ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยAgatha Bradford ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
บทที่ 6 การคลังสินค้า ความหมายคลังสินค้า หน้าที่ของคลังสินค้า
ประเภทของคลังสินค้า เปรียบเทียบคลังสินค้าสาธารณะและคลังสินค้าเอกชน การเลือกทำเลที่ตั้งของคลังสินค้า ความสัมพันธ์ของคลังสินค้ากับกิจกรรมอื่นๆ ประโยชน์ของการจัดการคลังสินค้า การจัดการโลจิสติกส์ อ.นงลักษณ์ นิมิตรภูดวล
2
ความหมายของการจัดการคลังสินค้า
คลัง สถานที่สำหรับเก็บของเป็นจำนวนมาก (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) คลังสินค้า พื้นที่ภายในอาคาร ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อความมุ่งหมายในการเก็บรักษาพัสดุ และสร้างขึ้นโดยไม่มีหลังคาและฝาผนังที่สมบูรณ์ทั้งด้านข้างและด้านหัวท้ายของอาคาร การคลังสินค้า การปฏิบัติ (กระทำ) เกี่ยวกับการรับ การเกี่ยวกับการรับ การเก็บรักษา และการจ่ายพัสดุ Aj.Nongluck Nimitpuwadol BA.2706 Warehousing Managment
3
ความหมายของการจัดการคลังสินค้า
การจัดการ+คลังสินค้า การจัดการ คือ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มี ประสิทธิภาพ การจัดการคลังสินค้า Warehouse Management คือ กระบวนการบูรณาการทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินกิจการคลังสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของคลังสินค้าแต่ละประเภท Aj.Nongluck Nimitpuwadol BA.2706 Warehousing Managment
4
ความสำคัญของคลังสินค้า
ช่วยประหยัดค่าขนส่ง ช่วยประหยัดต้นทุนการผลิต ช่วยให้ได้รับผลประโยชน์จากส่วนลดเมื่อซื้อสินค้าจำนวนมาก ช่วยป้องกันสินค้าขาดแคลน ช่วยสนับสนุนนโยบายการบริการลูกค้าของบริษัทฯ ช่วยให้เกิดความพร้อมที่จะเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของตลาด ความสำคัญการจัดการคลังสินค้า 1.ช่วยประหยัดค่าขนส่ง การซื้อวัตถุดิบจากผู้ขาย และการขายสินค้าสำเร็จให้ผู้ซื้อ ในด้านของการซื้อวัตถุดิบ วัตถุดิบที่สั่งซื้อจาก หลาย ๆ ราย ส่งมารวมกันที่คลังสินค้าที่ใกล้กับแหล่งของผู้ขายต่อ จากนั้นจะขนส่งวัตถุดิบไปยังโรงงาน ของผู้ซื้อที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากคลังสินค้า ทำให้เสียค่าขนส่งน้อยกว่ากรณีที่ผู้ขายทุก ๆ รายขนส่งไปยังโรงงานของผู้ซื้อเอง 2.ช่วยประหยัดต้นทุนการผลิต การผลิตสินค้าแต่ละชนิดจำนวนมาก จะช่วยประหยัดต้นทุนการผลิต (ต้นทุนต่อหน่วยจะต่ำ ย่อมต้องใช้วัตถุดิบปริมาณมาก๗ จึงมีความจำเป็นต้องใช้คลังสินค้า ในการจัดเก็บวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป 3.ช่วยให้ได้รับผลประโยชน์จากส่วนลดเมื่อซื้อสินค้าจำนวนมาก การผลิตสินค้าในจำนวนมากๆ ย่อมต้องใช้วัตถุดิบมาเก็บไว้จำนวนมาก การซื้อวัตถุดิบในปริมาณมาก กิจการจะได้รับส่วนลดจากการซื้อวัตถุดิบต่อหน่วยต่ำ ซื้อน้อยครั้งแต่ซื้อครั้งละ มากๆ ทำให้ช่วยลดค่าขนส่งสินค้าด้วย 4.