งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 13 การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 13 การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 13 การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต
ชีววิทยา เล่ม 3 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

2 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เนื้อหาสาระ วัฎจักรชีวิตและการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชดอกและการขยายพันธุ์พืช การวัดการเจริญเติบโตของพืช ความรู้สำหรับนักเรียน คำถามท้ายบทที่ 13 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

3 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ผลการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูล อธิบายและสรุปเกี่ยวกับวัฏจักรชีวิตของพืช ทดลอง อธิบายและสรุปโครงสร้างของดอกและการสร้างสปอร์ สืบค้นข้อมูล ทดลองและอธิบายการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ และการปฏิสนธิของพืชดอก ทดลอง อธิบาย และสรุปส่วนประกอบและชนิดของพืช สืบค้นข้อมูล อธิบาย และสรุปการเกิดผลและเมล็ด และส่วนประกอบของเมล็ด ทดลอง อธิบาย และสรุปถึงการงอกของเมล็ดชนิดต่างๆ และปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ และการสัดดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์ สืบค้นข้อมูลและอภิปรายถึงการนำความรู้เรื่องการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชดอกไปใช้ในการขยายพันธุ์พืช สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ และอธิบายการวัดการเจริญเติบโตของพืช ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

4 การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

5 การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ถ้าสังเกตดอกไม้นานาชนิด นอกจากจะมีสีต่างกันแล้วจะเห็นว่าดอกไม้ ยังมีรูปร่าง ขนาดและโครงสร้างของดอกแตกต่างกัน ดอกไม้บางชนิดมีกลีบดอกหลายกลีบซ้อนกัน หรือมีกลีบดอกไม่มากนักและมีชั้นเดียว บางชนิดดอกมีขนาดใหญ่มาก หรือมีขนาดเล็กมาก นอกจากนี้ดอกบางชนิดมีกลิ่นหอม แต่บางชนิดมีกลิ่นฉุน หรือไม่มีกลิ่น ความหลากหลายของดอกไม้เหล่นี้เกิดจากการที่พืชดอกมีวิวัฒนาการมายาวนานมาก จึงมีความหลากหลายทั้งสี รูปร่าง โครงสร้าง กลิ่น ฯลฯ ถึงแม้ว่าดอกไม้จะมีความแตกต่างกันแต่ก็ทำหน้าที่เหมือนกันคือเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืชดอก โครงสร้างของดอกมีความเหมาะสมต่อการทำหน้าที่สืบพันธุ์อย่างไร และเมล็ดเปลี่ยนแปลงเป็นต้นพืชได้อย่างไร คำถามเหล่านี้นักเรียนจะได้ศึกษาจากบทเรียนต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

6 การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต
พืชดอก (flowering plant หรือ angiosperm) เป็นกลุ่มพืชที่มีวิวัฒนาการสูงที่สุดในอาณาจักรพืช ในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจะสร้างดอก (flower) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่ในการสร้างสปอร์ที่แตกต่างไปจากพืชกลุ่มอื่น พืชดอกแต่ละชนิดสร้างสปอร์ 2 แบบคือ ไมโครสปอร์ (microspore) และเมกะสปอร์ (megaspore) นักเรียนทราบหรือไม่ว่าสปอร์ของพืชดอกนี้มีความสำคัญต่อการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและนำไปสู่การปฏิสนธิได้อย่างไร สปอร์ของพืชดอกมีการเจริญต่อไปจนมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งจะแตกต่างจากการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์ ในพืชดอกมีกระบวนการถ่ายเรณู (pollination) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

7 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
13.1 พืชดอกมีทั้งการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ นักเรียนจะเข้าใจถึงการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกได้ จะต้องมีความเข้าใจในเรื่อง วัฏจักรชีวิต (life cycle) ของพืชก่อน วัฏจักรชีวิตของพืชทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นพืชดอกหรือพืชไร้ดอกเป็น วัฏจักรชีวิตแบบสลับ (altenation of generation) กล่าวคือในช่วงชีวิตของพืชต้นหนึ่งจะมีระยะในช่วงชีวิตที่แตกต่างกันเป็น 2 ระยะสลับกัน คือ ระยะสปอโรไฟต์ (sporophyte) และระยะแกมีโทไฟต์ (gametophyte) ดังภาพที่ 13-1 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

8 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
13.1 โดยทั่วไปโครงสร้างของระยะสปอโรไฟต์ประกอบขึ้นจากเซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซม 2 ชุด หรือเซลล์ที่อยู่ในสภาพดิพลอยด์ (diploid;2n) หน้าที่ของสปอโรไฟต์คือ การสร้างสปอร์ สปอร์ที่พืชสร้างขึ้นมาจากการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสของเซลล์กำเนิดสปอร์หรือ สปอร์มาเทอร์เซลล์ (spore mother cell) ดังนั้นสปอร์ที่พืชสร้างขึ้นจึงเป็นเซลล์ที่อยู่ในสภาพ แฮพลอยด์ (haploid;n) จากนั้นสปอร์จะแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเพื่อเจริญและพัฒนาเข้าสู่ช่วงชีวิตระยะแกมีโทไฟต์ต่อไปและหน้าที่ของแกมีโทไฟต์ คือ สร้างเซลล์สืบพันธุ์ ต่อมาจะมีการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียได้เป็นไซโกต (zygote)ซึ่งจะแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์และเจริญพัฒนาไปเป็นเอ็มบริโอ (embryo) แล้วเอ็บบริโอเจริญเติบโตเป็นพืชระยะสปอโรไฟต์ต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9 13.1.1 โครงสร้างของดอกละการสร้างสปอร์
ดอกแต่ละดอกประกอบด้วยโครงสร้างที่สำคัญ4 ส่วนติดอยู่บนฐานดอก (receptacle)ได้แก่ กลีบเลี้ยง (sepal) กลีบดอก (petal) เกสรเพศผู้ (stamen) และเกสรเพศเมีย (pistil) เกสรเพศผู้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ อับเรณู (anther) และก้านชูอับเรณู (filament) ส่วนเกสรเพศเมียแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน ส่วนล่างสุดที่ติดกับฐานดอกมักมีลักษณะโป่งพองออกมากกว่าส่วนอื่นเรียก รังไข่ (ovary) ต่อจากรังไข่ขึ้นไปคือ ก้านเกสรเพศเมีย (style) และบริเวณปลายสุดคือ ยอดกสรเพศเมีย (stigma) ภายในรังไข่มีโครงสร้างเป็นก้อนกลมหรือรีขนาดเล็กเรียก ออวุล (ovule) กลีบเลี้ยงและกลีบดอกติดอยู่เป็นวงบนฐานดอก เรียกรวมกันว่า วงกลีบ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

10 13.1.1 โครงสร้างของดอกละการสร้างสปอร์
ดอกที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ส่วนเรียก ดอกสมบูรณ์ (complete flower) แต่ถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปไม่ครบทั้ง 4 ส่วน เรียก ดอกไม่สมบูรณ์ (incomplete flower) และดอกที่มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ภายในดอกเดียวกัน เรียก ดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) แต่ถ้ามีเกสรเพศผู้หรือเกสรเพศเมียเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เรียก ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (imperfect flower) ดอกที่มีเฉพาะเกสรเพศผู้เรียก ดอกเพศผู้ ดอกที่มีเฉพาะเกสรเพศเมียเรียก ดอกเพศเมีย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

11 13.1.1 โครงสร้างของดอกละการสร้างสปอร์
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

12 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ดอกสมบูรณ์เพศจำเป็นจะต้องเป็นดอกสมบูรณ์ด้วยหรือไม่ อย่างไร? ตอบ ไม่จำเป็น ดอกสมบูรณ์เพศคือ ดอกที่มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียในดอกเดียว โดยอาจจะขาดส่วนของกลีบเลี้ยงหรือกลีบดอกส่วนใดส่วนหนึ่งไปก็ได้ แต่ดอกสมบูรณ์ต้องมีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ส่วน คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

13 13.1.1 โครงสร้างของดอกละการสร้างสปอร์
จากโครงสร้างของดอกยังสามารถจำแนกประเภทของดอกได้อีก โดยพิจารณาจากตำแหน่งของรังไข่ เมื่อเทียบกับตำแหน่งวงกลีบซึ่งได้แก่ดอกประเภทที่มีรังไข่เหนือวงกลีบ เช่น ดอกมะเขือ จำปี ยี่หุบ บัว บานบุรี พริก ถั่ว มะละกอ ส้ม เป็นต้น และดอกประเภทที่มีรังไข่ใต้วงกลีบ เช่น ดอกตำลึง ฟักทอง แตงกวา บวบ ฝรั่ง ทับทิม กล้วย พลับพลึง เป็นต้น ดังภาพที่ 13-3 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

14 13.1.1 โครงสร้างของดอกละการสร้างสปอร์
จากที่นักเรียนได้ศึกษาโครงสร้างของดอกที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ มาแล้ว สามารถแบ่งชนิดของดอกตามจำนวนที่อยู่บนก้านดอกได้เป็น 2 ชนิด คือ ดอกเดี่ยว(solitary flower) และดอกช่อ (inflorescences) ดอกเดี่ยวคือ ดอกที่มีดอกเพียง 1 ดอกบนก้านดอก เช่น กุหลาบ บัว เป็นต้น ดอกช่อคือ ดอกที่มีดอกย่อยมากกว่า 1 ดอก ติดอยู่บนแกนช่อดอกซึ่งเป็นส่วนที่ต่อออกไปจากก้านช่อดอก เช่น กล้วยไม้ เข็ม ราชพฤกษ์ ทานตะวัน เฟื่องฟ้า เป็นต้น ซึ่งลักษณะของดอกเดี่ยวและดอกช่อสามารถเขียนเป็นแผนภาพแสดงได้ ดังภาพที่ 13-4 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

15 13.1.1 โครงสร้างของดอกละการสร้างสปอร์
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

16 13.1.1 โครงสร้างของดอกละการสร้างสปอร์
ดอกของพืชบางชนิดที่เป็นดอกช่อ แต่มักมีความเข้าใจว่าเป็นดอกเดี่ยว เช่น ทานตะวัน ดาวเรือง ดาวกระจาย บานชื่อ เป็นต้น เนื่องจากก้านช่อดอกของพืชเหล่านี้จะหดสั้น และขยายแผ่ออกเป็นวงคล้ายจานเรียก ฐานดอกร่วม (common receptacle) ดังนั้นส่วนที่เห็นคล้ายเป็นกลีบดอกติดอยู่ที่วงรอบนอกของฐานดอกร่วมคือ ดอกย่อยที่เรียกว่า ดอกย่อยวงนอก ซึ่งมักเป็นดอกเพศเมีย อาจมี 1 ชั้นหรือมากกว่าก็ได้ ถัดเข้ามาจะเห็นดอกย่อยที่มีลักษณะคล้ายเป็นหลอดอยู่เบียดกันแน่นเป็นกลุ่มอยู่บริเวณตรงกลางของฐานดอกร่วมเรียกว่า ดอกย่อยวงใน ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดังภาพที่ 13-5 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

17 13.1.1 โครงสร้างของดอกละการสร้างสปอร์
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

18 กิจกรรมที่ 13.1 โครงสร้างของดอก
ตอนที่ 1 วัสดุอุปกรณ์ 1.ตัวแทนของดอกชนิดต่างๆ ในกลุ่มต่อไปนี้อย่างน้อยกลุ่มล่ะ 1 ชนิด กลุ่มที่ 1 กล้วยไม้สกุลหวาย กลุ่มที่ 2 หางนกยูง ราชพฤกษ์ อินทนิลน้ำ แก้ว กลุ่มที่ 3 บัวหลวง จำปี กระดังงา การเวก น้อยหน่า กุหลาบ กลุ่มที่ 4 ฝักทอง ตำลึง บวบ กลุ่มที่ 5 มะละกอ ปัตตาเวีย กลุ่มที่ 6 มะลิ พุด มะเขือ พริก เข็ม กลุ่มที่ 7 ทานตะวัน บานชื่น ดาวเรือง ดาวกระจาย กลุ่มที่ 8 กล้วย ธรรมรักษา เฟื่องฟ้า พุทธรักษา โป๊ยเซียน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

19 กิจกรรมที่ 13.1 โครงสร้างของดอก
2. ชุดเครื่องมือผ่าตัด 3. แว่นขยาย วิธีการทดลอง 1.ศึกษาลักษณะดอก 8 กลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณา 1.1 ประเภทของดอก 1.2 ส่วนประกอบที่เป็นโครงสร้างหลัก 1.3 จำนวนเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย 1.4 จำนวนรังไข่ในแต่ละดอก 2.บันทึกผลการทดลอง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ดอกชนิดใดเป็นดอกสมบูรณ์และดอกชนิดใดเป็นดอกไม่สมบูรณ์? ตอบ ดอกสมบูรณ์เพศคือ กล้วยไม้ หางนกยูง กระดังงา มะเขือ ทานตะวัน พุทธรักษา ดอกไม่สมบูรณ์ คือ ฟักทองและปัตตาเวีย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

21 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ดอกแต่ละชนิดมีโครงสร้างของดอกแตกต่างกันอย่างไร? ตอบ ดอกแต่ละชนิดมีโครงสร้างของดอกแตกต่างกันคือ ดอกที่มีทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอยู่ในดอกเดียวกัน ได้แก่ กล้วยไม้ หางนกยูง กระดังงา ฟักทอง ปัตตาเวีย มะเขือ ทานตะวัน พุทธรักษา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

22 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ดอกชนิดใดมีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย? ตอบ กล้วยไม้ หางนกยูง กระดังงา มะเขือ ทานตะวัน พุทธรักษา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

23 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ดอกชนิดใดมีเฉพาะเกสรเพศผู้ หรือเกสรเพศเมียอย่างใดอย่างหนึ่ง? ตอบ ฟักทอง ปัตตาเวีย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

