ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
Role of Stroke Indicator & Benchmark
Somchai Towanabut Prasat Neurological Institute Department of Medical services, MOPH, Bangkok, Thailand. 28/6/16
2
Frame work of stroke services
Evidence base Information Man power , equipment ,services, location Known How Policy advocacy What ,When ,where why , How Network Stroke indicator Standard,Brand Sustainable
3
Benchmark Geology (Surveying) a point of reference for a measurement
4
Aim of Target Start from local hospital To be national data
Go international benchmark such as JCI.
5
Flow of Process พัฒนาให้ดีขึ้น ข้อมูลจาก รพ.ต่าง ๆ JCI Standard
หาค่าเฉลี่ยของ ตัวชี้วัด Benchmark พัฒนาให้ดีขึ้น JCI Standard
6
Cycle of Quality Benchmark Brainstorm Indicator Improve
Knowledge Management Improve Quality of Service
7
Stroke Indicators Classification 2013-2016(29) Standard indicators
(25) (29) Standard indicators 2 5 Process indicators 13 12 Outcome indicators 7 Complication indicators
8
Indicator S – Standard (มาตรฐาน) มี 5 indicators such as
S01: ระยะเวลาเฉลี่ยในการให้การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (Door to Needle Time) <60นาที S02: ร้อยละการตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำภายใน 4.5 ชั่วโมง </=3% S03: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับยาต้านเกล็ดเลือด (Anti-platelet) เพื่อการรักษาภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากเกิดอาการ 85 % S04: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่กลับบ้าน และได้รับยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) หรือยาต้านการแข็งตัวของลิ่มเลือด (Anticoagulant) ขณะจำหน่าย (Discharge) 100% S05: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีระดับไขมัน LDL สูง กลับบ้าน และได้รับยากลุ่ม Statin ขณะจำหน่าย 80%
9
ตัวชี้วัด Indicator P – Process กระบวนการ มี 12 ตัวชี้วัด ได้แก่
P02: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการตรวจ EKG หลังเกิดอาการภายใน 24 ชั่วโมง % P03: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการตรวจ CT Scan และหรือ MRI/MRA สมองภายใน 24 ชั่วโมง % P04: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับยา Nifedipine Sublingual หลังเกิดอาการ % P05: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีไข้ ( 38C) และได้รับการดูแลรักษาภาวะไข้อย่างเหมาะสม % P06: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางที่วางแผนไว้ (Care Map/Path Way) % P07: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการดูแลรักษาใน Stroke Unit/Stroke Corner >70% P08: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับคำแนะนำการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมก่อนจำหน่าย % P09: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการประเมินการกลืนภายใน 72 ชั่วโมง หลังรับไว้ในโรงพยาบาล % P10: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ และทำกายภาพบำบัดภายใน 72 ชั่วโมง หลังรับไว้ในโรงพยาบาล 100% P11: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการบำบัด/คำแนะนำเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ % P12: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการตรวจ EKG Monitor 24 ชั่วโมงแรก หลังรับไว้ในโรงพยาบาล %
10
ตัวชี้วัด Indicator O – Outcome ผลลัพธ์ มี 7 ตัวชี้วัด ได้แก่
O01: ร้อยละการกลับเข้ารักษาซ้ำภายใน 28 วัน (Readmission) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน < 1.5 % O02: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีภาวะทุพลภาพลดลง/คงที่ (BIจำหน่าย – BIแรกรับ 0 คะแนน) % O03: จำนวนวันนอนเฉลี่ย (LOS) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน < = 10 วัน O04: ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย (บาท) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ,480.42 O05: ร้อยละการตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน < = 3 % O06: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีภาวะทุพพลภาพลดลง/คงที่ (mRSF/U – mRSจำหน่าย ≤ 0 คะแนน) % O07: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีความรุนแรงของภาวะโรคหลอดเลือดสมองลดลง/คงที่ (NIHSSF/U – NIHSSจำหน่าย ≤ 0 คะแนน) %
11
Indicator ตัวชี้วัด C – Complication โรคแทรกซ้อน มี 5 ตัวชี้วัด ได้แก่
C01: ร้อยละการเกิดปอดอักเสบ (Pneumonia) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน < = 5% (11.2% Canadian Stroke ) C02: ร้อยละการเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันภายใน 48 ชั่วโมง < = 5% (16 % Canadian Stroke ) C03: ร้อยละการเกิดแผลกดทับ (Pressure Sore/Skin Break) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน < 0.5 % ( <= 2.5 % Canadian Stroke ) C04: ร้อยละการเกิดพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 0% ( 7.4 %) C05: ร้อยละการเกิดหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน (DVT) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน < = 5%
12
Indicator ตัวชี้วัด C – Complication โรคแทรกซ้อน มี 5 ตัวชี้วัด ได้แก่
