ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ชั่วโมงที่ 6–7 พันธะไอออนิก และพันธะโคเวเลนต์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 ชั่วโมงที่ 6–7 พันธะไอออนิกและพันธะโคเวเลนต์
2
ยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสาร
พันธะไอออนิก พันธะโคเวเลนต์ พันธะโลหะ สถานะกับแรง ยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสาร พันธะเคมี ตอนที่ 3 พันธะเคมี แบ่งเป็น 4 เรื่อง (ครูคลิกเพื่อแสดงทีละเรื่อง) ดังนี้ 1. พันธะไอออนิก (แผนที่ 4) 2. พันธะโคเวเลนต์ (แผนที่ 4) 3. พันธะโลหะ (แผนที่ 5) 4. สถานะกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสาร (แผนที่ 5) แบ่งเป็น 2 แผนการจัดการเรียนรู้ 3 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 พันธะไอออนิกและพันธะโคเวเลนต์ 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 พันธะโลหะและสถานะของสาร 1 ชั่วโมง
3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 โครงสร้างของสาร
แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 โครงสร้างของสาร ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด (การทำแบบทดสอบใน PowerPoint อาจใช้เวลามาก ครูควร print ให้นักเรียนทำแล้วจึงใช้ PowerPoint ตรวจคำตอบ)
4
เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. สารโคเวเลนต์เกิดจากการรวมตัวของธาตุในลักษณะใด ก โลหะรวมตัวกับโลหะ ข โลหะรวมตัวกับอโลหะ ค อโลหะรวมตัวกับอโลหะ ง โลหะรวมตัวกับกึ่งโลหะ 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 1 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 1 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อโลหะรวมตัวกับโลหะจะเกิดเป็นพันธะโลหะ ข ไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อโลหะรวมตัวกับอโลหะจะเกิดเป็นพันธะไอออนิก ค ถูกต้อง เพราะเมื่ออโลหะรวมตัวกับอโลหะจะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ ง ไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อโลหะรวมตัวกับกึ่งโลหะอาจจะเกิดเป็นพันธะโลหะหรือพันธะไอออนิก ก็ได้ คำอธิบาย: ค ถูกต้อง เพราะเมื่ออโลหะรวมตัวกับอโลหะจะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์
5
2. ของแข็งที่สามารถนำไฟฟ้าได้ต้องเกิดจากพันธะใด เพราะอะไร ก พันธะไอออนิก เพราะอะตอมเกิดเป็นประจุบวกและลบ ข พันธะไอออนิก เพราะเกิดจากพันธะระหว่างโลหะและอโลหะ ค พันธะโลหะ เพราะเวเลนซ์อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ง พันธะโลหะ เพราะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมแข็งแรงมาก 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 2 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 2 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะแม้ว่าในการสร้างพันธะจะมีการให้และรับอิเล็กตรอนกัน แต่สารประกอบ ที่เกิดจากพันธะไอออนิกในสถานะของแข็งไม่สามารถนำไฟฟ้าได้ ข ไม่ถูกต้อง เพราะแม้ว่าพันธะไอออนิกจะมีส่วนของธาตุที่เป็นโลหะ แต่สารประกอบที่เกิดจาก พันธะไอออนิกในสถานะของแข็งไม่สามารถนำไฟฟ้าได้ ค ถูกต้อง เพราะหลังจากธาตุโลหะสร้างพันธะกันเป็นพันธะโลหะจะมีอิเล็กตรอนอิสระเคลื่อนที่ ไปได้ทั้งก้อนของโลหะ ทำให้ของแข็งที่เกิดขึ้นนำไฟฟ้าได้ดี ง ไม่ถูกต้อง เพราะความสามารถในการนำไฟฟ้าไม่ขึ้นอยู่กับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม คำอธิบาย: ค ถูกต้อง เพราะหลังจากธาตุโลหะสร้างพันธะกันเป็นพันธะโลหะจะมีอิเล็กตรอนอิสระเคลื่อนที่ไปได้ทั้งก้อนของโลหะ ทำให้ของแข็งที่เกิดขึ้นนำไฟฟ้าได้ดี
6
