งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

1. ขอบเขต 2. เอกสารอ้างอิง 3. คำศัพท์ และคำจำกัดความ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "1. ขอบเขต 2. เอกสารอ้างอิง 3. คำศัพท์ และคำจำกัดความ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ISO 14001:2004 Environmental management systems – Requirements with guidance for use
1. ขอบเขต 2. เอกสารอ้างอิง 3. คำศัพท์ และคำจำกัดความ 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม 4.1 ข้อกำหนดทั่วไป 4.2 นโยบายสิ่งแวดล้อม 4.3 การวางแผน 4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.5 การตรวจสอบ 4.6 การทบทวนของฝ่ายบริหาร

2 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.1 ข้อกำหนดทั่วไป 1. องค์กรต้องจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดย ทำเป็นเอกสาร นำไปใช้และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามข้อกำหนดของมาตรฐานฉบับนี้ และกำหนดวิธีการที่จะทำให้เป็นตามข้อกำหนดนี้ 2. องค์กรต้องกำหนดขอบเขตของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และจัดทำเป็นเอกสาร

3 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.2 นโยบายสิ่งแวดล้อม 1. ผู้บริหารสูงสุดต้องกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร และมั่นใจว่าอยู่ภายใต้ขอบเขตของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งนโยบายสิ่งแวดล้อมจะ ก) เหมาะสมกับลักษณะ ขนาด และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ เกิดจากกิจกรรม , ผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กร ข) แสดงความมุ่งมั่นในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและป้องกัน มลพิษ

4 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.2 นโยบายสิ่งแวดล้อม ค) แสดงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนด อื่นๆที่องค์กรเกี่ยวข้อง รวมถึงลักษณะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ขององค์กรที่เกี่ยวกับกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆด้วย ง) กำหนดขอบเขตในการกำหนดและทบทวนวัตถุประสงค์และ เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม จ) จัดทำเป็นเอกสาร ปฏิบัติตามและคงรักษาไว้ ฉ) สื่อสารให้ทุกคนที่ทำงานในองค์กรหรือในนามองค์กรทราบ ช) เผยแพร่สู่สาธารณะ

5

6

7

8

9 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.3 การวางแผน 4.3.1 ลักษณะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม 1. องค์กรต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาขั้นตอนการปฏิบัติงานในการ ก) ระบุลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมของกิจกรรม , ผลิตภัณฑ์ , บริการ ขององค์กรภายในขอบเขตที่กำหนดของระบบการจัดการ สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่องค์กรสามารถ ควบคุมได้ และที่มีผลกระทบ โดยคำนึงถึงการวางแผนหรือการ พัฒนาหรือการปรับปรุงกิจกรรม , ผลิตภัณฑ์ , บริการใหม่

10 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.3 การวางแผน 4.3.1 ลักษณะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ข) พิจารณาลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมใดที่มีหรือสามารถมีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ ( เช่น ลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ มีนัยสำคัญ ) 2. องค์กรต้องจัดทำข้อมูลเหล่านี้ไว้เป็นเอกสาร และทำให้ทันสมัยเป็นปัจจุบัน ( Update ) อยู่เสมอ 3. องค์กรต้องมั่นใจว่าลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ จะถูก นำไปพิจารณาในการจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร

11 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.3 การวางแผน 4.3.2 กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ 1. องค์กรต้องจัดทำ,นำไปใช้และคงรักษาขั้นตอนการปฏิบัติงานในการ ก) ระบุและเข้าถึงกฎหมายและข้อบังคับต่างๆที่องค์กรเกี่ยวข้อง และ เกี่ยวข้องกับลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมขององค์กร และ ข) พิจารณาว่าจะนำข้อกำหนดต่างๆเหล่านี้มาประยุกต์ใช้กับลักษณะ ปัญหาสิ่งแวดล้อมขององค์กรอย่างไร 2. องค์กรต้องมั่นใจว่ากฎหมายและข้อบังคับต่างๆที่องค์กรเกี่ยวข้อง จะถูก นำไปพิจารณาในการจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร

12 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.3 การวางแผน 4.3.3 วัตถุประสงค์ , เป้าหมายและแผนงาน 1. องค์กรต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นเอกสาร ในหน่วยงานและระดับต่างๆภายในองค์กร 2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายต้องสารมารถวัดผลได้ในกรณีที่สามารถทำได้ และสอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม รวมถึงความมุ่งมั่นในการป้องกันมลภาวะ , สอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับต่างๆที่องค์กรเกี่ยวข้อง และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

13 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.3 การวางแผน 4.3.3 วัตถุประสงค์ , เป้าหมายและแผนงาน 3. ในระหว่างจัดทำและทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมาย องค์กรต้องพิจารณากฎหมายและข้อบังคับต่างๆที่องค์กรเกี่ยวข้อง และลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ 4. การพิจารณานี้องค์กรต้องพิจารณาทางเลือกในด้านเทคโนโลยี , การเงิน , การปฏิบัติและข้อกำหนดทางธุรกิจและมุมมองของหน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

14 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.3 การวางแผน 4.3.3 วัตถุประสงค์ , เป้าหมายและแผนงาน 5. องค์กรต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาแผนงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย 6. แผนงานจะต้องรวมถึง ก) การกำหนดผู้รับผิดชอบในการทำให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ในหน่วยงานและระดับต่างๆที่เกี่ยวข้องในองค์กร ข) วิธีการและช่วงเวลาที่ใช้เพื่อให้สำเร็จตามแผน

15 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.4.1 ทรัพยากร , บทบาท , ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ 1. ผู้บริหารต้องมั่นใจในความสามารถของทรัพยากรที่จำเป็นในการจัดทำ , นำไปใช้ , คงรักษาและปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรจะรวมถึง ทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน , โครงสร้างพื้นฐาน , เทคโนโลยีและด้านการเงิน

16 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.4.1 ทรัพยากร , บทบาท , ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ 2. ทรัพยากร , บทบาท , ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ ต้องถูกกำหนดขึ้น , จัดทำเป็นเอกสารและสื่อสารเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประสิทธิผลของการจัดการสิ่งแวดล้อม 3. ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องแต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหารเฉพาะขึ้นมา

17 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.4.1 ทรัพยากร , บทบาท , ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ 4. นอกจากความรับผิดชอบอื่นๆแล้วต้องมีการกำหนดบทบาท , ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่สำหรับ ก) มั่นใจว่าระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมถูกจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษา ตามข้อกำหนดของมาตรฐานฉบับนี้ ข) รายงานประสิทธิภาพของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ผู้บริหาร รับทราบ เพื่อให้มีการทบทวนและมีคำแนะนำในการปรับปรุง

18 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.4.2 ความสามารถ , การฝึกอบรมและความตระหนัก 1. องค์กรต้องมั่นใจว่าบุคลากรที่ปฏิบัติงานให้กับองค์กรหรือในนามขององค์กรที่มีแนวโน้มจะทำให้เกิดผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมตามที่องค์กรได้ระบุไว้ จะมีความสามารถบนพื้นฐานของการศึกษา , การฝึกอบรมหรือประสบการณ์ที่เหมาะสม 2. และต้องเก็บบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา , การฝึกอบรมไว้

19 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.4.2 ความสามารถ , การฝึกอบรมและความตระหนัก 3. องค์กรต้องกำหนดการฝึกอบรมที่จำเป็นต่อลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร 4. องค์กรต้องจัดให้มีการฝึกอบรมหรือกิจกรรมอื่นๆเพื่อให้สอดคล้องตามจำเป็นนั้น 5. ต้องเก็บบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมหรือกิจกรรมอื่นๆนั้นไว้

