ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ห้างหุ้นส่วนสามัญ Ordinary Partnership
2
หัวข้อศึกษา ลักษณะการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ
สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ความเกี่ยวพันระหว่างบรรดาผู้เป็นหุ้นส่วน ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดกับบุคคลภายนอก การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ การชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนสามัญ
3
วัตถุประสงค์ นักศึกษาจะมีความรู้ความเข้าใจและวินิจฉัยเกี่ยวกับประเด็นดังต่อไปนี้ได้ ลักษณะการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญและยกตัวอย่างประกอบพร้อมคำอธิบายที่อาศัยหลักกฎหมายและเหตุผลสนับสนุน การเกิดและเงื่อนไขที่ควรมีในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนได้ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันได้ตามหลักกฎหมายห้างหุ้นส่วนสามัญ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนในฐานะห้างหุ้นส่วนสามัญ(ฝ่ายหนึ่ง) กับบุคคลภายนอก (ฝ่ายหนึ่ง)ได้ตามหลักกฎหมายห้างหุ้นส่วนสามัญ เงื่อนไข หลักเกณฑ์การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ เงื่อนไข หลักเกณฑ์การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญ
4
ลักษณะการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ
ให้นักศึกษาอ่านและพิจารณา ดังนี้ มาตรา 1012 มาตรา 1025 มาตรา 1026 เมื่อนำ 3 มาตรามาพิจารณาร่วมกันจะทำให้เห็นได้ว่า กรณีที่จะถือว่าเป็นการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญได้ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
5
สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงนำสิ่งใดมาลงทุนร่วมกัน
เพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์แบ่งกำไรอันจะได้แก่กิจการที่ทำนั้น หุ้นส่วนด้วยกันทั้งหมดต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน โดยไม่มีจำกัด คุณสมบัติของผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นสาระสำคัญ
6
ประเด็นในข้อ 1-3 ถือเป็นลักษณะทั่วไปของห้างหุ้นส่วนบริษัท (ดู มาตรา 1012)
ดังนั้นเราจึงต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมในประเด็นข้อ 4-5 เพื่อจะได้เข้าใจลักษณะความเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญได้ครบถ้วน
7
หุ้นส่วนด้วยกันทั้งหมดต้องรับผิดร่วมกัน
เพื่อหนี้ทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน โดยไม่มีจำกัด แต่ภาระหนี้ทั้งปวงเหล่านั้นต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 1050 ด้วย
8
มาตรา 1050 “การใดๆ อันผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้จัดทำไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนนั้น ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนย่อมมีความผูกพันในการนั้น ๆ ด้วย และต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะจัดการไปเช่นนั้น”
9
คำพิพากษาฎีกาที่ 507/2532 ห้างหุ้นส่วนแห่งหนึ่ง มีหุ้นส่วนอยู่สองคน หุ้นส่วนคนหนึ่งตายลง เจ้าพนักงานประเมินภาษีแจ้งให้หุ้นส่วนคนที่เหลือชำระภาษีที่ค้าง ผู้เป็นหุ้นส่วนคนที่เหลืออยู่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานประเมินภาษีว่า หุ้นส่วนเลิกกันแล้ว ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมรับผิดในหนี้ค่าภาษีของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามมาตรา 1025 เมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งตาย ทายาทผู้รับมรดกของหุ้นส่วนผู้ตายจึงต้องร่วมกับหุ้นส่วนที่ยังมีชีวิตอยู่รับผิดในหนี้ค่าภาษีนั้น
10
คุณสมบัติของผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นสาระสำคัญ
หมายความว่า คุณสมบัติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการห้างหุ้นส่วน หรือมีผลต่อความคงอยู่ของห้างหุ้นส่วน พิจารณาได้จากเหตุผลดังนี้ ....
11
มาตรา 1033 บัญญัติให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีอำนาจจัดการห้างหุ้นส่วนได้ ในกรณีที่มิได้มีการตกลงให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง หรือหลายคนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการโดยเฉพาะ มาตรา ห้ามมิให้ชักนำเอาบุคคลผู้อื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนโดยมิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนหมดด้วยกันทุกคน เว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่น
12
มาตรา 1041 ห้ามมิให้นำเอาบุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคน เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น มาตรา 1055 ห้างหุ้นส่วนสามัญย่อมเลิกกันด้วยเหตุดั่งกล่าวต่อไปนี้... (5) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดตาย หรือล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ
13
สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ
สัญญาเกิดขึ้นเมื่อใด สัญญาเกิดขึ้นเมื่อได้ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกนได้ทำความตกลงกันในสาระสำคัญครบถ้วนแล้ว สัญญาการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนก็เกิดขึ้นทันที แม้เป็นการตกลงด้วยวาจา หรือลายลักษณ์อักษรก็ตาม
14
Noted หากผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนตกลงเงื่อนไขในสาระสำคัญของการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเรียบร้อยแล้ว แต่เป็นการตกลงด้วยวาจาและต่างเห็นพ้องกันว่า พวกเราทุกคนจะต้องจัดทำความตกลงเป็นหนังสือ หรือลายลักษณ์อักษรให้เรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง กรณีเช่นนี้ หากมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ เพราะมีเพียงการตกลงด้วยวาจา แต่หุ้นส่วนทุกคนต่างประสงค์จะจัดทำความตกลงนั้นเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ในที่สุดก็ยังไม่ได้ตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร กรณีจะถือว่าสัญญาเกิดหรือยัง?