3. Q (ไม่นำไฟฟ้า) + ความร้อนสูง หลอมเหลว นำไฟฟ้าได้ จากข้อมูล Q คือสารใด ก โลหะ ข แก๊สเฉื่อย ค สารโคเวเลนต์ ง สารประกอบไอออนิก 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 3 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 3 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะโลหะสามารถนำไฟฟ้าได้เมื่ออยู่ในสถานะของแข็ง ข ไม่ถูกต้อง เพราะแก๊สเฉื่อยไม่นำไฟฟ้า ค ไม่ถูกต้อง เพราะสารโคเวเลนต์ไม่นำไฟฟ้าทุกสถานะ ง ถูกต้อง เพราะสารประกอบไอออนิกไม่นำไฟฟ้าในสถานะของแข็ง แต่เมื่อนำมาหลอมเหลว จะสามารถนำไฟฟ้าได้ เนื่องจากไอออนบวกและไอออนลบสามารถเคลื่อนที่ได้ คำอธิบาย: ง ถูกต้อง เพราะสารประกอบไอออนิกไม่นำไฟฟ้าในสถานะของแข็ง แต่เมื่อนำมาหลอมเหลว จะสามารถนำไฟฟ้าได้ เนื่องจากไอออนบวกและไอออนลบสามารถเคลื่อนที่ได้
7
4. ถ้านักเรียนต้องการใช้วัสดุที่นำมายืดเป็นแผ่นได้ ทนความร้อนสูง และสะท้อนแสงได้ดี นักเรียนจะเลือกวัสดุใด ก เพชร ข ทองแดง ค เกลือแกง ง น้ำตาลทราย 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 4 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 4 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะแม้ว่าโมเลกุลของเพชรจะเกิดจากพันธะโคเวเลนต์ที่มีการสร้างพันธะ เป็นแบบโครงผลึกร่างตาข่าย ซึ่งทนความร้อนสูง แต่เพชรจะสะท้อนแสงได้ดีเมื่อนำมา เจียระไนแล้วเท่านั้น และยังไม่สามารถนำมายืดเป็นแผ่นได้ ข ถูกต้อง เพราะทองแดงเป็นโลหะที่เกิดจากพันธะโลหะซึ่งมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ ไปทั่วทั้งก้อนอย่างอิสระ เมื่อนำมายืดเป็นแผ่นจึงยังคงมีแรงยึดเหนี่ยวเกิดขึ้นทั่วทั้งก้อนโลหะ ทำให้ไม่แตกหัก นอกจากนี้ยังทนความร้อนสูงและสะท้อนแสงได้ดีอีกด้วย ค ไม่ถูกต้อง เพราะโมเลกุลของเกลือแกงเกิดจากพันธะไอออนิก แม้ว่าสารที่เกิดจากพันธะ ไอออนิกจะทนความร้อนได้สูง เนื่องจากมีจุดหลอมเหลวสูง แต่เมื่อออกแรงต่อก้อนเกลือแกง ผลึกไอออนิกจะเคลื่อนที่ทำให้ไอออนที่มีประจุเหมือนกันอยู่ตรงกันจึงเกิดแรงผลักและทำให้ ก้อนเกลือแกงแตก เกลือแกงจึงนำมายืดเป็นแผ่นไม่ได้ และยังสะท้อนแสงได้ไม่ดีอีกด้วย ง ไม่ถูกต้อง เพราะโมเลกุลของน้ำตาลทรายเกิดจากพันธะโคเวเลนต์ ซึ่งมีแรงยึดเหนี่ยว ระหว่างโมเลกุลไม่สูงทำให้นำมายืดเป็นแผ่นไม่ได้ เนื่องจากโมเลกุลจะแตกออกจากกัน นอกจากนี้สารที่เกิดจากพันธะโคเวเลนต์ยังทนความร้อนได้ต่ำหรือมีจุดหลอมเหลวต่ำ และยังสะท้อนแสงได้ไม่ดีอีกด้วย คำอธิบาย: ข ถูกต้อง เพราะทองแดงเป็นโลหะที่เกิดจากพันธะโลหะซึ่งมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปทั่วทั้งก้อนอย่างอิสระ เมื่อนำมายืดเป็นแผ่นจึงยังคงมีแรงยึดเหนี่ยวเกิดขึ้นทั่วทั้งก้อนโลหะทำให้ไม่แตกหัก นอกจากนี้ยังทนความร้อนสูงและสะท้อนแสงได้ดีอีกด้วย
8
5. ถ้านักเรียนต้องการพิสูจน์ว่าของแข็งตัวอย่างที่มีอยู่เป็นสารประกอบไอออนิกหรือไม่ นักเรียนควรทำวิธีใด ก สังเกตจุดหลอมเหลวเมื่อนำสารไปให้ความร้อน ข สังเกตการนำไฟฟ้าเมื่อนำของแข็งไปละลายในน้ำ ค สังเกตอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปเมื่อนำของแข็งไปละลายในน้ำ ง สังเกตการนำไฟฟ้าระหว่างสถานะของแข็งและของเหลว 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 5 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 5 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะสารประกอบไอออนิกและโลหะเป็นสารที่มีจุดหลอมเหลวสูงเหมือนกัน จึงไม่สามารถบอกได้ว่าของแข็งตัวอย่างเป็นสารประกอบไอออนิกหรือไม่ ข ไม่ถูกต้อง เพราะสารประกอบไอออนิกบางชนิดไม่ละลายในน้ำ จึงไม่สามารถบอกได้ว่า ของแข็งตัวอย่างเป็นสารประกอบไอออนิกหรือไม่ ค ไม่ถูกต้อง เพราะสารโคเวเลนต์และสารประกอบไอออนิกเมื่อนำไปละลายในน้ำ อุณหภูมิ ของน้ำสามารถเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน จึงไม่สามารถบอกได้ว่าของแข็งตัวอย่างเป็น สารประกอบไอออนิกหรือไม่ ง ถูกต้อง เพราะสารประกอบไอออนิกจะนำไฟฟ้าเมื่ออยู่ในสถานะของเหลว และไม่นำไฟฟ้า เมื่ออยู่ในสถานะของแข็ง ซึ่งต่างจากโลหะที่นำไฟฟ้าได้ทั้งในสถานะของแข็งและของเหลว คำอธิบาย: ง ถูกต้อง เพราะสารประกอบไอออนิกจะนำไฟฟ้าเมื่ออยู่ในสถานะของเหลว และไม่นำไฟฟ้าเมื่ออยู่ในสถานะของแข็ง ซึ่งต่างจากโลหะที่นำไฟฟ้าได้ทั้งในสถานะของแข็งและของเหลว
9
