ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทบาทพยาบาลในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
การทำจิตบำบัดรายบุคคลและกลุ่มบำบัด โดย อ.ดร.สุจิตรา อู่รัตนมณี
2
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
บอกความหมายของการบำบัดรูปแบบต่างๆ ได้ อธิบายประโยชน์และวัตถุประสงค์ในการบำบัดด้วยรูปแบบต่างๆได้ สามารถเลือกใช้การบำบัดพฤติกรรมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยได้ อธิบายบทบาทของพยาบาลจิตเวชในการบำบัดรูปแบบต่างๆได้ บอกกิจกรรมในการบำบัดรูปแบบต่างๆได้
3
การบำบัดทางจิต (Psychotherapy)
การรักษาหรือการแก้ไขปัญหาความผิดปกติทางจิตโดยการใช้การ สื่อสารทางวาจา หรือการพูดคุยรวมถึงการสื่อสารความหมายทางอื่น โดยมีจัดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้ป่วย ซึ่งหมายรวมถึงความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ ความเชื่อค่านิยมทัศนคติ และการกระทำ (จันทิมา, 2547)
4
จิตบำบัดรายบุคคล (Individual Psychotherapy)
จิตบำบัดรายบุคคลเป็นกระบวนการรักษาชนิดหนึ่ง โดยใช้การมีสัมพันธภาพระหว่างผู้บำบัดและผู้มารับ บริการมุ่งชี้เฉพาะจุดของปัญหา และการทำความ เข้าใจในปัญหาของผู้รับบริการ (ฉวีวรรณ สัตยธรรม , แผ จันทร์สุข และ ศุกร์ใจ เจริญสุข ,2556) โดยมี หลักการว่า การที่ผู้รักษาใช้วิธีพูดคุยกับผู้มารับ บริการเป็นการส่วนตัวนั้นจะช่วยให้ผู้มารับบริการ สามารถเผชิญหน้าและแก้ปัญหาของตนเองทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้มารับบริการเอง (จันทิมา องค์โฆษิต ,2547) เครดิตรูปภาพ
5
จิตบำบัดรายบุคคล (Individual Psychotherapy)
ผู้บำบัดจะเป็นผู้กำหนดกรอบและโครงสร้างการ บำบัดการบำบัด กระทำตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไป แต่ส่วนใหญ่จะกระทำ ประมาณ 6-10 ครั้ง กระบวนการบำบัดขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ บำบัดและผู้รับบริการซึ่งไม่ใช่ปฏิสัมพันธ์แบบบุ คลทั่วไป เป็นการบำบัดที่มีการวางแผนและมีจุดมุ่งหมาย เพื่อการแก้ไขปัญหาของผู้รับบริการ (สุวนีย์ ,2554) เครดิตรูปภาพ
6
ชนิดของจิตบำบัด แบ่งตามระยะเวลาในการบำบัด ได้แก่ จิตบำบัดระยะสั้นๆ (Brief psychotherapy) จิตบำบัดระยะสั้น (Short psychotherapy) จิตบำบัดระยะยาว (Long psychotherapy) จิตบำบัดเฉพาะจุด (Focal psychotherapy) แบ่งตามรูปแบบของจิตบำบัด ได้แก่ จิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) จิตบำบัดการนึกคิด (Cognitive therapy)พฤติกรรมบำบัด (Behavioral therapy) เป็นต้น (จันทิมา องค์โฆษิต ,2547)
7
พฤติกรรมบำบัด (Behavioral therapy)