24 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ดอกชนิดใดเป็นดอกเดี่ยว และดอกชนิดใดเป็นดอกช่อ? ตอบ ดอกที่เป็นดอกเดี่ยวคือ กระดังงา ฟักทอง มะเขือ ดอกที่เป็นช่อคือ กล้วยไม้ หางนกยูง ปัตตาเวีย ทานตะวัน พุทธรักษา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

25 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ดอกแต่ละชนิดใน 1 ดอก มีจำนวนรังไข่เท่ากันหรือไม่ อย่างไร? ตอบ ชนิดที่1 ดอกมีจำนวนรังไข่ 1 รังไข่เท่ากัน ได้แก่ กล้วยไม้ หางนกยูง ฟักทอง ปัตตาเวีย มะเขือ ทานตะวัน พุทธรักษา ชนิดที่1 ดอกมีหลายรังไข่ ได้แก่ กระดังงา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

26 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ถ้าบนก้านดอกมีดอกอยู่หลายดอก การแตกแขนงออกจากก้านช่อดอกมีลักษณะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร? ตอบ มีทั้งที่มีการแตกแขนงออกจากก้านช่อดอกที่เหมือนกัน เช่น กล้วยไม้ หางนกยูง ที่ดอกย่อยเกิดขึ้นบนแกนดอกช่อ(rachis) โดยมีก้านดอกย่อยของแต่ละดอกยาวใกล้เคียงกัน ส่วนดอกปัตตาเวียจะมีก้านดอกช่อยาวมาก ส่วนกลุ่มดอกช่อจะเกิดบริเวณใกล้ๆยอด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

27 กิจกรรมที่ 13.1 โครงสร้างของดอก
ตอนที่ 2 วัสดุอุปกรณ์ 1.ดอกชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้ กล้วย เข็ม ตำลึง พุทธรักษา มะลิ มะเขือ มะละกอ 2.ชุดเครื่องมือผ่าตัด 3.แว่นขยาย วิธีการทดลอง 1.นำดอกชนิดต่างๆ ตามที่กำหนดมาผ่าตามยาวให้ผ่านรังไข่ เพื่อศึกษาตำแหน่งของ รังไข่เหนือวงกลีบ (superior ovary) หรือรังไข่ใต้วงกลีบ (inferior ovary) และตำแหน่งที่ออวุลติดอยู่ในรังไข่ รวมทั้งจำนวนออวุลต่อนึ่งรังไข่ 2.บันทึกและวาดภาพตำแหน่งของรังไข่และออวุล 3.จัดกลุ่มของดอกโดยใช้ตำแหน่งของรังไข่เป็นเกณฑ์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

28 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ดอกชนิดใดมีรังไข่เหนือวงกลีบและชนิดใดมีรังไข่ใต้วงกลีบ? ตอบ ดอกที่มีรังไข่เหนือวงกลีบได้แก่ เข็ม มะเขือ มะลิ มะละกอ ส่วนดอกที่มีรังไข่ใต้วงกลีบได้แก่ กล้วย ตำลึง พุทธรักษา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

29 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ดอกชนิดใดที่ในรังไข่มีเพียงออวุลเดียวและดอกชนิดใดที่ในรังไข่มีออวุลจำนวนมาก? ตอบ ดอกที่รังไข่มีเพียงออวุลเดียว ได้แก่ เข็ม มะเขือ มะลิ มะละกอ ส่วนดอกที่รังไข่มีออวุลจำนวนมากได้แก่ ตำลึง ทานตะวัน พุทธรักษา กล้วย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

30 13.1.1 โครงสร้างของดอกละการสร้างสปอร์
ส่วนประกอบของดอกแต่ละส่วนมีหน้าที่แตกต่างกันไป กลีบเลี้ยงโดยปกติมักมีสีเขียวทำหน้าที่ป้องกันส่วนประกอบอื่นๆ ของดอกที่อยู่ด้านในเอาไว้ กลีบดอกมักมีรูปร่างและสีสันสวยงามเพื่อดึงดูดแมลงหรือสัตว์อื่นๆ สำหรับเกสรเพศผู้สร้างไมโครสปอร์และเกสรเพศเมียสร้างเมกะสปอร์ ภายในอับเรณูของเกสรเพศผู้จะพบช่องลักษณะค่อนข้างกลม โดยทั่วไปพบ 4 ช่อง เรียกโพรงอับเรณุ (pollen sac) ภายนมีไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์ (microspore mother cell) อยู่เป็นจำนวนมากที่พร้อมจะแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเพื่อสร้างไมโครสปอร์ต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

31 13.1.1 โครงสร้างของดอกละการสร้างสปอร์
ส่วนออวุลภายในรังไข่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่เรียด นิวเซลัส (nucellus) ซึ่งถูกหุ้มล้อมด้วยเนื้อเยื่อที่เรียกว่า ผนังออวุล (integument) ยกเว้นบริเวณส่วนปลายที่ผนังออวุลหุ้มไม่รอบจึงเกิดเป็นช่องเล็กๆเรียก ไมโครไพล์ (micropyle) ภายในนิวเซลัสจะพบเซลล์ขนาดใหญ่กว่าเซลล์อื่นจำนวน 1 เซลล์ ทำหน้าที่เป็น เมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์ (megaspore mother cell) ซึ่งจะแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเพื่อสร้างเมกะสปอร์จำนวน 4 เซลล์ ดังภาพที่ 13-6 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

32 13.1.1 โครงสร้างของดอกละการสร้างสปอร์
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

33 13.1.2 เรณู ถุงเอ็มบริโอ การสร้างเซลล์สืบพันธุ์และการปฏิสนธิ
พืชดอกมีสปอร์ที่เจริญพัฒนาเข้าสู่ระยะแกมีโทไฟต์อยู่ภายในดอกบนสปอร์โรไฟต์ เมื่อไมโครสปอร์แบ่งนิวเครียสแบบไมโทซิสจะได้ 2 นิวเครียส คือ เจเนอเรทิฟนิวเครียส (generative nucleus) และทิวบ์นิวเครียส (tube nucleus) โครงสร้างที่เกิดขึ้นหลังการแบ่งนิวเครียสนี้เรียกว่า เรณู (pollen) ซึ่งมักจะมีการกระจายออยจากดอกเพื่อประโยชน์ในการผสมพันธุ์ เรียกว่าการ ถ่ายเรณู กระบวนการถ่ายเรณูนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่เกิดขึ้นในพืชดอกแทนการกระจายสปอร์ของพืชอื่นๆ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

34 13.1.2 เรณู ถุงเอ็มบริโอ การสร้างเซลล์สืบพันธุ์และการปฏิสนธิ
เมื่อเรณูตกบนยอดเกสรเพศเมีย เจเนอเรทิฟนิวเครียสจะเกิดไมโทซิสเพื่อสร้างสเปิร์มนิวเคลียส (sperm nucleus) 2 นิวเครียสทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ ดังนั้นเรณูจึงเป็นแกมีโทไฟต์เพศผู้ (male gametophyte) ของพืชดอก การแบ่งเซลล์เพื่อสร้างสเปิร์มนี้มักเกิดขึ้นหลังจากการถ่ายเรณู แต่พืชบางชนิดอาจเกิดขึ้นก่อนการถ่ายเรณูได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

35 13.1.2 เรณู ถุงเอ็มบริโอ การสร้างเซลล์สืบพันธุ์และการปฏิสนธิ
โดยทั่วไปเมกะสปอร์ 4 เซลล์ ที่เกิดขึ้นภายในออวุลนั้น จะมี 3 เซลล์ที่สลายไปเหลือเพียง1 เซลล์ที่พัฒนาต่อไปเป็ฯแกมีโทไฟต์เพศเมีย(female gametophyte) เมกะสปอร์ 1 เซลล์ที่เหลือจะเกิดไมโทซิส 3 ครั้งติดต่อกันได้ 8 นิวเครียส แยกกันอยู่ที่ขั้วตรงข้ามกัน ขั้วละ 4 นิวเครียส โดย 3 นิวเครียสของขั้วบนจะเคลื่อนไปอยู่ที่ด้านตรงข้ามกับไมโครไพล์และสร้างเยื่อหุ่มล้อมรอบนิวเครียสเกิดเป็นเซลล์เรียก แอนติโพดอล (antipodal) อีก 3 นิวเครียสของขั้วล่างจะเคลื่อนไปอยู่ทางด้านไมโครไพล์และเปลี่ยนสภาพเป็นเซลล์เช่นกัน โดน 1 เซลล์ทำหน้าที่เป็น เซลล์ไข่ (egg cell) หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ส่วนอีก 2 เซลล์ที่อยู่ด้านข้างของเซลล์ไข่เรียก ซินเนอร์จิด (synergid) ส่วนอีก 1 นิวเครียสที่เหลือของแต่ละขั้วจะเคลื่อนมาอยู่ตรงกลางเกิดเป็นสภาพนิวเคลียสคู่ n+n เรียก 2 นิวเครียสนี้ว่า โพลาร์นิวคลีไอ (polar nuclei) โครงสร้างที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้เรียกว่า ถุงเอ็มบริโอ (embryo sac) ซึ่งเป็ฯระยะแกมีโทไฟต์เพศเมียที่เจริญเต็มที่ของพืชดอก ดังภาพที่ 13-7 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

36 13.1.2 เรณู ถุงเอ็มบริโอ การสร้างเซลล์สืบพันธุ์และการปฏิสนธิ
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

37 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์มีจำนวนโครมาโซมกี่ชุด? ตอบ 2 ชุด (2n) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

38 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์มีการแบ่งเซลล์แบบใด เซลล์ลูกที่ได้แต่ละเซลล์มีกี่นิวเครียสและแต่ละนิวเครียสมีโครโมโซมกี่ชุด? ตอบ มีการแบ่งไมโอซิส เซลล์ลูกที่ได้แต่ละเซลล์มี 1 นิวเคลียส แต่ละนิวเคลียสมีโครโมโซม 1 ชุด (n) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

39 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ไมโครสปอร์จะมีการเจริญต่อไปอย่างไร? ตอบ มีการเจริญต่อไปโดยการสร้างเรณู ซึ่งเกิดจากการแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิสได้เป็น เจเนอราทิฟนิวเคลียสกับทิวบ์นิวเครียสเพื่อรอการปฏิสนธิกัยเซลล์ไข่ต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

40 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? การแบ่งนิวเครียสแบบไมโอซิสของเมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์มีผลอย่างไรต่อพืช? ตอบ เพื่อให้โครโมโซมของเมกะสปอร์มีจำนวนโครโมโซมลดลงครึ่งหนึ่ง เมื่อเมกะสปอร์แบ่งเซลล์แบบไมโทซิสจะได้เซลล์ไข่ที่มีโครโมโซมครึ่งหนึ่ง และเมื่อเกิดการปฏิสนธิจะได้ไซโกตที่มี 2n ซึ่งจะเจริญไปเป็นเอ็มบริโอที่มีจำนวนโครโมโซมเท่ากับต้นพ่อและต้นแม่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

41 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? เมกะสปอร์มีการเจริญต่อไปอย่างไร? ตอบ มีการเจริญต่อไป โดยการสร้างเซลล์ไข่ที่เกิดจากการแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส 3 ครั้ง ติดต่อกันได้ 8 นิวเคลียส โดย 3 นิวเคลียสของขั้วบนเรียกว่า แอนติโพแดล 3 นิวเคลียสของขั้วล่าง จะมี 1 นิวเคลียสที่เป็นเซลล์ไข่ และ 2 นิวเคลียสที่เหลือเป็นซินเนอร์จิด ส่วนตรงกลางอีก 2 นิวเคลียสจะเป็นโพลาร์นิวคลีไอ โดยเซลล์ไข่นี้จะปฏิสนธิกับเรณูได้เป็นไซโกตต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

42 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? โพลาร์นิวคลีไอมีกี่นิวเคลียส? ตอบ โพลาร์นิวคลีไอด์มี 2 นิวเคลียส ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

43 13.1.2 เรณู ถุงเอ็มบริโอ การสร้างเซลล์สืบพันธุ์และการปฏิสนธิ
การถ่ายเรณู และการงอกหลอดเรณู การถ่ายเรณูเกิดขึ้นเมื่อเรณูเคลื่อนย้ายโดยลม แมลง หรืออื่นๆ จากอับเรณูไปตกบนยอดเกสรเพศเมีย จากนั้นจะมีการเจริญและงอกหลอดเรณูเพื่อเข้าไปผสมกับออวุลในรังไข่ นักเรียนสงสัยหรือไม่ว่าเรณูมีการงอกเกิดขึ้นได้อย่างไร นักเรียนจะหาคำตอบได้จากการทำกิจกรรมต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

44 กิจกรรมที่ 13.2 รูปร่างลักษณะของเรณู และการงอกของหลอดเรณู
วัสดุอุปกรณ์ 1.ดอกชนิดต่างๆที่ตูมอยู่ เช่น แผงพวยฝรั่ง พลับพลึง ว่านกาบหอย บัวจีน กุยช่าย ต้อยติ่ง กุหลาบ เป็นต้น 2.สารละลายน้ำตาลซูโครส ความเข้มข้นประมาณ 5% 3. จานเพาะเชื้อ หรือ บีกเกอร์ขนาด 50 𝒄𝒎^𝟑 4. กล้องจุลทรรศน์ 5. แว่นขยาย 6. เข็มเขี่ย 7. ปากคีบ 8. ใบมีดโกน 9. สไลด์ และกระจกปิดสไลด์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

45 กิจกรรมที่ 13.2 รูปร่างลักษณะของเรณู และการงอกของหลอดเรณู
วิธีการทดลอง ตอนที่1 นำอับเรณูของดอกไม้แต่ละชนิดมาวางบนสไลด์ที่มีหยดน้ำ ใช้ปลายเข็มเขี่ยสะกิดให้อับเรณูแตก หรือใช้วิธีเคาะเบาๆ ให้เรณูล่วงลงสู่หยดน้ำบนสไลด์ ปิดด้วยกระจกปิดสไลด์ นำไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายต่ำ บันทึกผลโดยการวาดภาพรูปร่างลักษณะของเรณู ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