สารและสมบัติของสาร ม. 4–6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 โครงสร้างของสาร ตอนที่ 3 พันธะเคมี แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 พันธะไอออนิกและพันธะโคเวเลนต์ เวลา 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 พันธะไอออนิกและพันธะโคเวเลนซ์ ชั่วโมง สาระการเรียนรู้ 1. พันธะไอออนิก 2. พันธะโคเวเลนต์ 2.1 ชนิดของพันธะโคเวเลนต์ จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
10
หลักการของกฎออกเตต คืออะไร
การเกิดพันธะเคมีมีความสัมพันธ์กับกฎออกเตตหรือไม่ 1) ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียน โดยคลิกตามลำดับแล้วถามคำถามกับนักเรียนว่า – หลักการของกฎออกเตตคืออะไร – การเกิดพันธะเคมีมีความสัมพันธ์กับกฎออกเตตหรือไม่ – พันธะเคมีมีกี่ชนิด อะไรบ้าง 2) ครูให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลาย คำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง และให้นักเรียนร่วมกันค้นหาคำตอบจากบทเรียน เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง พันธะเคมี ครูใช้เวลาในการนำเข้าสู่บทเรียนประมาณ 5 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม) พันธะเคมีมีกี่ชนิด... อะไรบ้าง...
11
การอ่านและค้นคว้าล่วงหน้า เกี่ยวกับพันธะไอออนิก
1. พันธะไอออนิก การอ่านและค้นคว้าล่วงหน้า เกี่ยวกับพันธะไอออนิก นักเรียนได้อะไรบ้าง 1. พันธะไอออนิก 1) ครูตรวจสอบว่านักเรียนปฏิบัติตามภาระงานก่อนเรียนที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยครู ถามคำถามกับนักเรียนว่า การอ่านและค้นคว้าล่วงหน้าเกี่ยวกับพันธะไอออนิก นักเรียน ได้อะไรบ้าง 2) ครูและนักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ครูใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประมาณ 55 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม)
12
แบ่งกลุ่มและนำเสนอสิ่งที่ได้ ให้เพื่อนในกลุ่มฟัง
1. พันธะไอออนิก แบ่งกลุ่มและนำเสนอสิ่งที่ได้ ให้เพื่อนในกลุ่มฟัง ตัวแทนกลุ่มนำเสนอ สิ่งที่ได้หน้าห้องเรียน 1. พันธะไอออนิก 1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพันธะ ไอออนิกที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง โดยครูให้นักเรียน ร่วมกันอภิปรายซักถามจนคาดว่าสมาชิกทุกคนในกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน 2) ครูคลิกแสดงข้อความเพื่อให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานำเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
13
ตอบคำถามต่อไปนี้ 1. พันธะไอออนิกเกิดระหว่างธาตุที่มีสมบัติใด
1. พันธะไอออนิก ตอบคำถามต่อไปนี้ 1. พันธะไอออนิกเกิดระหว่างธาตุที่มีสมบัติใด ธาตุที่มีสมบัติเป็นโลหะกับอโลหะ 2. แรงดึงดูดระหว่างธาตุในพันธะไอออนิกคืออะไร แรงระหว่างประจุไฟฟ้า 1. พันธะไอออนิก ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามเกี่ยวกับภาระงานก่อนเรียนแล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิก คำถามและเฉลยทีละข้อ)
14
นักเรียนตั้งคำถามที่สงสัยไว้ว่าอย่างไร
1. พันธะไอออนิก นักเรียนตั้งคำถามที่สงสัยไว้ว่าอย่างไร นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง พันธะไอออนิกเป็นพันธะที่เกิดระหว่างธาตุที่มีสมบัติเป็นโลหะกับอโลหะ 1. พันธะไอออนิก 1) ครูถามคำถามนักเรียนว่า นักเรียนตั้งคำถามที่สงสัยไว้ว่าอย่างไร เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน ตั้งประเด็นคำถามที่สงสัยจากการทำภาระงานก่อนเรียน ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น 2) เมื่อนักเรียนตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเสร็จแล้ว ครูคลิกเพื่อสรุปภาระงานก่อนเรียน โดยถามนักเรียนว่า นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง 3) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงานก่อนเรียนเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า พันธะไอออนิก เป็นพันธะที่เกิดระหว่างธาตุที่มีสมบัติเป็นโลหะกับอโลหะ 4) ครูคลิกเพื่อแสดงข้อสรุปของภาระงานก่อนเรียน
