ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยHubert Sherman ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
2
ความสมดุลของชีวิต 2) ด้านจิตใจ 3) ด้านสังคม 4) ด้านเศรษฐกิจ
ความสมดุลของชีวิตในมุมมองของพระพุทธศาสนากล่าวถึงการมีชีวิตที่ดีโดยบรรลุเป้าหมายที่ดี สำหรับทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์และการสาธารณสุข ความสมดุลของชีวิตอาจพิจารณาได้จากการมีชีวิตที่ดีใน 4 ด้านคือ 1) ด้านร่างกาย 2) ด้านจิตใจ 3) ด้านสังคม 4) ด้านเศรษฐกิจ
3
ความหมายของความสมดุลของชีวิต
ความจำเป็นพื้นฐานของการมีชีวิต ได้รับการตอบสนองอย่างพอเพียง ซึ่งคำว่า “ความจำเป็น” หมายถึงขาดไม่ได้ ส่วนคำว่า “พอเพียง” หมายถึงพอดี มนุษย์จะต้องปรับตัวทั้งร่างกายและพฤติกรรมเพื่อรักษาสมดุลของชีวิตท่ามกลางความไม่หยุดนิ่งของสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยความจำเป็นพื้นฐานได้รับการตอบสนองอย่างพอเพียง และทุกมิติแห่งการดำเนินชีวิตมีความแข็งแกร่ง ความสมดุลของชีวิตอาจหมายถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้
4
1. ความสมดุลของชีวิตเป็นการเดินทาง (a journey)
2. ความสมดุลของชีวิตเป็นทัศนคติ (attitude) 3. ความสมดุลของชีวิตเป็นการมุ่งเน้น (focus) 4. ความสมดุลของชีวิตเป็นความเชื่อหลัก (core belief) 5. ความสมดุลของชีวิตเป็นเรื่องส่วนบุคคล (very personal) จากความหมายของความสมดุลของชีวิตข้างต้น อาจแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มว่าความสมดุลของชีวิตเป็นเรื่องของมนุษย์แต่ละบุคคลที่เกิดจากทัศนคติ ความเชื่อ และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ในการที่จะตัดสินว่าเกิดความสมดุลหรือบรรลุเป้าหมายของชีวิตอย่างมีความสุขที่แท้จริงได้แตกต่างกัน
5
องค์ประกอบของความสมดุลของชีวิต
6
การรักษาความสมดุลของชีวิต
7
ทฤษฎีการรักษาความสมดุลของชีวิต
1. แนวคิดเกี่ยวกับการมีชีวิต (human being) มนุษย์มีองค์รวม ประกอบไปด้วยร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสังคม ที่มีความเกี่ยวข้องกันและส่งผลต่อกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งความเป็นองค์รวมของมนุษย์ทำให้คนประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นร่างกาย (biological structure)และพฤติกรรม (behavioral repertoire) ซึ่งทั้ง 2 องค์ประกอบนี้มีความสามารถของตัวเองที่เรียกว่า “อัตพิสัย (self-capabilities)” 3 ประการคือ การสร้าง การปรับ และการควบคุมตัวเอง
8
ความต้องการขั้นพื้นฐานของการมีชีวิตตามลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s hierarchy of needs) มีดังนี้ 1. ความต้องการทางด้านร่างกาย (basic physioloyical need) 2. ความต้องการความปลอดภัย (safe and security need) 3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (love and sense of belonging need) 4. ความต้องการการยอมรับนับถือ (self esteem and recognition needs) 5. ความต้องการบรรลุศักยภาพสูงสุดแห่งตน (self actualization need)
9
2. แนวคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (Environment) สิ่งแวดล้อมคือสิ่งต่างๆ ทั้งที่อยู่ภายในและภายนอก สิ่งแวดล้อมภายในคืออินทรียสาร (organic matter) 3. แนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต (Quality of life) คุณภาพชีวิตคือสภาพชีวิตของมนุษย์ที่ดำเนินไปตั้งแต่เกิดจนสิ้นอายุขัย เป็นผลลัพธ์จากการที่มนุษย์มีชีวิต และมีปฏิสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมภายในตัวเรากับสิ่งแวดล้อมภายนอก
