ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
บทที่ 20 ประชากร ชีววิทยา เล่ม 5 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
2
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เนื้อหาสาระ ความหนาแน่นของการแพร่กระจายของประชากร ขนาดของประชากร รูปแบบการเพิ่มของประชากร การรอดชีวิตของประชากร ประชากรมนุษย์ คำถามท้ายบทที่ 20 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ผลการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับความหมายของประชากร ความหนาแน่นของประชากร อัตราการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร และปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร สืบค้นข้อมูล อภิปราย และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องประชากรมนุษย์ การเติบโตและโครงสร้างอายุของประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
4
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
5
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ประชากร บนโลกมีสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ มากมายหลายชนิดอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ทั้งบนบก และในน้ำบางชนิดทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้ด้วยตัวเองได้ บางชนิดอาศัยอยู่บนพื้นดินกินพืชและสัตว์อื่นเป็นอาหาร บางชนิดอาศัยอยู่ใต้ดินกินซากพืชและซากสัตว์เป็นอาหาร บางชนิดอาศัยอยู่ตามต้นไม้ ขอนไม้ กินหนอน กินแมลง กินผลไม้เป็นอาหารและบางชนิดอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ กินแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำอื่นๆ เป็นอาหาร เป็นต้น สิ่งมีชีวิตต่างๆ เหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่ได้ก็ต้องอาศัยสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น แสง อุณหภูมิ ความชื้น เป็นต้น และยังมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันเองอีกด้วย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
6
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ประชากร ถ้าหากสภาพแวดล้อมต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปก็อาจส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและมีผลต่อการดำรงชีวิตและมีผลต่อการเพิ่มหรือลดจำนวนของประชากรได้ด้วย นักเรียนทราบหรือไม่ว่า มีปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนประชากร นักเรียนจะค้นหาคำตอบได้จากการศึกษาในบทเรียนต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7
20.1 ความหนาแน่นของการแพร่กระจายของประชากร
8
20.1 ความหนาแน่นและการแพร่กระจายของประชากร
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่อาศัยอยู่บนโลกนี้ ล้วนต้องการสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางกายภาพที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ดังจะเห็นได้ว่ามักจะพบประชากรนกอาศัยทำรงอยู่บนพื้นดิน และจะพบประชากรปลาอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่สะอาดมากกว่าที่จะพบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่สกปรก นักเรียนสงสัยหรือไม่ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
9
20.1 ความหนาแน่นและการแพร่กระจายของประชากร
ภาพที่ 20-1 ประชากรนกปากห่างที่วัดไผ่ล้อม จังหวัดปทุมธานี เดือนมีนาคม พ.ศ.2547 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
10
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามนำ ความหนาแน่นและการแพร่กระจายของประชากร ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
11
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
รู้หรือไม่ ประชากรหมายถึง สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง การกล่าวถึงประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดใดๆ ควรจะระบุแหล่งที่อยู่และช่วงเวลาที่พบด้วย เช่น ประชากรปลาตะเพียนที่เลี้ยงในกระชังของนายสวัสดิ์ ในเดือนพฤษภาคม 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,750 ตัว เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
12
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม เพราะเหตุใดที่วัดไผ่ล้อม จ.ปทุมธานีจึงมีประชากรนกปากห่างมาอาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
13
20.1 ความหนาแน่นและการแพร่กระจายของประชากร
การพบสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งในพื้นที่เฉพาะนั้น เนื่องจากว่าสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆ มีความจำเพาะและเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ ดังเช่นการที่นกส่วนมากมาทำรังอยู่บนต้นไม้เนื่องจากว่าต้องการหลบหลีกภัยจากศัตรูที่จะมารุกราน หรือทำอันตรายและการอาศัยอยู่บนต้นไม้สูงย่อมทำให้นกปลอดภัยจากผู้ล่าบนพื้นดินได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
14
20.1 ความหนาแน่นและการแพร่กระจายของประชากร
นอกจากนี้แล้วยังพบว่าประชากรสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีการแพร่กระจายในแต่ละพื้นที่ในปริมาณและสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงมีผลทำให้เกิดความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันด้วย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
15
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่มีความหนาแน่นของประชากรมนุษย์เป็นอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
16
20.1.1 ความหนาแน่นของประชากร
ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งใดแห่งหนึ่งสามารถศึกษาความหนาแน่นได้โดยการคาดคะเนความหนาแน่นของประชากร (population density) ซึ่งหมายถึงจำนวนสิ่งทีชีวิตชนิดเดียวกันต่อหน่วยพื้นที่หรือปริมาตร สามารถประเมินหาความหนาแน่นได้ 2 วิธีคือ การหาค่าความหนาแน่นอย่างหยาบ (crude density) เป็นการหาจำนวนประชากรต่อพื้นที่ทั้งหมด (total space) ที่ศึกษา การหาค่าความหนาแน่นเชิงนิเวศ (ecological density)เป็นการหาจำนวนหรือมวลของประชากรต่อหน่วยพื้นที่ที่ประชากรนั้นอาศัยอยู่จริง (habitat space) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
17
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
รู้หรือไม่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
18
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม การนับจำนวนสิ่งมีชีวิตต่อหน่วยพื้นที่นั้น มีปัจจัยสำคัญอย่างไรบ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
19
20.1.1 ความหนาแน่นของประชากร
ในสภาพธรรมชาติพบว่า การหาความหนาแน่นของประชากรที่แท้จริง (true density) โดยการสำรวจหรือการนับจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งหมด (totat count) ต่อหน่วยพื้นที่นั้นทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากสิ่งมีชีวิตโดยส่วนใหญ่มักมีการเคลื่อนย้ายและไม่ค่อยอยู่กับที่ ดังนั้นจึงมีวิธีการประมาณค่าความหนาแน่นของประชากร ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ สุ่มตัวอย่างแบบวางแปลง (quadrat sampling method) เป็นวิธีการประมาณจำนวนประชากรโดยการวางแปลงสุ่มตัวอย่างสิ่งมีชีวิตบางส่วนในบริเวณที่ต้องการศึกษา แล้วนำมาคิดคำนวณเทียบกับพื้นที่ทั้งหมดเพื่อหาความหนาแน่น ซึ่งเหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิตที่ค่อนข้างอยู่กับที่ เช่น พืช เพรียงทะเล เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
20
เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ถ้าหากในทุ่งร้างแห่งหนึ่งมีพื้นที่ 20 ตารางกิโลเมตร พบนกยางชนิดหนึ่งจำนวน 150 ตัว อาศัยทำรังอยู่บริเวณรอบๆ แหล่งน้ำซึ่งพื้นที่ 5 ตารางกิโลเมตร ให้นักเรียนคำนวณหาค่าความหนาแน่นของประชากรอย่างหยาบ และค่าความหนาแน่นของประชากรเชิงนิเวศ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