15
มาตรา 366 วรรคสอง ถ้าได้ตกลงกันว่าสัญญาอันมุ่งจะทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือไซร้ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ
16
Noted กรณีหุ้นส่วนทั้งหลายตกลงกันจะตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญขึ้นมาเพื่อทำการค้าอะไรอย่างหนึ่ง (ระบุประเภทแล้ว) แต่ยังไม่ได้ตกลงในเรื่องประการอื่น ๆ เลย เช่น ลงหุ้นอะไร ลงหุ้นคนละเท่าใด ยังไม่มีรายละเอียดเลย กรณีเช่นนี้จะถือว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเกิดขึ้นหรือยัง?
17
มาตรา 367 สัญญาใดคู่สัญญาได้ถือว่าเป็นอันได้ทำขึ้นแล้ว แต่แท้จริงยังมิได้ตกลงกันในข้อหนึ่งข้อใดอันจะต้องทำความตกลงให้สำเร็จ ถ้าจะพึงอนุมานได้ว่า ถึงหากจะไม่ทำความตกลงกันในข้อนี้ สัญญานั้นก็จะได้ทำขึ้นไซร้ ท่านว่าข้อความส่วนที่ได้ตกลงกันแล้วย่อมเป็นอันสมบูรณ์
18
Noted ห้างหุ้นส่วนสามัญ(ไม่จดทะเบียน) ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลที่จะมีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน ดังนั้นการตกลงหรือสัญญาใด ๆ ที่กระทำกับบุคคลภายนอก (กรณีมีการแต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ)จะต้องใช้ชื่อของหุ้นส่วนผู้จัดการโดยระบุว่าทำการแทนผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นทุกคน (มิเช่นนั้นจะกลายเป็นสัญญาส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนนั้นไป)
19
หรือ(กรณีไม่มีการแต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ)หุ้นส่วนทุกคนจะต้องลงนามเป็นคู่สัญญาเสมอ
ไม่สามารถเอาชื่อห้างหุ้นส่วน (ที่ตั้งชื่อในทางการค้า) นั้นเป็นคู่สัญญาได้ เพราะห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียนไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล
20
สาระสำคัญ(ที่ควรมี)ในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ
เพื่อเป็นแนวทางในการทำความตกลงไม่ว่าด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษร สามารถนำมาตรา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้เป็นหลักได้ดังนี้ ลักษณะ หรือประเภทแห่งกิจการของห้าง ชื่อหรือยี่ห้อของห้างและที่ทำการ วิธีการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิม หรือประเภทแห่งกิจการ วันเริ่มกิจการห้าง และระยะเวลาของสัญญา ตลอดจนการเลิกห้าง หุ้น และความรับผิดในหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน วิธีการคิดกำไรขาดทุน ระยะเวลาของการคิดกำไรขาดทุน ตลอดจนสิทธิประการอื่น ๆ เกี่ยวกับเรื่องหุ้น วิธีดำเนินงาน อำนาจหน้าที่ ตลอดจนบำเหน็จของหุ้นส่วนผู้จัดการ การรับผู้เป็นหุ้นส่วนใหม่ และการโอนหุ้น อื่น ๆ (กระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการ (ผู้ทำหน้าที่,ใครมีสิทธิเลือกอนุญาโตตุลาการ, จำนวน, วาระ, ค่าใช้จ่าย ฯลฯ)
21
ความสำคัญของการวินิจฉัยความเป็นห้างหุ้นส่วนแล้วหรือไม่?
เพื่อให้ทราบบุคคลที่มารวมตัวกันนั้นเป็นการรวมกันในฐานะเป็นห้างหุ้นส่วนแล้วหรือไม่ หากถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนกันแล้ว ต่อมาหากมีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นในระหว่างบุคคลดังกล่าวจะได้นำกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับห้างหุ้นส่วนมาใช้บังคับได้ถูกต้อง เช่น หากเป็นห้างหุ้นส่วนกันแล้ว ความรับผิดในหนี้สินต่อบุคคลภายนอกของผู้เป็นหุ้นส่วนจะเกิดขึ้นทันทีหลังสัญญาเกิด หากเป็นหุ้นส่วนกันแล้ว เวลาจะเลิกสัญญาจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายห้างหุ้นส่วนว่าด้วยการเลิกสัญญา
22
ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน
ในหัวข้อนี้จะเป็นการศึกษาถึง สิทธิ หน้าที่ต่อกันในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเองซึ่งมีหลักการพื้นฐานที่ควรทำความเข้าใจก่อน 3 ประการ คือ
23