10
วิธีการรักษาความสมดุลของชีวิต
1. การรับประทาน (Eat) เป็นการรักษาความสมดุลของชีวิตทางด้านร่างกายตามคำกล่าวที่ว่า “You are What You Eat” หรือ “คุณกินอะไรก็เป็นอย่างนั้น” 2. การอธิษฐาน (Pray) หมายถึง การตั้งจิตภาวนาจดจ่ออยู่กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเองเคารพนับถือ ซึ่งมีอยู่ในทุกศาสนา 3. ความรัก (Love) เป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานที่และสามารถที่จะเกิดกับใครก็ได้ ความรักที่ดีจะสร้างให้เกิดความรู้สึกที่ดี
11
นิตยสาร Health&Cuisine (2014) ได้เสนอการปรับสมดุลชีวิตที่เน้นการปรับสมดุลทางร่างกายและจิตใจโดยใช้บันได 5 ขั้นเพื่อสมดุลชีวิต ดังนี้ ขั้นที่ 1 ฟังเสียงร่างกาย ขั้นที่ 2 สังเกตความเปลี่ยนแปลง ขั้นที่ 3 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ขั้นที่ 4 สร้างสมดุลด้วยการบริโภค ขั้นที่ 5 สร้างสมดุลของจิตใจ เช่น พรหมวิหาร 4
12
มิติแห่งความสมดุลของชีวิต
จากองค์ประกอบของความสมดุลของชีวิตที่มีองค์ประกอบพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ 2 ประการ คือร่างกายและวิญญาณ ก่อนจะเข้าสู่ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่น รวมทั้งสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในที่นี้จึงกล่าวถึงความสมดุลของชีวิตทั้ง 3 ประการดังกล่าวที่จำแนกเป็น 2 กลุ่มคือความสมดุลของร่างกายและวิญญาณ และความสมดุลทางสังคม
13
ความสมดุลของร่างกาย
14
กระบวนการที่ทำให้เกิดปัญญา มี 3 วิธีคือ
ความสมดุลของจิตใจ ผู้มีสุขภาพจิตดี ย่อมมีผลมาจากสุขภาพกายดีด้วย หรือคำกล่าวที่ว่า “จิตใจที่แจ่มใส ย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์” ความสมดุลของปัญญา กระบวนการที่ทำให้เกิดปัญญา มี 3 วิธีคือ 1. สุตมยปัญญา คือ ปัญญาเกิดจากการฟัง 2. จิตตามยปัญญา คือ ปัญญาเกิดจากความคิด 3. ภาวนามนปัญญา คือปัญญาเกิดจากการอบรมตนเองโดยเน้นกระบวนการศึกษาจิตและกายอย่างชัดแจ้ง
15
หากกล่าวถึงปัญญาว่าหมายถึงความฉลาด ในทาง
หากกล่าวถึงปัญญาว่าหมายถึงความฉลาด ในทาง จิตวิทยาได้จำแนกความฉลาดของมนุษย์ได้ 8 ด้านที่เรียกว่า “Multiple Intelligence” หรือ “พหุปัญญา” ซึ่งประกอบด้วยด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. ความฉลาดด้านภาษา (linguistic intelligence) 2. ความฉลาดด้านการคำนวณ (logical-mathematical intelligence 3. ความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ (spatial intelligence) 4. ความฉลาดด้านกายภาพหรือร่างกาย (bodily-kinesthetic intelligence) 5. ความฉลาดด้านดนตรี (musical intelligence) 6. ความฉลาดด้านทักษะสังคม (inter-personal intelligence) 7. ความฉลาดด้านบุคคล (intra-personal intelligence) 8. ความฉลาดด้านธรรมชาติ (naturalist intelligence)
16
ความสมดุลทางสังคม สังคม (society) หรือสังคมมนุษย์ (human society) ในภาษาบาลี แยกออกเป็น 2 คํา คือคำว่า “สัง” แปลว่า “ด้วยกัน พร้อมกัน” ส่วนคําว่า “คม” แปลว่า “ไป ดําเนินไป” เมื่อนําทั้งสองคํามารวมกันเป็น “สังคม” แปลว่า “ไปด้วยกัน ไปพร้อมกัน” หรือหมายถึงการที่มนุษย์ แต่ละบุคคลตั้งแต่ 2 บุคคลขึ้นไปมาอยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นพวก มีอาณาเขต หรือบริเวณที่อยู่อัน แน่นอนและนานพอสมควร มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน การรักษาความสมดุลของสังคมในระดับต่าง ๆ มีดังนี้ 1. ความสมดุลของชีวิตและครอบครัว 2. ความสมดุลของชีวิตและเพื่อน 3. ความสมดุลของชีวิตและชุมชน
