ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
GATT & WTO
2
สาเหตุของการกีดกันทางการค้า
1. ความแตกต่างของปัจจัยการผลิตและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันของแต่ละประเทศส่งผลให้ราคาสินค้าของแต่ละประเทศแตกต่างกัน 2. การเลือกปฏิบัติที่เป็นลักษณะของข้อจำกัดทางการค้าของแต่ละประเทศที่เกิดจาก นโยบายการค้าและการเงินของแต่ละประเทศแตกต่างกัน - อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่แตกต่างกัน - การเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ (Tariff) และมาตรการที่ไม่ใช้ภาษี (Non-Tariff) 3. ระบบการเงินการธนาคารที่แตกต่างกัน (ผลต่อการชำระเงินระหว่างประเทศ) 4. พิธีการศุลกากรที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ 5. นโยบายของผู้นำทางการเมืองของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน
3
ผลของการกีดกันทางการค้า
การสร้างอุปสรรคทางการค้าจะส่งผลกระทบ - การไม่มีประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร - ผู้บริโภคถูกจำกัดในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการ - สินค้าที่ผลิตได้ภายในประเทศมีคุณภาพต่ำ - ผลต่อการกระจายรายได้ของแต่ละประเทศ
4
ระดับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในลักษณะเสรี
1. เขตการค้าเสรี (Free Trade Area) เป็นรูปแบบการรวมกลุ่มที่ประเทศสมาชิกในกลุ่มลดหรือยกเลิกอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน แต่ประเทศสมาชิกยังคงมีอิสระในการตัดสินใจทางการค้ากับประเทศนอกสมาชิกได้อย่างเสรี 2. สหภาพศุลกากร (Custom Union) เป็นรูปแบบการรวมกลุ่มที่คล้ายคลึงกับเขตการค้าเสรี ยกเว้นประเทศสมาชิกในกลุ่มมีข้อตกลงทางการค้ากับประเทศนอกสมาชิกรวมกัน 3. ตลาดร่วม (Common Market) การรวมกลุ่มในรูปแบบสหภาพศุลกากร แต่อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตผ่านพรมแดนของประเทศสมาชิกได้ เช่น ปัจจัยทุน แรงงาน เทคโนโลยี
5
ระดับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในลักษณะเสรี (ต่อ)
4. สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) นอกจากจะมีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตผ่านพรมแดนของประเทศสมาชิกแล้ว โดยแต่ละประเทศสมาชิกมีนโยบายทางการเงินและการคลังรวมกัน นอกจากนี้ยังอาจมีการจัดตั้งหน่วยงานกลางขึ้นมาดูแลหรือควบคุมนโยบายที่ได้จัดตั้งรวมกัน เปรียบเสมือนเป็นประเทศเดียวกัน 5. สหภาพเหนือชาติ (Political Union) ประเทศสมาชิกนอกจากจะมีนโยบายทางเศรษฐกิจรวมกันแล้ว แต่ละประเทศสมาชิกมีวัตถุประสงค์รวมกันเป็นชาติเดียว
6
(World Trade Organization)
การรวมกลุ่มระหว่างประเทศระดับพหุภาคี องค์การการค้าโลก WTO (World Trade Organization)
7
สภาพหลัง WW II
8
สภาพหลัง WW II
9
ประวัติความเป็นมาขององค์การการค้าโลก (WTO)
ในปี ค.ศ ฝ่ายพันธมิตรที่คาดว่าจะชนะสงคราม ใน WW II ได้ร่วมกัน “จัดทำข้อเสนอสำหรับ สหภาพพาณิชย์ระหว่างประเทศ” (A proposal for an International Commercial Union) โดยมี เจมส์ มีค เป็นผู้จัดทำ ในปี ค.ศ ได้มีการจัดทำ “ข้อเสนอเพื่อการขยายการค้าโลกและการจ้างงาน” (A proposal for World Trade Expansion and Employment) และมีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ (UN) ในปี ค.ศ ได้มีการจัดประชุมเพื่อจัดตั้งองค์การการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Organization: ITO) ที่กรุงเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ (1) ข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์การการค้าระหว่างประเทศ (2) ข้อตกลงพหุภาคีเพื่อการลดภาษีศุลกากร และ (3) ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากร
10