46 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ลักษณะรูปร่างของเรณูและจำนวนเรณู มีความเหมาะสมในการถ่ายเรณูอย่างไร? ตอบ เรณูจะมีขนาดเล็กมากที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เรณูในดอกแต่ละชนิดอาจมีรูปร่างแตกต่างกัน บางชนิดอาจมีรูปร่างกลม รี หรือขรุขระ บางชนิดเรณูอาจมีขอบผิวเรียบหรือขรุขระ เป็นต้น ซึ่งรูปร่างลักษณะของเรณูนี้จะมีผลต่อรูปแบบของการถ่ายเรณู และเรณูในแต่ละดอกจะมีอยู่จำนวนมาก ดังนั้น ทำให้มีโอกาสในการถ่ายเรณูและเกิดการปฏิสนธิได้มากขึ้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

47 กิจกรรมที่ 13.2 รูปร่างลักษณะของเรณู และการงอกของหลอดเรณู
ตอนที่ 2 ทำการทดลองเช่นเดียวกับตอนที่ 1 แต่ใช้สารละลายน้ำตาลซูโครสความเข้มข้น 5% แทนน้ำโดยสังเกตภายใต้กล้องจุลทรรศน์เป็นเวลาต่อเนื่อง 5 นาที วาดภาพการเปลี่ยนแปลงที่มองเห็น แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงต่อไปอีกทุกๆ 5 นาที เป็นเวลา 30 นาที บันทึกผลโดยการวาดภาพ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

48 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? จากการทดลอง เรณูของดอกชนิดต่างๆ มีการงอกหลอดเรณูหรือไม่และในระยะแรกมีการงอกกี่หลอด? ตอบ มี 2 หลอด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

49 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ในการทดลองเห็นการงอกของหลอดเรณูในดอกทุกชนิดหรือไม่? ตอบ ไม่ทุกชนิด จากการทดลองพบว่า แพงพวยฝรั่ง งอกหลอดเรณูได้ง่ายและสมบูรณ์ที่สุด ส่วนดอกไม้ชนิดอื่น เช่น บัวจีน กุยช่าย งอกหลอดเรณูเป็นตุ่มสั้นๆเท่านั้น ส่วนดอกไม้ที่เหลือจากการทดลองนี้ ไม่มีการงอกหลอดเรณู ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

50 13.1.2 เรณู ถุงเอ็มบริโอ การสร้างเซลล์สืบพันธุ์และการปฏิสนธิ
จากกิจกรรมที่ได้ทำไปแล้วจะเห็นว่าเรณูของพืชต่างชนิดจะมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งจะมีผลต่อรูปแบบการถ่ายเรณู เมื่ออับเรณูแก่เต็มที่ผนังของอับเรณูจะแตกออก เรณูพร้อมที่จะกระจายออกไปตกบนยอดเกสรเพศเมียซึ่งจะนำไปสู่การปฏิสนธิ ในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกการถ่ายเรณูเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก การถ่ายเรณูในธรรมชาติอาจเกิดขึ้นโดยอาศัยลม น้ำ แมลงหรือสัตว์อื่นๆ เป็นตัวกลางในการนำเรณูจากอับเรณูไปยอดเกสรเพศเมีย อย่างไรก็ตามพืชหลายชนิดอาจไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลางในการถ่ายเรณูแต่จะอาศัยลักษณะและตำแหน่งของเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียภายในดอกที่มีความจำเพาะเหมาะสมกันที่จะเอื้อให้เรณูจากอับเรณูสามารถตกบนยอดเกสรเพศเมียได้เอง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

51 13.1.2 เรณู ถุงเอ็มบริโอ การสร้างเซลล์สืบพันธุ์และการปฏิสนธิ
พืชเศรษฐกิจบางชนิดถ้าปล่อยให้เกิดการถ่ายเรณูตามธรรมชาติผลผลิตที่ได้จะไม่มากนัก เช่น ทุเรียนพันธุ์ชะนีจะติดผลเพียงร้อยละ 3 ส่วน พันธุ์ก้านยาวติดผลร้อยละ 10 พืชบางชนิดมีเกสรเพศผู้น้อยมาก เช่น สละ เป็นต้น จึงทำให้การถ่ายเรณูเกิดได้น้อย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอีกหลายประการที่ส่งผลให้เกิดการถ่ายเรณูได้น้อย เช่น จำนวนแมลงที่จะมาช่วยถ่ายเรณู ระยะเวลาของการเจริญเต็มที่ของเกสรเพศเมียและเกสรเพศผู้ไม่พร้อมกัน ปัจจุบัน มนุษย์จึงมีบทบาทช่วยทำให้เกิดการถ่ายเรณูได้มากขึ้น เช่น การเลี้ยงผึ้งเพื่อช่วยเพิ่มการถ่ายเรณู หรือการศึกษาการเจริญของเรณูและออวุลแล้วนำความรู้มาช่วยในการถ่ายเรณู เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

52 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? การถ่ายเรณูมีความสำคัญต่อการสืบพันธุ์ของพืชอย่างไร? ตอบ ทำให้เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้มีโอกาสมาผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

53 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? การถ่ายเรณูในดอกเดียวกันมีผลดี ผลเสียต่อพืชอย่างไร? ตอบ มีผลดี คือ ถ้าต้นพันธุ์เป็นพันธุ์แท้รุ่นลูกที่ได้จะมีพันธุกรรมเหมือนเดิม ผลเสียคือ ทำให้รุ่นลูกมีความหลากหลายทางพันธุกรรมน้อยกว่าการผสมข้ามต้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้การต้านทานโรคลดลง และลักษณะด้อยปรากฏในรุ่นต่อๆไปได้ง่าย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

54 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? มีวิธีการอย่างไรที่จะป้องกันการถ่ายเรณูในดอกเดียวกัน? ตอบ โดยการเด็ดเกสรเพศผู้ทิ้งไปก่อนที่ดอกจะบาน หรือก่อนเกสรเพศผู้จะเจริญเต็มที่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

55 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? มีวิธีการอย่างไรที่จะป้องกันไม่ให้เรณูจากดอกอื่นมาผสม? ตอบ วิธีป้องกันไม่ให้เรณูจากดอกอื่นมาผสมคือ ควรใช้ถุงพลาสติกใสคลุมดอกที่ต้องการให้ติดผลไว้โดยปล่อยให้เกสรเพศเมียและเพศผู้ภายในดอกเดียวกันผสมกันเอง แล้วจึงเปิดถุงพลาสติกออก เมื่อเห็นว่าเริ่มจะติดผล ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

56 13.1.2 เรณู ถุงเอ็มบริโอ การสร้างเซลล์สืบพันธุ์และการปฏิสนธิ
หลังการถ่ายเรณู เรณูจะงอกหลอดเรณูผ่านยอดเกสรเพศเมียแล้วผ่านก้านเกสรเพศเมียลงไปจนถึงรังไข่ เรณูของพืชบางชนิดอาจงอกหลอดเรณูได้หลายอัน แต่จะมีเฉพาะหลอดเรณูที่ทิวบ์นิวเคลียสเคลื่อนเข้าไปเท่านั้นที่จะงอกยาวต่อไปจนถึงออวุล และทั้งสองสเปิร์มนิวเคลียสจะเคลื่อนตามทิวบ์นิวเคลียสเข้าไปในหลอดเรณูซึ่งจะผ่านเข้าไปในออวุลทางไมโครไพล์ แล้วปล่อยสเปิร์มนิวเคลียสเข้าไปภายในถุงเอ็มบริโอเพื่อเกิดการปฏิสนธิต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

57 13.1.2 เรณู ถุงเอ็มบริโอ การสร้างเซลล์สืบพันธุ์และการปฏิสนธิ
การปฏิสนธิในพืชดอกมีลักษณะพิเศษเรียก การปฏิสนธิคู่ (double fertilization) เนื่องจากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น 2 คู่ ในคราวเดียวกัน โดยสเปิร์มนิวเคลียสหนึ่งจะเข้าปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ได้ไซโกต ซึ่งจะเจริญต่อไปเป็นเอ็มบริโอ ส่วนอีกสเปิร์มนิวเคลียสจะเข้าปฏิสนธิกับโพลาร์นิวคลีไอ ได้ เอนโดสเปิร์มนิวเคลียส (endosperm nucleus) ซึ่งเจริญต่อไปเป็นเอนโดสเปิร์มดังภาพที่ 13-8 และภาพที่ 13-9 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

58 13.1.2 เรณู ถุงเอ็มบริโอ การสร้างเซลล์สืบพันธุ์และการปฏิสนธิ
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

59 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ผลและเมล็ด นักเรียนเคยสังเกตเห็นผลไม้ชนิดต่างๆ จะเห็นได้ว่าผลไม้แต่ละชนิดจะมีรูปร่าง ลักษณะ ขนาด เปลือกของผลที่มองเห็นภายนอกแตกต่างกัน และเมื่อนักเรียนผ่าผลไม้แต่ละชนิดจะพบเมล็ดอยู่ข้างในซึ่งเมล็ดก็เช่นเดียวกันที่มีรูปร่างลักษณะ จำนวนที่แตกต่างกัน นักเรียนสงสัยหรือไม่ว่าผลและเมล็ดเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และข้อแตกต่างเหล่านี้เกิดจากอะไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

60 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ผลและเมล็ด ชนิดของผล นักเรียนทราบมาแล้วว่าเมื่อมีการปฏิสนธิเกิดขึ้นจะได้ ไซโกตซึ่งเจริญเติบโตไปเป็นเอ็มบริโอและเอนโดสเปิร์มนิวเคลียสซึ่งเจริญต่อไปเป็นเอนโดสเปิร์มหลังการปฏิสนธิออวุลเจริญไปเป็นเมล็ดรังไข่จะเจริญไปเป็นผลห่อหุ้มเมล็ด โดยผนังรังไข่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็น ผนังผล (pericarp) ที่มีลักษณะต่างๆเช่น ผนังมีเนื้อ เช่น แตงโม มะเขือเทศ เชอรี ผนังแห้ง เช่น ลำไย ลิ้นจี่ เป็นต้น ผนังมีลักษณะอื่น เช่น ทุเรียน สละ และก่อมีหนาม เงาะและกีวี่มีขน มะกรูด และมะนาวมีต่อมน้ำมัน มะพร้าว และตาลมีเส้นใย เป็นต้น แต่ผลพืชบางชนิดอาจมีโครงสร้างส่วนอื่นของดอก เช่น ฐานดอกเจริญร่วมขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของผลเช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิล สาลี่ มะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

61 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ผลและเมล็ด นักเรียนทราบมาแล้วว่าเมื่อมีการปฏิสนธิเกิดขึ้นจะได้ไซโกตซึ่งเจริญเติบโตไปเป็นเอ็มบริโอและเอนโดสเปิร์มนิวเคลียสซึ่งเจริญต่อไปเป็นเอนโดสเปิร์มหลังการปฏิสนธิออวุลเจริญไปเป็นเมล็ดรังไข่จะเจริญไปเป็นผลห่อหุ้มเมล็ด โดยผนังรังไข่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็น ผนังผล (pericarp) ที่มีลักษณะต่างๆเช่น ผนังมีเนื้อ เช่น แตงโม มะเขือเทศ เชอรี ผนังแห้ง เช่น ลำไย ลิ้นจี่ เป็นต้น ผนังมีลักษณะอื่น เช่น ทุเรียน สละ และก่อมีหนาม เงาะและกีวี่มีขน มะกรูด และมะนาวมีต่อมน้ำมัน มะพร้าว และตาลมีเส้นใย เป็นต้น แต่ผลพืชบางชนิดอาจมีโครงสร้างส่วนอื่นของดอก เช่น ฐานดอกเจริญร่วมขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของผลเช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิล สาลี่ มะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น ดังภาพที่ 13-10 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

62 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ผลและเมล็ด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

63 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ผลและเมล็ด ผลอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ตามกำเนิดของผลและลักษณะดอกคือ ผลเดี่ยว ผลกลุ่ม และผลรวม ดังภาพที่ 13-11 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

64 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? จากภาพที่ ผลของพืชเหล่านี้แตกต่างกันอย่างไร? ตอบ แตกต่างกัน คือ ผลตะขบเป็นผลเดี่ยวที่เกิดจากรังไข่เดียวของดอกเดี่ยว ผลการเวกเป็นผลกลุ่มที่เกิดจากดอกเดี่ยว 1 ดอก แต่มีหลายรังไข่ ผลยอ เป็นผลรวมที่เกิดจากดอกช่อที่มีดอกย่อยเป็นดอกเดี่ยวที่มีรังไข่เดียว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

65 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ผลและเมล็ด 1.ผลเดี่ยว (simple fruit) เป็นผลที่เกิดมาจากดอก1 ดอก ที่มีเกสรเพศเมียเพียง 1 อัน จะเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อก็ได้ แต่ถ้าเป็นดอกช่อ รังไข่ของดอกย่อยแต่ละดอกเมื่อเจริญเป็นผลจะเจริญแยกจากกันเป็นอิสระ ตัวอย่างผลเดี่ยว เช่น ตะขบ ส้ม ทุเรียน ลิ้นจี่ เงาะ ลำไย องุ่น กระถิน สละ มะพร้าว ข้าวโพด เป็นต้น 2.ผลกลุ่ม (aggregate fruit) เป็นผลที่เกิดจากดอก 1 ดอก ที่มีเกสรเพศเมียจำนวนมากกว่า 1 อัน อยู่บนฐานดอก รังไข่ของเกสรเพศเมียแต่ละอันจะเจริญผลเป็นผลย่อย แต่ละผลย่อยติดอยู่บนฐานดอก ตัวอย่างเช่น บัวหลวง การเวก กระดังงา จำปี จำปา กุหลาบ สตรอเบอรี น้อยหน่า เป็นต้น 3.ผลรวม (multiple fruit) เป็นผลที่เกิดมาจากดอกช่อ ลักษณะของช่อดอกมักมีดอกย่อยจำนวนมากและอยู่เบียดชิดกัน และรังไข่ของดอกย่อยแต่ละดอกจะเจริญร่วมกันมีเนื้อเยื่อเชื่อมให้ผลย่อยที่อยู่เบียดชิดกันบนแกนช่อดอกกลายเป็นเนื้อเดียวกันจนดูคล้ายเป็นผล 1 ผล เช่น สับปะรด สาเก ยอ ขนุน หม่อน มะเดื่อ เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