ช่วยป้องกันสินค้าขาดแคลน การมีวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิต หรือมีสินค้าไว้เพื่อขายจำนวนมาก ย่อมเป็นสิ่งจำเป็นในกรณีที่สินค้าในท้องตลาดขาดแคลน เช่น การนัดหยุดงานของพนักงาน อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อการผลิตและการขายได้ กิจการจึงจำเป็นต้องป้องกันมิให้เกิดปัญหาดังกล่าว ทำให้วัตถุดิบและสินค้ามีเพียงพอ ต่อความต้องการสินค้าตลอดเวลา 5.ช่วยสนับสนุนนโยบายการบริการลูกค้าของบริษัทฯ การที่กิจการมีคลังสินค้าหลายแห่งจะช่วยสนับสนุนนโยบายการให้บริการลูกค้าอย่างรวดเร็วของกิจการ เพราะสามารถส่งสินค้าจากคลังสินค้าที่อยู่ใกล้ลูกค้าไปให้ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและไม่สูญเสียเวลามาก 6.ช่วยให้เกิดความพร้อมที่จะเผชิญกับภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของตลาด การที่กิจการไม่สามารถพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า (ผู้ค้าปลีก ผู้ค้าส่ง) ได้อย่างแน่นอน จึงจำเป็นต้องเก็บรักษาสินค้าเกินไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา
5
ความแตกต่างระหว่างคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า
เก็บสินค้าทุกประเภท การดำเนินงานส่วนใหญ่ประกอบด้วยการรับ การจัดเก็บ การเลือกหยิบ และการจัดส่ง มีกิจกรรมที่ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าน้อย เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องทีละงวด เน้นการขนส่งสินค้าตามที่ต้องการโดยให้ต้นทุนการดำเนินงานต่ำสุด -เก็บสินค้าน้อยประเภทโดยเน้นเฉพาะสินค้าที่อยู่ในความต้องการของตลาด -การดำเนินงานส่วนใหญ่ประกอบด้วยการรับและการจัดส่ง -มีกิจกรรมที่สามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่สินค้ามาก ซึ่งรวมทั้งการประกอบสินค้าขั้นสุดท้าย (Final assembly) -เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องทันทีที่เกิดขึ้นจริง -เน้นการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าตามที่ต้องการโดยให้กำไรสูงสุด ตารางที่ 6-1 ความแตกต่างระหว่างคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า
6
หน้าที่ของคลังสินค้า
การรับ (Receive) การเก็บ(Put-away) การจ่าย (Pick) การใส่หีบห่อ (Pack) การรอส่งมอบ (Ship) หน้าที่ของคลังสินค้า 1.การรับ Receive เมื่อสินค้าจำนวนมากเดินทางมาถึงคลังสินค้า หน้าที่แรกของการเคลื่อนย้าย คือ การรับสินค้าลงจากยานพาหนะ การตรวจรับตามจำนวนที่นำสินค้ามาส่ง การยกขนสินค้าโดยใช้เทคนิคและวิธีการที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ 1) ลักษณะของยานพาหนะที่บรรทุกสินค้า 2)ลักษณะของสินค้า 2.