15
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม
1. พันธะไอออนิก พันธะเคมี (chemical bond) แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม เกิดเป็นโมเลกุล เกิดจาก ทำให้เวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 ตามกฎออกเตต หลักการ 1. พันธะไอออนิก ครูคลิกแผนผัง ตามลำดับ เพื่ออธิบายความหมาย หลักการเกิดพันธะเคมี (chemical bond) และชนิดของพันธะเคมี พันธะไอออนิก พันธะโคเวเลนต์ พันธะโลหะ แบ่งเป็น
16
แรงดึงดูดประจุไฟฟ้าเกิดเป็น
1. พันธะไอออนิก 1 โลหะ แรงยึดเหนี่ยวระหว่าง อะตอมของโลหะกับอโลหะ อโลหะ 2 อโลหะรับเวเลนซ์อิเล็กตรอน จากโลหะ เกิดเป็น พันธะไอออนิก (ionic bond) โลหะ e– อโลหะ 3 อะตอมที่สร้างพันธะ มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 ตัว + โลหะ – อโลหะ e– = 8 4 แรงดึงดูดประจุไฟฟ้าเกิดเป็น สารประกอบไอออนิก + โลหะ – อโลหะ 1. พันธะไอออนิก ครูคลิกตามลำดับ เพื่ออธิบายลักษณะของพันธะไอออนิก (ionic bond) ว่าเป็นแรงดึงดูด ระหว่างโลหะและอโลหะที่เกิดจากการให้เวเลนซ์อิเล็กตรอนของโลหะกับอโลหะ เพื่อให้เกิด โมเลกุลที่ประกอบด้วยอะตอมที่เสถียรจากการมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 ตัว ได้เป็น สารประกอบไอออนิก
17
การเกิดพันธะไอออนิกระหว่าง โซเดียม กับ คลอรีน
1. พันธะไอออนิก การเกิดพันธะไอออนิกระหว่าง โซเดียม กับ คลอรีน Na (โลหะ) Cl (อโลหะ) 4 1 2 3 NaCl (โซเดียมคลอไรด์) Na+ Cl– 1. พันธะไอออนิก ครูคลิกตามลำดับ เพื่ออธิบายการเกิดพันธะไอออนิกของโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ดังนี้ – โซเดียม (Na) และคลอรีน (Cl) เกิดแรงดึงดูดกัน – โซเดียมที่เป็นโลหะสูญเสียเวเลนซ์อิเล็กตรอนได้ง่ายจึงให้เวเลนซ์อิเล็กตรอนแก่คลอรีน ที่เป็นอโลหะ – โซเดียมที่สูญเสียเวเลนซ์อิเล็กตรอน 1 ตัว ทำให้มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 ตัว และ คลอรีนที่รับอิเล็กตรอนมา 1 ตัวทำให้เวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 ตัวเช่นกัน – โซเดียมไอออนและคลอไรด์ไอออนดึงดูดกันด้วยแรงทางไฟฟ้าเกิดเป็นสารประกอบ ไอออนิกของโซเดียมคลอไรด์
18
การเกิดพันธะไอออนิกระหว่าง แมกนีเซียม กับฟลูออรีน
1. พันธะไอออนิก การเกิดพันธะไอออนิกระหว่าง แมกนีเซียม กับฟลูออรีน 4 3 2 1 F Mg – 2+ F– Mg2+ MgF2 1. พันธะไอออนิก ครูคลิกตามลำดับ เพื่ออธิบายการเกิดพันธะไอออนิกของแมกนีเซียมฟลูออไรด์ (MgF2) ดังนี้ – แมกนีเซียม 1 อะตอม (Mg) และฟลูออรีน (F) 2 อะตอมเกิดแรงดึงดูดกัน – แมกนีเซียมที่เป็นโลหะสูญเสียเวเลนซ์อิเล็กตรอนได้ง่าย จึงให้เวเลนซ์อิเล็กตรอน 2 ตัว แก่ฟลูออรีนที่เป็นอโลหะ – แมกนีเซียมที่สูญเสียเวเลนซ์อิเล็กตรอน 2 ตัว ทำให้มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 ตัว และฟลูออรีนที่รับอิเล็กตรอนอะตอมมา 1 ตัวทำให้เวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 ตัวเช่นกัน – แมกนีเซียมไอออนและฟลูออไรด์ไอออนดึงดูดกันด้วยแรงทางไฟฟ้า เกิดเป็นสารประกอบ ไอออนิกของแมกนีเซียมฟลูออไรด์
19
นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้
1. พันธะไอออนิก แรงยึดเหนี่ยวของสารประกอบไอออนิกที่เกิดจาก ความแตกต่างของประจุไฟฟ้าทำให้สมบัติ ของสารประกอบมีลักษณะใดบ้าง นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้ 1. พันธะไอออนิก 1) ครูคลิกตามลำดับแล้วถามนักเรียนว่า แรงยึดเหนี่ยวของสารประกอบไอออนิกที่เกิดจาก ความแตกต่างของประจุไฟฟ้าทำให้สมบัติของสารประกอบมีลักษณะใดบ้าง ครูให้นักเรียน ร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลย คำตอบที่ถูกต้อง จากนั้นให้นักเรียนแบ่งกลุ่มแล้วร่วมกันค้นหาคำตอบ เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ การปฏิบัติกิจกรรม 2) นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 6 สืบค้นข้อมูลจุดหลอมเหลว จุดเดือด และการนำไฟฟ้าของ สารประกอบไอออนิก ในแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