C01: ร้อยละการเกิดปอดอักเสบ (Pneumonia) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน < = 5% (11.2% Canadian Stroke ) C02: ร้อยละการเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันภายใน 48 ชั่วโมง < = 5% (16 % Canadian Stroke ) C03: ร้อยละการเกิดแผลกดทับ (Pressure Sore/Skin Break) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน < 0.5 % ( <= 2.5 % Canadian Stroke ) C04: ร้อยละการเกิดพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 0% ( 7.4 %) C05: ร้อยละการเกิดหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน (DVT) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน < = 5%
13
S01: ระยะเวลาเฉลี่ยในการให้การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (Door to Needle Time)
ความหมาย: ระยะเวลาเฉลี่ยในการให้การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ หมายถึง ระยะเวลาเฉลี่ยนับจากผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล (OPD/ER) จนกระทั่งได้รับการรักษาด้วยยาฉีดละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ วัตถุประสงค์: พัฒนากระบวนการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันโดยใช้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ สูตรคำนวณ: ระยะเวลารวมของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่มีอาการไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในระยะเวลาที่กำหนด ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่มีอาการไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่มีอาการไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 นาที หลังจากมาถึงโรงพยาบาล แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: นาที
14
S02: ร้อยละการตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำภายใน 4.5 ชั่วโมง ความหมาย: 1 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน หมายถึง ผู้ป่วยที่มีอาการสมองขาดเลือดไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง 2.การตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน หมายถึง จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่เสียชีวิตหลังรับไว้ในโรงพยาบาล (Admit) และได้รับการรักษาด้วยยาฉีดละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ วัตถุประสงค์: ศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ และเสียชีวิตหลังรับไว้ในโรงพยาบาล × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ และเสียชีวิตหลังรับไว้ในโรงพยาบาลไม่เกิน 3 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
15
S03: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) เพื่อการรักษาภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากเกิดอาการ ความหมาย: การได้รับยาต้านเกล็ดเลือด Antiplatelet (Aspirin) ภายใน 48 ชั่วโมงแรก หมายถึง การที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับ Antiplatelet ทางปากหรือทางสายยางให้อาหารภายใน 48 ชั่วโมงแรก หลังจากเกิดอาการ ทั้งนี้ ผู้ป่วยต้องไม่มีข้อห้าม เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหาร/แพ้ยา Aspirin ฯลฯ วัตถุประสงค์: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางอย่างเหมาะสม สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับ Antiplatelet ภายใน 48 ชั่วโมงแรก หลังจากเกิดอาการ ในระยะเวลาที่กำหนด × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกันที่มาภายใน 48 ชั่วโมง เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับ Antiplatelet ภายใน 48 ชั่วโมงแรก หลังจากมีอาการไม่น้อยกว่า 85 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
16
S04: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่กลับบ้าน และได้รับยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) ขณะจำหน่าย (Discharge) ความหมาย: การได้รับ Antiplatelet หรือ Anticoagulant หมายถึง การที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่แพทย์จำหน่ายและได้รับยาป้องกันการกลับเป็นซ้ำในกลุ่ม Antiplatelet หรือ Anticoagulant ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องไม่มีข้อห้ามในการใช้ (Antiplatelet ได้แก่ Aspirin, Ticlopidine, Clopidogrel, Aspirin + Dipyridamole, Cilostazol, Trifusal/Anticoagulant ได้แก่ Warfarin, Dabigatran, Apixaban, Rivaroxaban) วัตถุประสงค์: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางอย่างเหมาะสม สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่กลับบ้านและได้รับยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) ขณะจำหน่าย (Discharge) × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่กลับบ้านและได้รับยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) ขณะจำหน่าย (Discharge) 100 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติของผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
17
แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติของผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
