งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Example Analysis Project

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Example Analysis Project"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Example Analysis Project
ชัยณรงค์ รัตนปรีดา • ฐาปนี กกฝ้าย คอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น Analysis Example Analysis Project

2

3 1. เข้าใจปัญหา (Problem Recognition) หน้าที่ : ตะหนักว่ามีปัญหาในระบบ
ผลลัพธ์ : อนุมัติการศึกษาความเป็นไปได้ เครื่องมือ : ไม่มี บุคลากร / หน้าที่รับผิดชอบ : ผู้ใช้หรือผู้บริหารชี้แจงปัญหาต่อนักวิเคราะห์ระบบ

4 Problem Statement / เข้าใจปัญหา
ปัญหาของระบบเก่าที่พบส่วนใหญ่จะมีลักษณะการทำงานที่ไม่ค่อยเป็นระบบ ปัญหาที่พบเห็นได้บ่อยได้แก่ 1. การบันทึกข้อมูลของผู้ยืมผิดพลาด 2. การค้นหาข้อมูลของหนังสือล้าช้า 3. ไม่พบหนังสือที่ต้องการยืม 4. การตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ทำได้ยาก 5. เกิดความล้าช้าในการให้บริการ

5 2. ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) หน้าที่ : กำหนดปัญหาและศึกษาว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ ผลลัพธ์ : รายงานความเป็นไปได้ เครื่องมือ : เก็บรวบรวมข้อมูลของระบบและคาดคะเนความต้องการของระบบ บุคลากร / หน้าที่รับผิดชอบ : ผู้ใช้จะมีบทบาทสำคัญในการศึกษา นักวิเคราะห์ระบบ จะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นเกี่ยวกับปัญหา นักวิเคราะห์ระบบ คาดคะเนความต้องการของระบบและแนวทางการแก้ปัญหา นักวิเคราะห์ระบบ กำหนดความต้องการที่แน่ชัดซึ่งจะใช้สำหรับขั้นตอนการวิเคราะห์ต่อไป ผู้บริหารตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการต่อไปหรือไม่

6 User's Requirement / ศึกษาความเป็นไปได้
1 ผู้ยืมเข้ามาใช้บริการ ทำการบันทึก-แก้ไขข้อมูลผู้ยืมได้ ค้นหารายละเอียดของผู้ยืม ลบข้อมูลของผู้ยืมที่ส่งคืนหนังสือแล้ว แสดงรายละเอียดของผู้ยืมแต่ละคน แสดงรายละเอียดของผู้ยืมทั้งหมด ผู้ยืมที่เป็นสมาชิกห้องสมุด สามารถค้นหาข้อมูลหนังสือในห้องสมุดผ่านคอมพิวเตอร์ได้อย่างเดียว ไม่สามารถแก้ไข ข้อมูลในระบบได้ 1. เพิ่มเติมหนังสือภายในห้องสมุด 2. แก้ไขรายละเอียดของหนังสือ 3. ทำการลดหนังสือเมื่อมีการยืม 4. ค้นหารายละเอียดของหนังสือ 5. จัดเรียงหนังสือภายในห้องสมุด 6. แสดงรายละเอียดของหนังสือทั้งหมดภายในห้องสมุด 2 3 ป้องกันการแก้ไข ป้อนชื่อของพนักงาน ป้อนรหัสเฉพาะของพนักงาน ตรวจสอบรหัสกับชื่อ เมื่อถูกต้องก็สามารถเข้าสู่ระบบได้ตามปกติ ถ้าไม่ถูกต้อง ไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้หลังจากที่ใส่รหัสจำนวน 3 ครั้งแล้ว ทำการการบันทึก และแก้ไข ข้อมูลของพนักงานที่ผิดพลาด ค้นหารายละเอียดของพนักงานที่ต้องการ ลบข้อมูลเก่าของพนักงาน แสดงรายละเอียดของพนักงาน ให้ Username และ Password แก่พนักงานห้องสมุดเพื่อใช้นำมาใช้เข้าสู่ระบบ 4 ระบบพนักงาน(เจ้าหน้าที่ห้องสมุด) ระบบล็อกอิน ระบบหนังสือ ระบบผู้ยืม