มีความเชื่อว่าทุกพฤติกรรมมีความหมาย เชื่อว่าพฤติกรรมเกิดจากการเรียนรู้ ต้องการทำให้เกิดกาเรียนรู้ใหม่เพื่อปรับพฤติกรรมใหม่ ขั้นตอนในการบำบัดจะเริ่มจากการวัดความถี่ของพฤติกรรม—ศึกษา พฤติกรรม—ศึกษาผลที่ตามมา—เลือกแนวทางการปรับ พฤติกรรม– (ควบคุม,เสริมแรง,ลงโทษ) มักใช้ในเด็กที่มีพฤติกรรมมีปัญหา ผู้ป่วยพฤติกรรมพึ่งพา ผู้มีความ พิการทางปัญญา โรคอ้วน โรคกลัวผิดปกติ
8
จิตบำบัดประคับประคอง
เป็นรูปแบบจิตบำบัดที่พยาบาลขั้นสูงสามารถทำได้ เป็นรูปแบบจิตบำบัดที่มุ่งเน้นบำบัดอาการ และสร้างกลไกทางจิตที่เข้มแข็ง การ แก้ไขจะอยู่ในระดับของจิตรู้สำนึกเท่านั้น (ฉวีวรรณ สัตยธรรม, แผ จันทร์สุข และ ศุกร์ใจ เจริญสุข , 2556) ถูกดัดแปลงมาเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้รับบริการที่มีอาการไม่หนัก ไม่รุนแรง มี ปัญหาทางจิตแบบเฉียบพลันไม่เรื้อรัง จันทิมา องค์โฆษิต ,2547)
9
เป้าหมายของการทำจิตบำบัดประคับประคอง
บรรเทาอาการ/แก้ปัญหาเฉพาะจุด แก้ไขความขัดแย้งระดับจิตสำนึก ให้ผู้ป่วยทนต่อความตึงเครียดได้ ช่วยเพิ่มกำลังใจ/ประคับประคองใจ มักใช้ในผู้ป่วยทางกาย เช่น HT DM CKD , ผู้มีปัญหาด้าน สติปัญญา ,นักโทษ ,ผู้ป่วยสารเสพติด
10
ข้อบ่งชี้สำหรับผู้รับบริการในการใช้จิตบำบัดชนิดประคับประคอง
ผู้ป่วยทางกายที่มีปัญหาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต ผู้ป่วยปัญญาอ่อนที่ต้องการปรับพฤติกรรมให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ ผู้รับบริการที่มีปัญหาเรื่องการเป็นที่ยอมรับในสังคม เช่น ผู้รับบริการที่ใช้สาร เสพติด เยาวชนจากสถานพินิจ นักโทษที่พ้นโทษและต้องการกลับเข้าสู่สังคม กลุ่มโรคจิต ประสาท ที่ได้รับการบำบัดด้วยยาและต้องการฝึกทักษะชีวิตเพื่อกลับ บ้าน
11
กลุ่มบำบัด (Group therapy)
การบำบัดที่มีสมาชิกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมา พูดคุยกัน เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพระหว่าง บุคคลและเกิดกระบวนการกลุ่มทำให้ ผู้รับบริการไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่รู้สึกถูก ทอดทิ้ง ลดอาการแยกตัว เพิ่มความรู้สึกมี คุณค่าในตนเองเกิดศักยภาพในการแก้ไข ปัญหา (ฉวีวรรณ สัตยธรรม, แผ จันทร์สุข และ ศุกร์ใจ เจริญสุข, 2556)
12
จุดมุ่งหมายของกลุ่มบำบัด
เพื่อสร้างประสบการณ์ทางด้านมนุษยสัมพันธ์ใหม่ ให้สมาชิกกลุ่มเกิด ความรู้สึกที่ดีกับบุคคลอื่นๆ มีพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมที่ เหมาะสมกับวัย และเปลี่ยนแปลงทัศนคติบางอย่างที่ทำให้เกิดปัญหา (สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว, 2554)
13
สมาชิกในการทำกลุ่มบำบัด
ผู้นำกลุ่ม ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม
14
การทำกลุ่มบำบัดควรมีสมาชิกเท่าไหร่จึงเหมาะสม?
8-12 คน
15
กลุ่มบำบัดใช้เวลาเท่าไหร่?