S05: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีระดับไขมัน LDL สูง กลับบ้าน และได้รับยากลุ่ม Statin ขณะจำหน่าย ความหมาย: การได้รับยากลุ่ม Statin หมายถึง การที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีระดับไขมัน LDL มากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ที่แพทย์จำหน่าย และได้รับการรักษาด้วยยากลุ่ม Statin วัตถุประสงค์: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางอย่างเหมาะสม สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีระดับไขมัน LDL มากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ได้รับการรักษาด้วยยากลุ่ม Statin ขณะจำหน่าย × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีระดับไขมัน LDL มากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติของผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
18
P01: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับไว้ในโรงพยาบาล ภายใน 24 ชั่วโมง ความหมาย: การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หมายถึง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด จากหลอดเลือดดำหรือปลายนิ้วหลังรับไว้ในโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง วัตถุประสงค์: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางอย่างเหมาะสม สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการตรวจระดับน้ำตาลหลังรับไว้ในโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง ในระยะเวลาที่กำหนด × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับไว้ในโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง 100 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
19
P02: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการตรวจ EKG หลังเกิดอาการ ภายใน 24 ชั่วโมง ความหมาย: การตรวจ EKG หมายถึง การที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยบุคลากรทางการแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง หลังเกิดอาการ วัตถุประสงค์: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางอย่างเหมาะสม สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการตรวจ EKG × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการตรวจ EKG 100 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
20
P03: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการตรวจ CT Scan และหรือ MRI/MRA สมอง ภายใน 24 ชั่วโมง ความหมาย: การตรวจด้วย CT Scan และหรือ MRI/MRA หมายถึง ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน และได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยการตรวจ CT Scan และหรือ MRI/MRA สมอง โดยบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากรับไว้ในโรงพยาบาล หรือได้รับการตรวจจากภายนอกก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล วัตถุประสงค์: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางการรักษาอย่างเหมาะสม สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการตรวจ CT Scan และหรือ MRI/MRA สมอง × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการตรวจสมองด้วย CT Scan และหรือ MRI/MRA 100 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
21
แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
P04: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับยา Nifedipine Sublingual หลังเกิดอาการ ความหมาย: การได้รับ Nifedipine Sublingual หมายถึง การใช้ยาดังกล่าวในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันในระยะเฉียบพลัน วัตถุประสงค์: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางอย่างเหมาะสม สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับยา Nifedipine Sublingual × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันในระยะเฉียบพลันได้รับยา Nifedipine Sublingual 0 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
22
แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
P05: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีไข้ (≥ 38C) และได้รับการดูแลรักษาภาวะไข้อย่างเหมาะสม ความหมาย: การดูแลรักษาภาวะไข้อย่างเหมาะสม หมายถึง การค้นหาสาเหตุของไข้ และรักษาสาเหตุของไข้นั้น ตลอดจนการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดไข้ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะแทรกซ้อน สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีไข้ (≥ 38C) และได้รับการดูแลรักษาภาวะไข้อย่างเหมาะสม × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีไข้ (≥ 38C) ทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีไข้ (≥ 38C) และได้รับการดูแลรักษาภาวะไข้อย่างเหมาะสม 100 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
25
Glucose >10 Mmol/l= >180 mg%
28
P06: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางที่วางแผนไว้ (Care Map/Path Way) ความหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางที่ได้จัดเตรียมไว้แล้ว โดยผ่านการประชุมจากทีมสหวิชาชีพเป็นลายลักษณ์อักษร วัตถุประสงค์: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางอย่างเหมาะสม สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการรักษาตามแนวทางที่วางแผนไว้ × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการรักษาตามแนวทางที่วางแผนไว้ (Care Map/Path Way) 100 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
29
P07: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการดูแลรักษาใน Stroke Unit/Stroke Corner