20
กิจกรรมที่ 6 สืบค้นข้อมูลจุดหลอมเหลว จุดเดือด และการนำไฟฟ้า
1. พันธะไอออนิก กิจกรรมที่ 6 สืบค้นข้อมูลจุดหลอมเหลว จุดเดือด และการนำไฟฟ้า ของสารประกอบไอออนิก สารประกอบไอออนิก แต่ละชนิดมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดแตกต่างกันในลักษณะใด และสารประกอบชนิดนี้สามารถนำไฟฟ้าได้หรือไม่ ปัญหา แหล่งการเรียนรู้ 1. หนังสือเรียน หนังสืออ้างอิง หนังสืออ่านประกอบ และวารสารวิทยาศาสตร์ 2. เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องทางอินเทอร์เน็ต 1. พันธะไอออนิก 1) ครูให้นักเรียนร่วมกันตั้งคำถามเพื่อกำหนดปัญหาก่อนปฏิบัติกิจกรรม โดยครูช่วยสรุป การตั้งคำถามของนักเรียน แล้วร่วมกันกำหนดเป็นปัญหาที่สอดคล้องกับการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงปัญหาของกิจกรรม 3) ครูคลิกเพื่อแสดงแหล่งการเรียนรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม
21
ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. พันธะไอออนิก ขั้นตอน ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับจุดหลอมเหลว จุดเดือด และการนำไฟฟ้าของ สารประกอบไอออนิกต่อไปนี้ แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) โซเดียมคลอไรด์ (NaCl)โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) อะลูมิเนียมออกไซด์ (Al2O3) และโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) 2. นำข้อมูลที่ได้มาอภิปรายร่วมกันแล้วนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรม 1. พันธะไอออนิก 1) ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและเปิด โอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
22
แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) โซเดียมคลอไรด์ (NaCl)
1. พันธะไอออนิก บันทึกผล สารประกอบไอออนิก สมบัติของสาร จุดหลอมเหลว (oC) จุดเดือด (oC) การนำไฟฟ้า แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) อะลูมิเนียมออกไซด์ (Al2O3) โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) 782 1,600 ไม่นำไฟฟ้า 804 1,490 360 1,505 2,072 2,980 318 1,390 1. พันธะไอออนิก 1) เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเสร็จ ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน 2) ครูคลิกเพื่อแสดงตารางบันทึกผล 3) ครูคลิกเพื่อแสดงแนวคำตอบของการปฏิบัติกิจกรรม
23
1. พันธะไอออนิก สรุปผล สารประกอบไอออนิก ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2)โซเดียมคลอไรด์ (NaCl)โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) อะลูมิเนียมออกไซด์ (Al2O3) และโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง เพราะสารประกอบไอออนิกยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิกระหว่างอะตอมของโลหะกับอโลหะที่เกิดจากการให้และรับเวเลนซ์อิเล็กตรอน อะตอมกลายเป็นไอออนบวกและลบดึงดูดกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้าที่แข็งแรง จึงต้องใช้พลังงานปริมาณสูงเพื่อทำลายพันธะ และสารประกอบไอออนิกไม่สามารถนำไฟฟ้าได้ 1. พันธะไอออนิก 1) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงสรุปผลของกิจกรรม
24
1. สารประกอบไอออนิกในกิจกรรมมีสมบัติลักษณะใดบ้าง