16
กลุ่มบำบัดระยะสั้นควรทำกี่ครั้ง
17
(Group Therapeutic Community)
รูปแบบของกลุ่มบำบัด กลุ่มกิจกรรม (Activity groups) เป็นกลุ่มที่มีเป้าหมายเน้นให้ผู้ป่วยได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ช่วยให้มีการ สื่อสาร ส่งเสริมให้ผู้ป่วยอยู่ในความเป็นจริง เพิ่มทักษะทางสังคมป้องกันการถดถอย ของผู้ป่วย กลุ่มชุมชนบำบัด (Group Therapeutic Community) มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตและกระบวนการทางสังคม โดยอาศัยกลุ่ม คนในสังคมผลักดันช่วยให้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม เห็นคุณค่าทาง สังคม มักใช้ในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชที่กลับสู่สังคม และผู้ป่วยยาเสพย์ติด
18
รูปแบบของกลุ่มบำบัด อาชีวะบำบัด (Occupational Therapy)
การบำบัดโดยการใช้อาชีพในการช่วยเหลือผู้ป่วย โดยมีวัตถุประสงค์ด้านการรักษา การปลูกต้นไม้ ทำสวน มักใช้เพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ พลังงานภายในตนเอง ลดความก้าวร้าว การทำงานฝีมือ ช่วยให้มีสมาธิ และการมีชิ้น ผลงานช่วยสร้างกำลังใจ เสริมสร้างคุณค่าใน ตนเอง กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกขยันหมั่นเพียรในการ ทำงาน ลดความหมกมุ่นอยู่กับความคิดของตนเอง นำ ความสนใจมาใส่ในงาน
19
รูปแบบของกลุ่มบำบัด นันทนาการบำบัด (Recreational Therapy)
กลุ่มกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเน้นความรื่นเริงบันเทิงใจ วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียด ลดความทุกข์โศก ให้ ความร่วมมือกับคนในสังคม กล้าแสดงออก สร้างความมั่นใจ กิจกรรมต้องตรงตามความต้องการของกลุ่ม ไม่ตึงเครียด เหมาะสม กับเพศ อายุ วัย ใช้ระยะเวลา 60 นาที/ ครั้ง
20
รูปแบบของกลุ่มบำบัด ดนตรีบำบัด (Musical Therapy)
เป็นการใช้ดนตรีเพื่อการบรรลุ วัตถุประสงค์ในการรักษา โดยแบ่ง ออกเป็นการบำบัดด้วยการฟัง และการ บำบัดด้วยการเล่น วัตถุประสงค์เพื่อ จัดการความเครียด บรรเทาความเจ็บปวด กระตุ้นความทรง จำ เพิ่มทักษะการสื่อสาร ส่งเสริม พัฒนาการกล้ามเนื้อ ส่งเสริมการเข้า สังคม
21
**นักศึกษาฝึกทำกลุ่มในรายวิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช
22
**นักศึกษาฝึกทำกลุ่มในรายวิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช
23
รูปแบบของกลุ่มบำบัด กลุ่มให้ความรู้ (Educational groups)
เน้นเกี่ยวกับการให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ ส่งเสริมให้เกิดทักษะในการดูแลตนเองเป็น การจัดกลุ่มที่ให้โอกาสผู้ป่วยได้รับความรู้ ได้รับข่าวสาร ในสังคม อาจเป็นเรื่องทั่วไปใน สังคม ความรู้รอบตัว ข่าวสารบ้านเมือง ข่าว เศรษฐกิจ ความรู้ด้านการเกษตร สุขภาพ ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับโรคการเจ็บป่วย (นภวัลย์ กัมผลาศิริ, 2557)
24
รูปแบบของกลุ่มบำบัด กลุ่มบำบัดเพื่อการรักษา (Therapeutic groups)
เป้าหมายให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจและพัฒนาความตระหนักรู้ อารมณ์ความรู้สึกของตนเองเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไป ในทางที่ดีขึ้น เพิ่มทักษะในการเผชิญปัญหาในตัวผู้ป่วยเอง เช่น กลุ่มจิตบำบัดกลุ่มจิตละครบำบัด ซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้บทบาทของตัวละคร ช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้การปรับตัวในสังคม นิยมใช้ในผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง กลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคอง รูปแบบจิตบำบัดที่มุ่งเน้นบำบัด อาการ และสร้างกลไกทางจิตที่เข้มแข็ง การแก้ไขจะอยู่ในระดับของจิตรู้ สำนึก
25
รูปแบบของกลุ่มบำบัด กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (Self – help groups)
มีเป้าหมายในการให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาคล้ายกันมาพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันทำให้เกิดการเรียนรู้ทักษะในการ แก้ไขปัญหา เกิดความเห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