21
20.1.1 ความหนาแน่นของประชากร
ทำเครื่องหมายและจับซ้ำ (mark and recapture method) เป็นวิธีการประมาณจำนวนประชากรโดยการทำเครื่องหมายสัตว์ที่จับแล้วปล่อย เมื่อจับใหม่จะได้ทั้งตัวที่มีเครื่องหมายและตัวที่ไม่มีเครื่องหมาย ข้อควรคำนึงก็คือว่าในขณะที่ใช้วิธีนี้สัตว์ต้องไม่มีการอพยพเข้าและอพยพออก หรือไม่มีการเกิดและการตาย จึงจะได้จำนวนที่ใกล้เคียงจริงสามารถคำนวณได้จากสูตร P = T2M1 M2 เมื่อ P = ประชากรที่ต้องการทราบ T2 = จำนวนสัตว์ทั้งหมดที่จับได้ครั้งหลังทั้งที่มีและไม่มีเครื่องหมาย M1 = จำนวนสัตว์ที่จับได้ครั้งแรกละทำเครื่องหมายทั้งหมดแล้วปล่อย M2 = จำนวนสัตว์ที่มีเครื่องหมายที่จับได้ครั้งหลัง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
22
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 20.1 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
23
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 20.1 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
24
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 20.1 2.ใช้กรอบนับประชากร สุ่มตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในสนามหญ้าภายในบริเวณโรงเรียนหรือบริเวณรอบๆ โรงเรียน แล้วทำการนับจำนวนสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ที่สำรวจพบโดยการสุ่มอย่างน้อย 3 ครั้ง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาร่วมกันอภิปราย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
25
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ความหนาแน่นของประชากรสิ่งมีชีวิตในบริเวณที่นักเรียนสำรวจนั้นเป็นอย่างไรและจากข้อมูลดังกล่าวนี้บอกอะไรเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนของนักเรียนได้บ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
26
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมเสนอแนะ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
27
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมเสนอแนะ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
28
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมเสนอแนะ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
29
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม การสุ่มตัวอย่างมากครั้งหรือน้อยครั้งมีผลต่อความแม่นยำในการนับจำนวนประชากรหรือไม่ อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
30
20.1.2 การแพร่กระจายของประชากร
นักเรียนเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมจึงพบสัตว์บางชนิดได้ในเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น เช่น โคอาลาและจิงโจ้พบที่ประเทศออสเตรเลีย หมีแพนด้าพบที่ประเทศจีน ค้างคาวคุณกิตติพบที่ประเทศไทย และกวางเรนเดียร์มากที่ทวีปอเมริกาเหนือ นอกจากตัวอย่างที่ยกมานี้นักเรียนยังอาจมีข้อสงสัยอีกมากและต้องการค้นหาคำตอบเหล่านั้น ซึ่งนักเรียนจะทราบคำตอบได้จากการศึกษาต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
31
ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร
ในแต่ละพื้นที่ที่มีสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันอาศัยอยู่ร่วมกันในปริมาณที่แตกต่างกันนี้ เนื่องจากมีปัจจัยจำกัด (limiting factor) บางประการที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดที่ไม่เหมือนกัน และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของประชากรเกิดขึ้นเป็นปัจจัยดังกล่าวนั้น ได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพ ลักษณะทางกายภาพบางประการ เช่น ความสูงจากระดับน้ำทะเล อุณหภูมิ แสง ความชื้น ความเป็นกรด-เบส ฯลฯ พบว่ามีผลต่อการแพร่กระจายของประชากรของสิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
32
ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร
ความสูงจากระดับน้ำทะเล มีผลต่อการแพร่กระจายของพืชบางชนิด เช่น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 1, ,700 เมตร จะพบว่าสนสามใบขึ้นอยู่ค่อนข้างมากและที่ระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 1,000 เมตร จะพบสนสองใบขึ้นอยู่กระจัดกระจายทั่วไป อุณหภูมิ ในพื้นที่แถบทะเลทรายซึ่งมีอุณหภูมิค่อนข้างสูงนั้น มักจะพบว่ามีพืชบางชนิดเท่านั้นที่สามารถขึ้นอยู่ได้ เช่น พืชจำพวกกระบองเพชร เนื่องจากสามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูงถึง 60 องศาเซลเซียสได้ดี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
33
ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร
ความเป็นกรด - เบส พืชบางชนิด เช่น ข้าวพบว่าสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีที่สุดในสภาพดินเหนียว และในดินที่มีน้ำท่วมขังซึ่งมีค่าความเป็นกรด - เบส อยู่ในช่วง แสง มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชบางชนิด เช่น เดือย ซึ่งเป็นพืชวันสั้น (short-day plant) ต้องการแสงแดดจัดในช่วงสั้นๆ และอุณหภูมิสูงในการเจริญเติบโต ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
34
ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร
ปัจจัยทางชีวภาพ ในสภาพธรรมชาติโดยทั่วไป พบว่าสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกัน สิ่งมีชีวิตบางชนิดพบว่าเป็นปัจจัยทางชีวภาพที่เป็นปัจจัยจำกัดต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นได้ เช่น กรณีของเสือหรือสิงโตซึ่งเป็นผู้ล่ากับกวางซึ่งเป็นเหยื่อ กรณีดังกล่าวนี้พบว่าเสือหรือสิงโตจัดเป็นปัจจัยจำกัดต่อการมีชีวิตอยู่รอดของกวาง หรือกรณีของการแข่งขันเพื่อการอยู่รอดในสังคมของสัตว์ชนิดเดียวกัน พบว่าสัตว์ที่แข็งแรงกว่าจะมีโอกาสเจริญเติบโตและอยู่รอดมากกว่าสัตว์ที่อ่อนแอกว่า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยทางชีวภาพอื่นๆ ที่พบได้แก่ สิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นซึ่งพบว่ามนพื้นที่หนึ่งๆ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
35
ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร
มักจะมีสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เป็นสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นเข้ามาในพื้นที่นั้นอยู่เสมอจนทำให้สิ่งมีชีวิตเดิมที่มีอยู่ได้รับผลกระทบในลักษณะของการถูกแก่งแย่งที่อยู่อาศัยและอาหาร หรือการถูกขัดขวางการแพร่กระจายพันธุ์จากสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น เช่น ผักตบชวาที่แพร่กระจายลงสู่แหล่งน้ำและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนทำให้ผักตบไทยซึ่งเป็นพืชดั้งเดิมในแหล่งน้ำนั้นลดจำนวนลงหรือสูญพันธุ์ไป กรณีการปล่อยปลาดูด (suckermouth catfish) หรือที่รู้จักกันในชื่อปลาเทศบาล ลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ พบว่ามีผลทำให้สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นอาหารของมนุษย์บางชนิดที่วางไข่บนหน้าดินและตัวอ่อนเจริญเติบโตบนหน้าดินลดจำนวนลงหรือสูญพันธุ์ไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
36
ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร
เนื่องจากปลาดูดจะทำลายแหล่งทำรังและแหล่งวางไข่ของสัตว์และกินไข่ของสัตว์น้ำเป็นอาหาร นอกจากนี้พบว่าการระบาดของหอยเชอรี่ในแหล่งน้ำหรือนาข้าวมีผลต่อการทำลายพืชผลโดยเฉพาะกล้าข้าว เนื่องจากหอยเชอรี่สามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้ตลอดปี โดยจะวางไข่เป็นกลุ่ม กลุ่มละ ,000 ฟอง ดังภาพที่ และไข่จะฟักเป็นตัวภายใน วัน การแพร่ระบาดของหอยเชอรี่อาจมีผลทางอ้อมทำให้ปริมาณหอยโข่งในธรรมชาติลดปริมาณลงได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
37
ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร