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน หรืออีกนัยหนึ่งคือ การกำหนดสิทธิ-หน้าที่ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันนั้นสามารถตกลงกันได้โดยวาจา หรือระบุไว้ในสัญญา และผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายย่อมต้องถือปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ทั้งสิ้น แต่ต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยฯ ถือว่าใช้บังคับระหว่างกันได้เสมอ ตามหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนา
24
หากเรื่องใดที่ผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้ตกลงกันไว้ (วาจาหรือระบุในสัญญา) ให้นำบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญมาใช้บังคับแทนในเรื่องนั้น ๆ (ถ้ามีบัญญัติไว้) เช่น ตกลงตั้งห้างหุ้นส่วนกันแล้ว แต่ในสัญญามิได้ระบุว่าใครมีอำนาจในการจัดการงานของห้าง (หุ้นส่วนผู้จัดการ) หากเกิดปัญหาความคิดในการจัดการห้างไม่ตรงกัน จะจัดการอย่างไร? ดู มาตรา 1033
25
ข้อตกลงกันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเองไม่ผูกพันบุคคลภายนอกแต่อย่างไร หมายความว่า เมื่อเรากำลังพิจารณาว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งหลายต้องรับผิดในหนี้สินของห้างหรือไม่อย่างไรจะเอาเงื่อนไขอันเป็นความตกลงกันเองของผู้เป็นหุ้นส่วนขึ้นมาอ้าง หรือใช้ยันต่อบุคคลภายนอกไม่ได้ เพราะการจะรับผิดต่อบุคคลภายนอกหรือไม่เป็นเรื่องที่กฎหมายว่าด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญบัญญัติไว้ชัดเจน (ดูมาตรา ) ไม่อาจตกลงกันเองเป็นอย่างอื่นได้ เช่น
26
มาตรา 1050 บัญญัติให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้บุคคลภายนอก ต่อเมื่อหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นตามทางธรรมดาการค้าของห้างหุ้นส่วน ดังนั้น หากผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันเองในข้อหนึ่งว่า “หนี้ที่เกิดขึ้นตามทางธรรมดาการค้าของห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายตกลงรับผิดร่วมกันหมดทั้งสิ้นโดยไม่จำกัดจำนวน ยกเว้น นาย A ไม่ต้องร่วมรับผิดเลย”
27
ปัญหาคือ เมื่อเกิดภาระหนี้ตามทางธรรมดาการค้าของห้างหุ้นส่วนจำนวน 1,000,000 บาท เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนนี้มาฟ้องเรียกให้นาย A ชำระหนี้ทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว นาย A ยกเงื่อนไขที่ผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันว่า เฉพาะตนไม่ต้องรับผิดขึ้นอ้างต่อเจ้าหนี้ และไม่ยอมชำระหนี้ ได้หรือไม่?
28
หัวข้อศึกษา: ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน
มาตรา 1026 – 1048 ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนเกี่ยวกับหุ้น ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนเกี่ยวกับ กำไรขาดทุน ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนเกี่ยวกับ การจัดการงานของห้าง สิทธิ และหน้าที่อื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน
29
ความเกี่ยวพันระหว่าง ผู้เป็นหุ้นส่วนเรื่องหุ้น (เงิน ทรัพย์สิน แรงงาน)
สิ่งที่นำมาลงหุ้น (เงิน ทรัพย์สิน แรงงาน) มาตรา การเรียกให้ส่งมอบ ส่วนลงหุ้น มาตรา1031
30
ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนเกี่ยวกับหุ้น
หุ้นหมายถึง? มาตรา ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วน สิ่งที่นำมาลงหุ้นด้วยนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ ดังนี้ เงิน ทรัพย์สิน แรงงาน
31
Noted การลงหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นอาจไม่ได้ลงหุ้นเองก็ได้ อาจมีคนอื่นลงแทนเราก็ได้ เช่น พ่อต้องการให้ลูกเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน ลูกก็มีฐานะเป็นหุ้นส่วนแล้ว
32
Noted หากมิได้ลงหุ้นใด ๆ เลย แม้จะได้รับแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนก็ตาม แต่ก็ไม่ถือว่าบุคคลนั้นมีฐานะเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ (การพิจารณาผลใด ๆ ตามกฎหมายเกี่ยวกับบุคคลนั้นจึงไม่จำต้องอาศัยกฎหมายห้างหุ้นส่วน)
33
