ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูล I
Aj. Narintip Chumnanya
2
เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีประโยชน์อย่างไร ?
Q. ลองจินตนาการดูว่า ถ้านักเรียนกำลังทำรายงานด้วยคอมพิวเตอร์อยู่ที่บ้าน แล้วต้องการข้อมูลส่วนอื่นๆ ที่เพื่อนรับผิดชอบ ถ้าไม่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเป็นอย่างไร ? Ans นักเรียนคงต้องโทรศัพท์บอกเพื่อนให้เอาส่วนที่เหลือมาให้ หรือพิมพ์มาคนละส่วนซึ่งไม่รู้ว่าจะปะติดปะต่อกันพอดีหรือไม่ ต้องขอบคุณวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ทำเกิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น
3
การนำคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาทำการเชื่อมโยงด้วยสัญญาณ เราเรียกว่า เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)
4
องค์ประกอบของการสื่อสาร
เราหิวข้าว !?#% สาร สื่อ=อากาศ ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร
5
สาร = จดหมาย ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร#1 สื่อ ผู้รับสาร#3 ผู้รับสาร#2
6
1 ผู้ส่งสาร (Sender) คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดสารไปสู่ผู้รับสาร
องค์ประกอบของการสื่อสาร การสื่อสาร มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ 1 ผู้ส่งสาร (Sender) คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดสารไปสู่ผู้รับสาร 2 ผู้รับสาร (Receiver)คือ ผู้ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกส่งมาจากผู้ส่งสาร 3 สาร (Message) คือ เนื้อความ หรือข้อมูลที่ออกมาจากผู้ส่งสาร 4 สื่อ (Channel) คือ ช่องทางในการสื่อสาร เช่น นักเรียนพูดคุยกันในห้องเรียน มีอากาศเป็นสื่อกลางในการส่งสารนั่นเอง
7
แบบจำลองการสื่อสาร (Communication Model)
…จากองค์ประกอบข้างต้น สามารถเขียนอธิบายอย่างง่ายได้ดังนี้ แบบจำลองการสื่อสาร (Communication Model) สื่อ สาร สาร ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร
8
รูปแบบของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารทิศทางเดียว (Simplex Communication) เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารทำหน้าที่ส่งสาร และผู้รับสารทำหน้าที่รับสารเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของผู้รับสาร และผู้ส่งสารได้เลย เช่น วิทยุ โทรทัศน์ โทรเลข เพจเจอร์ เป็นต้น ฯลฯ
9
การสื่อสารกึ่งสองทิศทาง (Half – Duplex Communication)
10
การสื่อสารสองทิศทาง (Full – Duplex Communication)
11
ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (แบ่งตามลักษณะทางภูมิศาสตร์)
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้ (Local Area Network : LAN) เป็นระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น ครอบคลุมพื้นที่จำกัด เชื่อมโยงกันในรัศมีระยะใกล้ๆ ในเขตพื้นที่เดียวกัน เช่น เครือข่ายในห้องคอมพิวเตอร์ เครือข่ายภายในโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ เครือข่ายภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ
12
ระบบเครือข่ายระยะกลาง (Metropolitan Area Network : MAN)
เป็นระบบเครือข่ายระดับเมือง ครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่า LAN เช่น เครือข่ายขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
13
ระบบเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network : WAN)
เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ห่างไกล เข้าด้วยกัน เป็นการสื่อสารระดับประเทศ หรือข้ามทวีปก็ได้ เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
14
เปรียบเทียบขนาดของ LAN ,MAN ,WAN
15
ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (แบ่งตามกลุ่มที่ใช้เครือข่าย)
เครือข่าย Internet - การทำงานผ่านระบบเครือข่าย การไม่จำกัดสิทธิการทำงานของผู้ใช้ เครือข่าย Intranet การทำงานผ่านระบบเครือข่าย การจำกัดสิทธิการทำงานเฉพาะคนภายในองค์กร ไม่สามารถใช้งาน Internet ในการทำงาน เครือข่าย Extranet - การทำงานผ่านระบบเครือข่าย สามารถใช้งาน Internet ได้
18
อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย
ฮับ (HUB) เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลาง ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ เข้าด้วยกัน
19
อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย
รีพีทเตอร์ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ส่งสัญญาณซ้ำเพื่อนำสัญญาณจากตัวกลางหนึ่งไปอีกตัวกลางหนึ่งในระยะทางที่ไกลออกไป และป้องกันการขาดหายของสายสัญญาณ
20
อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย
บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกันทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ลดลงมาก
21
อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย
เราท์เตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน คล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการ ทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มาก โดยเราท์เตอร์จะมีเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่างแต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า Routing Table ทำให้เราท์เตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทาง และเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง เพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
22
Complete Interconnect
รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่าย (Network Topology) การเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เข้าเป็นเครือข่ายแต่ละเครือข่าย จะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เราเรียกว่า โทโปโลยี (Topology) หมายถึง รูปแบบของการเชื่อมต่อเครือข่าย พิจารณาจากการลากเส้นมาเชื่อมต่อกันเกิดเป็นรูปร่างต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะมี 4 ลักษณะ ดังนี้ Star Topology Bus Ring Complete Interconnect
23
Bus Topology มีสายกลางเป็นสายหลักในการส่งข้อมูล และคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่องจะเชื่อมต่อสายรับ ส่งข้อมูลเป็นกิ่งออกไป การส่งข้อมูลจะต้องทำการตรวจสอบช่องทางการส่งสัญญาณก่อนว่า ช่องทางสัญญาณว่างหรือไม่
24
ข้อดี ข้อเสีย 1.ตรวจสอบจุดที่เป็นปัญหา ได้ยาก 2.ประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูล จะลดลงถ้าการจราจรของ ข้อมูลในเครือข่ายสูง 1.ใช้สายเคเบิลน้อย 2.สามารถขยายระบบได้ง่าย 3.ถ้ามีเครื่องเสีย 1 เครื่องก็ยัง สามารถใช้งานเครือข่ายได้ เหมือนเดิม
25
Star Topology ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุดศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือฮับ (Hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ
26
Topology Star เหรอเนี้ย เหลือเชื่อเลย !!!
27
ข้อดี ข้อเสีย 1.เปลี่ยนรูปแบบการวางสาย ได้ง่าย 2.สามารถเพิ่มจำนวนเครื่อง ลูกข่ายได้ง่าย 1.ต้องใช้สายเคเบิลจำนวนมาก 2.ถ้าเครื่องแม่ข่ายเสีย เครือข่ายจะล้มเหลว
28
Ring Topology โทโปโลยีแบบวงแหวน เป็นโทโปโลยีที่ข้อมูลจะถูกส่งต่อ ๆ กัน ไปในวงแหวนจนกว่าจะถึงเครื่องผู้รับที่ถูกต้อง ทิศทางในการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอจากเครื่องหนึ่งไปถึงอีกเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง
29
ข้อดี ข้อเสีย 1.หากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ใน ระบบจะทำให้เครือข่าย ไม่สามารถทำงานได้ 1.ใช้สายเคเบิลน้อย 2.สามารถตัดเครื่องที่เสียออก จากระบบได้
30
การเชื่อมโยงแบบสมบูรณ์ (Complete Interconnect)
เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่ายเข้าด้วยกันแบบจุดต่อจุด
31
ข้อดี ข้อเสีย 1.ใช้ช่องทางการสื่อสารมาก การขยายเครือข่ายทำได้ยาก และวุ่นวาย 1.การสื่อสารข้อมูลมีความเร็วสูง 2.โปรแกรมควบคุมการสื่อสาร ไม่ยุ่งยากซับซ้อน 3.มีเครื่องขัดข้องก็ไม่ทำให้ การสื่อสารหยุดชะงัก
32
Hybrid Topology เป็นโครงสร้างคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานความสามารถของโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายๆแบบรวมกัน
33
The End
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.