66 กิจกรรมที่ 13.3 ผลชนิดต่างๆ
กิจกรรมที่ ผลชนิดต่างๆ วัสดุอุปกรณ์ 1.ดอก และผลชนิดต่างๆ 2.ชุดเครื่องมือผ่าตัด วิธีการทดลอง ให้นักเรียนศึกษาดอก และผลไม้ที่มีในท้องถิ่น เช่น สับปะรด ยอ หม่อน ขนุน มะเดื่อ ส้ม มะเขือ ตะขบ กล้วย มะม่วง อัญชัน การเวก บัวหลวง โดยพิจารณาลักษณะต่างๆเปรียบเทียบกัน บันทึกผลในตาราง และนำเสนอข้อมูล ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

67 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? นักเรียนสรุปผลการศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมนี้ได้ว่าอย่างไร? ตอบ ผลเดี่ยว เกิดจากรังไข่ 1 รังไข่ จากดอกเดี่ยวหรือดอกย่อย 1 ดอก ในดอกช่อ ที่เจริญเป็นผล 1 ผล เช่น ส้ม มะเขือ ตำลึง กล้วย เป็นต้น ผลกลุ่ม เกิดจากดอก 1 ดอก มีจำนวนรังไข่หลายรังไข่กลายเป็นผลย่อยหลายผลอยู่รวมกันเป็นกระจุกบนฐานรองดอกเดียวกัน เช่น การเวก จำปี เป็นต้น ผลรวม เกิดจากดอกช่อแต่ละดอกย่อยมี 1 รังไข่ รังไข่ของดอกย่อยแต่ละดอกจะเจริญร่วมกันขึ้นมาเป็นผลย่อยที่อยู่เบียดชิดกันบนแกนช่อดอกจนดูคล้ายเป็นผล 1 ผล เช่น สาเก สับปะรด ขนุน เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

68 กิจกรรมที่ 13.3 ผลชนิดต่างๆ
กิจกรรมที่ ผลชนิดต่างๆ ตารางบันทึกผล ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

69 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ผลและเมล็ด การเจริญและพัฒนาภายหลังการปฏิสนธิคู่ของพืชดอก ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การปฏิสนธิของพืชดอกเกิดขึ้นภายในออวุลทำให้เกิดเอ็มบริโอและเอนโดสเปิร์ม ออวุลจะพัฒนาไปเป็นเมล็ดอยู่ภายในผลซึ่งพัฒนามาจากรังไข่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

70 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? เอ็มบริโอระยะ ง.และ จ. แตกต่างกันอย่างไร? ตอบ ระยะ จ.เอ็มบริโอมีการแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนมากขึ้นแต่ขนาดของเซลล์เล็กลงกว่าระยะ ง. และเซลล์เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะสร้างอวัยวะ ครั้งนี้อวัยวะเริ่มเกิดเห็นได้ชัดในระยะ ฉ. โดยในส่วนของเอ็มบริโอส่วนบนจะเห็นลักษณะคล้ายใบเกิดขึ้น และเอ็มบริโอส่วนล่างจะเห็นลักษณะคล้ายกับราก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

71 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? การแบ่งเซลล์ของเอ็มบริโอของพืชในภาพที่ เป็นการแบ่งเซลล์แบบใด? ตอบ เป็นการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสทุกระยะ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

72 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? การเจริญและพัฒนาของเอ็มบริโอกับเอนโดสเปิร์มในเมล็ดพืชเกิดขึ้นไปพร้อมๆกันหรือไม่ เพราะเหตุใด? ตอบ เกิดขึ้นพร้อมกันเนื่องจากเอ็มบริโอจะมีการเจริญและพัฒนาต่อไปเป็นต้นอ่อนซึ่งจะเห็นได้ชัดในระยะ จ. และระยะ ฉ. ส่วนเอนโดสเปิร์มจะมีการเจริญและพัฒนาต่อไปเป็นเนื้อเยื่อที่สะสมอาหารสำหรับไว้เลี้ยงต้นอ่อน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

73 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ผลและเมล็ด นักเรียนอาจเคยพบว่าบางครั้งเมื่อผ่าผลไม้แล้วจะไม่พบเมล็ดอยู่เลย นักเรียนสงสัยหรือไม่ว่า เพราะเหตูใดผลไม้บางชนิดจึงไม่มีเมล็ด ที่เป็นเช่นนั้นเพราะรังไข่ของพืชบางชนิดอาจพัฒนาขึ้นมาเป็นผลได้โดยไม่มีการปฏิสนธิ ผลลักษณะนี้จึงไม่พบเมล็ดอยู่ภายใน เช่น กล้วย เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

74 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? นักเรียนรู้จักผลไม้ชนิดใดอีกบ้างที่ไม่มีเมล็ด ให้ยกตัวอย่างมาอย่างน้อย 2 ชนิด? ตอบ ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ดเช่น องุ่น และแตงโมพันธุ์ที่ไม่มีเมล็ด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

75 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ผลและเมล็ด เมล็ดและเอ็มบริโอ หลังการปฏิสนธิออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด โดนผนังออวุลจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเปลือกเมล็ด (seed coat) ซึ่งหุ้มล้อมเอ็มบริโอและเอนโดสเปิร์มที่อยู่ภายในเอาไว้ ดังภาพที่ ฉ. และ ส่วนเนื้อเยื่อนิวเซลัสจะหายไปในระหว่างการพัฒนาของเมล็ด เมล็ดประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 1.เปลือกเมล็ด เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดของเมล็ดทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่างๆ ให้แก่เอ็มบริโอที่อยู่ภายในเมล็ด นอกจากนี้ในพืชบางชนิดเปลือกเมล็ดยังช่วยป้องกันไม่ให้เมล็ดงอกจนกว่าจะได้รับสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม 2.เอ็มบริโอ เจริญมาจากไซโกตประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ ดังนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

76 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ผลและเมล็ด รากแรกเกิดหรือแรดิเคิล เป็นส่วนปลายสุดของแกนเอ็มบริโอที่อยู่ทางด้านไมโครไพล์ เป็นส่วนแรกของเอ็มบริโอที่เจริญยืดออกมา เมื่อเมล็ดมีการงอกและจะเจริญต่อไปเป็นรากอันแรกของพืช พืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น ข้าวโพด ข้าว ในส่วนของแรดิเคิลมีเนื้อเยื่อหุ้มรากแรกเกิดหุ้มเอาไว้ เรียกเนื้อเยื่อหุ้มรากแรกเกิดหรือ โคลีโอไรซา (coleorhiza) ลำต้นใต้ใบเลี้ยงหรือไฮโพคอทิล (hypocotyl) คือส่วนแกนของเอ็มบริโอที่อยู่ถัดจากแรดิเคิลขึ้นไป จึงมีลักษณะเหมือนเป็นลำต้นสั้นๆ ใบเลี้ยง (cotyledon) อาจมี 1 ใบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว หรือ 2 ใบในพืชใบเลี้ยงคู่ ติดอยู่บนส่วนที่เป็นแกนหลักของเอ็มบริโอทั้ง 2 ข้างของปลายไฮโพคอทิล ใบเลี้ยงของพืชมีลักษณะอวบหนา มีเนื้อ เพราะมีการสะสมอาหารไว้เลี้ยงต้นกล้า เช่น ถั่วชนิดต่างๆ บัว มะขาม มะม่วง และจาวมะพร้าว เป็นต้น บางชนิดสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหารให้กับต้นกล้าในระยะแรก ก่อนที่ใบแท้จะพัฒนาขึ้นมาได้เต็มที่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

77 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ผลและเมล็ด ลำต้นเหนือใบเลี้ยงหรือเอพิคอทิล (epicotyl) เป็นส่วนของเอ็มบริโอที่อยู่เหนือใบเลี้ยงเอพิคอทิลในเมล็ดจะสั้นมากอาจสังเกตได้ไม่ชัดเจน เมื่อเมล็ดงอกส่วนนี้จะเจริญยืดยาวไปเป็นลำต้น และสร้างใบแท้ ในพืชบางชนิด เช่น ข้าวโพด ข้าว มีเนื้อเยื่อพิเศษเรียกเนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิดหรือ โคลีออพไทล์ (coleoptile) เจริญคุมปลายยอดของเอ็มบริโอเอาไว้ 3.เอนโดสเปิร์ม เป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารสำหรับการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอ อาหารที่สะสมอาจจะเป็นแป้ง โปรตีน หรือไขมัน ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด ละหุ่ง เป็นต้น เมล็ดพืชบางชนิดอาจมีเอนโดสเปิร์มเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย หรือเอนโดสเปิร์มอาจไม่พัฒนา เช่น กล้วยไม้ หรือเอนโดสเปิร์มจะถูกใช้เป็นอาหารขณะพัฒนา ดังนั้นเมื่อเมล็ดเจริญเต็มที่จะไม่พบเอนโดสเปิร์ม เช่น ถั่วชนิดต่างๆ ซึ่งใบเลี้ยงจะทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารแทนเอนโดสเปิร์ม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

78 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ผลและเมล็ด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

79 การงอกของเมล็ด

80 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด จากที่นักเรียนได้ทราบมาแล้วว่า เมล็ดพืชต่างชนิดกันจะมีส่วนประกอบบางอย่างที่เหมือนกันและบางอย่างที่แตกต่างกัน การงอกของเมล็ดจะเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร และจะวัดการเจริญเติบโตของเมล็ดขณะงอกได้อย่างไร นักเรียนจะได้ศึกษาจากกิจกรรมต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

81 กิจกรรมที่ 13.4 การงอกของเมล็ด โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
วัสดุอุปกรณ์ 1.เมล็ดถั่วเขียวหรือถั่วเหลืองและเมล็ดข้าวโพด 2.กระบะเพาะเมล็ด 3.แว่นขยาย วิธีการทดลอง 1.ศึกษาเมล็ดถั่ว และเมล็ดข้าวโพดที่กำลังงอก อายุ และ 10 วัน บันทึกผลโดยการวาดภาพ 2.เปรียบเทียบการงอกของเมล็ดถั่วและเมล็ดข้าวโพด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

82 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ลักษณะการงอกของเมล็ดพืชทั้งสองชนิดเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร? ตอบ การงอกของเมล็ดถั่วและเมล็ดข้าวโพดเหมือนกัน คือส่วนที่งอกออกจากเมล็ดอันดับแรก คือ แรดิเคิล ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

83 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? นักเรียนคิดว่าลักษณะการงอกแต่ละแบบทำให้พืชได้ประโยชน์ในแง่ใด? ตอบ การงอกแบบชูใบเลี้ยงขึ้นเหนือพื้นดิน ใบเลี้ยงจะทำหน้าที่ปกป้องยอดอ่อนก่อนจะโผล่พ้นดิน ส่วนการงอกแบบใบเลี้ยงอยู่ใต้ดิน ใบเลี้ยงจะช่วยดูดอาหารจากเอนโดสเปิร์มส่งไปเลี้ยงลำต้นขณะงอกและขณะใบแท้ ยังสังเคราะห์ด้วยแสงไม่ได้จนกว่าใบแท้จะโผล่พ้นดิน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

84 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? โครงสร้างของพืชที่เกิดจากาการงอกของเมล็ดทั้งสองชนิดเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? ตอบ โครงสร้างของถั่วที่งอกแบบชูใบเลี้ยงขึ้นเหนือพื้นดินส่วนที่เป็นลำต้นเป็นทั้งไฮโพคอทิลและเอพิคอทิล ระบบรากเป็นระบบรากแก้วโครงสร้างของข้าวโพดที่งอกแบบไม่ชูใบเลี้ยงขึ้นเหนือพื้นดิน ใบเลี้ยงยังคงอยู่ใต้ดิน ส่วนของลำต้นจึงเป็นเอพิคอทิลเพียงอย่างเดียว ส่วนแรกที่โผล่พ้นดินเป็นเยื่อหุ้มยอดแรกเกิดเมื่อสูงขึ้นมาระยะหนึ่งเยื่อหุ้มยอดแรกเกิดจะหยุดเจริญ ทำให้เอพิคอทิลยืดยาวออกมาเพื่อให้ยอดแรกเกิดพัฒนาเป็นใบแท้ต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

85 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ขณะที่เมล็ดถั่วและเมล็ดข้าวโพดงอก จนมีใบแท้ 2-3 ใบ ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่เหนือดินประกอบด้วยส่วนใดบ้าง? ตอบ ส่วนของต้นอ่อนถั่วที่อยู่เหนือดินประกอบด้วยไฮโพคอทิลใบเลี้ยง 2 ใบ เอพิคอทิล ใบแท้ ตายอด ส่วนของต้นอ่อนข้าวโพดที่อยู่ในดินประกอบด้วยเยื่อหุ้มแรกเกิดใบแท้และตายอด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

86 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด จากการทดลองจะเห็นว่า ไฮโพคอทิลของถั่วเขียวและถั่วเหลืองจะยืดตัวชูใบเลี้ยงให้โผล่ขึ้นมาเหนือระดับผิวดิน การงอกแบบนี้จะพบในพืชชนิดอื่นได้อีก เช่น พริก มะขาม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพืชบางชนิดในขณะที่เมล็ดงอก ส่วนของไฮโพคอทิลไม่ยืดตัวทำให้ใบเลี้ยงยังอยู่ใต้ดิน เช่น การงอกของถั่วลันเตา เป็นต้น ส่วนการงอกของเมล็ดข้าวโพด งอกแล้วใบเลี้ยงไม่โผล่ขึ้นเหนือดินมีแต่ส่วนของใบแท้ที่มีโคลีออพไทล์หุ้มโผล่ขึ้นมาเหนือดิน ดังภาพที่ 13-14 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