20 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.4.2 ความสามารถ , การฝึกอบรมและความตระหนัก 6. องค์กรต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาขั้นตอนการปฏิบัติงานในการทำให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้กับองค์กรหรือในนามขององค์กรตระหนักถึง ก) ความสำคัญของการปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม และข้อกำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

21 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.4.2 ความสามารถ , การฝึกอบรมและความตระหนัก ข) ลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญและผลกระทบที่เกิดขึ้น จริงหรือมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับงานของพวกเขา และผลดีที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมจากการปรับปรุงประสิทธิภาพการ ทำงาน ค) บทบาทและความรับผิดชอบของการประสบความสำเร็จในการ สอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ง) ผลที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติที่กำหนด

22 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.4.3 การสื่อสาร 1. จากการพิจารณาลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร องค์กรต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับ ก) การสื่อสารภายในระหว่างระดับและส่วนต่างๆขององค์กร ข) การรับ , การจัดทำเป็นเอกสารและการตอบสนองต่อการสื่อสาร ต่างๆที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก

23 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.4.3 การสื่อสาร 2. องค์กรต้องตัดสินใจในการสื่อสารภายนอกเกี่ยวกับลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญขององค์กร 3. และต้องบันทึกการตัดสินใจนั้น 4. ถ้าหากตัดสินใจที่จะสื่อสาร องค์กรต้องจัดทำและนำวิธีการสื่อสารภายนอกนี้ไปใช้ไปใช้

24 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.4.4 การจัดทำเอกสาร 1. เอกสารของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมจะต้องรวมถึง ก) นโยบายสิ่งแวดล้อม , วัตถุประสงค์และเป้าหมายสิ่งแวดล้อม ข) รายละเอียดของขอบเขตระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

25 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.4.4 การจัดทำเอกสาร ค) รายละเอียดของส่วนหลักๆของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และความสัมพันธ์ระหว่างกัน และการอ้างอิงถึงเอกสารที่ เกี่ยวข้อง ง) เอกสาร , บันทึกต่างๆที่ต้องการโดยมาตรฐานฉบับนี้ จ) เอกสาร , บันทึกต่างๆที่จำเป็นที่กำหนดขึ้นโดยองค์กร เพื่อให้ มั่นใจในประสิทธิผลของวางแผน , การปฏิบัติและการควบคุม กระบวนการ

26 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.4.5 การควบคุมเอกสาร 1. เอกสารตามที่ต้องการในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานฉบับนี้ต้องถูกควบคุม 2. บันทึกเป็นเอกสารพิเศษและต้องถูกควบคุมตามข้อกำหนด 4.5.4 3. องค์กรต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาขั้นตอนสำหรับ

27 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.4.5 การควบคุมเอกสาร ก) อนุมัติเอกสารอย่างเหมาะสมก่อนนำไปใช้งาน ข) ทบทวนและทำให้ทันสมัยตามความจำเป็นและมีการอนุมัติซ้ำ ค) มั่นใจในการเปลี่ยนแปลงและสถานะปัจจุบันถูกระบุไว้ ง) มั่นใจว่าเอกสารที่เกี่ยวข้องฉบับปัจจุบันมีอยู่ที่จุดใฃ้งาน

28 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.4.5 การควบคุมเอกสาร จ) มั่นใจว่าเอกสารสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย และมีการชี้บ่งไว้แล้ว ฉ) มั่นใจว่ามีการระบุชื่อเอกสารจากภายนอกที่จำเป็นสำหรับ องค์กรในการวางแผนและการปฏิบัติในระบบการจัดการ สิ่งแวดล้อมและ มีการควบคุมการแจกจ่าย ช) ป้องกันการใช้เอกสารที่ยกเลิกการใช้งานแล้วโดยไม่ได้ตั้งใจ และต้องมีการชี้บ่งเอกสารที่ยกเลิกการใช้งานนั้นแล้วอย่าง เหมาะสม หากต้องการจะเก็บไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใดๆ

29 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.4.6 การควบคุมการปฏิบัติงาน 1. องค์กรต้องระบุและวางแผนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญตามที่ได้ระบุไว้ ให้สอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม , วัตถุประสงค์และเป้าหมาย เพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานต่างๆจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด โดย ก) จัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับ การควบคุมสถานการณ์ ที่หากไม่มีการควบคุมที่เหมาะสมแล้ว อาจทำให้เกิดการเบี่ยงเบนจาก นโยบายสิ่งแวดล้อม , วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย และ

30 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.4.6 การควบคุมการปฏิบัติงาน ข) กำหนดเกณฑ์การปฏิบัติงานไว้ในขั้นตอนการปฏิบัติงาน และ ค) จัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ ลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญของสินค้าและบริการที่ถูก ใช้โดยองค์กร และสื่อสารขั้นตอนการปฏิบัติงานและข้อกำหนดที่ เกี่ยวข้องให้ผู้ขายสินค้าและผู้รับจ้างช่วงทราบ

31 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.4.7 การเตรียมความพร้อมและการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน 1. องค์กรต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาขั้นตอนการปฏิบัติงานในการระบุสถานการณ์ฉุกเฉินและอุบัติเหตุที่สามารถมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวิธีการในการในการตอบโต้ 2. องค์กรต้อง ตอบโต้กับเหตุฉุกเฉินและอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และป้องกันหรือลดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม

32 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 การปฏิบัติและการดำเนินการ 4.4.7 การเตรียมความพร้อมและการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน 3. องค์กรต้องทบทวนขั้นตอนการเตรียมความพร้อมและการตอบโต้เหตุฉุกเฉินเป็นระยะๆ และแก้ไขตามความจำเป็น โดยเฉพาะหลังจากที่อุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น 4. องค์กรต้องทดสอบขั้นตอนการเตรียมความพร้อมและการตอบโต้เหตุฉุกเฉินเป็นระยะๆ หากทำได้

33 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

34 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

35 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.5 การตรวจสอบ 4.5.1 การเฝ้าติดตามและตรวจวัด 1. องค์กรต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาขั้นตอนการปฏิบัติงาน ในการเฝ้าติดตามและตรวจวัดในส่วนสำคัญของการปฏิบัติงานที่สามารถมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญอย่างสม่ำเสมอ 2. ขั้นตอนการปฏิบัติงานต้องรวมถึงเอกสารที่แสดงข้อมูลของประสิทธิภาพการเฝ้าติดตาม , การควบคุมการปฏิบัติงานต่างๆที่เกี่ยวข้องและเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร

36 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.5 การตรวจสอบ 4.5.1 การเฝ้าติดตามและตรวจวัด 3. องค์กรต้องมั่นใจว่าจะใช้งานและดูแลรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ในการเฝ้าติดตามและตรวจวัดที่ได้รับการสอบเทียบหรือทวนสอบแล้ว 4. และต้องเก็บบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการสอบเทียบหรือทวนสอบไว้

37 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.5 การตรวจสอบ 4.5.2 การประเมินความสอดคล้อง 1. เพื่อแสดงถึงความความมุ่งมั่นในการปฏิบัติให้สอดคล้อง องค์กรต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาขั้นตอนสำหรับการประเมินความสอดคล้องกับข้อกฎหมายต่างๆเป็นระยะๆ 2. องค์กรต้องเก็บบันทึกของผลการประเมินเป็นระยะๆนี้ไว้

38 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.5 การตรวจสอบ 4.5.2 การประเมินความสอดคล้อง 1. องค์กรต้องประเมินความสอดคล้องกับข้อบังคับต่างๆที่องค์กรเกี่ยวข้อง องค์กรอาจจะรวมการประเมินนี้กับการประเมินข้อกฎหมายต่างๆในข้อ หรืออาจจะแยกกันก็ได้ 2. องค์กรต้องเก็บบันทึกของผลการประเมินเป็นระยะๆนี้ไว้