1. พันธะไอออนิก ค้นหาคำตอบ 1. สารประกอบไอออนิกในกิจกรรมมีสมบัติลักษณะใดบ้าง มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง และไม่นำไฟฟ้า 2. สารประกอบไอออนิกมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงเพราะเหตุใด เพราะสารประกอบไอออนิกมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างไอออนบวกและไอออนลบ ที่แข็งแรงมาก มีแรงดึงดูดทุกทิศทุกทาง การทำให้หลอมเหลวหรือเดือด จึงต้องใช้พลังงานมากเพื่อทำลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างไอออนทั้งสองให้แยกออกจากกัน 1. พันธะไอออนิก 1) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายซักถามและแสดงความคิดเห็นผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถามจากกรอบค้นหาคำตอบท้ายกิจกรรม ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) 3. สารประกอบไอออนิกไม่สามารถนำไฟฟ้าได้เพราะเหตุใด เพราะอะตอมเกิดการรับและให้เวเลนซ์อิเล็กตรอน จึงไม่มีอิเล็กตรอนที่สามารถเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ โมเลกุลได้อย่างอิสระ
25
4. สารประกอบไอออนิกมีสมบัติแข็งแต่เปราะเพราะเหตุใด
1. พันธะไอออนิก ค้นหาคำตอบ 4. สารประกอบไอออนิกมีสมบัติแข็งแต่เปราะเพราะเหตุใด เพราะสารประกอบไอออนิกมีพันธะไอออนิกที่มีแรงดึงดูดที่แข็งแรง แต่เมื่อทุบสารประกอบไอออนิกจะทำให้โมเลกุลของสารประกอบสั่นสะเทือน ทำให้ไอออนชนิดเดียวกันเลื่อนมาอยู่ชิดกันและเกิดแรงผลักกันอย่างรุนแรง ผลึกจึงแตกออกจากกันได้ 5. จากกิจกรรมสามารถสรุปสมบัติของสารประกอบไอออนิกได้ว่าอย่างไร 1. พันธะไอออนิก ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) สารประกอบไอออนิกมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง เป็นของแข็ง เปราะ ไม่นำไฟฟ้า แต่ถ้าละลายหรือหลอมเหลวจะนำไฟฟ้าได้
26
สมบัติของสารประกอบไอออนิก
1. พันธะไอออนิก สมบัติของสารประกอบไอออนิก จุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง m.p. b.p. + – ยึดเหนี่ยวด้วยแรงดึงดูดทางไฟฟ้า H2O บางชนิดละลายในน้ำได้ บางชนิดไม่ละลายในน้ำ เปราะ แตกง่าย นำไฟฟ้าในสถานะของเหลว l 1. พันธะไอออนิก ครูขยายความรู้โดยคลิกตามลำดับ เพื่ออธิบายสมบัติของสารประกอบไอออนิก ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของ บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
27
สมบัติของสารประกอบไอออนิก
1. พันธะไอออนิก สมบัติของสารประกอบไอออนิก ผลึกแตกออกจากกัน ผลึกไอออนก่อนถูกทุบ หลังถูกทุบไอออนเกิดการ เลื่อนไถลทำให้ไอออนที่มี ประจุเหมือนกันอยู่ตรงกัน จึงเกิดแรงผลักระหว่างไอออน 1. พันธะไอออนิก ครูคลิกตามลำดับ เพื่ออธิบายการแตกหักของผลึกสารประกอบไอออนิกเมื่อถูกทุบ
28
พันธะโคเวเลนต์ (covalent bond)
2. พันธะโคเวเลนต์ แรงยึดเหนี่ยวระหว่าง อะตอมของอโลหะกับอโลหะ อโลหะ 1 ใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกันเกิดเป็น พันธะโคเวเลนต์ (covalent bond) อโลหะ e– 2 อะตอมที่สร้างพันธะ มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน 8 ตัว อโลหะ e– = 8 3 2. พันธะโคเวเลนต์ ครูคลิกตามลำดับ เพื่ออธิบายลักษณะของพันธะโคเวเลนต์ (covalent bond) ว่าเป็นแรงดึงดูด ระหว่างอโลหะและอโลหะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกันของอโลหะกับอโลหะ เพื่อให้เกิดโมเลกุลที่ประกอบด้วยอะตอมที่เสถียรจากการมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 ตัว ได้เป็นสารโคเวเลนต์ เกิดเป็น สารโคเวเลนต์ อโลหะ e– 4
29
การเกิดพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์
2. พันธะโคเวเลนต์ การเกิดพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 2. พันธะโคเวเลนต์ ครูอธิบายการเกิดพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
30
2.1 ชนิดของพันธะโคเวเลนต์
2. พันธะโคเวเลนต์ 2.1 ชนิดของพันธะโคเวเลนต์ พันธะเดี่ยว พันธะเดี่ยว พันธะคู่ พันธะสาม พันธะโคเวเลนต์แบ่งเป็นกี่ชนิด 1 1 2. พันธะโคเวเลนต์ 2.1 ชนิดของพันธะโคเวเลนต์ 1) ครูถามคำถามกับนักเรียนว่า พันธะโคเวเลนต์แบ่งเป็นกี่ชนิด 2) ครูให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง 3) เมื่อนักเรียนอภิปรายคำตอบเสร็จแล้ว ครูคลิกเฉลยว่า พันธะโคเวเลนต์แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ พันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม 4) ครูคลิก ตามลำดับ เพื่ออธิบายการเกิดพันธะเดี่ยว ว่าเป็นการใช้อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะเพียง 1 คู่ การเกิดพันธะเดี่ยวในโมเลกุลของน้ำ