87 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

88 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? จากภาพที่ การงอกของเมล็ดถั่วเหลืองต่างจากเมล็ดถั่วลันเตาอย่างไร? ตอบ การงอกของเมล็ดถั่วเหลืองไฮโพคอทิลยืดยาวโค้งงอเป็นตะขอฉุดใบเลี้ยงขึ้นเหนือพื้นดิน ส่วนการงอกของเมล็ดถั่วลันเตาไฮโพคอทิลไม่ยืดยาวโค้งงอ แต่เอพิคอทิลกลับยืดยาวโค้งงอเป็นตะขอขึ้นมาแทนฉุดยอดอ่อนให้โผล่พ้นดิน ใบแท้คู่แรกกางออกสังเคราะห์ด้วยแสงแทนใบเลี้ยงที่ยังคงอยู่ใต้ดิน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

89 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด จากการทดลองผู้ทดลองได้สังเกต และบันทึกผลการทดลองดังตารางที่ 13.1 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

90 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด เมล็ดที่เอ็มบริโอไม่สมบูรณ์หรือผิดปกติมักจะไม่งอก แต่เมล็ดที่มีสภาพสมบูรณ์บางครั้งเมื่อนำมาเพาะนักเรียนจะพบว่าบางครั้งก็งอก บางครั้งก็ไม่งอก ทั้งนี้อาจเกิดจากลักษณะของเมล็ดเองซึ่งเป็นปัจจัยภายในเมล็ดหรือสภาพแวดล้อมภายนอกเมล็ดซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกว่าเหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดหรือไม่ นักเรียนสงสัยหรือไม่ว่าภายนอกและปัจจัยภายในที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดมีอะไรบ้าง ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด พืชเศรษฐกิจหลายชนิดยังคงต้องขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ดังนั้นในการเพาะเมล็ดจึงจำเป็นจะต้องศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพืช ได้มีผู้ศึกษาปัจจัยการงอกของเมล็ดพืชชนิดหนึ่งดังการทดลองในภาพที่ 13-15 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

91 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ตารางที่ 13.1 ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพืชชนิดหนึ่ง หลอดทดลอง ปัจจัยทางกายภาพ ผลการทดลอง น้ำ อุณหภูมิ (˚C) อากาศ ให้น้ำ 37 มี งอก ไม่ให้น้ำ ไม่งอก 10 ไม่มี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

92 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ตัวแปรต้นของแต่ละการทดลองนี้คืออะไร? ตอบ ตัวแปรต้นของหลอด ข. คือน้ำหรือความชื้น ตัวแปรต้นของหลอด ค. คืออุณหภูมิ ตัวแปรต้นของหลอด ง. คือออกซิเจน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

93 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพืชชนิดนี้คืออะไร? ตอบ ปัจจัยการงอกของเมล็ดพืชชนิดนี้คือน้ำหรือความชื้น อุณหภูมิเหมาะสม และออกซิเจน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

94 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? นักเรียนจะสรุปผลการทดลองนี้ได้อย่างไร? ตอบ ถ้าเมล็ดไม่ได้รับปัจจัยที่เหมาะสมเมล็ดก็จะไม่งอก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

95 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด โดยปกติเมล็ดพืชที่แก่เต็มที่จะมีความชื้นต่ำ โดยทั่วไปพบว่ามีน้ำประมาณร้อยละ 6-14 มีอัตราการหายใจต่ำและมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีภายในเมล็ดน้อยมาก ดังนั้นเมื่อเมล็ดจะงอกจำเป็นต้องได้รับปัจจัยบางอย่างที่เหมาะสมจึงจะงอกได้ ปัจจัยดังกล่าวมีดังต่อไปนี้ น้ำหรือความชื้น เมล็ดบางชนิดเมื่อได้รับน้ำแล้วเปลือกเมล็ดจะอ่อนตัวลง ทำให้น้ำและแก๊สออกซิเจนผ่านเข้าไปในเมล็ดได้มากขึ้น น้ำทำให้เมล็ดพองตัวขยายขนาดและมีน้ำหนักเพิ่มทั้งยังเป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆ ภายในเมล็ด เช่น มีการกระตุ้นการสร้างเอนไซม์เพื่อย่อยสลายอาหารที่สะสมในเมล็ด เช่น สร้างอะไมเลสย่อยแป้งให้เป็นมอลโทส สร้างโปรตีเอสย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน สร้างลิเพสย่อยสลายไขมันให้เป็นกรดไขมันให้เป็นกรดไขมัน เพื่อใช้ในการหายใจแบบใช้ออกซิเจนมีผลทำให้เกิดการเจริญเติบโต นอกจากนี้น้ำยังเป็นตัวทำละลายสารอื่นๆที่สะสมในเมล็ดและช่วยในการลำเลียงสารอาหารไปให้เอ็มบริโอใช้ในการงอก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

96 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? จากการทดลองในภาพที่ หลักฐานใดยืนยันว่าน้ำและความชื้นมีผลต่อการงอกของเมล็ด? ตอบ การทดลอง ก. และการทดลอง ข. ปัจจัยทุกอย่างเหมือนกันแต่แตกต่างที่ชุด ก. ให้น้ำ ชุด ข. ไม่ให้น้ำ ชุด ก.เมล็ดพืชงอก แต่ชุด ข. ที่ไม่ได้รับน้ำเมล็ดจะไม่งอก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

97 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด ออกซิเจน เมล็ดทั่วไปงอกได้ดีถ้ามีแก๊สออกซิเจนประมาณร้อยละ 20 ขณะงอกเมล็ดมีอัตราการหายใจสูงต้องการออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการสลายอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน สำหรับใช้ในกระบวนการเมแทบอลิซึมต่างๆ แต่มีพืชบางชนิดเมล็ดสามารถงอกได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจนต่ำ ความชื้นสูงโดยสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน เช่น เมล็ดพืชน้ำบางชนิดงอกได้ในดินโคลนใต้น้ำ แต่เมล็ดหลายชนิดจะไม่งอกเลยถ้ามีออกซิเจนไม่เพียงพอแม้ความชื้นจะสูง เช่น เมล็ดวัชพืชหลายชนิดที่ฝั่งอยู่ในดินลึกๆ จะงอกได้เมื่อไถพรวนดินให้เมล็ดขึ้นมาอยู่ใกล้ผิวดิน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

98 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? นักเรียนจะออกแบบการทดลองอย่างไรที่แสดงให้เห็นว่าแก๊สออกซิเจนจำเป็นต่อการงอกของเมล็ด? ตอบ ทำการทดลองเช่นเดียวกับชุด ก. และชุด ง. แต่ชุด ง. เปลี่ยนจุกยางเป็นสำลีชุบสารที่มีคุณสมบัติดูดแก๊สออกซิเจนซึ่งในที่นี้คือ ไพโรแกลลอล (pyrogallol) แทนปรากฏว่าชุด ง.เมล็ดไม่งอก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

99 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด อุณหภูมิ เมล็ดพืชแต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมในการงอกของแตกต่างกัน เมล็ดพืชในเขตร้อนต้องการอุณหภูมิในการงอกสูงกว่าเมล็ดพืชในเขตหนาว เช่น ข้าวโพดที่ปลูกในเขตร้อน งอกดได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 34 องศาเซลเซียส ส่วนเมล็ดพืชเขตหนาว เช่น หอมหัวใหญ่และผักกาดหัวงอกได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 20 องศาเซลเซียส แต่ก็มีบางชนิดต้องการอุณหภูมิที่ต่างกันชัดเจนในช่วงกลางวันและกลางคืน หรือให้อุณหภูมิต่ำสลับกับอุณหภูมิสูง การงอกจะเกิดได้ดี เช่น บวบเหลี่ยมถ้าให้อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 16 ชั่วโมง สลับกับอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 8 ชั่วโมงเมล็ดจึงจะงอกได้ดี แสง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ควบคุมการงอกของเมล็ด เมล็ดพืชบางชนิดจะงอกได้ต่อเมื่อมีแสง เช่น พวกวัชพืชต่างๆ เช่น หญ้า สาบเสือ และพืชอื่นๆ เช่น ยาสูบ ผักกาดหอม และปอต่างๆเป็นต้น เมล็ดพืชอีกหลายชนิดไม่ต้องการแสงในขณะงอก เช่น กระเจี๊ยบ แตงกวา ผักบุ้งจีน ฝ้าย ข้าวโพด แต่ปัจจุบันพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ยาสูบ ผักกาดหอม ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้เมล็ดสามารถงอกได้เลยโดยไม่ต้องใช้แสง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

100 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? นอกจากปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว นักเรียนคิดว่ามีปัจจัยอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการงอกของเมล็ดอีกหรือไม่? ตอบ ปัจจัยอื่นๆที่จำเป็นต่อการงอกของเมล็ดเช่น แสง ความสมบูรณ์ของเมล็ด การเจริญเติบโตเต็มที่ของเอ็มบริโอ เปลือกเมล็ดไม่มีสารเคมียับยั้งการงอก เปลือกเมล็ดยอมให้น้ำและแก๊สออกซิเจนซึมผ่านไปได้ เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

101 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? นักเรียนจะนำความรู้จากข้อมูลนี้นำไปใช้ในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์อย่างไร? ตอบ ควรเก็บรักษาไว้ในที่แห้งความชื้นต่ำ อุณหภูมิต่ำ และห่างไกลจากปัจจัยที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดชนิดนั้นๆ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

102 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด จากที่นักเรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของเมล็ดว่าประกอบด้วยเปลือกเมล็ด เอ็มบริโอและเอ็นโดสเปิร์มนั้น โครงสร้างของเปลือกเมล็ดที่แตกต่างกันในพืชแต่ละชนิดและปริมาณของเอนโดสเปิร์ม รวมทั้งการเจริญของเอ็มบริโอล้วนมีผลต่อการงอกของเมล็ด สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยภายในที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด เช่น เมล็ดที่เอ็มบริโอไม่เจริญหรือเจริญไม่เต็มที่จะไม่เกิดการงอกหรือเมล็ดที่มีเอ็นโดสเปิร์มน้อยก็อาจงอกได้ยาก แต่นักเรียนจะพบว่าเมล็ดส่วนใหญ่ที่มีสภาพของเมล็ดสมบูรณ์เอ็มบริโอและเอนโดสเปิร์มเจริญได้ดีแต่เมล็ดจะยังไม่งอกหรืองอกช้าเพราะอยู่ในสภาพพักตัวของเมล็ด (seed dormancy) นักเรียนสงสัยหรือไม่ว่าสภาพพักตัวของเมล็ดนี้พบในเมล็ดทุกชนิดหรือไม่ และเกิดจากสาเหตุใด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

103 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด สภาพพักตัวของเมล็ด พืชบางชนิดมีสภาพพักตัวสั้นมาก เช่น ขนุน มะละกอ มะขามเทศ จะเห็นว่าเมล็ดสามารถงอกได้ขณะที่ยังอยู่ในผล ในขณะที่โกงกางไม่มีสภาพพักตัวของเมล็ดเลย ดังภาพที่ หรือพืชบางชนิดอาจมีสภาพพักตัวที่ยาวนาน เมล็ดพืชทั่วไปเมื่อได้รับสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสภาพพักตัวจะหมดไปทำให้เอ็มบริโอเจริญเติบโตต่อไปได้ แต่ถ้าพืชบางชนิดแม้ได้รับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เมล็ดยังคงอยู่ในสภาพพักตัว ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายในบางประการของเมล็ดเอง สภาพพักตัวนี้สามารถแก้ไขได้โดยกลไกตามธรรมชาติหรือโดยการช่วยเหลือของมนุษย์ นักเรียนสงสัยหรือไม่ว่าสภาพพักตัวของเมล็ดเกิดจากสาเหตุใด และมีวิธีการแก้ไขสภาพพักตัวนี้ได้อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

104 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

105 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด สาเหตุบางประการของการพักตัวและการแก้ไขสภาพพักตัวของเมล็ด 1.เปลือกเมล็ด 1.1 เปลือกเมล็ดที่หนาและแข็ง จะอยู่ในสภาพพักตัวจนกว่าจะมีการทำให้เปลือกเมล็ดอ่อนตัวลงจึงจะมีการงอกได้ โดยปกติเมื่อเมล็ดได้รับน้ำที่เพียงพอเปลือกเมล็ดจะนุ่มลง แต่เมล็ดพืชบางชนิดมีเปลือกเมล็ดที่หนาหรือแข็งมากทำให้ไม่สามาถผ่านเข้าสู่ภายในเมล็ดได้ ในธรรมชาติจะมีการทำลายสภาพพักตัวแบบนี้ได้โดยการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในดิน เช่น มะม่วง ปาล์ม หรือโดยการที่เมล็ดผ่านเข้าไปในระบบย่อยอาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหรือนกและถ่ายเป็นมูลออกมา เช่น เมล็ดโพธิ์ ไทร ตะขบ หรือโดยการทำให้เปลือกเมล็ดแตกออกด้วยการถูกไฟเผา เช่น เมล็ดพืชวงศ์หญ้า วงศ์ไผ่บางชนิด ตะเคียน สัก เป็นต้น มนุษย์สามารถช่วยแก้สภาพพักตัวของเมล็ดที่เปลือกเมล็ดหนาและแข็งได้หลายวิธี เช่น โดยการแช่เมล็ดในน้ำร้อน หรือแช่ในสารละลายกรดเพราะจะทำให้เปลือกเมล็ดอ่อนนุ่ม การใช้กลวิธีโดยการทำให้เปลือกเมล็ดแตกออก เช่น การปาด เฉือนหรือการกะเทาะเปลือกแข็งของเมล็ดมะม่วง โดยไม่ให้กระทบกระเทือนถึงเอ็มบริโอ หรือนำไปให้ความร้อนโดยการเผา เช่น เมล็ดมะค่าโมง เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