คำพิพากษาฎีกาที่1768/2520 โจทก์กับสามีจำเลยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่อมาสามีจำเลยตาย โจทก์กับจำเลยตกลงกันให้กิจการห้างหุ้นส่วนดำเนินต่อไป โดยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น โดยถอนชื่อสามีของจำเลย(ผู้ตาย) ออกและให้จำเลยเป็นหุ้นส่วนแทน แม้จะปรากฏว่าจำเลยไม่ได้ลงหุ้นเป็นตัวเงินอีก แต่ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งมีในห้างหุ้นส่วนกลายเป็นมรดกตกได้แก่จำเลย เท่ากับจำเลยลงหุ้นซึ่งสามารถตีราคาเป็นเงินได้แล้ว
34
Noted การลงหุ้นไม่ว่าด้วยเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ตาม ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจทำได้ 2 กรณีคือ
นำเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานมาลงหุ้นจริง ๆ ในวันที่ตกลงทำสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน หรือ เพียงแต่สัญญาว่าตนจะลงหุ้นด้วยเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานเท่าใด อย่างไรก็ได้ (ภายหลังจึงค่อยนำส่งค่าหุ้นตามที่ตกลง)
35
การลงหุ้นด้วยเงิน เงิน หมายถึง สิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนจะเป็นเงินไทย หรือต่างประเทศอื่นใดก็ได้ เช่น ลงหุ้นด้วยเงินบาท 800,000 บาท ลงหุ้นด้วยเงินจำนวน 1.0 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินสกุลไทย 400,000 บาท และส่วนที่เหลือเป็นเงินสกุลดอลล่าร์ (U.S.A)
36
การลงหุ้นด้วยเงินยังหมายรวมถึง การลงหุ้นด้วยตราสารทางการเงินที่เปลี่ยนมือได้อันมีลักษณะเทียบเท่ากับเงินได้ เช่น Cashier’s Cheque
37
Noted เงินที่นำมาลงทุนอาจมีการตกลงกันให้คิดดอกเบี้ยในอัตราที่ระบุกันไว้ได้ และที่สำคัญคือ การกำหนดให้คิดดอกเบี้ยเช่นนี้หาทำให้การลงทุนนี้กลายเป็นการกู้ยืมเงินไปไม่ (ยังคงเป็นหุ้นส่วนกันอยู่)
38
ตัวอย่าง กิจการแห่งหนึ่ง อยากได้ผู้ร่วมลงทุนเพิ่มเติม ผู้เป็นหุ้นส่วนเดิมจึงตกลงร่วมกันโดยการออกเงื่อนไขเพื่อชักชวนคนภายนอกให้มาร่วมลงทุนว่า “บุคคลใด ๆ ที่นำเงินมาร่วมลงทุนในกิจการทุก ๆ 100 บาทจะได้รับดอกเบี้ย 3 บาท นอกเหนือจากผลกำไร” นายหนึ่งนำเงินมาร่วมลงทุน 1,000 บาท เมื่อถึงสิ้นปีนอกจากผลกำไร (ถ้ามี) จะได้รับดอกเบี้ยรวมอีก 30 บาท กรณีเช่นนี้ถือว่า นายหนึ่งมีฐานะเป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่น หาใช่ผู้ให้กู้ไม่ เพราะถึงเวลาขาดทุนก็ย่อมต้องร่วมขาดทุนด้วย
39
การลงหุ้นด้วยทรัพย์สินอื่น
หมายถึง ทรัพย์สินอื่นใดที่จับต้องได้ เช่น อาคารสำนักงาน รถยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องจักรโรงงาน ชุดคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์เอกสาร ที่ดิน โรงงาน สร้อย แหวน เครื่องประดับ ฯลฯ ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ เช่น สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหลาย อาทิ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรอง สิทธิในประทานบัตรเหมืองแร่
40
Noted สิ่งใดที่ไม่ใช่ทรัพย์ แม้จะนำไปใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจการค้าได้ ผู้ที่นำสิ่งนั้นมาร่วมในกิจการก็ไม่นับว่าเป็นการลงหุ้น บุคคลนั้นก็ย่อมไม่ผูกพันในฐานะผู้เป็นหุ้นส่วนแต่อย่างใด เช่น ผู้มีชื่อเสียงในวงการค้านั้น ๆ หรือ ผู้มีอิทธิพล (ไม่อาจฟ้องเรียกกำไรได้ และอาจต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างได้ในบางกรณี ดู มาตรา 1054)
41
Noted การลงหุ้นด้วยทรัพย์สินจะต้องมีการตีราคาทรัพย์สินนั้นว่ามีราคาเท่าใด เพื่อจะได้ทราบถึงสัดส่วนการลงหุ้น และรวมถึงสิทธิในการรับส่วนแบ่งกำไร นำที่ดินหนึ่งแปลงมาร่วมลงหุ้น อาจตีราคาไว้ 1.0 ล้านบาท (อาจพิจารณาจากราคาตลาด หรือราคาประเมินกรมที่ดิน หรือกำหนดเอง) หากไม่มีผู้เป็นหุ้นส่วนใดคัดค้านก็ถือเอาราคาที่ตีไว้เป็นค่าลงหุ้นได้เลย ลงหุ้นด้วยนาฬิกายี่ห้อดังตีราคาไว้ 800,000 บาท หากไม่มีผู้เป็นหุ้นส่วนใดคัดค้านก็ถือเอาราคาที่ตีไว้เป็นค่าลงหุ้นได้เลย
42
Noted หากทรัพย์สินที่นำมาลงหุ้นไม่ได้ตีราคาไว้ตั้งแต่ต้นจะทำอย่างไร?
มาตรา 1027 “ในเมื่อกรณีเป็นข้อสงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิ่งซึ่งนำมาลงหุ้นด้วยกันนั้นมีค่าเท่ากัน” การใช้มาตรา 1027 ต่อเมื่อ กรณีเป็นข้อสงสัยว่าสิ่งที่นำมาลงหุ้นนั้นมีราคาเท่าใด แต่ถ้าสิ่งใดที่นำมาลงหุ้นนั้นสามารถตีราคากันได้ตามความจริงในขณะที่นำมาลงหุ้นแล้วก็ใช้มาตรานี้ไม่ได้