ความหมาย: การรักษาใน Stroke Unit หมายถึง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการดูแลรักษาในพื้นที่ที่จัดให้เฉพาะ อาจเป็นหน่วยที่จัดตั้งเป็นพิเศษ (Unit) หรือเป็นพื้นที่เฉพาะที่แยกต่างหาก (Corner) โดยมีองค์ประกอบต่อไปนี้ 1. มีแพทย์หัวหน้าทีม และวิชาชีพอื่น ๆ เช่น แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา โภชนากร ฯลฯ ร่วมกันดูแลรับผิดชอบ 2. มีระบบและแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยที่จัดเตรียมไว้แล้ว โดยผ่านการประชุมจากทีมสหวิชาชีพเป็นลายลักษณ์อักษร 3. มีการประชุมปรึกษาหารือและวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วย ตลอดจนติดตามประเมินผลการดำเนินงานโดยทีมสหวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ 4. มีการจัดสถานที่/เครื่องมือ/อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เอื้อต่อการดูแลผู้ป่วยตามที่กำหนด วัตถุประสงค์: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางอย่างเหมาะสม สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับเข้ารักษาใน Stroke Unit/Stroke Corner × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้รักษาในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการดูแลรักษาใน Stroke Unit/Stroke Corner อย่างน้อย 70 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
30
P08: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับคำแนะนำการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมก่อนจำหน่าย
ความหมาย: คำแนะนำการปฏิบัติตัว หมายถึง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับคำแนะนำการปฏิบัติตัวโดยบุคลากรทางการแพทย์ ในเรื่อง การปฏิบัติตัว/การดูแลตนเองที่บ้าน การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนหากกลับเป็นซ้ำ อาการผิดปกติที่ควรพบแพทย์ โดยดูจากแบบฟอร์มการให้คำแนะนำ/บันทึกทางการพยาบาล วัตถุประสงค์: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางอย่างเหมาะสม สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่กลับบ้านและได้รับคำแนะนำการปฏิบัติตัว × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่จำหน่ายในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่จำหน่ายกลับบ้านและได้รับคำแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ 100 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
31
P09: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการประเมินการกลืนภายใน 72 ชั่วโมง หลังรับไว้ในโรงพยาบาล ความหมาย: 1. ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) หมายถึง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีความบกพร่องในการกลืนอาหาร หรือการกลืนลำบาก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ตามมา ได้แก่ โรคขาดอาหาร (Malnutrition) หายใจขัด (Choking) ไอ (Coughing) หายใจไม่ออก (Gaging) ต้องให้อาหารทางสายยาง (Nasogastric Tube) ปอดอักเสบจากการสำลักอาหารและน้ำ (Aspirated Pneumonia) 2. การประเมินการกลืน หมายถึง การประเมินก่อนที่จะให้ผู้ป่วยเริ่มกลืนอาหาร เพื่อหาสาเหตุและความรุนแรงของการกลืนลำบาก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสำลักอาหาร และลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น โดยใช้แบบฟอร์ม แบบประเมินการกลืน วัตถุประสงค์: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางอย่างเหมาะสม สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการประเมินการกลืนภายใน 72 ชั่วโมง หลังรับไว้ในโรงพยาบาล × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการประเมินการกลืน 100 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
32
P10: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพและทำกายภาพบำบัดภายใน 72 ชั่วโมง หลังรับไว้ในโรงพยาบาล ความหมาย: ฟื้นฟูสมรรถภาพและการทำกายภายบำบัด หมายถึง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการประเมินและหรือทำกายภาพบำบัดจากนักกายภายบำบัด หรือบุคลากรทางการแพทย์ วัตถุประสงค์: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางอย่างเหมาะสม สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการประเมินและหรือทำกายภาพบำบัดภายใน 72 ชั่วโมง หลังรับไว้ในโรงพยาบาล × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการประเมินและหรือทำกายภาพบำบัดภายใน 72 ชั่วโมง หลังรับไว้ในโรงพยาบาล 100 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
33
P11: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการบำบัด/คำแนะนำเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่
ความหมาย: 1. บุหรี่ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกชนิด ได้แก่ บุหรี่ซิการ์แรต ซิการ์ไปป์ บุหรี่มวนเอง ยาสูบมวนใบจากหรือกระดาษ 2. การบำบัด/คำแนะนำเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ หมายถึง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และได้รับคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ วัตถุประสงค์: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางอย่างเหมาะสม สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการบำบัด/คำแนะนำเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการบำบัด/คำแนะนำเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ 70 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
34
แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