106 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด 1.2 เปลือกเมล็ดมีสารซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่าน สารดังกล่าวนี้ได้แก่ ไข คิวทิน ลิกนิน ซูเบอริน ซึ่งสะสมบนผนังเซลล์ของเปลือกเมล็ด น้ำจึงไม่สามารถซึมผ่านเข้าไปยังส่วนต่างๆของเมล็ดได้โดยง่าย เมล็ดพวกนี้ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วแดง เป็นต้น วิธีการแก้สภาพพักตัวของเมล็ดจากสาเหตุนี้อาจทำได้โดยการแช่เมล็ดในน้ำ 1.3 เปลือกเมล็ดไม่ยอมให้แก๊สออกซิเจนแพร่ผ่าน พืชที่มีสภาพพักตัวจากสาเหตุนี้มีน้อยชนิด พบได้ในพืชวงศ์หญ้าบางชนิด ซึ่งมีสภาพพักตัวในระยะสั้นๆ เมื่อเก็บเมล็ดไว้ระยะหนึ่งก็สามารถนำไปเพาะได้ วิธีแก้สภาพพักตัวของเมล็ด โดยใช้วิธีกล เช่น การทุบทำให้เปลือกเมล็ดแตก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

107 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด 2.เอ็มบริโอ เอ็มบริโอที่ยังเจริญไม่เต็มที่ ทำให้เมล็ดไม่สามารถจะงอกได้ต้องรอเวลาช่วงหนึ่ง เพื่อให้เอ็มบริโอมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวะเคมี รวมไปถึงการเจริญพัฒนาของเอ็มบริโอให้เจริญเต็มที่เมล็ดจะงอกได้ เช่น มะพร้าว หมาก ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น วิธีการแก้สภาพพักตัว ทิ้งไว้ให้เอ็มบริโอของเมล็ดเจริญเต็มที่อยู่ในผลเป็นระยะเวลาหนึ่งซึ่งอาจใช้เวลาเป็นปี เช่นมะพร้าว เป็นต้น 3.เอนโดสเปิร์ม เมล็ดพืชบางชนิด เช่น กล้วยไม้ มีเอนโดสเปิร์มน้อยมาก เมล็ดจึงงอกเองได้ยากในสภาพธรรมชาติ เพราะจะไม่มีอาหารเพียงพอสำหรับเลี้ยงเอ็มบริโอระหว่างการงอก วิธีแก้สภาพพักตัว ในธรรมชาติพบว่ามีไมคอร์ไรซาบางชนิดเจริญร่วมกับเมล็ดพืช ทั้งนี้ไมคอร์ไรซาจะช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์เพื่อเป็นอาหารแก่เมล็ดที่กำลังงอก หรือมนุษย์สามารถแก้สภาพพักตัวได้โดยนิยมนำเมล็ดกล้วยไม้ไปเลี้ยงในอาหารเพาะเลี้ยงและใส่สารกระตุ้นการงอกของเมล็ด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

108 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด 4.สารเคมี ในเมล็ดพืชบางชนิดมีสารเคมีที่ยับยั้งการงอกของเมล็ด เช่น กรดแอบไซซิกที่มีสมบัติยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการงอกเคลือบอยู่ และพบว่าใบเลี้ยงของพืชบางชนิด เช่น พีช (peach) มีการสร้างกรดแอบไซซิกในปริมาณสูง ซึ่งมีผลไปยับยั้งการงอกของเมล็ด ในสภาพธรรมชาติการแก้สภาพพักตัวของเมล็ดเหล่านี้เกิดขึ้นได้ เมื่อฝนตกลงมาชะล้างสารที่เคลือบเมล็ดออกไป ทำให้เมล็ดงอกได้ตามปกติ มนุษย์สามารถแก้สภาพพักตัวของเมล็ดเหล่านี้ได้โดยการล้างสารที่เคลือบเมล็ดออกไป เช่น การล้างเมือกหุ้มเมล็ดมะเขือเทศ และพืชวงศ์แตง เป็นต้น แล้วผึ่งให้แห้งก่อนเพาะ นอกจากนี้อาจแก้ไขสภาพพักตัวของเมล็ดพืช โดยการใช้สารเร่งการงอก เช่น จิบเบอเรลลิน (gibberellin ; GA) หรือการตัดใบเลี้ยงของเอ็มบริโอของพืชจะช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

109 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด นอกจากนี้เมล็ดพืชบางชนิดจะงอกได้เมื่อผ่านฤดูหนาวหรือที่มีอุณหภูมิต่ำ ซึ่งพบว่าการที่มีอุณหภูมิต่ำจะทำให้ปริมาณของกรดแอบไซซิกที่ยับยั้งการงอกของเมล็ดลดลงในขณะที่จิบเบอเรลลิน หรือไซโทไคนิน (cytokinin) ที่ส่งเสริมการงอกของเมล็ดจะเพิ่มขึ้น เช่น แอปเปิล เชอรี ซึ่งเป็นพืชเขตหนาวต้องมีการปรับสภาพภานในเมล็ดโดยการผ่านฤดูหนาว เมล็ดจึงจะงอกได้ดี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

110 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? นักเรียนจะนำความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของเมล็ด และปัจจัยในการงอกของเมล็ดไปใช้ในการเพาะเมล็ดให้เมล็ดงอกเร็วขึ้นได้อย่างไร? ตอบ ต้องทำลายสภาพพักตัวของเมล็ดซึ่งทำได้หลายวิธีดังนี้ 1.ทำลายสภาพพักตัวอันเนื่องมาจากเปลือกหรือส่วนห่อหุ้มเมล็ด 1.1การใช้วิธีกล (mechanical treatment) ทำให้เปลือกเมล็ดบางลงจนสามารถทำให้น้ำ และแก๊สออกซิเจนซึมผ่านเข้าไปได้ เช่น การถูหรือฝนเมล็ด ตัดปลายเมล็ดด้านตรงข้ามกับเอ็มบริโอ ทุบเมล็ดให้เป็นรอยร้าวหรือกะเทาะเอาเปลือกเมล็ดออกก่อนนำไปเพาะ 1.2การแช่น้ำเพื่อล้างสารที่ยับยั้งการงอกออกไปและทำให้เปลือกเมล็ดอ่อนและแก๊สออกซิเจนซึมผ่านเข้าไปในเมล็ดได้ อาจใช้วิธีการแช่น้ำอุ่นก่อนแช่น้ำเย็น 1.3ใช้สารเคมีกัดเปลือกเมล็ดเช่นกรดกำมะถัน กรดน้ำส้ม กรดเกลือ เบส เป็นต้น เพื่อทำลายเปลือกเมล็ดให้ยุ่ยบางลง แช่กรดหรือเบสประมาณ นาที แล้วต้องล้างน้ำให้กรดหรือเบสออกให้หมดก่อนนำไปเพาะ 2.ทำลายสภาพพักตัวของเมล็ดอันเนื่องมาจากเอ็มบริโอจะต้องเก็บเมล็ดไว้ในที่อุณหภูมิสูงแล้วนำไปเก็บไว้ในอุณหภูมิที่ต่ำ แล้วจึงนำเมล็ดไปเพาะในวัสดุที่ชื้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

111 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ จากความรู้ที่นักเรียนได้เรียนมาแล้วเกี่ยวกับโครงสร้างเมล็ด ปัจจัยที่มีผลต่อการงอก การแก้ไขสภาพพักตัวของเมล็ด เป็นต้น จะเห็นได้ว่าความสามารถในการงอกของเมล็ดพืชแต่ละเมล็ดก็ยังมีไม่เท่ากัน นักเรียนสงสัยหรือไม่ส่าเป็นเพราะเหตุใด และจะตรวจสอบความสามารถในการงอกนี้ได้หรือไม่ อย่างไร การปลูกพืชจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ด้วย ดังนั้น เกษตรกรจึงอาจต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก เพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์นั้นมีการตรวจสอบคุณภาพต่างๆหลายประการ เช่น ความสามารถในการงอกหรือความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์ การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ ความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ ความชื้นของเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ โดยการวัดดัชนีการงอก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

112 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? นักเรียนคิดว่าเมล็ดพืชที่มีสภาพพักตัวนานกับเมล็ดพืชที่ไม่มีสภาพพักตัวจะมีข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบในการขยายพันธุ์อย่างไรบ้าง? ตอบ เมล็ดพืชที่มีสภาพพักตัวนาน จะได้เปรียบในแง่ที่มีค่าร้อยละของการอยู่รอดสูงเมื่อสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม เอ็มบริโอสามารถพักอยู่ในเปลือกเมล็ดได้เป็นเวลานานในขณะที่เมล็ดพืชที่ไม่มีสภาพพักตัวงอกตั้งแต่อยู่ในผล สิ่งแวดล้อมในการเจริญเติบโตยังไม่เหมาะสม ค่าร้อยละของการอยู่รอดจึงน้อยลง แต่เมล็ดพืชที่ไม่มีการพักตัวก็อาจจะได้เปรียบในแง่ที่งอกเร็วเจริญเติบโตได้เร็วก็แพร่พันธุ์ได้เร็ว การมีเมล็ดจำนวนมากก็จะช่วยให้อยู่รอดได้มากขึ้นถ้าหลายเมล็ดงอกออกมาแล้วตายก็ยังมีเหลืออยู่หลายเมล็ดอยู่รอดได้บ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

113 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

114 ตารางที่ 13.2 การงอกของต้นกล้าถั่วเหลืองที่ได้มาจากแหล่งที่แตกต่างกัน 3 แหล่ง
เมล็ดพันธุ์ จำนวนเมล็ดที่งอกในแต่ละวัน ดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์ วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 วันที่ 6 วันที่ 7 แหล่งที่ 1 - 25 20 แหล่งที่ 2 40 30 แหล่งที่ 3 15 8 2 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

115 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? เมื่อเพาะเมล็ดพันธุ์ครบ 7 วัน เมล็ดพันธุ์แต่ละแหล่งมีค่าดัชนีการงอกเป็นใด? ตอบ แหล่งที่ แหล่งที่ แหล่งที่ (ในความเป็นจริงอาจไม่เลือกค่าดัชนีการงอกสูงสุด แต่อาจเลือกจากปริมาณเมล็ดที่งอกได้มากและงอกได้สม่ำเสมอ) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

116 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ถ้านักเรียนเป็นเกษตรกรไม่ควรเลือกเมล็ดพันธุ์จากแหล่งใดมาเพาะปลูก เพราะเหตุใด? ตอบ จากค่าดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์ทั้ง 3 แหล่ง แหล่งที่ 1 มีค่าดัชนีการงอกต่ำที่สุดไม่ถึง 20 แสดงว่าเมล็ดมีความแข็งแรงต่ำกว่าแหล่งอื่นๆ จึงงอกช้าที่สุดเพื่อขยายความรู้นักเรียนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

117 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์โดยการหาค่าดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์นั้นเหมาะสำหรับเกษตรกรที่จะใช้ตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ก่อนที่จะเลือกนำไปเพาะปลูก ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาจากกิจกรรมต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

118 กิจกรรมเสนอแนะ การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์
วัสดุอุปกรณ์ 1.เมล็ดพืชที่สนใจจะนำมาศึกษา 2.กระบะเพาะเมล็ด วิธีการทดลอง ให้นักเรียนออกแบบการทดลองเพื่อตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์พืชชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งหาได้ง่ายในท้องถิ่นจากแหล่ต่างๆกัน อย่างน้อย 2 แหล่ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และบันทึกผล ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

119 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด เมล็ดมีความสำคัญในแง่ที่เป็นแหล่งสะสมพันธุกรรมของพืช เพราะในเซลล์ของเอ็มบริโอทุกเซลล์มีสารพันธุกรรมหรือยีนของพืชชนิดนั้นๆอยู่แม้ว่าต้นพืชชนิดนั้นจะตายไป แต่ถ้ามีการเก็บเมล็ดของพืชชนิดนั้นไว้ก็ยังมียีนของพืชนั้นๆ ที่พร้อมจะขยายพันธุ์ต่อไปได้ปัจจุบันนี้หลายประเทศให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและพันธุ์พืชเป็นอย่างมากสำหรับประเทศไทยสถาบันวิจันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งธนาคารเชื้อพันธุ์พืชแห่งชาติขึ้นเพื่อเก็บรวบนวมและอนุรักษ์พันธุ์พืชชนิดต่างๆทั่วประเทศ เช่น พันธุ์พืชที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์หรือพันธุ์พืชที่ดีมีประโยชน์ เป็นต้น เพื่อไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชต่างๆในอนาคต ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

120 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การงอกของเมล็ด ขั้นตอนของการอนุรักษ์พันธุ์พืช เริ่มด้วยการรวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชมาบันทึกประวัติข้อมูลเมล็ดพันธุ์ คัดขนาดเมล็ดพันธุ์ ต่อจากนั้นต้องทำความสะอาดและทดสอบการงอกของเมล็ดพันธุ์ ทำเมล็ดให้แห้งและเก็บรักษาไว้ในภาชนะ เช่น กระป๋อง หรอซองอะลูมิเนียม ขั้นสุดท้ายนำไปเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส ถึง 0 องศาเซลเซียส จะสามารถเก็บไว้ได้นานกว่า 20 ปี ดังภาพที่ 13-17 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

121 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? เกษตรกรมีวิธีการเก็บเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อไว้ใช้เพาะปลูกในฤดูถัดไปได้อย่างไร? ตอบ ควรเก็บเมล็ดพันธุ์เมื่อแก่จัด แล้วนำเมล็ดพันธุ์ไปผึ่งให้แห้ง เพื่อลดความชื้นภายในเมล็ดหลังจากนั้นให้เก็บเมล็ดพันธุ์ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดเพื่อป้องกันมิให้แมลงหรือสัตว์อื่นๆเข้าไปกินเมล็ดพันธุ์และนำเมล็ดพันธุ์ไปเก็บในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ ความชื้นต่ำที่มีอากาศถ่ายเทได้ในการเก็บเมล็ดพันธุ์ต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะๆเมล็ดใดที่สึกหรอควรหามาทดแทนใหม่เพื่อให้มีเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