7 3. วิเคราะห์ (Analysis) หน้าที่ : การกำหนดความต้องการของระบบใหม่ (ระบบใหม่ทั้งหมดหรือแก้ไขระบบเดิม)
ผลลัพธ์ : รายงานข้อมูลเฉพาะของปัญหา เครื่องมือ : เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล, Data Dictionary, Data Flow Diagram, Process Specification, Data Model, System Model, แบบทดลองระบบ, Flowcharts บุคลากร / หน้าที่รับผิดชอบ : ผู้ใช้จะต้องให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี นักวิเคราะห์ระบบ ศึกษาเอกสารที่มีอยู่ และศึกษาระบบเดิม เพื่อให้เข้าใจถึงขั้นตอนการทำงานละทราบว่าจุดสำคัญของระบบอยู่ที่ไหน นักวิเคราะห์ระบบ เตรียมรายงานความต้องการของระบบใหม่ นักวิเคราะห์ระบบ เขียนแผนภาพการทำงาน (Diagram) ของระบบใหม่โดยไม่ต้องบอกว่าหน้าที่ใหม่ใบระบบจะพัฒนาขึ้นมาได้อย่างไร นักวิเคราะห์ระบบ เขียนสรุปรายงานข้อมูลเฉพาะของปัญหา ถ้าเป็นไปได้นักวิเคราะห์ระบบอาจจะเตรียมแบบทดลองด้วย

8 Logical Model / วิเคราะห์
วิเคราะห์ปัญหาระบบเดิม

9 Logical Model / วิเคราะห์
กำหนดความต้องการของระบบ นักศึกษาที่ยืมหนังสือต้องเป็นนักศึกษาภายในสถาบัน ผู้ยืมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ นักศึกษา และอาจารย์ ระบบใช้รหัสนักศึกษาในการยืมหนังสือจากห้องสมุด เป็นระบบงานที่ใช้เป็นประจำ เป็นระบบงานที่ใช้กับห้องสมุด กรณีแก้ไขข้อมูลหนังสือในห้องสมุดจะทำได้ก็ต่อเมื่อเป็นเจ้าหน้าที่ห้องสมุด โดยต้องผ่านระบบ Login

10 Logical Model / วิเคราะห์
แผนภาพของระบบใหม่

11 4. ออกแบบ (Design) หน้าที่ : ออกแบบระบบใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้และฝ่ายบริหาร
ผลลัพธ์ : ข้อมูลเฉพาะของการออกแบบ (System Design Specification) เครื่องมือ : พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary), แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram), ข้อมูลเฉพาะการประมวลผล (Process Specification), รูปแบบข้อมูล (Data Model), รูปแบบระบบ (System Models), ผังงานระบบ (System Flow Charts), ผังงานโครงสร้าง (Structure Charts), ผังงาน HIPO (HIPO Chart) บุคลากร / หน้าที่รับผิดชอบ : นักวิเคราะห์ระบบ ตัดสินใจเลือกคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ (ถ้าใช้) นักวิเคราะห์ระบบเปลี่ยนแผนภาพทั้งหลายที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์มาเป็นแผนภาพลำดับขั้น นักวิเคราะห์ระบบ ออกแบบความปลอดภัยของระบบ นักวิเคราะห์ระบบ ออกแบบฟอร์มข้อมูลขาเข้า รายงาน และการแสดงผลบนจอภาพ นักวิเคราะห์ระบบ กำหนดจำนวนบุคลากรในหน้าที่ต่าง ๆ และการทำงานของระบบ ผู้ใช้ ฝ่ายบริหาร และ นักวิเคราะห์ระบบทบทวน เอกสารข้อมูลเฉพาะการออกแบบ เพื่อความถูกต้องและสมบูรณ์ของระบบ

12 ออกแบบ (Design) ตัวอย่าง DFD Level 0 (ระบบผู้ยืม)

13 ออกแบบ (Design) ตัวอย่าง Flowchart (การสืบค้นข้อมูล)

14 ออกแบบ (Design) ตัวอย่าง Database (แฟ้มหนังสือ)

15 ออกแบบ (Design) ตัวอย่าง Data Dictionary

16 ออกแบบ (Design) ตัวอย่าง Function Dependency
เป็นการขึ้นต่อกันจะเป็นลักษณะการเขียนของ Field ต่างๆ ว่ามี Field ใดบ้างของแฟ้มข้อมูลไปขึ้นตรงกับ Field หลัก หรือ มีField หลักอะไรบ้างที่มีผลต่อ Field ย่อย