26
11 ปัจจัยบำบัดตามแนวคิดของยาลอม (Yalom, 1995)
การมีความหวัง (instillation of hope) ความรู้สึกอันเป็นสากล (universality) การให้ข้อมูล (imparting information) การรู้สึกถึงคุณค่าของตนเอง (altruism) ความรู้สึกเสมือนหนึ่งเป็นครอบครัวเดียวกัน (The corrective recapitulation) การพัฒนาเทคนิคเพื่อการเข้าสังคม (development of social techniques)
27
11 ปัจจัยบำบัดตามแนวคิดของยาลอม (Yalom, 1995)
การเลียนแบบพฤติกรรม (imitative behavior) การระบายออก (catharsis) การเรียนรู้ความจริงอันเป็นสัจธรรม (existential factors) ความรู้สึกผูกพันจิตใจต่อกัน (cohesiveness) การเรียนรู้การสร้างสัมพันธภาพ (interpersonal learning)
28
บทบาทพยาบาลในการบำบัดทางจิต
29
บทบาทพยาบาลในการเป็นผู้นำกลุ่มบำบัด(Leader)
การสร้างและการคงไว้ซึ่งความเป็นกลุ่ม การคัดเลือกสมาชิกเข้ากลุ่ม การกำหนดการพบปะกันของสมาชิก การกำหนดบรรทัดฐานของกลุ่ม การกระตุ้นให้สมาชิกอยู่กับปัจจุบัน
30
บทบาทพยาบาลในการเป็นผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม (Co-Leader)
ผู้ช่วยผู้นำกลุ่มจะทำหน้าที่ในการกระตุ้นกลุ่มร่วมกับผู้นำกลุ่ม ช่วย สังเกตการณ์ ช่วยบันทึกและดูแลกลุ่มร่วมกับผู้นำกลุ่มเพื่อให้กลุ่ม สามารถดำเนินไปจนบรรลุวัตถุประสงค์ของการทำกลุ่ม
31
บทบาทพยาบาลในการวางแผนการดำเนินการกลุ่มบำบัดในหอผู้ป่วย
สิ่งที่พยาบาลต้องคำนึงถึงในการวางแผนการจัดกลุ่มบำบัดและ กิจกรรมบำบัดได้แก่ สถานที่ที่มีความเป็นส่วนตัว กว้างขวาง สงบและ สะอาดเหมาะสมในการทำกลุ่มบำบัด อุปกรณ์ที่ช่วยในการดำเนินการ กลุ่ม การวางแผนด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเหมาะสมกับลักษณะ ของกลุ่ม รวมถึงการจัดตารางเวลาให้มีความเหมาะสมกับธรรมชาติ ของผู้รับบริการและหอผู้ป่วย
33
อ้างอิง จันทิมา องค์โฆษิต (2547). จิตบำบัดในการปฏิบัติงานจิตเวชทั่วไป(พิมพ์ครั้งที่2).ยูเนี่ยนครีเอชั่น. กรุงเทพฯ. จุฑาทิพย์ กิ่งแก้ว (2557). กลุ่มบำบัดกับการพยาบาลจิตเวช. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 28(1),1-15. ฉวีวรรณ สัตยธรรม, แผ จันทร์สุข และ ศุกร์ใจ เจริญสุข (2556).การบำบัดรักษาทางจิตสังคม.การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต(ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) เล่ม 2.โครงการ สวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก,35-62. ดุสิดา สันติคุณาภรณ์ (2557). สิทธิผู้ป่วยและการติดสินใจผูกยึดผู้ป่วยและพยาบาลจิตเวช, วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 28(3),1-12. นภวัลย์ กัมพลาศิริ (2557). แนวคิดในการบำบัดรักษาทางจิตเวช. เอกสารประกอบการสอน รายวิชา NUR 3211 ประจำปีการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลและ สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา นภาภรณ์ พึ่งเกศสุนทร และอรพรรณ ลือบุญธวัชชัย (2554). ผลของโปรแกรมบำบัดครอบครัวต่อภาระการดูแลของผู้ดูแล ในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการ พยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 25(2),51-63. สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว (2554). การพยาบาลจิตเวช: Psychiatric Nursing. พิมพ์ครั้งที่ 2.ปทุมธานี:โรงพิมพ์ธรรมศาสตร์ Pryjmachuk, S. (2011) Mental Health Nursing: An Evidence-Based Introduction. London: Sage Publication Ltd O’Brien.,G.,P., Kennedy.,Z.,W&Ballard.,A., K. (2013). Psychiatric mental health nursing. An Introduction to Theory and Practice. Shives, L. R. (2012). Basic concepts of psychiatric-mental health nursing (8th ed.). Philadelphia, PA: Wolters Kluwer Health | Lippincott Williams & Wilkins. Varcarolis, Elizabeth M., and Halter, M.J. (2010). Foundatoin of Psychiatric Mental Health Nursing : A Clinical Approach. 6th edition. St. Louis: Elsevier.
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.