การเก็บ Put-away หลังจากตรวจรับเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำสินค้าที่รับเข้ามาไปเก็บยังสถานที่ที่ถูกระบุตำแหน่งที่จัดเก็บไว้แล้วเป็นการล่วงหน้า ก็จะมีระบบคลังสินค้า (Warehouse Management System) ก็จะคิดแทนเสร็จสรรพ พร้อมระบุตำแหน่งที่จัดเก็บ มาให้ในรับสินค้า ที่พิมพ์ออกมาเพื่อยืนยันจำนวนที่ตรวจรับแล้ว 3.การจ่าย Pick ก่อนที่จะหยิบสินค้าออกมาจากที่จัดเก็บ จะต้องมีใบหยิบสินค้า ที่มีรายการลูกค้าตามที่ลูกค้าแต่ละรายสั่งออกมาก่อน ในใบหยิบสินค้าก็จะระบุตำแหน่งที่จัดแหน่งที่จัดเก็บมาให้ แต่ถ้ามีติดระบบที่ทันสมัย คนหยิบแค่ถืออุปกรณ์มือถือที่ใช้คลื่นวิทยุ เครื่องจะบอกเลยว่า สินค้าอยู่ชั้นไหน ช่องไหน หยิบรายการนั้นกี่ชิ้น แล้วกดจำนวน ยิงบาร์โค้ดประจำตำแหน่งชั้น แล้วก็กดยืนยัน จากนั้นเครื่องจะบอกให้เดินต่อไปที่ไหนอีก ถ้าจำนวนสินค้ายังไม่ครบจนกว่าจะหยิบจนครบทุกรายการแล้ว 4.ใส่หีบห่อ Pack หลังจากหยิบสินค้าครบทุกรายการแล้ว ก็มาถึงกระบวนการบรรจุหีบห่อเพื่อป้องกันสินค้าเสียหายในระหว่างการขนส่ง จนกว่าสินค้านั้นจะถึงมือของลูกค้า วัสดุ อุปกรณ์ ในการบรรจุหีบห่อแบบทั่ว ๆ ไปก็จะเป็นกล่องกระดาษลูกฟูก ถุง/แผ่นพลาสติก ลังไม้ ลังพลาสติก สายรัด หีบห่อ โฟม ตัวหนอนกันกระแทก พลาสติกอัดฟองอากาศกันกระแทก (Air Bubble) และเศษกระดาษรีไซเคิล สินค้าบางอย่างไม่ควรจะนำมาบรรจุรวมกัน เช่น สารเคมีสองชนิด บางชนิดมี ไอระเหยที่อาจทำปฏิกิริยากันเองได้ทั้งที่สภาพขวดบรรจุปิดแน่นมิดชิด ที่จะลืมไม่ได้คือในการใส่หีบห่อต้องแนบใบกำกับสินค้า (Packing List) ไปด้วย พร้อมจะต้องระบุว่าสินค้ารายการอะไรอยู่ในกล่องไหน และต้องระบุจำนวนหีบที่ส่งไปทั้งหมด เช่น เขียนติดไว้บนกล่องใบหนึ่งว่า 3/5 ทำให้ลูกค้าที่เห็นสินค้า ทั้งหมดมีความเข้าใจทันทีว่าสินค้าที่ส่งมาคราวนี้มีทั้งหมด 5 หีบห่อ และที่เราเห็นตรงหน้าคือกล่องใบที่ 3 จะทราบในทันที เช่นการทำกระเช้าปีใหม่ โดยการกั้นพื้นที่แล้วไปจัดกระเช้าในคลังสินค้าของห้าง เพราะในคลังนั้นจะรวมสินค้ามากมายหลากหลายชนิด การทำโปรโมชั่น ซื้อแชมพูสระผมแถมครีมนวดผม 5.รอส่งมอบ Ship มาจนถึงขั้นนี้ สินค้าจะถูกนำมาวางกองไว้ทีท่าของออก (Shipping Area) พร้อมเอกสารใบส่งของเพื่อรอขนขึ้นรถ บางบริษัทก็รวบงาน จัดตารางการส่งมอบและการจัดเส้นทาง (Scheduling and Routing) ไว้ในงานคลังสินค้า บางบริษัทก็ให้ขึ้นอยู่กับแผนกขนส่ง แต่อย่างไรก็ตาม มีความจำเป็นต้อง มีการลำดับสินค้าว่าให้สินค้าที่ส่งจุดสุดท้าย ต้องถูกลำเลียงเข้าไปในรถก่อน ส่วนสินค้าส่งจุดแรกวางไว้ท้ายกระบะ 6.