31
2.1 ชนิดของพันธะโคเวเลนต์
2. พันธะโคเวเลนต์ 2.1 ชนิดของพันธะโคเวเลนต์ พันธะเดี่ยว พันธะคู่ พันธะสาม 2 2. พันธะโคเวเลนต์ 2.1 ชนิดของพันธะโคเวเลนต์ ครูคลิกตามลำดับ เพื่ออธิบายการเกิดพันธะคู่ ว่าเป็นการใช้อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 2 คู่ การเกิดพันธะคู่ในโมเลกุลของออกซิเจน
32
2.1 ชนิดของพันธะโคเวเลนต์
2. พันธะโคเวเลนต์ 2.1 ชนิดของพันธะโคเวเลนต์ พันธะเดี่ยว พันธะคู่ พันธะสาม 1 3 1 2. พันธะโคเวเลนต์ 2.1 ชนิดของพันธะโคเวเลนต์ ครูคลิกตามลำดับ เพื่ออธิบายการเกิดพันธะสาม ว่าเป็นการใช้อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 3 คู่ การเกิดพันธะสามในโมเลกุลของอะเซทิลีน
33
สมบัติของสารโคเวเลนต์
2. พันธะโคเวเลนต์ 2.1 ชนิดของพันธะโคเวเลนต์ สมบัติของสารโคเวเลนต์ จุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ m.p. b.p. พบได้ทั้ง 3 สถานะ g S l ใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน อโลหะ e– ไม่นำไฟฟ้า 2. พันธะโคเวเลนต์ 2.1 ชนิดของพันธะโคเวเลนต์ ครูคลิกตามลำดับ เพื่ออธิบายสมบัติของสารโคเวเลนต์ ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
34
นักเรียนคิดว่าสารประกอบโคเวเลนต์สามารถ
2. พันธะโคเวเลนต์ 2.1 ชนิดของพันธะโคเวเลนต์ นักเรียนคิดว่าสารประกอบโคเวเลนต์สามารถ มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงได้หรือไม่ สารโครงผลึกร่างตาข่าย อะตอมยึดเหนี่ยวเป็น 3 มิติ จุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง m.p. b.p. H2O โมเลกุลมีขนาดใหญ่ จึงไม่ละลายในน้ำ S พบในสถานะของแข็ง 2. พันธะโคเวเลนต์ 2.1 ชนิดของพันธะโคเวเลนต์ 1) ครูถามคำถามกับนักเรียนว่า นักเรียนคิดว่าสารประกอบโคเวเลนต์มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือด สูงหรือไม่ 2) ครูให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง 3) เมื่อนักเรียนอภิปรายคำตอบเสร็จแล้ว ครูคลิกรูปและข้อความ ตามลำดับ เพื่ออธิบายว่า สารโครงผลึกร่างตาข่าย เป็นสารโคเวเลนต์ที่มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง เนื่องจากอะตอม ยึดเหนี่ยวเป็น 3 มิติ นอกจากนี้ยังพบในสถานะของแข็ง และโมเลกุลมีขนาดใหญ่จึงไม่ละลาย ในน้ำ
35
เรื่องน่ารู้ : ความเหมือนที่แตกต่าง
2. พันธะโคเวเลนต์ 2.1 ชนิดของพันธะโคเวเลนต์ เรื่องน่ารู้ : ความเหมือนที่แตกต่าง เพชร แกรไฟต์ C = ความแข็งแรง > 2. พันธะโคเวเลนต์ 2.1 ชนิดของพันธะโคเวเลนต์ ครูคลิกเรื่องน่ารู้ เรื่อง ความเหมือนที่แตกต่าง พร้อมกับอธิบายว่า เพชรและแกรไฟต์ (ถ่านหรือไส้ดินสอ) เป็นสารที่เกิดจากการสร้างพันธะของธาตุคาร์บอนเพียงชนิดเดียวเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงการจัดเรียงอะตอมภายในโมเลกุลจึงทำให้แกรไฟต์มีความเปราะ ในขณะที่เพชรมีความแข็งแรงมากขนาดต้องใช้เพชรด้วยกันจึงจะตัดเพชรได้
36
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง เรามาตรวจสอบความเข้าใจกัน
ตอบคำถามต่อไปนี้ 1. การสร้างพันธะไอออนิกเกิดขึ้นระหว่างธาตุที่มีสมบัติโลหะและอโลหะ เพราะอะไร เพราะพันธะไอออนิกเป็นพันธะเคมีที่เกิดจากการให้และรับอิเล็กตรอน ซึ่งธาตุโลหะพร้อมที่จะให้เวเลนซ์อิเล็กตรอน และธาตุอโลหะพร้อมที่จะรับ อิเล็กตรอนเพื่อให้เวเลนซ์อิเล็กตรอนของทั้ง 2 ธาตุครบ 8 ตัว 2. สารโคเวเลนต์มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำเพราะอะไร เพราะจุดเดือดและจุดหลอมเหลวมีค่าแปรผันกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล ซึ่งสารโคเวเลนต์มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลต่ำ สารโคเวเลนต์จึงมีจุดเดือด และจุดหลอมเหลวต่ำ 1) ครูถามนักเรียนว่าในหัวข้อนี้มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจ ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติม 2) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม 3) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถาม ให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและคำตอบทีละข้อ)