ก ข. ภาพที่ 20 – 2 ก.หอยเชอรี่ ข.ไข่หอยเชอรี่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
38
ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร
ในต่างประเทศ เช่น ในทวีปแอฟริกาพบว่าในพื้นที่หลายแห่งมีแมลงเซทซิ (tsetse fly) ดังภาพที่ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแมลงชนิดนี้เป็นพาหะของโรคเหงาหลับ (African sleeping sickness) จึงทำให้แทบจะไม่มีผู้คนหรือสัตว์เลี้ยงอาศัยอยู่เลย ภาพที่ 20 – 3 แมลงเซทซิพาหะของโรคเหงาหลับ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
39
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
รู้หรือไม่ โรคเหงาหลับเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโพรโทซัวชนิดหนึ่งจำพวกแฟลเจลเลต ชื่อ trypanosome brucei rhodesiense และ Trypanosoma brucei gambiense ซึ่งเป็นพาหะของโรคนี้ T. brucei rhodesiense พบในพื้นที่ที่มีการทำปศุสัตว์แถบตะวันออกของทวีปแอฟริกา และ T. brucei gambiense พบในป่าแถวตอนกลางและตะวันตกของทวีปแอฟริกา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
40
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
รู้หรือไม่ โพรโทซัวชนิด T. brucei rhodesiense ที่พบในเลือดของคนที่ได้รับเชื้อฌรคเหงาหลับ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
41
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
รู้หรือไม่ เมื่อคนถูกแมลงเซทซิที่มีเชื้อโรคเหงาหลับกัด โพรโทซัวจะแพร่เข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางน้ำลายของแมลงเข้าสู่ทางผิวหนังของคนและแพร่เข้าสู่ระบบน้ำเหลือง ระบบหมุนเวียนเลือดในขณะเดียวกันโพรโทซัวก็จะมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นและแพร่กระจายเข้าสู้หัวใจและสมองเมื่อเชื้อจากโพรโทซัวแพร่เข้าสู่สมอง สารพิษที่สร้างจากเชื้อชนิดนี้ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการง่วงซึม หลับตลอดเวลา และกินอาหารไม่ได้ เกิดอาการอ่อนเพลียและทำให้ตายได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
42
ปัจจัยจำกัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร
ปัจจัยอื่นๆ สภาพทุ่งภูมิศาสตร์เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร เช่น การที่สภาพทางภูมิศาสตร์เป็นทะเล ทะเลทรายและเทือกเขาสูง สิ่งเหล่านี้จะเป็นกำแพงขวางกั้นหรือกีดขวางที่ทำให้สิ่งมีชีวิตไม่สามารถว่ายน้ำ ปีนป่าย บิน หรือลอยข้ามกำแพง กีดขวางไปยังอีกพื้นที่หนึ่งได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
43
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ให้นักเรียนยกตัวอย่างปัจจัยทางกายภาพอื่นๆ นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว ที่มีผลต่อการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตมาอีก 2 ตัวอย่าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
44
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ให้นักเรียนยกตัวอย่างการแพร่กระจายของประชากรสิ่งมีชีวิต ที่มีผลเนื่องมาจากสภาพทางภูมิศาสตร์มาสัก 2-3 ตัวอย่าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
45
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ในปัจจุบันนี้พบว่ามีภาคเอกชนและภาคธุรกิจของไทยหลายแห่ง ได้มีการพยายามนำเข้าสัตว์ต่างประเทศที่ไม่เคยมีในประเทศไทยเข้ามาเลี้ยงในเชิงธุรกิจ เช่น นกเพนกวิน แมวน้ำ นกกระจอกเทศ เป็นต้น และทำการปรับสภาพแวดล้อมที่เลี้ยงให้มีสภาพที่ใกล้เคียงกับสัตว์นั้นๆ เคยอาศัยอยู่ นักเรียนคิดว่ามีผลดีและผลเสียในเรื่องใดบ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
46
รูปแบบการแพร่กระจายของประชากร
ประชากรที่พบในธรรมชาติจะมีรูปแบบการแพร่กระจายแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งมีชีวิต อายุ และการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมอื่นๆ การแพร่กระจายของประชากรในธรรมชาติมีหลายแบบ ดังภาพที่ 20 – 4 ภาพที่ 20 – 4 รูปแบบการแพร่กระจายของประชากรในธรรมชาติ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
47
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม รูปแบบการแพร่กระจายของประชากรในธรรมชาติแต่ละแบบดังภาพที่ 20 – 4 มีผลดีและผลเสียอย่างไรบ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
48
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม นักเรียนเคยเห็นพืชมีการแพร่กระจายอยู่ในธรรมชาติเป็นแบบใดบ้าง และแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุทำให้เกิดการแพร่กระจายแบบนั้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
49
รูปแบบการแพร่กระจายของประชากร
จากภาพที่ จะเห็นว่าประชากรของสิ่งมีชีวิตมีรูปแบบการแพร่กระจาย 3 รูปแบบด้วยกัน คือ การแพร่กระจายแบบสุ่ม (random distribution) การแพร่กระจายแบบนี้พบมากในประชากรที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ โดยเฉพาะประชากรที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมือนกันและไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง จึงไม่มีการแก่งแย่งแข่งขันระหว่างสมาชิกและไม่มีการรวมกลุ่มของสมาชิก เช่น การแพร่กระจายของพืชที่มีเมล็ดปลิวไปกับลม หรือสัตว์ที่กินผลไม้และขับถ่ายอุจจาระทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ และในอุจจาระนั้นมีเมล็ดพืชปะปนอยู่จึงงอกกระจายทั่วๆ ไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
50
รูปแบบการแพร่กระจายของประชากร
การแพร่กระจายแบบรวมกลุ่ม (clumped distribution) การแพร่กระจายแบบนี้เป็นรูปแบบการแพร่กระจายของประชากรที่พบในธรรมชาติมากที่สุด ส่วนใหญ่มักพบอยู่รวมกันด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น สภาพแวดล้อมของดิน อุณหภูมิและความชื้น มีความแตกต่างกันทำให้เกิดแหล่งที่อยู่อาศัยรูปแบบต่างๆ เป็นสาเหตุให้สิ่งมีชีวิตมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เช่น ไส้เดือนดินจะพบในดินที่ร่วนซุยและมีความชื้นสูง มีอินทรียวัตถุมาก หรือการสืบพันธุ์ที่ทำให้สมาชิกในประชากรมาอยู่ร่วมกันโดนเฉพาะตัวอ่อนที่ยังอาศัยการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ เช่น สัตว์ที่อยู่เป็นกลุ่มครอบครัว เช่น ชะนี หรือรูปแบบของพฤติกรรมที่อยู่เป็นกลุ่ม เช่น ฝูงนก ฝูงวัวควาย ฝูงปลา และโขลงช้าง เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
51
รูปแบบการแพร่กระจายของประชากร
การแพร่กระจายแบบสม่ำเสมอ (uniform distribution) การแพร่กระจายแบบนี้มักพบในบริเวณที่มีปัจจัยทางกายภาพบางประการที่จำกัดในการเจริญเติบโต เช่น ความชื้น อุณหภูมิและลักษณะของดิน เป็นต้น เช่น การแก่งแย่งน้ำเพื่อการเจริญเติบโตของกระบองเพชรยักษ์ (saguaro) ที่ขึ้นในทะเลทรายของรัฐอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา การปลิวของเมล็ดยางไปตกห่างจากต้นแม่เพื่อนเว้นระยะห่างของพื้นที่ในการเจริญเติบโตเพื่อหลีกเลี่ยงการแก่งแย่งความชื้นและแสง หรือการที่ต้นไม้บางชนิดมีรากที่ผลิตสารพิษซึ่งสามารถป้องกันการงอกของต้นกล้าให้เป็นบริเวณห่างรอบๆ ลำต้น นอกจากนี้พบว่าบางครั้งการแพร่กระจายแบบนี้อาจเกิดจากพฤติกรรมทางสังคมที่กำหนดให้มีอาณาเขตรอบๆ เพื่อนหากิน สืบพันธุ์และสร้างรัง เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
52
รูปแบบการแพร่กระจายของประชากร
ภาพที่ 20 – 5 กระบองเพชรยักษ์ ขึ้นในรัฐอริโซน ประเทศสหรัฐอเมริกา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
53
20.2 ขนาดของประชากร
54
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
20.2 ขนาดของประชากร ประชากรสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติมีขนาดคงที่ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งซึ่งเป็นช่วงสั้นๆ เพราะโดยปกติแล้วขนาดของประชากรสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งนี้การเปลี่ยนของขนาดประชากรเกิดขึ้นเมื่อมีสมาชิกเข้ามาหรือออกจากกลุ่มประชากรนั้นๆ เช่น มีการเกิดหรืออพยพเข้า หรือมีการตายและการอพยพออกเกิดขึ้น เป็นต้น ดังภาพที่ 20-6 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