39 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.5 การตรวจสอบ 4.5.3 ความไม่สอดคล้อง การปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน 1. องค์กรต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับดำเนินการกับความไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดที่เกิดขึ้นหรือมีแนวโน้มว่าจะเกิด เพื่อดำเนินการแก้ไขและป้องกันความไม่สอดคล้องนั้น 2. ขั้นตอนการปฏิบัติงานต้องระบุข้อกำหนดสำหรับ

40 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.5 การตรวจสอบ 4.5.3 ความไม่สอดคล้อง การปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน ก) ชี้บ่งและแก้ไขสิ่งที่ไม่สอดคล้องนั้น และดำเนินการลด ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ข) สืบสวนและพิจารณาสาเหตุของความไม่สอดคล้องนั้น และ ดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นอีก

41 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.5 การตรวจสอบ 4.5.3 ความไม่สอดคล้อง การปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน ค) ประเมินการดำเนินการที่ต้องการในการป้องกันความไม่ สอดคล้องนั้น และนำการดำเนินการที่เหมาะสมนั้นไปใช้ เพื่อ หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นอีก ง) บันทึกผลของการแก้ไขและการป้องกันนั้น และ จ) ทบทวนประสิทธิผลของการแก้ไขและป้องกันนั้น

42 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.5 การตรวจสอบ 4.5.3 ความไม่สอดคล้อง การปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน 3. การดำเนินการต้องเหมาะสมกับขนาดของปัญหา และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 4. องค์กรต้องมั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จำเป็น จะนำไปจัดทำเป็นเอกสารของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

43 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.5 การตรวจสอบ 4.5.4 การควบคุมบันทึก 1. องค์กรต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาบันทึกที่จำเป็นในการแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องตามข้อกำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และตามมาตรฐานนี้ และแสดงให้เห็นถึงผลสำเร็จ 2. องค์กรต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับการชี้บ่ง , การจัดเก็บ , การป้องกัน , การเรียกคืน , ระยะเวลาจัดเก็บและการทำลายบันทึก 3. บันทึกต้องอ่านง่าย , แสดงชื่อไว้และสอบกลับได้

44 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.5 การตรวจสอบ 4.5.5 การตรวจติดตามภายใน 1. องค์กรต้องมั่นใจว่าการตรวจติดตามภายในของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการตามช่วงเวลาที่วางแผนไว้ เพื่อ ก) พิจารณาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมว่า 1) สอดคล้องตามแผนที่กำหนดไว้ในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงมาตรฐานฉบับนี้ 2) มีการนำไปใช้และคงรักษาอยู่ ข) จัดเตรียมข้อมูลผลการตรวจติดตามให้ผู้บริหารรับทราบ

45 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.5 การตรวจสอบ 4.5.5 การตรวจติดตามภายใน 2. กำหนดการตรวจติดตามต้องถูกวางแผน , จัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาโดยองค์กร โดยพิจารณาถึงความสำคัญของการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง และผลการตรวจติดตามครั้งที่ผ่านมา 3. ขั้นตอนการตรวจติดตามต้องจัดทำ , นำไปใช้และคงรักษาโดยระบุ

46 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.5 การตรวจสอบ 4.5.5 การตรวจติดตามภายใน - หน้าที่ความรับผิดชอบและข้อกำหนดสำหรับการวางแผนและ การดำเนินการตรวจติดตาม , การรายงานผลและการเก็บบันทึกที่ เกี่ยวข้อง - การพิจารณาเกณฑ์การตรวจติดตาม , ขอบเขตการตรวจ , ความถี่และวิธีการ 4. การเลือกผู้ตรวจและการตรวจต้องมั่นใจในความยุติธรรมและเป็นอิสระจากงานที่ตรวจ