การเคลื่อนย้ายขนถ่าย Handling และการป้องกันการสูญหาย Protection ก็มีความจำเป็นไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน แต่เป็นภารกิจสนับสนุน (Supporting Tasks) ส่วนงานรองอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจาก “รับ เก็บ จ่าย ใส่หีบห่อ รอการส่งมอบ สอบยอดสิ้นงวด” ไม่ใช่จะไม่ใช่งานที่อยู่ในความรับผิดชอบ ของคลังสินค้าที่นี้อยู่กับว่า แต่ละองค์กรจะแบ่งขอบเขตงานอย่างไร เช่น บริษัทกำหนดให้คลังสินค้าจะต้องรับผิดชอบ เรื่องการเปลี่ยนหีบห่อ Repackaging สั่งซื้อเข้ามาเป็นลอตใหญ่ ๆ แล้วนำมาแยกขายเป็นหน่วยชิ้น หรือการติดป้าย/สติ๊กเกอร์ (Labeling) ระบุรายละเอียด ของตัวสินค้า ข้อบ่งใช้ หรือมีหน้าที่รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าโดยตรง (Order Entry) ซึ่งงานลักษณะนี้อาจจะทำเองหรือจัดจ้าง จากภายนอกมาช่วยดำเนินการให้ก็ได้ การเคลื่อนย้าย (Handling)
7
วัตถุประสงค์ของการใช้คลังสินค้ามีหลายประการ ดังนี้
1.เพื่อให้เกิดการประหยัดในการขนส่ง 2.เพื่อให้เกิดการประหยัดในการผลิต 3.เพื่อต้องการส่วนลดจากการสั่งซื้อจำนวนมากหรือส่วนลดจากการสั่งซื้อล่วงหน้า 4.เพื่อเป็นแหล่งของวัถตุดิบ ส่วนประกอบ และชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิต 5.เพื่อสนับสนุนนโยบายการให้บริการลูกค้า 6.เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางการตลาด 7.เพื่อลดเวลานำ (Lead time) ของการสั่งซื้อสินค้า 8.เพื่อให้ต้นทุนรวมด้านโลจิสติกส์ต่ำสุดที่ระดับให้บริการลูกค้าที่กำหนดไว้ 9.เพื่อสนับสนุนระบบทันเวลาพอดี (Just-in-time system) ของซัพพลายเออร์หรือลูกค้า 10.เพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าให้ลูกค้าได้หลายประเทศ 11.เพื่อใช้เป็นที่เก็บชั่วคราวสำหรับสินค้าที่ต้องทิ้งหรือสินค้าที่ต้องนำไปผลิตใหม่
8
1.คลังสินค้าช่วยสนับสนุนการผลิต (Manufacturing support)
โรงงาน คลังสินค้า ซัพพลายเออร์ B ซัพพลายเออร์ C ซัพพลายเออร์ D
9
2. คลังสินค้าช่วยผสมผสานผลิตภัณฑ์ (Product-mixing)
โรงงาน A ลูกค้าคนที่ 1 สินค้า A,B,C โรงงาน B คลังสินค้า ลูกค้าคนที่ 2 สินค้า A,B,C ลูกค้าคนที่ 3 สินค้า A,B,C โรงงาน C ลูกค้าคนที่ 4 สินค้า A,B,C
10
3. คลังสินค้าช่วยรวบรวมสินค้า (Consolidation)
ลูกค้าคนที่ 1 โรงงาน B คลังสินค้า ลูกค้าคนที่ 2 โรงงาน C ลูกค้าคนที่ 3 ลูกค้าคนที่ 4
11
4.คลังสินค้าช่วยแบ่งแยกสินค้า (Breakbulk warehouse)
โรงงาน
12
ประเภทของคลังสินค้า 1.คลังสินค้าสำหรับสินค้าทั่วไป (General merchandise warehouse) คลังสินค้าสาธารณะส่วนใหญ่จะเป็นประเภทนี้ โดยเป็นคลังสินค้าที่มีการออกแบบสำหรับผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และลูกค้าเพื่อเก็บสินค้าทั่วไป 2.คลังสินค้าสำหรับสิ่งของในบ้าน (Household goods warehouse) คลังสินค้าประเภทนี้ใช้เก็บสิ่งของส่วนตัวของลูกค้ามากกว่าเก็บสินค้า ซึ่งการเช่ามีได้หลายแบบ เช่น การเช่าพื้นที่โล่ง ห้องเล็กๆ หรือคอนเทนเนอร์เพื่อเก็บสิ่งของของลูกค้า
13
