ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยLanny Gunawan ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
บทที่ 5 ทฤษฎีการผลิต การศึกษาด้านอุปทาน ทฤษฏีการผลิต (บทที่ 5)
บทที่ 5 ทฤษฎีการผลิต การศึกษาด้านอุปทาน ทฤษฏีการผลิต (บทที่ 5) ต้นทุนการผลิต (บทที่ 6) รายรับจากการผลิต (บทที่ 6)
2
การผลิต (Production) การผลิต :
กระบวนการหรือกิจกรรมใดๆ ที่เปลี่ยนแปลงหรือแปรรูปปัจจัยการผลิตให้เป็นสินค้าและบริการ สินค้าและบริการที่ผลิตได้ถือเป็นเศรษฐทรัพย์ เป้าหมายของผู้ผลิต คือ กำไรสูงสุด (Maximize Profit)
3
ประสิทธิภาพในการผลิต
ประสิทธิภาพทางเทคนิค (Technical Efficiency) : วิธีการผลิตที่ใช้ปัจจัยการผลิตน้อยที่สุด โดยให้ผลผลิตเท่ากับวิธีอื่น ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Efficiency) : วิธีการผลิตที่เสียต้นทุนต่ำสุด โดยให้ผลผลิตเท่ากัน เป็นการนำราคา ปัจจัยการผลิตมาพิจารณาด้วย
4
การผลิตแบ่งออกเป็น 2 ระยะ
ระยะสั้น (Short Run) : ช่วงเวลาที่จะต้องมีปัจจัยคงที่อย่างน้อยหนึ่งปัจจัย ดังนั้นการที่จะผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นในระยะสั้นทำได้โดยการเพิ่มปัจจัยแปรผัน ระยะยาว (Long Run) : ช่วงระยะเวลาที่ไม่มีปัจจัยใดคงที่ ปัจจัยการผลิตทุกชนิดสามารถเปลี่ยนแปลงได้
5
การวิเคราะห์การผลิตในระยะสั้น
ปัจจัยการผลิตในระยะสั้น ปัจจัยคงที่ (eg. land, capital) ปัจจัยแปรผัน (eg. labor, raw material) ฟังก์ชั่นการผลิต การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิตต่างๆ และจำนวนผลผลิต เมื่อกำหนดเทคนิคการผลิตให้ Total Product (TP) = f (a1, a2, a3) = f (ปัจจัยคงที่, ปัจจัยแปรผัน)
6
ความหมายและความสัมพันธ์ระหว่าง ผลผลิตแบบต่างๆ
ผลผลิตรวม (Total Product : TP) : ผลผลิตทั้งหมดที่ผู้ผลิตได้รับ จากการใช้ปัจจัยการผลิตแบบแปรผันร่วมกับปัจจัยคงที่ ผลผลิตเพิ่ม (Marginal Produc : MP) : จำนวนผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เมื่อใช้ปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น 1 หน่วย MP = TP / L, MPn = TPn – TPn-1 ผลผลิตเฉลี่ย (Average Product :) : ผลผลิตทั้งหมดที่คิดเฉลี่ยต่อหน่วยปัจจัยแปรผัน AP = TP / L
7
ความสัมพันธ์ระหว่าง TP , MP และ AP
8
ความสัมพันธ์ระหว่าง TP , MP และ AP (continued)
TP & MP : Max TP, MP = 0 AP & MP : AP increase, when MP > AP AP decrease, when MP < AP
9
กฏการลดน้อยถอยลงของผลผลิตเพิ่ม (Law of Diminishing Marginal Physical Returns)
ถ้ามีปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งคงที่แล้ว การเพิ่มปัจจัยแปรผันขึ้นเรื่อย จะก่อให้เกิดการลดน้อยถอยลงของผลผลิตหน่วยสุดท้ายในที่สุด และผลผลิตหน่วยสุดท้ายอาจจะลดลงเท่ากับศูนย์หรือต่ำกว่าศูนย์ก็ได้
10
การแบ่งช่วงของการผลิต (Stage of Production)