47 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.6 การทบทวนของฝ่ายบริหาร 1. ผู้บริหารสูงสุดต้องทบทวนระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรตามช่วงเวลาที่วางแผนไว้ เพื่อให้มั่นใจในว่าระบบยังคงเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง , เพียงพอและมีประสิทธิผล 2. การทบทวนต้องรวมถึงการประเมินโอกาสในการปรับปรุงและความจำเป็นสำหรับการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม , นโยบายสิ่งแวดล้อมและวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม

48 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.6 การทบทวนของฝ่ายบริหาร 3.ต้องมีการเก็บบันทึกของการทบทวนของฝ่ายบริหาร 4. ข้อมูลที่ต้องนำเข้าทบทวนของฝ่ายบริหารประกอบด้วย ก) ผลการตรวจติดตามภายในและการประเมินความสอดคล้องกับ กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆที่องค์กรมีความเกี่ยวข้อง ข) การสื่อสารจากหน่วยงานภายนอก รวมถึงข้อร้องเรียน

49 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.6 การทบทวนของฝ่ายบริหาร ค) ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร ง) วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่บรรลุผล จ) สถานะของการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน ฉ) การติดตามกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากการทบทวนของฝ่ายบริหาร ครั้งก่อน

50 4. ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.6 การทบทวนของฝ่ายบริหาร ช) การเปลี่ยนแปลง รวมถึงการเพิ่มเติมข้อมูลของกฎหมายและ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมขององค์กร ซ) ข้อเสนอสำหรับการปรับปรุง 5. ผลของการทบทวนของฝ่ายบริหารต้องรวมถึงการตัดสินใจและการดำเนินการการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้สำหรับนโยบาย , วัตถุประสงค์ , เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม และส่วนอื่นๆของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม , ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

51 จบแล้ว คำถาม ?

52 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมใหม่
Workshop การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมใหม่ กรมควบคุมมลพิษ เดิม กรมควบคุมมลพิษเป็นหน่วยงานหลักในการควบคุม ป้องกัน ลด และแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีของประเทศ ควบคู่ไปกับการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร ด้วยความมุ่งมั่นดังต่อไปนี้ ลดมลพิษและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปฏิบัติงาน ปฏิบัติงานตามกฎหมาย ข้อบังคับ และข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม รณรงค์ ปลุกจิตสำนึก และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงาน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำงาน ปรับปรุงและพัฒนาการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

53 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นโยบายสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำนโยบายและแผนจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ มีความมุ่งมั่นในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้ 1. ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด 2. ป้องกันและลดมลพิษสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน 3. ลดการใช้ทรัพยากรและส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 4. รณรงค์ สร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับ 5. ทบทวนและปรับปรุงการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

54 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
นโยบายสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงพลังงาน มีภารกิจหลักในการวางแผน พัฒนาระบบ จัดซื้อ ผลิตและส่งพลังงานไฟฟ้า รวมทั้งการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมุ่งมั่นพัฒนาพลังงานไฟฟ้าควบคู่ไปกับการพัฒนาองค์กรให้เป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม ผวก. จึงกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้ 1) ให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มาตรฐานและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด 2) เลือกใช้เทคโนโลยีที่สะอาดในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้โรงไฟฟ้าของ กฟผ. สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3) สนับสนุนให้ทุกโรงไฟฟ้าจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากลและรักษาระบบอย่างต่อเนื่อง 4) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (DSM) และโครงการกลไกการพัฒนา ที่สะอาด (CDM) เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน 5) เสริมสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้งภายในองค์กรและสังคมโดยรวม 6) ประกาศนโยบายสิ่งแวดล้อมไปสู่พนักงานทั้งหมดของ กฟผ. และผู้เกี่ยวข้องให้นำไปปฏิบัติและเผยแพร่ต่อสาธารณชน เพื่อดำเนินการตามแนวนโยบายสิ่งแวดล้อมขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

55


ดาวน์โหลด ppt 1. ขอบเขต 2. เอกสารอ้างอิง 3. คำศัพท์ และคำจำกัดความ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google