37
ทบทวนคำศัพท์และหลักการทางวิทยาศาสตร์
1. การเกิดพันธะเคมีมีความสัมพันธ์กับกฎออกเตตลักษณะใด อะตอมของธาตุที่เกิดพันธะเคมีกันจะต้องมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 ตัว 2. อะตอมของธาตุ และ สามารถเกิดพันธะไอออนิกได้หรือไม่ เพราะอะไร 23 11 A 19 9 X ได้ เพราะ A เป็นธาตุหมู่ 1A ให้เวเลนซ์อิเล็กตรอน 1 ตัว และ B เป็นธาตุหมู่ 7A รับอิเล็กตรอน 1 ตัว เมื่อเกิดการให้และรับอิเล็กตรอนแล้ว A และ B จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 ตัว 3. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกันเรียกว่าอะไร 1) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถามจากกิจกรรมประจำหน่วย ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามในหัวข้อทบทวนคำศัพท์และหลักการทางวิทยาศาสตร์ แล้วให้ นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) พันธะโคเวเลนต์ 4. CCl4 และ CH2Br2 เกิดพันธะโคเวเลนต์ชนิดใด พันธะเดี่ยว
38
ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
1. เมื่อทดสอบสมบัติของธาตุในหมู่ 1A กับ 7A พบว่า ธาตุในหมู่ 1A มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูงกว่าธาตุในหมู่ 7A จากผลการทดสอบดังกล่าว ให้นักเรียนลงความคิดเห็นข้อมูลว่าเป็นเพราะสาเหตุใด เพราะธาตุหมู่ 1A มีสมบัติเป็นโลหะ พันธะเคมีที่เกิดขึ้นเป็นพันธะโลหะที่มีความแข็งแรงมาก ส่วนธาตุหมู่ 7A มีสมบัติเป็นอโลหะ พันธะเคมีที่เกิดขึ้น เป็นพันธะโคเวเลนต์ซึ่งมีความแข็งแรงน้อยกว่าพันธะโลหะมาก ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามในหัวข้อทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทนแล้วให้นักเรียน ช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยตามลำดับ)
39
ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
2. โมเลกุลของสารประกอบต่อไปนี้ NaCl, CH4, CO2, CaO, H2O, Li2O, CaF2 ให้นักเรียนจำแนกประเภทสารประกอบที่กำหนดให้เป็นกลุ่มสารประกอบไอออนิกและกลุ่มสารโคเวเลนต์ พร้อมอธิบายเหตุผลในการจัดกลุ่ม NaCl, CaO, LiO2 และ CaF2 เป็นสารประกอบไอออนิก เพราะเป็นพันธะเคมีระหว่างโลหะกับอโลหะ ส่วน CH4, CO2 และ H2O เป็นสารโคเวเลนต์ เพราะเป็นพันธะเคมีระหว่างอโลหะกับอโลหะ ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามในหัวข้อทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทนแล้วให้นักเรียน ช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยตามลำดับ)
40
พันธะเคมี สรุป สารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ พันธะไอออนิก
พันธะโคเวเลนต์ เรียนรู้เกี่ยวกับ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างไอออนบวกของโลหะกับไอออนลบของอโลหะ เกิดจาก แรงยึดเหนี่ยวระหว่างการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกันของอะตอมของอโลหะ เกิดจาก สารประกอบไอออนิก เรียกว่า สารโคเวเลนต์ เรียกว่า 1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับพันธะไอออนิกและพันธะโคเวเลนต์ โดยครูให้นักเรียน แต่ละคนเขียนสรุปเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์ 2) ครูคลิกเพื่อแสดงตัวอย่างแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์ทีละขั้น พร้อมสรุปทีละประเด็น 3) ครูอาจให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม โดยดูจากคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ครูใช้เวลาในการสรุปประมาณ 5 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม) จุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง นำไฟฟ้าในสถานะของเหลว เปราะ ทุบให้แตกง่าย มีสมบัติ จุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ พบได้ทั้ง 3 สถานะ ไม่นำไฟฟ้า มีสมบัติ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.