ประวัติความเป็นมาขององค์การการค้าโลก
ในปี ค.ศ ได้มีการประชุม “สหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการจ้างงาน” UN Conference Trade and Employment) ที่นครฮาวานา ประเทศคิวบา และได้มีการร่างความตกลงองค์การการค้าระหว่างประเทศ ขึ้น โดยรวมอยู่ในกฎบัตรฮาวานา (Havana Charter) รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นได้มีการใช้บทบัญญัติ “ข้อตกลงการตอบสนองทางการค้าของสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ (US Reciprocal Trade Agreement Act of 1934)” ซึ่งไม่ได้ให้อำนาจในการจัดตั้งองค์การการค้าระหว่างประเทศ สหรัฐจึงได้ลงนาม ครอบคลุมเฉพาะในประเด็นของข้อตกลงพหุภาคีเพื่อการลดภาษีศุลกากรและข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากร และประเทศต่างๆ ได้มีความเห็นชอบด้วย เป็นผลให้ระเบียบการค้าโลกดำเนินไปภายใต้ข้อตกลง “ ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade: GATT) ”
11
ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (แกตต์)
หน้าที่หลักของแกตต์ 1. การเป็นกฎระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศ 2. การเป็นเวทีการค้าโลก และ 3. การเป็นเวทียุติข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศคู่กรณี ที่ผ่านมาในช่วงปี ค.ศ – 1993 ได้จัดให้มีการเจรจาการค้าพหุภาคีเพื่อลดข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าทั้งสิ้น 8 รอบ โดยรอบที่ 8 จัดประชุมที่อุรุกกวัย แต่การเจรจาในรอบอุรุกกวัยนั้นใช้ระยะเวลาในการเจรจายาวนาน ทำให้ประเทศสมาชิกต่างๆ หันมาเจรจาในรูปแบบของทวิภาคี แทน
12
หลักการสำคัญขององค์การการค้าโลก
1. กำหนดให้ใช้มาตรการการค้าระหว่างประเทศโดยไม่เลือกปฏิบัติ 1.1 Most-Favored Nation Treatment : MFN 1.2 National Treatment 2. การกำหนดและบังคับใช้มาตรการทางการค้าจะต้องมีความโปร่งใส่ 3. คุ้มครองผู้ผลิตภายในประเทศด้วยภาษีศุลกากรเท่านั้น 4. ร่วมกันทำให้การค้าระหว่างประเทศมีเสถียรภาพและความมั่นคง 5. ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม 6. มีสิทธิใช้ข้อยกเว้นในกรณีฉุกเฉินและจำเป็น
13
หลักการสำคัญขององค์การการค้าโลก (ต่อ)
7. ให้มีการรวมกลุ่มทางการค้าเพื่อลดภาษีระหว่างกันได้ หากมีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายการค้า 8. มีกระบวนการยุติข้อพิพาททางการค้าให้คู่กรณี 9. ให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณี
14
ความแตกต่างระหว่าง GATT และ WTO
1. แกตต์ เป็นเพียงความตกลงทางการค้าพหุภาคี (multilateral) ขณะที่ องค์การการค้าโลก มีสถานะเป็นนิติบุคคล 2. แกตต์ มีหน้าที่ควบคุมเฉพาะการค้าสินค้าเท่านั้น ขณะที่ องค์การการค้าโลก มีหน้าที่ดูแลกว้างกว่า คือยังครอบคลุมถึงการค้าบริการ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและมาตรการการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้าด้วย 3. แกตต์ มีการครอบคลุ่มความตกลงหลายฝ่ายฉบับต่างๆ แต่ไม่ได้บังคับให้ประเทศภาคีแกตต์ต้องเป็นสมาชิกทุกฉบับ ขณะที่ องค์การการค้าโลกจะครอบคลุมความตกลงอื่นๆ โดยทุกประเทศมีพันธกรณีต้องเป็นสมาชิกและปฏิบัติตามทุกความตกลง
15
ความแตกต่างระหว่าง GATT และ WTO
4. ระบบขององค์การการค้าโลกจะสามารถยุติข้อพิพาทได้เร็วกว่า ระบบของแกตต์ เนื่องจากได้มีการแก้ไขปรับปรุงระเบียบของแกตต์เดิม 5. องค์การการค้าโลกยกเลิกนโยบายปกป้องในเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ความตกลงจำกัดการส่งออกสิ่งทอ การปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตร และการยกเลิกการจำกัดการส่งออกโดยความสมัครใจ 6. องค์การการค้าโลกมีสมาชิกครอบคลุมทั่วโลกมากกว่า แกตต์
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.