55
20.2 ขนาดของประชากร ภาพที่ 20-6 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
56
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามนำ ประชากรสิ่งมีชีวิตมีขนาดคงที่หรือไม่ และขนาดประชากรสิ่งมีชีวิตขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
57
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร
การเปลี่ยนแปลงของขนาดประชากรขึ้นอยู่กับอัตราที่มีสมาชิกใหม่เข้ามาในกลุ่มประชากรนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราที่มีสมาชิกออกจากกลุ่มประชากรนั้น ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรดังกล่าว ได้แก่ อัตราการเกิด การเกิดเป็นการเพิ่มจำนวนสมาชิกใหม่ในกลุ่มประชากร ซึ่งเป็นผลมาจากการสืบพันธุ์ อัตราการเกิด(natality)คำนวณได้จากจำนวนของสิ่งมีชีวิตที่เกิดใหม่ต่อจำนวนสิ่งมีชีวิตนั้นจำนวน 1000ตัว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
58
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร
ภาพที่ 20-7 ประชากรสุกรที่เกิดใหม่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
59
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร
อัตราการตาย การตายเป็นการลดจำนวนสมาชิกในกลุ่มประชากร อัตราการตาย (mortality) คำนวณได้จากจำนวนสิ่งมีชีวิตที่ตายต่อจำนวนสิ่งมีชีวิตจำนวนนั้น จำนวน 1000 ตัว การอพยพ การอพยพ (migration)มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดประชากรทั้งนี้เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายของสิ่งมีชีวิตจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งทำให้จำนวนสมาชิกของประชากรสิ่งมีชีวิตนั้นเพิ่มจำนวนขึ้นหรือลดจำนวนลงได้ซึ่งการอพยพดังกล่าวนี้มี 2 ลักษณะคือ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
60
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร
1.การอพยพเข้า (immigration)เป็นการเคลื่อนย้ายสิ่งมีชีวิตจากประชากรแหล่งอื่นเข้ามารวมกลุ่มกับประชากรที่มีอยู่เดิมทำให้จำนวนประชากรในแหล่งนั้นเพิ่มจำนวนขึ้น 2.การอพยพออก (emigration) เป็นการเคลื่อนย้ายสิ่งมีชีวิตจากประชากรแหล่งเดิมออกไปสู่แหล่งใหม่มีผลทำให้จำนวนประชากรในแหล่งเดิมนั้นลดจำนวนลง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
61
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร
ภาพที่ การอพยพของนกนางนวล ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
62
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
รู้หรือไม่ อัตราการเกิดของคนนั้นคำนวณได้จากจำนวนทารกที่เกิดจากสตรีที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ (อายุระหว่าง ปี)จำนวน 1,000 คน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
63
20.3 รูปแบบการเพิ่มของประชากร
64
20.3 รูปแบบการเพิ่มของประชากร
ประชากรของสิ่งมีชีวิตในโลกนี้มีรูปแบบการสืบพันธุ์เพื่อเพิ่มอยู่ 2 รูปแบบคือ แบบแรก เป็นการเพิ่มประชากรโดยที่สมาชิกโดยที่สมาชิกของประชากรนั้นมีการสืบพันธ์เพียงครั้งเดียวในช่วงชีวิต (single reproduction) สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ก็จะออกลูกออกหลานจากนั้นก็จะตาย พบได้ในแมลง เช่น แมลงชีปะขาว ผีเสื้อและตัวไหม เป็นต้น หรือพืชบางชนิด เช่น คะน้า กวางตุ้ง ข้าว ถั่วเขียว ลาน และไผ่ เป็นต้น แบบที่สองเป็นการเพิ่มประชากรโดยที่สมาชิกของประชากรนั้นมีโอกาสมีการสืบพันธุ์ได้หลายครั้งในช่วงชีวิต (multiple reproduction) สิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ได้แก่ สัตว์มีกระดุกสันหลัง เช่น สุนัข แมว มนุษย์ ไม้พุ่ม เช่น ชบา แก้ว เข็ม และไม้ต้น เช่น มะม่วง ขนุน ส้ม ลำไย เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
65
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามนำ สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ในโลกนี้มีแบบแผนการเพิ่มของประชากรที่เหมือนกันหรือไม่ อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
66
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม รูปแบบของการเพิ่มของประชากรรูปแบบแรกที่สมาชิกมีการสืบพันธุ์เพียงครั้งเดียวในช่วงชีวิต กับรูปแบบที่สองที่สิ่งมีชีวิตสามารถสืบพันธุ์ได้หลายครั้งในช่วงชีวิตนั้นมีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
67
20.3 รูปแบบการเพิ่มของประชากร
นักนิเวศวิทยาได้นำแบบแผนทางคณิตศาสตร์มาอธิบายการเพิ่มของประชากรจากรูปแบบการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งสองแบบนั้น ซึ่งแบบแผนทางคณิตศาสตร์นั้นช่วยให้เราสามารถทำนายแนวโน้มการเพิ่มของประชากรได้แบบแผนการเพิ่มของประชากรมี 2 รูปแบบ ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษามีดังต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
68
20.3.1 การเพิ่มของประชากรแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล
การเพิ่มของประชากรเอ็กซ์โพเนนเชียล (exponential growth) หรือแบบทวีคูณนั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตที่อัตราการเติบโตของประชากรสูงมาก มีการเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็วโดยไม่มีปัจจัยใดๆ ในสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยจำกัด เช่น การเพิ่มจำนวนประชากรพวกแมลงต่างๆ อย่างรวดเร็วในตอนต้นฤดูฝน หรือการเพิ่มของประชากรมนุษย์ หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นต้น กราฟตัวอย่างของการเพิ่มของประกรสิ่งมีชีวิตเอ็กโพเนนเชียลดังแสดงในภาพที่ 20-9 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
69
20.3.1 การเพิ่มของประชากรแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล
ภาพที่ 20-9 กราฟการเพิ่มของประชากรแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
70
20.3.1 การเพิ่มของประชากรแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล
จากกราฟจะเห็นได้ว่าการเพิ่มของประชากรแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลจะได้กราฟเป็นรูปตัวเจ (J shape)ซึ่งพบว่าการเพิ่มของประชากรแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลมีระยะของการเปลี่ยนแปลง เป็น 2 ระยะคือ ระยะที่มีการเพิ่มของประชากรอย่างช้าๆ (lag phase) เป็นระยะที่ประชากรมีการเพิ่มจำนวนค่อนข้างช้าเนื่องจากประชากรยังมีจำนวนน้อย ระยะที่มีการเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็ว (exponential growth phase) เป็นระยะที่มีการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วมากในระยะที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
71
20.3.1 การเพิ่มของประชากรแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล
ดูเหมือนว่าประชากรจะเพิ่มอย่างไม่มีที่สิ้นสุดและไม่มีปัจจัยใดๆ มาขัดขวางการเจริญเติบโตได้ลักษณะดังกล่าวนี้เป็น ภาวะเหตุการณ์ทางอุดมคติ (idearized circumstances)แต่ในธรรมชาตินั้นจะมีตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อม (environmental resistance) ได้แก่ อาหารที่อยู่อาศัยและความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆของสิ่งมีชีวิตที่มายับยั้งไม่ให้การเพิ่มประชากรเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีขีดจำกัด ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้สอดคล้องกับแนวคิดของ ทอมัส มัลทัส (Thomas Malthus) ซึ่งกราฟที่เขียนจะคล้ายรูปตัวเจในระยะแรก และเมื่อถึงระยะหนึ่งการเพิ่มของประชากรก็จะลดอย่างรวดเร็วและมีการเพิ่มขึ้นและลดลงของประชากรสลับกัน (irruptive growth) ดังภาพที่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