11
ทฤษฎีการผลิตระยะยาว การวิเคราะห์การผลิตระยะยาว ทำได้โดยใช้เครื่องมือ
การวิเคราะห์การผลิตระยะยาว ทำได้โดยใช้เครื่องมือ - เส้นผลผลิตเท่ากัน (Isoquant Line) - เส้นต้นทุนเท่ากัน (Isocost Line) กฏผลได้ต่อขนาด (Law of return to scale) การประหยัดและไม่ประหยัดเนื่องจากขนาด (Economies of scale and Diseconomies of scale)
12
เส้นผลผลิตเท่ากัน (Isoquant Line)
เส้นที่แสดงการใช้ปัจจัยการผลิต 2 ชนิดในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ซึ่งให้ผลผลิตเท่ากัน
13
อัตราการใช้ปัจจัยการผลิตทดแทนกัน (Marginal Rate of Technical Substitution : MRTS)
จำนวนปัจจัยการผลิตชนิดหนึ่งที่ลดลงโดยที่ปัจจัยการผลิตอีกชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น 1 หน่วย เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนเท่าเดิม MRTSLK = K / L : slope of IQ การใช้ปัจจัยการผลิต L เพิ่มขึ้น โดยลดปัจจัยการผลิต K ลง MRTSKL = L / K การใช้ปัจจัยการผลิต K เพิ่มขึ้น โดยลดปัจจัยการผลิต L ลง
14
กฎการลดน้อยถอยลงของอัตราการใช้ ปัจจัยการผลิตทดแทนกัน
ค่า MRTS ของปัจจัยการผลิต 2 ชนิดจะลดลงเรื่อยๆ เมื่อใช้ปัจจัยการผลิตอีกชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น และปัจจัยการผลิตอีกชนิดหนึ่งลดลง
15
เส้นต้นทุนเท่ากัน (Isocost Line)
เส้นที่แสดงส่วนผสมของปัจจัยการผลิต 2 ชนิดที่แตกต่างกันที่สามารถซื้อได้ด้วยเงินทุนจำนวนเดียวกัน ปัจจัย K เส้นต้นทุนเท่ากัน slope = - PL / PK 10 4 5 12 ปัจจัย L
16
การเปลี่ยนแปลงของเส้นต้นทุนเท่ากัน
เส้นต้นทุนเท่ากันเปลี่ยนแปลงได้ 2 กรณี คือ ราคาปัจจัยการผลิตเปลี่ยน รูป ก งบประมาณการผลิตเปลี่ยน รูป ข ปัจจัย K ปัจจัย K ปัจจัย L รูป ก ปัจจัย L รูป ข
17
การใช้ส่วนผสมของปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม
เงื่อนไขการผลิตที่เหมาะสมกำหนดจากจุดที่เส้นผลผลิตเท่ากันสัมผัสกับเส้นต้นทุนเท่ากัน โดย ณ จุดสัมผัส ค่าความชันของเส้น Isoquant และเส้น Isocost จะมีค่าเท่ากัน ดุลยภาพการผลิต ปัจจัย K ปัจจัย L ที่จุด E ค่าความชันของ Isocost = ค่าความชัน Isoquant = - PL / PK L1 K1 E
18
เส้นแนวทางขยายการผลิต (The Expansion Path)
เส้นที่แสดงส่วนผสมของปัจจัยการผลิตที่เสียต้นทุนต่ำสุด
19
กฎว่าด้วยผลได้ต่อขนาด (Law of Return to Scale)
Increasing Return to Scale : ผลได้ต่อขนาดเพิ่มขึ้นเนื่องจากการประหยัดเนื่องจากขนาด (Economies of Scale) : division of labor, specialization, internal/external economies Constant Return to Scale : ผลได้ต่อขนาดคงที่ Decreasing Return to Scale : ผลได้ต่อขนาดลดลง เนื่องจากการไม่ประหยัด (Diseconomies of scale) :internal/ external diseconomies
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.