43
บทที่ 1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่จดทะเบียน)
ห้างหุ้นส่วน ขายดี นาย ก. เงินสด 500,000 บาท นาย ข. ที่ดิน 50 ตรว. (สภาพที่ตั้งอยู่ในท้องที่ห่างไกล ไม่ค่อยมีการซื้อขายกัน ไม่มีราคาประเมินของกรมที่ดินเลย) ไม่ได้ตีราคา ทางออกทำอย่างไร? ตีราคากันภายหลังได้ ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยก็ให้ใช้ตาม มาตรา 1027 ห้างหุ้นส่วนขายกระจาย นาย ก. เงินสด 500,000 บาท นาย ข. รถจักรยานต์ทั่วไป 1 คัน ไม่ได้ตีราคา ทางออกทำอย่างไร? ตีราคากันภายหลังได้ ใช้มาตรา 1027 ไม่ได้เพราะสิ่งที่นำมาลงหุ้นทั้งสองอย่าง ราคาแตกต่างกันอย่างมาก ไม่สงสัยว่าราคาจะเท่ากันอย่างแน่นอน แต่ ข.หากมีข้ออ้างใดว่าราคาเท่ากันได้ก็สามารถนำขึ้นมาสืบหักล้างได้ เมื่อไม่อาจตีว่าราคาเท่ากันได้ ก็เป็นหน้าที่ของแต่ละฝ่ายจะนำสืบสิ่งที่ตนมาลงหุ้นว่ามีราคาเท่าใด บทที่ 1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่จดทะเบียน)
44
นาย ก. ลงทุนด้วยเงิน 1. 0 ลบ. ส่วนนาย ข
นาย ก. ลงทุนด้วยเงิน 1.0 ลบ. ส่วนนาย ข. ลงหุ้นด้วยที่ดินโดยไม่ได้ตีราคาไว้ ส่วนนาย ค. ลงหุ้นด้วยแรงงานและไม่ได้ตีราคาไว้เช่นกัน หากมีข้อสงสัยเกิดขึ้นว่าที่ดินของนาย ข. ราคาเท่าใด หรือสงสัยว่าค่าแรงงานของนาย ค. คิดเป็นเท่าใด ต้องถือตามมาตรา 1027 ได้
45
นาย ก. ลงทุนด้วยเงิน 1. 0 ลบ. ส่วนนาย ข
นาย ก. ลงทุนด้วยเงิน 1.0 ลบ. ส่วนนาย ข. ลงหุ้นด้วยที่ดินโดยไม่ได้ตีราคาไว้ (แต่ราคาที่ดินเป็นที่ชัดแจ้งว่าราคาประเมิน หรือราคาตลาด 800,000บาท) ส่วนนาย ค. ลงหุ้นด้วยแรงงานและไม่ได้ตีราคาไว้ กรณีเช่นนี้ก็ต้องตีราคาที่ดินตามที่เป็นจริงในขณะที่นำมาลงหุ้น
46
ส่วนกรณีค่าแรงงาน ใช้มาตรา 1027 ไม่ได้ เพราะไม่อาจสันนิษฐานได้ว่ามีค่าหุ้นเท่ากัน (เพราะมีมูลค่าหุ้นแตกต่างกัน 2 ราคา คือ 1.0 ลบ และ 800,000 บาท) แต่หากเกิดปัญหาเช่นนี้ เราสามารถคำนวณค่าแรงงานได้โดยใช้ มาตรา 1028 (ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป)
47
การลงหุ้นด้วยทรัพย์สินแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่นำมาลงหุ้นให้กับห้างหุ้นส่วน การลงหุ้นด้วยการให้ห้างหุ้นส่วนมีสิทธิ ใช้ทรัพย์สินที่นำมาลงหุ้น การลงหุ้นด้วยวิธีที่แตกต่างกันย่อมส่งผลแตกต่างกันพิจารณาผลที่แตกต่างได้ดังนี้ คือ
48
การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ที่นำมาลงหุ้นให้กับห้างหุ้นส่วน (มาตรา 1030)
49
มาตรา 1030 ในเรื่องส่งมอบและซ่อมแซม (มาตรา 461-471)
ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอันใดอันหนึ่งเป็นการลงหุ้นไซร้ ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นกับห้างหุ้นส่วน ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยซื้อขายมาใช้บังคับ ในประเด็นดังนี้ ในเรื่องส่งมอบและซ่อมแซม (มาตรา ) ความรับผิดเมื่อชำรุดบกพร่อง (มาตรา ) ความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิ (มาตรา ) ข้อยกเว้นความรับผิด (มาตรา )
50
ตัวอย่าง เทียบ มาตรา 461 ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องส่งมอบทรัพย์ที่นำมาโอนกรรมสิทธิ์ให้ห้างหุ้นส่วน ถ้าไม่ส่งมอบให้ก็ถือว่าผิดสัญญา ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นก็อาจฟ้องเรียกให้ส่งมอบ หรือเรียกค่าเสียหาย หรืออาจขับออกจากการเป็นหุ้นส่วนก็ได้ (มาตรา 1031) หรือ เทียบ มาตรา 472 ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องส่งมอบทรัพย์ที่ซ่อมแซมดีแล้ว ไม่ชำรุดบกพร่อง ไม่ถูกรอนสิทธิในภายหลัง มิฉะนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนก็ต้องรับผิด เว้นแต่จะมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิดเหล่านั้นไว้
51
Noted ผู้เป็นหุ้นส่วนที่เอาทรัพย์นั้นโอนกรรมสิทธิ์ให้ห้างหุ้นส่วนเพื่อการลงหุ้นนั้น แตกต่างจากฐานะผู้ขายทรัพย์ตามปกติทั่วไป เพราะแท้จริงแล้วผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้ประสงค์จะขายทรัพย์สินเช่นการซื้อขายทั่วไป มิเช่นนั้นเท่ากับว่า บุคคลนั้นจะไม่มีฐานะเป็นหุ้นส่วน แต่จะกลายเป็นผู้ขายทรัพย์ไป เพราะขาดองค์ประกอบ “ต้องมีการลงหุ้น” (ดูตัวอย่าง)