ประเภทของคลังสินค้า 3. คลังสินค้าสำหรับสินค้าพิเศษ (Special commodity warehouse) คลังสินค้าประเภทนี้ใช้เก็บสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ้าย ขนสัตว์ ฯลฯ และมีบริการพิเศษเพื่อให้เหมาะสมสำหรับ สินค้าแต่ละประเภท
14
Warehousing
15
ไซโล
16
Flat Silo
17
Manual System Warehouse
18
Storage Rack
19
Automated Picking System
20
Automated Storage System
21
ประเภทของคลังสินค้า คลังสินค้าสำหรับสินค้าทั่วไป
(General merchandise warehouse) คลังสินค้าสำหรับสิ่งของภายในบ้าน (Household goods warehouse) คลังสินค้าสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค (Commodity goods warehouse)
22
รูปที่ 6-3 หน้าที่ต่างๆ และเส้นทางของหน้าที่ด้านคลังสินค้า
การเติมให้เต็ม การเติมให้เต็ม การหยิบยก ลังสินค้า การกระจาย สินค้าจากลัง การสำรองพื้นที่เก็บสินค้า และการหยิบยกสินค้า การส่งสินค้าตรงไป สำรองเก็บ การส่งสินค้าตรงไป ยังที่ต้องการ การรวบรวม การแยกประเภท การบรรจุภัณฑ์ และการใช้ประโยชน์ การส่ง สินค้าออก การรับสินค้าเข้า การส่งสินค้าผ่านคลัง รูปที่ 6-3 หน้าที่ต่างๆ และเส้นทางของหน้าที่ด้านคลังสินค้า
23
รูปที่ 6-4ตัวอย่างการส่งสินค้าผ่านคลังสินค้า
จุดส่งสินค้าออก คลังสินค้า จุดรับสินค้า รูปที่ 6-4ตัวอย่างการส่งสินค้าผ่านคลังสินค้า
24
รูปที่ 6-5 ตัวอย่างการส่งสินค้าผ่านคลังสินค้า
จุดส่งสินค้า จุดรับสินค้า การแยก ประเภท พื้นที่เก็บสินค้า คลังสินค้า รูปที่ 6-5 ตัวอย่างการส่งสินค้าผ่านคลังสินค้า
25
การเปรียบเทียบคลังสินค้าสาธารณะกับคลังสินค้าเอกชน
ข้อดี ข้อเสีย 1.สงวนเงินทุน 2.สามารถเพิ่มพื้นที่คลังสินค้าในช่วงที่มีความต้องการสูง 3.ลดความเสี่ยง 4.เกิดการประหยัดต่อขนาด 5.ความยืดหยุ่น 6.มีข้อมูลต้นทุนการจัดเก็บและลำเลียง 1.ปัญหาในการติดต่อสื่อสาร 2.ขาดบริการพิเศษ 3.ขาดแคลนพื้นที่
26
การเปรียบเทียบคลังสินค้าสาธารณะกับคลังสินค้าเอกชน
ข้อดี ข้อเสีย 1.การควบคุม 2.ความยืดหยุ่น 3. ต้นทุนต่ำกว่าในระยะยาว 4.ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรบุคคล ได้ดีกว่า 5.ผลประโยชน์ทางภาษี 6.ผลประโยชน์ที่ไม่มีตัวตน 1.ขาดความยืดหยุ่น 2.ข้อจำกัดด้านการเงิน 3.ผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำ
27
พื้นที่ที่ประหยัดได้
ประเภทของรถยก Deep reach Turret Reach-fork Counter-balance พื้นที่ที่ต้องการ 5,550 sq. ft 3,070 sq. ft 6,470 sq. ft 10,000 sq. ft ความกว้างของทางเดิน 102 inches 66 inches 96 inches 144 inches พื้นที่ที่ประหยัดได้ 45% 70% 33% - รูปที่ 6-6 รถยกประเภทต่างๆ และการใช้พื้นที่ที่สามารถประหยัดได้
28
รูปที่ 6-7 ความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการสินค้าและขนาดของสินค้า
120 110 100 90 80 70 คลังสินค้า สาธารณะ คลังสินค้า (000 หน่วย) 60 50 40 30 20 คลังสินค้า เอกชน 10 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. เวลา (เดือน) รูปที่ 6-7 ความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการสินค้าและขนาดของสินค้า
