองดีพอให้เราหาโอกาสที่จะได้คิด ทบทวนถึงความรู้สึกและความต้องการ หรือหาอะไรสักอย่างที่ตนเองสนใจแล้วลองทำดูว่าเราทำได้ดีมากน้อยแค่ไหน ทำแล้วมีความสุขหรือไม่ เช่น วาดรูป ทำอาหาร เย็บปักถักร้อย เล่นกีฬา อ่านหนังสือ ทำงานการกุศล และเมื่อใดก็ตามที่เรารู้จักตนเองดีพอแล้ว เราจะได้รู้ว่าชีวิตของเรามีค่าทั้งต่อตัวเองและผู้อื่นมากเพียงใด แล้วชีวิตของเราจะไม่ได้เสียเปล่าไปวัน ๆ อีกต่อไป

28 Thank you


ดาวน์โหลด ppt การรู้จักและเข้าใจตนเอง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google