52
นาย Aเอาที่ดินที่ตนได้ตกลงซื้อจากบุคคลภายนอกไว้ แต่ยังไม่ได้ชำระราคามาลงทุนในห้างหุ้นส่วนสามัญ โดยให้ห้างฯใช้ราคาที่ดินแทน กรณีเพียงเท่านี้ย่อมถือว่า นาย A อยู่ในฐานะเสมือนเป็นผู้ขายทรัพย์ต่างหาก หาใช่เป็นหุ้นส่วนไม่ เพราะเท่ากับนาย A ไม่มีสิ่งใดมาลงหุ้นเลย
53
(ดู แนวคำตอบจากคำพิพากษาฎีกา)
Noted ปัญหากรณีอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาโอนกรรมสิทธิ์ให้ห้างหุ้นส่วนแทนการลงหุ้นอย่างอื่น หากมีการโอนกรรมสิทธิ์ก็ต้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนเข้ารับการโอนให้ทุกคน แต่หากยังมิได้มีการโอนทางทะเบียนกันเสียที จะถือว่าตกเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันของผู้เป็นหุ้นส่วนแล้วหรือไม่ (ดู แนวคำตอบจากคำพิพากษาฎีกา)
54
คำพิพากษาฎีกาที่ 4193/2533 การเอาที่ดินมาลงหุ้นโดยไม่ได้โอนทะเบียนกัน และผู้ลงหุ้นยังมีชื่ออยู่ในโฉนดอยู่ก็ตาม ต้องถือว่าหุ้นส่วนนั้นถือที่ดินแทนผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด หุ้นส่วนผู้เป็นเจ้าของที่ดินมาแต่เดิมจะอ้างว่าที่ดินยังเป็นของตนอยู่ เพราะยังไม่ได้จดทะเบียนโอนให้ห้างหุ้นส่วน หรือโอนไปให้ผู้อื่นหาได้ไม่
55
คำพิพากษาฎีกาที่ 533/2511 เมื่อห้างเลิกและมีการชำระบัญชี ผู้ชำระบัญชีก็นำที่ดินนั้นมาขายเอาเงินชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของห้างได้ เจ้าหนี้ของห้างก็นำยึดที่ดินนั้นชำระหนี้ได้
56
คำพิพากษาฎีกาที่ 84/2512 ผู้เป็นหุ้นส่วนนำที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีโฉนดมาลงทุนเข้าหุ้นในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน โดยใช้เป็นที่ตั้งโรงสีของห้างหุ้นส่วน แม้จะไม่มีการจดทะเบียนโอนโฉนด ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีชื่อในโฉนด หรือทายาทจะมาร้องขอให้ปล่อยการยึดไม่ได้ (เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยเรื่องร้องขัดทรัพย์ กรณีจะร้องขัดทรัพย์ได้ผู้ร้องต้องมิได้เป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์ที่ร้องขัดทรัพย์ด้วย แต่กรณีนี้ตนเองและผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นเป็นเจ้าของทรัพย์ดังกล่าวร่วมกัน “เจ้าของร่วม”)
57
คำพิพากษาฎีกาที่ 933/2475 กรณีมีผู้ลงหุ้นด้วยที่ดินโดยไม่มีการโอนโฉนดที่ดินทางทะเบียน ถ้าต่อมามีการเลิกห้างหุ้นส่วนและผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายตกลงกันคืนที่ดินแก่ผู้ลงหุ้นตามเดิม ดังนี้ถือว่าความตกลงเช่นว่านั้นทำให้ที่ดินกลับคืนไปยังผู้ลงหุ้นคนนั้นทันที ไม่ตกเป็นของห้างหุ้นส่วน หรือของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนรวมกันอีกต่อไป โดยไม่ต้องมีการแก้ไขในทะเบียนแต่อย่างใด
58
ARE U OK?
59
ใช้ทรัพย์สินที่นำมาลงหุ้น
การลงหุ้นด้วยการให้ ห้างหุ้นส่วนมีสิทธิ ใช้ทรัพย์สินที่นำมาลงหุ้น
60
มาตรา 1029 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งเอาทรัพย์สินมาให้ใช้เป็นการลงหุ้นด้วยไซร้ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นกับห้างหุ้นส่วนท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยเช่าทรัพย์ในเรื่องดังต่อไปนี้ ส่งมอบและซ่อมแซม ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง ความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิ ข้อยกเว้นความรับผิด
61
แต่ความจริงแล้ว ในกฎหมายว่าด้วยเช่าทรัพย์นั้นไม่มีบัญญัติในเรื่องส่งมอบและซ่อมแซม ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง ความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิ หรือข้อยกเว้นความรับผิดเลย ดังนั้นมาตรา 549 จึงบัญญัติให้นำเอาบทบัญญัติเรื่องซื้อขายมาบังคับใช้โดยอนุโลม “การส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเช่าก็ดี ความรับผิดของผู้ให้เช่าในกรณีชำรุดบกพร่องและรอนสิทธิก็ดี ผลแห่งข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิดก็ดีเหล่านี้ ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย การซื้อขายโดยอนุโลมตามควร”