122 13.2 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชดอกและการขยายพันธุ์พืช

123 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
13.2 พืชดอกนอกจากจะสืบพันธุ์โดยใช้เมล็ดซึ่งเป็นวิธีการสอบพันธุ์แบบอาศัยเพศแล้วยังมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืชที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชที่เป็นกลไกตามธรรมชาติ เช่นการสร้างต้นใหม่ขึ้นมาจากต้นเดิมโดยสร้างจากเนื้อเยื่อบางบริเวณของส่วนต่างๆ โดยไม่ผ่านการปฏิสนธิ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศตามธรรมชาตินั้น พบได้หลายรูปแบบ ดังตารางที่ 13.3 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

124 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ตารางที่ 13.3 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชตามธรรมชาติโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เนื้อเยื่อจากส่วน ตัวอย่างพืช ราก โมก ปีบ ลำต้นใต้ดิน ขิง ข่า กล้วย ไผ่ ไหล ผักตบชวา บัวบก บัว สตรอเบอรี ใบ กุหลาบหิน เศรษฐีหมื่นล้าน คว่ำตายหงายเป็น ช่อดอก ป่านศรนารายณ์ ขิงแดง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

125 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? ให้นักเรียนยกตัวอย่างพืชอื่นๆ ที่มีการสืบพันธุ์โดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืช ที่นักเรียนรู้จักมาอย่างน้อย 1-2 ตัวอย่าง? ตอบ ตัวอย่างพืชที่มีการสืบพันธุ์โดยใช้ส่วนต่างๆอีกเช่น ต้นนางแย้ม สืบพันธุ์โดยรากที่แผ่แล้วแตกขึ้นมาเป็นต้นใหม่ ขมิ้นเป็นลำต้นใต้ดิน ซึ่งสามารถแทงหน่อหรือต้นอ่อนขึ้นมาเหนือพื้นดินได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

126 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
13.2 การที่พืชสามารถเพิ่มจำนวนโดยการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเช่นนี้ ทำให้มนุษย์สามารถแยกต้นใหม่ที่เกิดขึ้นเหล่านี้มาปลูกซึ่งถือเป็นการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ทำให้ได้พืชพันธุ์เดิมในปริมาณที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้มนุษย์ยังได้ใช้ความรู้ทางด้านโครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชมาใช้ในการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีอื่นๆเพื่อเพิ่มจำนวนพืชต้นเดิม เช่น การปักชำ การติดตา การทาบกิ่ง การเสียบยอด การตอน การแบ่งหัวของบอนสี การผ่าหัวของว่านสี่ทิศ เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

127 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? นักเรียนคิดว่าการนำส่วนต่างๆ ของพืชมาขยายพันธุ์นั้น จะมีผลดีหรือผลเสียอย่างไร? ตอบ ถ้านำส่วนของรากลำต้นหรือใบมาขยายพันธุ์นั้นมีผลดี คือได้ต้นพืชที่มีลักษณะเหมือนต้นเดิมไม่กลายพันธุ์ และให้ดอกและผลเร็ว แต่ผลเสียคือการขยายพันธุ์วิธีนี้ต้นพืชจะไม่มีรากแก้วทำให้ระบบรากไม่แข็งแรง ส่วนการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดนั้นมีผลดีคือ ต้นพืชจะมีระบบรากแก้วได้ต้นพืชเป็นจำนวนมากและมีความหลากหลายทางพันธุกรรม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

128 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
13.2 ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (plant tissue culture) ทางการเกษตรอย่างแพร่หลาย เพื่อขยายพันธุ์พืชให้ได้จำนวนมากในคราวเดียวกันและมีลักษณะเหมือนพันธุ์เดิม ซึ่งประสบผลสำเร็จในพืชหลายชนิด โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจ เช่น กล้วยไม้ กล้วย และสตรอเบอรี รวมทั้งพืชดอกอื่นๆ เป็นต้น การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เป็นการนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชไม่ว่าจะเป็นอวัยวะ เนื้อเยื่อ เซลล์ แม้กระทั่งโพรโทพลาสต์ (protoplast) ซึ่งเป็นเซลล์พืชที่เอาผนังเซลล์ออกมาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ ชิ้นส่วนของพืชที่นำมาเลี้ยงเหล่านี้จะเจริญไปเป็นแคลลัส (callus) ซึ่งส่วนใหญ่ ระยะนี้อาจแข่งเพิ่มจำนวนได้มากขึ้นเรื่อยๆและสามารถชักนำให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นลำต้นและรากได้ เกิดเป็นพืชต้นเล็กๆจำนวนมากซึ่งสามารถแยกไปเลี้ยงในอาหารใหม่ เมื่อพืชต้นเล็กเจริญเติบโตได้ระยะหนึ่งแล้ว จึงสามารถย้ายไปปลูกในดินได้ต่อไป หรืออาจนำเอ็มบริโอในเมล็ดมาเพาะเลี้ยงในอาหารเพื่อชักนำให้เอ็มบริโองอกเป็นต้นกล้าในหลอดทดลอง และนำชิ้นส่วนของต้นกล้าซึ่งสะอาดและปราศจากเชื้อในหลอดทดลองมาทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้อีกเพื่อให้ได้ต้นพืชเล็กๆจำนวนมาก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

129 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
13.2 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

130 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมีประโยชน์อย่างไร? ตอบ เป็นการขยายพันธุ์พืชโดยเฉพาะพืชที่ได้รับการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์แล้วที่รวดเร็วและได้ปริมาณมากโดยใช้เวลาเพียงเล็กน้อยต้นพืชที่ได้ใหม่จะมีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมเหมาะที่จะขยายพันธุ์พืชเศรษฐกิจพืชที่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือพืชปกติจะขยายพันธุ์แบบใช้เพศได้ยากหรือไม่ได้เลย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

131 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
13.2 นอกจากนี้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชยังมีประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์พืช การผลิตพืชที่ปลอดโรค การสร้างพืชสายพันธุ์แท้ การเก็บพันธุ์พืชเพื่อการอนุลักษณ์ ส่วนทางด้านการแพทย์และเภสัชกรรมสามารถทำให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อพืชสร้างสารเคมีที่ต้องการได้ นอกจากนี้ยังมีการทำเมล็ดเทียม (artificial seed) เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์พืชบางชนิดที่ปกติขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้ยากเพราะเอนโดสเปิร์มไม่ค่อยเจริญ เช่น กล้วยไม้ แครอท ยาสูบ ซึ่งการผลิตเมล็ดเทียมนี้พัฒนามาจากหลักการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยการนำกลุ่มเซลล์ของพืชที่เจริญมาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจนถึงขั้นลักษณะที่เป็นเอ็มบริโอเทียมเรียกว่าโซมาติกเอ็มบริโอ (somatic embryo) แล้วนำมาห่อหุ้มด้วยสารอาหารที่ทำหน้าที่แทนเอ็นโดสเปิร์มและเปลือกเมล็ด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

132 13.3 การวัดการเจริญเติบโตของพืช

133 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
13.3 นักเรียนคงเคยสังเกตเห็นพืชที่มีการงอกออกมาจากเมล็ดจนเป็นต้นอ่อนและเจริญเติบโตเต็มที่สร้างกิ่งใบ ออกดอกและผลมาแล้ว นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่าพืชเหล่านั้นมีการเจริญเติบโต และสังเกตได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้สามารถทราบได้หากมีการวัดการเจริญเติบโตของพืช การวัดการเจริญเติบโตของพืชสามารถวัดได้หลายวิธี เช่น ความสูง จำนวนใบ ขนาดของใบ เส้นรอบวง มวล เป็นต้น นักเรียนคิดว่าวิธีการวัดแต่ละวิธีมีข้อจำกัด ข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

134 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
13.3 วิธีการวัดการเจริญเติบโตของพืชที่นิยมใช้มากที่สุด คือ การวัดมวลหรือน้ำหนักของพืชโดยอาจวัดเป็นน้ำหนักสดหรือน้ำหนักแห้ง สำหรับการวัดมวลก็เป็นน้ำหนักสดนั้น ผลที่ได้อาจไม่บ่งบอกถึงมวลชีวภาพที่แท้จริงทั้งหมดเพราะมีน้ำอยู่ด้วย ส่วนการชั่งน้ำหนักแห้งโดยการนำพืชทั้งต้นมาอบให้น้ำระเหยไปจนหมดได้ค่าน้ำหนักแห้งซึ่งเป็นค่ามวลชีวภาพที่แท้จริง เนื่องจากพืชแต่ละต้นมีการเจริญเติบโตแตกต่างกัน ทั้งนี้ในการวัดการเจริญเติบโตของพืชโดยการวัดมวลจึงต้องมาจากค่าเฉลี่ยของพืชหลายๆต้น ณ เวลาต่างๆกัน ทั้งนี้ในการศึกษาการเจริญเติบโตของพืชจึงต้องปลูกพืชจำนวนมากแล้วสุ่มตัวอย่างมาจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนของพืชทั้งหมดหากต้องการทราบอัตราการเจริญเติบโต ให้นำข้อมูลที่ได้มาเขียนกราฟระหว่างมวลกับเวลา ก็จะสามารถหาอัตราการเจริญเติบโตได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

135 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
13.3 การวัดการเจริญเติบโตของพืชที่มีหลากหลายวิธีนี้ บางวิธีอาจมีข้อจำกัดแตกต่างกันไปในพืชแต่ละชนิด เช่น การวัดความสูง อาจไม่สามารถใช้กับพืชที่มีความสูงมากจนไม่สามารถวัดได้ต้องเปลี่ยนมาเป็นการวัดเส้นรอบวงของลำต้นแทน หรือพืชบางชนิดที่มีความสูงไม่เพิ่มขึ้นแต่ยังคงมีการแผ่กิ่งก้านอาจใช้วิธีอื่นวัดการเจริญเติบโต เช่น การนับจำนวนใบ การวัดมวล เป็นต้น นอกจากนี้สิ่งหนึ่งที่ควรระวังสำหรับผู้ที่ต้องการวัดค่าการเจริญเติบโตของพืชคือ การรู้จักลักษณะส่วนต่างๆ ของพืชที่ศึกษาอย่างถูกต้องเพื่อที่จะได้เลือกใช้วิธีการเหมาะสมในการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องอย่างแท้จริง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

136 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? นักเรียนคิดว่าวิธีการวัดการเจริญเติบโตต่างๆ เหล่านี้มีข้อจำกัดอย่างไร? ตอบ วิธีวัดการเจริญเติบโตของพืชแบบต่างๆมีข้อจำกัดคือ 1.การใช้ความสูง การวัดค่าความสูงมีโอกาสคลาดเคลื่อนเนื่องจากขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้วัดความเที่ยงตรงของคนวัดและกรณีที่พืชมีความสูงมากอาจใช้วิธีนี้ไม่ได้อาจต้องใช้เป็นการวัดเส้นรอบวงของลำต้นแทน 2.การวัดมวลหรือน้ำหนักสดของพืชอาจไม่ได้ค่าน้ำหนักที่แท้จริงและถ้าจำนวนตัวแทนพืชมีน้อยไปก็ยังไม่ถือว่าเป็นตัวแทนทั้งหมดได้ 3.การชั่งน้ำหนักแห้งของพืช เนื่องจากมวลชีวภาพของพืชแต่ละต้นมีความแตกต่างกันถ้าตัวแทนพืชที่ใช้มีจำนวนน้อยไปก็ยังไม่ถือว่าเป็นตัวแทนของพืชทั้งหมดได้ 4.การนับจำนวนใบ ถ้าเป็นพืชที่มีการแตกกิ่งก้านสาขามากอาจไม่สะดวกในการนับหรือถ้าตัวแทนพืชตัวอย่างน้อยไปก็ยังไม่ถือว่าเป็นตัวแทนพืชทั้งหมดได้ เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

137 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
13.3 การเจริญเติบโตของพืชตั้งแต่งอกออกจากเมล็ดจนโตเต็มที่ ออกดอก ออกผล คล้ายกับกราฟการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตทั่วๆไป สามารถเขียนกราฟของการเจริญเติบโตรูปตัว S หรือ S-shaped เช่น ฝ้าย ดังภาพที่ 13-19 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

138 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
13.3 แต่ในพืชบางชนิดที่ลำต้นยืดยาวไปได้เรื่อยๆ เช่น ไม้เลื้อยจำพวกตำลึง มะระ แตง ลำต้นจะยืดยาวแม้ว่าจะมีการสร้างดอก และติดผลแล้วซึ่งเป็นการเจริญเติบโตในลักษณะไม่จำกัดความสูง การวัดการเจริญเติบโตด้วยการวัดความสูงของพืชเหล่านี้อาจไม่ใช่วิธีการวัดที่ถูกต้องเพราะเมื่อนำข้อมูลมาเขียนกราฟแสดงการเจริญเติบโตจะไม่เป็นรูปตัว S ดังภาพที่ ดังนั้นจึงอาจเลือกใช้วิธีวัดมวลหรือวิธีอื่นๆ ที่เหมาะสม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

139 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถาม ? เพราะเหตุใดกราฟแสดงการเจริญเติบโตของถั่วแดงจึงไม่เป็นกราฟรูปตัว S เหมือนของฝ้าย? ตอบ เพราะอายุของต้นถั่วแดงมากกว่า 1 เดือน แต่ช่วงการวัดการเจริญเติบโตเพียง 12 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างมากยังสามารถเจริญเติบโตได้อีก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