17 ออกแบบ (Design) ตัวอย่าง Normalization Form (ระบบผู้ยืม) 1 3 2

18 5. สร้าง หรือพัฒนาระบบ (Construction) หน้าที่ : เขียนและทดสอบโปรแกรม
ผลลัพธ์ : โปรแกรมที่ทดสอบเรียบร้อยแล้ว เอกสารคู่มือการใช้งาน และการฝึกอบรม เครื่องมือ : เครื่องมือของโปรแกรมเมอร์ทั้งหลาย Editor, Compiler, Structure Walkthrough, วิธีการทดสอบโปรแกรม การเขียนเอกสารประกอบการใช้งาน บุคลากร / หน้าที่รับผิดชอบ : นักวิเคราะห์ระบบ ดูแลการเตรียมสถานที่และติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ (ถ้าซื้อใหม่) นักวิเคราะห์ระบบ วางแผนและดูแลการเขียนโปรแกรม ทดสอบโปรแกรม โปรแกรมเมอร์เขียนและทดสอบโปรแกรม หรือแก้ไขโปรแกรมถ้าซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป นักวิเคราะห์ระบบ วางแผนการทดสอบโปรแกรม ทีมที่ทำงานร่วมกันทดสอบโปรแกรม ผู้ใช้ตรวจสอบให้แน่ใจว่า โปรแกรมทำงานตามที่ต้องการ นักวิเคราะห์ระบบ ดูแลการเขียนคู่มือการใช้งานและการฝึกอบรม

19 1. รวบรวมความต้องการของผู้ใช้
2. วิเคราะห์ระบบเดิม 3. ออกแบบระบบใหม่ 4. ออกแบบฐานข้อมูล 5. เขียนระบบ (Coding) 6. ทดสอบระบบ โดยกลุ่มผู้ใช้บางส่วน 7. จัดทำคู่มือ / จัดอบรม

20 6. การปรับเปลี่ยน (Conversion)
ขั้นตอนนี้องค์การจะนำระบบใหม่มาใช้แทนของเก่าภายใต้การดูแลของนักวิเคราะห์ระบบ การป้อนข้อมูลต้องทำให้เสร็จเรียบร้อย และในที่สุดองค์การเริ่มต้นใช้งานระบบใหม่นี้ได้   การนำระบบเข้ามาควรจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย ที่ดีที่สุดคือ ใช้ระบบใหม่ควบคู่ไปกับระบบเก่าไปสักระยะหนึ่ง โดยใช้ข้อมูลชุดเดียวกันแล้วเปรียบเทียบผลลัพธ์ว่าตรงกันหรือไม่ ถ้าเรียบร้อยดีก็เอาระบบเก่าออกได้ และใช้ระบบใหม่ต่อไป

21 การปรับเปลี่ยนระบบจะเป็นในลักษณะยังใช้งานระบบเดิมอยู่ และใช้งานระบบใหม่ร่วมไปด้วยเพื่อที่จะไม่ให้เกิดปัญหาในการใช้งาน เช่น ไม่ชินกับการใช้ระบบใหม่ ระบบใหม่มีปัญหา เป็นต้น ระบบเดิม ระบบใหม่

22 7. บำรุงรักษา (Maintenance)
มีปัญหาในโปรแกรม (Bug) การใช้งานที่เปลี่ยนไป จากสถิติของระบบที่พัฒนาแล้วทั้งหมดประมาณ 40% ของค่าใช้จ่ายในการแก้ไขโปรแกรม เนื่องจากมี Bug ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบควรให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษา ซึ่งปกติจะคิดว่าไม่มีความสำคัญมากนัก การบำรุงรักษาระบบควรจะอยู่ภายใต้การดูแลของนักวิเคราะห์ระบบ เมื่อผู้บริหารต้องการแก้ไขส่วนใด นักวิเคราะห์ระบบต้องเตรียมแผนภาพต่าง ๆ และศึกษาผลกระทบต่อระบบ และให้ผู้บริหารตัดสินใจต่อไปว่าควรจะแก้ไขหรือไม่

23 ระบบยืมหนังสือห้องสมุดได้ถูกสร้างขึ้น เพื่อง่ายต่อการใช้งานและเป็นโปรแกรมที่สื่อสารด้วยภาพจึงใช้ Uml ในการ Design ระบบ และเขียนโปรแกรมโดยภาษาที่สามารถเข้าใจง่ายและใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ทุก Platform ปรับเปลี่ยนได้ไปตามยุคตามสมัย เพื่อความสะดวกในการปรับเปลี่ยนหรือหากผู้ใช้เกิดความต้องการใหม่ ขึ้นมาก ผู้เขียนระบบจะสามารถ ปรับปรุงให้ตรงตามความต้องการของ ผู้ใช้ได้ทันเวลา

24 อ้างอิง ผู้จัดทำ นายชัยณรงค์ รัตนปรีดา 493050193-8
technosriracha.ac.th/dln/sa/dln.asp ผู้จัดทำ นายชัยณรงค์ รัตนปรีดา นางสาวฐาปนี กกฝ้าย คอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ดาวน์โหลด ppt Example Analysis Project

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google