62
กรณีให้ห้างใช้ทรัพย์สิน กฎหมายซื้อขายมาใช้บังคับ โดยอนุโลม (ม.461-485)
(เฉพาะความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วน) กฎหมายซื้อขายมาใช้บังคับ โดยอนุโลม (ม )
63
ตัวอย่าง ผู้ลงหุ้นอยู่ในฐานะผู้ให้เช่า ต้องปฏิบัติดังนี้ เช่น
หน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้ว (มาตรา 546) หน้าที่ต้องรักษาและซ่อมแซมทรัพย์ เว้นแต่เป็นการบำรุงรักษาตามปกติ และเพื่อซ่อมแซมเล็กน้อย (มาตรา 547) ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่อง (มาตรา ) การรอนสิทธิ (มาตรา 549 ประกอบมาตรา ) ข้อสัญญาว่าไม่ต้องรับผิด (มาตรา 549ประกอบมาตรา )
64
ค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท X 36 เดือน
Noted การลงทุนด้วยทรัพย์สินแบบให้ใช้สอยประโยชน์เช่นนี้ เวลาคิดคำนวณเพื่อหาสัดส่วนการลงหุ้นจะเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับคนอื่น อาจคำนวณได้เช่นนี้ คือ หากนำรถยนต์มาให้ลงหุ้นให้ใช้ประโยชน์ หาอัตราค่าหุ้นดังนี้ ค่าเช่าที่ควรจะได้ต่อเดือนหรือปี x จำนวนเดือน หรือปีที่จะเปิดกิจการ ผลที่ได้คือ อัตราการลงหุ้นในห้างนี้ ค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท X 36 เดือน อัตราการลงหุ้นด้วยวิธีนี้จะเท่ากับ 360,000 บาท
65
ดังนั้น การเลือกใช้วิธีเอาทรัพย์สินให้ห้างใช้สอยประโยชน์จึงมักเกิดขึ้นในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนเปิดขึ้นมาเฉพาะภายในระยะเวลาอันสั้น มักไม่นิยมใช้กับกรณีดังนี้ การเปิดกิจการในระยะยาว เพราะหากเอาค่าเช่าคูณจำนวนเดือนมาก ๆ ผลลัพธ์ที่ได้อาจมีมูลค่าเกินราคาตัวทรัพย์ได้ ประกอบกับการคิดเช่นนี้จะมีช่องโหว่ที่ไม่ได้คิดหักค่าเสื่อมสภาพแต่ละปีลงด้วย หรือ ในกรณีไม่มีกำหนดเลิกกิจการแน่นอน เพราะหากเป็นกรณีนี้ก็จะหามูลค่าการลงทุนไม่ได้เลย เพราะไม่รู้จะใช้ระยะเวลาเท่าใดเป็นตัวคูณเพื่อหาค่าลงหุ้นได้
66
Noted ทรัพย์สินที่จะนำมาลงหุ้นโดยการให้ใช้นี้น่าจะต้องจำกัดอยู่เฉพาะทรัพย์ที่อาจให้เช่าได้เท่านั้น และต้องเป็นทรัพย์ที่อาจให้ยืมใช้คงรูปได้ มิใช่ทรัพย์ที่ให้ยืมใช้สิ้นเปลือง หรือโภคยทรัพย์ ซึ่งกรณีหลังนี้น่าจะเป็นการให้เป็นกรรมสิทธิ์ มิใช้ให้ใช้ทรัพย์
67
การลงหุ้นด้วยแรงงาน
คือ การเอาแรงกาย และ/หรือกำลังสมอง ความคิด สติปัญญาทั้งหลายมาลงเป็นทุนติดต่อกันเรื่อยไปเมื่อเข้าเป็นหุ้นส่วนแล้ว
68
การคิดคำนวณค่าแรงงาน
การลงหุ้นด้วยแรงงานมีลักษณะพิเศษคือ มิได้มีการลงหุ้นด้วยทรัพย์สินจริง ๆ ดังนั้น การคิดคำนวณค่าแรงงาน (ไม่ว่าด้วยวิธีใด) สิ่งที่ได้คือ “ทุนสมมุติ” เพื่อประโยชน์ในการคิดอัตราส่วนกำไรขาดทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ลงด้วยแรงงานผู้นั้น ดังนั้นเมื่อเป็น “ทุนสมมุติ” เวลาเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีแล้ว หากห้างฯมีเงิน หรือทรัพย์สินเหลือก็จะแบ่งคืนบรรดาหุ้นส่วนพวกที่ลงด้วยเงิน ทรัพย์สินตามสัดส่วน ยกเว้นผู้เป็นหุ้นส่วนที่ลงด้วยแรงงานซึ่งจะมิได้รับทุน(ทรัพย์สิน)คืนแต่อย่างใด เพราะเป็นทุนสมมุตินั้นเอง
69
วิธีการหา “ทุนสมมุติ” ของค่าแรงงาน
ตกลงกันไว้ในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน เช่น นาย ก. ขอลงหุ้นด้วยแรงงานโดยทำหน้าที่ผู้จัดการห้างฯ ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายตกลงกันคิดค่าแรงของนาย ก. เป็นเงิน 900,000 บาท หากมิได้ตกลง หรือมิได้ตีราคาค่าแรงงานไว้ตั้งแต่ตอนแรกเข้าเป็นหุ้นส่วน การคิดคำนวณให้เป็นไปตามมาตรา 1028
70
มาตรา บัญญัติว่า "ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดลงแต่ แรงงานของตนเข้าเป็นหุ้น และในสัญญา เข้าหุ้นส่วนก็มิได้ตีราคาค่าแรงไว้ ท่านให้คำนวณส่วนกำไรของผู้ที่เป็นหุ้นส่วนด้วยลงแรงงานเช่นนั้น เสมอด้วยส่วนถัวเฉลี่ยของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งได้ลง เงิน หรือลงทรัพย์สินเข้าหุ้นในการนั้น"
71
ตัวอย่าง 1. สมมุติมีหุ้นส่วน 3 คน คนแรกลงเงิน 1. 0 ลบ