P12: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการตรวจ EKG Monitor 24 ชั่วโมงแรก หลังรับไว้ในโรงพยาบาล ความหมาย: การตรวจ EKG Monitor หมายถึง การที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจใน 24 ชั่วโมงแรก หลังรับไว้ในโรงพยาบาล โดยบุคลากรทางการแพทย์ วัตถุประสงค์: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางการรักษา เพื่อหาสาเหตุหัวใจเต้นผิดปกติ สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการตรวจ EKG Monitor 24 ชั่วโมงแรก หลังรับไว้ในโรงพยาบาล × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: - 70 แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
35
O01: ร้อยละการกลับเข้ารักษาซ้ำภายใน 28 วัน (Readmission) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
วัตถุประสงค์: ศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่กลับเข้ารับการรักษาซ้ำ (Readmission) ด้วยโรคเดิมภายใน 28 วัน หลังจำหน่าย โดยมิได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า 100 จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่กลับเข้ารับการรักษาซ้ำ (Readmission) ด้วยโรคเดิมภายใน 28 วัน หลังจำหน่ายโดยมิได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าน้อยกว่า 1.5 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
36
O02: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีภาวะทุพลภาพลดลง/คงที่ (BIจำหน่าย – BIแรกรับ ≥ 0 คะแนน) ความหมาย: ภาวะทุพลภาพ หมายถึง บุคคลซึ่งถูกจำกัดให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และการมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา และการเรียนรู้ ฯลฯ ภาวะทุพลภาพลดลง หมายถึง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีความพิการลดลง หลังได้รับการรักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพ สามารถวัดได้โดยใช้ Barthel Index วัตถุประสงค์: ศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีความพิการลดลง 100 จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีความพิการคงที่หรือลดลง BIจำหน่าย – BIแรกรับ ≥ 0 คะแนน 70 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
37
O03: จำนวนวันนอนเฉลี่ย (LOS) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน
ความหมาย: จำนวนวันนอนเฉลี่ย หมายถึง จำนวนวันที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 1 ราย อยู่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล วัตถุประสงค์: ศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สูตรคำนวณ: จำนวนวันนอนรวมของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่จำหน่ายในระยะเวลาที่กำหนด ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่จำหน่ายในเดือนเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันสามารถจำหน่ายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด 10 วัน แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: จำนวนวัน/ราย
38
O04: ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
ความหมาย: ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน หมายถึง ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 1 รายที่เกิดขึ้นขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาลในครั้งเดียวกัน วัตถุประสงค์: ศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สูตรคำนวณ: ค่าใช้จ่ายรวมของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่จำหน่ายทั้งหมดในระยะเวลาที่กำหนด ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่จำหน่ายทั้งหมดในระยะเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: - แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: บาท/ราย
39
O05: ร้อยละการตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
ความหมาย: 1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน หมายถึง ผู้ป่วยมีอาการโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีอาการภายใน 2 สัปดาห์ 2. การตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน หมายถึง จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่เสียชีวิตหลังรับไว้ในโรงพยาบาล (Admit) วัตถุประสงค์: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางอย่างเหมาะสม สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่เสียชีวิตหลังรับไว้ในโรงพยาบาล × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเสียชีวิตหลังรับไว้ในโรงพยาบาลไม่เกิน 3 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนสถิติของโรงพยาบาล หน่วยการวัด: ร้อยละ
40
O06: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีภาวะทุพพลภาพลดลง/คงที่ (mRSF/U – mRSจำหน่าย ≤ 0 คะแนน) ความหมาย: 1. ภาวะทุพลภาพ หมายถึง บุคคลซึ่งถูกจำกัดให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และการมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา และการเรียนรู้ ฯลฯ 2. ภาวะทุพลภาพลดลง/คงที่ หมายถึง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีภาวะทุพพลภาพลดลง/คงที่ ติดตามหลังได้รับการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ และกลับบ้าน สามารถวัดได้โดยใช้ mRS วัตถุประสงค์: ติดตามผลการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีภาวะทุพพลภาพลดลง/คงที่ × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการติดตามครั้งแรกที่จำหน่ายในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: - 95 แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
41
วัตถุประสงค์: ติดตามผลการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