72
20.3.1 การเพิ่มของประชากรแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล
ภาพที่20-10 กราฟแสดงการเพิ่มของประชากรตามแนวคิดของมัลทัส ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
73
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
รู้หรือไม่ ตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อม หมายถึง ปัจจัยจำกัดทางสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย เช่น อาหาร ของเสียจากเมแทบอลิซึม การแก่งแย่งแข่งขันของสมาชิก การเป็นผู้ล่าและเหยื่อ เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้มีผลทำให้การเพิ่มจำนวนของประชากรลดลง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
74
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม การเพิ่มประชากรแบบรูปตัวเจ และตามแนวคิดของทอมัส มัลทัส มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
75
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม เพราะเหตุใดกราฟการเพิ่มประชากรตามแนวคิดของมัลทัส ในช่วงปลาย มีลักษณะขึ้นๆ ลงๆ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
76
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
รู้หรือไม่ ทอมัส เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้เสนอแนวความคิดของการเพิ่มประชากรมนุษย์ว่า ประชากรมนุษย์มีแนวโน้ม การเพิ่มแบบเรขาคณิต แต่การเพิ่มของอาหารสำหรับมนุษย์เป็นแบบเลขคณิต ซึ่งพบว่าลักษณะดังกล่าวนี้จะทำให้เกิดการไม่สมดุลระหว่างประชากรกับอาหารสำหรับบริโภคจึงทำให้มนุษย์ มีการคิดค้นหาวิธีการ ในการเพิ่มผลผลิตทางเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อรองรับกับปัญหาดังกล่าว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
77
20.3.2 การเพิ่มของประชากรแบบลอจิสติก
การเพิ่มของประชากรแบบลอจิสติก (logistic growth) เป็นการเพิ่มจำนวนประชากรที่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมหรือมีตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องตัวอย่างการเพิ่มประชากรแบบนี้ ซึ่งเป็นการศึกษาการเพิ่มจำนวนของเซลล์ยีสต์ที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ดังภาพที่ 20 – 11 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
78
20.3.2 การเพิ่มของประชากรแบบลอจิสติก
ภาพที่ กราฟการเพิ่มจำนวนของเซลล์ยีสต์แบบลอจิสติก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
79
20.3.2 การเพิ่มของประชากรแบบลอจิสติก
จากกราฟจะเห็นได้ว่าการเพิ่มประชากรแบบลอจิสติกามารถเขียนกราฟได้เป็นรูปตัวเอส (S-Shape) หรือกราฟแบบซิกมอยด์ (Sigmoidal curve) ซึ่งแบ่งระยะต่างๆ ออกได้เป็นสี่ระยะด้วยกันคือ ระยะที่ 1 : ชั่วโมงที่ 2-6 พบว่าอัตราการเพิ่มประชากรเป็นไปอย่างช้าๆ เนื่องจากประชากรเริ่มต้นอย่างมีจำนวนน้อย ระยะที่ 2 : ชั่วโมงที่ 6-10 พบว่าอัตราการเพิ่มประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากประชากรเริ่มต้น (ก่อนการแบ่งเซลล์ การเจริญเติบโต และแพร่พันธุ์) มีจำนวนมาก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
80
20.3.2 การเพิ่มของประชากรแบบลอจิสติก
ระยะที่ 3 : ชั้วโมงที่ พบว่าอัตราการเพิ่มของประชากรลดลงเนื่องจากมีตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อมเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ระยะที่ 4 : ชั่วโมงที่ พบว่ามีอัตราการเพิ่มประชากรค่อนข้างคงที่เนื่องจากประชากรสามารถปรับตัว ต่อตัวต้านทานได้ในสิ่งแวดล้อมได้ จึงมีอัตราการเกิดเท่ากับอัตราการตาย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
81
20.3.2 การเพิ่มของประชากรแบบลอจิสติก
ในการเพิ่มประชากรแบบลอจิสติกนี้ ตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อมมีผลมากขึ้นต่อการเพิ่มประชากรในระยะที่ 3 และ 4 จึงทำให้มีขีดจำกัดที่ทำให้สภาพแวดล้อมนั้นสามารถเลี้ยงดูประชากรได้ ระดับที่สภาพแวดล้อมสามารถเลี้ยงดูประชากรได้มากที่สุดนี้เรียกว่า แครีอิงคาพาวิตี้(carrying capacity) และเมื่อนำกราฟรูปตัวเจและรูปตัวเอสมาเปรียบเทียบกันเจได้ดังภาพที่ 20-12 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
82
20.3.2 การเพิ่มของประชากรแบบลอจิสติก
ภาพที่ กราฟเปรียบเทียบการเพิ่มประชากรแบบรูปตัวเจและรูปตัวเอส ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
83
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ในการเพิ่มของประชากรแบบรูปตัวเอส นี้ ตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อมมีบทบาทอย่างไรต่อการเพิ่มประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
84
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ให้นักเรียนยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่มีการเพิ่มของปะชากรแบบรูปตัวเอสมมาอีกสัก 1-2 ตัวอย่าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
85
20.4 การรอดชีวิตของประชากร
86
20.4 การรอดชีวิตของประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
นักเรียนเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมสิ่งมีชีวิตบางชนิดจึงออกลูก หรือวางไข่คราวละมากๆ และบางชนิดก็ออกลูกหรือวางไข่คราวละ 1 หรือ 2 ตัว สิ่งที่นักเรียนสงสัยหรือเคยสงสัยนี้ สามารถหาคำตอบได้จากบทเรียนต่อไปนี้ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีแบบแผนการรอดชีวิตของประชากร ซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงอายุขัย (lifespan) ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด สิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น แมลงมีช่วงอายุขัยสั้น แต่ในสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ช้าง และคน มีช่วงอายุขัยยาวนานเฉลี่ย ปี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
87
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามนำ การมีชีวิตรอดของประชากรแปรผันตามอายุของประชากรอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
88
กราฟการรอดชีวิตของประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ตลอดช่วงอายุขัยของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีอัตราการอยู่รอดในช่วงอายุขัยต่างๆ ไม่เหมือนกัน การรอดชีวิตของประชากรในช่วงวัยต่างๆ กัน ทำให้ความหนาแน่นของประชากรที่อยู่ในวัยต่างๆ แตกต่างกันด้วย ดังภาพที่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
89
กราฟการรอดชีวิตของประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ภาพที่ 20 – 13 กราฟการรอดชีวิตของประชากรสิ่งมีชีวิต ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
90
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม สัดส่วนของสมาชิกในประชากรที่มีอายุขัยต่างกัน สามารถใช้คาดคะเนขนาดของประชากรได้อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
91
กราฟการรอดชีวิตของประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กราฟการรอดชีวิตของประชากรจะมีอยู่ 3 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 สิ่งมีชีวิตมีอัตราการรอดชีวิตสูงในวัยแรกเกิด และจะตงที่เมื่อโตขึ้น จากนั้น อัตราการรอดชีวิตจะต่ำเมื่อสูงวัยขึ้น สิ่งมีชีวิตดังกล่าว เช่น คน ช้าง ม้า สุนัข เป็นต้น รูปแบบที่ 2 สิ่งมีชีวิตมีอัตราการรอดชีวิตที่เท่ากันในทุกวัย เช่น ไฮดรา นก เต่า เป็นต้น รูปแบบที่ 3 สิ่งมีชีวิตมีอัตราการรอดชีวิตต่ำในระยะแรกของช่วงชีวิต หลังจากนั้นเมื่ออายุมากขึ้นอัตราการรอดชีวิตจะสูง เช่น ปลา หอย และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
92
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม เพราะเหตุใดการอยู่รอดของประชากรในแต่ละรูปแบบจึงแตกต่างกัน มีปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการอยู่รอดของประชากรนั้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