ตัวอย่าง 1 สมมุติมีหุ้นส่วน 3 คน คนแรกลงเงิน 1.0 ลบ. คนที่ 2 ลงทรัพย์สินตกลงกันหรือตีราคาได้ 200,000 บาท คนที่ 3 ลงแรงงานไม่ได้ตีราคาไว้เลย พอถึงเวลาแบ่งกำไรก็จะมีปัญหาว่าแบ่งกำไรให้คนลงแรงเท่าใด อย่างไร? 1,000, ,000 บาท = 600,000 บาท 2 คำตอบ ผู้ที่ลงทุนด้วยแรงงานคิดค่าหุ้นได้ 600,000 บาท
72
ทดสอบ สมมุติมีผู้เป็นหุ้นส่วนรวม 5 คน
A,B ลงเงินคนละ 1.0 ลบ. C ลงด้วยเงินจำนวน 300,000 บาท D ลงหุ้นด้วยรถยนต์ 1 คัน แต่ไม่ได้ตกลงหรือตีราคากันไว้ E ลงหุ้นด้วยแรงงานไม่ได้ตีราคาไว้เลย พอถึงเวลาแบ่งกำไร ก็จะมีปัญหาว่าแบ่งกำไรให้คนลงแรงเท่าใด อย่างไร? (ต้องหามูลค่าของรถยนต์ก่อน และจึงเอาเงิน และทรัพย์สินมาหาค่าถัวเฉลี่ยสำหรับค่าแรงงาน)
73
Noted แต่ถ้ามีเพียงสองคน คือ คนหนึ่งลงแรงงาน อีกคนหนึ่งลงด้วย เงินหรือลงด้วยทรัพย์สิน การคิดค่าหุ้นของแรงงานก็ต้องกลับไปใช้ มาตรา 1027 เหมือนเดิม คือ คิดค่าหุ้นเท่า ๆ กัน จะใช้มาตรานี้ได้ต้องเป็นกรณีมีผู้เป็นหุ้นส่วนอย่างน้อย 3 คน โดยที่คนหนึ่งในนั้นต้องลงหุ้นด้วยแรงงาน
74
Noted แต่แม้มาตรา 1028 จะไม่ได้กำหนดว่า ถ้าห้างขาดทุนจะหาส่วนขาดทุนของผู้ลงหุ้นด้วยแรงงานอย่างไร
กรณีนี้หากเราพิจารณาตามมาตรา 1045 ประกอบก็จะพบว่า “...ส่วนขาดทุนเท่ากับส่วนกำไร...” ดังนั้นในกรณีของลงหุ้นด้วยแรงงานและไม่ได้ตีราคากันไว้ การหาส่วนขาดทุนในกรณีนี้ก็ต้องถือส่วนถัวเฉลี่ยของผู้ลงหุ้นเป็นเงินหรือทรัพย์สินอื่นเช่นกัน
75
การเรียกให้ส่งมอบส่วนลงหุ้น
มาตรา 1031 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดละเลยไม่ส่งมอบส่วนลงหุ้นของตนเสียเลย ท่านว่าต้อง ส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายจดทะเบียนไปรษณีย์ไปยังผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้น ให้ส่งมอบส่วนลงหุ้นของตนมาภายในเวลาอันสมควร มิฉะนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะลงเนื้อเห็นพร้อมกัน หรือโดยเสียงข้างมากด้วยกันสุดแต่ข้อสัญญาให้เอาผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นออกเสียได้
76
Noted การจะเอาผู้เป็นหุ้นส่วนออกเพราะเหตุละเลยไม่ส่งมอบส่วนลงหุ้นนั้นต้องได้ข้อเท็จจริงตามที่มาตรา 1031 บัญญัติไว้ชัดเจน เช่น ต้องเป็นกรณีผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นไม่ส่งมอบส่วนลงหุ้นเลย (ทั้งหมด)เท่านั้น หากแม้เพียงส่งมาบางส่วนแต่ยังไม่เต็มจำนวนที่ตกลงไว้จะใช้วิธีออกเสียงกำจัดออกจากห้างหุ้นส่วนไม่ได้ การส่งคำบอกกล่าวจำกัดไว้เพียงแค่ “ไปรษณีย์ลงทะเบียน”เท่านั้น การส่งโดยวิธีอื่นลำพัง เช่น SMS โทรศัพท์ โทรสาร ส่งคนไปบอกกล่าว ไม่ถือเป็นการส่งคำบอกกล่าวโดยชอบที่จะมีสิทธิกำจัดออกจากการเป็นหุ้นส่วนตามมาตรา 1031
77
ต้องให้ระยะเวลาในการส่งมอบส่วนลงหุ้นพอสมควร โดยคำนึงถึงชนิด จำนวน สภาพของสิ่งที่จะลงหุ้น หรือระยะทาง ความสะดวก ปัญหาอื่น ๆ หากในที่สุดผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ยอมส่งมอบส่วนลงหุ้น การใช้สิทธิทางศาล “ฟ้องร้อง” ให้ส่งมอบนั้นทำไม่ได้ เพราะกรณีนี้ถือว่าสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำได้ เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนไม่สมัครใจที่จะเข้าร่วมหุ้นก็ไม่สามารถบังคับได้ นอกจากลงมติให้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนตามมาตรา 1031
78
หากหุ้นส่วนผู้นั้นถูกลงมติให้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนไปแล้ว อาจยังมีความรับผิดต่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก(เฉพาะ) มูลหนี้(ธรรมดาการค้าฯ มาตรา 1050)ของห้างหุ้นส่วนที่เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกไป ตามมาตรา 1051 และ1068)
79
Noted กรณีผู้เป็นหุ้นส่วนที่ละเลยไม่ส่งมอบส่วนลงหุ้นอาจถูกผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นขอให้ศาลสั่งให้ออกเสียจากการเป็นหุ้นส่วนได้อีกวิธีหนึ่งโดยอ้างเหตุตามมาตรา 1058 (อ้างเหตุว่าผู้เป็นหุ้นส่วนกระทำการฝ่าฝืนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญในการเป็นหุ้นส่วน(ไม่ยอมส่งมอบหุ้น) ตามมาตรา 1057(1) อันถือเป็นเหตุให้เลิกห้างฯได้)
80
177229
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.