29
ต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนสินค้าคงคลัง ต้นทุนคลังสินค้า ต้นทุนค่าขนส่ง จำนวนคลังสินค้า ต้นทุน รูปที่ 6-8 ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนโลจิสติกส์ทั้งหมดและจำนวนคลังสินค้า
30
การวิเคราะห์คลังสินค้า
1. กลยุทธ์ทำเลใกล้ตลาด (Market-positioned Strategy) กลยุทธ์ทำเลใกล้แหล่งผลิต (Production-positioned Strategy) กลยุทธ์ทำเลระหว่างกลาง (Intermediately-positioned Strategy) ผังคลังสินค้าและการออกแบบ 1. สามารถเพิ่มความสามารถในการเก็บสินค้า 2. ปรับปรุงการไหลของสินค้า 3. ลดต้นทุน 4. ปรับปรุงการให้บริการ 5. ปรับปรุงบรรยากาศในการทำงาน
31
การเลือกทำเลสำหรับคลังสินค้าเอกชน ควรพิจารณาจาก
1. คุณภาพและความหลากหลายของพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง 2. คุณภาพและปริมาณของแรงงาน อัตราค่าจ้างแรงงาน 3. ต้นทุนและคุณภาพของเขตอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อมชุมขน สาธารณูปโภค 4. ต้นทุนของเงินทุน ต้นทุนค่าก่อสร้าง ศักยภาพในการขยายพื้นที่ ผลประโยชน์ทางภาษี
32
การเลือกทำเลสำหรับคลังสินค้าสาธารณะ ควรพิจารณาจาก
1. ลักษณะของคลังสินค้า บริการของคลังสินค้า 2. ความเพียงพอของพาหนะในการขนส่ง ระยะทางของการไป สถานีขนส่ง 3. ความเพียงพอของการบริการด้านคอมพิวเตอร์และการติดต่อ สื่อสาร การใช้คลังสินค้าของธุรกิจอื่น ประเภทและความถี่ ของการรายงานสินค้าคงคลัง
33
เลือกทำเลอยู่ระหว่างตรงกลาง
ทำเลที่ตั้งนี้เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการให้บริการลูกค้าอยู่ในระดับสูง และมีโรงงานการผลิตหลายแห่ง แหล่งผลิต/ ซัพพลายเออร์ ตลาด/ลูกค้าคนสุดท้าย เลือกทำเลใกล้แหล่งผลิต สามารถประหยัดค่าขนส่งวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน สภาพของวัตถุดิบที่เน่าเสียง่าย, จำนวนวัตถุดิบ ที่เป็นส่วนผสมของสินค้า เลือกทำเลใกล้ตลาด ทำให้สามารถให้บริการลูกค้าได้ดี ค่าขนส่ง รอบเวลาการสั่งสินค้า ความอ่อนไหวของสินค้า ขนาดของการสั่งซื้อ ความเพียงพอของพาหนะ ในพื้นที่การให้บริการ และระดับการให้บริการลูกค้าที่ต้องการ
34
ความสัมพันธ์ของคลังสินค้ากับกิจกรรมอื่นๆ
การคลังสินค้าและการผลิต การคลังสินค้า การคลังสินค้าและการขนส่ง การคลังสินค้าและการให้บริการ การคลังสินค้าและการผลิต : กล่าวคือ เมื่อผลิตสินค้าน้อย ทำให้สินค้าคงคลังน้อย ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าในคลังน้อยเช่นกัน แต่ถ้าตรงกันข้าม ผลิตสินค้ามาก ทำให้ประหยัดต่อขนาด ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ทำให้สินค้าคงคลังมีปริมาณมาก จำเป็นต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าจำนวนมาก นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการสั่งซื้อวัตถุดิบ และส่วนประกอบต่าง ๆ จะได้รับส่วนลด ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้าที่ ลดลงตามมาด้วย การคลังสินค้าและการขนส่ง กล่าวคือ การผลิตสินค้าย่อมต้องใช้ปัจจัยการผลิตหลายอย่าง หลายรายการ เพื่อรวมขนาดในการขนส่ง นำเข้ามาป้อนสู่รายผลิตในโรงงาน ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด การขนส่ง โดยคลังสินค้ามีหน้าที่รวบรวมสินค้าจากหลายโรงงานเพื่อรวบรวมส่งให้กับลูกค้าจึงทำให้เกิดการประหยัด มากกว่าที่โรงงานแต่ละที่วิ่งไปส่งลูกค้าเอง และเที่ยวกลับอาจจะบรรทุกสินค้ากลับไปส่งยังพื้นที่ ๆ การขนส่งได้ผ่านด้วย ก็จะทำให้การขนส่งนั้นเต็มประสิทธิภาพ การคลังสินค้าและการบริการลูกค้า มุมมองในการทำธุรกิจสมัยใหม่ในปัจจุบันที่เน้นทุกหน่วยธุรกิจ มีส่วนในการสร้างการบริการที่ดีได้ทุกหน่วย จึงไม่เว้นแม้กระทั่งงานของคลังสินค้า ที่จะต้องมีส่วนในการจัดเก็บสินค้าส่วนเกินกว่าความต้องการของลูกค้าไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าได้ทันที ในกรณีที่การผลิตมีปัญหา เช่น ผลิตไม่ทัน หรือโรงงานมีการดำเนินการงานที่ล่าช้า
35
ประโยชน์ของการจัดการคลังสินค้า
คลังสินค้าช่วยสนับสนุนการผลิต (Manufacturing support) คลังสินค้าเป็นส่วนผสมผลิตภัณฑ์ (Mixing warehouse) คลังสินค้าเป็นที่รวบรวมสินค้า (Central warehouse) คลังสินค้าใช้ในการแบ่งแยกสินค้าให้มีขนาดเล็กลง (Break Bulk warehouse) คลังสินค้าช่วยสนับสนุนการผลิต (Manufacturing support) โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการรวบรวมวัตถุดิบในการผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบต่าง ๆ จากผู้ขายปัจจัยการผลิต เพื่อส่งป้อนให้กับโรงงานเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปต่อไป คลังสินค้าเป็นส่วนผสมผลิตภัณฑ์ (Mixing warehouse) การผลิตสินค้าจากโรงงานหลายแห่ง โดยอยู่ในรูปของคลังสินค้ากลาง จะทำหน้าที่รวบรวมสินค้าสำเร็จรูปจากโรงงานต่าง ๆ ไว้ในที่เดียวกัน เพื่อส่งมอบให้ลูกค้าตามต้องการขึ้นอยู่กับลูกค้าแต่ละรายว่าต้องการสินค้าจากโรงงานที่ใดบ้าง คลังสินค้าเป็นที่รวบรวมสินค้า (Consolidation warehouse) กรณีที่ลูกค้าต้องการซื้อสินค้าจำนวนมากจากโรงงานหลายแห่ง คลังสินค้าจะเป็นตัวช่วยในการรวบรวมสินค้าจากหลายแหล่งเพื่อขนส่ง สินค้าขนาดใหญ่นี้ ไปยังลูกค้า ทำให้เต็มเที่ยวจะช่วยประหยัดค่าขนส่ง คลังสินค้าใช้ในการแบ่งแยกสินค้าให้มีขนาดเล็กลง (Break Bulk warehouse) การขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตมีหีบห่อหรือพาเลทขนาดใหญ่ คลังสินค้าจะเป็นแหล่งที่ช่วยในการแบ่งแยกสินค้าให้มีขนาดเล็กลง เพื่อส่งมอบให้กับลูกค้าย่อยได้ทันที
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.