O07: ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีความรุนแรงของภาวะโรคหลอดเลือดสมองลดลง/คงที่ (NIHSSF/U – NIHSSจำหน่าย ≤ 0 คะแนน) ความหมาย: ความรุนแรงของภาวะโรคหลอดเลือดสมองลดลง/คงที่ ติดตามหลังได้รับการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ และกลับบ้าน สามารถวัดได้โดยใช้ NIHSS วัตถุประสงค์: ติดตามผลการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีความรุนแรงของภาวะโรคหลอดเลือดสมองลดลง/คงที่ × 100 ÷ จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการติดตามครั้งแรกที่จำหน่ายในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: - 95 แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
42
C01: ร้อยละการเกิดโรคปอดอักเสบ (Pneumonia) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
ความหมาย: การเกิดโรคปอดอักเสบ หมายถึง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีลักษณะอาการทางคลินิกเข้าได้กับโรคปอดอักเสบ (Inspiratory Crackles and Fever หรือ Clinical ไข้/ไอ/หอบ/ตรวจพบเสมหะคล้ายหนอง (Purulent Sputum)/มี WBC ใน Sputum ร่วมกับมีเชื้อแบคทีเรีย และ/หรือเอกซเรย์ปอด (Chest X-Ray) เข้าได้กับการติดเชื้อในปอดหลังรับไว้ในโรงพยาบาล 48 ชั่วโมง วัตถุประสงค์: ศึกษาการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่เกิดโรคปอดอักเสบ (Pneumonia) 100 จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่เกิดโรคปอดอักเสบไม่เกิน 5 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
43
C02: ร้อยละการเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ความหมาย: โรคระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ หมายถึง ผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกปัสสาวะแสบขัด/มีไข้ และผลตรวจปัสสาวะพบเม็ดเลือดขาว 10/HPF หรือผลการเพาะเชื้อให้ผลบวก (Positive Urine Culture) ภายหลังรักษาในโรงพยาบาล 48 ชั่วโมง วัตถุประสงค์: ศึกษาการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่เกิด Urinary Tract Infection 100 จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะไม่เกิน 5 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
44
C03: ร้อยละการเกิดแผลกดทับ (Pressure Sore/Skin Break)
ความหมาย: แผลกดทับ หมายถึง การเกิดบาดแผลใด ๆ ที่ผิวหนังจากแรงกดทับ (Any Skin Break or Necrosis Resulting from Either Pressure or Trivial Trauma, Skin Trauma Resulting from Falls Was Not Included) ภายหลังการรักษาในโรงพยาบาล วัตถุประสงค์: ศึกษาการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่เกิดแผลกดทับ 100 จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันทั้งหมดที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเกิดแผลกดทับน้อยกว่า 0.5 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
45
C04: ร้อยละการเกิดพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
ความหมาย: การพลัดตกหกล้ม หมายถึง การที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเกิดการพลัดตกหกล้มทุกกรณี เช่น ลื่นหกล้มในห้องน้ำ/ล้มเนื่องจากร่างกายเสียการทรงตัว/อ่อนแรง/ตกเตียง ฯลฯ (Only Document Fall Regardless of Cause) วัตถุประสงค์: ศึกษาภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่พลัดตกหกล้มในช่วงเวลาที่กำหนด 100 จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันไม่เกิดการพลัดตกหกล้ม (0 %) แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
46
C05: ร้อยละการเกิดหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน (DVT) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
ความหมาย: การเกิดหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน (DVT) หมายถึง ภาวะที่มีหลอดเลือดดำที่ขาอุดตันจากการเกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดดำส่วนลึกจึงทำให้เกิดหลอดเลือดดำอักเสบ ทำให้เกิดการบวม ปวด รวมทั้งอาจมีภาวะแทรกซ้อน ทำให้หอบเหนื่อย หรือเสียชีวิตได้ (วินิจฉัยโดยการใช้ Doppler Ultrasound ที่ขา ตรวจพบมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา) วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สูตรคำนวณ: จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่เกิดหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน (DVT) ในระยะเวลาที่กำหนด 100 จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่รับไว้ในโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน เป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเกิดหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน (DVT) ไม่เกิน 5 % แหล่งข้อมูล: ทะเบียนประวัติผู้ป่วย หน่วยการวัด: ร้อยละ
47
Standard 2013 S01 ระยะเวลาเฉลี่ยในการให้การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (Door to Needle Time) 70 นาที S02 ร้อยละการตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำภายใน 4.5 ชั่วโมง 6.9 S03 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) เพื่อการรักษาภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากเกิดอาการ 88.3 S04 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่กลับบ้าน และได้รับยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) หรือยาต้านการแข็งตัวของลิ่มเลือด (Anticoagulant) ขณะจำหน่าย (Discharge) 93.4 S05 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีระดับไขมัน LDL สูง กลับบ้าน และได้รับยากลุ่ม Statin ขณะจำหน่าย 91.1 ที่มา: ข้อมูลจากโรงพยาบาลเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ 34 แห่ง จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 13,271 ราย