93
20.5 ประชากรมนุษย์
94
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
20.5 ประชากรมนุษย์ ในทุกวันนี้นักเรียนคงเคยได้ยินหรือได้รับข่าวสารเกี่ยวกับ สถานภาพของประชากรมนุษย์กันมาบ้างแล้ว บ้างก็ว่าอัตราการเติบโตของประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บ้างก็ว่าในประเทศมีอัตราการเติบโตของประชากรลดลงหรือบางประเทศกำลังวิตกกังวลเกี่ยวกับจำนวนประชากรในประเทศของตนที่สืบเนื่องมาจากมีอัตราการเกิดและอัตราการตายต่ำ เป็นต้น นอกจากนี้ในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารต่างๆก็มักมีการหยิบยกปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรที่ส่งผลกระทบต่อสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอๆ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ได้รับทราบมานี้ นักเรียนคิดว่าแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ของโลกที่แท้จริงควรเป็นอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
95
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามนำ ประชากรมนุษย์ มีอัตราการเติบโตอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
96
20.5.1 การเติบโตของประชากรมนุษย์
อันที่จริงแล้วประชากรมนุษย์มีแบบแผนการเติบโตเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ถ้าหากลองพิจารณาดูกราฟการเติบโตของประชากรตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาหลายพันปีจนกระทั่งปัจจุบันจะเห็นว่าในระยะแรกการเติบโตของประชากรค่อนข้างต่ำ และคงที่นับพันๆ ปี จากนั้นประชากรก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังภาพที่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
97
20.5.1 การเติบโตของประชากรมนุษย์
ภาพที่ 20 – 14 การเติบโตของประชากรมนุษย์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
98
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม จากภาพที่ 20 – 14 ถ้าการเพิ่มประชากรมนุษย์เป็นแบบรูปตัวเจ นักเรียนคิดว่าการเพิ่มประชากรในลักษณะนี้จะมีที่สิ้นสุดหรือไม่ อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
99
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม นักเรียนคิดว่ามีตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อมอะไรบ้างที่มีผลต่อการเพิ่มประชากรมนุษย์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
100
20.5.1 การเติบโตของประชากรมนุษย์
ดังที่ทราบแล้วว่าประชากรมนุษย์ในโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ลักษณะการเพิ่มของประชากรมนุษย์มีแบบแผนการเพิ่มเป็นแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล โดยมีกราฟการเพิ่มของประชากรเป็นรูปตัวเจ ดังข้อมูลจำนวนประชากรมนุษย์ของโลก จากตารางที่ 20.1 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
101
20.5.1 การเติบโตของประชากรมนุษย์
ตาราง 20.1 เปรียบเทียบจำนวนประชากรของมนุษย์โลกในรอบทศวรรษ ปี พ.ศ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
102
เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ใช้ข้อมูลในตาราง 20.1 หาอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ในแต่ละช่วง 10 ปี โดยมีการเก็บข้อมูลเมื่อเดือนพฤษภาคมตั้งแต่ปี พ.ศ แล้วนำค่าที่ได้มาเขียนกราฟเพื่อดูแนวโน้มของอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
103
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม จากตารางในปี .ศ – 2553 แนวโน้มของจำนวนประชากรมนุษย์ของโลกเป็นอย่างไร และมีอัตราการเพิ่มเป็นเช่นไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
104
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม จากตาราง ในปี พ.ศ จำนวนประชากรมนุษย์ของโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากจะทำให้เกิดปัญหาและผลกระทบด้านใดต่อมนุษย์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
105
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดประชากรของมนุษย์
จากที่นักเรียนได้ทราบมาแล้วว่าในการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรสิ่งมีชีวิตขึ้นอยู่กับอัตราการเกิด อัตราการตายและอัตราการอพยพ ในประชากรมนุษย์ก็เช่นเดียวกันพบว่าในการศึกษาเรื่องประชากรมนุษย์ (demography)นักประชากรศาสตร์จะใช้อัตราการเกิดหรืออัตราการเกิดเชิงประเมิน (crude birth rate) และอัตราการตายหรืออัตราการตายเชิงประเมิน (crude death rate) ในการนำเสนอข้อมูลในภาพรวมอย่างคร่าวๆ ดังภาพที่ 20-15 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
106
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดประชากรของมนุษย์
ภาพที่ 20 – 15 อัตราการเกิดเชิงประเมินและอัตราการตายเชิงประเมินของประชากรในประเทศต่างๆ ในปี พ.ศ.2550 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
107
คำถาม จากภาพที่ 20-15ประชากรในประเทศใดที่มีแนวโน้มของอัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้น และในประเทศที่มีแนวโน้มของอัตราการเพิ่มของประชากรลดลงเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
108
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่ออัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรมนุษย์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
109
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม เพราะเหตุใดอัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรในประเทศโปแลนด์จึงเท่ากัน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
110
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร นอกจากขึ้นอยู่กับอัตราการเกิดและอัตราการตายแล้ว ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยใดอีกบ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
111
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 20.2 1.พิจารณาตารางแสดงจำนวนประชากรคนไทยในปี พ.ศ แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปของกราฟ ตารางจำนวนประชากรคนไทยในปี พ.ศ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
112
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 20.2 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
113
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 20.2 2.ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนประชากรคนไทยในประเด็น ต่อไปนี้ 2.1 การเพิ่มของประชากรจากอดีตถึงปัจจุบันเป็นอย่างไร ช่วงใดมีการเพิ่มจำนวนประชากรมากที่สุด เพราะเหตุใด 2.2 ในช่วงระยะปี พ.ศ – 2552 การเพิ่มจำนวนประชากรเป็นอย่างไรเพราะเหตุในจึงเป็นเช่นนั้น 2.3 การเพิ่มจำนวนประชากรมีผลต่อการขยายตัวของชุมชนเมือง เพื่อที่อยู่อาศัยการเกษตร และอุตสาหกรรมอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
114
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 20.2 2.4 การเพิ่มจำนวนประชากรมีผลต่อปริมาณความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไรและมีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมใดบ้าง นักเรียนจะมีวิธีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
115
20.5.2 โครงสร้างอายุประชากรมนุษย์
ประชากรมนุษย์มีการเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ ผลิตลูกเป็นรุ่นๆ ประชากรมนุษย์ในแต่ละรุ่นก็จะเจริญเติบโตต่อไปและสืบพันธุ์ให้ลูกหลานรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากลักษณะของ 3 กลุ่มคือ วัยก่อนเจริญพันธุ์ (pre-reproductive age) ช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิด – 14 ปี วัยเจริญพันธุ์ (reproductive age) ช่วงอายุตั้งแต่ 15 – 44 ปี และวัยหลังเจริญพันธุ์ (post – reproductive age) ช่วงอายุตั้งแต่ 45 ปี ขึ้นไปประชากรที่มีช่วงอายุที่แตกต่างกันนี้เมื่อนำมาประกอบเป็นแผนภาพโครงสร้างอายุของประชากร (age structure diagram) ซึ่งแสดงในรูปพีระมิดพบว่าถ้าหากกลุ่มระชากรในวัยก่อนเจริญพันธุ์มีขนาดใหญ่ที่สุดอัตราการเกิดของประชากรก็จะสุงกว่าอัตราการตาย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