17
ในโลกยุคปัจจุบันทำได้โดยการมีความสุข 8 ประการ ที่ช่วยส่งเสริมสมดุลเพื่อให้ชีวิตเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ดังนี้ 1. Happy body คือการมีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ 2. Happy heart คือการมีสุขภาพจิตที่ดี 3. Happy society คือการได้อยู่ในสังคมที่ดี 4. Happy relax คือการรู้จักผ่อนคลายต่อสิ่งต่างๆ 5. Happy brain คือการรู้จักศึกษาหาความรู้และหมั่นศึกษาอย่างต่อเนื่อง 6. Happy soul คือการมีศรัทธา มีศาสนา มีความเชื่อ มีที่ยึดเหนี่ยวทางใจ 7. Happy money คือการรู้จักเก็บเงิน รู้จักใช้เงิน ไม่เป็นหนี้ 8. Happy family คือการมีครอบครัวที่อบอุ่นมั่นคง มีเวลาให้กันและกัน
18
ความสมดุลของชีวิตและสิ่งแวดล้อม
เมื่อมนุษย์มีความสัมพันธ์กันและเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน มนุษย์ก็จะรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่ม และมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มในลักษณะนี้เรียกว่า “ชุมชนหรือสังคม” สิ่งต่างๆ ที่อยู่ล้อมรอบตัวมนุษย์ภายในบริเวณชุมนุมชนมีทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมเรียกว่า "สิ่งแวดล้อม“ การรักษาสิ่งแวดล้อมมีวิธีการมากมายและหลายระดับปฏิบัติเพราะทุกคนมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมในระดับบุคคล โดยหลักการพื้นฐานที่มีความนิยมมานานกว่า ปีได้แก่ “หลัก 3R” ที่ประกอบด้วย Reduce คือการลดปริมาณการใช้ Reuse คือการใช้ให้คุ้มค่าที่สุดโดยการนำมาใช้ซ้ำ และ Recycle คือการนำกลับมาใช้ใหม่ ต่อมาได้มีพัฒนาการโดยเพิ่ม Avoid ที่หมายถึงการหลีกเลี่ยงหรือการงดใช้สิ่งฟุ่มเฟือย รวมเป็นเป็นหลัก “1A3R”
19
ปัจจุบันมีแนวคิดขยายหลักการที่เกี่ยวข้องกับหลักการ 3R ที่เป็นที่จดจำได้เพิ่มขึ้นอีกมากมาย เช่น “หลัก 10R” ได้แก่ 1) Reuse (นำกลับมาใช้ใหม่) 2) Repair (ซ่อมแซมให้ใช้ประโยชน์ได้) 3) Reduce (ลดการใช้โดยการทะนุถนอม บำรุงรักษาให้มีอายุยืนยาว) 4) Reject (งดใช้ของที่ทำลายทรัพยากรและสร้างมลพิษ) 5) Recycle (นำของที่ไม่ใช้แล้วกลับมาผ่านกระบวนการผลิตใหม่ให้ใช้ได้) 6) Refill (ใช้สิ่งของที่สามารถเติมในภาชนะเดิมได้) 7) Return (ใช้สิ่งของที่สามารถนำชิ้นส่วนมาแลกใหม่ได้) 8) Renew (ใช้สิ่งของที่สามารถนำมาหมุนเวียนได้) 9) Refuse (ปฏิเสธ หลีกเลี่ยงและไม่ใช้เลย) 10) Rethink (คิดใหม่ เปลี่ยนวิธีคิด จากคิดที่ก่อเกิดปัญหา เป็นความคิดที่สร้างสรรค์)
20
ความสมดุลของชีวิตเป็นความสุขและความสำเร็จของแต่ละบุคคลที่ได้บรรลุสู่เป้าหมายที่บุคคลต้องการ ดังนั้นความสมดุลของชีวิตจึงเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่แตกต่างกัน มนุษย์ไม่สามารถสร้างความสมดุลของชีวิตตนเองได้จากรูปแบบหรือวิธีการปฏิบัติที่เหมือนกับบุคคลอื่นได้ทั้งหมด แต่ทั้งนี้มนุษย์ทุกคนมีองค์ประกอบพื้นฐานเหมือนกันคือประกอบด้วยร่างกายและวิญญาณ โดยที่ร่างกายที่สมดุลจะประกอบด้วยโครงร้างของร่างกาย สุขภาพ และบุคลิกภาพ ส่วนวิญญาณที่สมดุลเป็นการพัฒนาทั้งด้านสติปัญญาและอารมณ์หรือจิตใจ ทั้งนี้ทุกคนต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสังคมที่เป็นครอบครัว เพื่อน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม การรักษาความสมดุลของชีวิตจึงเริ่มจากการสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นกับตนเองก่อน อันจะนำสู่ความสมดุลของสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.