48
Process P01 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับไว้ในโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง 96.2 P02 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการตรวจ EKG หลังเกิดอาการภายใน 24 ชั่วโมง 92.7 P03 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการตรวจ CT Scan และหรือ MRI/MRA สมองภายใน 24 ชั่วโมง 96.1 P04 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับยา Nifedipine Sublingual หลังเกิดอาการ 1.9 P05 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีไข้ ( 38C) และได้รับการดูแลรักษาภาวะไข้อย่างเหมาะสม 91.6 P06 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางที่วางแผนไว้ (Care Map/Path Way) 81.3
49
Process P07 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการดูแลรักษาใน Stroke Unit/Stroke Corner 68.5 P08 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับคำแนะนำการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมก่อนจำหน่าย 94.0 P09 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการประเมินการกลืนภายใน 72 ชั่วโมง หลังรับไว้ในโรงพยาบาล 82.4 P10 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ และทำกายภาพบำบัดภายใน 72 ชั่วโมง หลังรับไว้ในโรงพยาบาล 91.7 P11 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการบำบัด/คำแนะนำเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ 84.2 P12 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับการตรวจ EKG Monitor 24 ชั่วโมงแรก หลังรับไว้ในโรงพยาบาล 56.6
50
Outcome O01 ร้อยละการกลับเข้ารักษาซ้ำภายใน 28 วัน (Readmission) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 1.2 O02 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีภาวะทุพลภาพลดลง/คงที่ (BIจำหน่าย – BIแรกรับ ≥ 0 คะแนน) 93.1 O03 จำนวนวันนอนเฉลี่ย (LOS) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 5.9 O04 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย (บาท) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 21,924.88 O05 ร้อยละการตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 4.9 O06 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีภาวะทุพพลภาพลดลง/คงที่ (mRSF/U – mRSจำหน่าย ≤ 0 คะแนน) 96.0 O07 ร้อยละของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีความรุนแรงของภาวะโรคหลอดเลือดสมองลดลง/คงที่ (NIHSSF/U – NIHSSจำหน่าย ≤ 0 คะแนน) 93.3
51
Complication C01 ร้อยละการเกิดปอดอักเสบ (Pneumonia) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 4.2 C02 ร้อยละการเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันภายใน 48 ชั่วโมง 2.3 C03 ร้อยละการเกิดแผลกดทับ (Pressure Sore/Skin Break) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 0.7 C04 ร้อยละการเกิดพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 0.4 C05 ร้อยละการเกิดหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน (DVT) ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 0.3
52
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ 2/8/56
12/6/2018 4:53 PM Stroke Benchmarking สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ 2/8/56 © 2007 Microsoft Corporation. All rights reserved. Microsoft, Windows, Windows Vista and other product names are or may be registered trademarks and/or trademarks in the U.S. and/or other countries. The information herein is for informational purposes only and represents the current view of Microsoft Corporation as of the date of this presentation. Because Microsoft must respond to changing market conditions, it should not be interpreted to be a commitment on the part of Microsoft, and Microsoft cannot guarantee the accuracy of any information provided after the date of this presentation. MICROSOFT MAKES NO WARRANTIES, EXPRESS, IMPLIED OR STATUTORY, AS TO THE INFORMATION IN THIS PRESENTATION.
53
ปีงบประมาณ 2553 (2010) โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ 10 แห่ง ได้แก่
1. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร 6. โรงพยาบาลพุทธชินราช 2. โรงพยาบาลชลบุรี 7. โรงพยาบาลสระบุรี 3. โรงพยาบาลตากสิน 8. โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี 4. โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ 9. โรงพยาบาลหาดใหญ่ 5. โรงพยาบาลพญาไท 2 10. สถาบันประสาทวิทยา
54
ผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2553 (2010) จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 180 คน
55
คุณภาพการให้บริการฯ ปีงบประมาณ 2553
56
คุณภาพการให้บริการฯ ปีงบประมาณ 2553
57
ปีงบประมาณ 2554(2011) โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ 14 แห่ง ได้แก่
