ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โครงสร้างและ หน้าที่ของราก
2
ราก (Root) เป็น อวัยวะหรือส่วนของพืชที่ไม่มี ข้อ ปล้อง ตา และใบ ทิศทางการเจริญเติบโต เจริญลงสู่ดินตามแรงดึงดูดของโลก(Positivegeotropism) มีกำเนิดมาจาก radicle ของต้นอ่อน (embryo) ซึ่งอยู่ภายในเมล็ด รากที่เปลี่ยนแปลงมาจากเรดิเคิล จัดเป็นรากที่มีการเจริญในระยะแรก (Primary growth) ส่วนรากของพืชใบเลี้ยงคู่หรือ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด จะมี การเจริญเติบโตขั้นที่2 (Secondary growth)
3
ภาพ ส่วนของเรดิเคิล ที่งอกจากเมล็ด
4
หน้าที่โดยทั่วไปของราก
1.ค้ำจุนส่วนต่างๆ ของพืชให้ทรงตัวอยู่ได้ (anchorage) 2.ดูดและลำเลียงน้ำ (absorption and transportation) 3.หน้าที่อื่นๆ ขึ้นกับลักษณะของรากเช่น สะสมอาหาร ยึดเกาะ ใช้ใน การหายใจเป็นต้น
5
การศึกษาโครงสร้างของราก
การศึกษาโครงสร้างของรากในระยะที่มีการเจริญขั้นต้น (Primary growth) จะแบ่งศึกษา 2 ลักษณะ คือ 1. ศึกษาโครงสร้างตามยาวของราก 2. ศึกษาโครงสร้างในภาคตัดขวาง
6
โครงสร้างตามยาวของราก
แบ่งได้ 4 บริเวณ คือ 1. บริเวณหมวกราก (Root cap) ประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมา (Parenchyma) เรียงตัวกันอย่างหลวมๆ ผนังค่อนข้างบาง มีแวคิวโอลนาดใหญ่ สามารถผลิตเมือกได้ ทำให้หมวกรากชุ่มชื้ และอ่อนตัว สะดวกค่อการชอนไช และสามารถป้องกันอันตรายให้กับบริเวณที่อยู่เหนือขึ้นไปได้
7
2. บริเวณเซลล์กำลังแบ่งตัว(Region of cell division) อยู่ถัดจากรากขึ้นมาประมาณ 1-2 mm เป็นบริเวณของเนื้อเยื่อเจริญ จึงมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส เพื่อเพิ่มจำนวน โดยส่วนหนึ่งเจริญเป็นหมวกราก อีกส่วนเจริญเป็นเนื้อเยื่อ ที่อยู่สูงถัดขึ้นไป
8
3. บริเวณเซลล์ขยายตัวตามยาว (Region of cell elongation) อยู่ถัดจากบริเวณเซลล์มีการแบ่งตัว เป็นบริเวณที่เซลล์มีการยืดยาวขึ้น
9
4. บริเวณเซลล์เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะ (Region of cell differentiation and maturation) ประกอบด้วยเซลล์ถาวรต่างๆ ซึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญมีโครงสร้างเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ บริเวณนี้จะมีเซลล์ขนราก (Root hair cell)
10
Root Structure
11
ภาพ โครงสร้างตามยาวของราก
12
โครงสร้างของรากตามภาคตัดขวาง
แบ่งศึกษา เป็น 2 กรณี คือ - โครงสร้างตัดตามขวางของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว - โครงสร้างตัดตามขวางของรากพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งสามารถแยกเป็นบริเวณ หรือชั้นต่างๆตามลักษณะเซลล์ที่เห็นได้ 3บริเวณ ดังนี้
13
เอพิเดอร์มิส (Epidermis)
14