116
20.5.2 โครงสร้างอายุประชากรมนุษย์
ดังนั้นพีระมิดโครงสร้างอายุของประชากรก็จะมีฐานกว้าง ปลายยอดแหลม ถ้าหากขนาดของกลุ่มประชากรในวัยเจริญพันธุ์เท่ากับขนาดของกลุ่มประชากรในวัยก่อนเจริญพันธุ์พีระมิดโครงสร้างอายุของประชากรจะเป็นรูประฆังคว่ำ และถ้าหากว่าขนาดเล็กกว่าขนาดของกลุ่มประชากรในวัยเจริญพันธุ์พีระมิดโครงสร้างอายุของประชากรก็จะเป็นรูปดอกบัวตูม พีระมิดโครงสร้างอายุของประชากรแบบต่างๆ แสดงดังภาพ 20-16 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
117
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
รู้หรือไม่ ในการเขียนกราฟพีระมิดโครงสร้างอายุของประชากร นิยมใช้ช่วงอายุห่างกัน ในแต่ละช่วง 5 ปี และแยกประชากรเพศชายและเพศหญิงออกจากกัน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
118
20.5.2 โครงสร้างอายุประชากรมนุษย์
ภาพที่ 20 – 16 พีระมิดโครงสร้างอายุประชากรมนุษย์แบบต่างๆ ก.พีระมิดฐานกว้างยอดแหลม ข.พีระมิดรูปกรวยปากแคบ ข.พีระมิดรูประฆังคว่ำ ง.พีระมิดรูปดอกบัวตูม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
119
20.5.2 โครงสร้างอายุประชากรมนุษย์
จากภาพพีระมิดโครงสร้างอายุประชากรมนุษย์ ทำให้สามารถคาดคะเนแนวโน้มของประชากรในประเทศนั้นๆ ได้ เช่น แบบ ก. พีระมิดฐานกว้าวยอดแหลม แสดงถึงโครงสร้างประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วพบโครงสร้างอายุประชากรแบบนี้ได้ใน ประเทศกัวเตมาลา ซาอุดิอาระเบียและประเทศในแอฟริกา เช่น เคนยาและไนเจีย เป็นต้น แบบ ข. พีระมิดรูปกรวยปากแคบ แสดงถึงโครงสร้างประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆพบโครงสร้างอายุประชากรแบบนี้ได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา และไทย เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
120
20.5.2 โครงสร้างอายุประชากรมนุษย์
แบบ ค. พีระมิดรูประฆังคว่ำ แสดงถึงโครงสร้างประชากรที่มีขนาดคงที่ พบโครงสร้างอายุประชากรแบบนี้ได้ในประเทศสเปน เดนมาร์ก ออสเตรเลีย และอิตาลี เป็นต้น แบบ ง. พีระมิดรูปดอกบัวตูม แสดงถึงโครงสร้างประชากรลดลง พบโครงสร้างอายุประชากรแบบนี้ได้ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ฮังการี สวีเดน บัลกาเรีย และสิงคโปร์ เป็นต้น นอกจากนี้ลักษณะโครงสร้างอายุประชากรสามารถสะท้อนภาพของประชากรจากอดีตถึงปัจจุบันได้ และยังสามารถได้ใช้คาดคะเนขนาดของประชากรในอนาคตได้อีกด้วย ดังแสดงในภาพที่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
121
20.5.2 โครงสร้างอายุประชากรมนุษย์
ภาพที่ 20 – 17 พีระมิดโครงร้างของประชากรมนุษย์ในปี พ.ศ.2528 และ พ.ศ.2568 ก.ประเทศที่กำลังพัฒนา ข.ประเทศที่พัฒนา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
122
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม สัดส่วนของสมาชิกในประชากรที่มีช่วงวัยต่างกันใช้คาดคะเนขนาดของประชากรได้อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
123
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม โครงสร้างอายุของประชากรใช้คาดคะเนขนาดของประชากรในอนาคตได้อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
124
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม จากภาพที่ 20 – 17 ประชากรมนุษย์ในประเทศที่พัฒนาแล้วกับประชากรมนุษย์ในประเทศที่กำลังพัฒนาในปี พ.ศ มีอัตราการเติบโตเป็นอย่างไรและแนวโน้มของการทั้ง 2 กลุ่มในปี พ.ศ มีการเติบโตเป็นอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
125
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม การเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไรบ้านต่อระบบนิเวศ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
126
20.5.2 โครงสร้างอายุประชากรมนุษย์
ประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ เป็นองค์ประกอบทางชีวภาพที่สำคัญของระบบนิเวศทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้สลายสารอินทรีย์ ถ้าหากกลุ่มของสิ่งมีชีวิตทั้ง 3 กลุ่มนี้มีขนาด สัดส่วนและการกระจายที่เหมาะสมแล้วจะทำให้ระบบนิเวศเกิดความสมดุลแต่โดยความเป็นจริงแล้วพบว่า กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้บริโภคจะมีมากที่สุด จึงทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระบบนิเวศมากขึ้นโดยเฉพาะประชากรมนุษย์ มนุษย์เป็นประชากรในระบบนิเวศที่บริโภคทรัพยากรที่มีอยู่ในธรรมชาติมากที่สุด ทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่นั้นเสียสมดุลก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่างๆ ต่อสิ่งแวดล้อตามมา ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษารายละเอียดในบทต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
127
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ประชากรมนุษย์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
128
คำถามท้ายบทที่ 20
129
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 20 1.ถ้าต้องการสำรวจประชากรปลานิล ในบ่อเลี้ยงปลาแห่งหนึ่ง นักเรียนจะมีวิธีการสำรวจได้กี่วิธี และนักเรียนจะเลือกใช้วิธีใด เพราะเหตุใด ตอบ 1.การนับจำนวนโดยตรง 2.การทำเครื่องหมายและจับซ้ำ เพราะปลาอาศัยอยู่ในบ่อเลี้ยงปลาซึ่งมีพื้นที่จำกัด อาจใช้อุปกรณ์ เช่น แห หรืออวน จับปลาจนหมดบ่อแล้วนับจำนวนได้ หรืออาจใช้วิธีจับขึ้นมาเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง ทำเครื่องหมายปลาที่จับได้ แล้วปล่อยลงบ่อไป ต่อจากนั้นทิ้งระยะเวลาพอสมควร จึงจับใหม่แล้วใช้วิธีคำนวณตามสูตรได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
130
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 20 2.นายเกรียงไกรเลี้ยงกบไว้ในบ่อขนาด 50x50 ตารางเมตร และต้องการทราบว่าในบ่อที่เลี้ยงนี้มีกบอยู่หนาแน่นมากน้อยเพียงใด จึงได้ทดลองหาความหนาแน่นของประชากรแบบทำเครื่องหมายและจับซ้ำและได้ข้อมูลดังนี้ สถานการณ์ที่ 1 นายเกรียงไกรจับกบขึ้นมาจากบ่อครั้งแรกได้กบ 1,350 ตัวทำเครื่องหมายแล้วปล่อยกบลงในบ่อ ทิ้งระยะเวลาพอสมควร จากนั้นจับกบขึ้นมาจากบ่อเป็นครั้งที่ 2พบว่ามีกบที่มีเครื่องหมายอยู่จำนวน 435 ตัวและไม่มีเครื่องหมาย 195 ตัว จากนั้นปล่อยกบลงบ่อ เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง เขาจึงทำการจับกบขึ้นมาจากบ่อเป็นครั้งที่ 3 ได้กบทั้งหมดที่มีเครื่องหมาย 613 และไม่มีเครื่องหมาย 365 ตัว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
131
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 20 2.1 กบที่นายเกรียงไกร เลี้ยงไว้ในบ่อมีจำนวนประชากรทั้งหมด เท่าไร ตอบ 1) นักเรียนสามารถเลือกข้อมูลจากการจับกบครั้งที่ 2 มาคำนวณหาค่าความหนาแน่นได้ โดยการแทนค่าจากสูตร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
132
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 20 เมื่อ P = ประชากรที่ต้องการทราบ T2 = จำนวนสัตว์ทั้งหมดที่จับได้ครั้งหลังทั้งที่มี เครื่องหมายและไม่มีเครื่องหมาย M1 = จำนวนสัตว์ที่จับได้ครั้งแรก และทำเครื่องหมาย ทั้งหมดแล้วปล่อย M2 = จำนวนสัตว์ที่มีเครื่องหมายที่จับได้ครั้งหลัง จะได้ P= (630 x 1,350)/435 = 1, ตัว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
133