1. โรงพยาบาลขอนแก่น 8. โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า 2. โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 9. โรงพยาบาลพุทธชินราช 3. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร 10. โรงพยาบาลร้อยเอ็ด 4. โรงพยาบาลชลบุรี 11. โรงพยาบาลสมุทรสาคร 5. โรงพยาบาลตากสิน 10. โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี 6. โรงพยาบาลนครนายก 13. โรงพยาบาลหาดใหญ่ 7. โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ 14. สถาบันประสาทวิทยา
58
ผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2554 (2011) จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 1,070 คน
59
คุณภาพการให้บริการฯ ปีงบประมาณ 2554
60
คุณภาพการให้บริการฯ ปีงบประมาณ 2553-4 (2010-11)
61
ปีงบประมาณ 2555(2012) โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ 23 แห่ง ได้แก่
โรงพยาบาลขอนแก่น 9. โรงพยาบาลพระจอมเกล้า 17. โรงพยาบาลเลิดสิน 2. โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 10. โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า 18. โรงพยาบาลวิภาราม 3. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร 11. โรงพยาบาลพุทธชินราช 19. โรงพยาบาลสมุทรสาคร 4. โรงพยาบาลชลบุรี 12. โรงพยาบาลมหาชัย 20. โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 5. โรงพยาบาลตากสิน 13. โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช 21. โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี 6. โรงพยาบาลนครนายก 14. โรงพยาบาลร้อยเอ็ด 22. โรงพยาบาลหาดใหญ่ 7. โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ 15. โรงพยาบาลระยอง 23. สถาบันประสาทวิทยา 8. โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล 16. โรงพยาบาลลำปาง
62
ผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2555(2012) จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 5,875 คน
63
คุณภาพการให้บริการฯ ปีงบประมาณ 2555 (2012)
64
คุณภาพการให้บริการฯ ปีงบประมาณ 2555
66
ปีงบประมาณ 2556 จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 2,487 คน (30/4/56)
โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ 27 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น 10. โรงพยาบาลพระจอมเกล้า 19. โรงพยาบาลเลิดสิน 2. โรงพยาบาลขอนแก่น 11. โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา 20. โรงพยาบาลวิภาราม 3. โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 12. โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า 21. โรงพยาบาลสมุทรสาคร 4. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร 13. โรงพยาบาลพุทธชินราช 22. โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 5. โรงพยาบาลชลบุรี 14. โรงพยาบาลมหาชัย 23. โรงพยาบาลสิงห์บุรี 6. โรงพยาบาลตากสิน 15. โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช 24. โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี 7. โรงพยาบาลนครนายก 16. โรงพยาบาลร้อยเอ็ด 25. โรงพยาบาลหาดใหญ่ 8. โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ 17. โรงพยาบาลระยอง 26. โรงพยาบาลอ่างทอง 9. โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล 18. โรงพยาบาลลำปาง 27. สถาบันประสาทวิทยา
67
At the first, PNI. has been developing the healthcare system of ischemic stroke since 1999 such as clinical pathway, CPG, CNPG, medical knowledge.Next step in August 2006 stroke unit and stroke fast track system was established Start stroke network provider and stroke database was set up Start service plan Stroke, to support the other Regional hospitals and general hospitals in Thailand to establish stroke unit and stroke fast track system.
68
Currently PNI. Has 108 hospitals signed an agreement with MOU, 54 hospitals had established stroke unit and 108 hospitals had established stroke fast track system. The network can enroll more than 800 hospitals network, resulted in standard healthcare system of ischemic stroke throughout Thailand. For stroke database, PNI has more than 79 hospitals joined the data to improve the quality of care. (43,914 records)
69
Currently PNI. Has 108 hospitals signed an agreement with MOU, 54 hospitals had established stroke unit and 108 hospitals had established stroke fast track system. The network can enroll more than 800 hospitals network, resulted in standard healthcare system of ischemic stroke throughout Thailand. For stroke database, PNI has more than 79 hospitals joined the data to improve the quality of care. (43,914 records)
70
Standard stroke center certified
71
stroke data 2014-2015 Age groups Num. of ST. patient 2014
Num. of Dead 2014 % of dead 2014 2015 Num. of Dead 2015 < Y 46,076 5,135 11.14 123,187 7,030 > 60 Y 112,448 27,830 24.75 273,295 37,678 Total 158,524 32,965 20.79 396,482 44,708 % of dead 2015 5.71 13.79 11.28 Data from Ministry of Public health 30 Nov 2015
72
8 เขต 14รพ 2558. รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ เขต6 สมุทรปราการ
รพ.บุรีรัมย์ ร พ.สุรินทร์ ผ่าน2559 รอคุย 8 เขต 14รพ รอตรวจ2559
73
Next activity Post Stroke service care Promote stroke awareness
Standardized stroke center Set standardized of Stroke network Promote activity to controlled stroke risk factors and risk patients . Set network to AEC countries.
75
ขอบคุณครับ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.