140 13.3 การวัดการเจริญเติบโตของพืช โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า พืชดอกมีการสร้างดอกซึ่งเป็นอวัยวะที่เหมาะสมต่อการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ดอกของพืชแต่ละชนิดมีโครงสร้างดอกที่แตกต่างกัน ซึ่งจะสร้างสปอร์ 2 ชนิด คือไมโครสปอร์และเมกะสปอร์ที่จะพัฒนาต่อไปเป็นเรณูและถุงเอ็มบริโอตามลำดับซึ่งเป็นระยะแกมีโทไฟต์ของพืชดอกและมีหน้าที่ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์ซึ่งไซโกตจะเจริญต่อไปเป็นเอ็มบริโออยู่ภายในเมล็ดและเอนโดสเปิร์มเซลล์เจริญเป็นเอนโดสเปิร์มถ้าสภาพแวดล้อมที่เหมาะก็ไม่สามารถงอกได้ต้องมีระยะเวลาปรับสภาพภายในเมล็ดก่อนจึงจะสามารถงอกได้ เมื่อเมล็ดงอกได้พืชต้อนเล็กๆเรียกว่าต้นกล้าซึ่งจะมีการเจริญเติบโตต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

141 ความรู้สำหรับนักเรียน

142 ความรู้สำหรับนักเรียน โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ดอกกล้วย กล้วยมีดอกช่อเรียก เครือกล้วย ดอกย่อยมีกลีบและกลีบเลี้ยงติดกันเรียกวงกลีบรวม (perianth) มี 2 ส่วนคือ วงกลีบรวมใหญ่เกิดจากวงกลีบรวม 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นใหญ่ มีวงกลีบรวม 3 กลีบอยู่ตรงกลางและมีวงกลีบรวมเล็กอยู่ข้างละกลีบ และยังมีวงกลีบรวมอีกส่วนหนึ่งอยู่ด้านล่างของดอกมีลักษณะเป็นแผ่นใสไม่มีสี หรือสีม่วงเรื่อๆ ขนาดเล็กและสั้นกว่าวงกลีบรวมใหญ่ ดังภาพ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

143 ความรู้สำหรับนักเรียน โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ดอกกล้วยบางดอกมีการลดรูปของเกสรเพศผู้ จึงจัดว่าเป็นดอกเพศเมียอยู่ช่วงต้นๆ หรือโคนของเครือเมื่อมีการผสมเกสรจนเกิดการปฏิสนธิ แล้วเจริญเป็นผลที่มีเมล็ดหรือเจริญเป็นผลโดยไม่ต้องมีการปฏิสนธิ ส่วนดอกบางดอกมีรังไข่แต่รังไข่ฝ่อจัดเป็นดอกเพศผู้ที่มีขนาดเล็ก ผอมอยู่ช่วงปลายเครือไม่ติดผล ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

144 ความรู้สำหรับนักเรียน โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ดอกข้าว ข้าวออกดอกเป็นช่อเรียก รวงข้าว ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ชั้นวงกลีบลดรูปมาก มักเห็นเป็นแผ่นคล้ายเกล็ดขนาดเล็ก 2 แผ่น หรืออาจลดรูปหายไปหมด เกสรเพศผู้จำนวน 6 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ยอกเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก มีขนยาวคล้ายเป็นพู่ ดอกย่อยแต่ละดอกมีใบประดับขนาดใหญ่ 2 อัน มีสันตามยาวชัดเจน ประกบหุ้มเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียเอาไว้ หลังการปฏิสนธิรังไข่ทั้งหมดเจริญไปเป็นผล โดยผนังรังไข่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นผนังผล แต่มีลักษณะที่บางมากและเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกันกับเปลือกเมล็ด (ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากผนังออวุล (integument) กลายเป็นเยื่อบางๆ หุ้มล้อมรอบเอนโดสเปิร์มและเอ็มบริโอที่อยู่ภายใน ส่วนใบประดับขนาดใหญ่ 2 แผ่น จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเปลือกแข็งหุ้มส่วนข้างในทั้งหมดซึ่งเป็นผลเอาไว้ แต่คนทั่วไปมักเรียกว่า “เมล็ดข้าวเปลือก” เมื่อนำเมล็ดข้าวเปลือกมาตำหรือสี ส่วนของเปลือกข้าวหรือใบประดับนี้จะถูกกะเทาะหลุดออกมาเรียกว่า “แกลบ” ส่วนที่เหลือทั้งหมดที่ยังมีเยื่อบางๆ สีน้ำตาลของผนังผลและเปลือกเมล็ดที่เชื่อมติดกันหุ้มเอาไว้อยู่เห็นเป็นผลเรียกว่า “ข้าวกล้อง” ซึ่งคนไปมักเรียกว่า “เมล็ด” ข้าว ด้านล่างของผลข้าวหรือที่มักเรียกว่าเมล็ดข้าวนี้ จะมีลักษณะเป็นสันนูนเล็กน้อย คนทั่วไปเรียกว่า “จมูกข้าว” ซึ่งที่จริงคือ เอ็มบริโอนั้นเอง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

145 ความรู้สำหรับนักเรียน โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

146 ความรู้สำหรับนักเรียน โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ดอกข้าวโพด ข้าวโพดออกดอกเป็นช่อแยกเพศกัน ดอกย่อยจึงเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ ช่อดอกเพศผู้เกิดที่ปลายยอด มีลักษณะเป็นช่อแยกแขนง ดอกเพศผู้แต่ละดอกมีใบประดับสีเขียวขนาดเล็กเป็นแผ่นบางลักษณะคล้ายใบล้อมรอบเกสรเพศผู้จำนวน 3 อัน เอาไว้ภายใน ดอกเพศผู้มักอยู่เป็นคู่ โดยแต่ละคู่ของดอกเพศผู้จะมีใบประดับสีเขียวแต่มีขนาดใหญ่กว่าคลุมเอาไว้อีกชั้นหนึ่ง ช่อดอกเพศเมียเกิดที่ข้อระดับต่ำลงมาบริเวณข้อกลางๆ ของลำต้น ช่อดอกเพศเมียมีใบประดับขนาดใหญ่สีเขียวหุ้มล้อมปิดหลายชั้น มีแกนช่อดอกขนาดใหญ่ ดอกเพศเมียมีจำนวนมาก เรียงชิดกันแบบวนไปรอบแกนช่อดอก ดอกเพศเมียแต่ละดอกมีใบประดับบางใสคล้ายเยื่อหุ้มส่วนอื่นเอาไว้ ภายในมีเกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียยาวมาก มีลักษณะคล้ายเป็นเส้นไหมยื่นโผล่พ้นออกมาเนื่องมีดอกเพศเมียจำนวนมากนี้ช่อดอกจึงเห็นก้านเกสรเพศเมียเป็นกลุ่มอยู่ที่ปลายช่อดอก แต่ละรังไข่จะเจริญเป็น “ผล” ซึ่งคนทั่วไปมักเรียกว่า “เมล็ด” ข้าวโพด ดังนั้นช่อดอกข้าวโพดจึงเจริญเป็นฝักข้าวโพดที่มีผลจำนวนมากติดอยู่บนแกนขนาดใหญ่ เมื่อแกะเอาผลหรือที่มักเรียกกันว่าเมล็ดออกไปแล้ว จะเหลือแต่แกนช่อดอกและใบประดับของดอกย่อยเรียกกันว่า “ซังข้าวโพด” ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

147 ความรู้สำหรับนักเรียน โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

148 ความรู้สำหรับนักเรียน โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ดอกชบา ชบาเป็นดอกช่อที่มีวิวัฒนาการลดรูปเหลือเพียงดอกย่อยที่ปลายช่อเพียงหนึ่งดอก เป็นผลสมบูรณ์ กลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ เชื่อมติดกันคล้ายรูปหลอด ปลายแยกเป็น 4-5 แฉก โคนหลอดกลีบเลี้ยงมีริ้วประดับ กลีบดอกสีแดงหรือ ขาว หรือชมพู 5 กลีบ เชื่อมติดกันเล็กน้อยที่โคน และเชื่อมติดกับโคนหลอดเกสรเพศผู้ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูเชื่อติดกันเป็นหลอด และหุ้มล้อมรอบรังไข่ และก้านยอดเกสรเพศเมียซึ่งมี 1 อัน แต่ส่วนปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก ได้เป็นยอดเกสรเพศเมีย 5 อัน มีลักษณะกลมหรือรี มีขน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

149 คำถามท้ายบทที่ 13

150 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 13 1.ให้นักเรียนศึกษาแผนภาพนี้แล้วตอบคำถาม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

151 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 13 1.1 จากแผนภาพนี้บอกอะไรได้บ้าง? ตอบ ดอกนี้เป็นดอกสมบูรณ์เพศ และเป็นดอกสมบูรณ์ รังไข่ใต้วงกลีบและมีรังไข่เดียวในดอกๆเดียว 1.2 ยกตัวอย่างพืชที่มีโครงสร้างเช่นนี้มา 2 ชนิด? ตอบ แตงกวา แตงไทย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

152 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 13 2. ให้นักเรียนเขียนแผนภาพเปรียบเทียบโครงสร้างของรังไข่และผลของพืชมา 1 ชนิด เช่น รังไข่ของมะละกอ และผลมะละกอ ตอบ แผนภาพเปรียบเทียบระหว่างรังไข่และผลมะละกอ เป็นดังนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

153 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 13 3. ให้นักเรียนศึกษาภาพถ่ายถุงเอ็มบริโอภายใต้กล้องจุลทรรศน์แล้วตอบคำถาม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

154 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 13 3.1 หมายเลขใดเมื่อได้รับการปฏิสนธิแล้วจะเจริญเป็น เอนโดสเปิร์มนิวเครียส? ตอบ หมายเลข หมายเลขใดเมื่อได้รับการปฏิสนธิแล้วกลายเป็นไซ โกต? ตอบ หมายเลข ถ้าหมายเลข 5 มีโครโมโซมเท่ากับ 36 หมายเลข 3 และหมายเลข 4 มีโครโมโซมเท่าใด? ตอบ 18 โครโมโซม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

155 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 13 4. ให้นักเรียนศึกษาตารางแสดงค่าร้อยละของสารต่างๆที่อยู่ในเมล็ดและในต้นกล้าของพืชชนิดหนึ่งที่มีอายุ 6 และ 9 วัน ดังตารางข้างล่างนี้แล้วตอบคำถาม ไขมัน โปรตีน แป้ง เซลลูโลส สารอินทรีย์อื่นๆ สาร อนินทรีย์ น้ำหนักที่ลดลง เมล็ด 33 24.0 15.0 23 5 - ต้นกล้าอายุ 6 วัน 18 23.0 7 15.1 28 3.9 ต้นกล้าอายุ 9 วัน 16 23.5 3 16.6 29 6.9 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

156 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 13 จากข้อมูลข้างต้นนี้ ให้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของเมล็ดขณะที่เมล็ดกำลังงอก ตอบ ขณะเมล็ดกำลังงอก ลิพิดลดลง โปรตีนเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยขณะที่แป้งและเซลลูโลสเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงมาจากลิพิด และเซลลูโลสเพิ่มขึ้นอาจเนื่องมาจาก ขณะที่มีการเจริญเติบโต จำนวนเซลล์เพิ่มขึ้นจึงต้องมีการสร้างผนังเซลล์ และส่วนประกอบของเซลล์เพิ่มขึ้น น้ำหนักลดลงอาจจะเป็นเพราะมีการใช้พลังงานจากการสลายลิพิด และแป้ง เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต และปริมาณน้ำในเมล็ดลดลง ส่วนสารอนินทรีย์คงที่อาจเป็นเพราะว่า สารอนินทรีย์ นำไปใช้ประโยชน์ในการเจริญเติบโต แต่ไม่ได้สูญเสียไปจากเนื้อเยื่อพืช และที่ไม่เพิ่มขึ้นเป็นเพราะว่ารากยังไม่สามารถทำหน้าที่ดูดสารอนินทรีย์ จากสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

157 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 13 5. พืชบางชนิดมีวิวัฒนาการไปพร้อมๆกับแมลงที่ถ่ายละอองเรณูทำให้พืชชนิดนี้มีแมลงที่จำเพาะเท่านั้นที่สามารถถ่ายเรณูได้ นักเรียนคิดว่าวิวัฒนาการของพืชในลักษณะนี้จะมีผลต่อพืชอย่างไร? ตอบ วิวัฒนาการของพืชในลักษณะนี้จะมีผลพืชชนิดนี้ คือ มีแมลงชนิดเดียวเท่านั้นที่จะช่วยในการถ่ายเรณู ดังนั้นปริมาณการถ่ายเรณูจึงขึ้นอยู่กับจำนวนของแมลง ถ้าแมลงชนิดนี้สูญพันธุ์จะมีผลต่อการถ่ายเรณูของพืชชนิดนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

158 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 13 6. ให้นักเรียนศึกษาพืชในท้องถิ่นประมาณ 2-3 ชนิด ว่าพืชชนิดนั้นๆ มีแมลงชนิดใดช่วยในการถ่ายเรณูและแมลงนั้นมีลักษณะเหมาะสมต่อการถ่ายเรณูของพืชชนิดนั้นอย่างไร? ตอบ ขึ้นกับพืชที่นักเรียนศึกษา และแมลงที่ช่วยในการถ่ายละอองเรณู โดยทั่วไป แมลงที่ถ่ายละอองเรณูเช่น ผีเสื้อ ผึ้ง และ แมลงภู่ เป็นต้น เมื่อแมลงดูดกินน้ำหวานที่โคนกลีบดอก เรณูก็จะติดไปกับขา ขน ปีก และปากของแมลง เมื่อแมลงไปดูดกิน น้ำหวานที่ดอกไม้ชนิดอื่นๆ ทำให้เรณูที่ติดอยู่ตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

159 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 13 7. ให้นักเรียนสำรวจพืชในท้องถิ่นหรือพืชป่ามาอย่างน้อย 3 ชนิด ระบุชื่อพืชพร้อมทั้งวาดรูปแสดงลักษณะดอกของพืชแต่ละชนิด ตอบ ตัวอย่างส่วนประกอบของดอกพืชในท้องถิ่นบางชนิด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 13 การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google