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 20 2) นักเรียนสามารถเลือกข้อมูลจากการจับกบ ครั้งหลังสุด (ครั้งที่ 3) จงคำนวณหาค่าความหนาแน่น โดยแทนค่าจากสูตรจะได้ P = (978 x 1,350) / 613 = ตัว 3) หากนักเรียนนำข้อมูลจากชุดที่ 1 และชุดที่ 2 มารวมกันแล้วหาค่าความหนาแน่น นักเรียนสามารถทำได้แต่ต้องให้เหตุผลประกอบด้วยว่ากรณีเช่นนี้ จะหมายความว่า กบที่จับขึ้นมาครั้งที่ 2 จะต้องไม่ถูกปล่อยลงไปในบ่อ โดยแทนค่าจากสูตร จะได้ P = [978x[(1,350–435)+( )]/613 = 2, ตัว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
134
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 20 สถานการณ์ที่ 2 ถ้านายแดงทดลองจับกบขึ้นมาจากบ่อนี้อีกครั้ง ได้จำนวนกบทั้งหมด 1,750 ตัว เป็นกบที่มีเครื่องหมายอยู่ 365 ตัว แล้วทำเครื่องหมายให้กับกบที่ยังไม่มีเครื่องหมาย จากนั้นจึงปล่อยกบทั้งหมดลงไปในบ่อดังเดิม วันรุ่งขึ้นจับขึ้นมา 1,530 ตัว พบว่ามีเครื่องหมายทั้งหมด 1,170 ตัว 2.2 ประชากรกบที่อยู่ในบ่อทั้งหมดมีประมาณเท่าไร ตอบ โดยแทนค่าจากสูตร จะได้ P = [ 1,530 x (1, ,350)] / 1,170 = 3, ตัว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
135
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 20 จากสถานการณ์ที่ 1 และ 2 นี้จะเห็นได้ว่า การสุ่มจำนวนประชากรมากครั้งจะได้รับความหนาแน่นของประชากรที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง เพราะจำนวนประชากรที่สุ่มในแต่ละครั้งจะมากตามไปด้วย ทำให้เมื่อนำไปคำนวณหาค่าความหนาแน่น จะมีค่าความคลาดเคลื่อนที่ลดลง ตามไปด้วย ทำให้มีความแม่นยำมากขึ้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
136
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 20 3. ปัญหาการเพิ่มจำนวนประชากรมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นั้นก่อให้เกิด ปัญหาใดบ้าง และควรจะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร ตอบ ประชากรมนุษย์ เมื่อเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดปัญหาดังนี้ 1.ที่อยู่อาศัยแออัด หรือขาดแคลนที่อยู่อาศัย 2. ขาดแคลนอาหาร 3. เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม 4. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมทำให้เกิดปัญหามลพิษ เกิดโรคระบาด และเกิดความเครียดเป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
137
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 20 วิธีแก้คือ ควรมีการวางแผนครอบครัว ควบคุมอัตราการเกิดของประชากรมนุษย์ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละชุมชน ที่มนุษย์อาศัยอยู่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
138
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 20 4. ปัจจัยใดเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอพยพของประชากร ตอบ 1. สภาพแวดล้อมในถิ่นที่อยู่อาศัย เดิมไม่เหมาะสม เกิดปัญหามลพิษขึ้น 2. จำนวนประชากรหนาแน่นเกินไป เกิดการแก่งแย่งในด้านต่างๆ 3. ขาดแคลนอาหาร 4. เกิดภัยธรรมชาติ เช่น พายุ น้ำท่วม โรคระบาดต่างๆ 5. สภาพเศรษฐกิจ สังคม และ การศึกษา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
139
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 20 5. สัดส่วนของประชากร ที่มีอายุต่างกัน สามารถใช้คาดคะเนการเปลี่ยนแปลง ขนาดของประชากรในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างไร และในประเทศที่กำลังพัฒนา จำนวนประชากรในระยะก่อนสืบพันธุ์ ระยะสืบพันธุ์ และระยะหลังสืบพันธุ์ จะเป็นอย่างไร ตอบ สัดส่วนของประชากรในช่วงอายุต่างกัน สามารถใช้คาดคะเน อัตราการเกิดและจำนวนประชากรในปัจจุบัน และอนาคตได้ เพราะโครงสร้างอายุของประชากรมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการเพิ่มจำนวนของประชากร ในประเทศที่พัฒนา จำนวนประชากรในวัยก่อนเจริญพันธุ์มีมากกว่าวัยเจริญพันธุ์มาก และประชากรในวัยเจริญพันธุ์มีมากกว่าวัยหลังเจริญพันธุ์เล็กน้อย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
140
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 20 6.ในการเลี้ยงแบคทีเรีย 50 เซลล์ในจานเพาะเชื้อ แบคทีเรียแบ่งตัวทุกๆ15 นาที ถ้าคิดว่าแบคทีเรียไม่มีการตายเลย เมื่อเวลาผ่านไป 3 ชั่วโมง 6.1 จำนวนประชากรจะเพิ่มเป็นเท่าใด และแนวโน้มของกราฟ จะเป็นรูปแบบใด ตอบ เพิ่มเป็น 204,800 เซลล์ แนวโน้มของกราฟจะเป็นแบบเอ็กโพเนนเชียล โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้ ใช้สูตร ให้ p = จำนวนประชากรที่ต้องการหา l = ประชากรเริ่มแรก t = จำนวนครั้ง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
141
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 20 วิธีคำนวณเวลา 3 ชั่วโมงแบ่งตัวทุกๆ 15 นาที จะได้ t = 12 ครั้ง แทนค่า 6.2 เมื่อทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง แล้วมีตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อม ใดเกิดขึ้นบ้าง ตอบ เมื่อทิ้งไว้ระยะหนึ่งแล้ว มีตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อม เกิดขึ้นคือ ขาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัยแออัด สภาพแวดล้อมเป็นพิษ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
142
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 20 7. การแพร่กระจายของประชากรมนุษย์ในลักษณะของการอพยพจากประเทศ หนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง เกิดผลดีหรือผลเสียอย่างไร ตอบ ผลดี คือ 1.เกิดการกระจายของประชากร คือ ประชากรไม่ไปแออัด อยู่ที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง 2.เกิดการกระจายทางด้านวิชาการ และเทคโนโลยี คือ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีโอกาสนำนำความรู้ไปใช้กับประเทศที่ตนได้ไปอยู่ 3.สามารถนำแรงงานไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ กรณีที่ประชาชนย้ายจากย่านที่คนอยู่ หนาแน่นไปยังแหล่งที่ประชากรเบาบาง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
143
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 20 4.ช่วยลดความแออัดของประชากร ในบางท้องที่ลง และไปเพิ่มประชากรให้กับบริเวณอื่น 5.ทำให้เกิดการบุกเบิก นำทรัพยากรที่ถูกทอดทิ้ง มาใช้ประโยชน์ คือ เมื่อประชากรเพิ่มทรัพยากรก็จะต้องถูกนำมาใช้ให้เพียงพอกับจำนวนประชากร 6.เกิดการผสมผสานทางด้านวัฒนธรรม มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ของแต่ละประเภทมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
144
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 20 ผลเสีย คือ 1.เกิดปัญหาสังคมขึ้นในเมือง เช่น ยาเสพติด โสเภณี อาชญากรรม และ ชุมชนแออัด 2.เกิดความขัดแย้งทางการเมือง เนื่องจากการเรียกร้องเชื้อชาติ และศาสนา 3.ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ซึ่งอาจจะนำมาจากถิ่นเดิมของผู้ที่อพยพเข้ามา 4.ทำให้สุขภาพพลานามัย เสื่อมโทรม ต้องใช้เวลานานกว่าจะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ใหม่นั้นได้จึงก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมทั้งร่างกายและจิตใจ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
145
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 20 8. จากกราฟการอยู่รอด ของประชากรปลาดังภาพ เป็นรูปแบบของการมีชีวิต อยู่รอดรูปแบบใด เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น จงอธิบาย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
146
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 20 ตอบ จากกราฟการอยู่รอดของประชากร ปลาดังภาพ พบว่าการอยู่รอดของประชากรปลา จะมีอัตราการรอดชีวิตต่ำ ในระยะแรกของช่วงชีวิต เนื่องจากเมื่อปลาวางไข่แล้ว โอกาสที่ไข่ปลาจะถูกสัตว์น้ำอื่นกินเป็นอาหารมีมาก ทำให้อัตราการอยู่รอดมีน้อย ดังนั้นเส้นกราฟจึงดิ่งลงมา หลังจากนั้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป ลูกปลาที่อยู่รอดจึงมีโอกาสเจริญเติบโต กลายเป็นตัวเต็มวัย อัตราการรอดชีวิตจึงสูงขึ้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.