คอร์เท็กซ์ (Cortex) เป็นอาณาเขตระหว่างชั้น epidermis และ stele ประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่ทำหน้าที่สะสมน้ำและอาหารเป็นส่วนใหญ่ ชั้นในสุดของ cortex จะเห็นเป็นเซลล์เรียงแถวเดียวเรียก เอนโดเดอร์มิส (Endodermis) ซึ่งจะมีสารซูเบอรินมาสะสมเป็นแถบเรียกแถบ แคสพาเรียนสตริพ (Casparian strip) เมื่ออายุมากขึ้นจะมีลิกนินมาสะสมเพิ่ม เห็นชัดเจนในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แต่จะมี บางช่วงที่ เซลล์มีผนังบางแทรกอยู่ในชั้นนี้และจะเป็นบริเวณที่อยู่ตรงกับแนวของไซเลม ภาพ ตำแหน่งแนวของแถบแคสพาเรียนสตริพ
15
สตีล (Stele) เป็นบริเวณที่อยู่ถัดจากชั้น endodermisเข้าไป พบว่าstele ในรากจะแคบกว่าชั้น cortex ประกอบด้วยชั้นต่างๆดังนี้ 3.1 เพอริไซเคิล (Pericycle) เป็นเซลล์ผนังบางขนาดเล็กมี 1-2 แถว พบเฉพาะในรากเท่านั้น เป็นแหล่งกำเนิดของรากแขนง ( secondary root ) ในพืชบางชนิดเนื้อเยื่อชั้นนี้จะเปลี่ยนแปลงไปเป็น คอร์กแคมเบียม (Cork cambium) 3.2 มัดท่อลำเลียง (Vascular bundle) ประกอบด้วย xylem อยู่ตรงใจกลางเรียงเป็นแฉกโดยมี phloem อยู่ระหว่างแฉก สำหรับพืชใบเลี้ยงคู่ต่อมาจะเกิดเนื้อเยื่อเจริญ vascular cambium คั่นระหว่าง xylem กับ phloem ในรากของพืชใบเลี้ยงคู่มีจำนวนแฉกน้อยประมาณ 1-6 แฉก โดยมากมักมี 4 แฉก ส่วนรากของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมักมีจำนวนแฉกมากกว่า 3.3 พิธ (pith) เป็นบริเวณตรงกลางรากหรือไส้ในของรากเห็นได้ชัดเจนในรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาส่วนรากพืชใบเลี้ยงคู่ตรงกลางมักเป็น xylem
16
ภาพ เปรียบเทียบโครงสร้างภาคตัดขวางของรากพืชใบเลี้ยงคู่และรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
17
ภาพ โครงสร้างบริเวณสตีลของรากพืชใบเลี้ยงคู่
18
ตาราง แสดงความแตกต่างระหว่างโครงสร้างภาคตัดขวางรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและรากพืชใบเลี้ยงคู่
1. มีขนราก 1. มีขนรากในช่วงที่เมล็ดงอกใหม่ เมื่อเจริญเติบโตแล้วจะไม่มีขนราก 2. มีไซเล็มเรียงเป็นแฉกมากกว่า 6 แฉก 2. มีไซเล็มเรียงเป็นแฉกประมาณ 3-4 แฉก 3. ปกติไม่มีเนื้อเยื่อวาสคิวลาร์แคมเบียม อยู่ระหว่างไซเล็มกับโฟลเอ็ม จึงไม่มีการเจริญเติบโต ในระยะทุติยภูมิ ยกเว้นพืชบางชนิด 3. มีเนื้อเยื่อวาสคิวลาร์แคมเบียม อยู่ระหว่างไซเล็ม กับ โฟลเอ็ม เพื่อให้กำเนิดเนื้อเยื่อ ที่เจริญเติบโตในระยะทุติยภูมิ 4.ไม่มีคอร์ก และคอร์แคมเบียม 4. ถ้าเป็นไม้ต้น จะมีคอร์ก และ คอร์กแคมเบียม 5. เอนโดเดอร์มิสเห็นเป็นแนวชัดเจนดี และ เห็นแคสพาเรียนสตริพ เด่นชัดกว่าในรากพืชใบเลี้ยงคู่ 5. เอนโดเดอร์มิส เรียงชั้นเดียว มีผนังค่อนข้างหนา และมีเม็ดแป้งมาก และส่วนใหญ่มักเห็นเอนโดเดอร์มิสไม่ชัด หรือ ไม่มีเลย
19
บรรณานุกรม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.